Zero trust network access(ZTNA) คืออะไร

zero trust network access : ZTNA

Zero trust network access  เป็นเครื่องมือความปลอดภัยที่เอามาทดแทนการทำงานผิดพลาดของการตัดสินใจมนุษย์ โดยการใช้ระบบดิจิตอล ในการมายืนยันตัวตน และกระบวนการทำงานที่ใช้การตรวจสอบความปลอดภัยหลายอย่างมาร่วมกันทำงาน ทำให้ตัวระบบเองมีความน่าเชื่อถือ อะไรเป็นสิ่งที่น่ากังวล ข้อดี ข้อเสีย สรุปมาในบทความนี้แล้ว

Zero trust network access (ZTNA)

โดยตัว concept นั้นเกิดจากการพัฒนาระบบความปลอดภัยเดิม ที่ระบบเก่านั้นการเข้าระบบจะเน้นใช้ความเป็นมนุษย์เป็นหลัก มีการให้มนุษย์ต้องกรอก อีเมล รหัสผ่าน แล้วสามารถเข้าไปดูระบบหลังบ้านได้อย่างอิสระ ซึ่งวิธีการที่ง่ายและไม่ซับซ้อนนี่เองถ้าหากมีรหัสผ่านของผู้ใช้หลุดออกไปเพียงไม่กี่แอคเค้าท์ ก็อาจจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกยกเค้าได้

การพัฒนาต่อยอดจากความปลอดภัยรูปแบบข้างต้น มีการต่อยอดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการกรอกรหัสหลายวิธีการ โดยการเข้ารหัสด้วยหลายขั้นตอน เช่น การเข้ารหัสด้วย OTP หรือเป็นการยืนยันการเข้าสู่ระบบด้วยแอพพลิเคชั่น ซึ่งอาจจะช่วยได้ หรือ ระบบเครือข่ายภายใน แต่อาจจะไม่ได้เชื่อมโยงกับการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอกบริษัท (เครือข่าย) การยืนยันตัวตนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวตัดสินใจจึงถูกเอามาใช้ 
zero trust is no trust for any incident

จุดเด่น

ระบบความปลอดภัย ซีโร่ทรัสต์ โดยระบบนี้เป็นแนวคิดด้านความมั่นคงแบบใหม่ ที่ถือว่าระบบเครือข่ายทั้งหมดไม่ควรไว้ใจซึ่งกันและกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะการติดต่อกับระบบเครือข่ายภายนอกเท่านั้น แม้แต่ระบบภายในทั้งหมดเองก็ด้วยเช่นกัน

การออกแบบระบบเครือข่าย โดยยึดข้อมูลเป็นศูนย์กลาง (Data-centric Network) และมีการวางมาตรการควบคุมโดยรอบข้อมูลนั้น เพื่อให้สามารถบังคับใช้นโยบายด้านความมั่นคงในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมด ทำให้สามารถตรวจจับและป้องกันแฮกเกอร์ที่เข้ามาในระบบเครือข่าย และป้องกันข้อมูลรั่วไหลสู่ภายนอกได้ดีกว่า ด้วยระบบที่ออกแบบมาเพื่อทำงานจากที่บ้าน พนักงานในบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลถึงแม้ไม่ได้อยู่ในบริษัทก็ตาม

zero trust network access diagram
ZTNA มีโครงสร้างภายในคือการพิสูจน์ความเป็นตัวตน จัดการนโยบายของข้อมูล และจัดการพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

การแก้ปัญหา

ระบบนี้เข้ามาจัดการระบบความปลอดภัยโดยแยกแยะ Ransomware ได้อย่างรวดเร็ว

  • ตรวจสอบอย่างชัดเจน

    กระบวนการดังกล่าวใช้การยืนยันความเป็นตัวตนเอง อาจจะใช้ลายนิ้วมือ การขอรหัส OTP หรือ Authentication application เข้ากุญแจดิจิตอล ต่างๆเหล่านี้เป็นการยืนยันว่าเป็นตัวเราจริงๆ

