WiFi analyzer แก้ไขสัญญาณ WiFi ในโรงงาน Warehouse ให้หายขาด

WiFi analyzer

Warehouse ปัจจุบันนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการใช้เทคโนโลยีในการตรวจสตอคนั้นเป็นยาสามัญประจำบ้านเลยทีเดียว ทั้งการตรวจนับ การ Tracking ล็อตสินค้า ด้วยอุปกรณ์อย่าง Tablet ที่เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั่นเอง และหัวใจสำคัญของการทำงานนี้คือ ตัวรับสัญญาณ wifi ที่เสถียร และเข้าถึงในทุกมุมของโกดัง เพื่อให้มั่นใจว่าทุกการใช้งานไม่มีสะดุดจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ WiFi Analyzer ในการเข้ามาวิเคราะห์สัญญาณ จุดบอดอับของสถานที่เพื่อปรับปรุงจุดวางสัญญาณ เพิ่มอุปกรณ์ผ่านการใช้อุปกรณ์วิเคราะห์ข้อมูล

จุดอับสัญญาณ WiFi 

โดยปกติแล้วระบบไวไฟนั้นเป็นการกระจายออกจาก ตัวรับสัญญาณ wifi เป็นวงกลมรอบๆตัวเครื่อง มันก็เลยทำให้บริเวณไม่เกิน 10-20 เมตรจากเครื่อง ก็ใช้งานได้ปกติ แแต่ปัญหาก็คือการวางสินค้าแต่ละครั้งเราคำนึงถึงหลักการวางของให้ง่ายต่อการนำเข้าออก และวางซ้อนกันในแนวตั้ง ทำให้หลายจุดที่มีอุปกรณ์ หรือของมาขวางนั้นเกิดจุดอับสัญญาณนั่นเอง

วิธีการแก้ปัญหาแบบคนทั่วไปคือการเพิ่ม Access Point ตรงจุดนั้นเพิ่มอีกตัวนึง ซึ่งบางทีในจุดอับดังกล่าวอาจจะเป็นบริเวณที่สามารถเดินสายอินเตอร์เน็ตเข้าไปได้ง่าย และจะไม่คุ้มทุนกับการลงทุนเพิ่มนั่นเอง ในกรณีนี้มันเป็นปัญหาที่แก้ได้ด้วยการนำอุปกรณ์ตรวจคลื่นอากาศที่จะสแกนช่อง และ traffic ของคลื่นสัญญาณ เพื่อนำมาวิเคราะห์ดูปัญหา ปรับ config หรือปรับตำแหน่งการวางใหม่ ก็เพียงพอแล้ว

ตัวรับสัญญาณ WiFi หลุดบ่อย ไม่เสถียร

โดยปกติไวไฟหลุดนั้นมีมากมายหลายสาเหตุ ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน

  • ปัจจัยภายนอก

การที่ไวไฟหลุดบ่อยนั้นถ้ากรณีที่ไวไฟมีสัญญาณอ่อนอยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นมา ไม่รวมทั้งมีคลื่นแทรก เช่น คลื่นเตาอบไมโครเวฟ คลื่นWiFiของเร้าเตอร์ที่ตั้งใกล้เคียงกัน ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้การเชื่อมต่อยากเหมือนคุยกับอีกคนท่ามกลางเพลงดังๆนั่นเอง

  • ปัจจัยภายใน

นอกจากนี้การเกิดปัญหาทางเทคนิคก็เป็นปัญหาที่ทำให้ผู้ใช้ถูกเอาออกจากระบบเช่นเดียวกัน ทั้ง IP address ที่ต่อใหม่ ชน กับ IP address ที่มีอยู๋ในระบบ ทำให้เร้าเตอร์ต้องเปลี่ยน IP ให้ชั่วขณะ ก็ทำให้ไวไฟที่เราใช้หลุดนั่นเอง ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างและการตั้งค่า เช่น เครื่องรับเน็ต (Router) ส่งสัญญาณไปให้ เครื่องกระจายสัญญาณ (Repeater) แต่ช่างอินเตอร์เน็ตดันตั้งค่าให้เครื่องรับเน็ตสุ่มออก IP address ให้ผู้ใช้งาน ขณะที่ Repeater ก็สุ่มออก IP address ให้ผู้ใช้งานเหมือนกัน ก็ทำให้มีโอกาสเกิดสุ่มออกมาเป็นเลขเดียวกัน ทำให้มีฝ่ายหนึ่งต่ออินเตอร์เน็ตไม่ได้นั่นเอง
ออกแบบ ระบบไวไฟ

ปัญหากับการไม่ใช้ WiFi Analyzer (วิเคราะห์จุดอับสัญญาณไวไฟ)

การติดตั้ง WiFi สำหรับการใช้ในอุตสาหกรรมนั้นสามารถทำได้ทั้งการใช้การติดตั้งเครื่องกระจายสัญญาณโดยมีการทำเหมือน router ที่เชื่อมสาย LAN ได้ เพียงแต่ความแตกต่างจะอยู่ที่ระยะของสัญญาณจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีความเข้มเพียงพอกับการใช้งานได้จริงหรือเปล่า สามารถเชื่อมต่อได้เพียงพอกับการใช้กับอุปกรณ์มากมายหรือเปล่า โดยปัญหาคลาสิกที่พบจอได้จะมีตัวอย่างดังนี้

  • หนึ่งชั้นใช้ไวไฟคนละชื่อ

    กล่าวมาข้างต้นว่า ไวไฟนั้นมีข้อจำกัดการใช้งานอยู่มากมาย ความเร็วไวไฟก็จำกัดจำเขี่ย หนึ่งเร้าเตอร์ก็จำกัดว่าคนเข้ามาต่อได้กี่คน เลยทำให้หอพักเดียวกันมีไวไฟหลายจุดหลายชื่อให้เชื่อมต่ออย่างปวดหัว เช่นหนึ่งโกดังอาจจะมีตัวปล่อยสัญญาณ 6 ตัวก็แบ่งเป็น  Wifi_Warehouse1 , Wifi_Warehouse2 ,Wifi_Warehouse3 ต่อๆกันไปซึ่งทำให้นอกจากคนทำงานก็จะปวดหัวตอนที่เดินไปอีกฝั่งแล้วไวไฟเดิมหลุด  พอตัวกระจายสัญญาณไวไฟมีปัญหาก็จะไม่รู้ว่าตกลงปัญหามาจากตัวไหนกันแน่นั่นเอง

  • ตั้งชื่อไวไฟเดียวกันแต่สัญญาณทับกันหมด

    หลายครั้งการแก้ปัญหา SSID ชื่อไวไฟเดียวกันหมดเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาทางออกที่เชื่อมต่อครั้งเดียวใช้ได้ทุกตำแหน่งได้แบบแมนนวล แต่พอการใช้จริงนั้นมีปัญหาการเชื่อมต่อด้วยวิธีการนี้มากมาย ตั้งแต่การเชื่อมต่อสัญญาณเดิมจากเครื่องเร้าเตอร์เดียวกันจนกระทั่งสัญญาณเหลือขีดเดียวจนแทบใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้ก็ไม่กระโดดไปใช้ SSID ที่มีสัญญาณแรงกว่า แน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วยอุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยีใหม่อย่างการ Bridge , Roaming หรือ อุปกรณ์ชนิดเดียวกันที่มีเทคโนโลยีโยนให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อไปใช้เร้าเตอร์ที่มีสัญญาณดีกว่านั่นเอง
    wifi organizer

แก้ไขสัญญาณ WiFi-Roaming ตามหลักวิศวกรรม

เทคโนโลยีดังกล่าวมีใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า มหาวิทยาลัย ฮอลล์ คอนเสิร์ต ไวไฟงานอีเว้นท์ที่ทำนั่นเอง โดยวิธีการเป็นการเชื่อมต่อครั้งเดียว แล้ววางเร้าเตอร์ที่กระจายสัญญาณตามจุดที่ถูกต้อง ทำให้ใช้งานได้ครอบคลุมทั้งอาณาบริเวณที่ต้องการ โดยการทำวิธีดังกล่าวนั้นถ้าหากทำด้วยตัวเองมีข้อแนะนำดังนี้

