ธุรกิจ ไม่พังแน่นะวิ 5 เหตุผลที่ต้องรื้อ Firewall ก่อนบริษัทจะพังยับ

ธุรกิจ ต้องติด Firewall ในปี 2023

จากการเริ่มฟื้นตัวหลังจากวิกฤติการระบาดครั้งที่ผ่านมาหลาย ธุรกิจ เริ่มมีการปรับตัวใช้คอมพิวเตอร์ Internet of Thing เข้ามาช่วยให้การทำงานมีความง่าย ลดต้นทุน ประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น แต่การจะเติบโตแบบไม่มี ผู้รักษาความปลอดภัยอย่าง Firewall สุดท้ายแล้วก็จะต้องตามแก้ปัญหาที่มาจากการโจมตีทางไซเบอร์ นี่จะเป็น 5 เหตุผลที่ธุรกิจควรติด Firewall เพื่อให้ธุรกิจมีความปลอดภัยสูง ในปี 2023

ข้อมูลของ ธุรกิจ หาย เน็ตตัด เปิดเว็บไม่ได้

  • ไฟร์วอลล์ (Firewall) 

ทำหน้าที่เป็นป้อมปราการในการตรวจ คัดกรองข้อมูลเข้าออก สอดส่องกิจกรรมในออฟฟิศหรือ ห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมที่ผิดกฏของบริษัท ถ้าหากเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนเป็นทั้ง ผู้รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัท เป็นทั้งฝ่ายบุคคลที่ควบคุมพนักงานให้อยู่ตามกฏของบริษัท 

  • ปัญหาการใช้งานที่พบเจอบ่อย

    ถ้าหากมองย้อนกลับไปในหลายบริษัท การนำอุปกรณ์ Firewall เข้ามาใช้งานอาจจะเป็นเพียงการซื้อเครื่องมาเสียบปลั๊ก ตั้งค่าเป็น default (ค่าเริ่มต้น) ทั้งหมดแล้วเสียบเข้ากับ LAN (เครือข่ายภายใน) ก็คงจะจบหน้าที่ของผู้ขาย SI จากนั้นพนักงานในบริษัทที่ส่วนมากเป็นพนักงานไอทีซัพพอร์ตก็จะดูแลรักษาตามสิ่งที่ผู้ขาย SI แนะนำ ทำให้การใช้งานทุกอย่างเป็นไฟเขียวหมดเพราะไม่ได้ตั้งค่าอะไรเลย ทำให้บทบาทของไฟร์วอลล์ในฐานะกำแพงกันไฟเป็นเพียงศาลเจ้าเปล่าราคาแพงที่ไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากตั้งไว้ดูต่างหน้าว่าบริษัทฉันก็มี404 Not found

  • ปัญหาที่ปิดเปิดเครื่องก็ไม่หาย (รู้ยัง?)

    เนื่องจากตัวเครื่องไฟร์วอลล์เองนอกจากการเป็นกล่องเหล็กมีช่องเสียบสายต่างๆแล้วก็ไปเสียบปลั๊กใช้งานเครื่องได้ แต่ความจริงแล้วสิ่งที่ทำให้อุปกรณ์ตัวนี้ฉลาดเหมือนกับเทพมาจุติคือโปรแกรมของอุปกรณ์ โดยปัจจุบันนั้นแต่ละแบรนด์พื้นฐานของโปรแกรมของเครื่องไฟร์วอลล์นั้นมีฟีเจอร์ที่ใกล้เคียงกัน  ต่างกันเพียงวิธีการใช้งาน รูปแบบเท่านั้นเอง แต่ปัญหาของมันหลักๆจะมีสองเรื่องที่ต้องโฟกัส

    • การตั้งค่าผิดพลาด

      ปัญหาของการตั้งค่าไม่ถูกต้องอาจจะเกิดปัญหาดังนี้

      บล็อคบางเว็บที่ไม่ได้อันตราย

      ปัญหาพื้นฐานที่พบเจอได้บ่อยคือการเปิดหน้าเว็บไซต์ปกติไม่ได้ บ้างก็ถูกบล็อคเป็น 404 NOT FOUND ไปเลยก็มี ทำให้การใช้งานไม่สะดวกและเสียรายได้จากข้อผิดพลาดในส่วนนี้ได้error configuration ความผิดพลาดทาง ธุรกิจ

      อนุญาตเปิดเว็บที่อันตราย

      สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้แต่โอกาสอาจจะไม่มากคือการที่อุปกรณ์ไม่สามารถตรวจจับเว็บไซต์ ผู้ติดต่อ หรือ การเชื่อมต่อกับ IP Address ที่อันตราย อันเนื่องมาจากการไม่ได้เปิดฟีเจอร์ที่จำเป็น หรือ ไม่ได้ตั้งค่าตามคำแนะนำที่ถูกต้อง

      ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลได้ (ACLs) 

      ถ้าหากพูดถึงการจัดการเข้าถึงข้อมูลซึ่งเป็นพื้นฐานของการควบคุมจราจรทางข้อมูลในบริษัท มีไฟเขียว ไฟแดงในการอนุญาตบางคนเปิดข้อมูลได้ โดยหน้าที่หลักนี้ของไฟร์วอลล์เองถ้าหาก

    • โปรแกรมไม่ได้ต่ออายุ

      ในเครื่องไฟร์วอลล์นั้นมีโปรแกรมที่มาทำหน้าที่เป็นตัวกรองข้อมูล ดักจับจากฐานข้อมูลใหม่ที่มีการอัปเดตเข้ามา โดยที่ถ้าหากเปรียบเทียบแล้วอาจจะเหมือนกับผู้รักษาความปลอดภัยแล้ว ถ้าหาก รปภ. ไม่ได้พัฒนาทักษะการหาสิ่งแปลกปลอม ให้ออกกำลังกายเพื่อรักษาสมรรถนะ หรือ แม้กระทั่งหาอุปกรณ์ตรวจจับด้วย AI แล้ว สุดท้ายแล้วการรักษาความปลอดภัยอาจจะคงที่ในระยะหนึ่งแล้วประสิทธิภาพจะเริ่มลดลง อาจจะเพราะไม่ได้รักษาน้ำหนัก ไม่ได้ฝึกวิ่ง ไม่ได้ฝึกทักษะการแก้ไขวิกฤติเฉพาะหน้า จนสุดท้ายอาจจะนำมาซึ่งความปลอดภัยโดยรวมของบริษัทนั่นเอง ดังนั้น Firewall ที่ทำหน้าที่คล้ายกันนี้ถ้าหากไม่มีการอัปเดตวิธีการจับความผิดปกติ ไม่มีการใช้เทคโนโลยี หรือ การยืมระบบคลาวมาช่วยประมวลผล สุดท้ายแล้วในระยะหนึ่งจะเริ่มส่งผลกระทบกับบริษัทอยู่ดี
      การต่อรองทาง ธุรกิจ

5 เหตุผลที่ ธุรกิจ ต้องติดตั้ง Firewall อย่างถูกต้อง

จากการที่การทำระบบความปลอดภัยทางไอทีของบริษัทจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผ่าน audit(ตรวจสอบ) พื้นฐานของข้อมูล รวมถึงตามกฏเกณฑ์ของ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ยังช่วยธุรกิจในการทำให้บริษัททำงานคล่องตัวขึ้น สรุป 5 เหตุผลที่การติดตั้ง Firewall อย่างถูกต้อง ช่วยพัฒนาธุรกิจคุณได้

  • ลดต้นทุน

    จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการซื้ออุปกรณ์ Firewall มาติดตั้งโดยไม่ได้ตั้งค่า ไม่ได้เซ็ตอย่างถูกต้อง จะเกิดผลเสียกับระบบเน็ตเวิร์คของบริษัทในระยะยาว โดยปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอาจจะเป็นการที่ระบบไม่สามารถป้องกันการขโมยข้อมูลได้ การขโมยข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมด (Ransomware) การติดต่อกับลูกค้าไม่ได้เพราะเครื่องอาจจะตรวจจับว่าลูกค้าเป็นสแปม หรือแม้กระทั่งเปิดเว็บไซต์บางเว็บไม่ได้ซึ่งจะเสียทั้งต้นทุนทางเวลา เสียเงินค่าไถ่ข้อมูล และโอกาสทางธุรกิจอย่างประเมินไม่ได้

  • ลดพนักงานที่ต้องมาดูแลระบบ

    ถ้าหากมีการเตรียมระบบได้อย่างถูกต้อง มีการตั้งค่าและวางนโยบายบริหารจัดการข้อมูลได้ดีตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้บริษัทประหยัดคนในการมาทำงานบริหารข้อมูลใน Database พนักงานในการดูแล  log ข้อมูลทางไอที หรือไอทีซัพพอร์ตเพิ่มเติม ถ้าหากจัดการระบบหลังบ้าน ตั้งค่าไฟร์วอลล์อย่างถูกต้องแล้ว ทำให้บริษัทไม่จำเป็นต้องเพิ่มพนักงานเข้ามา และในระยะยาวเองนอกจากระบบหลังบ้านจะเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น ประหยัดต้นทุนด้านพนักงานในระยะยาวcash flow กระแสเงินสดของ ธุรกิจ

  • ลดงานปวดหัว

    เราจะขอยกตัวอย่างเดิมในการจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยมาประจำบริษัท งานรักษาความปลอดภัยนั้นมีความซับซ้อนทั้งในทักษะการสอดส่องความผิดปกติ การตรวจสอบพนักงาน ความคล่องตัวในการทำงานและความสามารถในการทำงานของพนักงานคนหนึ่ง ทำให้หลายบริษัทเองไม่สามารถไปโฟกัสในการเทรนพนักงาน กล่าวคือถ้าหลายบริษัทไม่ใช้บริการของOutsource ที่เป็นบริษัทจัดหา รปภ. ก็ต้องจ้างพนักงานมาเอง ส่งพนักงานไปเทรนสกิลการทำงานเองทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะสร้างความไม่สะดวกของบริษัทเองแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าการทำงานของพนักงานมีประสิทธิภาพเพียงพอไหม มีตัวชี้วัดไหนที่ทำให้แน่ใจว่าทำงานได้ถูกต้องตามระบบนั่นเอง ดังนั้นถ้าหากมีการเตรียมการณ์สำหรับการใช้งานไฟร์วอลล์ มีการติดตั้งค่าตามความต้องการ (ซึ่งควรจะเป็นพนักงานที่มีใบอนุญาตการทำงานจากแบรนด์นั้นๆ) จะแก้ปัญหาปวดหัวร้อยแปดที่บริษัทไม่สามารถเข้าไปโฟกัสได้นั่นเอง