  • ให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลน้อยที่สุด

    แน่นอนว่าด้วยพื้นฐานความไม่เชื่อมั่นว่าระบบมีความปลอดภัยนี่เอง ทำให้ต้องมีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลได้เพียงเท่าที่จำเป็น มีเวลาเข้าถึงข้อมูลที่จำกัดเพื่อให้กลับมายืนยันตัวตนอีกครั้ง

  • ปลอมตัวเป็น Hacker เข้าระบบตัวเอง

    กระบวนการนี้ในหลายบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ มีการให้บุคคลภายนอกแข่งขันกันเพื่อแฮกระบบของตัวเองก็มี เพื่อพยายามตรวจจับหารูรั่วของระบบ ปัจจุบันนี้ในหลายบริษัทนั้นมีแนวทางป้องกันที่รัดกุม แต่การหลุดรั่วของข้อมูลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น เกิดจากการให้สิทธิ์ของ Thrid party ในการเข้ามาซัพพอร์ตระบบ แล้วถูกเจาะระบบมาจากผู้ร่วมพัฒนาซอฟแวร์ภายนอกนั่นเอง
    Phishing and threat

การโจมตีและอุปสรรค

การโจมตีแบบ ransomware สามารถเข้าสู่เครือข่ายได้หลายวิธี เช่น การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ การโจมตีแบบฟิชชิง หรือการโจมตีทาง social engineering รวมถึงการพยายามขโมยข้อมูลของผู้ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าสู่เครือข่าย เช่น Remote Desktop Protocol หรือ RDP ฯลฯ ด้าน  Trend Micro Research  เคยเขียนอธิบายไว้ว่า ผู้โจมตีจะเจาะเครือข่ายเพื่อค้นหาข้อมูลที่มีค่า และจะสร้างรังอยู่ในเครือข่ายนั้นนอกจากนี้ยังได้เสนอด้วยว่าองค์กรต่าง ๆ ควรนำซีโร่ทรัสต์มาใช้ภายใน เพื่อลดผลกระทบของมัลแวร์ประเภทนี้ ด้าน Brian Kime นักวิเคราะห์อาวุโสของ บริษัท Forrester กล่าวว่าระบบนี้ มีประสิทธิภาพมากพอที่จะป้องกันการเพิ่มขึ้นของ ransomware ได้

การนำ Zero trust network access (ZTNA) มาปรับใช้ในองค์กร

ด้วยแนวทางของการทำระบบนั้นจะเน้นการออกแบบระบบที่ให้มีการตรวจสอบ 2FA หรือ การเข้ารหัสด้วยสองชั้น จากนั้นจะเป็นการวางผังของระบบ IT ใหม่ ซึ่งแต่เดิมก่อนเกิดการระบาดของโรค การวางผังข้อมูลของบริษัทอาจจะไม่ได้ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็น เนื่องจากระบบ Intranet หรือเครือข่ายภายในนั้น มีการป้องกันรัดกุมและตรวจสอบกลับได้อย่างเร็วนั่นเอง

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

วิศวกรดูแลระบบ wifi organizer ตลอดการทำงาน

Firewall as a Service

ระบบความปลอดภัยไอที พร้อมผู้เชี่ยวชาญดูแล พร้อมจัดการปัญหาด้านการใช้งาน ปรับปรุง Network ขององค์กร สอดคล้องตามหลัก PDPA พร้อมเก็บ Log ตามกฏมาย

  • ฟรีอุปกรณ์ Firewall BOX ที่ไซต์
  • ฟรีต่อ MA ตามสัญญา
  • ฟรีอัปเกรดอุปกรณ์ตกรุ่น

