Ecommerce ยอมขาดทุนปีละหลายหมื่นล้านเพื่ออะไร

 ในการทำธุรกิจในรูปแบบที่ใช้มาหลายพันปี คือการนำอะไรไปขายให้ได้มากกว่าต้นทุนที่ซื้อมา แต่พอยุคออนไลน์ทำไมนักธุรกิจยุคใหม่ยอมขายของขาดทุนมาหลายปีไปเรื่อยๆแล้วไม่เจ๊งสักทีวันนี้มีคำตอบ

ขาดทุนคือกำไร

ถ้าหากเคยได้ยินวลีนี้ในการทำธุรกิจ ก็ต้องบอกได้เลยว่าคงเป็นธุรกิจการกุศล หรือไม่แสวงหาผลกำไรจริงจังสักเท่าไหร่ เพราะหัวใจของการทำธุรกิจเป็นการนำกำไรที่ได้มา เอาไปต่อยอดในธุรกิจหรือเปลี่ยนชีวิตของบางคนให้ดีขึ้นไป แต่ทำไมธุรกิจเกิดใหม่ประเภท Tech company ถึงใช้เทคนิคนี้แล้วบริษัทโตขึ้น มีคนมาระดมทุนมากมายมหาศาลได้กัน?

ตัวอย่างแพลตฟอร์มออนไลน์ Shopee ได้รายงานผลประกอบการ (เมษายน-มิถุนายน 2021) ปรากฏว่าขาดทุนสุทธิกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ก็ยังคงดำเนินการต่อได้และยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติการบริการ เพราะสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตและสำคัญกว่าการต้องการกำไรจากการดำเนินงานก็คือ “ข้อมูล” ขนาดมหึมา 

สิ่งแวดล้อมของฉัน

ไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่เว็บค้นข้อมูลอย่าง Google ได้เกิดขึ้นมานั้นยังไม่สามารถทำกำไรได้ตั้งแต่ครั้งแรก เพราะทำหน้าที่เพียงการสืบค้นข้อมูลจากคีย์เวิร์ดที่เราค้นหาบนหน้าเว็บไซต์แล้วจากนั้นผู้ใช้อย่างเราก็ออกจากหน้าเว็บ Google ไป แต่เบื้องหลังของมันมีอะไรที่น่าสนใจและทำเงินได้มหาศาล คือสิ่งแวดล้อมของ Google

Google นั้นได้เห็นโอกาสที่คนค้นหาสิ่งต่างๆใน Google เป็นเงินจากการรู้ว่าลำดับที่แสดงขึ้นเว็บ Google นั้นก็มีมูลค่า การที่เราไปค้นหาอะไรบนเว็บไซต์ก็เริ่มสืบรู้ได้ว่าเราอยากได้อะไร เป็นที่มาของการนำโฆษณาที่เราต้องการติดตามไปอยู่บนเว็บเพจ สร้างสิ่งแวดล้อมของ Google ด้วยการทดลองสิ่งต่างๆทั้งเคยสร้าง โซเชี่ยลมีเดียแต่ไม่สำเร็จ ซื้อเว็บไซต์สตรีมมิ่งวีดีโอ ซื้อแผนที่ดาวเทียมมาให้บริการฟรีๆ ให้บริการบลอคแล้วคนมาเขียน เป็นต้น โดยหวังว่าจะทำให้คนอยู่ในโลกของ Google ได้ตลอดเวลา …แล้ว Google ได้ประโยชน์อะไร

เป็นทุกอย่างในชีวิตเธอ

เบื้องหลังทองคำของโลกออนไลน์มีสิ่งมหัศจรรย์ที่เรียกว่า “คุ้กกี้” ซึ่งรู้พฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของเรา รู้ว่าเราค้นหา “ซื้อ มือถือ” ในหน้าค้นหา จากนั้นมันก็ตามมาโฆษณา “มือถือ OPPO” บนเว็บดูวีดีโอ เพราะรู้ว่าเราใช้มือถือ OPPO ในปัจจุบัน ยังรู้ว่าเรามีรายได้ประมาณเดือนละเท่าไหร่จากการซื้อของ ทั้งหมดนี้เชื่อมต่อกันด้วย “Big data” จึงตอบคำถามว่าทำไม “Shopee” ยอมขาดทุนหลายหมื่นล้าน แต่ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ตลอด ทั้ง Wallet แจกคูปอง ปล่อยเงินกู้ รู้ว่าเราซื้อของอะไร ใส่อะไรในตระกร้า เพราะสุดท้ายแล้วพอเราเสพติดการซื้อสินค้า และคู่แข่งทะยอยออกจากตลาดไป ก็จะเริ่มทำเงินได้มากขึ้น ได้ข้อมูลความต้องการของคนส่วนใหญ่แล้วนั่นเอง