  • รักษากระแสเงินสดของ ธุรกิจ

    ปัจจุบันธุรกิจเริ่มกลับมาติดสปีดเติบโตหลังจากการซบเซามาสักพัก ความกังวลหนึ่งของผู้ประกอบการคือการจัดการกับต้นทุนคงที่ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าเสื่อมสภาพ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในแต่ละเดือน ทำให้นอกจากการเพิ่มพนักงานหนึ่งคนเข้ามานั้นจึงต้องพิจารณาว่าถ้าหากเข้ามาดูแลระบบความปลอดภัยไอทีแล้ว จะช่วยเหลืองานด้านอื่นได้อย่างไรบ้าง หรือ จะเลือกพัฒนาทักษะพนักงานเดิมทดแทนการจ้างคนเพิ่ม ดังนั้นการรักษาสภาพคล่องของบริษัทในการดูแลระบบความปลอดภัยจึงขึ้นอยู่กับความละเอียดอ่อนของข้อมูลที่ดูแล ลักษณะการเก็บข้อมูลของบริษัทว่ามีการใช้ Server ของตัวเองหรือทำไฮบริดข้อมูลทั้งการเก็บไว้บนเซิพเวอร์และคลาว
    network diagram

  • ลดการทำงานผิดพลาด

    การมีระบบความปลอดภัยไอทีที่ถูกต้องแล้ว สิ่งต่อมาที่บริษัทต้องโฟกัสคือพนักงานที่เข้ามาดูแลระบบ ซึ่งแน่นอนว่าโดยมากอาจจะเป็นผู้ขายอุปกรณ์จะทำหน้าที่เข้ามาตรวจสอบให้ตามรอบใช้งาน ส่งใบเสนอราคาต่ออายุมาให้ซึ่งนอกจากนั้นก็ไม่ได้รับความใส่ใจเมื่อเกิดปัญหา ทำให้เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นมาจะทำให้ไม่มีพนักงานมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือ ปล่อยปัญหานั้นให้ผ่านไปจนกว่าจะเกิดผลกระทบจนกระทั้งไม่สามารถทำงานต่อไปได้จึงค่อยแก้ไขปัญหา ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ดังนั้นถ้าหากต้องการให้แน่ใจว่ามีคนมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเบื้องต้นได้ อาจจะพิจารณาส่งพนักงานไปเทรน (ซึ่งการรับรู้ขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ของแต่ละคน) หรือ เลือกจ้างพนักงานเพิ่ม ซึ่งก็เป็นต้นทุนส่วนเพิ่มของบริษัท แต่ถึงอย่างไรถ้าหากวันหนึ่งเกิดความผิดพลาดจากการทำงานอย่าลืมคิดต้นทุนการเสียโอกาสต่อชั่วโมงของบริษัท เมื่อเทียบกับการมีคนคอยจัดการปัญหาเหล่านี้ให้ได้ก่อนเกิดเหตุ

firewall

ปรึกษาการทำ Cyber security

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล​

  • Firewall subscription model
  • พร้อมพนักงานบริหารจัดการระบบหลังบ้าน
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีที่ปรึกษาดูแลระบบตลอดอายุสัญญา

ปรึกษาการทำ Cyber security

กรอกแบบฟอร์มข้างล่างนี้

Encryption data การเข้ารหัสข้อมูล กระบวนการเข้ารหัสดิจิตอล

encryption การเข้ารหัสข้อมูล

การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption data) เป็นกระบวนการเปลี่ยนข้อมูล เช่น ข้อความทั่วไปให้เป็นรหัส ()H*@HF)NOUBNPIFJ ที่ระหว่างทางถ้ามีการถูกขโมยข้อมูล ผู้โจรกรรมข้อมูลนั้นจะได้เพียงข้อมูลที่อ่านไม่ออก แปลความหมายไม่ได้จนะกระทั่งการถูกเปิดรหัสโดยผู้ที่มีรหัสชุดเดียวกันมาไขข้อมูล โดยความปลอดภัยทางข้อมูลนั้นถูกท้ายทายด้วยเทคโนโลยีใหม่ ความสะดวกสบายเหล่านี้เองทำให้มีช่องโหว่ช่องว่างในการแทรกตัวเข้ามาของอาชญากรทางเทคโนโลยี ทุกวันนี้การจารกรรมเหยื่อเป้าหมาย และพฤติกรรมที่กระหายข้อมูลของแก๊งแรนซัมแวร์ทั่วโลกมักถูกมองข้าม แต่โชคดีที่เรามีขั้นตอนง่าย ๆ ในการปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลของเรา นั่นก็คือการเข้ารหัสคอมพิวเตอร์

Cooper Quintin นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Electronic Frontier Foundation ได้เปรียบการเข้ารหัสคอมพิวเตอร์ว่าเหมือนกับมาตรการการป้องกันสุขภาพขั้นพื้นฐานของคน “มันเป็นสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน เช่น การล้างมือหรือการสวมหน้ากากที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ซึ่งมันมีประโยชน์มากจริง ๆ” เขาอธิบาย

encryption
Encryption การเข้ารหัสข้อมูล

การเข้ารหัสข้อมูล เป็นกระบวนการแปลงข้อความธรรมดาเป็นข้อความที่เข้ารหัสเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นสิ่งสำคัญของการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เนื่องจากช่วยปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนไม่ให้เข้าถึงโดยผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาต มีอัลกอริทึมการเข้ารหัสที่แตกต่างกันมากมายที่สามารถใช้เพื่อเข้ารหัสข้อมูล

ประเภทของ Encryption

  1. Symmetric key encryption

    การเข้ารหัสด้วยข้อมูลและถอดรหัสด้วยคีย์เดียวกัน อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่าการเข้ารหัสเป็นกระบวนการเปลี่ยนชุดข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเสียง เป็นไฟล์ ข้อความต่างๆจากจุดหนึ่งไปยังปลายทาง โดยระหว่างทางที่ต้องแพคข้อมูลนั้นถ้าหากถูกขโมยข้อมูลออกไป ผู้ขโมยจะได้เพียงรหัสดิจิตอลที่ใครก็ไม่สามารถถอดรหัสได้ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการเข้ารหัสข้อมูลในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเครื่อง Enigma

  2. Asymmetric key encryption

    การเข้ารหัสประเภทนี้ใช้คีย์คู่ คีย์สาธารณะและคีย์ส่วนตัว เพื่อเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล รหัสสาธารณะใช้เพื่อเข้ารหัสข้อมูลและรหัสส่วนตัวใช้เพื่อถอดรหัส ตัวอย่างของอัลกอริทึมการเข้ารหัสคีย์แบบอสมมาตร

  3. Hashing

    การเข้ารหัสประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงข้อมูลเป็นสตริงอักขระที่มีขนาดคงที่ ซึ่งเรียกว่าแฮช การแฮชเป็นกระบวนการทางเดียว หมายความว่าไม่สามารถแปลงแฮชกลับเป็นข้อมูลต้นฉบับได้ การแฮชมักใช้เพื่อจัดเก็บรหัสผ่านอย่างปลอดภัย เนื่องจากไม่สามารถระบุรหัสผ่านเดิมจากแฮชได้

  4. Steganography

    การเข้ารหัสประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการซ่อนข้อมูลภายในข้อมูลอื่น เช่น การซ่อนข้อความภายในรูปภาพ ซูรินาเมมักใช้เพื่อปกปิดการมีอยู่ของข้อมูล มากกว่าที่จะปกป้องตัวข้อมูลเอง

encryption
ถ้าไม่มีการเข้ารหัสข้อมูลจะเป็นอย่างไร?

แม้ว่าข้อมูลอาจถูกลบไปแล้ว แต่คนอื่นก็สามารถกู้คืนไฟล์ที่ถูกลบจากฮาร์ดไดรฟ์มาได้อยู่ดี แต่หากคุณเข้ารหัสฮาร์ดไดรฟ์เอาไว้ คนอื่นก็จะไม่สามารถกู้คืนไฟล์เหล่านั้นได้เลย อย่างไรก็ตาม ผู้คนมักจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้ในคอมพิวเตอร์ เช่น เอกสารภาษี ภาพถ่ายส่วนตัว บันทึกสุขภาพ บันทึกประจำวัน และแน่นอนว่าเราก็ไม่ได้อยากจะแชร์ข้อมูลส่วนตัวเหล่านั้นกับคนทั้งโลกอยู่แล้ว แต่หากฮาร์ดไดรฟ์ของคุณไม่ได้เข้ารหัส มันก็มีโอกาสสูงมากที่ข้อมูลส่วนตัวของคุณจะถูกเปิดเผย

  • ประโยชน์

    เหตุผลสำคัญที่สุดในการเข้ารหัสคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ คือการที่ไม่มีใครสามารถอ่านสิ่งที่อยู่ในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ของคุณได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนขโมยคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ของคุณ หรือคุณทำคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์หาย ก็จะไม่มีใครสามารถดูข้อมูลของคุณได้เลย นอกจากนี้ หากมีขโมยพยายามจะเข้ามาดูข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของคุณ ไฟล์ในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะยังไม่สามารถเข้าถึงได้

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

Encyption access for mac os
วิธีเข้ารหัสสำหรับผู้ใช้ Mac

  • ขั้นตอนที่ 1

คลิกโลโก้ Apple ที่มุมซ้ายบนของหน้าจอ

  • ขั้นตอนที่ 2

เลือก System Preferences > Security & Privacy แล้วคลิกแท็บ FireVault

  • ขั้นตอนที่ 3

คลิกไอคอนแม่กุญแจที่ด้านล่างซ้ายของหน้าต่าง จากนั้นป้อนชื่อผู้ดูแลระบบและรหัสผ่าน

  • ขั้นตอนที่ 4

เลือก เปิด FileVault

  • ขั้นตอนที่ 5

เลือกวิธีการกู้คืนในกรณีที่คุณลืมรหัสผ่าน 

  • ขั้นตอนที่ 6

คลิก ดำเนินการต่อ

Encyption access for windows os
วิธีเข้ารหัสสำหรับผู้ใช้ Windows

  • ขั้นตอนที่ 1

ลงชื่อเข้าใช้บัญชี Windows ของคุณ

  • ขั้นตอนที่ 2

คลิกปุ่มเริ่ม > การตั้งค่า > การอัปเดตและความปลอดภัย > การเข้ารหัสอุปกรณ์

  • ขั้นตอนที่ 3

หากคุณเห็นตัวเลือกการเข้ารหัสอุปกรณ์ ให้เลือก เปิด

  • ขั้นตอนที่ 4

หากคุณไม่เห็นตัวเลือกการเข้ารหัสอุปกรณ์ Windows จะแนะนำให้คุณหาตัว “Manage BitLocker” โดยใช้ taskbar เพื่อเปิดขึ้นมา

data encryption for organization
การเข้ารหัสข้อมูลระดับองค์กร

การเข้ารหัสฮาร์ดไดรฟ์เป็นวิธีที่ดีในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเราจากการสอดรู้สอดเห็นของผู้ไม่หวังดี ซึ่งมันต่างจากคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เข้ารหัส และหากคุณทำรหัสผ่านหาย ก็จะไม่มีวิธีใด ๆ ในการดึงข้อมูลของคุณออกมาได้เลย และหากจะบอกว่าการเข้ารหัสก็เหมือนกับการล็อกไฟล์ไว้ในที่ที่ปลอดภัยก็ถูกต้องเช่นกัน ปัจจัยหนึ่งของการเก็บข้อมูลในระบบ Server บริษัท เดิมทีเป็นเพียงการ Login โดยใช้รหัสให้ตรงกับฐานข้อมูลก็สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ ดังนั้นการใช้ระบบ Encrypt ด้วยกระบวนการดิจิตอล จะช่วยให้ตรวจกลับด้วยปัจจัยหลายอย่างมากขึ้น เช่น กระบวนการ Zero trust กระบวนการส่งข้อมูลระหว่างกันโดยใช้การเข้ารหัสดิจิตอล และถอดรหัสที่ปลายทาง โดยระบบเดิมที่หลายบริษัทใช้มานาน เป็นระบบที่ไม่เพียงพอกับความปลอดภัยอีกต่อไป เลยมีกระบวนการเช็คลิสต์เบื้องต้นมาดูกันว่าเริ่มสักกระบวนการหรือยังนะ?