หาไอที พอรู้ไอที freelance เข้าไซต์ต่างจังหวัด เตรียมอุปกรณ์ พร้อมรีโมท

หาไอที

หาไอที คนพอทำงานไอทีได้ เข้าไปช่วยไซต์งานต่างจังหวัด เข้าไปช่วยซัพพอร์ตเตรียมงานพื้นฐาน เสียบปลั๊ก เปิดเครื่อง เตรียมโปรแกรมรีโมทเข้าไปเซอร์วิส โดยคนใกล้ไซต์งาน เจ้าของงานไม่ต้องเดินทางเข้าไปเอง ช่วยให้ทำงานได้เร็วไม่เสียเวลาเดินทางเข้าไป โดยเราเป็นตัวกลางในการหาคนรับงาน จัดการคิวจอง พร้อมรับประกันงานเสร็จตามกำหนด

หาคนพอรู้ไอทีเข้าไซต์งาน

ทำงานตามสั่ง เสียบปลั๊ก เปิดเครื่อง

รองรับงานทั่วประเทศ

ออกใบกำกับภาษีได้

บริการ หาไอที เข้าไซต์งานต่างจังหวัด

ลักษณะบริการเป็นอย่างไร?

หาไอที คนพอทำงานไอทีได้ เข้าไปช่วยไซต์งานต่างจังหวัด เข้าไปช่วยซัพพอร์ตเตรียมงานพื้นฐาน เสียบปลั๊ก เปิดเครื่อง เตรียมโปรแกรมรีโมทเข้าไปเซอร์วิส โดยคนใกล้ไซต์งาน เจ้าของงานไม่ต้องเดินทางเข้าไปเอง ช่วยให้ทำงานได้เร็วไม่เสียเวลาเดินทางเข้าไป โดยเราเป็นตัวกลางในการหาคนรับงาน จัดการคิวจอง พร้อมรับประกันงานเสร็จตามกำหนด

คนพอรู้ไอทีเป็นใคร?

คนที่ทำหน้าที่เป็นไอที หรืออาจจะรู้ระบบไอทีบ้าง เป็นพาร์ทเนอร์ในการทำงานร่วมกับเรา โดยผู้รับงานจะรู้ความต้องการของลูกค้ามาก่อนแล้ว ทำให้มั่นใจว่างานของคุณจะได้อย่างที่ต้องการ โดยถ้าหากมีความต้องการเพิ่มเติมพิเศษ ต้องการหาคนที่ช่วยงานเฉพาะทาง ช่วย configuration หรือการติดตั้งเฉพาะทางบางอย่างก็สามารถแจ้งกับทีมงานเราที่จัดหาให้ได้

ทดลอง โดยผู้เชี่ยวชาญ 

หาไอที ทำงานตามตกลง

หน้าที่การทำงานของคนรับงานไอทีจะแบ่งเป็นสองประเภทได้แก่

  • คนพอรู้ไอที

    หลายงานไอทีเป็นงานที่อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ทีมงานเฉพาะด้าน อาจจะใช้เพียงทักษะพื้นฐาน เช่น เสียบปลั๊ก จั้มสาย เปิดเครื่อง ดูความเรียบร้อยตามสั่ง โดยผู้ว่าจ้างไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานที่ทักษะเฉพาะด้าน เพียงมาทำงานที่ง่ายใครก็ทำได้ เพียงแต่เจ้าของงานไม่สะดวกเดินทางมาเอง และไม่จำเป็นต้องมาด้วยตัวเองก็ได้ ให้คนในพื้นที่ ให้คนที่พอรู้ไอทีใกล้ไซต์งานทำให้ ราคาประหยัด ถูกกว่าขับรถมาเอง ขอรายละเอียดเพิ่มเติม

  • ไอทีเฉพาะทาง

    ถ้าหากกำลังมองหาคนช่วยแก้ ซ่อม ทำงานโดยใช้ทักษะไอที ทำฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์โดยใช้คนที่มีทักษะเฉพาะ สามารถแจ้งรายละเอียดงานให้เราหาทีมพาร์ทเนอร์ของเรา โดยการกรอกแบบฟอร์มกรอกแบบฟอร์มหา Agent รับงาน

data filtering and screen some user out

หาคนพอรู้ไอที เข้ามาเป็นแขนขาให้คุณ

เราเป็นตัวกลางในการหาคนพอรู้ไอทีเข้ามารับงาน เพียงแค่มีงานที่ง่ายและไม่อยากเสียเวลาเข้าไป สามารถใช้บริการคนไปหยิบๆจับๆ เปิดปิดอุปกรณ์ให้คุณได้

