ทางลัดไปอ่าน
ToggleData Breaches: ภัยเงียบที่ SME มองข้าม ใกล้ตัวและเสี่ยงมากขึ้นในปี 2025
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นข่าวการรั่วไหลของข้อมูลลูกค้าจากองค์กรชั้นนำของไทยติดๆ กันอย่างต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจร้านอาหาร ค้าปลีกขนาดใหญ่ ตลอดจนสถาบันการเงิน ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งด้านการเงินและความเชื่อมั่นที่มีต่อธุรกิจ แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ ธุรกิจ SME มักตกเป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ไม่น้อยไปกว่ากัน และบ่อยครั้งที่ความเสียหายรุนแรงจนถึงขั้นโดนฟ้องร้องไปจนถึงปิดกิจการ
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าแฮกเกอร์มักเลือกโจมตีเฉพาะธุรกิจใหญ่ที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริง SME กลับเป็นเป้าหมายที่ง่ายกว่าเพราะมักมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่แข็งแรง เมื่อเร็วๆ นี้ ร้านอาหารแห่งหนึ่งในไทย เพิ่งเผชิญกับวิกฤตความเชื่อมั่น หลังมีข้อมูลหลุด ซึ่งส่งผลกระทบกลับต่อชื่อเสียงของธุรกิจเป็นอันมาก
วิธีการโจมตีและจุดอ่อนที่ SME ต้องระวัง
การโจมตีของแฮกเกอร์มักเริ่มต้นจากการหาจุดอ่อนผ่านช่องโหว่ที่มองข้าม โดยเฉพาะใน SME ที่มักละเลยการอัพเดทระบบความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ แฮกเกอร์จะเริ่มจากการสแกนหาช่องโหว่ในระบบ จากนั้นใช้เทคนิค Social Engineering หลอกล่อพนักงานให้คลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์ที่มีมัลแวร์แฝงอยู่ เมื่อเข้าถึงระบบได้แล้ว พวกเขาจะค่อยๆ ขยายสิทธิ์การเข้าถึง (Privilege Escalation) และซ่อนตัวอยู่ในระบบเป็นเวลานาน บางครั้งนานถึง 6-8 เดือน เพื่อศึกษาระบบและหาข้อมูลที่มีค่า โดยที่ระบบรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิมไม่สามารถตรวจจับได้
น่าตกใจที่พบว่าในหลายกรณี แฮกเกอร์เข้าถึงระบบผ่านอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เช่น กล้องวงจรปิด เครื่องปริ้น หรือแม้แต่ระบบควบคุมอุณหภูมิ เนื่องจาก SME มักไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตั้งค่าความปลอดภัยของอุปกรณ์เหล่านี้ และยังใช้รหัสผ่านเริ่มต้นจากโรงงาน (Default Password) ซึ่งแฮกเกอร์สามารถหาได้ง่ายจากอินเทอร์เน็ต เมื่อเจาะระบบได้แล้ว พวกเขาจะใช้เทคนิค Data Exfiltration ในการลักลอบส่งข้อมูลออกไปทีละน้อย ผ่านช่องทางที่ดูเหมือนปกติ ทำให้ยากต่อการตรวจจับหากไม่มีระบบเฝ้าระวังที่ทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญคอยตรวจสอบ
ความท้าทายและแนวทางป้องกันภัยไซเบอร์สำหรับ SME
ความท้าทายสำคัญของ SME คือการขาดทีมไอทีที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ซึ่งการจ้างผู้เชี่ยวชาญประจำมีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่หลายธุรกิจจะรับไหว อีกทั้งภัยคุกคามไซเบอร์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและพัฒนาอย่างรวดเร็ว การมีเพียงระบบป้องกันพื้นฐานหรือทีม IT ทั่วไปจึงไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อแฮกเกอร์ใช้เทคนิคการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้น
กรณีศึกษาที่น่าสนใจคือร้านค้าออนไลน์ขนาดเล็กแห่งหนึ่ง ที่ถูกแฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลลูกค้าและนำไปขายในตลาดมืด แม้จะมีผู้เสียหายเพียง 200 ราย แต่เมื่อลูกค้าทราบเรื่อง หลายรายได้ดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จนธุรกิจต้องปิดตัวลงในที่สุด นี่คือตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าการรั่วไหลของข้อมูลแม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อความอยู่รอดของธุรกิจได้
Firewall as a Service (FWaaS) จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมสำหรับ SME ด้วยรูปแบบการให้บริการที่จ่ายตามการใช้งานจริง ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าถึงการป้องกันระดับมืออาชีพได้ โดยไม่ต้องลงทุนสูง ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่คอยเฝ้าระวังและจัดการภัยคุกคาม พร้อมระบบตรวจจับภัยคุกคามอัจฉริยะที่อัพเดทฐานข้อมูลแบบเรียลไทม์
นอกจากนี้ FWaaS ยังช่วยให้ SME สามารถปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะการละเมิด PDPA อาจนำไปสู่บทลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรง โดยเฉพาะหากเกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล
ในยุคที่ข้อมูลคือสินทรัพย์สำคัญ การป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลจึงไม่ใช่เรื่องที่ SME จะมองข้ามได้อีกต่อไป FWaaS ไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญ แต่ยังช่วยลดภาระด้านการบริหารจัดการ ทำให้ธุรกิจสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาได้อย่างมั่นใจ การเลือกใช้บริการ FWaaS จึงไม่ใช่เพียงการลงทุนด้านความปลอดภัย แต่เป็นการลงทุนเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจในยุคดิจิทัล ที่แม้แต่ธุรกิจเล็กๆ ก็อาจต้องเผชิญกับภัยคุกคามไซเบอร์ได้ทุกเมื่อ สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ โทร : 085-449-7373 หรือ Email SALES@PROSPACE.SERVICE
Firewall as a Service
ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล
- Firewall subscription model
- พร้อมพนักงานบริหารจัดการระบบหลังบ้าน
- มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
- มีที่ปรึกษาดูแลระบบตลอดอายุสัญญา