  1. ระบบไฟร์วอลล์มีการอัปเดตหรือเปล่า?

    ปัญหาใหญ่ของหลายองค์กรที่ต้องเจอคือการถูก Ransomware มาโจมตีบริษัท โดย Hacker นั้นพุ่งเป้ามาที่ช่องโหว่ของระบบ Firewall ที่ไม่มีการอัปเดต โดยมากจะเป็นการเจาะเข้าผ่านรหัสผ่านชั้นเดียว หรือการสุ่มรหัสผ่านระบบเดิม ซึ่งเป็นกุญแจดอกเดียวที่เข้าถึงฐานข้อมูลได้ทั้งหมด ดังนั้นควรที่จะวางระบบใหม่และใช้ Encrypting computer มาช่วยป้องกันการเข้าถึงข้อมูลได้

  2. อีเมลบริษัทมีการเข้ารหัสหรือเปล่า?

    กระบวนการที่พบเห็นได้บ่อยเหมือนกัน คือกระบวนการสุ่มส่งอีเมลให้กับผู้บริหารใหญ่ เพื่อที่หลังจากที่มีการเจาะเข้าระบบไม่ว่าเป็นการได้มาซึ่งรหัสผ่าน การฝังตัวอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะกระจายตัวไปที่อื่นๆ เพราะเบื้องหลังของปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่ถูกดักข้อมูลระหว่างที่ส่งอีเมลหาคนอื่นๆนั่นเอง การเข้ารหัสจะช่วยให้ระหว่างที่ส่งอีเมลจาก A ไป B จะเปลี่ยนจากข้อความเป็น 0010101001001 (รหัสดิจิตอล) ซึ่งแฮกเกอร์ที่ดักระหว่างทางจะไม่สามารถเห็นข้อความ ไม่สามารถเห็นชื่อและเมลของผู้รับส่งได้เลยนั่นเอง ฉะนั้นการเข้ารหัสอีเมล เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้ไปกว่าการเปลี่ยน Firewall ตัวใหม่

  3. เว็บไซต์บริษัทติดตั้ง PDPA หรือยัง?

    แน่นอนว่าปัจจุบันเว็บไซต์ของบริษัทส่วนใหญ่จะถูกบังคับให้เข้ารหัสดิจิตอลเกือบทั้งหมดแล้ว ด้วยเหตุผลด้านการค้นหาทาง Google หรือการถูกแบนจากระบบบราวเซอร์ก็ตาม แต่ปัญหาต่อมาของเว็บไซต์ต่อมาคือการติดตั้งระบบ PDPA ให้มีการเก็บข้อมูลอย่างถูกต้องตามกฏหมายนั่นเอง ส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการที่ถูกคุกคามทางข้อมูล และอีกส่วนเป็นการปรับตัวเข้าหาสากลที่ต้องมีการควบคุมข้อมูลทางดิจิตอลให้มีกฏเกณฑ์ที่ถูกต้องเหมาะสมนั่นเอง

pdpa data agreement
ลองผิดลองถูกอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดี

นอกจากนี้ ฮาร์ดไดรฟ์ที่เข้ารหัสอย่างถูกต้อง ทุกคนจะไม่สามารถอ่านได้ถ้าไม่มีคีย์ถอดรหัส ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เข้ารหัส ข้อมูลนั้นจะเป็นเพียงรหัสผ่านที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากข้อมูลที่ถูกลบได้ที่มักจะไม่สำคัญในการกู้คืน ส่วนข้อมูลที่เข้ารหัสนั้นจะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า ทำให้โจรเกิดความสับสนได้มากกว่าเช่นกันแน่นอนว่าทุกกระบวนการสามารถทดลองทำได้ด้วยตัวเอง แต่โลกธุรกิจนั้นไม่มีเวลามากพอที่จะให้เราลองผิดลองถูก โดยเฉพาะธุรกิจที่ไม่ได้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้นแต่ต้องใช้ความแข็งแรงของฟีเจอร์นั้นนำทาง โดยเฉพาะระบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์คในองค์กร สามารถเริ่มต้นด้วยการปรึกษาการออกแบบ Network diagram ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณผ่านบริการ Firewall as a Service 

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

firewall

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล​

  • Firewall subscription model
  • ไม่ต้องเพิ่มรายจ่ายพนักงานเพิ่มเติม
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีทีมงานดูแลระบบให้ตลอดอายุการใช้งาน

IT Security คือ อะไร 7 ขั้นตอนสร้างรากฐาน Network บริษัทให้มั่นคง

IT Security คือ

IT Security คือ พื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยของ Network ในทุกบริษัท ทำให้ส่วนประกอบของการทำนั้นนอกจากต้องมีแผนการทำงานที่แน่นอน มีกลยุทธ์การรับมือกับการทำงานด้วยทฤษฏีชีสแผ่น หรือตามแต่เทคนิคของ Cyber security

IT Security คือ พื้นฐานของความปลอดภัยทาง Network

มีการศึกษาที่น่าสนใจจาก The National Security Agency หรือสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) และ NetCraftsmen ได้ระบุฟังก์ชันพื้นฐาน 7 อย่างเพื่อเป็นรากฐานของระบบที่ดี ฟังก์ชันเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันเหตุการณ์ทางไซเบอร์ถึง 93% อีกทั้งยังทำให้เกิดรากฐานที่มั่นคงเพื่อสร้าง security system ที่ครอบคลุมและปลอดภัยจาก 7 ขั้นตอนดังนี้

Foundation of it security

INFO Graphic source : Source

  • Multifactor authentication
    แทนที่จะใช้ basic password บริษัทควรใช้ multifactor authentication หรือการพิสูจน์ตัวตนแบบหลายปัจจัย เช่น การพิสูจน์ตัวตนแบบสองปัจจัย หรือ two-factor authentication (2FA) ที่หากเราลงชื่อเข้าใช้ในบัญชีใด ๆ มันจะส่งรหัสผ่านไปที่มือถือของคุณ เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนอีกที ความท้าทายในการส่งข้อความกลายเป็น mechanism ยอดนิยมสำหรับ 2FA เพราะอาจถูกโจมตีโดยผู้ที่ไม่หวังดี โดยการเข้ายึดบัญชีโทรศัพท์ หรือหมายเลขโทรศัพท์

  • การควบคุมแบบ Role-based access
    การที่พนักงานที่มีหน้าที่หรือบทบาทนั้น ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการทำงานนั้นได้เพียงอย่างเดียว พนักงานที่มีบทบาทหรืออยู่ฝ่ายอื่นจะเข้ามาใช้ข้อมูลหรือทรัพยากรอีกแผนกไม่ได้ ตัวอย่างเช่นพนักงาน HR จะเข้าถึงข้อมูลของฝ่ายบัญชีไม่ได้ และด้วยการจำกัดแบบ role-based access นี้ จะช่วยสามารถป้องกันบริษัทจากการถูกขโมยข้อมูลได้“นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดจะต้องมีการควบคุมความปลอดภัยในการเข้าถึงตาม role-based access เนื่องจากการป้องกันทางไอทีมีความสำคัญมากขึ้น”

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

  • แอปพลิเคชัน Allowlist
    Networks เคยเป็นระบบเปิด และจะกรองแค่การปฏิเสธการเชื่อมต่อบางอย่างเพียงอย่างเดียว ส่วน Allowlisting คือการแปลงกระบวนการนั้น เพื่ออนุญาตเฉพาะการเชื่อมต่อและ data flows ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของแอปพลิเคชันเท่านั้น การเชื่อมต่ออื่น ๆ ทั้งหมดจะถูกปิดกั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อลดโอกาสในการละเมิดความปลอดภัย (Security Breach) ที่จะแพร่กระจายไปทั่วทั้งองค์กร ทีมงานไอทีควรกำหนดค่า filtering systems เพื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น บันทึกความล้มเหลวในการพยายามสร้างการเชื่อมต่อ โดยการแจ้งเตือนเหล่านี้จะนำไปยัง accounts หรือ systems ที่ถูกบุกรุกได้ 

  • Patching และวิธีแก้ปัญหา
    ทีมไอทีต้องสามารถ patching และ installing ปัญหาที่เกี่ยวกับช่องโหว่ ตามที่ระบุไว้ในการนำเสนอของ NSA การโจมตีแบบ zero-day แทบจะไม่เกิดขึ้น และการละเมิดทาง cybersecurity ส่วนใหญ่เกิดจากระบบที่ไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นจึงต้องมีการอัปเดต applications, server OSes และโครงสร้างพื้นฐานของ network เป็นประจำ นอกจากนี้ทีมไอทีจะต้องมีกระบวนการและบุคคลในการติดตามการอัปเดต และระบบ configuration management เพื่ออำนวยความสะดวกในการอัปเดต

  • Network segmentation
    เป้าหมายของ network segmentation หรือการแบ่งส่วนเครือข่าย คือเพื่อป้องกันไม่ให้มัลแวร์อัตโนมัติแพร่กระจายไปในส่วนของฟังก์ชันธุรกิจ ตัวอย่างของการแบ่งย่อย network ออกเป็นส่วน ๆ เช่น facilities infrastructure networks เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่แผนกอื่น ๆ จะเข้าถึงฟังก์ชันทางธุรกิจ ดังนั้นทีมไอทีควรใช้แอปพลิเคชัน Allowlist สำหรับการเข้าถึงระหว่าง business segments

