พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) อาจทำให้ฝ่ายบุคคลเสียค่าปรับ 5 ล้านบาท

PDPA อาจจะทำให้ HR เสียค่าปรับเป็นล้าน

ปัจจุบันนี่เราคงหลีกเลี่ยงการไม่ยอมให้ข้อมูลของเรากับคนอื่นๆไม่ได้ ทั้งการขอเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ การขอเก็บข้อมูลตอนเข้าสมัครงาน หรือแม้กระทั่งการซื้อของออนไลน์ ข้อมูลส่วนตัวแทบทั้งหมดของเรานั้นก็เริ่มกลายเป็นข้อมูลที่คนนั้นรู้ คนนี้เห็น จนบางครั้งเราไม่แน่ใจเลยว่าสิ่งที่เรามอบให้ไปมันจะถูกเอาไปต้มยำทำแกงอะไรบ้าง โดยเฉพาะข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลอาชญากรรม ข้อมูลที่เป็นส่วนตัวในตอนที่เราสมัครเข้าทำงาน โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565

PDPA คืออะไร (ภาษากฏหมาย)

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act : PDPA) ถ้ายกมาจากตัวเอกสารเขาบอกไว้ว่า “พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

โดยที่ มาตรา ๒๖ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าว ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไว้ด้วย

PDPA คืออะไร (ภาษาชาวบ้าน)

พระราชบัญญัติฉบับนี้ออกแบบมาให้ข้อมูลส่วนตัวของเราที่มี ก่อนจะเอาให้ใครไปต้องให้เขามาขออนุญาตให้เอาไปใช้ เช่น เมื่อก่อนเราถ่ายรูปคนอื่นที่ไม่รู้จัก แล้วปรากฏว่ารูปสวยดีแล้วเอาไปขายภาพต่อได้ แต่พอมีกฏหมายนี้บังคับใช้ ถ้าเราถ่ายภาพคนอื่นแล้วเอาไปขายโดยคนในรูปไม่อนุญาต ก็มีสิทธิ์โดนฟ้องร้องค่าเสียหายจากการที่นำรูปภาพเขาไปใช้นั่นเอง

PDPA คุ้มครอง 3 บุคคล

1. เจ้าของข้อมูล (ตัวเรา)

 ให้เรารู้และเข้าใจว่าถ้าอนุญาตให้เขาเอาข้อมูลไปใช้ เขาจะเอาไปส่ง SMS เข้าเบอร์เราได้ไหม ส่งไลน์มาสวัสดีวันจันทร์กับเราได้หรือเปล่า ถ้าทำไม่ได้แล้วเขาแอบส่งมาให้เรา เราก็ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

2.ผู้ควบคุมข้อมูล ( เจ้าของเว็บ เจ้าของบริษัท เจ้าของรูปภาพ)

ต้องบอกเจ้าของข้อมูลว่าจะเอาข้อมูลอะไรไปใช้ แล้วเรามีสิทธิ์ทำอะไรกับข้อมูลลูกค้า หรือ พนักงานของเราบ้าง โดยที่มีลายลักษณ์อักษรว่าเราขออนุญาตเขาถูกต้องแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เราถูกฟ้องตอนที่เราเอาข้อมูลไปใช้งาน

3.ผู้ประมวลผลข้อมูล (คนที่ทำงานตามคำสั่งเจ้าของเว็บ เจ้าของบริษัท)

คนที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูล เอาไปยิงแอด เอาไปส่งเมลแจ้งโปรโมชั่น หรือเอาข้อมูลไปเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อดูภาพรวมว่าลูกค้ากลุ่มไหนชอบซื้อสินค้า A มากกว่า B … คนที่ทำงานเหล่านี้ถ้าวันนึงมีคนฟ้องร้องจากการทำงานต่างๆ จะไม่โดนฟ้องเข้าเนื้อตัวเอง เพราะทำงานให้ในนามบริษัท ตัวองค์กรต้องรับผิดชอบความผิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพนักงานเหล่านี้นั่นเอง

ฝ่ายบุคคลจะเสี่ยงโดนฟ้องร้อง

ใน พรบ.ฉบับนี้มีการกำหนดไว้ว่าการเก็บข้อมูลนั้นต้องเก็บเท่าที่จำเป็น และต้องเก็บด้วยความปลอดภัย แล้วในฐานะบริษัทเองที่ต้องเก็บข้อมูลของพนักงานที่ละเอียดอ่อนในหลายเรื่อง เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลอาชญากรรม ข้อมูลทะเบียนบ้าน ทัศนคติการทำงาน ไว้กับบริษัทถึงแม้ว่าจะเก็บอย่างมิดชิดแล้วก็ตาม

  • เก็บดีแล้วแต่ไม่ถูกกฏหมาย (โทษทางปกครอง)

กฏหมายฉบับนี้บังคับให้ฝ่ายบุคคลต้องขออนุญาตเก็บข้อมูลพนักงาน ต้องจัดเตรียมพนักงานประมวลผลข้อมูล แจ้งจุดประสงค์การเก็บและนำข้อมูลไปใช้งานทุกครั้ง หลังจากมีการบังคับใช้แล้วถ้าหากมีการฟ้องร้องแล้วปรากฏว่าไม่มีการวางแผนดังกล่าวไว้ อาจจะมีโทษปรับสูงถึง 5,000,000 บาท

  • เก็บถูกกฏหมายแล้วแต่ไม่ปลอดภัย (โทษทางอาญา)

นอกจากการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามกฏหมาย ปัญหาต่อมาคือระบบเก็บไม่ดี ถูกขโมยข้อมูลไปขายต่อแล้วถูกฟ้องร้อง เกิดหลายครั้งในบริษัทที่ไม่มีระบบ Firewall ที่เหมาะสมกับองค์กร ปรึกษาทีมงานของเราในการเลือกใช้ Firewall จากที่นี่ ถ้าเกิดเหตุทำให้เกิดข้อมูลหลุดรั่วออกไป ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาทโดยที่นิติบุคคลต้องร่วมรับผิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย

สรุป

ถึงแม้ว่าตัวบทกฏหมายนั้นจะเป็นเรื่องที่ใหม่กับหลายองค์กรที่ยังไม่ได้เริ่มการเก็บข้อมูลตาม พรบ.ฉบับดังกล่าว แล้วยังไม่แน่ใจว่าบริษัทจะเริ่มต้นอย่างไรดี เบื้องต้นต้องเริ่มต้นจากการปรึกษาทีมกฏหมาย PDPA ที่ได้รับ Certificated จาก ISO27001 (Information Security) และ ISO27701 (Privacy Information) จะช่วยให้มั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัย และครอบคลุมกฏหมายฉบับนี้อย่างแน่นอน ซึ่งสอดคล้องกับบริการ PDPA ของเราโดยมีครบจบในที่เดียว โดยถ้าหากต้องการปรึกษา หรือไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี สามารถกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ แล้วทีมงานของเราจะเข้าไปช่วยเหลือเลย


References :

Source1
Source2
Source3

Contact us

เคราะห์กรรม ของคนไอที กับสิ่งที่ผู้บริหารไม่เคยรู้

เคราะห์กรรม ของคนในแผนกไอที ที่ผู้บริหารไม่เคยรู้
.
ถ้าคุณเป็นผู้บริหารองค์กร และออฟฟิศของคุณมี IT อยู่ 1-2 คนที่ทำทุกอย่างเกี่ยวกับงาน IT หัวข้อเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
.
.

ไอทีมีหลายแขนง ความรู้และฝึกฝนก็ต่างกัน ทำงานแทนกันไม่ได้

หมอมีเฉพาะทาง พยาบาลก็มีเฉพาะทาง งานช่างก็มีเฉพาะทาง เชฟก็แบ่งแยกความชำนาญตามอาหารเชื้อชาติแตกต่างกันไป  งานไอทีไม่ได้แตกต่างจากวิชาชีพอื่น ๆ ก็มีหลากหลายแขนง


การเหมารวมคนทำไอทีว่า เขาต้องทำงานไอทีได้หมดทุกด้าน ก็คือการไปเหมาเอาว่า หมอก็หมอเหมือน ๆ กัน ช่างทุกคนต้องซ่อม-สร้างทุกอย่างในตึกได้ เชฟทุกคนทำอาหารทุกชาติได้ ทำขนมได้ทุกแบบ เพราะมันก็คืออาหารเหมือน ๆ กัน….เป็นความคิดที่ไม่ถูก เราจึงไปเหมารวมไม่ได้ว่า คนไอทีก็ทำไอทีทั้งหมด 
.
คนทำไอทีในสาขา Infrastructure อาจทำ System เช่น Build และ Manage server farm และ Manage office client ได้บ้าง แต่ไม่ถนัด ผมเห็นหลายองค์กรส่งเจ้าหน้าที่ไอทีของตัวเอง ไปเข้าคอร์สอบรม Cybersecurity แล้วองค์กรก็หวังพึ่งไอทีคนนั้นให้กลับมาวางแผนให้องค์กรปลอดภัยจากการโจมตี ความคาดหวังแบบนี้ ไม่แตกต่างจากการส่งช่างไฟไปเรียนงานประปา ส่งเชฟญี่ปุ่นไปหัดตำปลาร้า ส่งจักษุแพทย์ไปเข้าคอร์สเรียนทันตกรรม องค์กรจะหวังพึ่งอะไรหรือผลงานคุณภาพไหน จากการอบรมแค่ไม่กี่ชั่วโมงเหรอครับ
.
ก็ไม่ใช่ว่า อาชีพนั้น ๆ จะทำงานในแขนงอื่นไม่ได้เลย ทำอ่ะ…ทำได้ แต่มันไม่ถนัดครับ ผลงานออกมาไม่ดี ถ้าอยากให้ได้ผลงานดี ก็ต้องใช้เวลาฝึกฝน มีต้นทุนในการพัฒนาตัวเองในสาขานั้น ๆ และต้องฝึกกันเป็นปี ๆ กว่าจะแตะก้าวแรกของระดับมืออาชีพที่รับประกันความสำเร็จได้ ในขณะที่งานประจำก็ยังต้องทำอยู่ทุกวันด้วย คำถามสำคัญคือ….นี่คือวิธีที่องค์กรจะได้ประโยชน์จากคนจริง ๆ หรือ
.
มีความถนัด และไม่ถนัด เพราะไม่ใช่วิชาเอกของตัวเอง ไม่ได้ทำทุกวัน มันมีทุกอาชีพ ไอทีก็คือหนึ่งในนั้น
.
ถ้าเข้าใจถูกต้อง องค์กรต้องจ้างคนสายตรงด้านนั้น ๆ มาทำงานให้องค์กร เช่น มาทำ Proposal เสนอเป็นโครงการก็ได้, จะทำกันแบบ Outsource หรือ Turnkey ก็ได้ แล้วให้มืออาชีพด้านนั้น ๆ ประสานงานกับคนไอทีของเราที่เขาถนัดอีกอย่าง เป็นเหมือนวิศวกรหลายสาขาที่ทำงานร่วมกัน แบบนี้คือทางออกที่ถูกต้อง ที่องค์กรจะได้ประโยชน์จากเงินที่จ่าย เพื่อให้ได้ผลงานระดับมืออาชีพ
.
จ่ายให้กับคนที่ถนัดถูกงาน แล้วเราจะได้งานที่ถูกต้อง 
encyption

ค่าตัวแพง ไม่ได้แปลว่า ทำได้หลายอย่าง

ผู้บริหาร-นายจ้าง และแม้แต่คนไอทีด้วยกันเอง มักจะคิดว่า “ก็น่าจะทำได้หลายอย่างไม่ใช่เหรอ จ้างไอทีตั้งแพงขนาดนั้น” หรือประโยคที่ว่า “ถ้าจะต้อง Outsource แล้วจะจ้างไอทีเอาไว้ทำห่านอะไร”


นักดนตรีที่ค่าตัวแพง แปลว่า เขาเล่นเครื่องดนตรีได้หลายประเภทเหรอครับ แถมยังต้องร้องเพลงเพราะอีกด้วย 
………ถามกลับกัน นักดนตรีค่าตัวแพง แต่เล่นเครื่องดนตรีได้ชิ้นเดียว แปลว่า ไม่คุ้มค่าจ้าง…เหรอ ?
.
หมอที่ค่าตัวแพง แปลว่า เขาทำศัลยกรรมสมอง-หัวใจ-ฟัน-กระดูก-ประสาท ใช่เหรอครับ
……..ถามกลับกัน โรงพยาบาลไหนจะคิดจ้างศัลยแพทย์คนเดียว และทำศัลยกรรมหลาย ๆ ส่วนมีมั้ย จะได้ไม่ต้องจ้างศัลยแพทย์หลายคน….ไม่น่ามีมั้ง ?

