fbpx Skip to content

Internet safety คืออะไร? พร้อมกฎ 10 ข้อที่ไม่ควรทำบนโลกออนไลน์

internet safety

Internet safety คือความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต สามารถเรียกสั้น ๆ ว่า E-Safety ก็ได้ ซึ่งการรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยนี้จะช่วยกระตุ้นให้เราตระหนักถึงความปลอดภัยส่วนบุคคล  (personal safety) ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคล (private information)  รวมถึงการป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (computer crime) แม้ว่าทุกวันนี้แอปพลิเคชันบนมือถือสมาร์ทโฟนจะมีอิทธิพลในชีวิตประจำวันกับผู้ใช้มากกว่าการเปิดเว็บไซต์จากบราวเซอร์ก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ากฎขั้นพื้นฐานของความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ตจะมีการเปลี่ยนแปลง เพราะแฮกเกอร์ก็ยังคงมองหาช่องทางต่างๆที่จะได้มาซึ่งข้อมุลส่วนบุคคล เพื่อหาประโยชน์จากการใช้เข้าถึงข้อมูล รวมถึงข้อมูลบัตรเครดิตและบัญชีธนาคารของเราได้อยู่

Internet safety คืออะไร

Internet safety คือความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต เพื่อหวังว่าพฤติกรรมการใช้งานต่างๆจะไม่นำมาซึ่งการคุกคามทางไซเบอร์ โดยความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นจะประกอบไปด้วย ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ (Cyber security) และ พฤติกรรมการใช้งานที่ดี (Good behavior) โดยมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลที่เป็นความลับต่างๆให้กับตัวเองและบริษัท

  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber security)

    ถ้าหากเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์สักครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องขนาดใหญ่ หรือ ขนาดเล็กที่เป็นระดับสมาร์ทโฟน เป็นสัญญาณบอกแล้วว่าถึงเวลาที่เราต้องเริ่มทำความเข้าใจความปลอดภัยทางไซเบอร์แล้ว 

  • พฤติกรรมการใช้งานที่ดี (Good behavior)

    การใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นโดยพื้นฐานนั้นมีความปลอดภัยที่มีการบังคับมาจากผู้ผลิตบ้างแล้ว เช่น การห้ามไม่ให้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นขากนอก app store หรือ ตั้งค่าระบบห้ามดัดแปลงให้สามารถทำนอกเหนือจากผู้ให้บริการนั้นติดตั้งค่ามาให้ ซึ่งถ้าหากผู้ใช้งานนั้นคงค่าพื้นฐานที่ได้มาก็นับว่ามีพฤติกรรมการใช้งานที่ดีแล้ว ต่อมาคือลักษณะการใช้งาน เช่น ไม่เปิดเว็บไซต์ที่มีการแจ้งเตือนความปลอดภัยจากระบบ เว็บไซต์ที่ไม่มีการเข้ารหัสข้อมูล (เว็บที่ไม่มี https://) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของความปลอดภัยเช่นเดียวกัน

internet safety
Internet มีทั้งโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล และอาชญากรเข้ามาในรูปแบบต่างๆ

กฏ 10 ข้อที่ไม่ควรทำบนโลกออนไลน์

ไม่ว่าจะเป็น comment ส่วนตัว หรือรูปภาพส่วนตัวที่เราไม่อยากให้ใครดู แต่ถ้ามันหลุดเข้าไปในโลกออนไลน์แล้ว ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะลบได้ทัน เผลอ ๆ อาจต้องไปคลุกคลีกับผู้คนที่เราไม่อยากเกี่ยวข้องด้วยก็เป็นได้ นี่คือกฎ  10 ข้อที่เราควรปฏิบัติตาม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางออนไลน์ (และออฟไลน์) ที่อาจตามมา

  1. รักษาข้อมูลส่วนตัวอย่างมือโปร

    นายจ้างหรือลูกค้าที่มีศักยภาพพอ จะไม่อยากรู้สถานะความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือที่อยู่บ้านของเรา พวกเขาควรต้องรู้แค่ว่าเรามีความเชี่ยวชาญเรื่องอะไรบ้าง รวมถึง background ทางอาชีพของเรา และวิธีที่จะติตด่อเรื่องงานกับเราได้แค่นั้นพอ อีกทั้งเราไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า โดยเฉพาะผู้คนทางโลกออนไลน์