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “กำไร” ในธุรกิจยังคงสำคัญอยู่ เพียงแต่ว่า “ข้อมูล” ที่มากพอจะทำให้ธุรกิจยุคใหม่เติบโตอย่างก้าวกระโดดผ่านการเก็บข้อมูลของเราในทุกๆพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ เลยเป็นที่มาของการควบคุมไม่ให้เว็บไซต์เก็บข้อมูลส่วนตัวจนเราถูกสอดแนมตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของการต้อง “ขอสิทธิเก็บข้อมูล” ในกฏหมาย PDPA ประเทศไทยในปี 2565 ที่จะมาถึงนั่นเอง โดยที่ทุกการเก็บข้อมูลต้องแจ้งให้เจ้าของรู้ว่าข้อมูลบัญชีจะถูกเอาไปยิงแอด หรือ เก็บไว้เฉยๆ เราอนุญาตหรือไม่อนุญาต ที่ทุกเว็บไซต์ในประเทศไทยจำเป็นต้องมีการ “ขอสิทธิเก็บข้อมูล (Cookie)” โดยที่ถูกต้องตามกฏหมาย PDPA ด้วยเช่นเดียวกัน ฉะนั้นถ้าหากไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงก็สามารถปรึกษาเราจากแบบฟอร์มด้านล่างนี้ หรือ ดูบริการ PDPA ของเราที่นี่


References :
Source1
Source2
Source3
Source4

เว็บไซต์ เก็บ Cookie รู้ได้ยังไงว่าเราชอบเพลงอะไร สิ่งที่ควรรู้ก่อน PDPA บังคับใช้

เว็บไซต์

ทำไมเราเข้า เว็บไซต์ ดูคลิปวีดีโอแล้วมันสุ่มเพลงที่เราไม่รู้จักมาให้ฟังแล้วมันโดนใจเรา สุ่มคลิปที่เราสนใจแล้วเราก็ดูจนจบทั้งวีดีโอ เข้าเว็บช้อบปิ้งที่ไม่ได้สมัครสมาชิกแต่จำได้ว่าเราเคยใส่สินค้าตัวไหนไว้ในตระกร้า วันนี้เราจะพามาสู่จักรวาลของข้อมูลชิ้นเล็กๆที่เรียกว่า “คุ้กกี้

คุ้กกี้ เว็บไซต์ รุ่นบุกเบิก (Magic cookie)

ถ้าเว็บหนึ่งประกอบด้วยหน้าหลัก และระบบหลังบ้าน คุ้กกี้ก็เป็นข้อมูลชิ้นเล็กๆที่พูดคุยกันระหว่าง “ผู้ใช้” และ “เจ้าของเว็บ” นั่นเอง

โดยที่หน้าที่หลักๆของมันในระยะแรกมันเป็นตัวกลางที่รับและส่งข้อมูลระหว่าง “ผู้ใช้” และ “เจ้าของเว็บ” ในการส่งข้อมูล เหมือนส่งจดหมายไปมาระหว่างกันแต่ก็เกิดปัญหาว่ายุคนั้นการรับส่งข้อมูลด้วยอินเตอร์เน็ตนั้นยากลำบาก ตัวเก็บข้อมูลนั้นมีราคาแพง รวมถึงหลายปัจจัยที่ทำให้มีการพัฒนาเป็นคุ้กกี้รุ่นต่อมา ที่เรียกว่า HTTP cookie ขอเรียกชื่อเล่นว่า คุ้กกี้รุ่นปัจจุบัน

คุ้กกี้ เว็บไซต์ รุ่นปัจจุบัน (HTTP cookie)

ในปี 1994  มีโปรแกรมเมอร์ชื่อ Lou Montulli ได้พัฒนาคุ้กกี้รุ่นใหม่ ทดแทนคุ้กกี้รุ่นบุกเบิกที่ใช้งานเพียงรับส่งข้อมูลระหว่าง “ผู้ใช้” และ “เจ้าของเว็บ”

สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาคือแทนที่จะรับส่งข้อมูลเหมือนจดหมายที่ทำให้เจ้าของเว็บแบกข้อมูลมหาศาล เปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อย่างเราๆแทน และทุกครั้งที่เราเข้าเว็บไซต์นั้น เจ้าของเว็บจะมาเปิดดูข้อมูลคุ้กกี้ที่ถูกจดบันทึกไว้ในเครื่องเรา แล้วจะจำได้ว่าเมื่อคราวก่อนเราทำอะไรกับเว็บไซต์นี้นั่นเอง

เว็บไซต์

คุ้กกี้เป็นเพื่อนรักที่สอดแนม

แน่นอนว่าการมีคุ้กกี้เข้ามาจะทำให้เราไม่ต้องเข้าบัญชี Facebook หรือ Youtube ใหม่ทุกครั้งที่เปิดเข้าหน้าเว็บ

