fbpx Skip to content

Mail จัดการอีเมลขยะทั้งบริษัทแบบลดต้นทุนหลักแสน

mail

Mail เป็นเสมือนกระดูกสันหลังของการเข้าถึงลูกค้าในเกือบทุกบริษัท ไม่ว่าจะดีลงาน ส่งใบเสนอราคา หรือรับเรื่องร้องเรียน จำเป็นต้องประสานงานกันผ่านอีเมล์ ทำให้ช่องทางนี้เลยเป็นทั้งความสะดวก และจุดอ่อนของการติดต่อสื่อสาร รับไวรัส ข้อมูลมากมายที่จัดเก็บ และการทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบริษัทได้หลักแสนบาทต่อเดือน

Mail เป็นกระดูกสันหลัง

ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปอย่างไร เราจะสามารถติดต่อกันผ่านแชทได้แบบ realtime แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเหมือนเดิมคือเกือบทุกบริษัทยังคงติดต่อกันผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Electronic mail หรือ อีเมล โดยติดต่อตั้งแต่ภายในองค์กร ระหว่างแผนกไปถึงบริษัท ข้ามทวีป โดยการใช้อีเมลนั้นกลายเป็นกระดูกสันหลังของการติดต่อสื่อสารตั้งแต่ยุคที่เริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ต จนกระทั่งแม้ว่าปัจจุบันเราสามารถวีดีโอคอลกันข้ามทวีป อีเมลนั้นอาจจะถูกลดบทบาทในการใช้งานระหว่างบุคคลแล้ว แต่ฝั่ง corperate เองยังคงมีการติดต่อกันผ่านช่องทางดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลง เหตุนี้เองจึงเป็นโอกาสของการเจาะระบบเพื่อการขโมยข้อมูล รวมถึงการเรียกค่าไถ่ Ransomware

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Ransomware กันก่อนว่าคืออะไร?

Ransomware เป็นสิ่งที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสร้างขึ้นมาเพื่อก่อกวนผู้ใช้งานทางอีเมล หรือหาช่องว่างในการเข้ามาในระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ของกลุ่มเป้าหมายโดยส่วนใหญ่ Ransomware จะถูกส่งมาทางอีเมลในรูปแบบ Spam mail แต่เมื่อมีผู้ที่ได้รับมากขึ้น จึงทำให้ผู้คนที่ต้องการกำจัดก็จำนวนมากขึ้นตาม ผู้คนที่มีความสามารถจึงจัดทำ SpamBlocker หรือผู้กำจัด Spam mail ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้

ผู้รับ Spam mail จะมีทั้งรูปแบบข้อความธรรมดา และรูปแบบการแนบไฟล์ ซึ่งทำให้ตัวดักจับ Spam Blocker บนอุปกรณ์ Firewall จะมีหน้าที่เข้ามาแสกนไฟล์ที่แนบมาทางอีเมลว่าเป็น Spam หรือไม่ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันมีการแสกนในรูปแบบความคิดแบบ AI ทำการแยกแยะไฟล์ที่ดีออกจากไฟล์ Malware ได้เลยแต่การแข่งขันกันระหว่างเจ้าของโปรแกรมและผู้เจาะเข้าระบบนั้นก็ยังเป็นการแข่งขันหนูจับแมว ที่ไม่มีวันจบสิ้นจนกว่าระบบนั้นจะไม่มีผู้ใช้งานอีกต่อไป

ssl certificateโครงสร้างระบบ E mail ในบริษัท ลดการโจมตีได้อย่างไร

ในบางครั้งที่เราได้รับอีเมลแปลกและเผลอทำการคลิกดาวโหลดไฟล์แนบที่มากับเมลเข้าไปแล้ว แต่ตัวเครื่องของผู้ใช้โปรแกรมดักจับไวรัสได้จนทำให้ปฏิเสธการบันทึกข้อมูลดังกล่าวลงเครื่อง แต่นั่นอาจจะเป็นแค่ 1 ครั้งจากหลายหมื่นครั้งที่ระบบตรวจจับไม่ได้เพราะไม่มีระบบการป้องกันการคุกคามโดยการรีเช็คได้จากเครื่องมือข้างต้นดังนี้