  • System backups
    การบุกรุกที่พบบ่อยที่สุดคือแรนซัมแวร์ ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจเสียหายได้ ดังนั้นการสำรองข้อมูลระบบหรือ system backups สามารถกำจัดความเสี่ยงจากการโจมตีได้มาก ซึ่งทีมไอทีจะต้องออกแบบ backup systems อย่างรอบคอบเพื่อให้ปลอดภัย เนื่องจากผู้โจมตีมักจะตรวจสอบ IT systems หลายสัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มทำการเข้ารหัสข้อมูลขององค์กร ภัยธรรมชาติอาจก่อกวนธุรกิจได้เช่นเดียวกับการโจมตีของแรนซัมแวร์ ดังนั้นควรจัดเก็บข้อมูลสำรองไว้ในที่ที่ปลอดภัย หรือที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ลองค้นคว้าดูว่าธุรกิจต่าง ๆ รับมือและฟื้นตัวจากภัยธรรมชาติได้อย่างไรบ้าง

  • การศึกษาด้าน IT security คือ การ  Educate พนักงาน
    ขั้นตอนสุดท้ายของการรักษาความปลอดภัยคือการ educate พนักงาน ลองใช้ anti-phishing campaigns เพื่อฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับประเภทของอีเมลที่เอื้อต่อการบุกรุกหรือการฉ้อโกง การโจมตีทั่วไปคือการล่อลวงพนักงานให้คลิกเรื่องตลก รูปภาพ หรือวิดีโอที่ติดมัลแวร์ในอีเมล แล้วชักจูงให้พนักงานทำการโอนเงินให้ 

ระบบป้องกัน Ransomware ที่ดี

จัดระเบียบระบบ Network องค์กรเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจาก Ransomware โดยเฉพาะ โดยเริ่มจากการออกแบบระบบ วางอุปกรณ์ และดูแลให้คำปรึกษาตลอดอายุสัญญา 

สำรองข้อมูล LINE ย้อนหลัง 3 วิธี แบคอัพ LINE ทำตามได้ ทีละขั้นตอน

สำรองข้อมูล LINE

ในช่วงที่ผ่านมาการทำงานด้วยแอพ Line จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเดินทาง การเว้นระยะพบเจอก็ตาม สิ่งที่ตามมาคือแชทเยอะมาก หาไม่เจอ ไฟล์หมดอายุ ขอไฟล์ใหม่ก็กลัวถูกตำหนิ การ สำรองข้อมูล LINE โดยมีทั้งแบบ อัติโนมือ อัติโนมัติ กับ เก็บเป็นปี ด้วยวิธีการดังนี้

สำรองข้อมูล LINE
ถ่ายหน้าจอจากคอมพิวเตอร์ หรือ แคบหน้าจอจากมือถือ

วิธีที่1 “แคบหน้าจอ”

วิธีนี้เป็นสายอดทน สำรองข้อมูล line ย้อนหลัง ด้วยการแคบแชททุกข้อความ

เก็บไฟล์ทุกอย่างลงในคอมพิวเตอร์ เป็นการบันทึกข้อความเป็นรูปภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งการบันทึกหน้าจอจากมือถือ หรือการถ่ายภาพหน้าจอด้วยกล้องมือถือก็ได้

สำรองข้อมูล LINE
การเก็บข้อมูลการแคบหน้าจอ ไว้บนคอมพิวเตอร์แล้วแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่
  • ข้อดี : การบันทึกด้วยวิธีการนี้เป็นภาพชัดเจน สวยงามและสามารถตรวจข้อมูลการแชทได้ง่าย ย้อนดูข้อความได้ถึงแม้ภายหลังแม้คู่สนทนาของเรา “Unsend (ยกเลิกส่งข้อความ)” แล้วก็ตาม
  • ข้อสังเกต : การบันทึกข้อความด้วยวิธีนี้คือไฟล์ภาพจะมีมหาศาลในเครื่อง และเสียเวลาค้นหาข้อมูล ในกรณีที่ไฟล์ต่างเก็บไว้ในเครื่อง และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้พัง หรือข้อมูลหาย จะทำให้ข้อมูลทั้งหมด จากเราไปแบบยังไม่ทันบอกลา….

อุปกรณ์ที่ใช้งาน LINE ได้
วิธีที่2
 เก็บ ประวัติการแชท line ย้อนหลัง ไว้ใน Google drive

การบันทึกแชทด้วยการเก็บข้อมูลด้วย Gmail ที่ผูกไว้กับบัญชีไลน์ จากนั้นก็ส่งข้อมูลแชทไปบันทึกไปไว้ใน Google drive โดยมีวิธีการดังนี้

เปิดการตั้งค่า LIne
เปิดแอพพลิเคชั่นไลน์แล้ว จากนั้นให้เข้าไปที่ฟันเฟือง

 

  1. เข้ามาหน้าหลักของไลน์ แล้วให้กดที่ฟันเฟืองบนขวาของจอ

    เข้าแอพพลิเคชั่นไลน์
    พอเข้ามาแล้วเลื่อนลงมาข้างล่าง

     

  2. เมื่อเข้ามาแล้วให้เลื่อนลงมาด้านล่าง

    สำรองข้อมูล LINE
    กดเข้าไปใน “แชท”

     

  3. เลื่อนลงมาที่หมวด “ตั้งค่าพื้นฐาน” แล้วกดที่ “แชท”

    จากนั้นกด “สำรองข้อมูล”

     

  4. จากนั้นก็กดไปที่ “สำรองข้อมูล & เรียกคืนประวัติการแชท”

    การเชื่อมบัญชี Google
    เข้าบัญชี Google

     

  5. เข้ามาแล้วให้เลือกบัญชี Gmail ที่ต้องการสำรองข้อมูลเก็บไว้ ถ้าในกรณีที่ไม่มีให้เพิ่มบัญชีเข้าไป (ถ้ายังไม่มีเมล์ สมัคร gmail สำหรับมือใหม่ เข้าไปดูที่นี่เลย)

    สำรองข้อมูล LINE
    กรอกบัญชี Google เข้าไปเหมือนการ login ตามปกติ

     

  6. สำหรับคนที่เพิ่มอีเมลใหม่ครั้งแรก แนะนำให้ใช้ Gmail เดียวกับที่ใช้ในมือถือเลย (ถ้ายังไม่มีเมล์ สมัคร gmail สำหรับมือใหม่ เข้าไปดูที่นี่เลย)

    สำรองข้อมูล LINE
    เมื่อมีการเข้าระบบแล้ว อีเมลจะขึ้นตามนี้

     

  7. หลังจากที่เลือกอีเมลที่ต้องการไปสำรองข้อมูลเก็บไว้แล้วจะขึ้นแบบนี้นะ

    สำรองข้อมูล LINE สถานะแจ้งเตือน
    จากนั้น “กด” สำรองข้อม๔ล Google ไดร์ฟ


  8. จากนั้นก็เลือก “สำรองข้อมูลไปยัง Google ไดร์ฟ” แล้วรอโหลดให้ครบ 100%

    สำรองข้อมูล LINE หลังจากสำรองข้อมูลสำเร็จ
    เมื่อสำรองข้อมูลเสร็จแล้วจะขึ้นว่ามีการสำรองข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อใด


  9. หลังจากนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามันอัปเดตให้เสร็จแล้ว ก็ดูเวลาที่ สำรองข้อมูล LINE ล่าสุด ควรจะเป็นวัน และเวลาในตอนนั้น

    เรียกคืนข้อมูล ย้อนกลับ LINE
    ถ้าอยากกู้ข้อมูล เพียงการ “เรียกคืนข้อมูล” ข้อมูลต่างๆก็จะย้อนกลับมา


  10. จากนั้นก็สามารถสบายใจได้ว่ามันถูกเก็บไว้ปลอดภัยแน่ๆ ในกรณีที่ต้องการ “กู้” ข้อความให้กลับมาก็เข้าไปที่เรียกคืนข้อความ ด้านล่างของหน้านี้เลยจ้า


วิธีนี้ก็ได้รับความนิยม แต่ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน

  • ข้อดี : ทำได้ง่าย และไว เหมาะกับการย้ายเฉพาะข้อมูลแชทที่จำเป็นไปมือถือเครื่องใหม่
  • ข้อสังเกต : การทำด้วยวิธีนี้หลายครั้งจะได้เฉพาะข้อมูลแชทเดิม และภาพที่ระบบยังไม่ลบ ถ้าต้องการให้ไฟล์ที่ส่งยังไม่หมดอายุ ต้องเก็บไฟล์ไว้ในเครื่อง ซึ่งยากต่อการค้นหาได้อยู่ดี

วิธีที่ 3 ให้ "จดที" บันทึกข้อมูลให้

บริการ “จดที” เป็นระบบการบริการที่ช่วยให้คนที่คุยงานกันด้วยไลน์กลุ่ม สามารถมีพื้นที่เก็บไฟล์และแชทต่างๆที่ส่งให้กันได้เป็นปีๆ โดยที่การทำงานนั้นเป็นการเชื่อมห้องแชทเข้ากับกลุ่มแล้วจากนั้นระบบจะมีการเก็บไฟล์ต่างๆขึ้นบนคลาว ซึ่งสะดวกกับคนทำงานซึ่งสามารถอ่านได้ใน วิธีการแบคอัพ LINE กลุ่ม ให้นาน 1 ปี ทีละขั้นตอน ซึ่งใช้งานได้ฟรี 30 วัน โดยฟีเจอร์การทำงานนั้นสามารถเห็นแชทได้แบบเรียลทาม

จดที แบคอัพแชทแบบเรียลทาม
เราสามารถเห็นแชท ไลน์กลุ่ม บน jott.ai ได้แบบเรียลทาม โดยการแสดงผลออกทางหน้าเว็บ

ซึ่งนอกจากการเห็นแชทในไลน์กลุ่มขึ้นบนหน้าเว็บแบบทันทีแล้ว ยังมีการแบ่งกลุ่มของไฟล์ที่ส่งให้กัน และ สื่อมัลติมีเดีย ที่มีรูปภาพและวีดีโอ ให้สามารถกลับไปดาวน์โหลดได้จลอดเวลา

เก็บไฟล์ ของจดที
เราสามารถเห็นไฟล์ที่เคยส่งให้กันในแชทไลน์ โดยจำแนกประเภทไฟล์ วันที่ถูกอัปโหลดได้อย่างง่ายดาย
ประวัติการแชท line ย้อนหลัง

เพิ่มอายุไฟล์จาก 7 วัน สูงสุด 10 ปีเต็ม

ระบบ “จดที่” จะมีหน้าที่เก็บข้อมูล ประวัติการแชท เอกสาร รูปภาพ วีดีโอ ที่ส่งให้กันในกลุ่มทีมงาน ไปแบคอัพบนระบบคลาว ที่จะยืดระยะเวลาเก็บข้อมูลให้สูงสุด 10 ปีอย่างปลอดภัย

ประวัติการแชท line ย้อนหลัง

แบคอัพแชทให้อัตโนมัติแบบเรียลทาม

ระบบจะทำการแบคอัพให้ตลอดเวลา ช่วยแก้ปัญหาระบบเดิมนั้นจะเก็บให้หลังจากช่วงเวลาที่กำหนด หรือ ต้องมานั่งกดแบคอัพข้อมูลด้วยตัวเอง ทำให้เปิดดูได้จากทุกอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อ