1) ติดตั้งให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม

การวางอุปกรณ์ที่ต้องการทำ roaming ใกล้กันเกินไปจะทำให้คลื่นนั้นรบกวนกัน ทำให้พอเชื่อมต่อสัญญาณแล้วจะทำให้สัญญาณหลุดหรือความเร็วดรอปลงโดยถ้าหากจัดวางให้ตรวจสอบระยะคลื่นไวไฟของทั้งสองตัวว่ามีความทับซ้อนกันไม่เกิน 15-20% ของระยะกระจายคลื่นปกติ

wifi roaming

2) ไม่ตั้งอุปกรณ์ใกล้กันเกินไป

การวางอุปกรณ์ที่ต้องการทำ roaming ใกล้กันเกินไปจะทำให้คลื่นนั้นรบกวนกัน ทำให้พอเชื่อมต่อสัญญาณแล้วจะทำให้สัญญาณหลุดหรือความเร็วดรอปลง

WiFi roaming rounter locate


3) ไม่ตั้งอุปกรณ์มากเกินไป

การติดตั้งสัญญาณ WiFi นั้นไม่ควรตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่มากเกินไป เพราะนอกจากไม่มีประโยชน์ด้านการใช้งานแล้ว ยังทำให้คลื่นเกิดการแทรกซ้อนกันจนทำให้การเชื่อมต่อมีปัญหา

WiFi roaming too much

4) ไม่ปล่อยคลื่น WiFi หลายสัญญาณ

โดยปกติหนึ่งเครื่องเร้าเตอร์จะสามารถปล่อยสัญญาณได้หลายคลื่น (2.4GHz/5GHz) ทำให้พอทำการ roaming สัญญาณกันแล้วคลื่นจะเกิดการทับซ้อนกัน

WiFi analyzer
หนึ่งเครื่องสามารถปล่อยสัญญาณได้หลายคลื่น ถ้าหากปล่อยสัญญาณมากกว่าหนึ่งคลื่น จะทำให้คลื่นเกิดการรบกวนกัน
ถ้าหากต้องการตั้ง router พร้อมกันแล้วใช้คลื่น 5GHz เป็นตัว roaming ระหว่างอุปกรณ์สองตัว แต่อุปกรณ์กระจายคลื่น 2.4 GHz มาในเวลาเด่ียวกัน จะทำให้คลื่น 2.4 GHz ที่กระจายมุมกว้างกว่าไปทับซ้อนสัญญาณของอีกตัวหนึ่ง แล้วสัญญาณไวไฟจะดรอปลงมามีปัญหา
จากตัวอจย่างจะเห็นได้ว่าถ้าหากปล่อยคลื่นสองคลื่นออกมาพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ตามหลักวิศวกรรม การวางระยะห่างคลื่นน้ำเงินอ่อน นั้นถูกต้องที่ระยะทับ 15-20% ตามหลัก แต่คลื่นน้ำเงินเข้มกระจายไปแทรกซ้อน มากเกินไปจนทำให้แทนที่ WiFi จะเสถียรก็กลายเป็นสัญญาณหลุดจากสัญญาณที่แทรกซ้อน

5) เร้าเตอร์รุ่นเดียวกัน ซอฟแวร์เวอร์ชั่นเดียวกัน

ตามเทคโนโลยีในปัจจุบันการทำ WiFi roaming ส่วนมากเป็นการกระจายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์รุ่นเดียวกัน ซอฟแวร์เวอร์ชั่นเดียวกัน ทำให้ยังเป็นข้อจำกัดการใช้งานอยู่นั่นเอง

ตัวรับสัญญาณ wifi

บริการตรวจสอบคุณภาพ WiFi

WiFi analyzer for Industrial network

คลังสินค้าหลายแห่งเริ่มเปลี่ยนแปลงระบบคลังสินค้าโดยใช้อุปกรณ์อย่าง Tablet ในการตัดคลังสินค้าแบบ Realtime ซึ่งลดความผิดพลาดจากการตรวจนับ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้สัญญาณ WiFi ภายในที่เสถียร และปลอดภัย เป็นที่มาของการเริ่มทำระบบ WiFi Stock management ให้ปลอดภัยสูง

ปรึกษาการทำระบบ WiFi อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

IT Security คือ อะไร 7 ขั้นตอนสร้างรากฐาน Network บริษัทให้มั่นคง

IT Security คือ

IT Security คือ พื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยของ Network ในทุกบริษัท ทำให้ส่วนประกอบของการทำนั้นนอกจากต้องมีแผนการทำงานที่แน่นอน มีกลยุทธ์การรับมือกับการทำงานด้วยทฤษฏีชีสแผ่น หรือตามแต่เทคนิคของ Cyber security

IT Security คือ พื้นฐานของความปลอดภัยทาง Network

มีการศึกษาที่น่าสนใจจาก The National Security Agency หรือสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) และ NetCraftsmen ได้ระบุฟังก์ชันพื้นฐาน 7 อย่างเพื่อเป็นรากฐานของระบบที่ดี ฟังก์ชันเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันเหตุการณ์ทางไซเบอร์ถึง 93% อีกทั้งยังทำให้เกิดรากฐานที่มั่นคงเพื่อสร้าง security system ที่ครอบคลุมและปลอดภัยจาก 7 ขั้นตอนดังนี้

Foundation of it security

INFO Graphic source : Source

  • Multifactor authentication
    แทนที่จะใช้ basic password บริษัทควรใช้ multifactor authentication หรือการพิสูจน์ตัวตนแบบหลายปัจจัย เช่น การพิสูจน์ตัวตนแบบสองปัจจัย หรือ two-factor authentication (2FA) ที่หากเราลงชื่อเข้าใช้ในบัญชีใด ๆ มันจะส่งรหัสผ่านไปที่มือถือของคุณ เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนอีกที ความท้าทายในการส่งข้อความกลายเป็น mechanism ยอดนิยมสำหรับ 2FA เพราะอาจถูกโจมตีโดยผู้ที่ไม่หวังดี โดยการเข้ายึดบัญชีโทรศัพท์ หรือหมายเลขโทรศัพท์

  • การควบคุมแบบ Role-based access
    การที่พนักงานที่มีหน้าที่หรือบทบาทนั้น ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการทำงานนั้นได้เพียงอย่างเดียว พนักงานที่มีบทบาทหรืออยู่ฝ่ายอื่นจะเข้ามาใช้ข้อมูลหรือทรัพยากรอีกแผนกไม่ได้ ตัวอย่างเช่นพนักงาน HR จะเข้าถึงข้อมูลของฝ่ายบัญชีไม่ได้ และด้วยการจำกัดแบบ role-based access นี้ จะช่วยสามารถป้องกันบริษัทจากการถูกขโมยข้อมูลได้“นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดจะต้องมีการควบคุมความปลอดภัยในการเข้าถึงตาม role-based access เนื่องจากการป้องกันทางไอทีมีความสำคัญมากขึ้น”

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

  • แอปพลิเคชัน Allowlist
    Networks เคยเป็นระบบเปิด และจะกรองแค่การปฏิเสธการเชื่อมต่อบางอย่างเพียงอย่างเดียว ส่วน Allowlisting คือการแปลงกระบวนการนั้น เพื่ออนุญาตเฉพาะการเชื่อมต่อและ data flows ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของแอปพลิเคชันเท่านั้น การเชื่อมต่ออื่น ๆ ทั้งหมดจะถูกปิดกั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อลดโอกาสในการละเมิดความปลอดภัย (Security Breach) ที่จะแพร่กระจายไปทั่วทั้งองค์กร ทีมงานไอทีควรกำหนดค่า filtering systems เพื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น บันทึกความล้มเหลวในการพยายามสร้างการเชื่อมต่อ โดยการแจ้งเตือนเหล่านี้จะนำไปยัง accounts หรือ systems ที่ถูกบุกรุกได้ 