  1. โปรแกรมเถื่อน Crack 

    ด้วยพื้นฐานของการเจาะเข้าโปรแกรมเพื่อไปแก้ไขการทำงานบางอย่าง เช่น การทำให้โปรแกรมไม่สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล หรือ เปิดใช้งานฟีเจอร์เต็มโดยทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ตรวจจับไม่ได้ก็ตาม ผู้เจาะระบบนี้จะใช้วิธีการที่แตกต่างกันไป แต่จุดร่วมกันของกระบวนการดังกล่าวคือการแฝงตัวเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ติดตั้งโดยสมยอม ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีโปรแกรม Antivirus จะแจ้งเตือนละบังคับไม่ให้มีการทำงานก็ตาม แต่เจ้าของคอมพิวเตอร์เองก็ยอมหยุดการทำงานของโปรแกรม Antivirus ให้โปรแกรมเถื่อนสามารถเข้าไปซ่อนตัวและสั่งการได้ในฐานะเจ้าของเครื่องอีกด้วย

  2. โปรแกรม Antivirus 

    โปรแกรมสำหรับตรวจจับไฟล์ที่เป็นไวรัส หรือออกคำสั่งเพื่อเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเรา โดย windows ตั้งแต่รุ่น 10 เป็นต้นมาเริ่มมีระบบการตรวจจับไวรัสจากบนเครื่องโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมจากภายนอกแต่อย่างใด เนื่องจากพื้นฐานของผู้ให้บริการระบบปฏิบัติการ OS นั้นจำเป็นต้องมีการอุดช่องโหว่ของตัวเองตลอดเวลา สอดคล้องกับการงัดแงะของเหล่าโปรแกรมเมอร์สายดำที่ต้องการหาช่องโหว่เพื่อนำมาขายในตลาดมืด เหตุนี้เองทางผู้ให้บริการอย่าง Microsoft ที่เป็นเจ้าของ Windows จึงพ่วงโปรแกรมแอนตี้ไวรัสมาให้ฟรีๆ เพียงแต่เจ้าของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการอัปเดตฐานข้อมูลของไวรัสจาก Windows update ตลอดเวลา ก็จะช่วยให้อุดช่องว่างที่ทำให้ไวรัสไม่สามารถเข้ามาในคอมพ์ของเราได้อย่างง่ายดายนั่นเองmail

  3. โปรแกรม Firewall

    นอกจากมีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสติดบนเครื่องแล้ว ใน Windows รุ่นใหม่ๆยังมาพร้อมกับโปรแกรม Firewall ซึ่งเป็นเสมือนตัวคัดกรองข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต อย่างเช่นการคัดกรองเว็บไซต์ที่มีการซ่อนไวรัส เว็บไซต์ที่ไม่มีการเข้ารหัสข้อมูล หรือระบบปลอมแปลงในการกรอกรหัสบัตรเครดิต ซึ่งถ้าหากเปิดใช้งานฟีเจอร์ Firewall บนคอมพิวเตอร์แล้ว จะช่วยมาเติมเต็มความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ใช้งานอีกทางหนึ่ง เพียงแต่อัปเดตฐานข้อมูลไวรัสให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดตลอดเวลาเพียงเท่านั้น

  4. อุปกรณ์ Firewall (สำหรับองค์กร)

    ความแตกต่างของโปรแกรมและอุปกรณ์ของ Firewall คือการในภาพรวม โดยอุปกรณ์ Firewall นั้นทำหน้าที่คล้ายกับโปรแกรม เพียงแต่ว่าเครื่อง Firewall นั้นทำงานกับเครือข่ายในออฟฟิศ เครือข่ายของหมู่บ้าน ทำให้การติดตั้ง Firewall ครั้งเดียวสามารถสั่งให้คอมพ์ที่ต่อในเครือข่าย หรือ ออฟฟิศเดียวกันไม่สามารถเข้าบางเว็บไซต์ หรือ จำกัดการเข้าถึงข้อมูลบางอย่างได้ ตัวอย่าง การติดตั้ง Firewall แล้วมีการ configuration ที่บลอคไม่ให้มีการรับเมล์ที่ส่งมาจาก IP ที่เคยส่งไวรัสออกมา หรือ การคัดแยกเมลที่มีการแนบไฟล์ EXE โดยการตั้งค่าครั้งเดียว จะป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายหลายร้อยเครื่องได้

