fbpx Skip to content

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เลื่อนแล้วเลื่อนอีก คนไทยเสียประโยชน์มาก

Main

ผ่านเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองเข้าสู่ปีเสือได้ไม่นาน ปีนี้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นปีของการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายเรื่อง ทั้งค่าครองชีพที่เปลี่ยนไป กำลังมีการเข็ญกฏเกณฑ์การเก็บภาษีเหรียญคริปโต และสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือกฏหมายที่มาดูแลข้อมูลของผู้ใช้โลกออนไลน์ หรือ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่

สิ่งหนึ่งที่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในปี 2565 อย่างแรกคือการจัดระเบียบความเป็นส่วนตัวของสากลโลก กล่าวคือในโลกอินเตอร์เน็ตนั้นมีการเก็บข้อมูลได้อย่างอิสระเสรีมานาน และเก็บได้ลึกเข้าถึงแก่น ถ้าเปรียบเทียบการเก็บข้อมูลลูกค้าของโชว์ห่วยอาแปะที่เอาของมาขาย มีอะไรใหม่ก็สุ่มๆมาขาย พอลูกค้าเดินเข้ามาซื้อก็รับเงิน ปิดการขาย ทำให้อาแปะไม่รู้ว่าลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนี้เพราะอะไร เลยสรุปไปว่าที่ปิดการขายได้นั้นเกิดจากเฮง หรือเลือกสุ่มซื้อของมาขายได้ถูก 

กลับมาที่โลกของออนไลน์นั้นมีการเก็บข้อมูลเริ่มต้นตั้งแต่เราเข้าหน้าค้นหา หน้าแรกจนกระทั่งติดตามต่อว่าเราเข้าเว็บขายของ กอไก่ จากนั้นเราไปหยิบสบู่เหลวจากร้านค้าออนไลน์นั้นใส่ตระกร้า โดยซื้อพร้อมกับเซรั่มที่กำลังจัดโปรโมชั่นอยู่ ไปถึงรู้ว่าใช้วิธีการจ่ายเงินแบบไหน จ่ายผ่าน E Wallet หรือ Credit card เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือโลกของข้อมูลที่สามารถติดตามเราได้ทุกย่างก้าว จนเกิดการเรียกร้องกับรัฐบาลในหลายๆประเทศให้เขียนกฏเกณฑ์ออกมาบ้างเถอะ ว่าขอบเขตการเก็บข้อมูลได้เบอร์ไหน ทำอะไรได้บ้าง เพื่อที่จะไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นการคุกคาม หรือ สอดแนม (เจือก) เรื่องของฉันมากเกินไป

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นโรคเลื่อน

กฏหมายฉบับนี้ถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งกำหนดเดิมของมันคือ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจเดิมที่เองจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2564 แต่ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและการระบาดของเชื้อไวรัสนี่เองทำให้รัฐบาลไทยนั้นยอมเลื่อนต่อออกไปอีกหนึ่งปีเป็นปีนี้ (ซึ่งเป็นไปได้ว่าคงไม่เลื่อนต่อไปแล้ว …มั้งนะ) 

โดยต้องยอมรับเลยว่าการเข้ามาของการระบาดครั้งนี้มันเป็นการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคใหม่เกือบจะเป็นทางการแล้ว เพราะเมื่อหลายความวิกฤติไหลมารวมกัน จะทำให้มนุษยชาติดิ้นรนหาทางออก ไปซื้อของไม่ได้เพราะหวาดกลัว ก็สั่งออนไลน์ ออกไปซื้อข้าวเที่ยงไม่ได้ก็สั่งเดลิเวอรี่ ไปทำงานไม่ได้เพราะคนในออฟฟิศติดเชื้อ ก็ต้องวีดีโอคอลกันแทน เราจะเห็นสิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนผู้อำนวยการครั้งนี้คือ “อินเตอร์เน็ต” และ “โลกออนไลน์” 

ซึ่งเราบอกไปตอนต้นแล้วว่าโลกออนไลน์นี้แหละ ที่สามารถรู้จักเราได้ทุกท้วงท่ากิริยา รู้ว่าเราชอบสั่งก๋วยเตี๋ยวต้มยำทุกวันจันทร์ อังคาร พุธ เวลา 11 โมง จากนั้นบ่าย 3 ก็เริ่มสั่งน้ำแตงโมปั่นมาส่งออฟฟิศ เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเก็บนิสัยของเรา ซึ่งเหล่านี้เองทำให้เป็นชนวนเหตุให้แน่ใจว่า ปีนี้ (2565) อาจจะไม่เลื่อนกฏหมายฉบับนี้ต่อไปแล้ว เพราะคนที่โดนผลกระทบจากการเก็บข้อมูลมันมีจำนวนมากเกินจะปล่อยผ่าน