ประวัติการแชท line ย้อนหลัง

เก็บไฟล์แยกให้เป็นหมวดหมู่

ระบบ “จดที” มีระบบจัดเก็บไฟล์ให้ตามหมวดหมู่ แยกเอกสาร แยกรูปภาพ ออกจากกัน ทำให้ง่ายต่อการกลับมาดูข้อมูลอีกครั้งภายหลังในอีกหลายเดือน หรือหลายปีหลังจากนั้น

แพกเกจ "จดที"

ระบบ “จดที” มีระบบจัดเก็บไฟล์ให้ตามหมวดหมู่ แยกเอกสาร แยกรูปภาพ ออกจากกัน ทำให้ง่ายต่อการกลับมาดูข้อมูลอีกครั้งภายหลังในอีกหลายเดือน หรือหลายปีหลังจากนั้น

ปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไป

Network storage แบบไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ ช่วยให้ข้อมูลเสถียร เหมาะกับงบประมาณ

network storage

การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกบริษัท โดยระบบการเก็บข้อมูลที่เลือกใช้มีความหลากหลายแตกต่างออกไป โดยผ่าน Network storage ทั้งระบบภายในเก็บข้อมูลผ่าน Database server หรือเก็บใส่ cloud ที่เรียกว่า Storage area network แล้วรูปแบบไหนเหมาะกับบริษัท รูปไหนเหมาะกับใช้งานในบ้านบ้าง มาดูรูปแบบการใช้งานกันเลย

การเก็บข้อมูลในบริษัทมีแบบไหนบ้าง

การใช้งานข้อมูลของบริษัทนั้นมีรูปแบบการจัดเก็บหลักๆอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ 1) การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล DAS  2) การเก็บข้อมูลไว้ในเครือข่ายของบริษัท NAS  3) การเก็บข้อมูลไว้ในศูนย์เก็บข้อมูล SAN ซึ่งทั้งสามวิธีนี้มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละองค์กร

  • การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล Direct attached storage : DAS

การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นการสร้างพื้นที่จัดเก็บบนไฟล์ Server ภายใน โดยการเข้าถึงไฟล์นั้นจำเป็นต้องเข้าผ่าน LAN แล้วเปิดไฟล์มาที่เครื่อง Server วิธีการนี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก มีข้อมูลไม่มากและการเข้าถึงข้อมูลอยู่เฉพาะภายในบริษัท ถ้าปิดเครื่อง Server ทุกอย่างจะหยุดนิ่งทันที

  • การเก็บข้อมูลไว้ในเครือข่ายของบริษัท Network attached storage :  NAS  

การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการดังกล่าวจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์เก็บข้อมูลโดยตรงเข้ากับระบบเครือข่ายโดยไม่ผ่านเครื่อง Server ดังนั้นความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลคือสามารถเข้าถึงไฟล์ได้ผ่านอินเตอร์เน็ตภายนอก โดยบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ไม่ได้มีความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูลมาก จะเลือกใช้วิธีการนี้เนื่องจากประหยัดในการบำรุงรักษา แต่เก็บข้อมูลได้ในปริมาณที่จำกัด

  • การเก็บข้อมูลไว้ในศูนย์เก็บข้อมูล Storage area network : SAN 

การเก็บข้อมูลด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างฟาร์มเก็บข้อมูลหรือเรียกอีกอย่างว่า cloud ส่วนหญ่จะตั้งอยู่ในสถานที่ที่มีความพร้อมด้านการส่งข้อมูลผ่าน Fiber โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีดังกล่าวนั้นเหมาะสำหรับบริษัทที่มีข้อมูลเก็บปริมาณมาก และไม่ต้องการจะมาดูแลระบบตลอดเวลา ทำให้บริษัทเริ่มเก็บข้อมูลผ่านระบบคลาว แทนที่จะใช้ระบบเก็บข้อมูลแบบเดิมที่ผ่านมา เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการได้หลากหลาย เช่น การจ่ายค่าเช่าเท่าที่ใช้จริง และความสามารถในการใช้ข้อมูลในส่วนต่างๆนั่นเองทำให้การเก็บข้อมูลส่วนใหญ่ขององค์กรจึงเป็นการเลือกระบบ NAS หรือ SAN แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร?

zero trustระบบไหนถึงเหมาะสมกับการใช้งานในเครือข่าย

โดยปกติแล้วการเลือกจัดเก็บข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลที่ต้องการ ความซับซ้อนของการจัดเก็บข้อมูล และความเสี่ยงที่ต้องยอมรับต่างๆในการเลือกใช้งาน

ชนิดของการเก็บข้อมูล (source)

NAS

SAN

วิธีเก็บข้อมูล

เก็บข้อมูลเป็นไฟล์

เก็บข้อมูลเป็น Box

ปริมาณข้อมูล

ปริมาณที่จำกัด

เก็บได้ไม่จำกัด

ความเร็วในการส่งข้อมูล

ขึ้นอยู่กับแพกเกจอินเตอร์เน็ต

ความเร็วสูง

ความเสี่ยงของข้อมูล

ต้องดูแลเอง

มีบริการดูแล

ต้นทุนการดำเนินงาน

ถูกและดูแลเอง

ต้นทุนสูง

เหมาะสมกับ

ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง

ธุรกิจขนาดใหญ่และศูนย์ข้อมูล

ความปลอดภัยข้อมูลแบบไหนที่เหมาะสม

แน่นนอนว่าการเก็บข้อมูลในระบบนั้นไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง หรือ เก็บข้อมูลบนคลาว สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อมาคือระบบที่ใช้รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในมีความเสถียรและปลอดภัยจริงๆหรือเปล่า ถ้าหากลองดูโครงสร้างของ Network storage แล้ว เราจะพบว่าต่อให้ข้อมูลได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย แต่ระบบเครือข่ายในองค์กรมีไวรัส หรือ มัลแวร์แฝงอยู่ ก็จะทำให้ตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรมข้อมูลที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน

network storage

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเก็บข้อมูลในรูปแบบใดก็ตาม ต้องมีการออกแบบความปลอดภัยของข้อมูลไม่ต่างกัน กล่าวคือการวางระบบความปลอดภัยของ Network นั้นต้องมีการเตรียมมาให้สอดคล้องกับการทำงานบริษัท เช่น ถ้าระบบทำงานจากภายนอกออฟฟิศบ่อยๆ การออกแบบ firewall ก็จะเป็นแนวทางการให้เข้าถึงข้อมูลน้อยที่สุดแต่ยืนหยุ่นให้เข้าได้จากทุกที่ แล้วระบบฐานข้อมูลจึงต้องเลือกระบบคลาวแทนการวางฐานข้อมูลไว้ในบริษัท เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะสอดคล้องกับการทำงาน การเลือกใช้ระบบฐานข้อมูล และการรักษาความลับของบริษัท ซึ่งบริการ Firewall as a Service จะช่วยเข้ามาจัดการระบบ Network ให้กับบริษัทที่มีความต้องการความปลอดภัยทางไซเบอร์แต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ

FWaaS advantage

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค Zero trust

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล

ปรึกษาการทำระบบ Cyber Security

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

VPN คืออะไร ทำไมเราถึงมุดไปดูซีรีส์นอก เว็บที่ถูกแบนได้

vpn คือ

หลายครั้งซีรีส์หลายเรื่องที่สนุกๆ อาจจะหาดูไม่ได้ในประเทศ หรือต้องไปดู steaming ในประเทศนั้น บางเว็บไซต์สำหรับผู้ใหญ่ก็ถูกแบนจากอินเตอร์เน็ตในประเทศ ทำให้ต้องพยายามหาวิธีการที่มุดประตูออกไปผ่านเครื่องมือ VPN คือ สิ่งที่เราได้ยินมานานแสนนาน มันคืออะไร ทำงานรูปแบบไหน สรุปมาให้อ่านกันแล้ว

VPN คือ อะไร

VPN คือ Virtual Private Network หรือ การใช้อวตาร์ตัวเองเข้าไปในที่หนึ่ง โดยที่ปกติการทำงานในบริษัทนั้นจะใช้เครือข่ายภายในหรือ LAN (Local Area network)

โดยที่หนึ่งเครือข่ายถ้าหากสมมติว่าเป็นประเทศหนึ่ง ต้องมีคอมพิวเตอร์ภายใน ระบบเก็บข้อมูล และ ระบบป้องกันความปลอดภัย ของตัวเอง ทำให้คนภายนอกจะเข้าออกจากประเทศของเราต้องผ่านจุดคัดกรอง และจำกัดสิทธิ์การใช้งานต่างๆ ดังนั้นถ้าหากต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศ ต้องเดินทางเข้ามาเอง แต่มีหลายคนที่ไม่สะดวกเดินทางเข้ามาทำกิจกรรมต่างๆ หรือบินเข้ามา เลยเกิดเป็นระบบ VPN ที่ทำหน้าที่เป็นสถานทูตสำหรับคนที่ไม่สะดวกบินกลับมานั่นเอง

วิธีการทำงาน

การทำงานของระบบนี้เป็นการสร้างร่างอวตาร์ โดยผ่านอุโมงค์ต่อตรงเข้ากับบริษัทตามแบบภาพ

vpn คือ

โดยที่การส่งข้อมูลจาก VPN ผ่านไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ของเรา

vpn คือ

การส่งข้อมูลจาก A ไปยัง B ต้องผ่าน VPN โดยที่เป็นการส่งข้อมูลที่เข้ารหัสดิจิตอลให้ VPN แล้วผู้ให้บริการ VPN จะส่งต่อไปให้ B นั่นเอง

vpn คือ

หลังจากที่ข้อมูลถูกส่งให้ VPN ปลายทางจะถูกถอดรหัส โดยที่ปลายทางจะรู้เพียงว่าข้อมูลถูกส่งมาจาก VPN เท่านั้นเอง


บทความที่เกี่ยวข้อง :
Tor browser เล่นอินเตอร์เน็ตโดยไม่ให้ใครจับได้ ทำงานอย่างไร
Encryption การเข้ารหัสดิจิตอล ปกป้องความเป็นส่วนตัว ทำยังไง


 

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

มุดเข้าออกคืออะไร

เปลี่ยนภาพถ้าหาก LAN เป็นเสมือนประเทศหนึ่ง บางเว็บไซต์อนุญาตให้ดูได้เฉพาะในประเทศ ถ้าหากเข้ามาจากต่างประเทศอาจจะเข้ามาดูไม่ได้ แม้กระทั่งในออฟฟิศที่มีเว็บไซต์ภายในบริษัท ถ้าหากเป็นผู้ใช้ภายนอกบริษัทขอเปิดเข้ามาก็ไม่สามารถแสดงผล หรือดึงข้อมูลในหน้า dushboard ได้เช่นเดียวกัน 