ในปัจจุบัน Ransomware ไม่ได้มีการบุกรุกมาเพียงวิธีการที่เราคาดเดาได้เท่านั้น แต่ยังมีในรูปแบบข้อความที่ให้คลิก link หรือแม้กระทั่งรูปแบบที่เราเองไม่ต้องคลิก ขโมยข้อมูลระดับบริษัท ระดับประเทศจนไปถึงการเข้าไปแฮกระบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์กลางทะเลทรายที่ไม่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ก็สามารถทำมาได้แล้วเช่นกัน เหล่านี้เองเป็นหลักฐานที่ทำให้เราเข้าใจได้ว่าไม่ว่าระบบปลอดภัยขนาดไหนก็มีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรมทางข้อมูลได้เช่นเดียวกัน ทำให้การเตรียมพร้อมรับมือกับการถูกโจมตีทางข้อมูลที่เป็นอาวุธเบื้องต้น จึงจำเป็นสำหรับการเตรียมรับทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้นั่นเอง

encryption

Integrate + Configuration?

การป้องกัน Ransomware จากทางอีเมลที่ได้ผลดีนั้นจะต้องใช้เครื่องมือหลายตัวมาประกอบกัน (Integration) ซึ่งเหล่านี้มีต้นทุนที่ประหยัดเมื่อเทียบกับการถูกขโมยข้อมูลเพื่อไปเรียกค่าไถ่ในราคาสูง

  • SpamBlocker

    เป็นฟีเจอร์ในการคัดกรองอีเมล โดยมีการแนบไฟล์มาด้วย หรือมีข้อมูลว่าอาจจะมาจากปลายทางที่ไม่คุ้นเคย

  • Antivirus scan

    เป็นการคัดกรองข้อมูลก่อนการเก็บเข้าเครื่องโดยไม่ต้องรับความเสี่ยงของไวรัสด้วยตัวเอง

  • User training

    การอบรมความเข้าใจกับพนักงานให้เข้าใจถึงความเสี่ยงและความปลอดภัยในการเข้าถึงอีเมล

  • Client antivirus scan

    การตรวจดูความพร้อมของโปรแกรมแอนตี้ไวรัสของคอมพ์ตัวเองอย่างสม่ำเสมอ พร้อมอัปเดตฐานข้อมูลให้เป็นล่าสุด

  • WebBlocker

    ฟีเจอร์นี้ปัจจุบันนอกจากใช้ในอุปกรณ์ Firewall แล้วยังมีใน Browser ต่างๆที่ใช้เข้าเว็บไซต์ โดยจะมีการคัดกรองเว็บไซต์เบื้องต้น หรือ ถ้าติดตั้งโปรแกรมเฉพาะทางดังกล่าวจะมีฟีเจอร์ในการตรวจจับและบลอคเว็บที่อันตรายก่อนจะมีการเข้าไป

  • Firewall log/report engine

    เป็นฟีเจอร์ของเครื่องไฟร์วอลลในการเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานของคอมพ์ เก็บสถานะการเข้าใช้ของเครื่อง รวมถึงเว็บไซต์ที่เข้าไป นอกจากจะช่วยให้รู้ว่ามีใครเข้ามาแล้วยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่มีการแฮกข้อมูลเข้ามาในระบบอีกด้วย

  • Data backup

    การวางระบบ Server ในปัจจุบันไม่มีอะไรแน่นอนในการมั่นใจว่าจะไม่มีการโจมตี ถึงแม้ว่าจะมีความปลอดภัย ทำตามขั้นตอนทุกอย่างแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการสำรองข้อมูล โดยการสำรองข้อมูลนั้นมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการใช้ Server อีกตัวมาสำรองข้อมูล หรือ การใช้ Cloud computing ในการสำรองข้อมูลไว้

จะเห็นได้ว่าการ Integration ของ Product หลายๆตัวนำมาทำงานร่วมกัน จะทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสม โดยอยู่ในบริการ Firewall as a Service (FWaaS) ที่เป็นบริการทำ Integration เพื่อให้ระบบมาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมืออาชีพ 

FWaaS advantage

ปรึกษาการทำระบบ FWaaS

  • ออกแบบระบบ Network security
  • ลำดับความปลอดภัยของข้อมูล
  • ดูแลฐานข้อมูลความปลอดภัยให้เป็นปัจจุบัน
  • ดูแลระบบให้ตลอดอายุสัญญา

ปรึกษาการทำระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์

กรอกแบบฟอร์มเพื่อให้เราติดต่อกลับ