เราฟังเพลงค้างไว้ที่นาที 3.01 แล้วคอมพ์ดับไปก็สามารถกลับมาเปิดได้ที่จุดเดิมที่ถูกปิดไปเมื่อกี้  สะดวกกับผู้ใช้อย่างเรา และเพื่อนรักคนนี้จะมีหน้าที่จดจำเช่นเดียวกัน 

ตัวอย่าง การสอดแนม เช่น คุณ  A ชอบฟังเพลงป๊อบเกาหลี ชอบดู Vlog ของไอดอลเกาหลี ระบบก็จะติดตามพฤติกรรมของเราไปเรื่อยๆว่า แล้วถ้าสุ่มส่งเพลงป๊อบเกาหลีของคนอื่นไปคุณ A จะฟังไหม จะฟังจนจบเพลงหรือกลับมาฟังซ้ำหรือเปล่า การติดตามพฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จุดประสงค์เพื่อทำให้เราเสพติดให้เราวนเวียนอยู่ในที่นั่นนานๆ ซึ่งเหมือนจะดีแต่มันเริ่มจะทำให้เรารู้สึกถูกคุกคามเมื่อมันทำหน้าที่มากเกินเพื่อนรักนั่นเอง

คุ้กกี้เพื่อนรักหักเหลี่ยม

ด้วยความที่เรารักและไว้ใจมันมากๆจนเกิดเป็นการติดตามเราไปในทุกลมหายใจ

แม้กระทั่งเราพูดคุยกับเพื่อนอยู่ดีๆก็มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องขึ้นมาเป็น Ads บนหน้าเว็บไซต์ หรือวันดีคืนดีก็มี SMS ให้ไปกู้เงิน (รู้ด้วยว่ากำลังร้อนเงินอยู่ ><” ) หลายเคสหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก ทำให้รัฐบาลของแต่ละรัฐ แต่ละประเทศนั้นต้องเริ่มดันกฏหมายไม่ให้คุ้กกี้เข้าไปทำอะไรที่ยุ่งวุ่นวายกับสิทธิส่วนบุคคลนั่นเอง โดยประเทศไทยเรามี พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะประกาศใช้ 1 มิ.ย. 2565 ที่มีชื่อเล่นว่า PDPA (Personal Data Protection Act)

จ่ายค่าปิดปาก ransomware

กฏหมายใหม่จะดัดนิสัยคุ้กกี้เพื่อนรักยังไง

จากเดิมทีเว็บไซต์จะเก็บข้อมูลคุ้กกี้ ที่เข้าใช้งานเว็บของเราสามารถทำได้โดยอิสระเสรี

จนกระทั่งการเข้ามาของกฏหมายฉบับดังกล่าว สิ่งที่เว็บไซต์ต้องทำคือการทำแบบฟอร์มขึ้นมาฉบับหนึ่ง ที่ใส่ข้อมูล คำจำกัดความ รวมถึงจุดประสงค์การขอเก็บข้อมูลไปใช้ทำอะไรกับเราบ้าง โดยที่หน้าที่ “ผู้ใช้” อย่างเราก็ต้องอ่านสิ่งที่เขาจะเอาข้อมูลของเราไป ก่อนจะกดอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้เอาไปใช้งานได้นั่นเอง โดยที่มันจะมีผลทางกฏหมายในกรณีที่เราถูกเอาข้อมูลไปขายต่อ หรือมี SMS ชวนไปยิงนกตกปลา กู้เงินจากกระทรวง 3000 บาท ฯลฯ นั่นเอง 

จัดระเบียบ Cookie ให้จัดการง่ายยิ่งขึ้น

การเข้าถึงคุ้กกี้เป็นเหมือนเพื่อนรู้ใจเราทั้งสองฝ่ายเลยทีเดียว ทั้งเจ้าของเว็บรู้ว่าลูกค้าชอบอะไร

ทั้งผู้ใช้อย่างเราก็ไม่ได้ต้องกลับมาเข้าสู่ระบบใหม่ทุกครั้ง อย่างดูคลิปที่เราชอบโดยไม่ต้องค้นหา อย่างนี้แล้วก็วินวินกันทั้งสองฝ่าย เพียงแต่เจ้าของเว็บอย่าลืมทำแบบฟอร์มขอเก็บข้อมูลเท่านั้นแหละ ถ้าลองเปิดเว็บหาวิธีทำไม่เจอ เราก็มีบริการแบบฟอร์มคุ้กกี้ ครบจบ แค่แปะวาง ถูกตามหลักกฏหมาย กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้แล้วเจ้าหน้าที่จะเข้าไปให้คำปรึกษาเลย

network system

ปรึกษาการทำระบบ Cookie consent

กรอกแบบฟอร์มให้ทีมงานติดต่อกลับไป