สรุป! วัคซีนดี สำหรับเจ้าของร้าน ผู้ประกอบการ SME หลังโควิด19

วัคซีนดีสำหรับธุรกิจ Covid19

หลายคนคงคุ้นเคยวลี “วัคซีนดี” มาบ้างในหลายหน้าสื่อ นาทีนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คนทำธุรกิจในช่วงปีกว่าๆมานี้ ไม่ค่อยมีโชคดีกันสักเท่าไหร่ กับสถานการณ์หลายระลอกที่ผ่านมา แต่จนถึงตอนนี้หลายคนคงตกผลึกคำว่า “วัคซีน” ที่ใช้ป้องกันการเจ็บป่วยมากขึ้นแล้วนะครับ แล้ววัคซีนสำหรับผู้มีกิจการในตอนนี้ มีวัคซีน อะไรบ้างที่ทำให้ป้องกันการเกิดเหตุร้ายแรงบ้าง มาดูแบ่งปันเป็นแนวทางกันเลย

วัคซีน “กระแสเงินสดดี”

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับคำนี้ในทางบัญชี แต่ความจริงแล้วปัจจัยทางการเงินของบริษัทนั้นขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดเป็นสำคัญเลยทีเดียว ฉะนั้นการที่ตรวจสอบสุขภาพทางการเงินของบริษัทให้บ่อยขึ้น จะช่วยรับรู้ถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เช่น ขายของแล้วแต่ต้องรอรับเงินจากลูกค้านาน 45 วัน แต่พอสถานการณ์ต่างๆเข้ามา ลูกค้าอาจจะขอชำระล่าช้าขึ้นเป็น 90 วัน บริษัทมีแนวทางการจัดการกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหรือยัง? เป็นต้น 

วัคซีน “ทีมเวิร์ค”

ในช่วงปกติที่ไม่มีวิกฤติอะไร แต่ละคนนั้นก็ดูแลหน้าที่ของตัวเองไปตามงานที่ได้รับมอบหมาย แต่พอเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีคิดก็ต้องได้เปลี่ยนแปลงเป็นพลัง ที่ต่อสู้กับปัญหาขึ้นมาได้ เช่น ในเวลาปกติพนักงานขาย ก็ทำหน้าที่นำเสนอสินค้าให้กับลูกค้า พนักงานแอดมิน ก็ดูแลระบบหลังบ้าน แต่เมื่อเกิดการระบาดของโรคขึ้นมา ทำให้พนักงานขายไปพบลูกค้าไม่ได้ จึงต้องมาทำงานร่วมกับแอดมินในการช่วยเพิ่มช่องทางการขาย เพื่อผลลัพธ์ของทีม เป็นต้น 

ซึ่งเห็นได้ว่าพอมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาแล้ว หลายทีมสามารถเปลี่ยนจากการทำงานเฉพาะส่วนตัวเอง มาเป็นการทำงานด้วยกัน เพื่อพาทีมผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยกัน ซึ่งเป็นวัคซีนที่ถ้าทีมไหนได้รับไปแล้ว นอกจากจะเปลี่ยนแปลงกับตัวเองแล้ว จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานตามวิถีโควิดอีกด้วย

วัคซีน “ลดค่าใช้จ่าย”

วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ “คลาสิค” ใช้มาได้ในทุกยุคทุกสมัยแล้ว ในที่นี้ขอแบ่งเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ

  • การลดค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed cost)

เป็นค่าใช้จ่ายประจำในทุกๆเดือน ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าสำนักงาน ค่าจ้างพนักงานประจำ เป็นต้น ซึ่งพอเกิดการทำงานที่บ้าน Work from home แล้วการลดต้นทุนด้วยการลดขนาดของออฟฟิศ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคน ก็จะช่วยลดปัญหานี้ได้

  • การลดค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable cost)

รายจ่ายที่ผันแปรกับสถานการณ์เป็นสิ่งที่หลายผู้ประกอบการต้องทำการบ้านอย่างหนักเหมือนกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายผันแปรโดยทั่วไปจะมาจากค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงานรายวัน เป็นต้น ซึ่งเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายผันแปรในวิกฤติครั้งนี้ ค่อนข้างมีผลกระทบน้อย เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมา อันเนื่องจากการเข้ามาของอินเตอร์เน็ต ที่ทำให้เราสามารถสร้างงานได้จากทุกที่บนโลก แต่ความเสี่ยงที่กำลังจะตามมาคือ ภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งไปตามอ่านได้ที่ 5 ภัยคุกคามทาง Cybersecurity ที่ธุรกิจอาจต้องเผชิญในปี 2021

Vaccine protection

วัคซีน “ป้องกันไวรัสทางไซเบอร์”

