เริ่มใกล้ถึงเวลาที่มีผลบังคับใช้แล้ว กับ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่วันนี้จะชวนมาตั้งประเด็นสงสัยว่า กฏหมายฉบับดังกล่าวนี้ใครที่ต้องเตรียมตัวรับข้อกฏหมาย และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง เรามีคำตอบให้ในบทความนี้
PDPA คืออะไร
Personal Data Protection Act : PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นข้อกฏหมายที่มีใจความสำคัญในการรักษา “ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล” โดยยึดหลักความลับ ความถูกต้อง และพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคล
ซึ่งขอบเขตของกฏหมายฉบับนี้บังคับแก่การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วน บุคคลโดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล ส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร(อยู่ในประเทศไทย) รวมถึงผู้ที่อยู่ต่างประเทศแต่มีการซื้อขายบริการให้คนในประเทศ หรือติดตามพฤติกรรมการใช้งานของคนที่อยู่ในประเทศนั่นเอง
กล่าวได้ว่าธุรกิจที่เป็นต่างประเทศเช่น Social Media, VDO streaming , เว็บขายของออนไลน์ที่ไม่ได้มีสาขาในไทย แต่ต้องการขายของหรือเก็บข้อมูลคนไทย ก็ต้องทำตามข้อกฏหมายดังกล่าวนั่นเอง
กฏหมายนี้เกี่ยวข้องกับใครบ้าง
เจ้าของข้อมูล
ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน หรือ บุคคลที่ข้อมูลชี้ไปถึงผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ได้แก่ หน่วยงานต่างๆ องค์กร สถาบัน โดนที่มีการแจ้งวัตถุประสงค์ วิธีการประมวลผล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ที่ทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่บุคคลนั้นไม่ใช้พนักงาน หรือส่วนหนึ่งของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” เช่น ผู้รับจ้าง Outsource เป็นต้นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
คนที่ได้รับมอบหมายเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำหรือตรวจสอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามกฏหมาย
การออก พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีมาเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัว เพื่อในกรณีที่มีการนำข้อมูลส่วนตัว แม้บันทึกการเข้าเว็บไซต์ที่ตามสืบว่าเราอยากได้สินค้าชิ้นไหน แล้วตามไปโฆษณา สิ่งเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวเช่นกัน ในฐานะที่ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้อง “ขออนุญาต” และ “รับสิทธิ์ตามกฏหมาย” ก่อนที่จะดำเนินการนั่นเอง
สรุป
พรบ. ฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ฉะนั้นหลังจากนี้ผู้ให้บริการ หรือ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” จะต้องรับผิดชอบดูแลทั้งข้อกฏหมายที่ถูกต้อง และแบบฟอร์มการขออนุญาต โดยเฉพาะบนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่น ดังนั้นเพื่อความถูกต้องและถูกกฏหมาย อย่าลืมปรึกษาทีมกฏหมายเฉพาะทางเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม หรือ สามารถให้ทีมผู้เชี่ยวชาญทางกฏหมายเฉพาะของเราผ่านบริการ PDPA prokit ในการช่วยออกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ถูกต้อง โดยการติดต่อไว้ในแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย
Reference : Source