ไม่ต้องวิ่งเข้าไซต์เอง ถูกกว่า Onsite เอง

ลูกค้าไม่ต้องวิ่งเข้าหน้างานเอง ให้ agent ของเราจะเข้าไปช่วยงานเอง โดยเป็นงานที่ไม่ต้องวิ่งเข้าหน้างานเพื่อทำงานที่ให้ผู้ช่วยทำแทน โดยสามารถแจ้งคุณสมบัติเพิ่มเติมที่ต้องการให้กับทีมงานของเราได้เลย
ค่าบริการเริ่มต้น 1000 บาท/ครั้ง

กรอกแบบฟอร์มเพื่อหาพนักงาน

ทีมงานจะติดต่อกลับ

5 ฟีเจอร์หลักที่ Firewall as a Service ช่วยบริษัท SMEs ที่ไม่มีไอทีได้

5 ฟีเจอร์ firewall as a service

5 ฟีเจอร์ ทำระบบความปลอดภัยไอทีในบริษัท ที่ไม่มีไอที โดยทั่วไปเคยสงสัยไหมว่า อินเตอร์เน็ตบริษัท ที่เสียบเข้าเครื่องนั้นมีความผิดปกติหรือเปล่า อย่างเช่น การมีแจ้งเตือนแปลกๆจากบราวเซอร์ การมีหน้าต่างลอยขึ้นมาระหว่างใช้คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการได้รับเมลปลอมมาหลอกเป็นประจำ เน็ตหลุดไม่รู้สาเหตุ โดยทั่วไปปัญหาเหล่านี้นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการติดไวรัส การติดตั้งบางโปรแกรมที่พ่วงโปรแกรมอื่นเข้ามา หรือแม้กระทั่งการได้รับการมาเยือนจากผู้เยี่ยมชมที่ไม่ได้รับเชิญมาแฝงกายในระบบ โดยที่ระบบความปลอดภัยไม่สามารถตรวจพบเจอ การจำกัดความปลอดภัยทำได้ยากลำบาก ไม่มีผู้ที่พอจะแก้ไขได้ในออฟฟิศ นี่จะเป็น 5 สิ่งที่ทำให้ระบบไอทีบริษัทกลับมาถูกจัดระเบียบได้ ฉบับไม่มีไอทีประจำ ไม่มีคนที่รู้ดูแลระบบ

จัดระเบียบระบบไอทีบริษัทยังไง (สัญญาว่าจะเขียนให้คนไม่รู้ไอทีเข้าใจ)

อัปเดต Windows , MacOS ให้ใหม่ล่าสุด

สิ่งที่ง่ายและทำได้ทันทีในวินาทีแรกคือการกดอัปเดตระบบให้มีความปลอดภัยสูงสุด เพราะทุกการอัปเดตนอกจากมันเป็นการปรับปรุงเวอร์ชั่นของโปรแกรมแล้ว ยังปิดจุดบอด bug ที่ถูกเข้ามาทะลุทะลวงได้แล้ว (ในเครื่องของคนอื่นสักที่บนโลกนี้) เมื่อเวลาผ่านไปเจ้าของโปรแกรมต้องรีบแก้จุดดังกล่าวเพื่อไม่ให้ลูกค้าได้รับผลกระทบกับการใช้งาน ดังนั้นถ้าหากไม่ได้มีการอัประบบให้ทันสมัยใหม่ล่าสุดถอดด้ามตลอดเวลา มันก็จะทำให้เป็นเหยื่อได้นั่นเอง ในกรณีที่ใช้ Windows เก่าๆนั้นสิ่งที่ต้องแบกรับคือ Microsoft ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็ไม่ช่วยแก้ช่องโหว่อีกต่อไป หมายถึงหลังจากนั้นถ้ามีคนเจาะระบบสำเร็จแล้ว จะไม่มีการอุดรอยรั้วให้อีกต่อไป ถ้าหากสามารถอัปเกรด (ซึ่งตอนหลังอัปเกรดรุ่นฟรี) ก็ควรจะทำ หรือถ้ากรณีที่ไม่มั่นใจว่าจะทำให้ระบบที่ใช้งานอื่นๆมันใช้ร่วมกันได้หรือเปล่า เราขอแนะนำให้ลองพูดคุยกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ หรือ ทดลองเปลี่ยนบางเครื่อง เพื่อดูว่ามันไม่เจ๊งแน่นะวิ !?!
อัปเกรด ฟีเจอร์ ความปลอดภัยของระบบ OS