มาถึงตอนนี้หลายคนคงเดาออกแล้วว่า “ไวรัส” ไม่ได้หมายถึง ไวรัส Covid19 แต่ในทางธุรกิจในยุคที่ต้องทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ไวรัสต่างๆที่เข้ามาสั่นคลอนธุรกิจ คือไวรัสที่เป็นอาชญากรทางไซเบอร์นั่นเอง จะสังเกตได้ว่าปัญหาทางอาชญากรรมทางไซเบอร์นั้นมีมาทุกยุคแล้ว ถ้าย้อนกลับไป 5-10 ปีที่แล้วสังที่หลายบริษัทระแวง คือการเสียบ Flash drive เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่พอในยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างเชื่อมต่อผ่านออนไลน์ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของบริษัท มันคือหัวใจหลักของธุรกิจเลยทีเดียว

ปัจจุบันเราจดบันทึกข้อมูลทางบัญชีด้วย Excel เราเขียนรายงานการประชุมด้วย Word และประชุมกันด้วย Zoom จะเป็นยังไงถ้าหากว่ามีคนแปลกหน้าที่ไม่ได้รับเชิญเข้ามาเห็นรายงานการประชุมของบริษัท มาเปิดดูงบแสดงสถานะทางการเงิน หรือเข้ามาลบ หรือขโมยไปเรียกค่าไถ่ข้อมูลจากบริษัทเอง ก็ล้วนเป็นความน่ากลัวของเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน

เรื่องเล่า “น็อตตัวละแสน ไม่แพงหรอกครับ

ที่มีเศรษฐีที่พยายามหาทางซ่อมรถคันโปรดของพ่อ ไม่ว่าจะมีช่างจากอู่เล็ก อู่ใหญ่มากี่คนก็ไม่สามารถทำให้รถมันติดได้ จนกระทั่งวันนึงมีช่างขี้เมามาซ่อมให้ โดยใช้น็อตแค่หนึ่งตัว ในการทำให้รถมันกลับมาสตาร์ทติดอีกครั้งหนึ่ง จนช่างขี้เมาคนนั้นกลับเรียกค่าน็อตเพียงตัวเดียวราคาแสนเหรียญ เป็นค่าตอบแทนนั่นเอง 

บทสรุปของวัคซีน

หลายบริษัทจึงใช้เครื่อง Firewall มาตั้งเป็น รปภ. ไซเบอร์ของบริษัทมาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งมันเกือบจะดีแล้วใช่มั้ยครับ กับการซื้อเครื่อง Firewall มาป้องกันความปลอดภัยต่างๆ เพียงแต่ว่าในยุคที่ “ข้อมูล” เป็นทองคำ ก็เย้ายวลใจให้เกิด “คนแปลกหน้า” เข้ามาหาวิธีแฮกข้อมูลได้หลากหลายวิธีมากขึ้น ฉะนั้นการใช้ Firewall มาตั้งแล้วสั่งให้มันทำงานไป “ไม่เพียงพอ” อีกต่อไปแล้ว เทคโนโลยีความปลอดภัยนั้นจึงต้องมากับผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลระบบนั่นเอง ซึ่งสามารถไปสิบค้นข้อมูล “ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity” ใน Google เราจะพบได้ว่า “ขาดแคลน” มากกกกนั่นเอง จึงเป็นที่มาของการเช่า Firewall และ เช่าผู้เชี่ยวชาญ มาดูแล ที่เรียกว่า “Firewall as a Service” นั่นเอง 

หลายครั้งเราต่างเชื่อว่าระบบที่เคยมีมันใช้ได้ก็ถือว่าดีอยู่แล้ว อาจจะมีปัญหาบ้าง ก็แก้เฉพาะหน้ากันไป แต่ถ้าลองมองย้อนกลับไปเบื้องหลังดูแล้ว ผู้เชี่ยวชาญสามารถรู้ได้ว่าปัญหาอินเตอร์เน็ตหลุดเป็นครั้งคราวที่เป็นอยู่นั้น คือการกำลังแฮกของผู้ไม่ประสงค์ดี ผู้เชี่ยวชาญนั้นจะรีบจัดการปัญหาก่อนเวลาอันตรายมาถึงนั่นเอง เป็นที่มาของบริการ  Firewall as a Service ที่เป็นการใช้ไฟร์วอลล์ระบบ Subscription มาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ จึงเป็นเรื่องที่คุ้มค่านั่นเอง สามารถปรึกษาปัญหาเบื้องต้นที่พบ เพียงกรอกข้อมูลเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ปัญหาของคุณได้ฟรีเลยครับ

Reference : 

Source1
Source2
Source3
Source4