รู้จัก พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน 30 วินาที

PDPA ( Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ฉบับนี้เกิดมาเพื่อไม่ให้เราที่เป็นคนใช้แอพต่างๆ ถูกเอาข้อมูลไปต้มยำทำแกงที่เราไม่ได้สั่ง ฉะนั้นการเก็บข้อมูลยังมีต่อไป แต่ต้องบอกเราก่อนว่าจะเอาไปทำอะไร แล้วต้องให้เราตอบตกลงหรือปฏิเสธตอนไหนก็ได้ตามแต่ใจเธอ..

ถ้าไม่เก็บข้อมูลก็เทกฏหมายนี้ทิ้งได้เลย..ไม่ผิด

ใช่แล้ว ถ้าหากเรามีเว็บไซต์ที่ต้องการแค่ให้ชาวบ้านเข้ามาเปิดดูข้อมูลเฉยๆแล้วออกไปแล้วไม่ต้องการเก็บข้อมูลอะไรของลูกค้าเลย รู้แค่มีการกดเข้ามากี่ครั้งก็พอ กฏหมายฉบับนี้ก็อาจจะไม่มีผลกับองค์กรและบริษัท เพียงแต่ทิศทางขององค์กรต่างๆเริ่มโฟกัสกับการหารายได้ทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้นกว่าการขายที่หน้าร้าน ฉะนั้นการที่อยากจะรู้ว่า เพศไหนมาดู คนอายุเท่าไหร่มาซื้อ เขาซื้อสินค้าไหนคู่กับอะไร ทำไมไม่กดจ่ายเงินซักที หรือเลื่อนอ่านถึงส่วนไหนของบทความ กดไลค์ ถูกใจ หรือโกรธ  สิ่งเหล่านี้คือเบื้องหลังของประโยชน์ถ้าหากเราปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามเกณฑ์ของกฏหมาย PDPA

บริษัทที่ขายของออนไลน์ต้องเตรียมอะไร

สิ่งที่บริษัทต้องเริ่มเตรียมตัวสำหรับทำการนี้คือการเตรียมเว็บไซต์เดิมที่มี สร้างหน้าต่าง POP UP ขอเก็บข้อมูลลูกค้า โดยที่ต้องบอกลูกค้าไปว่าการที่ขอเก็บข้อมูลนี้จะทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์อะไร แล้วจะเอาข้อมูลลูกค้าไปทำงานอะไร เก็บข้อมูลทางการตลาด เก็บข้อมูลการขาย เก็บข้อมูลในการพัฒนาบทความ อะไรก็ตามแต่ แล้วให้ลูกค้าเลือกเองว่าเขาจะอนุญาตไหม ถ้าไม่ได้ก็ต้องยอมรับในสิทธิของลูกค้า แล้วเราอาจจะเก็บข้อมูลไมไ่ด้ในบางคนที่ไม่อนุญาตนั่นเอง

สรุป

ไม่ว่าเราจะขายอะไรในยุคนี้ การค้นหาต้นเหตุของการซื้อ และพฤติกรรมของการซื้อ (Customer journey) จะนำทางให้ผู้ขายรู้ว่าควรปรับปรุงขั้นตอนไหนให้ปิดการขายได้ง่าย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ใช้คุ้กกี้ชิ้นเล็กๆ ในการเก็บข้อมูลออนไลน์ ฉะนั้นการเพิ่มเพียงนโยบายการเก็บข้อมูลเพียงเล็กน้อย จะช่วยให้ทำงานอย่างถูกกฏหมาย ไม่ต้องกลัวถูกฟ้องร้อง ก็อย่าลืมปรึกษาทีมกฏหมายในการสร้างนโยบายบนเว็บ ซึ่งทาง Prospace มีบริการสร้างคุ้กกี้เก็บข้อมูลอย่างถูกกฏหมาย และทีมที่ปรึกษามีใบอนุญาต สามารถปรึกษาข้อมูลเบื้องต้นกับเราได้โดยกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย


Reference : Source