ตั้งรหัสผ่านใหม่ให้ปลอดภัยสูง

ตอนนี้หลายโปรแกรม หลายแอพพลิเคชั่นนั้นจะบังคับให้เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง การตั้งรหัสผ่านที่ผสมกันทั้งตัวเลขและอักษร รวมถึงการยืนยันตัวตนอีกชั้นด้วยรหัส OTP หรือ แสกนนิ้วที่เรียกว่า Two factor authentication โดยถ้าใช้งานในโปรแกรมหลักอยู่แล้วก็จะมีการบังคับให้เปิดระบบนี้เพื่อให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น ในกรณีที่เป็นโปรแกรมภายในที่ทำขึ้นมาใช้เอง ถ้าหากพิจารณาในการเพิ่มฟีเจอร์กรอกรหัสผ่านสองชั้นได้ ก็จะช่วยให้ปราการของบริษัทได้รับการดูแล

ไฟล์อะไรลับ ละเอียดอ่อน ก็ใส่ ฟีเจอร์ ตั้งรหัสผ่านไว้

การเข้ารหัสไฟล์เฉพาะที่สำคัญสำหรับออฟฟิศในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว อาจจะสามารถทำได้ตามวิธีการนี้ Windows 10 ขึ้นไป / MacOS Ventura 13 แต่ในกรณีที่ใช้ไฟล์ร่วมกันทั้งบริษัท ไม่ว่าจะผ่านเครื่อง Server หรือ NAS โดยสามารถกำหนดได้ว่า โฟลเดอร์นี้ใครจะมองเห็นได้บ้าง ใครมีสิทธิ์เปิดไฟล์นี้ได้บ้าง รวมถึงการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอนก็จะช่วยให้ไฟล์นั้นถูกจัดระเบียบได้
ฟีเจอร์ ป้องกันข้อมูลสูญหาย ก่อนจะสายไป data prevention

Firewall ต้องเข้าแล้วล้ะ (ป้อมยามของไอที)

ถ้าการใช้เน็ตบ้านมาติด ก็จะมีอุปกรณ์พ่วงเข้ามาประเภท เร้าเตอร์ ต่อสายแลนเข้าเครื่องคอมพ์โดยตรงเลย แต่ในออฟฟิศที่มีความซับซ้อนกว่าคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่อง จำเป็นต้องมีเครื่องกรองข้อมูลให้คนที่ไม่ใช่ออกไป

  • กรองข้อมูล
  • บลอคเว็บ
  • บลอคโหลดไฟล์แปลก
  • ส่องคนใช้งานไม่พึงประสงค์

สำรองข้อมูล ไม่มีก็ต้องทำ

โดยทั่วไปแล้วทุกบริษัทมีการเก็บข้อมูลไว้ส่วนกลาง (ในกรณีที่มีอุปกรณ์ Server ของตัวเอง) ทำให้การเก็บข้อมูลเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการขาย ข้อมูลทางบัญชี ข้อมูลพนักงานต่างๆ ถึงแม้ว่ามีการกำหนดบทบาทของผู้ใช้งานให้ใครเข้าถึงข้อมูลส่วนไหน แต่ในกรณีที่มีการยกเค้าเครื่อง ขโมยข้อมูลไปทั้งฮาร์ดดิสก์ ติดไวรัสแรนซัมแวร์อย่างไรก็ตาม การเตรียมพื้นที่สำรองข้อมูลที่ปลอดภัยไว้อีกชุดในอีกสถานที่หนึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆๆ ถ้าหากไม่มีการทำ mirroring (ก้อบปี้ไฟล์ไว้อีกลูกฮาร์ดดิสก์) หรือ Backup ไว้บน Cloud ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