  • Patching และวิธีแก้ปัญหา
    ทีมไอทีต้องสามารถ patching และ installing ปัญหาที่เกี่ยวกับช่องโหว่ ตามที่ระบุไว้ในการนำเสนอของ NSA การโจมตีแบบ zero-day แทบจะไม่เกิดขึ้น และการละเมิดทาง cybersecurity ส่วนใหญ่เกิดจากระบบที่ไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นจึงต้องมีการอัปเดต applications, server OSes และโครงสร้างพื้นฐานของ network เป็นประจำ นอกจากนี้ทีมไอทีจะต้องมีกระบวนการและบุคคลในการติดตามการอัปเดต และระบบ configuration management เพื่ออำนวยความสะดวกในการอัปเดต

  • Network segmentation
    เป้าหมายของ network segmentation หรือการแบ่งส่วนเครือข่าย คือเพื่อป้องกันไม่ให้มัลแวร์อัตโนมัติแพร่กระจายไปในส่วนของฟังก์ชันธุรกิจ ตัวอย่างของการแบ่งย่อย network ออกเป็นส่วน ๆ เช่น facilities infrastructure networks เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่แผนกอื่น ๆ จะเข้าถึงฟังก์ชันทางธุรกิจ ดังนั้นทีมไอทีควรใช้แอปพลิเคชัน Allowlist สำหรับการเข้าถึงระหว่าง business segments

  • System backups
    การบุกรุกที่พบบ่อยที่สุดคือแรนซัมแวร์ ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจเสียหายได้ ดังนั้นการสำรองข้อมูลระบบหรือ system backups สามารถกำจัดความเสี่ยงจากการโจมตีได้มาก ซึ่งทีมไอทีจะต้องออกแบบ backup systems อย่างรอบคอบเพื่อให้ปลอดภัย เนื่องจากผู้โจมตีมักจะตรวจสอบ IT systems หลายสัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มทำการเข้ารหัสข้อมูลขององค์กร ภัยธรรมชาติอาจก่อกวนธุรกิจได้เช่นเดียวกับการโจมตีของแรนซัมแวร์ ดังนั้นควรจัดเก็บข้อมูลสำรองไว้ในที่ที่ปลอดภัย หรือที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ลองค้นคว้าดูว่าธุรกิจต่าง ๆ รับมือและฟื้นตัวจากภัยธรรมชาติได้อย่างไรบ้าง

  • การศึกษาด้าน IT security คือ การ  Educate พนักงาน
    ขั้นตอนสุดท้ายของการรักษาความปลอดภัยคือการ educate พนักงาน ลองใช้ anti-phishing campaigns เพื่อฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับประเภทของอีเมลที่เอื้อต่อการบุกรุกหรือการฉ้อโกง การโจมตีทั่วไปคือการล่อลวงพนักงานให้คลิกเรื่องตลก รูปภาพ หรือวิดีโอที่ติดมัลแวร์ในอีเมล แล้วชักจูงให้พนักงานทำการโอนเงินให้ 

ระบบป้องกัน Ransomware ที่ดี

จัดระเบียบระบบ Network องค์กรเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจาก Ransomware โดยเฉพาะ โดยเริ่มจากการออกแบบระบบ วางอุปกรณ์ และดูแลให้คำปรึกษาตลอดอายุสัญญา 

ร่างทรง ไอที อวตารไอทีตามสั่ง งานไอทีจบ ไม่ต้องวิ่งเข้าหน้างานเอง

ร่างทรง

มนุษย์เองนั้นมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่แตกต่างกันออกไป เราอาจจะนับถือเพราะความกลัว อาจจะนับถือเพราะมีอะไรยึดเหนี่ยวให้สบายใจ โดยเฉพาะในช่วงก่อนที่จะมีการนับถือศาสนา ในหลายสถานที่ หลายชนเผ่าจะมีความเชื่อเรื่องสิ่งที่มองไม่เห็น เชื่อว่าทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติล้วนมีวิญญาณสถิตอยู่ บ้างก็เชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ในต้นไม้ ลำธาร ภัยพิบัติธรรมชาติ รวมถึงสมมติเทพที่เป็นความเชื่อเล่าต่อกันมา และความเชื่อเหล่านี้เองเป็นส่วนหนึ่งให้คนที่เชื่อในสิ่งนั้นต้องการที่จะติดต่อสื่อสารกับเหล่าเทพ หรือ ผู้ปกปักษ์รักษาด้วยตัวกลางที่เรียกว่า “ร่างทรง”

ร่างทรง วิญญาณ การติดต่อกับโลกของความตาย

แนวคิดเรื่อง ร่างทรง เกิดจากความเชื่อในเรื่องของวิญญาณ การติดต่อวิญญาณ ผ่านตัวกลางโดยเกิดจากความเชื่อเรื่องการนับถือผี หรือ ศาสนาผี โดยที่ความเชื่อของคนที่นับถือจะเชื่อว่าทุกสรรพสิ่งมีวิญญาณสถิตอยู่ ถึงแม้ในภายหลังจะมีการเข้ามาของศาสนาใหม่ๆในภูมิภาค แต่การนับถือผียังคงมีให้เห็นอยู่ในหลายภูมิภาคของประเทศไทย และหลายประเทศในโลกนี้ถึงแม้ว่าตามหลักวิทยาศาสตร์เองยังไม่มีเครื่องพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนได้ถึงการมีอยู่จริงของวิญญาณและโลกหลังความตาย แต่หลายครั้งเองพิธีการนี้เองก็ยังหาคำตอบของสิ่งที่ผ่านร่างไม่ได้ เช่น เมื่อวิญญาณผ่านตัวกลางแล้ว สิ่งที่มีการพูดออกมาเป็นความลับที่ไม่เคยเปิดเผยให้ใครฟังมาก่อน การกระทำบางอย่าง นิสัยบางอย่างที่เหมือนกับคนที่เคยมีชีวิตคนนั้นกระทำ ทำให้ควาเชื่อเรื่องการผ่านร่างวิญญาณนั้นยังคงมีให้เห็นในหลากหลายวัฒนธรรม
ร่างทรง

อาชีพร่างทรงบนโลกดิจิตอล

ถ้าหากการติดต่อสื่อสารกับโลกวิญญาณที่ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ การติดต่อกับไอทีที่มีไม่กี่คนในบริษัทในวันหยุดยาวก็เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ที่ทำให้ระบบเดินทางต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหา โดยทั่วไประบบไอทีของบริษัท โรงงานนั้นจำเป็นต้องมีการเปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้พนักงานไอทีต่างต้องทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันมาเฝ้าระบบให้สามารถทำงานต่อไปได้ แต่เมื่อวันหยุดยาวมาถึงไม่ว่าใครก็อยากจะไปหยุดพักกับครอบครัวเป็นระยะยาวโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาระงานต่างๆ เลยเกิดเป็นการหาร่างทรงมาประทับหน้าที่ในระหว่างการหยุดยาวของบริษัท หรือ วันลาพักร้อนของตัวเองติดต่อกันเป็นระยะยาว

อ้างอิง : https://th.anngle.org/j-entertainment/j-e-anime/doraemon-catalog.html
  • หาตัวแทนมาจัดการงานให้ในวันที่ไม่มีประตูมิติของโดเรม่อน

    พนักงานไอทีลาพักร้อนเป็นเวลานาน ทำให้บางครั้งมีเหตุที่ต้องเข้าไปเช็คสภาพความเรียบร้อยของอุปกรณ์ไอที เปลี่ยนดิสก์ เปลี่ยนสาย ขยับปลั๊ก เช็คสถานะของระบบว่าเรียบร้อยหรือเปล่า เพียงแต่ตัวอยู่ระยอง ออฟฟิศอยู่กรุงเทพฯ จะกลับเดินทางไปมาก็เป็นเรื่องยากลำบาก ผู้ช่วยไอทีสามารถช่วยเข้าไปดูหน้างาน หยิบจับอุปกรณ์ให้เสมือนหุ่นยนต์รีโมทได้อย่างทันที 

