fbpx Skip to content

เรซูเม่ที่ Google คัดคนเข้ามาสัมภาษณ์งาน IT เป็นยังไง ลองทำตามได้

Google สัมภาษณ์งานยังไง

ในทุกการทำงานของเราล้วนมีเป้าหมายชีวิตไปผสมอยู่ ตั้งแต่เราเริ่มทำงานครั้งแรกก็คาดหวังจะเติบโตในสายอาชีพ หลายคนอาจจะยังไม่เคยเปลี่ยนงานมาก่อน หรือหลายคนเปลี่ยนมาอย่างโชกโชน แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ทุกครั้งที่เปลี่ยนที่ทำงาน มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ว่าที่บริษัทใหม่จะรู้จักเราได้คือเอกสารแนะนำตัวเองเบื้องต้นที่เรียกว่า เรซูเม่ วันนี้เราจะพามาดูเรซูเม่ที่ Google รับพนักงานเข้าไปสัมภาษณ์ ดูที่อะไรบ้างนะ?

วัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน

ก่อนอื่นถ้าหากใช้วิธีนี้ไปกับการรับสมัครงานของไทยอาจจะไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด แต่สามารถประยุกต์ให้เข้ากันได้ โดยที่วัฒนธรรมการทำงานของประเทศทางตะวันตกส่วนใหญ่จะไม่มีรูปภาพ ไม่มีอายุ ประกอบการพิจารณา ทั้งนี้เนื่องจากป้องกันการตัดสินด้วยหน้าตา และอายุนั่นเอง

ไฮไลท์

องค์กรอย่างกูเกิ้ลปัจจุบันมีคนสมัครกว่าปีละ 2 ล้านคน ทำให้การคัดเลือกใบสมัครแต่ละใบต้องใช้การคัดเลือกด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ คีย์เวิร์ด ในการคัดกรองครั้งแรกจากนั้นผู้ที่เลือกใบสมัครนั้นจะมีเวลาคัดทิ้งใบสมัครที่ไม่เข้าตาอีกรอบหนึ่ง ดังนั้นการทำเรซูเม่ฉบับแผ่นเดียว เลือกมาเฉพาะผลงานและการทำงานที่เด่นเท่านั้น จะทำให้เข้าตากรรมการก่อน

ตำแหน่งการวาง Resume Google

เรซูเม่

ก่อนอื่นเรซูเม่ดังกล่าวเป็นตำแหน่งวิศวกรซอฟแวร์ ดังนั้นตำแหน่งอื่นในไอทีอาจจะปรับข้อมูลตามสายงานเฉพาะทางของตัวเองได้ โดยในตัวอย่างนี้จะแบ่งเป็น 4 ส่วนและจะมีตัวอย่างสองแบบ ทั้งจัดเรียงหน้าแบบ 1 และ 2 คอลัมน์ โดยคีย์เวิร์ดที่เอามาใส่ จะมีส่วนต่อการคัดเลือก เช่น AI , DATA, ANALYSIS ตามแต่ตำแหน่งนั้นจำเป็น ยิ่งมีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ AI จะคิดว่ามันเกี่ยวข้องมาก เหมือนลักษณะการทำงานของ SEO ของ Google นั่นเอง

ตำแหน่งการวาง Resume Google

  • ส่วนแรกคือ ชื่อ-นามสกุล

    ตามด้วยที่อยู่ อีเมล และเว็บไซต์ที่เก็บผลงาน ในสายโปรแกรมเมอร์จะใช้ Github

  • ประวัติการศึกษาและใบรับรองการจบคอร์สอบรม

    การศึกษานั้นโดยทั่วไปอาจจะไม่ต้องเอาถึงขั้นมัธยมมาประกอบบนโปรไฟล์ แต่เน้นการอธิบายคณะที่เรียน สาขาเอก สาขาโท เกรดเฉลี่ยการเรียน ส่วนใบรับรองการจบคอร์สอบรมก็แจ้งว่าเป็นการอบรมอะไร ออกโดยหน่วยงานไหน ซึ่งในประเทศตะวันตกจะมีแพลตฟอร์มการเข้าอบรมที่ยอมรับกันอยู่แล้ว เช่น Bootcamp, Freecodecamp, Google certificate , Microsoft certificate 

  • ผลงานที่เคยทำ โปรเจคที่เคยร่วมงาน

    กรณีที่เป็นโปรแกรมเมอร์ก็จะแสดงว่าทำเกมส์ ทำแอพ ด้วยภาษาอะไร เกิดผลลัพธ์อะไร ถ้าในตำแหน่งไอทีซัพพอร์ตอาจจะพูดถึงการวางระบบเน็ตเวิร์คด้วยโปรแกรมอะไร เกิดอะไรขึ้น ช่วยพัฒนาอะไรบ้าง

  • ประสบการณ์การทำงาน

    ส่วนนี้เป็นการอธิบายถึงปีที่ทำงาน ชื่อบริษัท ตำแหน่ง และทำอะไรบ้างในระหว่างนั้น

ค่าพลัง Resume Google

  • ทักษะการทำงาน ทั้งแบบทางตรงและทางอ้อม

    ในส่วนนี้ระวังการใส่กราฟพลังงาน เปอร์เซ็นต์ความเชี่ยวชาญ เพราะผู้เลือกอาจจะไม่รู้ว่าแถบพลังเท่านี้มีความสามารถขนาดไหนแล้วอาจจะถูกคัดออก โดยทักษะการทำงานอาจจะแบ่งเป็นสองแบบ ทักษะทางตรง (Hard skills) คือเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน เช่น เขียนโปรแกรม ใช้โปรแกรม เขียนแบบด้วยวิธีไหน และทักษะทางอ้อม (Soft skills) ที่จะเป็นประโยชน์ เช่น ทักษะการขาย ทักษะการตลาด ทักษะการเจรจาต่อรอง เป็นต้น

  • เริ่มต้นและไปต่อ

    ถึงอย่างไรก็ตามนอกจากการแนะนำตัวเองเบื้องต้นจากกระดาษ 1-2 แผ่นในการแนะนำตัวเองผ่าน PDF หรือซองจดหมาย แล้วการเตรียมตัวสัมภาษณ์ทั้งการสอบและการเตรียมพรีเซ้นต์ตัวเองก็จะช่วยเพิ่มให้ได้รับการตอบรับเข้าทำงานได้อย่างง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เกณฑ์การสมัครงานนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป ควรจะศึกษาก่อนการส่งใบสมัครด้วย

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเข้าเลือกทำงานบริษัทใหญ่ระดับโลกก็เป็นความฝันของหลายคนในชีวิตการทำงาน ดังนั้นการศึกษาวัฒนธรรมที่แตกต่างจะเป็นประโยชน์ในวันที่ต้องร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานนานาชาติ ถ้าหากมีคำถามด้านการทำงานด้านระบบไอที สามารถปรึกษาทีมอาสาสมัครของเราได้ฟรีเพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้


References :
Source1
Source2

Contact us