มุด vpn
การต่อ VPN สามารถเข้ามาโดย VPN Server ที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้น โดยที่หน่วยงานจะไม่สามารถรู้ได้ว่าเปิดดูอะไร เป็นนิยามของคำว่า “มุด”

การมุดเข้าเป็นการที่ VPN มี Server ในประเทศนั้น เช่น VPN ตั้ง Server ในประเทศจีน ทำให้พอเราส่งข้อมูลจาก A ที่อยู่ในประเทศไทย ส่งผ่านไปหา VPN ที่อยู่ในประเทศจีน หน่วยงานในประเทศจีนจะตรวจจับได้แค่คนที่จะเปิดเว็บ B ที่เราต้องการดู เป็นคนในประเทศนั่นเอง สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการมุดดูข้อมูลบางอย่างที่ให้ดูได้เฉพาะคนในประเทศนั่นเอง

มีการใช้งานรูปแบบไหนบ้าง

การใช้งานระบบ VPN นั้นได้รับการประยุกต์ไปใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะช่วงการระบาดของไวรัสครั้งที่ผ่านมาโดยหลักๆที่เราแบ่งได้เป็นดังนี้

กลุ่มเล่นเกมส์เซิฟนอก

โดยเดิมทีคนที่น่าจะนำระบบ VPN มาใช้ก่อนใครอาจจะเป็นกลุ่มนี้ก็ได้ เพราะว่าบางเกมส์ออนไลน์ใหม่ๆ อาจจะเปิดให้ทดลองใช้เฉพาะคนในประเทศผู้ผลิต หรือ ยังไม่ได้นำเข้ามาเล่นในประเทศไทย ประโยชน์จึงมีทั้งได้เล่นก่อนใคร หรือ ลดการหน่วง (ping) ที่จะเกิดขึ้นกรณีที่เล่นในประเทศที่ไกลๆ เช่น เล่นเกมส์จากประเทศไทย แต่เซิพเวอร์เกมส์ตั้งอยู่ที่แอฟริกาใต้ ทำให้ผู้ให้บริการเน็ตของเราต้องส่งต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน A B C D ซึ่งทำให้อินเตอร์เน็ตช้า คนที่ใช้ VPN ที่ผู้ให้บริการมีเซิฟเวอร์ตั้งอยู่แอฟริกาใต้ อาจจะส่งแค่จาก A ไป VPN และถึงปลายทางเลย ซึ่งทำให้ลดปัญหาเน็ตหน่วงในการเล่นเกมส์ได้นั่นเอง 

กลุ่มมุดดูอะไรที่ห้ามดูในประเทศ หรือ บางประเทศ

หลายประเทศนั้นมีการควบคุมเนื้อหาข่าว ละคร หรือ ข้อมูลสำหรับใช้ภายในประเทศ รวมถึงเว็บสำหรับผู้ใหญ่ ก็อาจจะมีการแบนจากทั้งในประเทศ ทำให้การใช้ VPN นั้นจะช่วยให้ผู้ให้บริการ (Internet Service Provider : ISP) ถูกบล็อคการเข้าถึงเว็บที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาล การเข้ามาของ VPN จะเป็นการฝาก ISP ส่งไปที่ VPN (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนบุคคลในประเทศ) และส่งออกไปให้ VPN (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนบุคคลในประเทศปลายทาง) โดยที่รัฐบาลไม่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ เพราะถูกเข้ารหัสดิจิตอลนั่นเอง 

กลุ่มคนทำงานในช่วงโควิด 19

ข้อจำกัดของการทำงานในช่วงการระบาดของไวรัส โดยปกติเป็นการทำงานภายในออฟฟิศ ซึ่งการทำงานด้วยระบบ VPN เป็นการจำลองอุโมงค์ในการส่งข้อมูลตรงเข้าระบบภายในบริษัท โดยจะช่วยให้เราจำลองเสมือนการนั่งทำงานในบริษัท ดึงข้อมูล และเอกสารต่างๆใน Database server ในบริษัทนั่นเอง แต่การทำงานผ่าน VPN นั้นมีความอันตรายกว่าการใช้งานในรูปแบบอื่นๆ ตรงที่ถ้าหากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมเข้าผ่าน VPN มีการแฝงของไวรัส Ransomware ก็จะทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมดของบริษัท ทำให้การใช้ VPN ภายในบริษัท อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าการวางระบบความปลอดภัยด้วยการใช้ระบบความปลอดภัยภายในบริษัท Zero trust architecture ผ่านบริการ Firewall as a Service ซึ่งจะมาเติมเต็มความปลอดภัยโดยการใช้ระบบ กับ ระบบมาทำความปลอดภัยแทนการตัดสินใจของมนุษย์

ความปลอดภัย VPN และ Zero trust แตกต่างกันอย่างไร?

การใช้งาน VPN

เป็นการจำลองอุโมงของการรับส่งข้อมูลผ่าน VPN Server แล้วจากนั้นสามารถเชื่อมต่อตรงเข้ากับ Internal Server ได้ โดยสามารถทำกิจกรรมได้เสมือนนั่งอยู่ในบริษัท ทำให้เกิดความเสี่ยงถ้าหากผู้เชื่อมต่อ VPN เป็นเครื่องที่ถูกฝัง Ransomware ไว้

การใช้ Zero trust architecture

เป็นการติดตั้งระบบบน Firewall โดยที่สามารถเชื่อมต่อเข้าบริษัทได้โดยตรง ซึ่งจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนหลายรูปแบบ (MFA) โดยกิจกรรมทั้งหมดต้องสอดคล้องกัน เช่น รับ OTP SMS จากประเทศไทย สอดคล้องกับ ตำแหน่ง GPS ในประเทศไทย และถึงแม้สามารถเข้าระบบได้แล้ว จะมีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลบางอย่าง ให้ไม่สามารถเข้าจากภายนอกบริษัทได้ ซึ่งฟีเจอร์เหล่านี้มีในบริการที่ชื่อว่า Firewall as a Service

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

FWaaS advantage

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค Zero trust

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล

Tor browser เล่นอินเตอร์เน็ตโดยไม่ให้ใครจับได้ ทำงานอย่างไร

Tor browser

การเข้าสู่อินเตอร์เน็ตปัจจุบันเราสามารถรู้ตัวตนของอีกคนได้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า IP Address ดังนั้นถ้าหากใครทำอะไรผิดกฏหมายจะสามารถติดตามได้จากเลขดังกล่าว จนกระทั่งมีการพัฒนาระบบการซ่อน  ซ้อน IP Address ที่เรียกว่าระบบ TOR browser มันทำงานยังไง มีโอกาสที่ข้อมูลหลุดหรือเปล่า มาติดตามกันเลย

Chrome , Firefox , Safari และบราวเซอร์ทั่วไป ทำงานยังไง?

โดยปกติการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตนั้นเราจะเข้าผ่านบราวเซอร์ต่างๆ โดยปกติจะเป็นการรับ IP Address ที่เป็นเหมือนชื่อ-นามสกุลของเราในการเข้าถึงโลกออนไลน์ จากนั้นเราจะเดินทางจากคอมพิวเตอร์ของเราไปสู่เว็บไซต์ที่มีเซิพเวอร์เป็นตัวรับข้อมูลของเรา จากนั้นเริ่มมีการกังวลในความเป็นส่วนตัวของการใช้งานโลกออนไลน์ จึงมีการพัฒนาการใช้งานอินเตอร์เน็ตโดยไม่ระบุตัวตนขึ้นมา ผ่านโปรเจค TOR หรือ The Onion routing หรือระบบหัวหอม ทำไมถึงเป็นหัวหอม มาติดตามกันต่อไปเลย

tor browser

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

TOR Browser เกิดมาเพื่อคนไม่อยากระบุตัวตนบนโลกอินเตอร์เน็ต

เริ่มแรกกระบวนการไม่ระบุตัวตนบนโลกอินเตอร์เน็ตนั้นถูกพัฒนาขึ้นในห้องปฏิบัติการวิจัยจากกองทัพเรือสหรัฐในช่วงประมาณกลางๆของปี 1990s

เพื่อจุดประสงค์การป้องกันการสื่อสารออนไลน์ระหว่างกัน ซึ่งกระบวนการนั้นเป็นการเข้ารหัสดิจิตอลเป็นชั้นๆ เพื่อไม่สามารถย้อนกลับไปได้ว่าเป็นข้อมูลข้องใคร และถูกส่งออกมาจากใคร?

TOR Browser คือหัวหอมหลายชั้นของการเขารหัส

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าบราวเซอร์ทั่วไปจะใช้วิธีการใช้ชื่อตัวเอง (IP Address) วิ่งไปหาผู้ให้บริการเว็บไซต์ต่างๆ(Server)

ทำให้ผู้ให้บริการรู้ว่า IP Address นี้อยู่ตำแหน่ง กรุงเทพมหานคร ระแวกบางรัก เป็นต้น แต่ TOR Network จะทำต่างออกไป โดยวิธีการ Onion routing จะมีวิธีการดังนี้tor diagram

  1. IP Address ที่จะส่งข้อมูล วิ่งเข้าไปหา TOR Directory

  2. จากนั้น TOR จะโยนข้อมูลที่เราส่งไปให้ 1 ในอาสาสมัครกว่า 6 พัน IP Address ทั่วโลกในการเข้ารหัสข้อมูล (เป็นการเข้ารหัสข้อมูลครั้งที่ 1)

  3. จากนั้น TOR จะสุ่มหาอาสาสมัครอีกครั้งเพื่อเอาข้อมูลที่เข้ารหัส ไปเข้ารหัสซ้อนอีกที (เป็นการเข้ารหัสข้อมูลครั้งที่ 2)

  4. แล้วก็ทำแบบเดิมซ้ำอีกครั้ง (เป็นการเข้ารหัสข้อมูลครั้งที่ 3)

  5. พอถึงปลายทางแล้วจะเป็นการเข้ารหัสข้อมูล 3 ชั้นเหมือนหัวหอมใหญ่

  6. การถอดรหัสจะเป็นการถอดรหัสคู่ที่ 3 กับ 2 ,คู่ที่ 2 กับ 1 โดยที่ผู้รับปลายทางจะรู้แค่ข้อมูลถูกส่งมาจากประเทศ x แต่ไม่รู้ว่าก่อนหน้านี้ข้อมูลถูกเข้ารหัสมากี่ครั้งนั่นเอง

tor networkการต่อสู้ระหว่างความปลอดภัย VS ความลับของข้อมูล

แม้ปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลนั้นเริ่มมีความยากและซับซ้อนขึ้น ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

หรือแม้กระทั่งการกระทำผิดกฏหมายก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ก็คือการพัฒนากันระหว่างผู้พัฒนาความปลอดภัย และผู้รักษาความลับของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าสุดท้ายแล้วผู้ที่ตกเป็นเหยื่อด้านความปลอดภัยเหล่านี้ก็คือผู้รับบริการ บริษัทห้างร้านต่างๆ อันเนื่องมาจากการขาดการดูแลระบบความปลอดภัยในบริษัท หรือ Firewall