  • เป็นแขน เป็นขา ทำงานแทน

    ผู้มาเป็นร่างทรงไอทีให้กับพนักงานที่ไม่สะดวกเข้ามาหน้างานนั้น จะมีทักษะการทำงานพื้นฐานไอที รู้จักอุปกรณ์ สายแลน ปลั๊ก ต่างๆ และจะส่งงานเป็นรูปภาพหรือวีดีโอคอล ก็สามารถทำได้เหมือนใช้หุ่นยนต์รีโมทเข้ามาที่หน้างาน

  • แสตนด์บายในช่วงเวลาที่มีการตกลงไว้

    การจองตัวล่วงหน้าจะเป็นสิ่งการันตีว่ามีคนพร้อมจะเข้าหน้างานในช่วงเวลาที่กำหนด โดยการจองเวลาล่วงหน้าพร้อมพิกัดการทำงานล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ จะช่วยให้คุณมีเจ้าหน้าที่พร้อมเข้าสู่ไซต์งานทันทีที่ได้รับคำสั่ง
    กล้องวงจรปิด

ร่างทรง ตามสั่ง ลูกมือไอทีในวันหยุด

ถ้าการรีโมทเข้ามาแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอทีในออฟฟิศเป็นสิ่งที่ทำได้ ร่างทรงไอทีจะเป็นเหมือนรีโมทออฟไลน์ให้คุณได้ในวันที่คุณไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีคนอีกฝั่งคอยจัดการ งานดูยุ่งเหยิง คุยกับคนที่นอกสายงานไม่รู้เรื่อง พนักงานร่างทรงไอทีจะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานของคุณเอง

หาพนักงานไอทีช่วยงานในวันหยุดหรือเปล่า?

ปรึกษาบริการของเรา

Firewall as a Service แก้ปัญหาคอมพ์บริษัทติดไวรัสซ้ำๆ เน็ตพังให้หายขาด

Firewall as a Service

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในบริษัทเป็นสิ่งพื้นฐานที่ใช้งานกัน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเก็บข้อมูล กระบวนการควบคุมการผลิต และการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสะดวกสบายเหล่านี้มีเครือข่ายภายในบริษัท มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ทำให้จำเป็นต้องมีการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยของข้อมูล การป้องกันไวรัส สิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้ามาผ่านหน้าด่านต่างๆ โดยใช้บริการ Firewall as a Service ที่เติมเต็ม

Firewall as a Service

firewall as a Service
ดูแลระบบ Network ให้เป็นระเบียบ
  • Firewall เป็นอุปกรณ์ที่กรองข้อมูลเสมือน Antivirus แต่ถึกกว่า ทนกว่า

    ระบบ Network เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบริษัท ไม่ว่าจะผ่าน WiFi ผ่านสาย Lan ก็ตามต่างต้องมีการวางระบบได้ง่ายต่อการเข้าไปดูแลหลังบ้าน สะดวกในการควบคุมจัดการ และจัดการระบบความปลอดภัย ไม่ให้มีการโจมตีจากไวรัสคอมพิวเตอร์ แสปมเมลต่างๆได้ โดยปกติทั่วไปนั้นจะใช้วิธีการกรองข้อมูลเข้าออกเครือข่ายผ่านอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกว่า Firewall (ไฟร์วอลล์) โดยหน้าที่หลักของอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นจะทำตัวเสมือนโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ที่คอยกำจัดสิ่งแปลกปลอม ไฟล์ปลอม ตรวจจับผู้บุกรุกที่ไม่น่าไว้วางใจต่างๆ แต่ความแตกต่างของมันก็คือมันสามารถควบคุม คัดกรองได้ทั้งระบบเครือข่ายที่ใช้งานภายในออฟฟิศนั่นเอง

  • Firewall ติดตั้งเองแบบไม่มีความรู้จะเป็นยังไง

    แน่นอนว่าถ้าเปรียบ Firewall เสมือนมือถือ IPHONE PRO MAX สักเครื่องที่มีฟังก์ชั่นมากมายหลากหลาย แต่เมื่อซื้อจากคนขายมาสามารถเปิดเครื่องได้ โทรออก รับสายได้ แล้วใช้งานฟังก์ชั่นพื้นฐานได้เพียงเท่านั้น ทั้งที่แท้จริงแล้วสมาร์ทโฟนเครื่องนั้นสามารถมีระบบความปลอดภัยของข้อมูล การแสกนใบหน้าเพื่อปลดล็อคหน้าจอ อัปเดตความปลอดภัยของระบบต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนขายไม่เคยได้บอก และไม่เสียเวลาบอกเรา ทำให้การนำอุปกรณ์ราคาแพงมาใช้ แต่มูลค่าที่เกิดประโยชน์ใช้งานจริงไม่ต่างกับมือถือเครื่องละไม่กี่ร้อยบาท

    firewall as a Service
    Firewall มีการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีใบรับรอง
  • Firewall ที่ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องตัดค่าเสื่อม เพราะเก่าเปลี่ยนรุ่นใหม่ พังเปลี่ยนเครื่องฟรี

    ช่วงหลังมาอุปกรณ์ไอทีในสำนักงานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เริ่มมีการเปลี่ยนจากการซื้ออุปกรณ์เป็นการเช่ามาใช้งาน เพียงแต่การเลือกใช้ Firewall as a Service ไม่ใช่เพียงเช่าเครื่อง Firewall

    แต่มันครอบคลุมไปถึงการช่วยดูแลระบบหลังบ้าน บล็อคบางเว็บที่ไม่ต้องการให้ใครเข้าไปใช้ รวมถึงเก็บข้อมูลหลังบ้านการใช้งาน เก็บสถิติพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆได้อย่างครอบคลุม ซึ่งโดยรวมแล้วเราเป็นผู้ให้บริการวางระบบความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์บริษัท โดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบที่อยู่เบื้องหลังการทำงานร่วมกับธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา

  • Firewall ที่ไม่ต้องจ้างพนักงานไอทีมาดูแล เพราะมีผู้เชี่ยวชาญดูแลตลอดอายุ

    นอกจากนี้มิติของการใช้บริการ Firewall as a Service กับเรานั้นไม่ได้เพียงเป็นการนำอุปกรณ์มาแปะไว้ในออฟฟิศและตั้งค่าจบๆไป แต่มันเป็นการร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดการใช้งานอินเตอร์เน็ตภายในออฟฟิศ การมอนิเตอร์การใช้งานของผู้ใช้ภายในระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดให้กับบริษัท โดยจะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความปลอดภัยไอทีของเรานั้นจะคอยดูระบบหลังบ้าน แก้ไข ปรับแต่ง การใช้งานต่างๆตามแต่ความต้องการของลูกค้า โดยไม่ต้องแบคต้นทุนพนักงานประจำเพิ่ม ไม่ต้องรับความเสี่ยงการเทรน การซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์

computer for coding
มีการจัดการระบบหลังบ้าน ให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด

Firewall as a Service วางระบบ บล็อคเว็บ เก็บ Log 

การวางระบบเน็ตเวิร์คของบริษัทได้ง่าย จะช่วยให้ตรวจสอบระบบย้อนกลับได้เร็ว โดยเดิมทีระบบเครือข่ายภายในของบริษัทนั้นจะเป็นเพียงการนำอุปกรณ์ Firewall , Switch Hub , Router มาติดตั้งในบริษัท ซึ่งการพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับการทำงานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การเข้าถึงข้อมูลจากพนักงานที่ทำงานจากที่บ้าน การใช้ระบบ Zero trust แทนการต้องเช่า VPN เข้าสู่ระบบจากที่ทำงาน เป็นต้น

network mornitoring
การจัดการหลังบ้านมีการทำงานร่วมกันกับลูกค้าบนความปลอดภัยของลูกค้า
  • การจัดการระบบความปลอดภัย