  2. เปิดการตั้งค่า Privacy ไว้

    นักการตลาดย่อมอยากที่จะรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเรา และแฮกเกอร์ก็เช่นกัน ทั้งสองอาชีพนี้สามารถรู้เกี่ยวกับตัวเราได้มากมาย เช่นว่าเราเข้าเว็บอะไร และใช้สื่อโซเชียลมีเดียอะไรบ้าง ดังนั้นเราควรปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา ด้วยการตั้งค่า privacy ทั้งในเว็บไซต์และแอปบนมือถือ เช่น แอป Facebook ที่มีการตั้งค่า privacy-enhancing  ซึ่งการตั้งค่าแบบนี้มักจะหาได้ยาก เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ก็ต้องการ personal information ของเราเพื่อเอาไปทำ marketing ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือเราควรเปิดใช้งาน privacy safeguards ตั้งแต่ตอนนี้เลย

  3. ไม่อ่อนไหวกับ content ที่น่าสงสัย

    อาชญากรไซเบอร์มักใช้ content ที่น่ากลัวเป็นเหยื่อล่อ เพราะพวกนี้รู้ดีว่าผู้คนมักอ่อนไหวกับ content ที่น่าสงสัย และเพียงแค่คลิกเดียวเท่านั้นก็อาจทำให้ personal data ของเราถูกเปิดเผย หรือทำให้เครื่องของเราติดมัลแวร์ได้เลย ดังนั้นเราไม่ควรเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา เพียงเพราะความสงสัยใคร่รู้ไม่กี่เสี้ยววินาที

  4. เชื่อมต่อกับ VPN ที่ปลอดภัย

    หากเราใช้ Wi-Fi สาธารณะ เราจะไม่สามารถควบคุมความปลอดภัยได้โดยตรง ผู้เชี่ยวชาญด้าน Corporate cybersecurity บอกว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ “endpoints” หรือสถานที่ที่ private network ของเราเชื่อมต่อกับโลกภายนอก และ endpoints นั้นก็มีช่องโหว่ซึ่งก็คือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพื้นที่ของเราเอง ดังนั้นเราควรเช็กให้ชัวร์ก่อนว่าเครื่องของเราปลอดภัยพอที่จะเชื่อมต่อกับ Wi-Fi สาธารณะไหม? หรือถ้าไม่ชัวร์ก็ให้รอจนกว่าเราจะเจอเครือข่าย Wi-Fi ที่ปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต ให้ใช้การเชื่อมต่อ VPN ที่มีความปลอดภัย (virtual private network) VPN จะช่วยให้เรามีการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยระหว่างเครื่องของเราและ Internet server ที่ไม่มีใครสามารถตรวจสอบหรือเข้าถึงข้อมูลที่เรากำลังดูอยู่ได้

  5. ระวังข้อมูลที่เราดาวน์โหลด

    Top goal ของอาชญากรไซเบอร์คือการหลอกล่อให้เราดาวน์โหลดมัลแวร์ โปรแกรม หรือแอปที่มีมัลแวร์ รวมถึงพยายามขโมยข้อมูลของเรา มัลแวร์นี้สามารถปลอมตัวเป็นแอปได้ตั้งแต่ popular game ไปจนถึงแอปเช็กการจราจร หรือแอปเช็กสภาพอากาศ ดังนั้นแนะนำว่าอย่า download apps ที่ดูน่าสงสัยหรือมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

    internet safety
    การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตไม่ได้มีแค่คอมพิวเตอร์ แต่อุปกรณ์หลากหลายที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

6. เลือกใช้ Strong Passwords

รหัสผ่านนับว่าเป็นหนึ่งในจุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดของ Internet security structure ทั้งหมด และปัจจุบันก็ยังไม่มีวิธีไหนที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ 100% ปัญหาเกี่ยวกับรหัสผ่านที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือผู้คนมักจะเลือกรหัสที่จำได้ง่าย ๆ (เช่น “password” และ “123456”) ซึ่งง่ายต่อการคาดเดามาก ดังนั้นเราควรตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก เพื่อไม่ให้อาชญากรไซเบอร์เข้ามาขโมยข้อมูลของเราได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันนี้มี password manager software หลายตัวที่สามารถช่วยเราจัดการกับรหัสผ่านหลายรหัสและยังสามารถป้องกันการลืมรหัสผ่านของเราได้ สำหรับ strong password ก็คือรหัสที่ไม่ซ้ำใครและมีความซับซ้อน และอาจจะมีความยาวอย่างน้อย 15 อักขระ โดยอาจผสมตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษเข้าไปด้วย