สอนคนในบริษัทให้เข้าใจพื้นฐานการถูกหลอกลวง

การเทรนให้กับพนักงานก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่อาจจะถูกหลอกลวง การดูชื่ออีเมลที่ถูกปลอมขึ้นมา การหลอกให้ทำอะไรบางอย่างจากผู้ที่เหมือนจะรู้จัก สิ่งเหล่านี้สามารถอบรมทีมงาน รวมถึงทดสอบความเข้าใจของพนักงานได้ สามารถหาคอร์สเพื่ออบรมทีมงานได้จากที่นี่
ฟีเจอร์ สามัญประจำออฟฟิศ 5 firewall features

5 ฟีเจอร์ ที่เป็นสกิลสามัญประจำบ้านของทุกบริษัท

  1. ตั้งกฏเหล็ก ( ฟีเจอร์ ที่เห็นผลได้เร็วสุด)

    การตั้งกฏเกณฑ์การใช้งานระบบก็เหมือนกับการตั้งกฏของพนักงานในบริษัทในการเข้างาน ลามาสายเท่าไหร่ เพียงแต่กฏเกณฑ์ดังกล่าวนั้นจะแตกต่างออกไปในส่วนของเน็ตเวิร์ค การใช้คอมพิวเตอร์บริษัท การใช้อินเตอร์เน็ตบริษัทเท่านั้น

    • กฏของพนักงาน

      การใช้งานอินเตอร์เน็ตในเคสของบริษัทที่ไม่ต้องการให้พนักงานเข้าไปเล่นโซเชี่ยลมีเดียในเวลางาน ก็อาจจะจำกัดการใช้งาน การไม่ให้เข้าบางเว็บไซต์ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายการทำงานของบริษัทเองเช่นเดียวกัน

    • กฏของทางเทคนิค

      เป็นขั้นตอนที่ใช้โปรแกรมในการตรวจสอบพฤติกรรมการผิดปกติการใช้งาน อย่างเช่น (เหตุการณ์สมมติ) พนักงานจำเป็นต้องใช้ Google chrome ทำงานเป็นปกติ แต่อยู่ๆมีโปรแกรมอ่านไฟล์ PDF แอบเชื่อมต่อกับเว็บบางเว็บโดยไม่ได้อนุญาตพร้อมกับส่งข้อมูลออกไปตลอดเวลา พฤติกรรมการใช้งานที่แปลกและไม่พึงประสงค์เหล่านี้จะถูกอุปกรณ์ Firewall ตรวจจับได้ถ้าหากมีการเซ็ตระบบให้เป็นไปตามระบบความปลอดภัยพื้นฐานได้
      data structure

  2. จำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล 

    การกำหนดบทบาทของผู้ดูแลข้อมูล ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลบางส่วนได้ โดยการแยกหน้าที่อย่างชัดเจนนี่เองจะทำให้ข้อมูลนั้นมีผู้รับผิดชอบ สามารถรู้ได้ว่าในกรณีที่ถูกโจรกรรมข้อมูล ติดไวรัส หรือติดตั้งโปรแกรมไม่พึงประสงค์เข้ามาในเครื่องนั้นเกิดจากอุปกรณ์ตัวใด ใช้เวลาในการจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