    รูปแบบของความปลอดภัยเดิมในหลายองค์กรนั้น จะเป็นเพียงการใช้กุญแจดอกเดียวสามารถเข้าไปสู่ระบบหลังบ้านได้ทั้งหมดโดยการใช้มนุษย์ควบคุมการทำงานทั้งหมด และดำเนินกิจกรรมทั้งหมดภายใน LAN ซึ่งไม่ปลอดภัยเพียงพอในการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลอยู่ในปัจจุบันแล้ว โดยเราจะช่วยเข้าไปปรับปรุงความปลอดภัยข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยยืนยันการเข้าใช้ระบบผสมผสาน เช่น การขอยืนยันเข้าระบบแต่ละครั้งมีระยะเวลาที่จำกัด ต้องใช้การยืนยันตัวตนมากกว่าหนึ่งรูปแบบ และจำกัดเข้าดูเนื้อหาที่จำกัด

    IT associated
    มีการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านไอที แก้ปัญหาได้ตรงจุดและรวดเร็ว
  • การซัพพอร์ตจากทีมผู้เชี่ยวชาญ

    ปัญหาของหลายบริษัทที่ไม่สามารถหาพนักงานเชี่ยวชาญมาประจำออฟฟิศได้ อาจจะเพราะว่าความคุ้มค่าของการจ้างงาน หรือ ไม่สามารถหาพนักงานมาอยู่ประจำได้ก็ตาม ทำให้การทำงานนอกจากต้องใช้ Outsource ครั้งคราวโดยไม่สามารถขอความมั่นใจในการแก้ปัญหาได้ บริการของเราจะช่วยเติมเต็มโดยการมีทีมผู้เชี่ยวชาญ Cyber Security มาเป็นที่ปรึกษา คอยแก้ไขปัญหาให้ผ่านทั้งออนไลน์ และออนไซต์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานไอทีเฉพาะทางเอง แต่เราจะดูแลครอบคลุมทุกความต้องการขององค์กรคุณ

  • การเก็บข้อมูล Log ตามกฏหมาย PDPA

    หนึ่งในรอยรั่วที่มาโจมตีระบบเครือข่ายของบริษัท คือการไม่สามารถเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานระบบของทุกคนที่เข้ามาได้หรือ ไม่สามารถติดตามย้อนกลับไปได้อย่างทันที เนื่องจากความยุ่งเหยิงของโครงสร้างเดิม บริการของเราจะช่วยเหลือในการเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานระบบตามกฏหมาย รวมถึงสอดคล้องตาม พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล ที่เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 นอกจากนี้จะช่วยเหลือปัญหาโครงสร้างขององค์กร การดูแลระบบความปลอดภัยและจัดระเบียบการทำงานโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ ยังสามารถเปลี่ยนค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน เป็นค่าใช้จ่ายด้านบริการมีประโยชน์ในการจัดการด้านระบบบัญชีให้สอดคล้องกับธุรกิจของคุณ

สิ่งที่ช่วยซัพพอร์ต Network ของคุณ

ที่ช่วยเพิ่มเวลาเงิน ลดเวลาแก้ปัญหาจุกจิกกวนใจ

แก้ปัญหาไฟล์หายไม่ทราบสาเหตุ
การมี Firewall ที่ดีจะช่วยกลับไปตาม Log ว่ามีใครที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาขโมยไฟล์ หรือ เป็นการเผลอลบจากพนักงานเอง
ไม่ต้องแบกต้นทุนพนักงาน
เรามีทีมงานคอยดูแลระบบให้เสถียรพร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยทีมงานที่ดูแลมีใบรับรองทักษะการทำงาน
ออกแบบระบบให้เป็นระเบียบ
สามารถทำระบบหลังบ้านตามต้องการ เปิด ปิดเว็บ เก็บประวัติการเข้าสู่ระบบ ระยะเวลา รวมถึงสรุปข้อมูลต่างๆได้
จัดลำดับข้อมูลที่สำคัญ
จัดการข้อมูลที่ต้องการรักษาความปลอดภัย โดยเพิ่มความยากในการเข้าสู่ข้อมูลต่างๆ ทดแทนระบบเดิมที่อาจจะไม่มีการป้องกันข้อมูล
มีการเก็บข้อมูลตามกฏหมาย
เมื่อผู้บริหารต้องการขอดู หรือต้องใช้แก้ปัญหาระบบ เรียกดูสถิติการใช้ แม้กระทั่งเมื่อเกิดปัญหาต้องตามหาคนร้าย ใช้ดำเนินคดี บริการของเราทำให้ Log ที่เก็บไว้กลายเป็นเครื่องมือในการช่วยจัดการได้
Previous slide
Next slide
firewall คืออะไร

แก้ปัญหาไฟล์หาย

การมี Firewall ที่ดีจะช่วยกลับไปตาม Log ว่ามีใครที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาขโมยไฟล์ หรือ เป็นการเผลอลบจากพนักงานเอง

firewall คืออะไร

ไม่ต้องแบกรับต้นทุนพนักงาน

เพราะเรามีทีมงานคอยดูแลระบบให้เสถียรพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา โดยผ่านการรับรองโดย Vendor ของ Firewall ที่นำมาใช้

firewall คืออะไร

ออกแบบระบบให้มีระเบียบ

บริษัทใหม่ให้ตรงตามความต้องการขององค์กร และง่ายต่อการป้องกันโจรที่พยายามแฮกเข้ามาในระบบ

firewall คืออะไร

จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล

ลดความเสี่ยงในการรั่วไหลของข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญได้ง่ายเกินไป โดยจัดลำดับ ปลอดภัยน้อย ปลอดภัยปานกลาง ปลอดภัยสูง

firewall คืออะไร

อุปกรณ์เสียไม่ต้องซื้อใหม่ เราเปลี่ยนฟรี

เรามีทีมงานเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ให้ฟรีใน 4 ชั่วโมงสำหรับในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

firewall คืออะไร

เก็บข้อมูลตามกฏหมาย

เมื่อผู้บริหารต้องการขอดู หรือต้องใช้แก้ปัญหาระบบ เรียกดูสถิติการใช้ แม้กระทั่งเมื่อเกิดปัญหาต้องตามหาคนร้าย ใช้ดำเนินคดี บริการของเราทำให้ Log ที่เก็บไว้กลายเป็นเครื่องมือในการช่วยจัดการได้

สอบถามบริการวางระบบความปลอดภัย

กรอกแบบฟอร์มเพื่อให้ทีมงานติดต่อกลับ

สำรองข้อมูล LINE ย้อนหลัง 3 วิธี แบคอัพ LINE ทำตามได้ ทีละขั้นตอน

สำรองข้อมูล LINE

ในช่วงที่ผ่านมาการทำงานด้วยแอพ Line จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเดินทาง การเว้นระยะพบเจอก็ตาม สิ่งที่ตามมาคือแชทเยอะมาก หาไม่เจอ ไฟล์หมดอายุ ขอไฟล์ใหม่ก็กลัวถูกตำหนิ การ สำรองข้อมูล LINE โดยมีทั้งแบบ อัติโนมือ อัติโนมัติ กับ เก็บเป็นปี ด้วยวิธีการดังนี้

สำรองข้อมูล LINE
ถ่ายหน้าจอจากคอมพิวเตอร์ หรือ แคบหน้าจอจากมือถือ

วิธีที่1 “แคบหน้าจอ”

วิธีนี้เป็นสายอดทน สำรองข้อมูล line ย้อนหลัง ด้วยการแคบแชททุกข้อความ

เก็บไฟล์ทุกอย่างลงในคอมพิวเตอร์ เป็นการบันทึกข้อความเป็นรูปภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งการบันทึกหน้าจอจากมือถือ หรือการถ่ายภาพหน้าจอด้วยกล้องมือถือก็ได้

สำรองข้อมูล LINE
การเก็บข้อมูลการแคบหน้าจอ ไว้บนคอมพิวเตอร์แล้วแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่
  • ข้อดี : การบันทึกด้วยวิธีการนี้เป็นภาพชัดเจน สวยงามและสามารถตรวจข้อมูลการแชทได้ง่าย ย้อนดูข้อความได้ถึงแม้ภายหลังแม้คู่สนทนาของเรา “Unsend (ยกเลิกส่งข้อความ)” แล้วก็ตาม
  • ข้อสังเกต : การบันทึกข้อความด้วยวิธีนี้คือไฟล์ภาพจะมีมหาศาลในเครื่อง และเสียเวลาค้นหาข้อมูล ในกรณีที่ไฟล์ต่างเก็บไว้ในเครื่อง และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้พัง หรือข้อมูลหาย จะทำให้ข้อมูลทั้งหมด จากเราไปแบบยังไม่ทันบอกลา….