7. ซื้อสินค้าออนไลน์จากเว็บไซต์ที่ปลอดภัย

ทุกครั้งที่เราซื้อสินค้าออนไลน์ เราต้องกรอกข้อมูลบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งเป็นสิ่งที่อาชญากรไซเบอร์ชอบมากที่สุด ดังนั้นเราควรกรอกข้อมูลบัตรต่าง ๆ ของเราเฉพาะเว็บไซต์ที่ปลอดภัยและเชื่อมต่อ encrypted (Encryption คือการเข้ารหัส หรือการแปลงข้อมูลให้เป็นรหัสลับ ไม่ให้ข้อมูลความลับนี้ถูกอ่านได้โดยบุคคลอื่น) เท่านั้น สำหรับเว็บไซต์ที่ปลอดภัยเราสามารถดูได้จาก web address ที่ขึ้นต้นด้วย https: (S ย่อมาจาก secure) นอกจากนี้บางเว็บก็อาจมีรูปไอคอนแม่กุญแจถัดจากแถบ web address ด้วย

8. ระวังอะไรก็ตามที่เราโพสต์

บนโลกของอินเทอร์เน็ต comment หรือรูปภาพที่เราโพสต์ อาจอยู่บนโลกออนไลน์ตลอดไปก็ได้ เนื่องจากการลบอะไรที่เราโพสต์ไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าคนอื่นจะไม่แคปหรือ copies โพสต์ของเราเอาไว้ และไม่มีทางที่เราจะ “take back” สิ่งที่เราโพสต์กลับคืนมาได้ ถ้าหากไปอยู่ในมือของคนอื่นแล้ว ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคืออย่าโพสต์อะไรที่จะทำให้เราเสียใจในอนาคตเลย

9. ระวังคนในโลกออนไลน์

บางครั้งคนที่เราเจอในโลกออนไลน์ อาจไม่ใช่ตัวตนจริง ๆ ของเขาก็ได้ จากรายงานของ InfoWorld พบว่า fake social media profiles เป็นวิธียอดฮิตของเหล่าแฮกเกอร์ในการหลอกลวงผู้ใช้เว็บที่ไม่ระวังตัว ดังนั้นเราควรระวังและมีสติอยู่เสมอเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ใน online social เช่นเดียวกับเวลาที่เราใช้ชีวิตอยู่ในโลกของความเป็นจริง

10. อัปเดต Antivirus Program อยู่เสมอ

Internet security software ไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามทุกอย่างได้ แต่จะตรวจจับและลบมัลแวร์เสียส่วนใหญ่ แม้ว่าเราจะอัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดแล้วก็ตาม ดังนั้นอย่าลืมติดตามการอัปเดตของ operating system และแอปพลิเคชันที่เราใช้งานอยู่ เพราะ Internet security software ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันในการป้องกันภัยคุกคาม เวลาที่เราจะท่องอินเทอร์เน็ต อย่าลืมนึกถึงกฎ Internet safety พื้นฐานทั้ง 10 ข้อนี้ เพราะหากเราระวังตัวเองไม่มากพอ เราอาจจะต้องพบเจอกับเรื่องน่ากลัวมากมายที่แฝงตัวอยู่บนโลกออนไลน์ได้

Internet safety ที่มีการผู้ดูแลระบบ

นอกจากนี้นอกจากการป้องกันไวรัสจากพฤติกรรมที่ดีและเหมาะสมแล้ว สิ่งที่เป็นหัวใจของการใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัย จำเป็นต้องมีการออกแบบมาให้มีความสอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน มีระบบที่เก็บ log การเข้าใช้งาน รวมถึงมีผู้ดูแลระบบที่เข้าใจ ผ่านบริการ Firewall as a Service เข้ากับระบบภายในขององค์กร 

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

it support คือ

Firewall as a Service

  • การให้คำปรึกษาในการปรับปรุงระบบความปลอดภัยข้อมูล
  • แนวทางการจัดการข้อมูลที่มีการเข้าออกจากเครือข่าย
  • การจัดการคอขวดของระบบความปลอดภัยให้มีการคัดกรองโดยไม่สะดุดการใช้งาน
  • มีผู้เชี่ยวชาญคอยจัดการดูแลซอฟแวร์และจัดการ License โดยรวมอยู่ในบริการแล้ว