.

เชฟค่าตัวแพง แปลว่า เขาสามารถหันซ้ายนวดแป้งพาสต้า หันขวานวดแป้งโซบะได้ ตรงหน้ากำลังปั่นแป้งพิซซ่า จริงเหรอครับ
……..ถามกลับกัน เชฟระดับดาวมิชลิน แต่เป็นเชพภัตตาคารญี่ปุ่นเชื้อชาติเดียว แปลเมียเราชนะขาดลอย เพราะทำอาหารได้หลากหลายเชื้อชาติมากกว่า…..เหรอ ?
.
คนไอทีค่าตัวแพง ไม่ได้แปลว่า เขาต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์ได้ ทำ Wifi เป็น และต้องเก่ง Router/Firewall ส่วนอันอื่น ๆ ที่ยังไม่เคยทำ ก็แค่เข้าคอร์สเรียน 3 ชั่วโมงก็กลับมาเก่งแระ และถ้าจ้างคนที่แพงกว่านี้ น่าจะต้องทำ web ของบริษัทและวางระบบ Cybersecurity ได้ด้วย มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เหรอครับ
.
ค่าตัวแพง แปลว่า เขาร่ำเรียนฝึกฝนจนเก่งและเชี่ยวชาญ “ในแขนงนั้น ๆ” ค่าตัวจึงแพง ไม่แตกต่างจากวิชาชีพอื่น ๆ
.
ถ้าทุกวันนี้ องค์กรของเราพยายามหาไอทีที่ทำได้หลาย ๆ อย่าง โดยเอาค่าตัวเป็นเครื่องวัด ต้องเปลี่ยนความคิดนะครับ
IT security

System = One man show….แปลก ๆ นะครับ….ว่ามั้ย

แผนกไอทีมีเจ้าหน้าที่คนเดียว มีถมไปครับ และระบบที่ดูแลก็ทำงานได้ดีด้วย แต่…แผนกไอทีที่ทำงานคนเดียว “ดูแลทั้ง System และทุก System” อันเนี้ย…แปลก ๆ
.
ก็คือ…ทำ System คนเดียวก็ทำได้ครับ นึกภาพเหมือนวงออเคสตร้าที่มีนักดนตรีคนเดียวอ่ะครับ วิ่งหัวหมุน วิ่งไปวิ่งมา ดีดนู่น ตีนี่ เป่านั่น เคาะนี่ ฟังก็ได้เป็นเพลงอยู่ แต่ผุ ๆ พัง ๆ ไปตามประสา ตีโน้ตไม่ทันเวลาก็ออกจะบ่อย บางทีก็ตีเพี้ยน ๆ ฟังไม่เหมือนว่าจะเป็นเพลง แผนกไอทีที่ออฟฟิศ บรรเลงแบบนี้กันใช่หรือเปล่าครับ ทำไม Wifi มีปัญหาบ่อยจัง ทำไมเซิร์ฟเวอร์ล่มบ่อยจัง ทำไมข้อมูลหายถึงกู้ไม่ได้ ทำไมออฟฟิศอื่นไม่เห็นมีปัญหาเยอะเหมือนออฟฟิศเรา  ทำไม ทำไม ทำไม…
.
แผนกไอทีที่มีแค่คนเดียว ก็มีความถนัดที่จะดูแลได้เพียงส่วนหนึ่งของ System ของทั้งออฟฟิศ ซึ่งเขาพึงจะทำงานร่วมกับ Outsource และผู้เชี่ยวชาญแขนงอื่น ๆ รวมกันเป็นทีมที่ช่วยกันดูแลระบบของออฟฟิศ แบบนี้คือโครงสร้างการดูแลระบบที่ถูกต้อง คนเก่ง Infrastructure ก็มารับ Outsource ด้าน Infrastructure ออกไป Cybersecurity ก็หาคนเก่งด้านนั้นมารับงาน แยกชิ้นส่วนกันไป ทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยมีแผนกไอทีขององค์กรเป็นศูนย์รวมในการจัดการและประสานงาน ประสานกับผู้ใช้ ประสานกับผู้บริหาร
.
คนไข้หนึ่งคน ยังต้องมีพยาบาล มีแพทย์เจ้าของไข้ มีนักรังษีเทคนิค มีฝ่ายเทคนิคการแพทย์ เคสใหญ่ ๆ ยังถึงกับต้องตั้งคณะแพทย์มาทำงานร่วมกันจากหลายสาขา เพราะร่างกายก็ประกอบด้วยหลาย System เหมือนกัน จึงต้องใช้คนจากหลายแขนงมาดูแลแต่ละ System และทำงานร่วมกัน
.
ถ้าอยากให้ระบบ IT มีความเสถียรยั่งยืน ก็อย่าปล่อยให้ไอทีทำงานทั้ง System โดยลำพังครับ 

ส่งไอทีไปอบรม หรือแค่โหลดคู่มือมาอ่าน ก็ทำได้แล้ว..

องค์กรซื้อ Firewall ใหม่ ก็ส่งไอทีไปอบรมกับคนขายซักวันนึง กลับมาจะได้จัดการ Firewall นั้นได้ 


อ้าว…ก็อบรม Wifi กับคนขายมาแล้วไม่ใช่เหรอ ทำไม Wifi ที่ออฟฟิศยังติด ๆ หลุด ๆ อยู่อ่ะ ไอทีแก้ไม่ได้เหรอ
.
โหล…สวัสดีครับ…ผมไอทีนะครับ…ระบบ Video conference ที่คุณคนขาย เพิ่งมาติดตั้งให้เมื่อวานอ่ะครับ ช่วยส่งคู่มือมาด้วยนะครับ ผมจะได้ศึกษาและทำเป็นในเวลาอันรวดเร็ว อ้อ…แล้วขอสไลด์อบรมเมื่อวานด้วยนะครับ มีปัญหาผมจะได้แก้ได้เลย
.
ความเชื่อ + ความคาดหวังแบบนี้ มีให้เห็นอยู่ตลอดครับ และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ
.
ตกใจมั้ยครับ ส่งไอทีไปอบรมกับคนขายทุกครั้งที่ซื้ออุปกรณ์ใหม่ เพิ่งมารู้ความจริงวันนี้ว่า มันคือการ “อบลืม” คืนเดียวก็ลืมหมดแล้วครับ ถามแผนกไอทีในองค์กรของคุณดูดิ จริงหรือเปล่า
.
ไม่แตกต่างไปจากงานอื่น ๆ ครับ งานใหม่ที่เราไม่เคยทำ อุปกรณ์ที่เราไม่เคยเจอ ให้อบรมยังไง วันเดียวก็ลืมครับ โหลดคู่มือมา แปะไว้บน Desktop ตั้งหลายวันแล้ว ก็ไม่มีเวลาอ่าน หนาเป็นร้อย ๆ หน้า ใครจะไปอ่านหมด อ่านแล้วไม่ได้ฝึก ก็สู้คนที่เขาทำทุกวันไม่ได้ 
.
ไอ้ที่ทุกวันนี้ คนไอทีทำนู่นนี่กันได้ หลายอย่างเราใช้ Prakong mode ครับ คือทำยังไงก็ได้ อย่าให้มันล่ม คนขายเขาเซ็ตมาแล้ว มันทำงานได้ ไอทีจะพยายามไม่ไปแตะตรงนั้นครับ เดี๋ยวมันจะพัง !!!

ว่าง่าย ๆ ซื้ออุปกรณ์อะไรมา จะแพงแค่ไหน ก็ได้ใช้เท่าที่คนขายเขาเซ็ตเอาไว้ให้เท่านั้นแหละ

เคราะห์กรรม ของคนไอที

เคราะห์กรรม ของคนไอทีคือ การถูกยัดเยียดหน้าที่ ก็อบลืมกันมาแล้ว ได้ใบ “Certificate of Participant” มาใส่กรอบแปะข้างฝากันด้วย งั้นหน้าที่ของอุปกรณ์นี้หรือระบบนั้น ก็มอบให้รับผิดชอบไปเลยละกัน อบลืมกันมาตั้ง 1 วันเต็มแล้วนี่นา


คำพระเขาว่า Great certificate comes with Great responsibility ไปอบรมอะไรมา ก็เอาสิ่งนั้นไปทำ…สาธุ
.
โปรดเถิดครับ องค์กรที่ยังคงขยันส่งไอทีไปอบรมเรื่องใหม่ ๆ แล้วหวังว่ากลับมาเขาจะทำภาระกิจนั้น ๆ ให้องค์กรได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ตื่นจากฝันเถิดครับ ให้ตั้งเป้าว่า การอบรมนั้นเพื่อแค่ทำให้รู้จักเท่านั้น แต่การจะทำงานได้ จะต้องอาศัยการอ่านและฝึกฝนอีกมาก องค์กรรอไม่ได้หรอกครับ วิธีที่ถูกก็คือ ให้ไอทีทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแขนงนั้น ๆ หันหน้าหา Outsource ใช้คนให้ถูกงาน แล้วเราจะได้ผลผลิตอันเป็นที่น่าพอใจครับ

อ๊ะ อ๊ะ…ถ้าอ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายแล้ว 

ยังคิดว่าจ้างไอทีมาแล้ว ทำไมยังต้องจ้าง Outsource อีก 

ก็ถือว่าผมคุยไม่รู้เรื่องละกัน….ฮิ้ว


เขียนและบันทึกเรื่องราวโดยพี่วุฒิ

ปรึกษาปัญหา IT Outsource

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

Ecommerce ยอมขาดทุนปีละหลายหมื่นล้านเพื่ออะไร

 ในการทำธุรกิจในรูปแบบที่ใช้มาหลายพันปี คือการนำอะไรไปขายให้ได้มากกว่าต้นทุนที่ซื้อมา แต่พอยุคออนไลน์ทำไมนักธุรกิจยุคใหม่ยอมขายของขาดทุนมาหลายปีไปเรื่อยๆแล้วไม่เจ๊งสักทีวันนี้มีคำตอบ

ขาดทุนคือกำไร

ถ้าหากเคยได้ยินวลีนี้ในการทำธุรกิจ ก็ต้องบอกได้เลยว่าคงเป็นธุรกิจการกุศล หรือไม่แสวงหาผลกำไรจริงจังสักเท่าไหร่ เพราะหัวใจของการทำธุรกิจเป็นการนำกำไรที่ได้มา เอาไปต่อยอดในธุรกิจหรือเปลี่ยนชีวิตของบางคนให้ดีขึ้นไป แต่ทำไมธุรกิจเกิดใหม่ประเภท Tech company ถึงใช้เทคนิคนี้แล้วบริษัทโตขึ้น มีคนมาระดมทุนมากมายมหาศาลได้กัน?