  3. กรองข้อมูลอินเตอร์เน็ต คัดคนไม่ใช่ออกไป

    คุณสมบัติหนึ่งของ Firewall (ถ้าติดตั้งและดูแลอย่างถูกต้อง) จะทำหน้าที่กรองข้อมูลและจัดการกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม โดยการทำงานนั้นจะตรวจสอบตั้งแต่การเชื่อมต่อเข้ามา ระยะเวลาที่เชื่อมต่อ ดูการใช้ข้อมูลของโปรแกรมที่อยู่ในเครื่อง การส่งข้อมูลของโปรแกรม ถ้าหากว่ามันมีอะไรไม่ชอบมาพากล กลไกการทำงานนั้นจะถูกแยกเข้าไปในระบบคัดกรองความปลอดภัยว่าพฤติกรรมนั้นจะอยู่ในระบบ เฝ้าระวัง ถูกปิดกั้น หรือ อันตราย เก็บเก็บ record ให้กับผู้ดูแลระบบจัดการต่อไป
    data filtering and screen some user out

  4. ดูพฤติกรรมที่แปลกประหลาดกว่าคนในออฟฟิศ

    ถึงแม้ว่าแฮกเกอร์จะพยายามเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งานจริงอยู่แล้ว แต่ในสถานที่ ผู้คนในการทำงานจะมีพฤติกรรมที่คล้ายกันจนสามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่ได้รับอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง อย่างเช่นได้รับอีเมลจากเพื่อนร่วมงานในการออกเอกสารบางอย่าง ในบางออฟฟิศรูปแบบการส่งอีเมลนั้นอาจจะเป็นการสื่อสารภายในแบบไม่เป็นทางการ ไม่มีฟอร์มหัวท้ายของจดหมาย แต่เมื่อได้รับเมลฉบับหนึ่งจากเพื่อนร่วมงานมีการพูดคุยด้วยภาษาอย่างเป็นทางการ มีรูปแบบที่แปลกแตกต่างจากวัฒนธรรมองค์กรที่ใช้กันอยู่ ก็จะสามารถแยกได้ว่าอีเมลฉบับนี้แปลกปลอม ซึ่งสิ่งที่ต้องการตรวจสอบอีกครั้งอาจจะเป็นการสอบถามเพื่อนร่วมงานโดยตรง การตรวจสอบที่อยู่ของอีเมล ในกรณีที่เครื่องนั้นถูกแฮกอย่างสมบูรณ์แล้วเป็นไปได้ที่แฮกเกอร์อาจจะสามารถรับส่งอีเมลได้จากอีเมลของเหยื่อจริงๆ จนไม่สามารถแยกได้ ดังนั้น พฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างพนักงานที่ต้องเรียบรู้พฤติกรรมที่ไม่ปกติ รวมถึงอุปกรณ์กรองข้อมูลที่ทำหน้าที่คัดแยกไฟล์ ปิดกั้นการเปิดลิงค์ที่มาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจได้

  5. ใช้ข้อมูลเชิงลึก (ทางเทคนิค)

    เหนือสิ่งอื่นใดสิ่งที่คนไม่ได้เป็นไอทีอาจจะไม่สามารถทำส่วนนี้ได้ถ้าไมไ่ด้รับความช่วยเหลือจากผู้ที่รู้งานระบบ การใช้ข้อมูลเชิงเทคนิคเป็นการไปเปิดดู dushboard ของการทำงาน การดู traffic ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของคนในออฟฟิศ รวมถึงการตรวจดูว่าเครื่องไหนมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ถูกคัดกรองได้ของอุปกรณ์ Firewall มาแล้ว จากนั้นจะสามารถช่วยมอนิเตอร์ทีมงานในการจัดการกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในเวลาอันใกล้ โดยการจัดการระบบครบวงจรนั้นสามารถทำโดยการใช้ออแกไนซ์เซอร์ที่ดูแลระบบความปลอดภัยอยู่แล้วมาช่วยในการวางระบบ ดูแล และนำอุปกรณ์มาติดตั้งในออฟฟิศได้ผ่านบริการ Firewall as a Service ซึ่งสามารถศึกษาได้จากข้อมูลด้านล่างนี้

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล​

  • Firewall subscription model
  • พร้อมพนักงานบริหารจัดการระบบหลังบ้าน
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีที่ปรึกษาดูแลระบบตลอดอายุสัญญา

ปรึกษาการทำ Cyber Security

กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้