Firewall เป็นได้ทั้งจุดดับ และจุดประกาย

Firewall เป็นอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยข่าวกรองของบริษัทมาช้านาน เหตุนี้เองทำให้หลายบริษัทละเลยความปลอดภัยขององค์กร

ปล่อยให้ลิขสิทธิ์การอัปเดตฐานข้อมูลหมดอายุ แล้วใช้ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่งพบว่าข้อมูลในฐานข้อมูลบริษัทถูกล็อคเรียกกับค่าไถ่การคืนข้อมูลกลับบริษัท จึงทำให้หลายบริษัทค่อยกลับมาหวนคืนถึงความปลอดภัยที่ละเลยมานาน การเติบโตของระบบความปลอดภัย Firewall ยุคใหม่เข้าสู่การเข้ารหัสดิจิตอล และการยืนยันตัวหลายขั้นตอน ซึ่งแน่นอนว่าการสร้างระบบ FIrewall ใหม่นั้นอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับการเรียนรู้ ในหลายประเทศจึงเกิดเป็นบริการที่ชื่อว่า Firewall as a Service ที่ใช้ทีม Cyber security มาออกแบบ สร้าง และดูแล Firewall ให้มีการอัปเดตระบบความปลอดภัยใหม่ตลอดเวลานั่นเอง

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

FWaaS advantage

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์คใหม่

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล

Network diagram งานศิลปะที่แสดงความเชี่ยวชาญขององค์กร

Network diagram เป็นองค์ประกอบการสร้างระบบความปลอดภัยขององค์กร ใช้ประโยชน์ในการย้อนกลับไปตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ การสร้างรหัสป้องกันการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการวาง Zero trust achitechture ที่เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับสูงในปัจจุบัน

เราใช้ Network ทำงานกันอย่างแยกกันไม่ออก

หลายองค์กรที่ไม่ได้ทำด้านระบบ IT สิ่งที่ทำให้หลายบริษัทนั้นปล่อยให้ Network diagram ขององค์กรนั้นเติบโตตามธรรมชาติ

เช่น ขยายองค์กรก็ซื้ออุปกรณ์ Switch เดินสาย Lan กับระบบ Firewall ที่มีมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท เพียงแค่ขอให้อินเตอร์เน็ตใช้ได้ปกติ เก็บข้อมูลเข้าระบบ Server ได้อย่างเป็นธรรมดา ซึ่งในตามปกติการขยาย Network องค์กรตามธรรมชาตินั้นก็มีความเสี่ยงประมาณหนึ่ง จนกระทั่งการต้องทำงานจากที่บ้าน การเข้ามาของระบบ VPN และการที่ให้พนักงานใช้อินเตอร์เน็ตมาสู่ intranet ภายใน เกิดเป็นการแอบย่องเข้ามาของคนที่เหมือนพนักงาน แทรกซึมเข้ามาในระบบโดยไมได้รับเชิญ

traditional network diagram

อย่าปล่อยให้ Network เติบโตไปตามอิสระ

การเปลี่ยนแปลงทำงานที่ให้พนักงานเข้าสู่ Network ของบริษัทอย่างอิสระ เป็นความจำเป็นในการ social distancing

ที่ผ่านมาการทำระบบโครงข่ายเน็ตเวิร์คเดิมเริ่มมีความท้าทายความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ในวงการ IT เองเริ่มจะมีเทรนด์การเปลี่ยนอุปกรณ์ วางระบบ Network ใหม่ รวมไปถึงอุดช่องโหว่ที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุปกรณ์ที่เก่าและไม่มีการเข้ารหัสความปลอดภัยที่ทันสมัย

Network diagram เพื่อการป้องกัน Ransomware โดยการไว้ใจให้น้อยที่สุด

การออกแบบ Network diagram เป็นกระบวนการที่ไอทีในบริษัท ต้องมีการเติมความรู้ใหม่เข้าไปตลอดเวลา

เนื่องจากการสร้างโครงสร้างเน็ตเวิร์ครูปแบบนี้ จะช่วยทำให้บริษัทประหยัดเงินจากค่าความเสี่ยงทั้งข้อมูล และถูกขโมยข้อมูลไปเรียกค่าไถ่ออกมา จากระบบกระจายความปลอดภัยที่ใช้การไว้ใจให้น้อยที่สุด หรือสถาปัตยกรรมที่ชื่อ Zero trust architecture (ดังภาพ)

ระบบ Zero trust เป็นการกระจายความปลอดภัยและเชื่อใจน้อยที่สุด

การจัดรูปแบบระบบความปลอดภัยใหม่  จะมีการเน้นฟีเจอร์ของระบบให้ครอบคลุมทั้ง 6 หน้าที่ด้วยกัน ได้แก่

  1. Firewall เป็นระบบฐานข้อมูลที่อัปเดตความปลอดภัยใหม่

  2. Crypto เป็นระบบ Blockchain ที่ใช้ Block ข้อมูลมาเชื่อมต่อกัน ทำให้การแอบใส่ข้อมูลระหว่างกันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก

  3. Intrusion prevention system ระบบป้องกันการบุกรุกจากผู้ใช้งานไม่พึงประสงค์

  4. Activity monitoring เป็นกระบวนการที่สามารถเห็นการใช้งานของผู้ใช้งานภายในระบบ

  5. Content filtering ระบบคัดกรองไม่ให้เข้าถึงบางเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้ลูกข่ายเข้าไป

  6. Access control ระบบจัดการเครือข่ายภายใน

นอกจากนี้ระบบนี้นอกจากจะเป็นระบบที่ไว้ใจน้อยที่สุด แต่ทำให้ระบบความปลอดภัยมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วยการตรวจสอบหลากหลายขั้นตอน MFA แต่มอบข้อมูลให้กับคนที่เข้าถึงน้อยที่สุด เช่น การเข้าฐานข้อมูลจากนอกออฟฟิศสามารถเข้าได้เพียง A B C แต่ถ้าหากเข้าจากภายในสามารถเข้าถึงได้เต็มระบบเพียงแต่ต้องตรวจสอบว่า GPS อยู่ตำแหน่งออฟฟิศไหม ใช้อินเตอร์เน็ตภายในหรือยัง ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจสอบที่ซับซ้อนและมีเวลาจำกัดนั่นเอง

วางระบบ Zero trust ทดแทนการใช้ Network เดิมๆได้ยังไง

ปัจจุบันมีบริการวางระบบ Network security ให้เห็นมากยิ่งขึ้น โดยกระบวนการที่จะช่วยเริ่มต้นโครงข่ายเน็ตเวิร์คภายในองค์กรที่ดี คือการเริ่มต้นไล่เรียงระบบใหม่ตั้งแต่การเดินสาย ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ รวมถึงการนำฟีเจอร์ต่างๆของระบบมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดการถูกโจรกรรมข้อมูล Ransomware และการรับไวรัสเข้ามาในคอมพิวเตอร์ของบริษัท ผ่านบริการที่เรียกว่า Firewall as a Service

FWaaS advantage

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค Zero trust

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล

ปรึกษาการทำระบบ Cyber Security

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

Firewall network ระบบไฟร์วอลล์ ระบบความปลอดภัย Network ด้วย FWaaS

firewall network

หลายบริษัทคงเคยมีปัญหาอินเตอร์เน็ตล่มต้องรอไอที เจออีเมล์ที่คล้ายคนในแผนกส่งไฟล์แปลกมาหาคนในออฟฟิศ แล้วมีคนเผลอกดเข้าไป ซึ่งปัญหาต่างๆไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่โดยมากมาจากอุปกรณ์ที่เป็น รปภ.ไอที ของบริษัท ที่ชื่อว่า “Firewall network” ทั้งเก่าและไม่อัพเดท

Firewall network เดิมๆมีปัญหาอะไร?

โดยปกติแล้วเครื่อง firewall network ที่ใช้กันในบริษัทนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมาการซื้อมาวางไว้ในบริษัท

เหมือนซื้อคอมพิวเตอร์มาสักเครื่อง แล้วใช้ Windows เดิมๆ และไม่ได้รับการอัพเดทความปลอดภัยมานาน และไม่ได้รับการเหลียวแล และเริ่มเกิดความผิดพลาดต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ตมีปัญหา ไวรัสเข้ามาจากการต่อเน็ต หรือมีอีเมล์แปลกเข้ามาใน Inbox ของพนักงาน จะทำอย่างไรที่จะมั่นใจว่าไฟร์วอลล์ ที่เสมือนเป็น รปภ. ไซเบอร์ของบริษัทที่เราจ้างมานั้น สามารถทำงานได้กระฉับกระเฉง ไหวพริบดี อยู่ในกฏระเบียบตลอดเวลา ซึ่งหลายครั้งเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย สำหรับหลายกิจการที่ต้องดูแลสินค้าคงคลัง ยอดขาย และการวางแผนธุรกิจให้ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

firewall networkไฟร์วอลล์ถูกดูแลอย่างถูกต้องหรือเปล่า?

ระบบ Firewall ที่มีอยู่มันเพียงพอสำหรับ Work from home หรือเปล่า

ปัจจุบันนี้มีความต้องการที่หลากหลายในการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะเครื่องมือที่เรียกว่า Zero trust architecture ที่เป็นระบบการกระจายความปลอดภัยของการทำงานนอกสถานที่ นอกบริษัท ทดแทนการทำงานระบบ VPN ที่ต้องมีการเชื่อมต่อเข้ามาดูข้อมูลบริษัท ที่มีความเสถียรน้อยกว่านั่นเอง

โดยฟีเจอร์ที่มาในอุปกรณ์ไฟร์วอลล์รุ่นใหม่นั้นจำเป็นต้องมีการดูแลระบบด้วยทีม Cyber security ที่มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากความละเอียดอ่อนของระบบ และความเสี่ยงที่ทำให้ถูกโจมตีจากความไม่รัดกุมมีมากขึ้นไปอีก เพียงแต่หลายองค์กรนั้นไม่มีทีมผู้เชี่ยวชาญทางไซเบอร์มาดูแลประจำจะเริ่มต้นอย่างไรดี?