ตัวอย่างแพลตฟอร์มออนไลน์ Shopee ได้รายงานผลประกอบการ (เมษายน-มิถุนายน 2021) ปรากฏว่าขาดทุนสุทธิกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ก็ยังคงดำเนินการต่อได้และยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติการบริการ เพราะสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตและสำคัญกว่าการต้องการกำไรจากการดำเนินงานก็คือ “ข้อมูล” ขนาดมหึมา 

สิ่งแวดล้อมของฉัน

ไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่เว็บค้นข้อมูลอย่าง Google ได้เกิดขึ้นมานั้นยังไม่สามารถทำกำไรได้ตั้งแต่ครั้งแรก เพราะทำหน้าที่เพียงการสืบค้นข้อมูลจากคีย์เวิร์ดที่เราค้นหาบนหน้าเว็บไซต์แล้วจากนั้นผู้ใช้อย่างเราก็ออกจากหน้าเว็บ Google ไป แต่เบื้องหลังของมันมีอะไรที่น่าสนใจและทำเงินได้มหาศาล คือสิ่งแวดล้อมของ Google

Google นั้นได้เห็นโอกาสที่คนค้นหาสิ่งต่างๆใน Google เป็นเงินจากการรู้ว่าลำดับที่แสดงขึ้นเว็บ Google นั้นก็มีมูลค่า การที่เราไปค้นหาอะไรบนเว็บไซต์ก็เริ่มสืบรู้ได้ว่าเราอยากได้อะไร เป็นที่มาของการนำโฆษณาที่เราต้องการติดตามไปอยู่บนเว็บเพจ สร้างสิ่งแวดล้อมของ Google ด้วยการทดลองสิ่งต่างๆทั้งเคยสร้าง โซเชี่ยลมีเดียแต่ไม่สำเร็จ ซื้อเว็บไซต์สตรีมมิ่งวีดีโอ ซื้อแผนที่ดาวเทียมมาให้บริการฟรีๆ ให้บริการบลอคแล้วคนมาเขียน เป็นต้น โดยหวังว่าจะทำให้คนอยู่ในโลกของ Google ได้ตลอดเวลา …แล้ว Google ได้ประโยชน์อะไร

เป็นทุกอย่างในชีวิตเธอ

เบื้องหลังทองคำของโลกออนไลน์มีสิ่งมหัศจรรย์ที่เรียกว่า “คุ้กกี้” ซึ่งรู้พฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของเรา รู้ว่าเราค้นหา “ซื้อ มือถือ” ในหน้าค้นหา จากนั้นมันก็ตามมาโฆษณา “มือถือ OPPO” บนเว็บดูวีดีโอ เพราะรู้ว่าเราใช้มือถือ OPPO ในปัจจุบัน ยังรู้ว่าเรามีรายได้ประมาณเดือนละเท่าไหร่จากการซื้อของ ทั้งหมดนี้เชื่อมต่อกันด้วย “Big data” จึงตอบคำถามว่าทำไม “Shopee” ยอมขาดทุนหลายหมื่นล้าน แต่ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ตลอด ทั้ง Wallet แจกคูปอง ปล่อยเงินกู้ รู้ว่าเราซื้อของอะไร ใส่อะไรในตระกร้า เพราะสุดท้ายแล้วพอเราเสพติดการซื้อสินค้า และคู่แข่งทะยอยออกจากตลาดไป ก็จะเริ่มทำเงินได้มากขึ้น ได้ข้อมูลความต้องการของคนส่วนใหญ่แล้วนั่นเอง

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “กำไร” ในธุรกิจยังคงสำคัญอยู่ เพียงแต่ว่า “ข้อมูล” ที่มากพอจะทำให้ธุรกิจยุคใหม่เติบโตอย่างก้าวกระโดดผ่านการเก็บข้อมูลของเราในทุกๆพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ เลยเป็นที่มาของการควบคุมไม่ให้เว็บไซต์เก็บข้อมูลส่วนตัวจนเราถูกสอดแนมตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของการต้อง “ขอสิทธิเก็บข้อมูล” ในกฏหมาย PDPA ประเทศไทยในปี 2565 ที่จะมาถึงนั่นเอง โดยที่ทุกการเก็บข้อมูลต้องแจ้งให้เจ้าของรู้ว่าข้อมูลบัญชีจะถูกเอาไปยิงแอด หรือ เก็บไว้เฉยๆ เราอนุญาตหรือไม่อนุญาต ที่ทุกเว็บไซต์ในประเทศไทยจำเป็นต้องมีการ “ขอสิทธิเก็บข้อมูล (Cookie)” โดยที่ถูกต้องตามกฏหมาย PDPA ด้วยเช่นเดียวกัน ฉะนั้นถ้าหากไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงก็สามารถปรึกษาเราจากแบบฟอร์มด้านล่างนี้ หรือ ดูบริการ PDPA ของเราที่นี่


References :
Source1
Source2
Source3
Source4

เว็บไซต์ เก็บ Cookie รู้ได้ยังไงว่าเราชอบเพลงอะไร สิ่งที่ควรรู้ก่อน PDPA บังคับใช้

เว็บไซต์

ทำไมเราเข้า เว็บไซต์ ดูคลิปวีดีโอแล้วมันสุ่มเพลงที่เราไม่รู้จักมาให้ฟังแล้วมันโดนใจเรา สุ่มคลิปที่เราสนใจแล้วเราก็ดูจนจบทั้งวีดีโอ เข้าเว็บช้อบปิ้งที่ไม่ได้สมัครสมาชิกแต่จำได้ว่าเราเคยใส่สินค้าตัวไหนไว้ในตระกร้า วันนี้เราจะพามาสู่จักรวาลของข้อมูลชิ้นเล็กๆที่เรียกว่า “คุ้กกี้

คุ้กกี้ เว็บไซต์ รุ่นบุกเบิก (Magic cookie)

ถ้าเว็บหนึ่งประกอบด้วยหน้าหลัก และระบบหลังบ้าน คุ้กกี้ก็เป็นข้อมูลชิ้นเล็กๆที่พูดคุยกันระหว่าง “ผู้ใช้” และ “เจ้าของเว็บ” นั่นเอง

โดยที่หน้าที่หลักๆของมันในระยะแรกมันเป็นตัวกลางที่รับและส่งข้อมูลระหว่าง “ผู้ใช้” และ “เจ้าของเว็บ” ในการส่งข้อมูล เหมือนส่งจดหมายไปมาระหว่างกันแต่ก็เกิดปัญหาว่ายุคนั้นการรับส่งข้อมูลด้วยอินเตอร์เน็ตนั้นยากลำบาก ตัวเก็บข้อมูลนั้นมีราคาแพง รวมถึงหลายปัจจัยที่ทำให้มีการพัฒนาเป็นคุ้กกี้รุ่นต่อมา ที่เรียกว่า HTTP cookie ขอเรียกชื่อเล่นว่า คุ้กกี้รุ่นปัจจุบัน

คุ้กกี้ เว็บไซต์ รุ่นปัจจุบัน (HTTP cookie)

ในปี 1994  มีโปรแกรมเมอร์ชื่อ Lou Montulli ได้พัฒนาคุ้กกี้รุ่นใหม่ ทดแทนคุ้กกี้รุ่นบุกเบิกที่ใช้งานเพียงรับส่งข้อมูลระหว่าง “ผู้ใช้” และ “เจ้าของเว็บ”

สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาคือแทนที่จะรับส่งข้อมูลเหมือนจดหมายที่ทำให้เจ้าของเว็บแบกข้อมูลมหาศาล เปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อย่างเราๆแทน และทุกครั้งที่เราเข้าเว็บไซต์นั้น เจ้าของเว็บจะมาเปิดดูข้อมูลคุ้กกี้ที่ถูกจดบันทึกไว้ในเครื่องเรา แล้วจะจำได้ว่าเมื่อคราวก่อนเราทำอะไรกับเว็บไซต์นี้นั่นเอง

เว็บไซต์

คุ้กกี้เป็นเพื่อนรักที่สอดแนม

แน่นอนว่าการมีคุ้กกี้เข้ามาจะทำให้เราไม่ต้องเข้าบัญชี Facebook หรือ Youtube ใหม่ทุกครั้งที่เปิดเข้าหน้าเว็บ

เราฟังเพลงค้างไว้ที่นาที 3.01 แล้วคอมพ์ดับไปก็สามารถกลับมาเปิดได้ที่จุดเดิมที่ถูกปิดไปเมื่อกี้  สะดวกกับผู้ใช้อย่างเรา และเพื่อนรักคนนี้จะมีหน้าที่จดจำเช่นเดียวกัน 

ตัวอย่าง การสอดแนม เช่น คุณ  A ชอบฟังเพลงป๊อบเกาหลี ชอบดู Vlog ของไอดอลเกาหลี ระบบก็จะติดตามพฤติกรรมของเราไปเรื่อยๆว่า แล้วถ้าสุ่มส่งเพลงป๊อบเกาหลีของคนอื่นไปคุณ A จะฟังไหม จะฟังจนจบเพลงหรือกลับมาฟังซ้ำหรือเปล่า การติดตามพฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จุดประสงค์เพื่อทำให้เราเสพติดให้เราวนเวียนอยู่ในที่นั่นนานๆ ซึ่งเหมือนจะดีแต่มันเริ่มจะทำให้เรารู้สึกถูกคุกคามเมื่อมันทำหน้าที่มากเกินเพื่อนรักนั่นเอง

คุ้กกี้เพื่อนรักหักเหลี่ยม

ด้วยความที่เรารักและไว้ใจมันมากๆจนเกิดเป็นการติดตามเราไปในทุกลมหายใจ

แม้กระทั่งเราพูดคุยกับเพื่อนอยู่ดีๆก็มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องขึ้นมาเป็น Ads บนหน้าเว็บไซต์ หรือวันดีคืนดีก็มี SMS ให้ไปกู้เงิน (รู้ด้วยว่ากำลังร้อนเงินอยู่ ><” ) หลายเคสหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก ทำให้รัฐบาลของแต่ละรัฐ แต่ละประเทศนั้นต้องเริ่มดันกฏหมายไม่ให้คุ้กกี้เข้าไปทำอะไรที่ยุ่งวุ่นวายกับสิทธิส่วนบุคคลนั่นเอง โดยประเทศไทยเรามี พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะประกาศใช้ 1 มิ.ย. 2565 ที่มีชื่อเล่นว่า PDPA (Personal Data Protection Act)

จ่ายค่าปิดปาก ransomware

กฏหมายใหม่จะดัดนิสัยคุ้กกี้เพื่อนรักยังไง

จากเดิมทีเว็บไซต์จะเก็บข้อมูลคุ้กกี้ ที่เข้าใช้งานเว็บของเราสามารถทำได้โดยอิสระเสรี

จนกระทั่งการเข้ามาของกฏหมายฉบับดังกล่าว สิ่งที่เว็บไซต์ต้องทำคือการทำแบบฟอร์มขึ้นมาฉบับหนึ่ง ที่ใส่ข้อมูล คำจำกัดความ รวมถึงจุดประสงค์การขอเก็บข้อมูลไปใช้ทำอะไรกับเราบ้าง โดยที่หน้าที่ “ผู้ใช้” อย่างเราก็ต้องอ่านสิ่งที่เขาจะเอาข้อมูลของเราไป ก่อนจะกดอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้เอาไปใช้งานได้นั่นเอง โดยที่มันจะมีผลทางกฏหมายในกรณีที่เราถูกเอาข้อมูลไปขายต่อ หรือมี SMS ชวนไปยิงนกตกปลา กู้เงินจากกระทรวง 3000 บาท ฯลฯ นั่นเอง 

จัดระเบียบ Cookie ให้จัดการง่ายยิ่งขึ้น

การเข้าถึงคุ้กกี้เป็นเหมือนเพื่อนรู้ใจเราทั้งสองฝ่ายเลยทีเดียว ทั้งเจ้าของเว็บรู้ว่าลูกค้าชอบอะไร

ทั้งผู้ใช้อย่างเราก็ไม่ได้ต้องกลับมาเข้าสู่ระบบใหม่ทุกครั้ง อย่างดูคลิปที่เราชอบโดยไม่ต้องค้นหา อย่างนี้แล้วก็วินวินกันทั้งสองฝ่าย เพียงแต่เจ้าของเว็บอย่าลืมทำแบบฟอร์มขอเก็บข้อมูลเท่านั้นแหละ ถ้าลองเปิดเว็บหาวิธีทำไม่เจอ เราก็มีบริการแบบฟอร์มคุ้กกี้ ครบจบ แค่แปะวาง ถูกตามหลักกฏหมาย กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้แล้วเจ้าหน้าที่จะเข้าไปให้คำปรึกษาเลย

network system

ปรึกษาการทำระบบ Cookie consent

กรอกแบบฟอร์มให้ทีมงานติดต่อกลับไป

อินเตอร์เน็ต Fiber optic มีความเร็วสูงสุดเท่าไหร่

ถ้าเรามองย้อนกลับไปถึงการเติบโตของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เราจะเห็นยุคที่ต้องใช้สายโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อโมเด็มผ่านสายทองแดง การเชื่อมต่อแต่ละครั้งต้องใช้เวลาหลายนาที ก่อนที่เริ่มต้นใช้ได้จริงๆ จนไปเป็นการพัฒนาเป็นสายเคบิล และผ่าน Fiber optic แบบปัจจุบันมันมีอะไรบ้าง

สายทองแดงโบราณ Dial up

ในยุคแรกของการมีอินเตอร์เน็ตเรามีการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นเราต้องทำการต่อสายเข้าไปที่องค์การโทรศัพท์

เพื่อให้มีการตอบรับก่อน ทำให้ต้องเลือกระหว่างการใช้โทรศัพท์ กับ การใช้อินเตอร์เน็ตในยุคแรกนั้นความเร็วอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุด 56 Kbps หรือคิดง่ายๆว่าการดาวน์โหลดเพลง mp3 (3 MB) สักเพลงอาจจะใช้เวลาถึง 8 นาที ทำให้ในยุคนั้นการได้เพลงสักเพลงมานั้นยากลำบากเหมือนการจีบใครสักคนที่ต้องใช้เวลานานกว่าปัจจุบัน

สายทองแดงยุค DSL (Digital subscriber line)

การพัฒนาในช่วงต่อมาก็ยังคงมีการใช้ตัวกลางเป็นสายทองแดง (เหมือนยุคแรก)

แต่มีการพัฒนาเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีที่แบ่งการเชื่อมต่อด้วยระบบอานาลอค กับ ดิจิตอลออกจากกัน ทำให้พอเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเราไม่จำเป็นต้องเลือกว่าจะต้องตัดการเชื่อมต่อโทรศัพท์บ้านออกจากกันหรือเปล่านั่นเอง โดยยุคนี้จะเป็นช่วงการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างแพร่หลายมากขึ้น และโทรศัพท์บ้านก็ถูกลดบทบาทการใช้งานลงเช่นเดียวกัน 

  • อินเตอร์เน็ตแบบ ADSL

ข้อสังเกตของอินเตอร์เน็ตตามบ้านในยุคเทคโนโลยีนี้ ผู้ให้บริการจะออกโปรโมชั่นเน็ตความเร็ว 10 Mbps / 1 Mbps

ซึ่งสังเกตว่าค่าดาวน์โหลดนั้นมีมากกว่าอัพโหลดได้อย่างเห็นได้ชัด เป็นการแบ่งสัญญาณให้โทรศัพท์สายนั่นเอง ซึ่งในยุคนั้นตามบ้านเราเน้นการเปิดเว็บไซต์ เปิดฟังเพลงและคลิปวีดีโอ ที่เป็นการดาวน์โหลดข้อมูลทั้งสิ้นนั่นเองจึงทำให้กลุ่มที่ต้องการโยนไฟล์ขึ้นระบบมากๆต้องใช้บริการสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะที่เรียกว่า SDSL

  • อินเตอร์เน็ตแบบ SDSL

สำหรับในอดีตนั้นการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลหาคนอื่นในปริมาณมากๆ

เช่น การใช้วีดีโอคอลระหว่างประเทศ การส่งไฟล์เข้า Server ต่างๆนั้นทำโดยการเลือกใช้เทคโนโลยีที่แบ่งสัญญาณในปริมาณเท่ากัน เช่น ความเร็วดาวน์โหลด 10 Mbps ความเร็วอัพโหลด 10 Mbps ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการที่ต้องแบ่ง Banwidth หรือท่อสัญญาณแยกให้เฉพาะนั่นเอง

fiber optic

ฉะนั้นภาพรวมของอินเตอร์เน็ตยุค DSL นั้นเป็นการที่ผู้ให้บริการเชื่อมอินเตอร์เน็ตผ่าน สายโทรศัพท์บนเสาไฟฟ้า จากนั้นก็จั๊มเข้าตู้โทรศัพท์หรือชุมสายโทรศัพท์ แล้วค่อยโยงสายทองแดงเข้าตามบ้านแล้วแยกสายโทรศัพท์กับอินเตอร์เน็ตออกจากกันผ่านโมเด็มนั่นเอง

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

สายไฟเบอร์ Fiber optic

เทคโนโลยีที่เราใช้ในปัจจุบันเป็นการส่งข้อมูลผ่านตัวกลางที่เป็น Fiber optic ทำให้มาทำลายข้อจำกัดเดิมของการเดินทางอินเตอร์เน็ต

กล่าวคือระบบ Dial up มีข้อจำกัดคือเลือกใช้โทรศัพท์บ้านหรือใช้อินเตอร์เน็ต ระบบ DSL คือข้อจำกัดของชุมสายโทรศัพท์ ถ้าเต็มก็ติดตั้งไม่ได้ ท่อนำสัญญาณมีการรับส่งข้อมูลได้จำกัด และต้องหารความเร็วได้พอๆกัน พอเป็นยุคการเดินผ่านท่อใยแก้วนำแสงก็จะหมดทุกข้อจำกัดที่ผ่านมา เพราะแสงนั้นเดินทางที่สุญญากาศทีประมาณ 300 ล้านเมตรต่อวินาที หรือยังไม่มีอะไรที่วิ่งเร็วกว่าแสงที่มนุษย์ค้นพบได้ในขณะนี้ 

  • ยุคแรกของการใช้สายไฟเบอร์ตามบ้าน

หลายคนในวงการไอทีจะเคยได้ยินไฟเบอร์แท้ ไฟเบอร์ไม่แท้ มันเป็นศัพท์ที่เรียกกันในวงการ Networkกล่าวคือผู้ให้บริการนั้นเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของตัวเอง มาถึงโนด (คล้ายชุมสายโทรศัพท์สมัยก่อน) แล้วจากนั้นจะใช้สายเคเบิลต่อเข้าบ้านเราอีกที ซึ่งวิธีการนี้จะยังมีข้อจำกัดด้านความเร็ว เพราะสุดท้ายสายที่เดินเข้าบ้านเรายังเป็นสายทองแดงที่ยังส่งความเร็วได้จำกัด แต่ช่วงนั้นเรื่องเทคโนโลยีและต้นทุนการเดินสายยังค่อนข้างสูง ผู้ให้บริการหลายเจ้าจึงเลือกใช้วิธีการนี้

  • ยุคปัจจุบันที่เราใช้

ปัจจุบันที่อินเตอร์เน็ตตามบ้านเรานั้นใช้ความเร็วที่ 1 Gbps เป็นเรื่องปกติเพราะผู้ให้บริการสามารถใช้สายใยแก้วนำแสงนั้นส่งตรงไปถึงบ้านของผู้รับบริการได้เลย โดยที่การทำงานของใยแก้วนำแสงนั้นใช้หลักการหักเหของแสง โดยแสงนั้นเมื่อตกกระทบไปในอุปกรณ์สะท้อนแสงนั้นจะมีการสะท้อนไปกระทบวัตถุอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อดีของการส่งข้อมูลด้วยใยแก้วนำแสง เพราะแสงนั้นสามารถส่งข้อมูลได้ความเร็วมหาศาล

zero trustปัจจุบัน Fiber optic ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่

จะเห็นได้ว่าเมื่อแสงนั้นเดินทางจากดวงอาทิตย์มาถึงโลกผ่านตัวกลางสุญญากาศนั้นจะทำความเร็วที่ 300 ล้านกิโลเมตรต่อวินาที

แต่มีการทดสอบว่าเมื่อแสงนั้นเดินทางผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศ น้ำ หรือใยแก้วนำแสงนั้นความเร็วของมันถูกลดลงกว่า 31% หรือประมาณ 206,856,796 เมตรต่อวินาที จากนั้นมีการทดลองส่งข้อมูลในปี 2017 ผ่านสายใยแก้วนำแสงท่อเดียวได้ที่ความเร็ว 10,160 ล้านเมกกะบิทต่อวินาที (หรือประมาณ 10 ล้านเท่าของอินเตอร์เน็ตบ้านที่เราใช้กันที่ 1000 เมกกะบิทต่อวินาที) ซึ่งถ้าส่งข้อมูลด้วยใยแก้วนำแสง แบบ Multimode หรือใช้แสงมากกว่า 1 สีนำส่งข้อมูลจะเร็วกว่านี้ แต่ทั้งนี้ปัจจุบันโลกของเรายังไม่สามารถรู้ว่าความเร็วสูงที่สุดของการส่งข้อมูลด้วยสายใยแก้วนำแสงคือความเร็วเท่าใดนั่นเอง

สรุป

ปัจจุบันนั้นการส่งข้อมูลจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริการที่ไกลออกไป 10,000 กิโลเมตรนั้น เมื่อเราวีดีโอคอลกับเพื่อนอีกข้ามโลกเราจะเห็นว่าจะมีการเหลื่อมเวลาหรือมีการดีเลย์ของวีดีโออยู่

ที่เป็นข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่ทำให้เราไม่สามารถผ่าตัดข้ามโลก หรือเข้าสู่โลกเสมือน Metaverse ได้อย่างไร้รอยต่อนั่นเอง อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีอย่างเราๆนั้นนอกจากมีการใช้งานและส่งข้อคิดเห็นไปให้ผู้ใช้บริการทราบ ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่จะทำให้ผู้พัฒนานั้นมีการต่อยอดให้ในอนาคตการส่งข้อมูลข้ามโลกมีความดีเลย์ที่น้อยลง และจะสามารถเข้าสู่โลกเสมือนได้อย่างแท้จริง


References :
Source1 / Source2 / Source3 / Source4 / Source5 / Source6 / Source7

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

วิธีเก็บข้อมูลไลน์ไม่ให้หาย เป็นปี ด้วยวิธีการใน 3 นาที ได้ผล 100%

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

จากวิธีกู้แชทไลน์ Line สำรองข้อมูล สำหรับคนขี้ลืม ได้ผล 100% ที่ใช้การแบคอัพผ่าน Google drive ที่ต้องมากดสำรองข้อมูลด้วยตัวเอง วันนี้จึงขอนำเสนอวิธีการแบบใหม่ ที่เก็บไฟล์ได้เป็นปีด้วยวิธีการไหน มาติดตามดูกัน

คนไม่เชี่ยวชาญไอทีมีสิทธิ์ไหม

หลายคนอาจจะได้ทดลองการเก็บข้อมูลมาหลากหลายรูปแบบแล้ว ทั้งการแคบรูป เซฟไฟล์ หรือสั่งให้คนส่งไฟล์กลับมาให้ซ้ำๆ มันเป็นการที่ไม่ช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวและไม่ทำงานเหมือนมืออาชีพ โดยอาชีพที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นประจำ คือ กลุ่มเซลล์ที่ต้องติดต่อลูกค้าเป็นประจำ ต้องส่งเอกสาร ใบ PO ลูกค้า ซึ่งจะง่ายกว่าที่จะดูแลลูกค้าคนสำคัญด้วยการเก็บรายละเอียด เก็บเอกสารต่างๆบนคลาวที่ไม่ต้องบันทึกเก็บไว้ในเครื่อง และเปิดดูได้จากทุกเครื่อง

วิธีการเดิมมันไม่ช่วยคนทำงาน

ปัจจุบันแอพพลิเคชั่นไลน์ มีระบบช่วยการสำรองข้อมูลของเราได้จากการเก็บไว้บน Google drive โดยที่ต้องกดสำรองข้อมูล และเตรียมพื้นที่สำหรับบน Google drive ให้เพียงพอทุกครั้งก่อนเริ่มกดสำรองข้อมูล โดยข้อจำกัดของวิธีการนี้คือสามารถสำรองข้อมูลเพียง “ข้อความ” ที่เคยคุยกันเท่านั้น ไม่สามารถสำรองไฟล์ 

พิมพ์คำเดียว..เปลี่ยนโลกได้ทั้งใบได้ยังไง

เมื่อวันที่หุ่นยนต์เก่งขึ้น เราก็ใช้งานหุ่นยนต์ที่ชื่อ “จดที” มาช่วยเก็บข้อมูลแชทและเอกสารของไลน์ด้วยวิธีการที่คนไม่รู้ไอทีก็ทำได้ดังนี้

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

วิธีการทดลองเข้าไปใช้งานมีดังนี้

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

หลังจากที่ทีมงานเชิญเข้ากลุ่มแล้วให้เป็นแอพพลิเคชั่นไลน์ขึ้นมา

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

เข้าไปหน้าแชทที่ถูกสร้างใหม่

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

เมื่อเข้ามาแล้วมีหน้าแนะนำการใช้งานเบื้องต้น

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

ก่อนเริ่มใช้ครั้งแรกให้พิมพ์ว่า “จดที” เพื่อให้เริ่มมีการจดบันทึก

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

สามารถทดลองส่งไฟล์ ส่งงาน ส่งเอกสารได้ตามใจชอบ

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

สามารถเข้ามาดูข้อมูลจดบันทึกบนเว็บ Jott.ai แล้วจากนั้นเข้าที่ปุ่ม “เริ่มให้ JotT ช่วยจดวันนี้”

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

จากนั้นเข้าสู่ระบบไลน์ โดยที่เพียงยืนยันการเข้าระบบ

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

เข้ามาแล้วจะเห็นหน้าสนทนาที่ผูกไว้กับบัญชีไลน์ดังกล่าว

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

สามารถเข้ามาดูห้องแชท ดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆที่เคยส่งให้กันได้ตามต้องการ

สรุป

ถึงแม้ว่าการสำรองข้อมูลบนไลน์นั้นจะช่วยในการจดบันทึกในกรณีที่เราเปลี่ยนเครื่องใหม่ แต่เอกสาร รูปภาพ และข้อมูลที่เคยส่งให้กันนั้นก็จะถูกจดบันทึกเพียงแค่ 7 วันดังที่เคยส่งให้กันมา เราเชื่อว่าความสำคัญของการทำงานอย่างเชี่ยวชาญ คือการสามารถบันทึกช่วงเวลา และเอกสารสำคัญของลูกค้าที่คุณดูแลไม่ให้หายไปไหน ถึงแม้จะเข้าด้วยคอมพิวเตอร์หรือมือถือก็ตาม จดทีขอเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจอย่างเชี่ยวชาญนะฮับ ถ้าพี่ๆสนใจทดลองใช้งานสามารถพิมพ์กรอกข้อมูลด้านล่างนี้แล้วทางทีมงานจะเข้าไปให้ทดลองใช้กันเลย

ถ้าแผนกไอที…อยากใช้เงินทำงานบ้าง จะได้มั้ย

ใครเป็นไอทีก็คงเข้าใจดีกับการทำงานกับทุกอย่างที่เสียบปลั๊กได้ในออฟฟิศ วันหนึ่งมีหน้าที่ทำงานหลากหลาย แล้วจะเป็นไปได้ไหมที่ไอที จะช่วยลดทำงานที่มีประโยชน์น้อยและใช้เวลามาก แล้วเอาเวลาไปโฟกัสกับงานที่มีคุณภาพมากและช่วยเหลือองค์กรได้ดีกว่า วันนี้ได้รับเกียรติจากพี่วุฒิมาเขียนเรื่องราวนี้ให้เราอ่านกัน…

ถ้าแผนกไอที…อยากใช้เงินทำงานบ้าง จะได้มั้ย

“ใช้เงินทำงาน” เป็นคำฉลาด ๆ ที่เราจะได้ยินเวลาใครมาชวนลงทุน ก็คือเราเอาเงินไปลงทุนกับอะไรซักอย่าง กองทุน หุ้น ซื้อคอนโดปล่อยเช่า ฯลฯแล้วก็ให้สิ่งนั้นสร้างผลกำไรออกมา ดีกว่าปล่อยเงินให้มันนั่งอยู่เฉย ๆ ในธนาคาร ใครก็อยากจะให้เงินทำงาน ดีที่สุดคือ เงินทำงานจนเราได้พัก พักยาวแบบไม่ต้องกลับไปเหน็ดเหนื่อยทำงานหนักอีก 

งานแผนกไอทีเยอะมาก

หันมาดูแผนกไอทีนะครับ งานแผนกไอทีเยอะมาก เราถูกล้อมด้วยอุปกรณ์ของระบบ แถมซอฟต์แวร์เยอะแยะ และยังมีผู้ใช้ทั้งองค์กรที่เราต้อง support ยังไม่รวมเอกสารที่มาตรฐานนั่นนี่สั่งให้เราทำเป็นระยะ ๆ งานเยอะแบบนี้ แผนกไอทีสนใจจะใช้เงินทำงานให้เรามั้ยครับ !!! เช่น เราต้องมาจดว่า เครื่องไหนซื้อเมื่อไหร่, สเปคเป็นอย่างไร, ติดตั้งซอฟต์แวร์อะไรบ้าง แล้วก็ต้องจดกันยาวไปถึง Printer ทุกตัว แถมยังมีอุปกรณ์ Network อีกหลายตัวให้จดบันทึก จดเพื่อทำเอกสารของระบบ งานแบบนี้ เอาเงินมาทำงานแทนได้นะครับ 

  • ซื้อ Asset management software ที่ช่วยสแกนระบบและทำรายการให้เรา
  • ใช้ Network infra ที่ Vendor เขามี Central Management solution

ใช่แล้วครับ ของพวกนี้ ราคาสูงขึ้น เราต้องจ่ายเพิ่ม แต่งานเราก็ลดลงนะครับ ไม่ต้องจดอีกแล้ว ระบบคอยจดให้ ก็นี่ไงครับ ลงเงินเพิ่ม เราทำงานน้อยลง ก็คือให้เงินทำงานแทนเราไง

Central management ช่วยไอทีทำงาน

องค์กรมี AP หลายสิบตัว ถ้าแผนกไอทีเลือกซื้อ AP ที่มี Central management แบบง่าย ๆ เป็นแค่หน้าจอที่ทำให้เราเห็นว่า AP อยู่หรือตายเท่านั้น เห็น AP เป็นแค่ตัวแปลงสาย LAN เป็น Wifi แบบนี้ต้องลองใช้ Enterprise AP solution ที่มี Cloud management service ที่แสดงทุกอย่างให้เห็น แสดง Log ให้ดูอย่างละเอียด แถมยังมี Analytic ช่วยแนะนำจุดที่เกิดปัญหาโดยที่ไอทีเราไม่ต้องไปนั่งคุ้ย Log มาวิเคราะห์เอง แน่นอนครับ…แพงกว่า AP รุ่นบ้าน ๆ 3-5 เท่า แต่การจัดการ Wifi ก็ง่ายขึ้นมหาศาล นี่ก็การเอาเงินมาทำให้งานของเราง่ายขึ้นเหมือนกัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยในแผนก

พูดถึงเรื่องงมปัญหา ก็เกิดขึ้นได้บ่อยในแผนกไอทีครับ เพราะเราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง พอระบบที่เราไม่เชี่ยวชาญมันมีปัญหา ก็ต้องมาค่อย ๆ งมว่า ปัญหามันอยู่ไหน เราจ้างคนที่เก่งในเรื่องนั้น ๆ มาเป็น Outsource ช่วยเราแก้ปัญหาของระบบนั้น ๆ ดีมั้ยครับ ทำ Service contract ให้รู้แล้วรู้รอดไป มีปัญหาอะไรก็ให้เขา Remote เข้ามาแก้ ดีกว่าเรามางมเอง เสียเวลาด้่วย คนเขารอใช้ทั้งองค์กร แรงกดดันหนักกว่าโดนเมียด่าตั้งแยะ ใช้เงินจ้างคนเก่ง ไม่ต้องมานั่งรับความกดดันเอง ใช้เงินทำงานแทน แบบนี้ดีกว่ามั้ยครับ คนไอทีก็จะเริ่มหมั่นไส้ผมแระ นึกในใจ “พูดอ่ะพูดได้ แต่เป็นพนักงาน จะไปเอาเงินจากไหนมาทำงานแทน” อาจเป็นเพราะคำว่า ทุนนิยม ไม่ได้อยู่ในตำราไอทีมั้งครับ เราก็เลยไม่ได้มีเทคนิคในการเอาทุนมาทำงานให้เรา

ในกิจการที่เราทำงานอยู่ เขาเริ่มกิจการ ก็เริ่มด้วยทุน ทำอะไร ๆ ก็ใช้ทุน จุดประสงค์….เป้า….จุดสุดยอด….จิตวิญญาณ เอางี้เลย จิตวิญญาณของทุนนิยมก็คือ การใช้ทุนเพื่อสร้างกำไรครับ กำไรวนกลับมาเป็นทุน เพื่อขยาย ขยายการผลิต ขยายพื้นที่ หรือเพื่อลด ลดเวลา ลดการใช้คน ลดข้อผิดพลาด พวกนี้ใช้ทุนทั้งนั้น

แผนกไอที เรากำลังขับเคลื่อนแผนก สอดคล้องกับความเป็นทุนนิยมหรือเปล่าครับ คนไอทีเรากำลังพยายามทำงานแทนซอฟต์แวร์หรือ Cloud service หรือเปล่า ไอทีเราพยายามจะเรียนรู้ทุกอย่างเพื่อจะประหยัดทุนไม่ต้องจ้างคนนอกหรือเปล่า เรารู้หรือเปล่าว่า องค์กรหายใจเข้าออก ก็คือ ทุนกับกำไร คนไอทีเราไม่ใช้ทุนสร้างกำไร แล้วจะเอาหยาดเหงื่อกับเลือดเนื้อเข้าแลกเหรอครับ 

ต้องกล้าลงทุน

ทุน ก็คือเงินที่เราเอามาทำงานให้เรา แผนกไอทีต้องกล้าใช้ทุน ไม่งั้นงานแผนกจะล้น และคนที่จะมาแบกภาระอันเกิดจากการไม่ใช้ทุน ก็คือคนในแผนกไอทีนี่เอง…. เห็นราคาในใบเสนอราคา อย่าท้อ และ อย่าถอยครับ อย่าคิดว่าแพง ให้คิดว่า ทุนของธุรกิจที่เราจะหยิบมาลงนั้น “จะสร้างผลกำไรกลับคืนไปสู่องค์กรได้อย่างไร”
.
.
อย่าสร้างแผนกไอทีด้วย หยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ และ แรงงาน 
ให้สร้างด้วยทุนที่ก่อให้เกิดกำไร

สรุป

ผมอยากให้แผนกไอที เป็นแผนกที่ว่างพอจะมาคิดอะไรใหม่ ๆ ที่สนับสนุนการเติบโตขององค์กร เป็นแผนกที่ทำงานเชิงรุก เราเป็นสาขาอาชีพที่โชคดีสุด ๆ เพราะเรามีเครื่องมือช่วยเยอะมาก เราต้องรู้จักหยิบมาใช้ ลดความเกรงใจทุนและนึกถึงวิธีใช้ทุนทำงานแทน ต้องยอมให้ทุนมาทำแทนเราได้แล้ว คนไอที ต้องหาเวลาไปเริ่มงานใหม่ ๆ ที่ให้ประโยชน์กับองค์กรมากขึ้น อย่ามัวแต่ทำงานแทนทุน สรุปง่าย ๆ แบบนี้ครับ


เขียนและบันทึกเรื่องราวโดยพี่วุฒิ

ประชาธิปไตยในเหรียญคริปโตมีจริง หรือเป็นแค่เกมส์ของทุนนิยม

เมื่อ 3 มกราคม 2009 มีการเกิดระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ใช้รูปแบบการใช้ข้อมูลแบบกล่อง แล้วบันทึกทุกความเคลื่อนไหวของเหรียญคริปโตให้ทุกๆคนที่เข้ามาใช้งาน โดยผู้คิดค้นที่มีนามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ 

ซึ่งทำให้ทุกความปลอดภัยไม่กระจุกตัวอยู่ที่ระบบธนาคาร แต่กระจายความปลอดภัยไปอยู่กับทุกคนที่เรียกว่า ระบบ Blockchain ของเหรียญคริปโต (Cryptocurrency) 

เงินรูปแบบเดิมเป็นยังไง

เดิมที่เงินในความหมายเดิมของเรานั้น คือมูลค่าที่เอามาใช้แลกเปลี่ยนในประเทศ โดยที่รัฐบาลนั้นจะรับรองว่าสิ่งนี้ หรือ กระดาษนี้มีมูลค่าจริงใช้แลกเปลี่ยนได้จริง โดยที่มีผู้ดูแลมูลค่าของมัน ผ่านธนาคารแห่งชาติในประเทศนั้น ซึ่งประเทศไทยคือธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงค์ชาติที่เรารู้จักกัน

โดยที่มูลค่าของเงินในแต่ละประเทศนั้นจะมาจากการพิมพ์เงินที่มีทองคำค้ำประกัน เพื่อยืนยันว่าเงินมีมูลค่าจริง และ การอ้างอิงทองคำก่อนพิมพ์แบงค์ออกมานั่นจะช่วยรักษามูลค่าของเงินอีกทางหนึ่งเช่นเดียวกัน ถึงแม้ปัจจุบันมีบางประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริการที่ไม่ได้พิมพ์เงินอ้างอิงกับมาตรฐานทองคำแล้วก็ตาม (แต่รัฐบาลกลางทำให้มันมีมูลค่าจริงด้วยการบังคับให้เป็นสกุลเงินโลกในการซื้อน้ำมัน แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ) แต่หลายประเทศก็ยังใช้รูปแบบมาตรฐานทองคำอยู่นั่นเองเป็นที่มาของการรักษามูลค่า และรักษาความปลอดภัยของเงินนั่นเอง

เงินแต่ละประเทศรักษาความปลอดภัยยังไง

ระบบการรักษาความปลอดภัยทางการเงินที่ในอดีตนั้นคือการที่ให้ธนาคารเป็นศูนย์กลางทั้งหมด ถ้าหากเราเราโอนเงินจากบัญชี A ไป บัญชี B แล้วเกิดระหว่างทางเงินจากบัญชี A โอนออกไปแล้ว แต่ไม่เข้าบัญชี B ความเสี่ยงทั้งหมดก็จะอยู่กับธนาคารนั่นเอง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเงินจากสกุล C ไปเป็นเงินสกุล D ได้หรือเปล่าก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ และยังมีค่าธรรมเนียมมากมายที่เป็นข้อจำกัดของการเคลื่อนเงินในรูปแบบเดิม ซึ่งทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งอยากจะเปลี่ยนโลกทางการเงินให้ออกไปเป็นอิสระ ไม่ต้องผ่านตัวกลาง เป็นที่มาของเงินคริปโตเคอเรนซี่ หรือ เรียกสั้นๆว่า คริปโต

เงินคริปโตเข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไร

การเข้ามาของเหรียญคริปโตนั้นเข้ามาเปลี่ยนกฏเกณฑ์ของการเงินที่มีอยู่เดิมให้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งระบบความปลอดภัยของการเงินเดิม ที่ต้องใช้ธนาคารมาเป็นตัวกลางรักษาระบบ ก็เปลี่ยนเป็นทุกคนคือความปลอดภัยผ่านระบบ Blockchain (ซึ่งเราจะเล่าต่อไปว่ามันคืออะไร) และกฏระเบียบข้อกฏหมายต่างๆของโลกการเงิน ปริมาณเงิน มูลค่าของเงิน ทั้งหมดถูกเปลี่ยนด้วยกฏที่ยอมรับร่วมกันภายใต้โค้ดของคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมา

Blockchain เบื้องหลังความปลอดภัยของคริปโต

จากที่กล่าวข้างต้นไปว่าการเงินรูปแบบเดิมนั้นมีการรวมศูนย์ที่ธนาคาร และรัฐบาล ฉะนั้นเมื่อแฮกเกอร์สามารถเจาะเข้าสู่ระบบการเงินของประเทศได้ แล้วไปแก้ตัวเลขในบัญชีธนาคารได้ ก็เท่ากับว่ามีการโจรกรรมการเงินได้เช่นเดียวกัน แต่ระบบ Blockchain นั้นแตกต่างกันออกไป ตรงที่ความปลอดภัยนั้นจะมาเป็นรูปแบบกล่อง (Block) ซึ่ง 1 คนมี 1 กล่อง ทำให้เมื่อ A โอนเงินไปให้ B แล้ว B โอนไปให้ C ต่อไป D E F G H ฯลฯ  ทุกคนที่ถือเหรียญจะมีการบันทึกของเหรียญไว้ได้ทั้งหมด

ในกรณีที่ A แจ้งว่าเหรียญหายไป 10 เหรียญเฉยๆ แต่เมื่อไปดูกล่องของคนส่วนมากในระบบ ไม่ได้เห็นว่าเหรียญของ A มี 10 เหรียญตั้งแต่แรกแล้ว ก็จะรู้ว่าสิ่งที่ A พูดมาไม่เป็นความจริง จากความปลอดภัยที่เรียกว่า กล่อง (Block) เชื่อมต่อกันเป็นโซ่ (Chain) บันทึกทุกการเคลื่อนไหวของเงินคริปโต

ประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า

จะเห็นว่าด้วยลักษณะของมันที่เป็น Blockchain ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน โดยที่แต่ละเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจะมีกฏเกณฑ์ของเหรียญ ฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไปการจะเปลี่ยนกฏเกณฑ์ต่างๆได้ ต้องได้ความยินยอมจากคนที่ถือเหรียญที่มีปริมาณเกินครึ่งหนึ่งของระบบ ซึ่งตรงตามหลักการของประชาธิปไตยทุกอย่าง จนกระทั่ง..

หลังจากที่การกำเนิดของคริปโตนั่นเบ่งบานขึ้น ก็เกิดผู้ให้บริการตัวกลางขึ้นมาช่วยเหลือ และเข้ามาเพิ่มมูลค่าของเหรียญ ซึ่งการจัดตั้งองค์กรขึ้นมารับเงินสกุลเงินแต่ละประเทศนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าหากไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐบาลในการเคลื่อนย้ายเงิน เกิดเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงินกับเหรียญคริปโต ทำให้ในอนาคตเราอาจจะพอคาดเดาได้ว่าสุดท้ายมันก็อาจจะเป็นสินทรัพย์ดิจิตอล ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลได้เช่นเดียวกัน

นายทุนควบคุมตลาด

ในช่วงปีที่ผ่านมามีการเข้ามาซื้อเหรียญบิทคอย ปริมาณมากๆจากนิรนามเกิดเป็นศัพท์ใหม่ที่เรียกว่า Bitcoin Whale ที่แตกต่างไปจากการเงินรูปแบบเดิมคือ การซื้อสกุลเงินปริมาณมากๆ นั้นเกิดจากการซื้อขายทางธุรกิจ เช่น การซื้อปลาทูน่ากระป๋องปริมาณมากของสหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศได้รับเงินดอลล่ามาปริมาณมากจากการซื้อขายปลากระป๋อง แต่ในโลกของคริปโตนั้นการซื้อปริมาณมากไม่สามารถรู้ได้ว่าใครซื้อไป (มีแค่เจ้าของเงิน กับตัวกลางเท่านั้นที่รู้) เป็นที่มาว่าทุกการขึ้นลงของมูลค่าของคริปโต เราจะไม่สามารถเดาได้แน่ชัดว่าเกิดจากนายทุนคนไหนขายออกไป หรือ ซื้อเข้ามาไว้สะสมนั่นเอง

เงินตรา เงินคริปโต มีอะไรที่เชื่อมโยงกัน

เหนือสิ่งอื่นใดเงินคริปโตเมื่อเทียบกับเงินตราของแต่ละประเทศนั้นถือว่ายังใหม่มากสำหรับโลกการเงินเช่นเดียวกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เรายังคงรู้ได้อย่างแน่นอนคือเบื้องหลังการเงินนั้นมีมนุษย์ควบคุมอยู่ และประวัติศาสตร์ของมนุษย์เราก็จะกลับไปผิดซ้ำที่จุดเดิมเช่นเดียวกัน กล่าวคือเงินตราเองก็มีฟองสบู่ เงินคริปโตก็มีฟองสบู่ เงินตรามีถูกและแพงตามวงรอบของเศรษฐกิจ เงินคริปโตก็มีวงรอบของมันเช่นเดียวกันเพียงต่างกันที่จังหวะและเวลาให้เราได้ศึกษากันต่อไป…

สรุป

เบื้องหลังของระบบเหรียญคริปโตคือ Blockchain ที่เป็นโค้ดคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบอยู่เบื้องหลัง กระจายอำนาจการรักษาข้อมูลที่เป็นจุดแข็ง ฉะนั้นเบื้องหลังของความปลอดภัยของข้อมูล คือการมีบลอค (ผู้ใช้) มีปริมาณมากพอที่จะทำให้มีการตรวจสอบกันและกัน ฉะนั้นระบบ Network บริษัทที่ดีถ้าได้รับการออกแบบโดยผู้ที่เข้าใจระบบ Cybersecurity ก็จะช่วยให้มีความปลอดภัยอย่างครอบคลุม โดยผู้เชี่ยวชาญของ Prospace มีประสบการณ์ด้านการดูแล Firewall as a Service ที่เป็นหัวใจหลักของออฟฟิศในปัจจุบัน 

โดยระบบความปลอดภัยนั้นไม่ได้เกิดจากการนำผู้รักษาความปลอดภัยมาประจำจุดแล้วจบทุกปัญหา แต่การมีความปลอดภัยทางระบบเกิดจากการออกแบบการเดินทางของข้อมูลให้เหมาะสมกับระดับความปลอดภัย แล้วการรักษาความปลอดภัยประจำจุดจะมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างที่องค์กรต้องการ ซึ่งสามารถปรึกษาด้านระบบความปลอดภัยในองค์กรกับเรา เพียงกรอกข้อมูลด้านล่างนี้ แล้วเจ้าหน้าที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือท่านเลย

References :
Source1
Source2
Source3
Source4

เด็กติดเกม VS ติดการพนันแฝง เด็กผิด เกมส์ผิด หรือแค่หาคนโทษกันแน่

ผู้ผลิตเกมออนไลน์เดี๋ยวนี้ เขาไม่ได้หาเงินจากการที่ลูกค้าจะต้องเสียเงินซื้อเกมของเขามาเล่นนะครับ กลับกัน เขาอยากจะเปิดให้เล่นฟรี ยิ่งคนเล่นเยอะ เขายิ่งมี “โอกาสทำเงิน” ได้มากขึ้น เกมออนไลน์ทำเงินยังไง ผู้ใหญ่บางคนอาจจะบอกว่า “ง่ายจะตาย ก็ล่อเด็กให้เติมเงินซื้อไอเท็มไง” 

เด็กหรือผู้ใหญ่ก็เป็นเหมือนกัน

เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกครับ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว ระหว่างนี้ ผมอยากให้สังเกตลูกหลานให้ดีนะครับ ถ้าเขามีนิสัยเป็นคนเสียดายเงิน เก็บออม หรือจะออกไปในทางขี้เหนียว แต่สามารถหมดเงินกับเกมได้อย่างตรงกันข้าม เด็กคนนั้นมีโอกาสติดการพนันที่แฝงอยู่ในเกมครับ

เกมออนไลน์บางเกม มีวิธีหาเงินแบบตื้น ๆ คือมีเกมที่เปิดให้เล่นฟรีได้ (F2P – Free to Play player) แล้วเขาจะกันอีกส่วน ที่ใครอยากจะเข้าไปเล่น ก็ต้องจ่าย (P2P – Pay to Play player) เกมแบบนี้ก็ยังมีหลงเหลืออยู่ แต่มักเป็นเกมที่ต้นทุนการพัฒนาสูง ทำเงินได้ไม่มาก เมื่อเทียบกับวิธีการทำเงินที่ผมจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้

แพ้ แพ้ แพ้….จ่ายดีกว่า จะได้ไม่แพ้อีก

วิธีหาเงินของเกมออนไลน์ที่เก่งขึ้นมาอีกหน่อย เขาจะตั้งเป้าหมายให้ผู้เล่นไขว่คว้าครับ อาจจะต่อสู้เพื่อเอาขนะ Bot ในเกม หรือเอาชนะผู้เล่นอื่น ลุยกันเดี่ยว ๆ หรือลุยกันระหว่างทีม มีหมดทุกแบบ และแน่นอนว่า ทุกเกมมี Player level ที่มาพร้อมกับการอัพเกรด ว่าง่าย ๆ Level สูงก็ชนะ Level ต่ำกว่าก็แพ้ไป ถ้าอยากจะเข้าไปถึงด่านลึก ๆ ในเกมก็จำเป็นจะต้องอัพเกรดให้ Level สูงขึ้นเรียกว่า ชีวิตในเกมจะเดินหน้า ก็ต้องอัพเกรด Level ถ้าไม่อัพเกรด ก็คือชีวิตที่อยู่กับความพ่ายแพ้

ความรู้สึกพ่ายแพ้สร้างแรงผลักดัน

ความรู้สึกพ่ายแพ้มันมีแรงผลักดันสูงครับ ไม่มีใครอยากแพ้ ทีนี้ถ้าแพ้บ่อย ๆ คนก็เลิกเล่นเกม ถูกมั้ยครับ เกมเขาก็เลยมีทางให้เราอัพเกรดได้ครับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการเล่นเพื่อแลกสะสมอะไรซักอย่าง (เหรียญ, เพชร, พลัง, ฯลฯ ผมเรียกว่า แต้ม ละกัน) แล้วเราก็เอาแต้มไปแลกกับออพชั่นที่จะใช้อัพเกรดตัวเรา (ต่อไปนี้ จะเรียกว่า ไอเท็ม)เราจะเล่นฟรี ๆ สะสมแต้มไปเรื่อย ๆ แล้วก็อัพเกรดไปอย่างช้า ๆ ก็ได้ครับ ไอเท็มสำหรับ Level ต่ำ ๆ มักจะได้มาง่าย ๆ ด้วยแต้มไม่มากนัก ล่อผู้เล่นให้เล่นต่อ เห็นโอกาสของการอัพเกรดสูง ๆ ขึ้นไป แต่ใน Level ที่สูงขึ้น แต้มที่ใช้แลกไอเท็มจะสูงขึ้นแบบ Exponential ผู้เล่นที่ไม่อยากแพ้ให้กับคนที่ Level เหนือกว่า แทนที่จะเล่นสะสมแต้มช้า ๆ ไปเรื่อย ๆ สามารถเลือกที่จะจ่ายได้

ใครๆก็อยากได้สิทธิพิเศษ

แทนที่เกมออนไลน์จะให้ผู้เล่นจ่ายเพื่อแลกแต้มเอาทื่อ ๆ เขามีหลักคิดที่ซับซ้อนกว่านั้น Trading มีคุณค่าทางจิตใจน้อยกว่า Privilege ครับ ดังนั้น แทนที่จะจ่ายเพื่อซื้อแต้ม เขาก็ให้ผู้เล่น “จ่ายเพื่ออัพเกรดโอกาสในการทำแต้มได้เร็ว” เมื่อไหร่ที่ผู้เล่นเข้าสู่โลกของเกม ผู้เล่นจะรู้สึกถึงสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่าผู้เล่นที่เล่นฟรี 

เล่นแล้วมันถูกใจ ใครล่ะจะไม่เล่นต่อ จริงมั้ยครับแถมด้วยความพึงพอใจเมื่อได้อัพเกรด และได้ชนะ มันเติมเต็มความรู้สึกของผู้เล่นได้เป็นอย่างดี เป็นการกลายร่างจาก F2P (Free-to-Play player) มาเป็น P2W (Pay-to-Win player) ไปได้อย่างเนียน ๆ

ความคิดที่ถูกแบ่งชนชั้น

อ่านไปก็ลองถามลูกหลานไปนะครับ ในเกมที่เขาเล่น เป็นอย่างที่ผมเขียนหรือเปล่า และเกมออนไลน์สร้างอารมณ์แบบไหนใส่หัวลูกหลานของเราอยู่ ความรู้สึกของการแบ่งแยกชนชั้น ลูกหลานเราอยู่ชนชั้นไหน ชั้นสูงที่ดูแคลนชนชั้นล่าง หรือเขาเป็นชั้นล่างที่รู้สึกถึงความด้อยคุณค่าเมื่อเทียบกับชั้นสูง ลูกหลานของเราพร้อมกับภาวะอารมณ์เหล่านี้แล้วหรือยัง จังหวะนี้ ถ้าเราไม่สอน ลูกหลานเราอาจเป็นคนชอบบูลลี่หรือเหยียดคนอื่น หรืออาจรู้สึกถูกซ้ำเติม ถูกเหยียดแม้แต่ในเกมหรือเปล่า เราต้องตามลูกหลานเราให้ทันนะครับ

ไม่อยากเป็นไก่ให้ทีมแบก

พวกเราต้องช่วยกันทำให้ทีมชนะ เกมออนไลน์ยังใช้ Social emotion เข้ามาเป็นตัวเร่งปฏิกริยาการซื้อได้อีก โดยจัดให้ผู้เล่นรวมทีมกัน และใช้ความสามารถของผู้เล่นแต่ละคนเพื่อเอาชนะอีกฝ่าย พออยู่ในทีม ผู้เล่นก็จะเริ่มประเมินตัวเองว่า ฉันเป็นตัวถ่วงทีมหรือเปล่า ทีมแพ้เพราะฉันอ่อนแอหรือเปล่า บางคนอยากจะทำเพื่อทีม จาก F2P player ก็กลายร่างเป็น P2W เร่งอัพเกรดตัวเองให้ทันเพื่อนร่วมทีม และนำทีมสู่ชัยชนะในที่สุด ไม่ว่าจะอย่างไร ผู้ผลิตเกมได้เงินเยอะขึ้นจากการจับผู้เล่นมารวมเป็นทีม

ลูกหลานของเราจะเข้าใจมั้ยว่า สังคมมีคนหลากหลาย ไม่จำเป็นจะต้องดีเด่นไปในทางเดียวกัน แต่ละคนมีคุณค่าในแต่ละวาระ การด้อยค่าตัวเองนำไปสู่โรคซึมเศร้าและเรื่องน่าสลดใจในที่สุด เรื่องแบบนี้เราต้องสอนลูกหลานให้ทัน อย่าให้เขารู้สึกด้อยค่าอันมาจากเกม

ไม่ได้จ่ายเงินสด แต่จ่ายเหรียญแลกของเสียดายน้อยกว่า

ผู้ใหญ่อย่างเราที่คิดว่า ดาบ=250 บาท, โล่ห์=300 บาท, เสื้อเกราะ=350 บาท, ขวดเติมชีวิต=100 บาท เด็กก็คงซื้อบัตรมาเติมเกมกันแบบนี้ ถ้าเราคิดได้แค่นี้ ถือว่าคิดไม่ทันผู้ผลิตเกมครับ เพราะเกมใช้หลักจิตวิทยาเดียวกับคาสิโน ที่เราต้องเอาเงินไปแลกชิพก่อน ซึ่งการที่เราเดิมพันด้วยชิพ หรือเสียชิพไปเพราะเสียพนัน ความเสียดายมันน้อยกว่าเสียเงินสด เกมจึงเปลี่ยนเงินที่เราเติมลงในเกม ให้กลายเป็น Symbol อื่น ๆ ที่ผมเรียกว่า แต้ม นั่นแหละครับ ในเกมมันอาจจะเป็นเพชร, ทอง, เงิน, เหรียญ, เปลือกหอย, อะไรก็ได้ แล้วเวลาใช้ ก็เป็นการใช้แต้ม ไม่ได้ใช้เงิน ความรู้สึกเสียดายก็น้อยลง การใช้จ่ายก็มากขึ้น

ใช้แต้มลุ้นรางวัลใหญ่

นึกตามนะครับ ถ้าเกมออนไลน์เขาให้ผู้เล่นเอาแต้มมาแลกไอเท็ม มันก็จะเป็นแค่ Marketplace ไปเท่านั้นเอง น่าเบื่อมากเลยครับ การดึงดูดให้เกิดความเร้าใจในการซื้อ ก็ต้องเอาการเสี่ยงโชคเข้ามาใช้ครับ การใช้แต้มแลกไอเท็มก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ในเกมจะมีอีกส่วนหนึ่ง ที่เกมจะวาง “สิ่งที่มองไม่เห็น” ให้ผู้เล่นได้เปิด ได้ลุ้นสิ่งที่จะได้รับ อาจเป็นไอเท็มธรรมดา หรืออาจเป็นไอเท็มสุดยอด จะเอาแต้มไปซื้อไอเท็ม หรือจะเอาแต้มมาซื้อโอกาสในการเปิดสิ่งที่มองไม่เห็น เผื่อว่าจะได้ไอเท็มที่ต้องการและนี่คือหลักของการพนันดี ๆ นี่เอง

ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การเสียเงินมากมาย แล้วไม่ได้รางวัลใหญ่ แต่ประเด็นคือ เด็กที่เล่นเกมนั้น ได้สัมผัสกับกลการพนันโดยที่เขาไม่รู้ตัว เด็กได้รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ในการเล่นพนัน ความรู้สึกว่าเกือบชนะ อีกนิดเดียวก็จะได้แล้ว, ความรู้สึกว่า ลงแต้มอีกที แล้วเปิดลุ้นอีกที ทีนี้จะได้รางวัลใหญ่แล้ว, ความรู้สึกดีใจ (ที่เจ้ามือเตรียมไว้ให้) เมื่อผู้เล่นชนะพนัน ซึ่งทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เล่นต่อ

เกมเมอร์จะชนะระบบยังไง

มนุษย์กับการพนันน่าจะอยู่คู่กันมานับตั้งแต่ไหนแล้วก็ไม่รู้ สมองของเราหลั่งโดพามีน ทำให้เรารู้สึกดีตอนมือขึ้น สมองเราก็หลั่งโดพามีนตอนเรากินอาหารที่ชอบ หรือมีเพศสัมพันธ์ที่มีความสุข รวมถึงตอนเสพโคเคน แล้วเกมออนไลน์ก็ป้อนประสบการณ์นั้นให้ลูกหลานของเราอยู่ เรารู้กันหรือเปล่า…

….ทำยังไงดี

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

คนทำเกมเขาอุตส่าห์ยกคาสิโนมาไว้กลางบ้านเราแล้ว เราก็ถือโอกาสนี้สอนลูกหลานของเราเลยดิครับ สอนให้เขารู้จักควบคุมการลงแต้ม รู้จักถอยเมื่อเสีย รู้จักพอเมื่อได้ และรู้ว่าไม่มีทางชนะเจ้ามือ และรู้ธาตุแท้ของการพนัน ฝึกเขาจนเขาสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ให้อยู่เหนือแรงดึงดูดจากการพนันในเกม กลายเป็๋นคนที่บริหารทรัพยากร (แต้ม) ได้ และเล่นเกมอย่างคนที่รู้จักวางแผน และชนะด้วยสมองแทนการเอาแต้มเข้าแลก

การลุ้นในเกมกับผลที่ได้ ไม่ใช่การสุ่ม แต่มันคือ Customer experience ที่ผู้ผลิตเกมวางเอาไว้เป็นอย่างดีโดยอาศัย Big Data และเรานั่นเองที่เป็น Data ให้เขาเอาไป Manipulate ถือโอกาสสอนเรื่องของ AI กับ Big data ไปพร้อมกันเลย 

สรุป

ลูกหลานเล่นเกม ผลมันจะออกมาดีหรือร้าย อยู่ที่ผู้ปกครองครับ การห้ามเล่นไม่ใช่ทางออก เราใช้เกมที่ว่ามอมเมานั้น เอามาสอนลูกหลานได้ เพียงแต่เราต้องตั้งใจศึกษาวิธีคิดของผู้ผลิตเกม อ่านเขาให้ออก รู้ให้ทัน ผมแนะนำในบทความนี้อย่างมากมาย เอาไปวิเคราะห์เกมที่ลูกหลานท่านเล่นดูครับ และหวังว่า ลูกหลานของท่านจะเล่นเกมได้ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อการพนันแฝงจากในเกมนะครับ


เขียนและบันทึกเรื่องราวโดยพี่วุฒิ 

ปัญหาการตลาดออนไลน์ เก็บข้อมูลไม่ได้ ยิงแอดไม่ตรงกลุ่ม เกิดจากอะไร

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรายังวนเวียนอยู่กับโลกของการตลาดรูปแบบที่ต้องการสถานที่ ผู้คน และการทำโปรโมชั่นให้คนเข้ามาใช้บริการ แล้วค่อยมีการเดินไปอย่างช้าๆในการซื้อขายผ่านโลกออนไลน์ จนกระทั่งเกิดสึนามิลูกใหญ่ที่ทำให้เราเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตอย่างเร่งด่วนจาก “Coronavirus”

 

การตลาดยุคก่อน

การตลาดแบบเดิมนั้นมีตำราการขายที่เป็นรูปแบบคงที่ การตั้งร้านค้าต้องเลือกตามโลเคชั่นต้นซอย หรือห้างสรรพสินค้าชื่อดัง สินค้าต้องมีราคาที่แข่งขันกับคู่แข่งได้โดยที่มีต้นทุนเป็นค่าเช่าร้าน ค่าเช่าพนักงานมาดูแล และต้องทำการส่งเสริมการตลาดรูปแบบเดิม มีทั้งการแจกใบปลิว ขึ้นป้ายโฆษณาบิลบอร์ด ลงปกนิตยสาร จนการเดินทางเข้ามาของโลกอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกอย่างถาวร ทั้งสถานที่ที่ดีไม่ใช่ตำแหน่งติดถนนใหญ่ แต่เป็นตำแหน่งที่ลูกค้าใช้ชีวิตออนไลน์อยู่ในนั้น ทำให้ร้านค้าที่อยู่ท้ายซอย กลางซอย ก็มีลูกค้ามากมายถ้าหากเข้าใจความเป็นออนไลน์ ตำราการตลาดในยุคเดิมก็เริ่มเปลี่ยนไปอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเดินทางครั้งใหม่ของการตลาดดิจิตอลนั่นเอง

 

การตลาดยุคดิจิตอล

การเปลี่ยนแปลงจากโลกอินเตอร์เน็ตที่ทำให้พฤติกรรมผู้คนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากการดูทีวีที่ต้องรอดูรายการต่างๆตามเวลาออกอากาศ เปลี่ยนเป็นการเปิดดูคอนเท้นท์ที่ต้องการตามเวลาที่อยากดู ไม่ต้องรอข่าวหนังสือพิมพ์ตอนเช้าเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อวาน แต่สามารถเสพสื่อได้อย่างทันทีทันใด ตามความคิดเห็นของคนต่อข่าวนั้นได้อย่างทันทีทำให้ “คุณค่า” และ “มูลค่า” ในโลกอินเตอร์เน็ตไม่ได้อยู่บน “ทำเลบนที่ดินกลางเมือง” แต่เป็นที่ไหนก็ได้ที่  “ผู้ใช้งาน” เข้าไปใช้ชีวิตจริงอยู่บนนั้น เกิดเป็นการแข่งขันการรู้ใจ “ผู้ใช้งาน” ผ่านหลักฐานการใช้งานของเขา เป็นที่มาของการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน การถูกนำข้อมูลไปขายให้คนอื่น หรือการได้รับ SMS ชวนเล่นการพนันอย่างที่หลายคนเคยพบเจอ แล้วเราจะแก้ปัญหายังไง?

 

แอบเก็บข้อมูลแล้วเอาขายต่อ

ถ้าให้เปรียบเทียบในชีวิตจริง ถ้าหากเราเดินทางออกจากบ้านมีกล้องวงจรปิดร้านค้าข้างบ้านจับการเดินผ่าน จากนั้นมีกล้องวงจรปิดร้านปากซอยดูว่าเราเดินทางขึ้นรถเมล์สายไหน จากนั้นบนรถเมล์มีกล้องวงจรปิดรู้ว่าเราเล่นเกมส์บนโทรศัพท์ หรือควักโน๊ตบุคขึ้นมาทำงาน แล้วมีคนนั่งดูกล้องวงจรปิดเหล่านั้น แล้วจดพฤติกรรมของเราว่าแต่ละวันเป็นยังไง แล้ววันหนึ่งปรากฏว่าวันหนึ่งมีโฆษณาบนรถเมล์ขายบริการ 4G สำหรับคนทำงานทุกที่ และเกิดการซื้อขายในเวลาต่อมา 

 

แต่ในโลกออนไลน์มีการเก็บที่ง่าย และแนบเนียนกว่านั้น ผ่านการเก็บข้อมูลผ่านเว็บไซต์ที่เรียกว่า “Cookie” ที่เป็นตัวจับพฤติกรรมการใช้งานในชีวิตออนไลน์ทุกอย่างบนโลกเราไว้ เก็บข้อมูล ชื่อ เบอร์โทร อีเมล หรือแม้กระทั่งว่าเราพิมพ์หาอะไรบนเว็บ ชอบซื้ออะไรบนเว็บขายของออนไลน์ พูดคุยอะไรกับเพื่อนแล้วปรากฏว่ามีโฆษณาเข้ามาขายบนหน้าแอพพลิเคชั่นที่เราใช้งาน เกิดเป็นความระแวงว่าเราถูกสอดแนมการใช้ชีวิตตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของกฏหมายควบคุมความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้ย

 

กฏหมายเข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไร

ก่อนการเข้ามาของกฏหมาย PDPA ดังกล่าวนี้ การเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์นั้นเป็นไปได้อย่างง่ายและไร้รอยต่อ หมายถึงเข้าเว็บไซต์เดียว ขออนุญาตครั้งเดียวทำให้มีการเก็บข้อมูลเว็บไซต์อื่นๆที่เราเข้าไปใช้งาน แล้วเข้าไปรู้พฤติกรรมของเราในหลายเว็บหลักที่เราเข้าไปใช้งาน ทำให้การเข้ามาของกฏหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีการขีดเส้นของการอนุญาตเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน มีลายลักษณ์อักษรว่าเราอนุญาตให้เก็บ บอกจุดประสงค์ว่าข้อมูลที่เก็บไปจะไปใช้ทำการตลาดหรืออะไร ทำให้เรารู้ว่าขอบเขตและข้อมูลที่เราให้นั้นถูกละเมิดสิทธิ์หรือเปล่านั่นเอง

 

การตลาดออนไลน์ที่แพงมากขึ้น

หลังจากที่หลายประเทศนั้นออกกกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น ทำให้การเก็บข้อมูลการตลาด และสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลนั้นไม่ง่ายเหมือนที่เคยเป็นมา รวมทั้งการเข้าใจผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการลดเนื้อหาขยะ และโฆษณาที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อพื้นที่การโฆษณาจำกัดมากขึ้น กฏเกณฑ์มากยิ่งขึ้น ทำให้การแย่งพื้นที่แสดงสินค้ามีราคาสูงยิ่งขึ้น แต่โฆษณาไม่โดนกลุ่มเป้าหมายอย่างที่เคยทำมา เพราะปัญหาการไม่เชื่อมต่อข้อมูลของเว็บและแอพพลิเคชั่นต่างๆนั่นเอง

 

สรุป

การเข้ามาควบคุมทางกฏหมายนั้นอาจจะทำให้การเก็บข้อมูลนั้นมีระเบียบระเบียบในหลักการและกฏหมายมากขึ้นนั่นเอง ฉะนั้นการตลาดดิจิตอลต่อไปนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดต่อไป จึงเป็นเหตุให้ต้องทำตามกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อลดปัญหาที่จะมาจากการฟ้องร้องความเสียหาย และการเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ซึ่งบริการของ PDPA Prokit ที่ช่วยให้มีการเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อการตลาดอย่างถูกต้องตามกฏหมาย มีทั้งเป็นรูปแบบโค้ดนำไปติดตั้งบนเว็บไซต์ คอร์สอบรมสำหรับพนักงาน และบริการให้คำปรึกษาการทำระบบ สามารถปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้