อุปกรณ์ที่ใช้งาน LINE ได้
วิธีที่2
 เก็บ ประวัติการแชท line ย้อนหลัง ไว้ใน Google drive

การบันทึกแชทด้วยการเก็บข้อมูลด้วย Gmail ที่ผูกไว้กับบัญชีไลน์ จากนั้นก็ส่งข้อมูลแชทไปบันทึกไปไว้ใน Google drive โดยมีวิธีการดังนี้

เปิดการตั้งค่า LIne
เปิดแอพพลิเคชั่นไลน์แล้ว จากนั้นให้เข้าไปที่ฟันเฟือง

 

  1. เข้ามาหน้าหลักของไลน์ แล้วให้กดที่ฟันเฟืองบนขวาของจอ

    เข้าแอพพลิเคชั่นไลน์
    พอเข้ามาแล้วเลื่อนลงมาข้างล่าง

     

  2. เมื่อเข้ามาแล้วให้เลื่อนลงมาด้านล่าง

    สำรองข้อมูล LINE
    กดเข้าไปใน “แชท”

     

  3. เลื่อนลงมาที่หมวด “ตั้งค่าพื้นฐาน” แล้วกดที่ “แชท”

    จากนั้นกด “สำรองข้อมูล”

     

  4. จากนั้นก็กดไปที่ “สำรองข้อมูล & เรียกคืนประวัติการแชท”

    การเชื่อมบัญชี Google
    เข้าบัญชี Google

     

  5. เข้ามาแล้วให้เลือกบัญชี Gmail ที่ต้องการสำรองข้อมูลเก็บไว้ ถ้าในกรณีที่ไม่มีให้เพิ่มบัญชีเข้าไป (ถ้ายังไม่มีเมล์ สมัคร gmail สำหรับมือใหม่ เข้าไปดูที่นี่เลย)

    สำรองข้อมูล LINE
    กรอกบัญชี Google เข้าไปเหมือนการ login ตามปกติ

     

  6. สำหรับคนที่เพิ่มอีเมลใหม่ครั้งแรก แนะนำให้ใช้ Gmail เดียวกับที่ใช้ในมือถือเลย (ถ้ายังไม่มีเมล์ สมัคร gmail สำหรับมือใหม่ เข้าไปดูที่นี่เลย)

    สำรองข้อมูล LINE
    เมื่อมีการเข้าระบบแล้ว อีเมลจะขึ้นตามนี้

     

  7. หลังจากที่เลือกอีเมลที่ต้องการไปสำรองข้อมูลเก็บไว้แล้วจะขึ้นแบบนี้นะ

    สำรองข้อมูล LINE สถานะแจ้งเตือน
    จากนั้น “กด” สำรองข้อม๔ล Google ไดร์ฟ


  8. จากนั้นก็เลือก “สำรองข้อมูลไปยัง Google ไดร์ฟ” แล้วรอโหลดให้ครบ 100%

    สำรองข้อมูล LINE หลังจากสำรองข้อมูลสำเร็จ
    เมื่อสำรองข้อมูลเสร็จแล้วจะขึ้นว่ามีการสำรองข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อใด


  9. หลังจากนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามันอัปเดตให้เสร็จแล้ว ก็ดูเวลาที่ สำรองข้อมูล LINE ล่าสุด ควรจะเป็นวัน และเวลาในตอนนั้น

    เรียกคืนข้อมูล ย้อนกลับ LINE
    ถ้าอยากกู้ข้อมูล เพียงการ “เรียกคืนข้อมูล” ข้อมูลต่างๆก็จะย้อนกลับมา


  10. จากนั้นก็สามารถสบายใจได้ว่ามันถูกเก็บไว้ปลอดภัยแน่ๆ ในกรณีที่ต้องการ “กู้” ข้อความให้กลับมาก็เข้าไปที่เรียกคืนข้อความ ด้านล่างของหน้านี้เลยจ้า


วิธีนี้ก็ได้รับความนิยม แต่ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน

  • ข้อดี : ทำได้ง่าย และไว เหมาะกับการย้ายเฉพาะข้อมูลแชทที่จำเป็นไปมือถือเครื่องใหม่
  • ข้อสังเกต : การทำด้วยวิธีนี้หลายครั้งจะได้เฉพาะข้อมูลแชทเดิม และภาพที่ระบบยังไม่ลบ ถ้าต้องการให้ไฟล์ที่ส่งยังไม่หมดอายุ ต้องเก็บไฟล์ไว้ในเครื่อง ซึ่งยากต่อการค้นหาได้อยู่ดี

วิธีที่ 3 ให้ "จดที" บันทึกข้อมูลให้

บริการ “จดที” เป็นระบบการบริการที่ช่วยให้คนที่คุยงานกันด้วยไลน์กลุ่ม สามารถมีพื้นที่เก็บไฟล์และแชทต่างๆที่ส่งให้กันได้เป็นปีๆ โดยที่การทำงานนั้นเป็นการเชื่อมห้องแชทเข้ากับกลุ่มแล้วจากนั้นระบบจะมีการเก็บไฟล์ต่างๆขึ้นบนคลาว ซึ่งสะดวกกับคนทำงานซึ่งสามารถอ่านได้ใน วิธีการแบคอัพ LINE กลุ่ม ให้นาน 1 ปี ทีละขั้นตอน ซึ่งใช้งานได้ฟรี 30 วัน โดยฟีเจอร์การทำงานนั้นสามารถเห็นแชทได้แบบเรียลทาม

จดที แบคอัพแชทแบบเรียลทาม
เราสามารถเห็นแชท ไลน์กลุ่ม บน jott.ai ได้แบบเรียลทาม โดยการแสดงผลออกทางหน้าเว็บ

ซึ่งนอกจากการเห็นแชทในไลน์กลุ่มขึ้นบนหน้าเว็บแบบทันทีแล้ว ยังมีการแบ่งกลุ่มของไฟล์ที่ส่งให้กัน และ สื่อมัลติมีเดีย ที่มีรูปภาพและวีดีโอ ให้สามารถกลับไปดาวน์โหลดได้จลอดเวลา

เก็บไฟล์ ของจดที
เราสามารถเห็นไฟล์ที่เคยส่งให้กันในแชทไลน์ โดยจำแนกประเภทไฟล์ วันที่ถูกอัปโหลดได้อย่างง่ายดาย
ประวัติการแชท line ย้อนหลัง

เพิ่มอายุไฟล์จาก 7 วัน สูงสุด 10 ปีเต็ม

ระบบ “จดที่” จะมีหน้าที่เก็บข้อมูล ประวัติการแชท เอกสาร รูปภาพ วีดีโอ ที่ส่งให้กันในกลุ่มทีมงาน ไปแบคอัพบนระบบคลาว ที่จะยืดระยะเวลาเก็บข้อมูลให้สูงสุด 10 ปีอย่างปลอดภัย

ประวัติการแชท line ย้อนหลัง

แบคอัพแชทให้อัตโนมัติแบบเรียลทาม

ระบบจะทำการแบคอัพให้ตลอดเวลา ช่วยแก้ปัญหาระบบเดิมนั้นจะเก็บให้หลังจากช่วงเวลาที่กำหนด หรือ ต้องมานั่งกดแบคอัพข้อมูลด้วยตัวเอง ทำให้เปิดดูได้จากทุกอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อ

ประวัติการแชท line ย้อนหลัง

เก็บไฟล์แยกให้เป็นหมวดหมู่

ระบบ “จดที” มีระบบจัดเก็บไฟล์ให้ตามหมวดหมู่ แยกเอกสาร แยกรูปภาพ ออกจากกัน ทำให้ง่ายต่อการกลับมาดูข้อมูลอีกครั้งภายหลังในอีกหลายเดือน หรือหลายปีหลังจากนั้น

ปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไป

PDPA บังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การเตรียมตัวของธุรกิจ

Pdpa

PDPA (พีดีพีเอ) เป็นชื่อเรียกของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการบังคับใช้เมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ซึ่งเราเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้มีการกังวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่เราให้ไว้กับบริษัท หรือ บนโลกออนไลน์ ระเบียบใหม่เราต้องทำอะไรบ้าง สิ่งที่ธุรกิจต้องปรับตัวเพิ่มเติมคืออะไรเรามาติดตามกันได้เลย

PDPA เรียกชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act : PDPA) ซึ่งใจความสำคัญเป็นการขออนุญาตนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้งานโดยถูกกฏหมาย กล่าวคือ ข้อมูลส่วนบุคคล (ชื่อ-นามสกุล ข้อมูลเลขบัตรประชาชน) ข้อมูลส่วนบุคคลละเอียดอ่อน (ข้อมูลทางการแพทย์ เชื้อชาติ ศาสนา) ซึ่งการออกกฏหมายฉบับนี้มีจุดประสงค์มาจากการต้องการที่จะให้มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีมาตรการเยียวยาจากเจ้าของข้อมูลซึ่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ไปเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พุทธศักราช 2565

  • ก่อนที่จะมีการบังคับใช้

    สิ่งแรกที่เราตื่นขึ้นมาตอนเช้าหลายคนคงเริ่มวันด้วยการปลดล็อคมือถือแล้วเข้าสู่โซเชี่ยลมีเดียที่คุ้นเคย แชร์ประสบการณ์ อ่านข่าว หรือ โพสต์สถานะของตัวเอง ซึ่งเสมือนว่าชีวิตเราอยู่ในโลกออนไลน์จนแทบจะตลอดเวลา เมื่อวันที่เราต้องนำความเป็นส่วนตัวไปใช้ในโลกออนไลน์ และเกิดเหตุการณ์ที่มีการแอบนำข้อมูลนำไปใช้ขายของ ยิงโฆษณา บ้างก็ถูกหลอกลวงไปทำสิ่งผิดกฏหมาย จึงต้องมีการทำให้กฏหมายนั้นถูกพัฒนาตามเทคโนโลยีไปด้วย ซึ่งหัวใจของการออก พ.ร.บ.ฉบับนี้คือการคุ้มครองผู้ใช้งานเว็บต่างๆ ในการไม่ถูกนำข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการท่องเว็บต่างๆ ถูกนำไปใช้ทางที่เราไม่ยินยอม โดยที่บางครั้งเราค้นหาคำว่า “รถเช่า” ก็จะมีสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องติดตามเราไปทุกแอพพลิเคชั่นนั่นเอง

  • ความสำคัญ

    การออกพระราชบัญญัติฉบับนี้นั้นเน้นไปในการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลมหาศาลที่ปัจจุบันเรามีการนำไปปรับใช้งานที่หลากหลาย ทั้งข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลกิจกรรมการทำงานต่างๆที่เป็นเสมือนตัวแทนของเราไปสร้างไว้ในชีวิตประจำวันแล้วสามารถมีการติดตามย้อนกลับไปมาระหว่างกันได้ เหล่านี้เองเลยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งานที่แตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายสินค้าหรือบริการ การเก็บข้อมูลพฤติกรรมของคนหมู่มากเพื่อนำไปประโยชน์ทั้งการค้า เชิงพานิชย์ รวมถึงสิ่งไม่พึงประสงค์ต่างๆ ด้วยเหตุที่มันมีมากมายและไม่มีการจัดการ รวมถึงผู้รับผิดชอบกรณีที่มีการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่สมควร จึงเกิดเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้นมา โดยหลายประเทศนั้นมีการบังคับใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาแล้วที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เพียงแต่ใจความของตัวบทกฏหมายนั้นมีเนื้อหาที่มีความใกล้เคียงกัน ก็คือการจัดระเบียบความเป็นส่วนตัว รวมถึงมีผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับข้อมูลส่วนบุคคลนั่นเอง

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ออกแบบมาเพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ

สรุปใจความสำคัญของกฏหมาย PDPA

การจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะประกอบไปด้วย “เจ้าของข้อมูล” และ “ผู้ควบคุมข้อมูล” โดยที่ “ผู้ควบคุมข้อมูล” นั้นต้องได้รับการยินยอมจาก “เจ้าของข้อมูล” โดยมีจุดประสงค์การเก็บข้อมูล จุดประสงค์ในการใช้งานข้อมูล รวมถึงระยะเวลาจัดเก็บข้อมูลโดยชัดเจน ไม่มีการหลอกลวงเพื่อให้ยินยอมให้ข้อมูล และทุกครั้งที่จะนำข้อมูลไปใช้ในประโยชน์ด้านอื่นที่นอกเหนือจากที่ขออนุญาตไว้ในครั้งแรกแล้ว จำเป็นจะต้องขอความยินยอมใหม่ทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเจ้าของข้อมูลนั้นยินยอมให้ข้อมูลนั้นไปใช้ในจุดประสงค์ดังกล่าวจริงสามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่

  • เจ้าของข้อมูล

    โดยเจ้าของข้อมูลนั้นเป็นผู้ที่ต้องได้รับความคุ้มครองจากตัวบทกฏหมายฉบับดังกล่าว โดยเจ้าของข้อมูลจะมี “ข้อมูลส่วนบุคคล” โดยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นหมายรวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสามารถระบุตัวตนบุคคลนั้นได้ โดยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นประกอบไปด้วย

    1. ชื่อ-นามสกุล
    2. เลขบัตรประชาชน
    3. อีเมล
    4. เบอร์โทรศัพท์
    5. ที่อยู่ หรือ แหล่งที่สามารถระบุสถานที่อยู่ได้
    6. การระบุตัวตนบนโลกอินเตอร์เน็ต หรือ IP address
    7. เลขคุ้กกิ้ที่แต่ละเว็บไซต์จะเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุตัวตนบนเว็บไซต์
  • ผู้ควบคุมข้อมูล

    Pdpa
    สิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียม สำหรับการทำ PDPA

    การเก็บข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้นความต้องการของกฏหมายนั้นไม่ได้ต้องการให้กระทำการโดยพลการอย่างที่ผ่านมา ให้มีวิธีการที่ชัดเจนโดยเจ้าของข้อมูลนั้นเคลียร์จุดประสงค์การเก็บข้อมูล สามารถยกเลิกการอนุญาตจัดเก็บข้อมูล มีระยะเวลาจัดเก็บที่ชัดเจน และรวมถึงมีการระบุสถานที่ของผู้จัดเก็บข้อมูล สถานที่ติดต่อ วิธีการติดต่อให้ชัดเจน

สิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมตัวสอดรับ

  • การเตรียมตัวจากภายใน

    สิ่งที่ภายในบริษัทต้องเตรียมสำหรับการเปลี่ยนแปลงคือการสร้างความเข้าใจให้กับคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ต้องเก็บข้อมูลของลูกค้า ฝ่ายที่ต้องเก็บข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ฝ่ายที่ต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลภายในบริษัทเอง สิ่งที่ต้องตระหนักเป็นอย่างแรกคือการเตรียมกระบวนการทำงานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการขอทำสัญญาจัดเก็บข้อมูลให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว การแต่งตั้งทีมงานที่จัดการกับระบบหลังบ้านจัดเก็บข้อมูล รวมถึงผู้ที่มารับผิดชอบเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยทางไอทีที่มีการจัดเก็บข้อมูล เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล

  • นโยบายการเก็บข้อมูลบนโลกออนไลน์

    ส่วนหนึ่งของการออก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นคือการจัดระเบียบการนำข้อมูลมาใช้บนโลกออนไลน์ที่ไม่มีขีดจำกัดในการใช้งานมาก่อน โดยการเก็บนั้นสามารถทำได้ทั้งการเก็บด้วยระบบอิเลคโทรนิค ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้บนเว็บต่างๆ กล่าวคือการแแสดงหน้าต่างขึ้นมาเพื่อขออนุญาตผู้เข้าชมเว็บไซต์ในการขอเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเบื้องต้น อันได้แก่ ข้อมูลระบุตัวตนคุ้กกี้ ที่สามารถระบุตัวตนและเก็บพฤติกรรมการใช้งานบนเว็บไซต์ได้นั่นเอง โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากที่นี่

