Skip to content

5 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่องค์กรยุคใหม่ต้องระวัง และวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพ

Feature Image Prospace B 1146600

Loading

ในยุคดิจิทัลที่การโจมตีทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายในการปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลอย่างไม่เคยมีมาก่อน อาชญากรไซเบอร์พัฒนากลยุทธ์การโจมตีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวและเพิ่มความเข้มแข็งในการรับมือภัยคุกคาม บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ 5 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบบ่อยที่สุดในองค์กร ได้แก่ Ransomware ที่นำข้อมูลไปเป็นตัวประกันเพื่อเรียกค่าไถ่, ความเสี่ยงจากระบบที่ขาดการดูแลและการตั้งค่าที่ไม่ปลอดภัย, การโจมตีแบบ Credential Stuffing ที่อาศัยจุดอ่อนของการใช้พาสเวิร์ดซ้ำ, เทคนิค Social Engineering ที่หลอกล่อ ยูสเซอร์ให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญ และภัยคุกคามจากอุปกรณ์ IoT ที่กำลังแพร่หลายในออฟฟิสสมัยใหม่

1. Ransomware: ผู้ร้ายตัวฉกาจในโลกไซเบอร์

Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ได้กลายเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น่ากลัวที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยความสามารถในการโจมตีไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็ก ภาครัฐหรือเอกชน ทุกภาคส่วนล้วนตกเป็นเป้าหมายได้ทั้งสิ้น ความน่ากลัวของ Ransomware อยู่ที่การเข้ารหัสข้อมูลสำคัญขององค์กร ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้ จากนั้นจึงเรียกค่าไถ่เพื่อแลกกับกุญแจในการถอดรหัส


แต่ละอุตสาหกรรมมีจุดอ่อนเฉพาะตัวที่ดึงดูดอาชญากรไซเบอร์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนไหวของข้อมูลที่จัดเก็บ การพึ่งพาความเชื่อมั่นของสาธารณชน หรือศักยภาพทางการเงินในการจ่ายค่าไถ่ การโจมตีด้วย Ransomware สามารถทำให้การดำเนินงานขององค์กรหยุดชะงัก สร้างความสูญเสียทางการเงินอย่างมหาศาล และส่งผลเสียต่อชื่อเสียงอย่างรุนแรง


สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือ การโจมตีด้วย Ransomware มักเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อน ซึ่งหมายความว่าองค์กรได้ถูกบุกรุกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาก่อนแล้ว ดังนั้น การป้องกัน Ransomware จึงต้องเริ่มตั้งแต่การสร้างระบบป้องกันการบุกรุกที่แข็งแกร่งและการตรวจจับการโจมตีในระยะแรกๆ

2. การตั้งค่าที่ไม่ปลอดภัยและระบบที่ขาดการอัปเดต: ประตูเปิดแง้มให้กับผู้บุกรุก

องค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตั้งค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม หรือยังคงใช้การตั้งค่าเริ่มต้น (Default Settings) บนระบบของตน กำลังเปิดประตูต้อนรับอาชญากรไซเบอร์โดยไม่รู้ตัว การตั้งค่าที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ รวมถึงระบบที่ไม่ได้รับการอัพเดท Patch อย่างสม่ำเสมอ การควบคุมการเข้าถึงที่หละหลวม การเปิดเผยข้อมูลที่มีความอ่อนไหว และการใช้งานคอมโพเนนต์ที่ล้าสมัย เปรียบเสมือนช่องโหว่ที่อาชญากรไซเบอร์สามารถใช้เป็นทางเข้าเพื่อเข้าถึงข้อมูลลับหรือสร้างความเสียหายให้กับองค์กร

ในความเป็นจริง มีเครื่องมือบน Deep Web ที่ช่วยให้แฮกเกอร์สามารถค้นหาช่องโหว่เหล่านี้ได้แบบง่ายดาย ทำให้การโจมตีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงจำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติที่เข้มงวดในการบริหารจัดการระบบ การอัพเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ และการตรวจสอบการตั้งค่าความปลอดภัยอยู่เป็นประจำ

3. Credential Stuffing: อันตรายจากการใช้พาสเวิร์ดซ้ำ

ในการโจมตีประเภทนี้ อาชญากรไซเบอร์อาศัยจุดอ่อนของผู้ใช้งาน เช่น การใช้พาสเวิร์ดเดียวกันในหลายเว็บไซต์ เพื่อเข้าถึงบัญชีดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต พวกเขาใช้บอทอัตโนมัติทดสอบคู่ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดที่ได้มาจากการรั่วไหลของข้อมูลในอดีตบนเว็บไซต์ต่างๆ หากผู้ใช้ใช้พาสเวิร์ดเดียวกันในหลายที่ แฮกเกอร์ก็จะสามารถเข้าถึงบัญชีของพวกเขาได้อย่างง่ายดาย

วิธีการนี้อันตรายเป็นพิเศษเพราะอาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน หรือแม้แต่ข้อมูลขององค์กรที่ผู้ใช้มีสิทธิ์เข้าถึง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการสร้างความตระหนักรู้ให้พนักงานเห็นความสำคัญของการใช้พาสเวิร์ดที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละบัญชี และการใช้ระบบยืนยันตัวตนหลายปัจจัย (Multi-factor Authentication) เพื่อเพิ่มชั้นความปลอดภัย

