Smishing SMS Phishing จัดการ ข้อความขยะ กู้เงิน พนันออนไลน์ หาย 100%

Smishing

การส่ง SMS เข้าเครื่องมือถือเพื่อส่งข้อความชวนเล่นพนันออนไลน์ ชวนกู้เงินวงเงินหลายหมื่นบาท หรือการแจ้งเรื่องพัสดุตกค้างของบริษัทไปรษณีย์ต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ของการหลอกลวงเอาเงิน สิ่งนี้เรียกว่า Smishing ที่เป็นการรวมกันของ SMS + Phishing (การตกเหยื่อ) ซึ่งเรียกว่า การตกเหยื่อจากการส่ง SMS นั่นเอง

Smishing (SMS Phishing) คืออะไร?

Smishing เป็นการรวมคำระหว่าง SMS (การรับข้อความบนมือถือ) + Phishing (การหลอกลวง) โดยวิธีการหลอกลวงการรับข้อความนั้นจะมาจากการส่งข้อความเข้าเบอร์มือถือคล้ายการโทรหลอกลวงของแก๊งคอลเซนเตอร์ เพียงแต่วิธีการนั้นจะเป็นเพียงการส่งข้อความแล้วหลอกให้ตามคำสั่ง วิธีการนั้นเราอาจจะเห็นได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความเพื่อให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพื่อรับเงิน ให้โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อรับดอกเบี้ย  เปิดบัญชีพนันออนไลน์ รวมไปถึงพัสดุต่างประเทศตกค้างต้องจ่ายเพื่อไม่ให้มีการดำเนินคดีกับเจ้าของ วิธีการที่เล่นกับความกลัว
Smishing

โดยวิธีการนี้ลอกเลียนแบบวิธีการตกเหยื่อจากอีเมล หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการทำมานานตั้งแต่ยุค 90s เมื่อมีการแพร่หลายของ Smartphone ทำให้มือถือที่เดิมเป็นเพียงอุปกรณ์รับเข้า โทรออก ส่งข้อความ ก็เปลี่ยนบทบาทมาเป็นคอมพิวเตอร์ สามารถทำธุรกรรมการเงิน ยืนยันตัวตน จนไปถึงการกู้ยืม โอนเงินข้ามโลกก็ทำได้เช่นเดียวกัน ทำให้วิธีการตกเหยื่อจากข้อความบนมือถือเป็นเทรนด์ที่เริ่มมีอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น 

การใช้วิธี SMS phishing คือการหลอกลวงทางข้อความ โดยผู้หลอกลวง จะแอบอ้างตัวเองว่าเป็น บริษัทที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อพยายามขโมยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินของเหยื่อ ด้วยการส่งข้อความไปหาเหยื่อบ่อยๆ ซึ่งไม่มีวิธีการที่ตายตัวเนื่องจากเป็นรูปแบบหนึ่งของ social engineering (วิศวกรรมสังคม) ที่จะเล่นกับจิตวิทยา ความกลัว อารมณ์ ความไว้วางใจ ความสับสน และความเร่งรีบในชีวิตของเหยื่อ เพื่อให้เหยื่อทำตามแผนของผู้หลอกลวงเอาข้อมูล

Smishing stat comparison
เปรียบเทียบสถิติการส่งอีเมล และ SMS ปรากฏว่าอัตราการเปิดอ่าน SMS แล้วตอบสนองกับข้อความมีมากกว่าอีเมลอย่างเห็นได้ชัด

 

  • สถิติพบว่า 45% ของข้อความ..เหยื่อจะยอมทำตามคำสั่ง

    มีการเก็บข้อมูลสถิติระหว่างการหลอกลวงโจรกรรมข้อมูลด้วยอีเมลบนคอมพิวเตอร์ กับการส่งข้อความเข้าไปในมือถือปรากฏว่าเมื่อส่งข้อความไป 100 ข้อความมีการเปิดอ่านจากมือถือถึง 4 เท่าตัว แต่นั่นเป็นข้อมูลที่เก่ามากแล้ว แต่ยังคงมีมูลในปัจจุบันอยู่เช่นเดียวกัน อาจจะเนื่องจากคนไทยเองมีพฤติกรรมการทำงาน การใช้มือถือแตกต่างจากประเทศที่มีการทำงานวิจัยฉบับนี้จากสหรัฐอเมริกา แต่วิธีการที่แฮกเกอร์จะใช้ต้มตุ๋นเหยื่อของเรานั้นก็จะวนเวียนอยู่ไม่กี่วิธีที่เราใช้งาน แต่หนึ่งในนั้นคือการส่งข้อความเพื่อให้ทำบางอย่าง แลกกับความกลัวที่เหยื่อนั้นมี

  • ธนาคารและบริษัท delivery ที่มีชื่อเสียงก็เคยได้รับผลกระทบนี้

     Scammer หรือ อาชญากรไซเบอร์นั้นสามารถส่งข้อความไปหาเหยื่อ โดยการแทรกข้อความลวงเข้าไปในระหว่างข้อความของบริษัทกับลูกค้า ในปี 2020 ธนาคารและบริษัท delivery ที่มีชื่อเสียงก็เคยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากกลยุทธ์นี้ ซึ่งใช้ประโยชน์จากความไว้วางใจของลูกค้า โดยการแอบอ้างว่าเป็นบริษัทที่พวกเขาเคยใช้บริการมาก่อนหน้านี้แม้ว่าการส่งข้อความไปหาเหยื่อนั้นจะไม่มีระบุในข้อความว่าเจาะจงใคร ไม่มีการแชร์ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินใด ๆ ของเหยื่อ เช่น ไม่ได้ระบุว่า คุณ A นามสกุล B เลขบัตร 122345 ในข้อความ แต่เนื้อหาในข้อความอาจจะเป็นเพียงแค่ “คุณสามารถกู้ได้ยอดเงิน 50,000 บาท ลงทะเบียน คลิก!”เมื่อเหยื่อคลิกลิงก์ลวงในข้อความ มันก็สามารถติดตั้งมัลแวร์ในโทรศัพท์ของเหยื่อได้แล้ว

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

วิธีการไหนที่เขาจะหลอกลวงเราบ้าง?

  • กดรับสิทธิ์ที่นี่

    Smishing SMS phishing
    ส่งข้อความ ได้รับสิทธิพิเศษ วงเงินกู้ โครงการของรัฐ หรือ ธนาคาร เพื่อให้กดลิงค์เข้าไปยืนยันรับสิทธิ์

    การรับข้อความในการกดรับสิทธิ์นั้นมีเพื่อจุดประสงค์ในการ “ต้องการข้อมูลส่วนตัว” ของเหยื่อ โดยอาจจะต้องกรอกชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประจำตัวประชาชน เงินเดือน บัญชีธนาคาร รวมถึงหน้าบัตรประชาชนหรือสมุดบัญชีก็ตาม โดยเมื่อผู้ไม่หวังดีได้ข้อมูลเหล่านี้ไปแล้วสามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปลอมแปลงเอกสารทางราชการ การไปเปิดบัญชีเล่มใหม่ หรือหลอกล่อให้เหยื่อนั้นโอนเงินไปเพื่อเรียกค่าไถ่ข้อมูลก็อาจจะเป็นไปได้ ถ้าหากได้รับข้อความประมาณนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกรอกรับสิทธิ์ที่มีลิงค์แนบมา ไม่ว่าจะเป็นของจริงหรือของปลอม “ห้ามเปิดเด็ดขาด” จนกว่าจะมั่นใจว่าข้อมูลนั้นจริง อย่างเช่นการโทรกลับไปหาคอลเซนเตอร์ของธนาคาร ติดต่อกับหน่วยงานที่ส่งข้อมูลมาผ่านคอลเซนเตอร์ทางการ ซึ่งขอให้ตั้งข้อสงสัยเป็นอันดับแรกว่าถ้าหากมีการอนุมัติวงเงิน หรือ สิทธิประโยชน์ทางการเงิน จะไม่ได้รับง่ายขนาดนั้นเนื่องจากในชีวิตจริงการอนุมัติวงเงินของธนาคารนั้นจำเป็นต้องมีทั้งข้อมูลทางการเงินของเรา เครดิตบูโร รวมถึงการลงนามในเอกสาร ดังนั้นถ้าหากการได้มานั้นดูแปลกประหลาด ให้สันนิฐานว่าเป็นการหลอกลวง

  • ทักไลน์มา

    Smishing SMS phishing
    ข้อความหลอกลวงให้สมัครงาน ไปดูคลิป ทำอะไรที่ง่ายแต่ได้เงินสูง โดยให้ติดต่อไปในช่องทางอื่น

    สำหรับการที่แฮกเกอร์จะใช้วิธีการนี้สำหรับวิธีหลอกลวงที่ต้องการใช้จิตวิทยาในการหลอกลวง โดยแอพพลิเคชั่นที่คนไทยเกือบทุกคนนั้นมีติดเครื่องมือถือ การส่งข้อความโดยทิ้ง Line ID ไว้ในนั้นเพื่อให้เหยื่อแอดไป แล้วจากนั้นจะมีการหลอกลวงให้เหยื่อให้ข้อมูลบัตรประชาชน หรือ ข้อมูลส่วนตัวในการไปเปิดใช้งานบางอย่าง (ซึ่งที่เห็นกันบ่อยคือเว็บพนัน หรือ กู้เงินด่วน) เพียงแต่เปลี่ยนจากการกรอกข้อมูลบนเว็บมาเป็นการแชทแทน

  • โหลดแอพ / คลิกลิ้งค์นี้ / ส่งข้อความไม่รู้เรื่อง

    Smishing SMS phishing
    ข้อความที่ส่งมาไม่รู้เรื่อง ไม่มีรายละเอียด ไม่มีที่มาที่ไป และทิ้งลิงค์ไว้เพื่อให้เผลอกดเข้าไปโหลดไวรัส

    วิธีการติดตั้งแอพพลิเคชั่นโดยผ่านลิงค์แล้วมีการดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งโดยทันที วิธีการนี้จะเป็นการติดตั้งไวรัสโดยตรงเข้ากับเครื่องมือถือ (โดยมากพบในระบบปฏิบัติการแอนดรอย) โดยวิธีการที่มีการเคยพบการหลอกลวงนี้ คือแอพพลิเคชั่นของรัฐที่มีการแจกเงินช่วยเหลือ แอพพลิเคชั้นการเงินการธนาคาร โดยจุดประสงค์การหลอกลวงนั้นก็ยังคงเป็นการหลอกลวงเอาข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลบัตรประชาชนและเอกสาร ในกรณีที่หนักขึ้นไปก็จะเป็นการขอเข้าถึงข้อมูลต่างๆในมือถือ รูปภาพ การเปิดแอพพลิเคชั่นอื่น การเปิดกล้อง การอัดเสียง ซึ่งอาจจะไม่ทราบจุดประสงค์การแฮกที่แน่ชัด เหล่านี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้

วิธีป้องกันข้อความ Smishing (SMS Phishing)

  • อัปเดตมือถือให้เป็นความปลอดภัยรุ่นล่าสุด.

    แน่นอนว่าทุกความปลอดภัยของเครื่องมือถือ หรือ คอมพิวเตอร์นั้นจำเป็นต้องมีการอัปเดตฐานข้อมูล ทั้งฐานข้อมูลไวรัส ฐานข้อมูลช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ ถ้าหากมีการแจ้งเตือนเพื่ออัปเดตอย่าลืมรีบอัปเดตฐานข้อมูล หรือสามารถอัปเดตได้ตามวิธีการนี้ (แตกต่างกันออกไปทั้งแอนดรอย และ IOS แต่วิธีการใกล้เคียงกัน)

    1) เข้าไปที่ setting (ตั้งค่า)

    2) เข้าไปที่ about phone (เกี่ยวกับมือถือ)

    3) เวอร์ชั่นของปฏิบัติการ

    4) ตรวจหาการอัปเดต แล้วถ้าหากมีการอัปเดตก็กดอัปเดตได้เลย

    SMS phishing in Thailand
    ข้อความที่ส่งมาจะอ้างถึงธนาคาร สถาบัน ว่าได้สิทธิ์ต่างๆ ให้ไปกรอกรายละเอียด

     

  • บลอคข้อความด้วยตัวเอง

    ปัจจุบันมือถือค่ายต่างไม่ว่าจะเป็นแอนดรอยหรือไอโฟน ก็จะมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่คัดกรองข้อความที่เหมือนแสปม มีลิงค์ ไม่ใช่ผู้ติดต่อหลักหรือมาจากเบอร์ที่รู้จัก ทำให้ข้อความเหล่านั้นจะถูกคัดกรองไว้ในกล่องข้อความขยะ แต่ถ้าหากข้อความเหล่านั้นยังหลุดรอดเข้ามาได้ในกล่องข้อความหลัก สามารถกดเพื่อบอกให้ระบบรู้ว่าเป็นข้อความขยะ (แตกต่างไปตามแบรนด์ของโทรศัพท์) ก็จะช่วยกรองข้อมูลให้ไม่เจอข้อความเหล่านั้นในครั้งต่อไป

  • กดยกเลิกรับข้อความทั้งหมดจากค่ายมือถือ

    ปัจจุบัน กสทช นั้นมีสายด่วนที่จะยกเลิกข้อความทั้งหมดที่เสียเงินและไม่เสียเงินจากค่ายมือถือต่างๆ โดยสามารถกดเข้าไปได้ที่ *137 โทรออก จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนที่นระบบแนะนำได้เลย

  • สติ สติ สติ

    เหนือสิ่งอื่นใดต่อให้มีระบบที่มั่นคงปลอดภัยสูงอย่างไรก็ตาม ถ้าหากผู้ใช้งานขาดความเข้าใจในการใช้งาน จนทำให้ยินยอมให้มีไวรัสเข้าเครื่อง มีการหลอกของเหล่าอาชญากรไอทีได้ในสักวัน ดังนั้นนอกจากทำความเข้าใจ เรียนรู้กับทริคที่มีการหลอกลวงแล้ว ที่เหลือก็เป็นสติ สติ สติ ที่จะพาเรารอดพ้นจากทุกถานะการณ์

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

บริการ Firewall พร้อมผู้เชี่ยวชาญดูแล

บริการ Firewall แบบ subscription พร้อมทีมงานดูแลระบบหลังบ้าน จัดการ configuration และใบอนุญาตการอัปเดต โดยไม่ต้องจ้างพนักงานมาดูแลเพิ่ม จัดการระบบหลังบ้านของบริษัทโดยไม่ต้องเพิ่มคน