  • การเก็บข้อมูลที่ปลอดภัย

    จากการเก็บข้อมูลรูปแบบที่ทำกันมานั้นอาจจะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่จากการบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้การเก็บข้อมูลนั้นจำเป็นต้องมีการเก็บที่รัดกุม เนื่องมาจากถ้าหากมีข้อมูลหลุดออกมา ผู้จัดเก็บข้อมูลนั้นจะมีความผิดตามกฏหมาย ซึ่งเป็นใจความหลักที่กฏหมายฉบับนี้ต้องการ ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลนั้นอาจจะต้องมีการย้อนกลับไปถึงระบบไอทีของบริษัท ที่จะต้องมีความปลอดภัยมากขึ้น ปัญหาที่มีการถูกเข้าถูกโจมตีระบบไอทีของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นไวรัสหรือการส่งข้อความแปลกปลอมต่างๆ จำเป็นต้องแก้ไขก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในระบบคอมพิวเตอร์บริษัทสามารถปรึกษาการทำระบบความปลอดภัยไอทีเพิ่มเติมได้จากที่นี่

Pdpa
บทลงโทษสำหรับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ผิดวัตถุประสงค์

บทลงโทษสำหรับกฏหมาย

  • โทษทางปกครอง

    1) ไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่จัดทำบันทึกรายการ มีโทษปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท
    2) ผู้ที่ขอความยินยอมด้วยการหลอกลวง ทำให้เข้าใจผิดในจุดประสงค์ ต้องระวางโทษทางปกครองไม่เกิน 3,000,000 บาท

  • โทษทางแพ่ง

    ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องความเสียหายได้ตามจริง ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมาจากความประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตามโดยชดใช้ความเสียหายไม่เกินสองเท่าของความเสียหายจริง

  • โทษทางอาญา

    1) การกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น  เกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    2) ผู้ที่ดูแลข้อมูลแล้วนำข้อมูลไปเปิดเผยแก่คนอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือประบไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้มีเพื่อการควบคุมการนำข้อมูลมาใช้งานอย่างเป็นระเบียบ มีผู้รับผิดชอบจากกรณีที่ข้อมูลถูกนำไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์

เปรียบเทียบก่อน-หลัง การบังคับใช้กฏหมาย

  • การเก็บข้อมูลของลูกค้า

ก่อนบังคับใช้

สามารถเก็บข้อมูลได้เลย จะนำข้อมูลไปใช้อย่างไรก็ได้ โดยระบบสมาชิกอาจจะมีการแจ้งนโยบายและกฏเกณฑ์การเป็นสมาชิกก็ตาม แต่ไม่มีข้อบังคับที่เป็นระเบียบร่วมกัน

หลังบังคับใช้

การเก็บข้อมูลต้องนำมาใช้เฉพาะจุดประสงค์ที่กำหนด แจ้งสิ่งที่ต้องไปใช้ ระยะเวลาจัดเก็บข้อมูล รวมถึงให้ข้อมูลของแหล่งเก็บข้อมูล รวมถึงสามารถยกเลิกการให้ข้อมูลได้ตลอดเวลา

  • การเก็บข้อมูลของพนักงาน

ก่อนบังคับใช้

สามารถเก็บข้อมูลพนักงานได้ จะนำข้อมูลของพนักงานไปขายต่อ หรือส่งให้กับใครก็ได้ตามแต่สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลจะทำ

หลังบังคับใช้

ก่อนมีการเก็บข้อมูลต้องมีการให้พนักงานทราบถึงจุดประสงค์การเก็บข้อมูลโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาจัดเก็บข้อมูล รวมถึงให้พนักงานมีสิทธิ์ที่จะให้เก็บข้อมูล หรือ ไม่ให้ข้อมูลไปใช้ในวัตถถุประสงค์อื่นได้

  • การใช้งานข้อมูลบนเว็บไซต์

ก่อนบังคับใช้

การเก็บข้อมูลทำได้อิสระ โดยสามารถเก็บข้อมูลส่วนบุคคล (คุ้กกี้ไอดี) ที่ใช้เก็บพฤติกรรมการใช้งาน และนำข้อมูลไปเสนอสินค้า บริการ รวมถึงโฆษณาแบบเฉพาะเจาะจงกับบุคคลได้

หลังบังคับใช้

การเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีการแจ้งให้ทราบถึงการเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้งาน โดยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล รวมถึงสิทธิที่เจ้าของข้อมูลจะสามารถปฏิเสธ หรือ ให้ใช้ในบางจุดประสงค์ได้

  • ความปลอดภัยของข้อมูล

ก่อนบังคับใช้

การเก็บข้อมูลเป็นไปตามความสามารถของแต่ละสถานที่ บุคคล และนโยบายของผู้จัดเก็บ โดยการเก็บข้อมูลนั้นไม่มีกฏเกณฑ์การจัดการที่แน่นอน

หลังบังคับใช้

การเก็บข้อมูลนั้นจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบใหม่เนื่องจากถ้าหากไม่มีความปลอดภัยที่เพียงพอแล้วเกิดข้อมูลหลุดรั่วออกไปสู่ผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษตามกฏหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • บทลงโทษ

ก่อนบังคับใช้

ถ้าหากเจ้าของข้อมูลเกิดความเสียหายจากข้อมูลส่วนบุคคลที่รั่วไหล แล้วเกิดความเสียหายต่อบุคคล ยังไม่มีกฏหมายเฉพาะทางที่มาควบคุมผลกระทบที่เกิดจากการกระทำดังกล่าวได้

หลังบังคับใช้

กฏหมายฉบับนี้จะเข้ามาควบคุมกระบวนการที่จัดเก็บข้อมูล ตรวจสอบผู้เก็บข้อมูล รวมถึงสามารถเรียกร้องความเสียหายได้ตามบทกฏหมายที่ถูกบังคับใช้

Pdpa

ถาม-ตอบ การใช้งาน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

กล้องวงจรปิด

การติดตั้งกล้องวงจรปิดและบันทึกวีดีโอโดยไม่ยินยอมมีความผิดตามกฏหมาย

การติดตั้งกล้องวงจรปิดโดยไม่ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ผิด ถ้าติดตั้งไปเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน

ถ่ายวีดีโอ

ถ่ายรูปติดคนอื่นโดยไม่ได้ยินยอมมีความผิดทางกฏหมาย

ไม่ผิด ถ้าหากการถ่ายรูปและวีดีโอนั้นไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียจากการกระทำ รวมถึงการถ่ายรูปนั้นทำไปด้วยวัตถุส่วนตัว ไม่ได้แสวงหาผลกำไร

ไม่ยินยอมให้ข้อมูล

ถ้าหากเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้สิทธิ์จะไม่มีสิทธิ์นำข้อมูลไปใช้

ไม่จริง ข้อยกเว้นทางกฏหมายในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ได้ในกรณีที่มีการนำข้อมูลไปประมวลผลเพื่อรักษาชีวิต ควบคุมการระบาดของโรค ปฏิบัติตามกฏหมาย รวมถึงมีการทำสัญญาไว้ก่อนแล้ว

Pdpa prokit

บริการชุดเอกสาร PDPA
69 รายการสำหรับทำใน 1 เดือน

  • ชุดเอกสารที่จำเป็นสำหรับทำระบบ
  • ใบสัญญาครอบคลุมพื้นฐานที่บริษัทต้องใช้
  • มีการอัปเดตข้อกฏหมายต่อเนื่อง 1 ปี
  • มีที่ปรึกษาในการใช้ข้อมูลต่อเนื่อง 30 วัน

ปรึกษาการทำระบบสอดคล้องกฏหมาย

กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับไป