เคล็ดลับป้องกันไวรัสง่ายๆ สำหรับธุรกิจ SME

เคล็ดลับป้องกันไวรัสง่ายๆ สำหรับธุรกิจ SME

การ “ป้องกันไวรัส” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ SME (Small and Medium-sized Enterprises) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจทั่วโลก ธุรกิจ SME มีความสำคัญเพราะเป็นเป้าหมายของผู้ไม่ประสงค์ดีที่จะโจมตีและเข้าถึงข้อมูลทางธุรกิจเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อก่อกวนกิจการทางธุรกิจ 

ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยทางไอทีและการป้องกันไวรัสเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ SME เพื่อปกป้องข้อมูลที่สำคัญและธุรกิจของพวกเขา

เคล็ดลับในการป้องกันไวรัสสำหรับธุรกิจ SME

เพื่อช่วยให้ธุรกิจ SME ป้องกันไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพและปกป้องความเชื่อถือของลูกค้า นี่คือเคล็ดลับที่สำคัญสำหรับธุรกิจ SME เพื่อป้องกันไวรัสจากการรุกรานจากผู้ไม่ประสงค์ดี

1. อัปเดตซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการเป็นประจำ

การอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันไวรัส เนื่องจากผู้ไม่ประสงค์ดีอาจใช้ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์เพื่อเข้าถึงระบบของธุรกิจ SME ดังนั้น แนะนำให้ธุรกิจมีการอัปเดตซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการถูกไวรัสเข้ามาเล่นงาน

2. เลือกใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีคุณภาพสูงและน่าเชื่อถือ

การเลือกโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจ SME เป็นสิ่งสำคัญ ธุรกิจควรเลือกใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ เพื่อตรวจสอบและกำจัดไวรัสที่อาจเข้ามาสู่ระบบของธุรกิจ และต้องมั่นใจว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัสมีอัพเดตซอฟท์แวร์ให้ใหม่อยู่ตลอดเวลา

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

3. ติดตั้งและอัปเดตไฟร์วอลล์ (Firewall)

การติดตั้งและอัปเดตไฟร์วอลล์ (Firewall) เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่ระบบของธุรกิจ SME โดยจะคัดกรองและควบคุมการเข้าถึงที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย การติดตั้งไฟร์วอลล์ที่เหมาะสมและอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันไวรัส

 ติดตั้งและอัปเดตไฟร์วอลล์

4. สอนพนักงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

การสอนพนักงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไอที เป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันไวรัส พนักงานควรรับรู้ถึงความสำคัญของการไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า รวมถึงการตรวจสอบและไม่เปิดเผยข้อมูลลูกค้าให้แก่บุคคลภายนอก นอกจากนี้ พนักงานควรรับรู้ถึงความสำคัญของการตรวจสอบอีเมลและหลีกเลี่ยงการเปิดแนบไฟล์ที่มีความเสี่ยง

5. สำรวจและบริหารจัดการกับความเสี่ยง

ธุรกิจ SME ควรทำการสำรวจและบริหารจัดการกับความเสี่ยงที่เป็นไปได้จากการรุกรานทางไอที โดยการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและวางแผนการจัดการกับความเสี่ยงนั้นๆ เช่น การสำรวจระบบเครือข่ายและการตรวจสอบการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต และตั้งงบจำเป็นเพื่อซื้อโปรแกรมป้องกันไวรัสหรือ Firewall ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

สำรวจและบริหารจัดการกับความเสี่ยง

6. สำรวจและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอ

การสำรวจและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันไวรัส ธุรกิจ SME ควรใช้โปรแกรมตรวจสอบไวรัสอัตโนมัติหรือเครื่องมือการสแกนเพื่อตรวจสอบไฟล์และอีเมลที่อาจมีไวรัส รวมถึงการดำเนินการกำจัดไวรัสที่พบอย่างรวดเร็วและเร่งด่วน

สรุป

การป้องกันไวรัสสำหรับธุรกิจ SME เป็นสิ่งสำคัญเพื่อปกป้องข้อมูลทางธุรกิจและสิทธิบัตรธุรกิจจากผู้ไม่ประสงค์ดี ธุรกิจควรอัปเดตซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ เลือกใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือ ติดตั้งและอัปเดตไฟร์วอลล์ (Firewall) เพื่อควบคุมการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต และสอนพนักงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไอที สำรวจและบริหารจัดการกับความเสี่ยง เพื่อสำรวจและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอ

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

Firewall คือ อะไร หน้าที่ ประเภท ทำงานอย่างไร

firewall คือ

ถ้าเปรียบเสมือนออฟฟิศเราเป็นบ้านหลังหนึ่งที่มีคอมพิวเตอร์เป็นสมาชิกครอบครัว โดยทุกคนนั้นเดินทางเข้าออกจากบ้านด้วยถนนที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ต บ้านของเราจะไม่มีรั้วรอบขอบชิด ไม่มีคนที่มาสอดส่องว่าใครเอาคนแปลกหน้าเข้ามา หรือกำลังทำอะไรผาดโผนเสี่ยงอันตราย ทำให้จำเป็นต้องสร้างรั้ว มาดูแลพฤติกรรมการใช้งานให้สมาชิกในบ้านที่เรียกว่าไฟร์วอลล์ ซึ่ง Firewall คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งรั้ว เป็นทั้งกล้องวงจรปิด เป็นทั้งหัวหน้าครอบครัวที่คอยดูแลความสงบสุขของทุกคนภายในบ้าน คอยป้องกัน ห้ามปรามพฤติกรรมบางอย่าง ทำให้บ้านของเราปลอดภัยอย่างที่ควรจะเป็น 

Firewall คือ (ไฟร์วอลล์) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของไอทีบริษัท

ไฟร์วอลล์เปรียบเสมือนระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยจะเป็นตัวควบคุมการทำงาน การเปิดเว็บไซต์ บล็อคเว็บ ห้ามโหลดไฟล์แปลก โดยการดูแลความปลอดภัยเหล่านี้ครอบคลุมไปยังอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ภายในบริษัท เช่น คอมพิวเตอร์ , tablet , ปริ้นเตอร์ , เครื่องถ่ายเอกสาร , กล้องวงจรปิด เป็นต้น โดยรวมถึงการเข้าถึงการติดต่อกันภายในบริษัท อย่างการส่งไฟล์จากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่ง การสั่งพิมพ์เอกสารจากคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในบริษัทโดยใช้สัญญาณ WiFi เหล่านี้เองถ้าหากมีวันหนึ่งถูกใครบางคนเข้ามาทำให้ระบบใช้การไม่ได้ หรือแอบมาดักฟัง ดักเอาข้อมูลไฟล์ต่างๆอออกไป ก็ทำให้เกิดความเสียหายได้มหาศาล ดังนั้นบทบาทของ Firewall คือ การเข้ามาจัดระเบียบ ดูความปลอดภัยให้ระบบ Network ของบริษัท ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การถูกเข้ามาคุกคามจากผู้ไม่หวังดีอย่างแฮกเกอร์เป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการตั้งค่าความปลอดภัยเท่าที่ควร ทำให้บุคคลเหล่านี้หรือผู้ที่ต้องการบุกรุกสามารถเจาะข้อมูลจากทุกช่องทางที่เราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 

firewall คือ อุปกรณ์รับส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง
การทำงานของ Firewall เป็นการควบคุมการส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง โดยช่วยคัดกรองข้อมูลที่ปลอดภัย

การทำงานของไฟร์วอลล์

  • ไฟร์วอลล์คือไปรษณีย์ไอทีที่ควบคุมพัสดุ จดหมายให้แน่ใจว่าถูกต้อง

    ถ้าจะให้เปรียบการทำงานของไฟร์วอลล์นั้นเหมือนกับไปรษณีย์ที่คอยรับส่งพัสดุจากบ้านเราไปยังปลายทางที่ต้องการ โดยที่มีเงื่อนไขการรับพัสดุว่าจะไม่รับพัสดุผิดกฏหมาย พัสดุแตกง่าย พัสดุเหลว ขึ้นอยู่กับว่าไปรษณีย์นั้นจะตั้งกฏเกณฑ์อะไรขึ้นมา เช่นเดียวกับการทำงานของ Firewall โดยหน้าที่หลักของมันนั้นจะช่วยให้เป็นไปรษณีย์ให้เราในโลกคอมพิวเตอร์ ให้เราสื่อสารกับคนในบริษัทได้ ให้เราสื่อสารกับคนอีกทวีปได้ โดยจะทำหน้าที่คัดกรองว่าเราจะส่งอะไรออกไป ใครเป็นคนส่งไป คนที่ส่งมีสิทธิ์ไหม ใครส่งอะไรมาให้เรา ผิดกฏเกณฑ์ที่เราตั้งไหม มีความเสี่ยงอะไร โดยสิ่งนี้เป็นหน้าที่หลักของการทำงานของมัน

  • ตรวจสอบต้นทาง ปลายทางว่าไม่ใช้ที่อันตราย

    ในโลกของมนุษย์นั้นการที่เราจะส่งจดหมายหาใครสักคนหนึ่งเราจำเป็นต้องเขียนชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่ง และเขียนชื่อที่อยู่ของผู้รับ ในโลกของคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน แต่อุปกรณ์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้นั้นอาจจะไม่ได้ชื่อ “นายโปร สเปซ” เหมือนชื่อมนุษย์ แต่มันจะถูกตั้งชื่อเป็นตัวเลขรหัส IP address ที่ถูกสุ่มขึ้นมาโดยอุปกรณ์เร้าเตอร์ สมมติว่าเป็น “58.11.43.153” นี่คือชื่อของคอมพิวเตอร์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆทั่วโลกสามารถติดต่อได้ ต่อมาเมื่อเราต้องการส่งอีเมลไปหาอีกคนที่ติดต่อกันเขา(สมมติ)เลข IP address “122.44.35.77” แล้วส่งออกไปปรากฏว่าเป็นปลายทางที่ Firewall (ที่เปรียบเสมือนไปรษณีย์ของเรา) ในฐานข้อมูลเห็นว่ามันเป็นปลายทางที่อันตราย ก็จะทำการบล็อคการส่งนั้นออกไปก่อน แล้วจะทำการแจ้งเตือนผู้ควบคุมว่าขณะนี้มีกิจกรรมแปลกๆในระบบนั่นเอง

  • เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว รวดเร็ว ดุดัน แต่ต้องบอกว่าให้ทำอะไรบ้าง

    ทำให้หน้าที่ของไฟร์วอลล์ที่เป็นเหมือนทั้งไปรษณีย์ ผู้รักษาความปลอดภัย ผู้คอยดูกิจกรรมว่าอะไรที่ไม่ปกติในระบบ หัวใจหลักของการเลือกใช้เลยต้องสอดคล้องกับคนในบริษัท สอดคล้องกับการตั้งค่าที่เราต้องการ โดยให้คนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำกำภหนดกฏเกณฑ์ต่างๆให้อย่างครอบคลุม การเลือกใช้ Firewall ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติหลักของมัน โดยการจัดระเบียบโครงสร้างของไอทีตามที่ต้องการ การแบ่งระดับความลับของข้อมูล ผู้ทำงานสามารถเข้าถึงข้อมูลเฉพาะที่รับผิดชอบ ผู้บริหารมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลได้ในส่วนที่ตัวเองดูแล  โดยการเลือกใช้ Firewall มีคุณสมบัติที่แตกต่างและคล้ายกับโปรแกรมป้องกันไวรัส Antivirus แต่ในความเป็นจริงแล้ว AntiVirus เป็นเพียงเหมือนการจ้างคนมาเฝ้าที่รู้ตอนคนบุกรุกแล้ว แต่ Firewall จะมีหน้าที่ป้องกันตั้งแต่แรกจนกระทั่งสามารถตรวจจับการบุกรุกได้

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กรของคุณ"

firewall คือ การใช้โปรแกรม และ อุปกรณ์ ร่วมกันคัดกรองข้อมูล

เครื่องไฟร์วอลล์ vs โปรแกรมไฟร์วอลล์

Firewall Software (โปรแกรมไฟร์วอลล์)

เปรียบเสมือนกำแพงป้องกันที่ถูกลง Software ไว้ที่ตัวระบบปฏิบัติการ การป้องกันนั้นเป็นการสร้างแนวป้องกันไว้สำหรับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว โดยใช้ CPU ประมวลผลการทำงาน ทำให้หลายครั้งเอง Firewall software เองนั้นมีความสามารถในการป้องกันที่พอสำหรับใช้งานส่วนบุคคล แต่ไม่สามารถป้องกันภาพรวมทั้งองค์กรได้ จึงเป็นที่มาของการพัฒนา Firewall Hardware ระดับองค์กร

Firewall Hardware (เครื่องไฟร์วอลล์)

เปรียบเสมือนกำแพงที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันจากภายนอก โดยความแตกต่างกับตัว Software โดยจะทำหน้าที่ควบคุมระบบ Network ทั้งหมดโดยให้มีทางเข้าออกทางเดียว สามารถคัดกรอง บล็อค เก็บลิสต์ ดูกิจกรรมที่เกิดขึ้นว่าใครใช้เว็บไหน เปิดดูอะไร และวางกฏเกณฑ์การใช้อินเตอร์เน็ตในบริษัททั้งหมดจากอุปกรณ์ตัวนี้ ซึ่งถึงแม้ไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในเครื่องได้เหมือนกับโปรแกรม Firewall หรือ โปรแกรม Antivirus แต่ทุกกิจกรรมที่คอมพิวเตอร์ต้องติดต่อกับโลกภายนอกจะถูกตรวจสอบได้ทั้งหมด

firewall ออกแบบ
การออกแบบ Firewall คือ การร่วมมือกัน

ความร่วมมือภายในองค์กร

จะเห็นได้ว่า Firewall มีหน้าที่ป้องกัน ปิดกั้นและตรวจสอบกิจกรรมบนระบบเครือข่ายที่เป็นอันตรายจากภายนอก ไม่ให้เข้าข้อมูลขององค์กรและข้อมูลส่วนตัวได้ดี และปฏิเสธไม่ได้ว่า Firewall มีความสำคัญสำหรับองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะทำให้สามารถตรวจสอบระบบต่างๆ รวมถึงการบล็อค Website, Application ที่ไม่เหมาะสมให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทโดยความร่วมมือจาก

  • ระดับผู้บริหาร

    ที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายความปลอดภัย

  • ระดับ IT ที่เชี่ยวชาญ

    ระบบ Cyber Security ต้องค้นหา Firewall ที่เหมาะสมกับปริมาณข้อมูลของบริษัท (Network traffic) และเข้ามาคอย monitor การบุกรุก รวมถึงการเก็บ Log ตามกฏหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์

  • ระดับปฏิบัติการ

    ต้องมีหน้าที่เข้าใจวิธีการตั้งรับการบุกรุกจากภายนอก และแจ้งให้กับไอทีที่ดูแล มาคอยตั้งค่าระบบให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ

หาคนเชี่ยวชาญจากไหนที่พร้อมทำงานร่วมกัน

การเริ่มต้นการสร้างระบบ Firewall นั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากในช่วงแรก แต่เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการถูกขโมยข้อมูล ไฟล์หาย หรือแม้แต่พนักงานภายในทำผิดกฏหมายเอง ซึ่งเป็นผลดีต่อองค์กรในระยะยาว จากการลงทุนอย่างเข้าใจ ซึ่งหลายองค์กรนั้นไม่ได้มาจากวงการไอที ทำให้พนักงานไอทีที่มี หรือบางทีก็ไม่มีพนักงานไอทีประจำ ทำให้การวางระบบไอทีเองอาจจะต้อบเพิ่งพาพนักงานเอ้าซอส หรือต้องจ้างคนที่ไม่แน่ใจว่าเชี่ยวชาญจริงหรือเปล่า ทำให้ทาง Prospace มีบริการ Firewall subscriptionพร้อมทีม Cyber Security ที่มีความเข้าใจในการติดตั้ง วางระบบ มีใบเซอร์จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ผ่านบริการ Firewall as a Service

การเลือกซื้อ Firewall สำหรับมือใหม่

6 อันดับ Firewall ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยในยุคดิจิทัล

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล​

  • Firewall subscription model
  • พร้อมพนักงานบริหารจัดการระบบหลังบ้าน
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีที่ปรึกษาดูแลระบบตลอดอายุสัญญา

ปรึกษาการทำ Cyber Security

กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้

Dark web ดาร์กเว็บ เว็บลึกลับอีก 95% ที่ค้นหาไม่เจอบน Google

dark web

Dark web ดาร์กเว็บหรือเว็บมืด เป็นเว็บไซต์ที่อยู่บนโลกคู่ขนานของอินเตอร์เน็ต เพียงแต่วิธีการเข้าไปเพื่อเปิดเว็บไซต์เหล่านั้นจะแตกต่างไปจากการใช้งานเว็บไซต์ปกติ โดยสามารถไม่ระบุตัวตนได้ ไม่สามารถสืบต้นต่อของผู้ใช้งานได้อย่างเว็บไซต์ที่เราใช้งาน ทำให้ความเป็นส่วนตัวสูงและไม่สามารถสืบอัตลักษณ์เฉพาะบุคคลได้นี่เอง ดาร์กเว็บจึงเป็นแหล่งรวมตัวกันของกลุ่มที่มีความสนใจเหมือนกัน และกลุ่มที่ต้องการแลกเปลี่ยนสินค้าผิดกฏหมายกันโดยไม่ต้องเห็นหน้ากัน โดยประมาณการว่าเว็บไซต์บนโลกของเราที่เกิดขึ้นมาใหม่ในทุกวินาทีนั้น กว่า 95% เป็นเว็บไซต์ที่ค้นหาไม่ได้จาก Google chrome หรือบราวเซอร์ที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์ทั่วไป   การเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงได้โดยเว็บเบราว์เซอร์เฉพาะเท่านั้น สร้างขึ้นมาเพื่อกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ต โดยจะไม่เปิดเผยตัวตนและมีความเป็นส่วนตัว ซึ่งเว็บเหล่านี้มีทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่คนจะใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับจากรัฐบาล และก็เป็นที่รู้กันดีว่าถูกนำไปใช้เพื่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย Dark Web ภัยร้ายสำหรับองค์กรพร้อมวิธีรับมือ

ประเภทของเว็บไซต์มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีหน้าเว็บไซต์ ฐานข้อมูล และเซิร์ฟเวอร์หลายล้านหน้าและทำงานตลอดเวลา โดยเว็บไซต์ที่สามารถค้นหาเจอได้จาก google หรือพิมพ์ค้นหาได้บน บราวเซอร์ทั่วไปจะถูกเรียกว่า  “เว็บที่มองเห็น” (surface web หรือ Open web) โดยการค้นหาได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะวางเว็บไซต์ให้ถูกกฏการค้นหาของ Search enguine หรือเปล่า เพราะแต่ละเว็บค้นหานั้นจะมีกฏว่าห้ามทำเว็บผิดกฏหมาย ห้ามฝังโฆษณา ห้ามทำหน้าต่างเด้งขึ้นมา ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ผิดกฏหมายระหว่างประเทศ แต่เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ค้นหาอย่าง Google เองก็ออกกฏนี้มาเพื่อคัดกรองเว็บไซต์ให้ลูกค้าไม่เกิดความลำคาญ หรือ เสี่ยงอันตรายจากการใช้งาน อย่างไรก็ตามมีอีกหลายคำศัพท์ที่หมายถึง “เว็บที่มองไม่เห็น” (Invisible Web) ซึ่งเดี๋ยวเราจะพาไปรู้จักกันต่อไป

dark web คือ  

เว็บมืด (ดาร์กเว็บ) คือ เว็บไซต์อีก 95% ที่ค้นหาไม่ได้จาก Google
  1. เว็บที่มองเห็น (Surface web) คืออะไร?

    Surface web หรือ Open web คือชื่อเรียกของเว็บไซต์ที่ “มองเห็นได้”  ซึ่งทางสถิติแล้วเว็บไซต์กลุ่มนี้มีเพียง 5% ของเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตทั้งหมด และถ้าเปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็งแล้ว เว็บพวกนี้ก็เหมือนส่วนยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำออกมา ปกติแล้วเว็บไซต์ทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ผ่านเบราว์เซอร์ยอดนิยม เช่น Google Chrome, Internet Explorer และ Firefox ซึ่งเว็บไซต์พวกนี้มักจะลงท้ายด้วย “. com” และ “.org” รวมถึงสามารถค้นหาได้ง่ายด้วย Search Engines ยอดนิยมอื่น ๆ Surface web เป็นเว็บที่หาได้ง่าย เนื่องจาก search engines สามารถ index เว็บพวกนี้ผ่านลิงก์ที่มองเห็นได้ (visible links) กระบวนการนี้เรียกว่า “การรวบรวมข้อมูล” หรือการ crawling เพราะ search engine ค้นหาเว็บไซต์ด้วยการไต่ไปตามเว็บต่าง ๆ เหมือนแมงมุม

  2. เว็บที่มองไม่เห็น (Invisible Web)

    ดีปเว็บ (Deep web) คืออะไร?

     มีสัดส่วนประมาณ 95% ของเว็บไซต์ทั้งหมด ถ้าจะเปรียบเทียบเป็นภูเขาน้ำแข็ง เว็บเหล่านี้ก็เหมือนน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำที่มีปริมาณขนาดใหญ่มาก เป็นเว็บที่ซ่อนตัวอยู่มากจนไม่สามารถหาเจอได้ว่ามีการใช้งานกี่หน้าเว็บ หรือเว็บไซต์กี่เว็บ ถ้าจะเปรียบเทียบ search engines เหมือนเรือประมงขนาดใหญ่ที่สามารถ “จับ” ได้เฉพาะเว็บไซต์ที่อยู่เหนือผิวน้ำ และข้อมูลอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเว็บวารสารวิชาการ ไปจนถึงฐานข้อมูลส่วนตัว แต่เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ผิดจรรยาบรรณ หรือ ผิดกฏเกณ์ของเว็บ Search engines เช่น Google , Bing , Yahoo และอื่นๆ เว็บไซต์เหล่านี้สามารถตรวจจับได้ก็จริง แต่ถ้าไม่ถูกลบออกจากการค้นหา ก็อาจจะมีเจ้าหน้าที่ไปตรวจจับแล้วบังคับปิดเว็บในเวลาไม่นาน หริอในกรณีที่เว็บนั้นไม่ได้ผิดกฏหมายการใช้งานก็อาจจำเป็นต้องใช้กันอย่างเป็นส่วนตัว ไม่ต้องการให้ใครข้างนอกสามารถเข้ามาได้ เว็บเหล่านั้นเองก็ถูกจัดว่าเป็น Deep web เช่นเดียวกัน โดยหลักๆเว็บที่ถูกกฏหมายจะทำดีปเว็บเพื่อจุดประสงค์ 2 อย่างได้แก่

    เว็บไซต์ฐานข้อมูล (Database website) เว็บเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็น back-end เก็บข้อมูลให้กับเว็บไซต์หลัก ถ้าหากเราได้ลองใช้เว็บไซต์ Facebook ที่มีหน้าตาสวยงาม ใช้งานง่ายแบ่งเป็นสัดส่วนต่าง แต่เมื่อกรอกอีเมลและรหัสผ่านเข้าไปแล้วเข้าสู่ระบบของตัวเองได้ กระบวนการที่จดจำชื่อ รหัสผ่านของเรานั้นจะถูกจัดเก็บไปในเว็บที่ทำหน้าที่เก็บฐานข้อมูล ซึ่งเราไม่สามารถค้นหา เข้าไปใช้งานได้ แต่ใช้กันภายในกับพนักงานวิศวกรไอทีของบริษัทเข้ามาจัดการ บริหารข้อมูล ให้เราเองสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา โดยเว็บเหล่านี้จะไม่สามารถกดเข้าไปได้จากหน้าเว็บไซต์หลัก แต่จะมีหน้าเฉพาะที่เป็นทางลับที่สามารถรู้ได้จากนักพัฒนาเท่านั้น
    เว็บไซต์ภายในองค์กร (Intranets) เครือข่ายภายในขององค์กร เอกชน หน่วยงานราชการ หรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่างๆ ที่มีเว็บไซต์ของหน่วยงานในการประชาสัมพันธ์หรือนำขึ้นให้ผู้อื่นเข้ามาเข้าชมได้แล้ว แต่ละหน่วยงานจะยังใช้ประโยชน์จากความสะดวกของเว็บไซต์เข้าไปใช้งานภายในองค์กรอีกเช่นเดียวกัน เช่น ถ้าหาก Facebook เป็นการค้นหาบุคคลได้ทั่วโลก เพื่อเก็บความทรงจำ รูปภาพ หรือการแชทกัน ถ้าหากหน่วยงานต้องการเก็บข้อมูลของพนักงาน วันเดือนปีเกิด ประวัติอาชญากรรม ฐานเงินเดือน รวมถึงเอกสารสำคัญของพนักงานคนนั้น หรือ เข้าไปเรียนหลักสูตรพัฒนาทักษะการทำงานได้จากเว็บไซต์ภายในองค์กร

    จะง่ายกว่าถ้าหากสามารถคีย์ชื่อค้นหา ดาวน์โหลดไฟล์ออกมาใช้แทนการเก็บเป็นไฟล์เอกสารทำให้พนักงานของตัวเองใช้ได้เฉพาะภายในบริษัท  เพราะมันง่ายกว่าการที่ให้พนักงานเข้าไปเปิดไฟล์จากการรีโมทไฟล์ หรือเป็นไฟล์ excel เพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการ ฉะนั้นการทำเว็บเพื่อให้คนที่ไม่ได้รู้โปรแกรมเฉพาะทาง สามารถทำการใช้งานได้ อย่างเช่น Facebook ที่ต่อให้เราค้นหาข้อมูล ชื่อใครไม่เป็น ก็รู้ว่าถ้าหากกรอกชื่อในช่องค้นหาบนเว็บไซต์ จะมีการแสดงผลออกมาจาก AI ที่ประมวลผลซึ่งแน่นอนว่าเว็บไซต์เหล่านี้ไม่ได้มีเจตนาในการซ่อนเพราะผิดกฏหมายแต่อย่างใด เพียงแต่ใช้ในจุดประสงค์การทำงานเฉพาะทางนั่นเอง

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

ดาร์กเว็บ (Dark web) คืออะไร

ถึงแม้ว่าเส้นทางของเว็บไซต์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ทั่วไปอย่าง deep web นั้นอาจจะเกิดจากผู้พัฒนาเว็บไซต์ไม่ต้องการให้มีการแสดงผลบน Search engine ด้วยเหตุผลความเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่การทำงานของดาร์กเว็บนั้นจะแตกต่างกันออกไป เนื่องจากจุดประสงค์ของการทำงานนั้นต้องการความเป็นส่วนตัว ระบุตัวตนไม่ได้ ซับซ้อนและไม่มีกฏเกณฑ์ทำให้นอกจากการใช้งานต้องลึกลับซับซ้อน ใช้โปรแกรมเฉพาะทางในการเข้าถึงแล้ว ยังสามารถถูกโจรกรรมทุกอย่างได้เพียงแค่เปิดเว็บไซต์ที่มีการเตรียมพร้อมสำหรับขโมยข้อมูล

เส้นทางที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ยากลำบาก
วิธีการซ่อนตัวของนักเล่นเว็บดาร์กนั้นจะใช้วิธีการปลอมตัวโดยการแปลง IP address ที่เป็นเสมือนบัตรประชาชนของคนเล่นอินเตอร์เน็ต ไปเป็นของคนอื่นหลายๆครั้งสามารถดูวิธีการเต็มได้จาก เล่นอินเตอร์เน็ตให้ใครจับไม่ได้ทำยังไง ถ้าจะให้ยกตัวอย่างแบบง่ายคือการส่งพัสดุ โดยปกติแล้วถ้าหากต้องการส่งพัสดุจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยไปรษณีย์ไทย โดยตรงจะใช้เวลาเพียง 1 วัน แต่กระบวนการซ่อนตัวของคนเหล่านี้จะใช้งานส่งพัสดุไปพักที่อื่นอีก 3 ที่ก่อนถึงปลายทาง อย่างเช่นถ้าหากส่งพัสดุจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดนครสวรรค์ อาจจะเริ่มจากส่งพัสดุจากกรุงเทพฯไปยังสุพรรณบุรีด้วยไปรษณีย์ไทย จากนั้นก็ส่งจากสุพรรณบุรีไปเชียงใหม่ด้วย Kerry แล้วก็ส่งพัสดุชิ้นนั้นผ่านรถไฟลงมาที่พิษณูโลก ก่อนส่งพัสดุชิ้นนั้นผ่านรถ บขส ลงมาปลายทางยังนครสวรรค์

dark web
การปลอมตัวบนโลกของดาร์กเว็บ เป็นการเปลี่ยนตัว IP address จากเดิมที่ส่งไปยังปลายทางโดยตรง ก็เปลี่ยนเป็นการส่งอ้อมไปอย่างน้อย 3 ที่ก่อนถึงปลายทาง

จริงอยู่ว่าทางทฤษฏีถ้าหากพัสดุชิ้นนั้นเป็นสิ่งผิดกฏหมายเมื่อพัสดุถึงปลายทางแล้ว สามารถย้อนกลับไปตรวจดูได้ว่าต้นทางใครเป็นคนส่งออกมา แต่กระบวนการนั้นยากและยาวนานเกินกว่าที่จะสืบย้อนกลับได้ ทำให้ปัจจุบันวิธีการซ่อนตัวจากโลกออนไลน์ แฝงตัวเข้ามาทำกิจกรรมบางอย่างนั้นเป็นที่นิยมของผู้คนบนโลกดาร์กเว็บและยังคงมีการส่งของผิดกฏหมายให้ไปมาระหว่างกันบนโลกนี้

ดาร์กเว็บ ยังเป็นแดนสนธยาที่ยังคงไม่หายไป

การเลือกใช้อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวันของเราถึงแม้จะไม่ได้ใช้งานในเว็บดาร์ก เว็บที่อันตรายจากการใช้งานก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งถ้าหากไม่ได้เตรียมสำหรับการล่วงหน้าในการป้องกันการโจรกรรมการไซเบอร์ ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อในการหลอกลวงรหัสผ่าน เลขบัตรเครดิตที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

Internet safety คืออะไร? พร้อมกฎ 10 ข้อที่ไม่ควรทำบนโลกออนไลน์

internet safety

Internet safety คือความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต สามารถเรียกสั้น ๆ ว่า E-Safety ก็ได้ ซึ่งการรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยนี้จะช่วยกระตุ้นให้เราตระหนักถึงความปลอดภัยส่วนบุคคล  (personal safety) ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคล (private information)  รวมถึงการป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (computer crime) แม้ว่าทุกวันนี้แอปพลิเคชันบนมือถือสมาร์ทโฟนจะมีอิทธิพลในชีวิตประจำวันกับผู้ใช้มากกว่าการเปิดเว็บไซต์จากบราวเซอร์ก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ากฎขั้นพื้นฐานของความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ตจะมีการเปลี่ยนแปลง เพราะแฮกเกอร์ก็ยังคงมองหาช่องทางต่างๆที่จะได้มาซึ่งข้อมุลส่วนบุคคล เพื่อหาประโยชน์จากการใช้เข้าถึงข้อมูล รวมถึงข้อมูลบัตรเครดิตและบัญชีธนาคารของเราได้อยู่

Internet safety คืออะไร

Internet safety คือความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต เพื่อหวังว่าพฤติกรรมการใช้งานต่างๆจะไม่นำมาซึ่งการคุกคามทางไซเบอร์ โดยความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นจะประกอบไปด้วย ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ (Cyber security) และ พฤติกรรมการใช้งานที่ดี (Good behavior) โดยมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลที่เป็นความลับต่างๆให้กับตัวเองและบริษัท

  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber security)

    ถ้าหากเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์สักครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องขนาดใหญ่ หรือ ขนาดเล็กที่เป็นระดับสมาร์ทโฟน เป็นสัญญาณบอกแล้วว่าถึงเวลาที่เราต้องเริ่มทำความเข้าใจความปลอดภัยทางไซเบอร์แล้ว 

  • พฤติกรรมการใช้งานที่ดี (Good behavior)

    การใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นโดยพื้นฐานนั้นมีความปลอดภัยที่มีการบังคับมาจากผู้ผลิตบ้างแล้ว เช่น การห้ามไม่ให้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นขากนอก app store หรือ ตั้งค่าระบบห้ามดัดแปลงให้สามารถทำนอกเหนือจากผู้ให้บริการนั้นติดตั้งค่ามาให้ ซึ่งถ้าหากผู้ใช้งานนั้นคงค่าพื้นฐานที่ได้มาก็นับว่ามีพฤติกรรมการใช้งานที่ดีแล้ว ต่อมาคือลักษณะการใช้งาน เช่น ไม่เปิดเว็บไซต์ที่มีการแจ้งเตือนความปลอดภัยจากระบบ เว็บไซต์ที่ไม่มีการเข้ารหัสข้อมูล (เว็บที่ไม่มี https://) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของความปลอดภัยเช่นเดียวกัน

internet safety
Internet มีทั้งโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล และอาชญากรเข้ามาในรูปแบบต่างๆ

กฏ 10 ข้อที่ไม่ควรทำบนโลกออนไลน์

ไม่ว่าจะเป็น comment ส่วนตัว หรือรูปภาพส่วนตัวที่เราไม่อยากให้ใครดู แต่ถ้ามันหลุดเข้าไปในโลกออนไลน์แล้ว ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะลบได้ทัน เผลอ ๆ อาจต้องไปคลุกคลีกับผู้คนที่เราไม่อยากเกี่ยวข้องด้วยก็เป็นได้ นี่คือกฎ  10 ข้อที่เราควรปฏิบัติตาม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางออนไลน์ (และออฟไลน์) ที่อาจตามมา