ระบบความปลอดภัยทางไอทีที่ไม่ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมาประจำ

หลายบริษัทมีปัญหาไม่สามารถหาพนักงานไอทีเฉพาะด้านมาทำงาน

ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมาประจำ แต่มีความปลอดภัยด้านระบบสูงสุด คือระบบที่มี IT security ให้บริการแบบ Subscription ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในอเมริกาที่เรียกว่าระบบ Firewall as a Service มาช่วยทำให้ระบบมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลและให้คำปรึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

firewall network

จุดที่น่าสนใจของ Firewall as a Service

  • มีพนักงานมาดูแลระบบองค์กรของคุณ ตลอดการใช้งาน

  • อัพเดทระบบงานตลอดเวลา ไม่ต้องรอช่างมา Service on site 

  • อุปกรณ์รุ่นใหม่และอัพเกรดให้ตลอดเวลาที่ใช้บริการ

  • ปรับสเกลเพิ่ม ลด ระบบไฟร์วอลล์ได้อย่างลื่นไหล

  • ยกเลิกบริการได้ทุกเมื่อที่คุณต้องการ 

บทสรุปความเจ็บปวดของไฟร์วอลล์เก่าๆ

การวางโครงสร้างระบบไฟร์วอลล์นั้น ถ้าหากมันครอบคลุมน้อยไปก็จะทำให้เราไม่แน่ใจว่าจะมีการดูแลที่ครอบคลุมหรือเปล่า

การมีโครงสร้างที่ใหญ่เกินไป นอกจากจะทำให้มีการดูแลมากขึ้นแล้ว ก็จะต้องการพนักงานผู้เชี่ยวชาญมาดูแล ซึ่งในปัจจุบันแรงงานด้านผู้ดูแลความปลอดภัยนั้นขาดแคลนอย่างมาก บริการ Firewall พร้อมผู้เชี่ยวชาญดูแล จะช่วยพัฒนาธุรกิจของคุณให้ก้าวกระโดดจากความปลอดภัยที่ปรับขนาดได้ตามความต้องการ

FWaaS advantage

บริการ Firewall พร้อมผู้เชี่ยวชาญดูแล FWaaS

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง และระดับสูงพิเศษ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล
  • เครื่องเสีย มีปัญหา เปลี่ยนใหม่ให้ทันที

ปรึกษาการทำระบบ Cyber Security

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

Firewall 5 วิธีเลือกซื้อไฟร์วอลล์ อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก ให้เหมาะสมกับธุรกิจ SMEs

firewall

Firewall เป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกหน่วยงานต้องมี ทั้งธุรกิจ SME กิจการเล็กใหญ่ หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ส่วนตัว เพราะปัจจุบันทุกองค์กรล้วนทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกันทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร งานตัดสต็อคสินค้า หรืองานดูยอดขายประจำวัน ที่สามารถเปิดดูยอดไม่ว่าจะอยู่ไกลอีกซีกโลก ที่มีอินเตอร์เน็ตใช้ก็ทำได้ ดังนั้นวันนี้ Prospace จะมาแนะนำการเลือกไฟร์วอลล์ให้เหมาะกับธุรกิจของแต่ละคนกันดีกว่า

Firewall คืออะไร

Firewall คือเครื่องมือกรองสิ่งแปลกปลอมทาง Network 

โดยปกติแล้วการใช้เครือข่ายในบริษัทนั้นจะมีอุปรณ์ที่ทำหน้าที่จัดระเบียบข้อมูล กรองข้อมูลเข้าออกบริษัท เพื่อรักษาความปลอดภัย รวมถึงปิดกั้นห้ามให้ในองค์กรเปิดเว็บไซต์อันตรายได้ สิ่งนั้นคืออุปกรณ์ที่เรียกว่าไฟร์วอลล์ โดยสเปคของเครื่องนี้ก็เหมือนกับการจัดสเปคคอมพิวเตอร์สักเครื่องหนึ่ง ถ้าหากเอามาใช้เปิดเน็ต ดูคลิปยูทูปบ้างเป็นครั้งคราวก็ไม่จำเป็นต้องใช้สเปคเร็วแรงอะไรมาก แต่ถ้าหากต้องการทำกราฟฟิก ออกแบบ งานสามมิติ หรือเล่นเกมส์ภาพสวยๆโดยเฉพาะ ก็จะมีการ customize เน้นการ์ดจอบ้าง เน้น Ram เยอะๆ หรือฮาร์ดดิสก์มากๆ ตามความต้องการ

Firewall hardware

ซึ่งอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ก็เป็นเหมือนกัน โดยสามารถเลือกตามฟีเจอร์ได้ว่าต้องการเน้นปริมาณการกรองข้อมูลมากน้อย เน้นการเก็บข้อมูลบนระบบ หรือเน้นการทำงานบน Cloud สิ่งเหล่านี้จะสามารถรู้ได้โดยการได้รับการประเมินความต้องการจากผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล เพื่อมาวางแผนออกแบบการวางระบบ Network ได้อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรนั่นเอง

เลือกให้เหมาะกับธุรกิจ

แต่ละธุรกิจจะมีสิ่งที่ละเอียดอ่อนต่างกันไป เช่น  โรงพยาบาล จะเน้นการเก็บข้อมูลความลับ ฉะนั้นรูปแบบการวางจะเน้นให้หมอเปิดดูข้อมูลคนไข้ในการดูแลได้ แต่ไม่อนุญาตให้ดูข้อมูลคนไข้คนอื่นได้ ในขณะที่บริษัทขายอุปกรณ์ก่อสร้าง อาจจะเน้นให้ฝ่ายขายเข้าถึงข้อมูลลูกค้าในบริษัท ในขณะที่ฝ่ายจัดซื้อไม่สามารถเข้าได้ ซึ่งเหล่านี้จำเป็นต้องออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของตัวเอง

ออกแบบระบบให้เหมาะสม

การจัดโครงสร้างไฟร์วอลล์ก็เป็นหัวใจสำคัญเช่นเดียวกัน ขออธิบายก่อนว่าไฟร์วอลล์ถ้าเปรียบอินเตอร์เน็ตเสมือนทางไหลของน้ำ อุปกรณ์ไฟร์วอลล์ก็จะเป็นเขื่อนที่กั้นไม่ให้น้ำป่าไฟลบ่าท่วมเมือง แต่ยังคงให้มวลน้ำไปหล่อเลี้ยงประชากรในเมืองได้ ฉะนั้นตำแหน่งการวางไฟร์วอลล์ที่เหมาะสมก็จะเหมือน “เขื่อน”ที่มีน้ำไปปหล่อเลี้ยงชาวเมือง แต่ไม่ทำให้เมืองจมบาดาล ฉะนั้นถ้าไปติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งท้ายเมือง ปลายน้ำ การติดตั้งไฟร์วอลล์ จะไม่มีประโยชน์ในการป้องกันอะไรเลย เลยเป็นที่มาว่าก่อนอื่นการออกแบบโครงสร้างอินเตอร์เน็ตขององค์กรตั้งแต่แรก จะช่วยให้ป้องกันอันตราย และอินเตอร์เน็ตไม่ช้าอีกด้วย

จุดอ่อน จุดแข็ง ของระบบที่บริษัทใช้?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นของการวางระบบให้เหมาะสมแล้ว การเข้าใจระบบทำงานของบริษัท จะช่วยให้สามารถปิดช่องว่างที่ทำให้ระบบโดนโจรกรรมได้ เช่น ถ้าบริษัทต้องติดต่อกับลูกค้าผ่านอีเมลเป็นประจำ ฉะนั้นวิธีการดูแลช่องทางนี้คือการหมั่นตรวจสอบลักษณะอีเมลก่อนเปิดเข้าไปอ่าน 

 

firewall

เล็กใหญ่ จำเป็นขนาดไหน?

เป็นคำถามที่ฮอตฮิตของคนที่จะซื้ออุปกรณ์ป้องกันการคุกคามสักเครื่องมากเลยทีเดียว ขนาดของระบบนอกจากจะช่วยให้อินเตอร์เน็ตที่เราใช้งานในบริษัทไม่ช้าแล้ว มันช่วยให้กรองทุกอย่างได้ทันท้วงที สมมติว่าเครื่องไฟร์วอลล์ XXX สามารถกรองข้อมูลได้เร็ว 100 Mbps แต่ปริมาณคนใช้มี 100 คนพร้อมกัน ทำให้แทนที่ถนนจะทำให้รถ 100 คันวิ่งด้วยความเร็วสูง แต่ดันมีด่านตรวจมากั้นทาง จึงเกิดรถติดหนึบนั่นเอง 

ต่อมานอกจากความเร็วในการกรองข้อมูลนั้นจำเป็นแล้ว ความเร็วในการตรวจข้อมูลต่างๆก็เป็นปัจจัยในการเลือกซื้อเช่นเดียวกัน สมมติว่าระบบตรวจข้อมูลได้ 100 ไฟล์ต่อวินาที แต่มีการดาวโหลดมา 200 ไฟล์ต่อวินาที ทำให้เกิดปัญหาอินเตอร์เน็ตช้า และบางครั้งจะทำให้ล่มได้เลยทีเดียว 

ผู้เข้าใจปัญหาระบบของรุ่นนั้นๆ 

สุดยอดความคลาสิกของปัญหาการใช้งานเลยทีเดียว สำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟร์วอลล์ นั้นถ้ามองให้เป็นรถสักรุ่นหนึ่ง เช่น รถ Toyota camry กับ Toyota corolla ที่สามารถขับได้เหมือนกัน เติมน้ำมันเหมือนกัน แต่ปัญหาการใช้รถ และระบบไฟนั้นแตกต่างกันออกไป จึงต้องใช้ช่างที่เชี่ยวชาญในรุ่นนั้นๆมาแก้ปัญหาให้ ระบบไฟร์วอลล์ก็เช่นเดียวกัน ในตลาดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ฉะนั้นเมื่อเลือกสเปคที่ต้องการนำมาใช้ได้แล้ว การเข้าไปส่องปัญหาประจำรุ่น มีแก้ไขปัญหา และช่างผู้ชำนาญการมาดูแลให้ จะช่วยให้ระยะยาวการลงทุนในไฟร์วอลล์ตัวนั้นจะช่วยให้ธุรกิจนั้นเดินต่อไปไม่สะดุดได้เลยทีเดียว

FWaaS เข้ามาดูแล Firewall อย่างเชี่ยวชาญ

ประวัติการแชท line ย้อนหลัง

ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network security ให้สอดคล้องกับการทำงานแบบ Work from home โดยใช้ความต้องการขององค์กรเป็นสำคัญ แบ่งระดับข้อมูล ความปลอดภัย โดยใช้ระบบเข้าข้อมูลหลายชั้นอย่างสมบูรณ์

Firewall as a Service

ออกแบบระบบที่เสถียรเพียงพอสำหรับปริมาณเครื่องลูกข่าย ทำให้ไม่มีปัญหาคอขวด ไม่มีปัญหาอินเตอร์เน็ตหน่วง และติดตามกลับทันทีในกรณีที่มีการพยายามโจมตีระบบเครือข่าย

Firewall as a Service

ระบบมีการ monitor โดย Cyber security ทำให้เสมือนการได้รับการดูแลโดยเชี่ยวชาญตลอดเวลา และแก้เคสหน้างานได้ทันทีผ่านระบบออนไลน์ ไม่ต้องจ้างทีม IT เชี่ยวชาญมาประจำ

ปรึกษาปัญหา Firewall กับเรา

ฝากคำถามไว้ที่นี่