4. Social Engineering: ศิลปะการหลอกลวงที่เหมือนจริง

อาชญากรไซเบอร์ใช้เทคนิค Social Engineering ซึ่งเป็นการหลอกลวงอย่างแยบยล เพื่อชักจูงให้ผู้ใช้กระทำการที่ส่งผลเสียต่อความปลอดภัยของตนเอง ผ่านการหลอกลวงและเล่ห์เหลี่ยม แฮกเกอร์สามารถทำให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับหรือดำเนินการที่เปิดโอกาสให้พวกเขาเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
ความประณีต ถี่ถ้วนคือกุญแจสำคัญในการโจมตีประเภทนี้ แฮกเกอร์จะสำรวจ สอดส่องเป้าหมายของพวกเขาอย่างละเอียด รวบรวมข้อมูลส่วนตัวและรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมออนไลน์ของเป้าหมาย ด้วยข้อมูลเหล่านี้ พวกเขาสร้างสถานการณ์เฉพาะบุคคล โดยใช้อีเมลปลอม เว็บไซต์หลอกลวง หรือ Vishing (การหลอกลวงทางโทรศัพท์) เพื่อหลอกล่อเป้าหมาย

5. ภัยคุกคามจาก IoT (Internet of Things): จุดอ่อนที่มองข้ามไม่ได้

ในยุคที่อุปกรณ์ IoT กำลังแพร่หลายในออฟฟิสสมัยใหม่ ตั้งแต่กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ ไปจนถึงเครื่องพิมพ์เอกสารที่เชื่อมต่อเครือข่าย อุปกรณ์เหล่านี้กลายเป็นประตูด่านหน้าที่อาชญากรไซเบอร์มองหา ด้วยโครงสร้างที่มักถูกออกแบบโดยคำนึงถึงฟังก์ชันการใช้งานมากกว่าความปลอดภัย อุปกรณ์ IoT จึงมักมีจุดอ่อนด้านการรักษาความปลอดภัยที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถใช้ประโยชน์ได้

ปัญหาสำคัญของอุปกรณ์ IoT ในองค์กรคือการจัดการที่ยากลำบาก อุปกรณ์เหล่านี้มักใช้พาสเวิร์ดเริ่มต้นจากโรงงาน ซึ่งองค์กรไม่ได้เปลี่ยนแปลง หรือมีซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการอัปเดต ทำให้มีช่องโหว่ที่แฮกเกอร์สามารถใช้ในการบุกรุกเครือข่าย เมื่ออุปกรณ์ IoT ถูกบุกรุก อาชญากรไซเบอร์ไม่เพียงแต่ควบคุมอุปกรณ์นั้นๆ เท่านั้น แต่ยังใช้เป็นฐานในการเคลื่อนย้ายภายในเครือข่ายขององค์กรเพื่อเข้าถึงระบบที่สำคัญกว่าได้อีกด้วย

การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการป้องกันด้วย FWaaS

เมื่อเผชิญกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่หลากหลาย องค์กรจึงต้องมีแนวทางเชิงรุกในการรักษาความปลอดภัยและการป้องกัน แต่หลายองค์กรประสบปัญหาในการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยด้วยตัวเอง หรือต้องจ้างพนักงานประจำไอทีที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์มาดูแลโดยเฉพาะ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญได้ยาก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity เป็นที่ต้องการสูงในตลาดแรงงาน

นี่คือจุดที่ FWaaS (Firewall as a Service) by ProSpace เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในฐานะทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กร FWaaS เป็นการเอาท์ซอร์ซ (Outsource) งานด้านการดูแลและจัดการความปลอดภัยของระบบสารสนเทศทั้งหมดให้กับผู้เชี่ยวชาญภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย การตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ การมีทีมงานคอยตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย รวมถึงการประเมินช่องโหว่และเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ

ในการเลือกใช้บริการ FWaaS องค์กรจะได้รับประโยชน์มากมาย ทั้งในแง่ของความคุ้มค่าและประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องลงทุนสูงในการจัดหาระบบและจ้างผู้เชี่ยวชาญประจำ ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและงบประมาณ (OpEx) อย่างมีนัยสำคัญ โดยเป็นการจ่ายในรูปแบบเหมาจ่ายตามแพ็กเกจ (Contract) ทำให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ การใช้บริการ FWaaS ยังช่วยแบ่งเบาภาระงานด้านไอทีขององค์กร โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการรักษาความปลอดภัยทั้งหมด ทำให้ทีมไอทีภายในองค์กรสามารถมุ่งเน้นไปที่งานสำคัญอื่นๆ ได้มากขึ้น เพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม FWaaS by ProSpace นำเสนอโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมทุกด้าน มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 15 ปีในการให้บริการรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กร พร้อมให้บริการครบวงจร สนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ProSpace ได้ที่ โทร : 085-449-7373 หรือ Email SALES@PROSPACE.SERVICE หรือทำนัดเราเพื่อรับการปรึกษาฟรีได้เลย