  1. รักษาข้อมูลส่วนตัวอย่างมือโปร

    นายจ้างหรือลูกค้าที่มีศักยภาพพอ จะไม่อยากรู้สถานะความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือที่อยู่บ้านของเรา พวกเขาควรต้องรู้แค่ว่าเรามีความเชี่ยวชาญเรื่องอะไรบ้าง รวมถึง background ทางอาชีพของเรา และวิธีที่จะติตด่อเรื่องงานกับเราได้แค่นั้นพอ อีกทั้งเราไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า โดยเฉพาะผู้คนทางโลกออนไลน์

  2. เปิดการตั้งค่า Privacy ไว้

    นักการตลาดย่อมอยากที่จะรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเรา และแฮกเกอร์ก็เช่นกัน ทั้งสองอาชีพนี้สามารถรู้เกี่ยวกับตัวเราได้มากมาย เช่นว่าเราเข้าเว็บอะไร และใช้สื่อโซเชียลมีเดียอะไรบ้าง ดังนั้นเราควรปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา ด้วยการตั้งค่า privacy ทั้งในเว็บไซต์และแอปบนมือถือ เช่น แอป Facebook ที่มีการตั้งค่า privacy-enhancing  ซึ่งการตั้งค่าแบบนี้มักจะหาได้ยาก เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ก็ต้องการ personal information ของเราเพื่อเอาไปทำ marketing ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือเราควรเปิดใช้งาน privacy safeguards ตั้งแต่ตอนนี้เลย

  3. ไม่อ่อนไหวกับ content ที่น่าสงสัย

    อาชญากรไซเบอร์มักใช้ content ที่น่ากลัวเป็นเหยื่อล่อ เพราะพวกนี้รู้ดีว่าผู้คนมักอ่อนไหวกับ content ที่น่าสงสัย และเพียงแค่คลิกเดียวเท่านั้นก็อาจทำให้ personal data ของเราถูกเปิดเผย หรือทำให้เครื่องของเราติดมัลแวร์ได้เลย ดังนั้นเราไม่ควรเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา เพียงเพราะความสงสัยใคร่รู้ไม่กี่เสี้ยววินาที

  4. เชื่อมต่อกับ VPN ที่ปลอดภัย

    หากเราใช้ Wi-Fi สาธารณะ เราจะไม่สามารถควบคุมความปลอดภัยได้โดยตรง ผู้เชี่ยวชาญด้าน Corporate cybersecurity บอกว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ “endpoints” หรือสถานที่ที่ private network ของเราเชื่อมต่อกับโลกภายนอก และ endpoints นั้นก็มีช่องโหว่ซึ่งก็คือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพื้นที่ของเราเอง ดังนั้นเราควรเช็กให้ชัวร์ก่อนว่าเครื่องของเราปลอดภัยพอที่จะเชื่อมต่อกับ Wi-Fi สาธารณะไหม? หรือถ้าไม่ชัวร์ก็ให้รอจนกว่าเราจะเจอเครือข่าย Wi-Fi ที่ปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต ให้ใช้การเชื่อมต่อ VPN ที่มีความปลอดภัย (virtual private network) VPN จะช่วยให้เรามีการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยระหว่างเครื่องของเราและ Internet server ที่ไม่มีใครสามารถตรวจสอบหรือเข้าถึงข้อมูลที่เรากำลังดูอยู่ได้

  5. ระวังข้อมูลที่เราดาวน์โหลด

    Top goal ของอาชญากรไซเบอร์คือการหลอกล่อให้เราดาวน์โหลดมัลแวร์ โปรแกรม หรือแอปที่มีมัลแวร์ รวมถึงพยายามขโมยข้อมูลของเรา มัลแวร์นี้สามารถปลอมตัวเป็นแอปได้ตั้งแต่ popular game ไปจนถึงแอปเช็กการจราจร หรือแอปเช็กสภาพอากาศ ดังนั้นแนะนำว่าอย่า download apps ที่ดูน่าสงสัยหรือมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

    internet safety
    การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตไม่ได้มีแค่คอมพิวเตอร์ แต่อุปกรณ์หลากหลายที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

6. เลือกใช้ Strong Passwords

รหัสผ่านนับว่าเป็นหนึ่งในจุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดของ Internet security structure ทั้งหมด และปัจจุบันก็ยังไม่มีวิธีไหนที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ 100% ปัญหาเกี่ยวกับรหัสผ่านที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือผู้คนมักจะเลือกรหัสที่จำได้ง่าย ๆ (เช่น “password” และ “123456”) ซึ่งง่ายต่อการคาดเดามาก ดังนั้นเราควรตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก เพื่อไม่ให้อาชญากรไซเบอร์เข้ามาขโมยข้อมูลของเราได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันนี้มี password manager software หลายตัวที่สามารถช่วยเราจัดการกับรหัสผ่านหลายรหัสและยังสามารถป้องกันการลืมรหัสผ่านของเราได้ สำหรับ strong password ก็คือรหัสที่ไม่ซ้ำใครและมีความซับซ้อน และอาจจะมีความยาวอย่างน้อย 15 อักขระ โดยอาจผสมตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษเข้าไปด้วย

7. ซื้อสินค้าออนไลน์จากเว็บไซต์ที่ปลอดภัย

ทุกครั้งที่เราซื้อสินค้าออนไลน์ เราต้องกรอกข้อมูลบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งเป็นสิ่งที่อาชญากรไซเบอร์ชอบมากที่สุด ดังนั้นเราควรกรอกข้อมูลบัตรต่าง ๆ ของเราเฉพาะเว็บไซต์ที่ปลอดภัยและเชื่อมต่อ encrypted (Encryption คือการเข้ารหัส หรือการแปลงข้อมูลให้เป็นรหัสลับ ไม่ให้ข้อมูลความลับนี้ถูกอ่านได้โดยบุคคลอื่น) เท่านั้น สำหรับเว็บไซต์ที่ปลอดภัยเราสามารถดูได้จาก web address ที่ขึ้นต้นด้วย https: (S ย่อมาจาก secure) นอกจากนี้บางเว็บก็อาจมีรูปไอคอนแม่กุญแจถัดจากแถบ web address ด้วย

8. ระวังอะไรก็ตามที่เราโพสต์

บนโลกของอินเทอร์เน็ต comment หรือรูปภาพที่เราโพสต์ อาจอยู่บนโลกออนไลน์ตลอดไปก็ได้ เนื่องจากการลบอะไรที่เราโพสต์ไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าคนอื่นจะไม่แคปหรือ copies โพสต์ของเราเอาไว้ และไม่มีทางที่เราจะ “take back” สิ่งที่เราโพสต์กลับคืนมาได้ ถ้าหากไปอยู่ในมือของคนอื่นแล้ว ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคืออย่าโพสต์อะไรที่จะทำให้เราเสียใจในอนาคตเลย

9. ระวังคนในโลกออนไลน์

บางครั้งคนที่เราเจอในโลกออนไลน์ อาจไม่ใช่ตัวตนจริง ๆ ของเขาก็ได้ จากรายงานของ InfoWorld พบว่า fake social media profiles เป็นวิธียอดฮิตของเหล่าแฮกเกอร์ในการหลอกลวงผู้ใช้เว็บที่ไม่ระวังตัว ดังนั้นเราควรระวังและมีสติอยู่เสมอเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ใน online social เช่นเดียวกับเวลาที่เราใช้ชีวิตอยู่ในโลกของความเป็นจริง

10. อัปเดต Antivirus Program อยู่เสมอ

Internet security software ไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามทุกอย่างได้ แต่จะตรวจจับและลบมัลแวร์เสียส่วนใหญ่ แม้ว่าเราจะอัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดแล้วก็ตาม ดังนั้นอย่าลืมติดตามการอัปเดตของ operating system และแอปพลิเคชันที่เราใช้งานอยู่ เพราะ Internet security software ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันในการป้องกันภัยคุกคาม เวลาที่เราจะท่องอินเทอร์เน็ต อย่าลืมนึกถึงกฎ Internet safety พื้นฐานทั้ง 10 ข้อนี้ เพราะหากเราระวังตัวเองไม่มากพอ เราอาจจะต้องพบเจอกับเรื่องน่ากลัวมากมายที่แฝงตัวอยู่บนโลกออนไลน์ได้

Internet safety ที่มีการผู้ดูแลระบบ

นอกจากนี้นอกจากการป้องกันไวรัสจากพฤติกรรมที่ดีและเหมาะสมแล้ว สิ่งที่เป็นหัวใจของการใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัย จำเป็นต้องมีการออกแบบมาให้มีความสอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน มีระบบที่เก็บ log การเข้าใช้งาน รวมถึงมีผู้ดูแลระบบที่เข้าใจ ผ่านบริการ Firewall as a Service เข้ากับระบบภายในขององค์กร 

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

it support คือ

Firewall as a Service

  • การให้คำปรึกษาในการปรับปรุงระบบความปลอดภัยข้อมูล
  • แนวทางการจัดการข้อมูลที่มีการเข้าออกจากเครือข่าย
  • การจัดการคอขวดของระบบความปลอดภัยให้มีการคัดกรองโดยไม่สะดุดการใช้งาน
  • มีผู้เชี่ยวชาญคอยจัดการดูแลซอฟแวร์และจัดการ License โดยรวมอยู่ในบริการแล้ว

หมูตายเป็นฟาร์ม ไม่มีวัคซีน ไม่มีข่าว ตายเรียบมาเป็นปี คล้ายการโจมตีจาก Ransomware

หมูตาย กับ Ransomware

หลังจากหลังปีใหม่เป็นต้นมาไม่กี่วัน เราก็ออกมาเผชิญปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยเฉพาะโปรตีนจานหลักของหลายคน “เนื้อหมู” เบื้องหลังที่เกษตรกรคนเลี้ยงหมูต้องเผชิญมานาน กับการที่หน่วยงานรัฐเพิ่งมาตรวจสอบเจอการระบาดของโรคอหิวาต์หมู โดยเชื้อนี้น่ากลัวยังไง แตกต่างจากการโจมตีของไวรัสไซเบอร์หรือเปล่า มาติดตามกันในตอนนี้กันเลย

แค่สัมผัสก็ตาย

นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ หรือ ซีรีส์บนเว็บแต่อย่างใด แต่โรคอหิวาต์แอฟริกา เป็นการประกาศศักดาของสงครามไวรัส และเศรษฐกิจของมนุษย์ครั้งใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การกระจายตัวของเชื้อไวรัสชนิดนี้ในหมู จะเริ่มทำให้หมูเกิดท้องเสีย อ้วก นอนซม เป็นไข้ไม่สบาย แล้วก็ตายในไม่กี่วันต่อมา เหมือนกับอหิวาต์ในคนครั้งที่มีการระบาดในอดีต โดยที่ความน่ากลัวของมันคือเชื้อเองสามารถติดกันได้เฉพาะจากหมูกับหมู ไม่ติดเข้ามาสู่คนก็จริง แต่เชื้อโรคตัวร้ายนอกจาการที่หมูมีเชื้อ มาสัมผัสกับหมูไม่มีเชื้อแล้ว มันก็สามารถติดผ่านเสื้อผ้าของคนจากคอก ไปอีกคอกหนึ่งได้อีกด้วย โดยไม่ต่างจากการแพร่เชื้อของโควิด 19 ที่กำลังระบาดในคนในตอนนี้ แต่การกระจายของเชื้อไวรัสในคอกที่รวดเร็ว และรุนแรง เพราะมันต่างกับมนุษย์ตรงที่ในคอกเลี้ยงสัตว์นั้น มีการอาศัยอยู่ในที่เดียวกัน มีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิดตลอด จึงทำให้การติดกันทำได้ง่าย และรวดเร็ว

 

แค่อาหารคนก็ติด

เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากยิ่งขึ้น เมื่อหมูที่ตายจากการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว มันยังคงอยู่และมีชีวิตอยู่ในซากศพนั้นได้อีกหลายเดือน ถึงแม้ว่าการรับประทานเนื้อหมูที่ติดโรคนั้นไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์ก็ตาม แต่ความพัฒนาอีกขั้นของไวรัสคือถึงแม้จะปรุงหมูสุกแล้ว เชื้อโรคก็ยังไม่ตาย ถ้าหากนำเศษอาหารที่มีเชื้ออยู่ซึ่งอาจจะแค่การนำเศษอาหารที่มีเศษหมูติดเชื้ออยู่ในนั้น ก็จะทำให้มีการระบาดของเชื้อไวรัสได้นั่นเอง

 

แอบมองเธออยู่นะจ้ะ

ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคระบาดในปัจจุบันนี้ ถ้าหากพบว่ามีหมูซักตัวในคอกติดเชื้อ ต้องทำการฝังกลบหมูทักคอกให้หายไป แล้วต้องปล่อยให้คอกว่างเปล่าว่างเว้นจากการเลี้ยงอีกหลายเดือน ซึ่งถ้าหากมองไปถึงการกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ก็มีพฤติกรรมที่คล้ายกับไวรัสอหิวาต์หมูเช่นเดียวกัน เพราะนอกจากมันสามารถอยู่เงียบในคอมพิวเตอร์ของเราได้นานเป็นปี แสกนไวรัสซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็สามารถหลีกเลี่ยงจากการถูกตรวจพบ ที่สำคัญวัคซีนป้องกันก็ไม่มีอีกด้วย

 

โจรขโมยข้อมูล (Ransomware) VS ไวรัสอหิวาต์หมู (AFS)

วิวัฒนาการของเชื้อไวรัสนั้นนอกจากการที่ทำให้เผ่าพันธุ์ตัวเองอยู่ไปได้ยาวนานที่สุด ทำให้หลายครั้งการปรับตัวให้อยู่รอดได้นานที่สุด อาจจะทำให้โรคอ่อนแอลงแต่อยู่ในเหยื่อได้นาน หรือสามารถแอบอยู่สักที่ได้นานจนกระทั่งมีพื้นที่ให้แสดงตัวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมันมีความสอดคล้องกันระหว่าง..

  1. โจรขโมยข้อมูล (Ransomware)

    ที่แรกเริ่มเดิมทีนั้นมีความรุนแรง ทำเครื่อง (Host) พัง ทำให้ระบบถูกทำลาย ซึ่งถ้าเกิดอุปกรณ์พังเสียหายแล้ว ตัวไวรัสหรือโจรเองก็จะสูญพันธ์ไปพร้อมกับอุปกรณ์ เลยมีการพัฒนาตัวเองให้มีความเฟรนลี่จนได้รับความไว้ใจ แล้วมาแผลงฤทธิ์ในวันที่พร้อมขึ้นมา ซึ่งจนหลายครั้งเองผู้ใช้งานไม่สามารถสืบย้อนกลับไปได้เลยว่ามันติดมาจากไหน ไฟล์มาจากใคร เพราะมันเนียนมาก เนียนมาตลอด

  2. ไวรัสอหิวาต์หมู (African Swine Fever)

    การระบาดของโรคนี้ในเอเชียนั้นมีการระบาดครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อสิงหาคม 2018 จากนั้นมีการพบในฟิลิปปินส์ใน 1 ปีต่อมา จากนั้นก็ลามมาที่ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซียน ซึ่งตอนนั้นทางการไทยประกาศว่าไม่มีการค้นพบเชื้อดังกล่าวในประเทศ …


    บทความที่เกี่ยวข้อง
    ไวรัสคอมพิวเตอร์ VS ไวัรสโอมิครอน มีวิวัฒนาการร่วมกัน


    พฤติกรรมของเชื้อนั้นถ้าลองมาแกะ วิเคราะห์ดูนั้นปศุสัตว์ของมนุษย์นั้นเป็นการที่เอาสัตว์มาอยู่รวมกัน หายใจรดกัน เสียดสีกัน ซึ่งเป็นที่มาของการติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่ายอยู่แล้ว จึงมีการใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) เพื่อไม่ให้มีการระบาดของเชื้อ ซึ่งส่วนหนึ่งทำให้สัตว์นั้นเกิดการดื้อเชื้อโรคใหม่ๆที่มีการอุบัติขึ้น ด้วยเหตุนี้เองถ้าเชื้อใหม่ที่สามารถทำให้หมูติดเชื้อได้ จึงเป็นไปได้ว่ามันเกิดจากเชื้อไวรัสนั้นพัฒนาก้าวข้ามขีดจำกัดของยาฆ่าเชื้อเหล่านั้นมาได้ แล้วมาเป็นความรุนแรงอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งเราก็ได้แต่หวังว่าจะมีการพัฒนาวัคซีน และยารักษามาปกป้องสารอาหารของมนุษย์ในเร็ววัน

สรุป

ปัญหาของการโจมตีของไวรัสคอมพิวเตอร์ก็พยายามที่ต้องการก้าวข้ามด่านป้องกันที่มี เพื่อขโมยหรือโจมตีเพื่อได้เงิน ได้ข้อมูล หรือ สิ่งที่แฮกเกอร์ต้องการ ทางทีมอาสาสมัคร Prospace ที่อยู่ในวงการนี้มา 20 กว่าปีแล้วก็ยอมรับว่า เราเองก็ยังคงต้องต่อสู้กับการระบาดไวรัส Ransomware ที่แข่งขันกับทีมพัฒนาความปลอดภัยตลอดไป ถ้าหากมีคำถามด้านไอทีและ Cyber Security สามารถทิ้งคำถามไว้ที่ฟอร์มด้านล่างนี้เลย


References :
Source1
Source2
Source3
Source4
Source5

Contact us

สมัครงาน ยังไง ให้บริษัทจ่ายค่าปรับเป็นล้าน ทำได้จริง!!!

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สมัครงาน เป็นกระบวนการที่วัยทำงานเกือบทุกคนต้องเคยผ่านมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเอกสาร การเตรียมวุฒิการศึกษาต่างๆ ซึ่งหลังจากมีการประกาศใช้ PDPA ที่เป็นกฏหมายการเก็บข้อมูลลูกค้า อย่างนั้นเองรู้หรือเปล่าว่าแค่การสมัครงานก็อาจจะทำให้เราได้เงินล้านได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

ทำไมต้องใช้เอกสาร สมัครงาน

จะว่าไปเคยสงสัยหรือเปล่า ทำไมทุกครั้งที่เราต้องการ สมัครงาน ใหม่ถึงต้องมีการขอเอกสารเยอะแยะไปหมด

ทำไมเข้าไปทำงานแล้วพอจบวันก็รับเงินแบบนี้ได้หรอ??? … แน่นอนว่าได้ ถ้าหากต้องการอย่างนั้น ถ้าหลายคนเคยรับจ้างทำงานต่างๆ จ้างพิมพ์งาน จ้างตัดหญ้า จ้างขับมอไซค์ ฯลฯ ที่เป็นอาชีพที่ไม่มีรายได้ประจำ หรือ ฟรีแลนซ์ 

การที่ยืนยันตัวตน การขอเอกสารสิทธิ์ต่างๆก็ไม่จำเป็นแน่นอน แต่ถ้าพอเปลี่ยนจากพนักงานรายวัน มาเป็นการทำงานด้วยการรับเงินเดือน เข้ากรอบกฏหมายแรงงาน มีสิทธิ์เรียกร้องสิ่งต่างๆได้ด้วยหลักฐาน การสมัครงานด้วยเอกสารจะเข้ามาดูแลเราในวันที่นายจ้างอยู่ๆจะเลิกจ้าง ไม่จ่ายเงินเดือน หรือไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม ทางภาครัฐฯจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพื่อมาคุ้มครองเราได้ตามกรอบของกฏหมาย

สมัครงานสมัครงาน ใช้เอกสารอะไรบ้าง

โดยปกติการสมัครงานที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้สมัครในประเทศไทย จะมีดังนี้

  1. เรซูเม่

    เป็นการเปิดโลกให้คนที่ไม่รู้จักเรา เข้าใจใน 1 หน้ากระดาษ ดังนั้นทักษะการนำเสนอตัวเองลงกระดาษจะช่วยให้ฝ่ายบุคคลนั้นคัดกรองครั้งแรกผ่านหน้ากระดาษแผ่นนี้ได้

  2. หลักฐานการศึกษา หรือ วุฒิการศึกษา

    สำหรับเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน การมีทรานสคริปสวยๆจากเกรดในวิชาเรียนจะช่วยให้คนเห็นตัวเลขเกรดในวิชานั้นๆได้ก่อน ฉะนั้นการตั้งใจเรียนไม่ได้หมายความว่าจะทำงานได้เก่ง แต่มันอาจจะเป็นแค่ไม่กี่ปัจจัยที่ทำให้คนที่เพิ่งเจอเรารู้ถึงความมุมานะในการเรียน 

  3. ทะเบียนบ้าน

    เอกสารเหล่านี้ปัจจุบันไม่ต้องถ่ายเอกสารจากตัวเล่มจริงประจำบ้านก็ได้ ในกรณีที่ไม่สะดวกเดินทางกลับบ้านไปถ่ายเอกสาร สามารถขอคัดสำเนาได้ที่สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งบางทีมีที่ตั้งสาขาในห้างสรรพสินค้า โดยการใช้บัตรประชาชนใบเดียวยื่นไปขอคัดสำเนาเท่านั้นเอง

  4. บัตรประชาชน

    แผ่นการ์ดพลาสติกใบนี้เป็นเสมือนตัวแทนของเราเอง ฉะนั้นบัตรประชาชนใบนี้จะตามไปทุกที่ ที่ใช้การยืนยันตัวตน โดยให้คัดลอกสำเนาเพียงด้านหน้า “อย่า”คัดลอกด้านหลังไปด้วย เพราะปัจจุบันตัวเลขด้านหลังของบัตรประชาชนจะเป็นตัวยืนยันตัวเองว่าเราเป็นเจ้าของจริง ไม่ใช่ใครแอบขโมยมา ดังนั้น “ห้ามคัดลอกสำเนาด้านหลัง” 

  5. รูปถ่าย

    ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วทางแถบแสกดิเนเวียน จะไม่มีการใช้รูป 1 นิ้ว 2 นิ้วในการสมัครงาน แต่ถ้ามาตรฐานในประเทศของเราการมีรูปถ่ายยังคงจำเป็นสำหรับการเข้าทำงาน รวมทั้งการใช้รูปภาพไปติดหน้าบัตรพนักงาน และการเก็บเอกสารเข้าไปในฐานข้อมูลบริษัท

  6. ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ สด.9

    สำหรับผู้ชายเอกสารการผ่านการผ่านพันธะทางทหารจะเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทจะนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรกๆ เพราะถ้าหากต้องมีการเกณฑ์ทหาร เพราะถ้าถูกเกณฑ์ไปจะทำให้เราต้องลาออกจากการทำงานกลางคัน ในกรณีที่มีการเรียกฝึกกำลังพลของคนที่เรียน รด. บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ไปฝึกกำลังพลไม่เกิน 60 วัน

  7. ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมต่างๆ

    สำหรับคนที่เปลี่ยนงานมาหลายครั้งด้วยการอัปเกรดทักษะให้มากขึ้น ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น การมีใบรับรองการฝึกอบรมจากสถาบันต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่นายจ้างจะนำมาพิจารณาจ้าง และไม่ต้องเสียเวลามาลุ้นว่าพนักงานที่จะจ้างมาทำตำแหน่งนั้นได้ดีหรือเปล่า

  8. ใบประกอบวิชาชีพ

    ในกรณีที่ทำงานที่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ เช่น ตรวจสอบบัญชี ลงนามในการก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม หรือผู้ควบคุมอากาศยาน เหล่านี้จำเป็นต้องมีใบวิชาชีพที่กำหนดตามกฏหมายมาประกอบด้วย รวมถึงใบขับขี่ในกรณีที่ต้องใช้ยานพาหนะทำงาน

  9. พอร์ตผลงาน

    เกณฑ์การพิจารณาของกลุ่มคนทำงานด้านศิลป์ หรือ ในตำแหน่งที่ต้องมีผลงานมาพิจารณา การเก็บผลงานเด่นๆมานำเสนอให้กับว่าที่นายจ้าง จะทำให้ว่าที่บริษัทที่เราจะทำงานด้วย ได้เห็นผลงานการทำงานได้ง่าย รวมไปถึงเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่ง และค่าจ้างก็มีผลมาจากผลงานที่สะสมไว้ด้วย

  10. ใบตรวจร่างกาย

    หลายบริษัทจะมีการตรวจร่างกายเข้าทำงาน ตรวจสารเสพติด หรือเช็คประวัติอาชญากรรม โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิดบางบริษัทที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มก็อาจจะต้องตรวจ ATK ให้กับพนักงาน หรือต้องการเอกสารรับรองการตรวจหาโควิดก่อนที่จะเข้าทำงานด้วยนะ

อย่าส่งบทความนี้ไปให้นายจ้างรู้

เราจะพบว่าข้อมูลส่วนตัวของเราเกือบทั้งหมดในชีวิต ถ้าไม่รวมบัตรเครดิตและใบแจ้งหนี้ของเรา ก็ตกเป็นของบริษัทโดยเกือบชอบธรรม

ไม่รวมว่าวันหนึ่งอาจจะมีการตรวจสอบเจอว่าเราไปแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน หรือแอบเอาข้อมูลเราส่งไปให้บริษัทขายประกันโทรมาอีก..ทำยังไงดีละทีนี้ หึหึ

เลยเกิดเป็น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภค (PDPA) ขึ้นมาคุ้มครองในกรณีที่อยู่ๆบริษัทแอบเอาข้อมูลของเราไปสมัครทำอะไรที่เราไม่ต้องการ เอาไปลงชื่อเข้าร่วมแคมเปญที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เหล่านี้เรามีสิทธิ์จะฟ้องร้องค่าเสียหายจากการกระทำของบริษัท โดยการฟ้องร้องค่าเสียหายได้

โดยที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่บริษัทเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลอีเมลไปแอบตรวจเช็คบัญชีโซเชี่ยลมีเดีย หรือไปแอบสืบมาว่าเราเคยทำอะไรมาก่อนแล้วมาเป็นเหตุผลการเลิกจ้าง เหล่านี้ทำให้เราสามารถป้องกันตัวเองจากนายจ้างที่ทำอะไรไม่เข้าท่าจากกฏหมาย PDPA ด้วย

สมัครงานนายจ้างจะลืมป้องกันตัวเองตอนไหน?

จากการบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้ถ้าหากว่าเราในฐานะลูกจ้าง ก่อนที่จะให้เอกสารการสมัครงานต่างๆก็ตาม

สิ่งที่จำเป็น และต้องมีคือการมีเอกสารสัญญาฉบับหนึ่งในการบอกกล่าวเราว่าเอกสารที่ได้จากเราจะเอาไปต้มยำทำแกง อะไรบ้าง จะเอาไปเก็บไว้ยังไง เก็บที่ไหน เอาข้อมูลไปทำอะไร สิ่งไหนที่ทำได้ ทำไม่ได้ โดยแล้วแต่กฏเกณฑ์การทำงานของแต่ละองค์กร จากนั้นมีการลงชื่อว่าเรารับทราบแล้ว และได้เอกสารสำเนากลับมาเก็บไว้กลับเราเองอีกฉบับเพื่อกลับมาตรวจสอบว่าบริษัท ไม่ได้เล่นแง่อะไรกับเราเพิ่มเติม และตรวจสอบย้อนกลับในวันที่เราถูกคุกคามด้วยอะไรที่ไม่ได้ตกลงกันไว้

สรุป

ในฐานะลูกจ้างของเราการทำงานที่ตามตกลงเป็นเสมือนข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้ในวันแรกของการทำงาน นอกเหนือจากข้อตกลงถ้าหากมีการตกลงที่ชัดเจน

ก็เป็นเหมือนการยอมรับในกฏเกณฑ์เพิ่มขึ้นระหว่างการทำงาน ดังนั้นข้อมูลส่วนตัวของเราก็เป็นเหมือนหนึ่งในสิทธิ์ที่เราในฐานะลูกจ้าง ต้องปกป้องตัวเองเพื่อป้องกันตัวเองในวันที่ถูกคุกคามนั่นเอง อย่างไรก็ตามถ้าหากบริษัทของคุณยังไม่เตรียมพร้อมใบสัญญาการเก็บข้อมูลกับคุณ สามารถเริ่มต้นปรึกษาการทำ PDPA กับเรา เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย

เตรียมระบบ PDPA ให้เสร็จใน 30 วันได้ยังไง?

โดยปกติการเตรียมระบบ และเอกสารของ PDPA เพื่อปรับใช้กับตำแหน่งต่างๆในบริษัท ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการปรึกษานักกฏหมาย และการเตรียมระบบเก็บข้อมูลสำหรับแต่ละแผนก ซึ่งอาจจะใช้เวลาเตรียมตัวนาน 3-6 เดือน ทำให้เราเห็นถึงความเหนื่อยล้าของการเตรียมการที่ไม่จำเป็น จึงเกิดเป็นบริการชุดเอกสาร PDPA ที่จำเป็นสำหรับแผนกต่างๆที่ต้องใช้ในการขออนุญาตจัดเก็บข้อมูล

ลดเวลาเตรียมระบบจาก 6 เดือน เป็น 30 วัน

ปรึกษาการทำระบบ PDPA สำหรับองค์กร

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

ทวิตเตอร์สรรพากรถูกแฮก สาเหตุจากอะไร วิธีป้องกันยังไงให้ปลอดภัย

สรรพากรถูกแฮกทวิตเตอร์

กรมสรรพากรแจ้งเตือนขณะนี้ ทวิตเตอร์ถูกแฮกเปลี่ยนชื่อเป็น @RevenueDept โดยหน้าทวิตเตอร์ถูกเปลี่ยนเป็นการโปรโมตหน้าสินทรัพย์ดิจิตอล NFT ไปเมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา เกิดได้ยังไง ปมปัญหา และแก้ไขยังไง? สรุป..

ปมปัญหา

มีการผูกประเด็นการถูกแฮกเข้าบัญชีครั้งนี้น่าจะเกิดจากการที่กรมสรรพกรเตรียมที่จะเก็บภาษีเทรดคริปโต โดยการคิดเฉพาะส่วนที่เทรดได้กำไร แต่ไม่มีการหักลบการเทรดขาดทุนจากเหรียญคริปโต ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจกับคนที่ใช้เหรียญคริปโตในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นที่มาของการสันนิฐานการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จากการเปลี่ยนหน้าเพจทวิตเตอร์เป็น Revenue NFT 

แฮกเกอร์เข้ามายังไง

โดยปกติการเข้ามาแฮกข้อมูลของบัญชีโซเชี่ยลมีเดียนั้นก็มีหลักๆไม่กี่วิธีจากเคสที่ไม่ได้มีการป้องกันการเข้ารหัสสองขั้นตอน 2FA โดยถ้าหากเป็นบัญชีรูปแบบรหัสผ่านแบบเดิมนั้น ถ้าหากแฮกเกอร์รู้รหัสผ่าน เดารหัสผ่านที่ง่าย รู้อีเมลสำรอง หรือ เข้าถึงอีเมลที่กู้รหัสผ่านได้ก็อาจจะทำให้ถูกขโมยรหัสผ่านไปใช้ได้อย่างง่ายดาย

สรรพากรถูกแฮกทวิตเตอร์

ล่าสุด 17 มกราคม เวลา 0.08 น. ทางกรมสรรพากรได้มีการประกาศแจ้งเตือนและกู้บัญชีกลับมาได้แล้ว เพียงแต่หน้าโปรไฟล์นั้นยังไม่ถูกกู้กลับคืนมา ในเคสนี้เราสันนิฐานได้ว่าการเข้ามาแฮกของแฮกเกอร์นั้นอาจจะได้ไปเพียงรหัสผ่านเท่านั้น แต่อาจจะไม่สามารถเข้าถึงบัญชีกู้รหัสผ่านได้นั่นเอง

วิธีการป้องกันสองชั้น

การป้องกันการถูกแฮกข้อมูลนอกจากการเพิ่มระดับความปลอดภัยของรหัสผ่าน โดยการเข้ารหัสสองขั้นตอน โดยหลักๆจะเลือกได้ทั้งการรับ OTP ผ่านข้อความ และการใช้แอพพลิเคชั่น Authentication ของ Google ที่ช่วยให้มีการสุ่มรหัสผ่านใหม่ทุก 30 วินาที

ช่วยให้แฮกเกอร์ที่จะพยายามหลอกล่อเอาข้อมูลของเรา ต้องแฮกข้อมูลเข้าไปยังแอพพลิเคชั่นดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันทำได้ยากมาก ถ้าหากไม่รู้จักเจ้าของบัญชี หรือแอบเข้ามือถือของเจ้าของบัญชีนั้นได้


บทความที่เกี่ยวข้อง
การป้องกันสองชั้น 2FA คืออะไร ช่วยป้องกันแฮกเกอร์ได้มากกว่าเดิมอย่างไร?


วิธีการป้องกันจากระบบ

นอกจากนี้การคัดกรองด้วยเครือข่ายข้อมูล ก็เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากสำหรับคนทำงานในออฟฟิศ โดยตัวกรองดังกล่าวคือเครื่อง Firewall ที่มีการดูแลฐานข้อมูลแฮกเกอร์ล่าสุดตลอดเวลา ซึ่งหลายบริษัทมักจะล่วงเลยการดูแลระบบนี้ เพราะอินเตอร์เน็ตใช้ได้เป็นปกติ หรือไม่ถูกโจมตีก็มักจะนิ่งนอนใจ แล้วผู้ดูแลซึ่งส่วนใหญ่เป็นไอทีในบริษัทนั้นละเลย 

สรรพากรถูกแฮกทวิตเตอร์

เนื่องจากไอทบริษัทปัจจุบันต้องดูแลงานส่วนอื่นที่ล้นมือ ตั้งแต่ซ่อมคอม ปริ้นเตอร์ ลงโปรแกรม ดูแลเน็ต ระบบแอพ เว็บบริษัท ฯลฯ  หลายครั้งจึงไม่ได้มีการต่ออายุ และอัปเดตอุปกรณ์ Firewall ให้ทันสมัยตลอดเวลา เพราะมีบางครั้งที่มีงานล้นมือนั่นเอง เป็นที่รู้กันว่าการตรวจสอบอุปกรณ์นั้นควรทำทุกต้นสัปดาห์ของการทำงานหรือทุกสองสัปดาห์เป็นอย่างน้อย จะช่วยป้องกันให้องค์กรนั้นมั่นใจว่าสัปดาห์นี้ได้รับการตรวจเช็คระบบความปลอดภัยแล้วนั่นเอง

สรุป

จากการที่เหล่าบัญชีของหน่วยงานราชการถูกแฮกข้อมูลบ่อยครั้ง ทำให้บริษัทเองก็น่าจะต้องตรวจสอบระบบความปลอดภัยของตัวเอง ทั้งระบบอีเมล ระบบฐานข้อมูลของบริษัท ว่ามีความปลอดภัย มีการเข้าถึงรหัสผ่านสองขั้นตอน ตามมาตรฐานการทำงานรูปแบบใหม่หรือยัง 

รวมถึงควรมีการตรวจเครื่อง Firewall ที่เป็นปราการด่านแรกที่จะเจอแฮกเกอร์ ว่ามีความฟิตและพร้อมดูแลอินเตอร์เน็ตของบริษัทอย่างสม่ำเสมอหรือเปล่า เพราะอย่าลืมว่าก่อนหายนะจะมา ทุกคนจะเพิกเฉยต่อความปลอดภัยที่อยู่ในคู่มือ ถ้าหากไม่มีผู้เชี่ยวชาญดูแล Firewall หรืออยากจะให้มีทีมงานดูแลระบบความปลอดภัยเฉพาะทาง Firewall ทางเรามีบริการช่วยเหลือส่วนนี้ สามารถกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ให้ทีมงานเราติดต่อกลับไปได้เลย


References :
Source1
Source2

Contact us

Cybersecurity ป้องกันโดนโจมตีระบบไซเบอร์ด้วยโมเดลของแผ่นชีสสไลด์ (Swiss cheese model)

swiss cheese model

หลายคนที่ทำงานด้านไอทีนั้นหลายคนได้ช่วยเหลือองค์กรในการป้องกันการถูกโจมตี เรียกค่าไถ่ข้อมูลอยู่หลากหลายวิธีการ ทั้งการติดตั้งแอนตี้ไวรัส (Antivirus) ทั้งการติดตั้งไฟร์วอลล (Firewall) และตั้งค่าอย่างละเอียดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแต่หลายครั้งก็ยังไม่เพียงพอ จนไม่รู้จะไปต่อยังไงดี จึงมีโมเดลหนึ่งในการเช็คลิสต์ระบบความปลอดภัย คือ Swiss cheese model หรือชีสที่เป็นรูๆที่หนูเจอรี่ชอบขโมยไปกินนั่นเอง มันเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยยังไง ตามมมากันเลย

สายดำ VS สายขาว

การเดินทางของไวรัสคอมพิวเตอร์เดินทางมาหลากหลายตั้งแต่ยุคที่มีการเขียนโค้ดให้บอททำงานด้วยตัวเองได้ในหลายสิบปีก่อน

จนเกิดเป็นการทำงานของบอทตามจุดประสงค์ต่างๆขึ้นมาทั้งการหลอกลวงเอาบัญชีธนาคาร ขโมยบัตรเครดิต จนวิวัฒนาการมาเป็นการหลอกเอาเหรียญคริปโต ต้มตุ๋นเอาบัญชีโซเชี่ยลมีเดีย นั่นเป็นการทำงานของสายดำหรือแฮกเกอร์ แล้วพอมาดูสายสร้างป้อมปราการระบบ Cybersecurity ก็มีหลากหลายวิธีเช่นเดียวกัน

ตั้งแต่การป้องกันด้านกายภาพ เช่น ไม่เสียบแฟลชไดร์ฟแปลกปลอม ไม่เปิด SMS จากคนที่ไม่รู้จัก เทรนพนักงานให้ป้องกันการถูกลอบโจมตีต่างๆ หรือการป้องกันทางระบบ เป็นต้นว่าการใช้ Firewall การจัดการกับจราจรข้อมูลในบริษัท การหาโปรแกรมแอนตี้ไวรัส หรือเลือกใช้โฮสต์อีเมลที่ปลอดภัยจากการคุกคาม หลากหลายวิธีการที่เลือกมาใช้ตามความชำนาญของทีมงานนั่นเอง แต่โมเดลในการป้องกันความปลอดภัยที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือชีสสวิสโมเดล หรือการเอาชีสแผ่นรูๆมาวางซ้อนๆกันจะช่วยรักษาความปลอดภัยได้ยังไงกันนะ?

swiss cheese modelโมเดลชีสสวิสต์ (Swiss Cheese model)

หลายคนคงคุ้นเคยกับชีสในประเทศเรา ทั้งชีสแบบยืด(Mozzarella Cheese)ที่เอามาใส่ในพิซซ่า และชีสแบบเหลว (Cheddar Cheese)

ที่เอามาใส่ในแฮมเบอร์เกอร์ อาจจะไม่คุ้นชินกับชีสรูที่เกิดจากฟองอากาศคาร์บอนไดออกไซค์ในก้อนชีส ที่หมักบ่มในแบคทีเรีย จนเมื่อครบเวลาที่กำหนด ชีสจะเป็นก้อนแข็งพอผ่าออกมาจะมีรูๆข้างใน ถ้าไม่เห็นภาพให้ลองนึกถึงหนูเจอรรี่ ที่ชอบขโมยชีสจากห้องครัวไปกิน จนเป็นที่มาของโมเดลชีสสวิสที่เอามาใช้เช็คลิสต์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้(ซะงั้น)

แผ่นชีสกับการป้องกันโดนโจมตี

โดยแนวคิดนี้มาจากโปรเฟสเซอร์ เจมส์ ที รีเซอน (Prof.James .T Reason) จากมหาวิทยาลัยแมนเซสเตอร์ ประเทศอังกฤษ

โดยที่แนวคิดนี้จะหั่นแผ่นชีสออกมาเป็นแผ่นๆ เพื่อแยกชิ้นส่วนออกมาว่าชิ้นไหนทำหน้าที่อะไร ยกตัวอย่างการเดินทางด้วยเครื่องบิน ด่านแรกที่เราจะเจอคือการตรวจโลหะทางเข้าเกท จากนั้นก็ตรวจของเหลว ตรวจบัตรโดยสารที่ตรงกับเจ้าตัว จากนั้นระบบการบินจะตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์การบิน พนักงานทำงานตามระบบความปลอดภัย เป็นระดับคววามปลอดภัยทางการบิน เช่นเดียวกันกับระบบความปลอดภัยของไอที ก็จะแบ่งระดับชั้นตามความต้องการ ซึ่งในโมเดลดังกล่าวมีการประยุกต์ได้หลากหลายรูปแบบ แล้วทำไมต้องเรียงกันด้วยแผ่นชีส?

ทำไมต้องแยกชั้นด้วยแผ่นชีส

ด้วยการเกิดฟองคาร์บอนไดออกไซค์ของชีสนั้นเป็นการเกิดฟองแบบกระจัดกระจายไม่สม่ำเสมอ

เมื่อลองหั่นออกมาเป็นแผ่นบางๆ ชีสแต่ละแผ่นจะมีรูในตำแหน่งที่ต่างกันออกไป เมื่อเอามาจัดวางเรียงกันแล้วทำให้รูที่เป็นเหมือนช่องโหว่ของการทำงาน ไม่ตรงกันจนแผ่นสุดท้าย ซึ่งถ้าเปรียบเป็นการโจมตีเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์

swiss cheese model

ถ้าให้จุด (A) เป็นจุดคัดกรองทางกายภาพ เช่น ไม่เสียบแฟลชไดร์ฟเข้าเครื่อง แต่แฮกเกอร์ผ่านจุด (A) แต่เปลี่ยนไปเข้าทางอินเตอร์เน็ต เลยถูกไฟร์วอลล์คัดกรอง IP address ในจุด (B) ทำให้ถูกกำจัดออกจากระบบ ซึ่งก็ยังมีบางส่วนที่ผ่าน Firewall เข้ามาได้ถึงโปรแกรมแอนตี้ไวรัสในเครื่องตรวจจับไม่เจอในจุด (C) จึงเข้ามาถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว แต่ไม่สามารถขออนุญาตระบบให้รันโปรแกรมได้ในโหมด Admin ในจุด (D) สิ่งที่เห็นได้ว่าโมเดลนี้จะแบ่งชั้นการทำงานอย่างชัดเจน ไม่สามารถใช้ รหัสเดียวกัน วิธีการเข้าแบบเดียวกัน เข้าไปสู่ระบบได้ เสมือนรูชีสที่มีช่องว่างไม่ตรงกัน เมื่อเอาทุกแผ่นมาวางเรียงซ้อนกันนั่นเอง

สรุป

ระบบรักษาความปลอดภัย หรือการจัดการในภาวะวิกฤติ (Crisis management) เป็นการลดความเสี่ยงจากการเกิดวิกฤติด้วยการแบ่งเป็นระดับชั้นของความปลอดภัย

ฉะนั้นถ้าหากในทุกระดับชั้นมีการนิยาม และแบ่งความสำคัญอย่างชัดเจน ดังเช่นระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์นั่นเอง โดยที่นอกจากการเตรียมตัวในระบบดังกล่าวแล้ว การปรับปรุงระบบฐานข้อมูลบริษัทให้มีการตรวจสอบกันเองด้วย Zero trust architecture ก็จะช่วยให้ลดการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานของคุณ หรือแม้กระทั่งการป้องกันการโจมตีของ Ransomware ก็ล้วนเริ่มใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาบริหารจัดการ โดยอยู่ในบริการที่ชื่อว่า Firewall as a Service

ปรึกษาการทำระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์

กรอกแบบฟอร์มที่นี่

ไอทีจะถูกฟ้องร้องจากกฏหมาย PDPA ฉบับใหม่หรือเปล่า (วะ?)

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ออกมาคุ้มครองผู้บริโภค จากการนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้งานแบบไม่ได้อนุญาต จากหลากหลายผู้ให้บริการ ทั้งโซเชี่ยลมีเดีย ธนาคาร ประกันภัย หรือแม้กระทั่งกู้เงิน การพนันออนไลน์และอื่นๆ ข้อมูลนี้เป็นหน้าที่รับผิดชอบจากคนเบื้องหลังที่ดูแลข้อมูลคือ พนักงานไอที แล้วอย่างนี้คนทำงานบริษัทที่ดูแลข้อมูล ระบบงานแล้วมีข้อมูลหลุดหรือมีปัญหาถูกฟ้องร้องขึ้นมา ไอทีจะเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดที่มีความผิดหรือเปล่านะ

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA มีไว้เพื่ออะไร 

ถ้ายกเอานิยามจากราชกิจจานุเบกษามาพลอตลงให้อ่าน คำนิยามของกฏหมายฉบับนี้คือ “การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจาก การถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ” ฉะนั้นพอมาดูไอเดียของการมีฉบับนี้ดูเหมือนจะทำให้เจ้าของข้อมูล Win ที่มีขอบเขตการฟ้องร้องกรณีที่ถูกละเมิด เอาข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้ยินยอม

ตัวละครของ PDPA มีใครเป็นตัวละครคนสำคัญบ้าง?

1.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล – โดยที่ผู้ควบคุมข้อมูลบุคคลที่ดูข้อกำหนด แจ้งจุดประสงค์ของข้อมูลไปใช้งาน
2.เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล – เป็นคนที่ถูกนำข้อมูลไปใช้งาน ต้องเข้าใจข้อกำหนดการใช้งานทั้งหมดจากผู้ควบคุมข้อมูล
3.ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล – เป็นคนที่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในที่ปลอดภัย ป้องกันการสูญหาย โดยรับอำนาจมาจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลนั่นเอง

ไอทีเกี่ยวอะไรกับ PDPA บริษัท?

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตัวละครสำคัญของการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งกฏหมายฉบับนี้เหมือนเน้นไปทางเก็บข้อมูลทางอิเลกโทรนิคมากกว่ารูปแบบเดิม ผู้ที่ต้องอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลต่างๆ นอกจากตำแหน่งแอดมินแล้ว ผู้ที่เป็นโครงสร้างและเบื้่องหลังคือไอทีนั่นเอง ซึ่ง Part การจัดเก็บข้อมูลและความปลอดภัยทางข้อมูลต่างๆ จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท แต่สงสัยไหมว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น ข้อมูลหลุดออกไปไม่ว่าจะเป็นฝีมือคนใน หรือ แฮกเกอร์เจาะระบบออกไปแล้ว ไอทีที่เป็นเหมือนผู้อำนวยความสะดวกมีสิทธิ์ติดคุกหรือเปล่า

ไอทีติดคุกเรื่องจริงหรือจ้อจี้

1.โทษทางอาญา

จากพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดโทษไว้สองรูปแบบ คือโทษทางอาญาซึ่งกำหนดบทลงโทษให้กับ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งการทำงานของฝ่ายไอทีที่อยู่ภายใต้บริษัท ที่เป็นนิติบุคคล ถ้าหากสิ่งใดที่เกิดความผิดพลาดจากระบบการทำงาน หรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จะมีบทลงโทษกับนิติบุคคล หรือ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”

2.โทษทางปกครอง

ฐานะฝ่ายไอทีที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล จะมีบทลงโทษถ้าหากไม่ได้มีการทำตามผู้ควบคุม ในการเก็บข้อมูล หรือตรวจสอบข้อมูลในระบบอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงตรวจสอบการดำเนินงาน ประสานงานสำนักงานในกรณีที่มีปัญหาการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท 

ถึงแม้ว่าทางกฏหมายมีบัญญัติไว้แล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติขั้นตอนการดำเนินการหลายอย่างยังคงมีความคลุมเครือ ระหว่างการทำงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้คุมข้อมูลส่วนบุคคลแต่เกิดปัญหา หรือ ปัญหาการถูกโจรกรรมข้อมูลแล้วข้อมูลสูญหาย ในกรณีดังกล่าวยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

อย่าเพิ่งตื่นตกใจ

ปัญหาของกฏหมายที่ออกมาใหม่นั้นคือไม่มีกรณีตัวอย่างการตัดสินคดี ฉะนั้นหลายกรณีนั้นก่อนจะเกิดเป็นคดีความจึงจะมีการไกล่เกลี่ย รวมถึงขั้นตอนการสืบหาความผิดนั้นยังคงไม่แน่นอน และผู้ที่เป็นพระเอกในการรับการถูกฟ้องร้องได้ก่อนก็คือตัวองค์กร หรือ ผู้ควบคุมข้อมูล เป็นด่านแรกก่อนเสมอ ทำให้ไอทีที่ทำงานตามนโยบายขององค์กร และการตัดสินใจเรื่องต่างๆก็เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารนั่นเอง สบายใจได้ว่าโอกาสที่คนทำงานต้องมาแบกรับความผิดมีน้อย

สรุป

ถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางกฏหมายในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องการความรัดกุมทางการทำงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางการออกกฏหมาย PDPA ฉบับนี้นั้นเน้นให้ผู้ใช้งานต้องยอมรับสิทธิ์ โดยที่รับทราบกฏและข้อบังคับอย่างถี่ถ้วนเพียงเท่านี้ บริษัทก็สบายใจได้ว่าความเสี่ยงที่บริษัทจะต้องปวดหัวกับการถูกฟ้องร้องคงมีไม่มาก โดย Prospace เรามีบริการทั้งเอกสาร PDPA ที่ถูกต้องตามหลักนิติกรรม หรือ ถ้าไม่มีผู้ติดตั้งบนเว็บไซต์ หรือไอทีที่ติดตั้งระบบ บริการของเรามีทีมที่ปรึกษาสามารถช่วยเหลือได้จนถึงอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดต่อเราโดยแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย

 


Reference : Source

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) อาจทำให้ฝ่ายบุคคลเสียค่าปรับ 5 ล้านบาท

PDPA อาจจะทำให้ HR เสียค่าปรับเป็นล้าน

ปัจจุบันนี่เราคงหลีกเลี่ยงการไม่ยอมให้ข้อมูลของเรากับคนอื่นๆไม่ได้ ทั้งการขอเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ การขอเก็บข้อมูลตอนเข้าสมัครงาน หรือแม้กระทั่งการซื้อของออนไลน์ ข้อมูลส่วนตัวแทบทั้งหมดของเรานั้นก็เริ่มกลายเป็นข้อมูลที่คนนั้นรู้ คนนี้เห็น จนบางครั้งเราไม่แน่ใจเลยว่าสิ่งที่เรามอบให้ไปมันจะถูกเอาไปต้มยำทำแกงอะไรบ้าง โดยเฉพาะข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลอาชญากรรม ข้อมูลที่เป็นส่วนตัวในตอนที่เราสมัครเข้าทำงาน โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565

PDPA คืออะไร (ภาษากฏหมาย)

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act : PDPA) ถ้ายกมาจากตัวเอกสารเขาบอกไว้ว่า “พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

โดยที่ มาตรา ๒๖ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าว ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไว้ด้วย

PDPA คืออะไร (ภาษาชาวบ้าน)

พระราชบัญญัติฉบับนี้ออกแบบมาให้ข้อมูลส่วนตัวของเราที่มี ก่อนจะเอาให้ใครไปต้องให้เขามาขออนุญาตให้เอาไปใช้ เช่น เมื่อก่อนเราถ่ายรูปคนอื่นที่ไม่รู้จัก แล้วปรากฏว่ารูปสวยดีแล้วเอาไปขายภาพต่อได้ แต่พอมีกฏหมายนี้บังคับใช้ ถ้าเราถ่ายภาพคนอื่นแล้วเอาไปขายโดยคนในรูปไม่อนุญาต ก็มีสิทธิ์โดนฟ้องร้องค่าเสียหายจากการที่นำรูปภาพเขาไปใช้นั่นเอง

PDPA คุ้มครอง 3 บุคคล

1. เจ้าของข้อมูล (ตัวเรา)

 ให้เรารู้และเข้าใจว่าถ้าอนุญาตให้เขาเอาข้อมูลไปใช้ เขาจะเอาไปส่ง SMS เข้าเบอร์เราได้ไหม ส่งไลน์มาสวัสดีวันจันทร์กับเราได้หรือเปล่า ถ้าทำไม่ได้แล้วเขาแอบส่งมาให้เรา เราก็ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

2.ผู้ควบคุมข้อมูล ( เจ้าของเว็บ เจ้าของบริษัท เจ้าของรูปภาพ)

ต้องบอกเจ้าของข้อมูลว่าจะเอาข้อมูลอะไรไปใช้ แล้วเรามีสิทธิ์ทำอะไรกับข้อมูลลูกค้า หรือ พนักงานของเราบ้าง โดยที่มีลายลักษณ์อักษรว่าเราขออนุญาตเขาถูกต้องแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เราถูกฟ้องตอนที่เราเอาข้อมูลไปใช้งาน

3.ผู้ประมวลผลข้อมูล (คนที่ทำงานตามคำสั่งเจ้าของเว็บ เจ้าของบริษัท)

คนที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูล เอาไปยิงแอด เอาไปส่งเมลแจ้งโปรโมชั่น หรือเอาข้อมูลไปเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อดูภาพรวมว่าลูกค้ากลุ่มไหนชอบซื้อสินค้า A มากกว่า B … คนที่ทำงานเหล่านี้ถ้าวันนึงมีคนฟ้องร้องจากการทำงานต่างๆ จะไม่โดนฟ้องเข้าเนื้อตัวเอง เพราะทำงานให้ในนามบริษัท ตัวองค์กรต้องรับผิดชอบความผิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพนักงานเหล่านี้นั่นเอง

ฝ่ายบุคคลจะเสี่ยงโดนฟ้องร้อง

ใน พรบ.ฉบับนี้มีการกำหนดไว้ว่าการเก็บข้อมูลนั้นต้องเก็บเท่าที่จำเป็น และต้องเก็บด้วยความปลอดภัย แล้วในฐานะบริษัทเองที่ต้องเก็บข้อมูลของพนักงานที่ละเอียดอ่อนในหลายเรื่อง เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลอาชญากรรม ข้อมูลทะเบียนบ้าน ทัศนคติการทำงาน ไว้กับบริษัทถึงแม้ว่าจะเก็บอย่างมิดชิดแล้วก็ตาม

  • เก็บดีแล้วแต่ไม่ถูกกฏหมาย (โทษทางปกครอง)

กฏหมายฉบับนี้บังคับให้ฝ่ายบุคคลต้องขออนุญาตเก็บข้อมูลพนักงาน ต้องจัดเตรียมพนักงานประมวลผลข้อมูล แจ้งจุดประสงค์การเก็บและนำข้อมูลไปใช้งานทุกครั้ง หลังจากมีการบังคับใช้แล้วถ้าหากมีการฟ้องร้องแล้วปรากฏว่าไม่มีการวางแผนดังกล่าวไว้ อาจจะมีโทษปรับสูงถึง 5,000,000 บาท

  • เก็บถูกกฏหมายแล้วแต่ไม่ปลอดภัย (โทษทางอาญา)

นอกจากการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามกฏหมาย ปัญหาต่อมาคือระบบเก็บไม่ดี ถูกขโมยข้อมูลไปขายต่อแล้วถูกฟ้องร้อง เกิดหลายครั้งในบริษัทที่ไม่มีระบบ Firewall ที่เหมาะสมกับองค์กร ปรึกษาทีมงานของเราในการเลือกใช้ Firewall จากที่นี่ ถ้าเกิดเหตุทำให้เกิดข้อมูลหลุดรั่วออกไป ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาทโดยที่นิติบุคคลต้องร่วมรับผิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย

สรุป

ถึงแม้ว่าตัวบทกฏหมายนั้นจะเป็นเรื่องที่ใหม่กับหลายองค์กรที่ยังไม่ได้เริ่มการเก็บข้อมูลตาม พรบ.ฉบับดังกล่าว แล้วยังไม่แน่ใจว่าบริษัทจะเริ่มต้นอย่างไรดี เบื้องต้นต้องเริ่มต้นจากการปรึกษาทีมกฏหมาย PDPA ที่ได้รับ Certificated จาก ISO27001 (Information Security) และ ISO27701 (Privacy Information) จะช่วยให้มั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัย และครอบคลุมกฏหมายฉบับนี้อย่างแน่นอน ซึ่งสอดคล้องกับบริการ PDPA ของเราโดยมีครบจบในที่เดียว โดยถ้าหากต้องการปรึกษา หรือไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี สามารถกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ แล้วทีมงานของเราจะเข้าไปช่วยเหลือเลย


References :

Source1
Source2
Source3

Contact us