เรซูเม่ที่ Google คัดคนเข้ามาสัมภาษณ์งาน IT เป็นยังไง ลองทำตามได้

Google สัมภาษณ์งานยังไง

ในทุกการทำงานของเราล้วนมีเป้าหมายชีวิตไปผสมอยู่ ตั้งแต่เราเริ่มทำงานครั้งแรกก็คาดหวังจะเติบโตในสายอาชีพ หลายคนอาจจะยังไม่เคยเปลี่ยนงานมาก่อน หรือหลายคนเปลี่ยนมาอย่างโชกโชน แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ทุกครั้งที่เปลี่ยนที่ทำงาน มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ว่าที่บริษัทใหม่จะรู้จักเราได้คือเอกสารแนะนำตัวเองเบื้องต้นที่เรียกว่า เรซูเม่ วันนี้เราจะพามาดูเรซูเม่ที่ Google รับพนักงานเข้าไปสัมภาษณ์ ดูที่อะไรบ้างนะ?

วัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน

ก่อนอื่นถ้าหากใช้วิธีนี้ไปกับการรับสมัครงานของไทยอาจจะไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด แต่สามารถประยุกต์ให้เข้ากันได้ โดยที่วัฒนธรรมการทำงานของประเทศทางตะวันตกส่วนใหญ่จะไม่มีรูปภาพ ไม่มีอายุ ประกอบการพิจารณา ทั้งนี้เนื่องจากป้องกันการตัดสินด้วยหน้าตา และอายุนั่นเอง

ไฮไลท์

องค์กรอย่างกูเกิ้ลปัจจุบันมีคนสมัครกว่าปีละ 2 ล้านคน ทำให้การคัดเลือกใบสมัครแต่ละใบต้องใช้การคัดเลือกด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ คีย์เวิร์ด ในการคัดกรองครั้งแรกจากนั้นผู้ที่เลือกใบสมัครนั้นจะมีเวลาคัดทิ้งใบสมัครที่ไม่เข้าตาอีกรอบหนึ่ง ดังนั้นการทำเรซูเม่ฉบับแผ่นเดียว เลือกมาเฉพาะผลงานและการทำงานที่เด่นเท่านั้น จะทำให้เข้าตากรรมการก่อน

ตำแหน่งการวาง Resume Google

เรซูเม่

ก่อนอื่นเรซูเม่ดังกล่าวเป็นตำแหน่งวิศวกรซอฟแวร์ ดังนั้นตำแหน่งอื่นในไอทีอาจจะปรับข้อมูลตามสายงานเฉพาะทางของตัวเองได้ โดยในตัวอย่างนี้จะแบ่งเป็น 4 ส่วนและจะมีตัวอย่างสองแบบ ทั้งจัดเรียงหน้าแบบ 1 และ 2 คอลัมน์ โดยคีย์เวิร์ดที่เอามาใส่ จะมีส่วนต่อการคัดเลือก เช่น AI , DATA, ANALYSIS ตามแต่ตำแหน่งนั้นจำเป็น ยิ่งมีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ AI จะคิดว่ามันเกี่ยวข้องมาก เหมือนลักษณะการทำงานของ SEO ของ Google นั่นเอง

ตำแหน่งการวาง Resume Google

  • ส่วนแรกคือ ชื่อ-นามสกุล

    ตามด้วยที่อยู่ อีเมล และเว็บไซต์ที่เก็บผลงาน ในสายโปรแกรมเมอร์จะใช้ Github

  • ประวัติการศึกษาและใบรับรองการจบคอร์สอบรม

    การศึกษานั้นโดยทั่วไปอาจจะไม่ต้องเอาถึงขั้นมัธยมมาประกอบบนโปรไฟล์ แต่เน้นการอธิบายคณะที่เรียน สาขาเอก สาขาโท เกรดเฉลี่ยการเรียน ส่วนใบรับรองการจบคอร์สอบรมก็แจ้งว่าเป็นการอบรมอะไร ออกโดยหน่วยงานไหน ซึ่งในประเทศตะวันตกจะมีแพลตฟอร์มการเข้าอบรมที่ยอมรับกันอยู่แล้ว เช่น Bootcamp, Freecodecamp, Google certificate , Microsoft certificate 

  • ผลงานที่เคยทำ โปรเจคที่เคยร่วมงาน

    กรณีที่เป็นโปรแกรมเมอร์ก็จะแสดงว่าทำเกมส์ ทำแอพ ด้วยภาษาอะไร เกิดผลลัพธ์อะไร ถ้าในตำแหน่งไอทีซัพพอร์ตอาจจะพูดถึงการวางระบบเน็ตเวิร์คด้วยโปรแกรมอะไร เกิดอะไรขึ้น ช่วยพัฒนาอะไรบ้าง

  • ประสบการณ์การทำงาน

    ส่วนนี้เป็นการอธิบายถึงปีที่ทำงาน ชื่อบริษัท ตำแหน่ง และทำอะไรบ้างในระหว่างนั้น

ค่าพลัง Resume Google

  • ทักษะการทำงาน ทั้งแบบทางตรงและทางอ้อม

    ในส่วนนี้ระวังการใส่กราฟพลังงาน เปอร์เซ็นต์ความเชี่ยวชาญ เพราะผู้เลือกอาจจะไม่รู้ว่าแถบพลังเท่านี้มีความสามารถขนาดไหนแล้วอาจจะถูกคัดออก โดยทักษะการทำงานอาจจะแบ่งเป็นสองแบบ ทักษะทางตรง (Hard skills) คือเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน เช่น เขียนโปรแกรม ใช้โปรแกรม เขียนแบบด้วยวิธีไหน และทักษะทางอ้อม (Soft skills) ที่จะเป็นประโยชน์ เช่น ทักษะการขาย ทักษะการตลาด ทักษะการเจรจาต่อรอง เป็นต้น

  • เริ่มต้นและไปต่อ

    ถึงอย่างไรก็ตามนอกจากการแนะนำตัวเองเบื้องต้นจากกระดาษ 1-2 แผ่นในการแนะนำตัวเองผ่าน PDF หรือซองจดหมาย แล้วการเตรียมตัวสัมภาษณ์ทั้งการสอบและการเตรียมพรีเซ้นต์ตัวเองก็จะช่วยเพิ่มให้ได้รับการตอบรับเข้าทำงานได้อย่างง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เกณฑ์การสมัครงานนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป ควรจะศึกษาก่อนการส่งใบสมัครด้วย

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเข้าเลือกทำงานบริษัทใหญ่ระดับโลกก็เป็นความฝันของหลายคนในชีวิตการทำงาน ดังนั้นการศึกษาวัฒนธรรมที่แตกต่างจะเป็นประโยชน์ในวันที่ต้องร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานนานาชาติ ถ้าหากมีคำถามด้านการทำงานด้านระบบไอที สามารถปรึกษาทีมอาสาสมัครของเราได้ฟรีเพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้


References :
Source1
Source2

Contact us

5 วิธี ตอบคำถามสัมภาษณ์งานแสบๆ ขอส่องเฟส แต่งงานยัง เป็นตุ๊ดไหม ตอบไงดี?

5คำถามตอนสัมภาษณ์งานแปลกๆ

โดยปกติการสัมภาษณ์เข้าทำงานที่ต่างๆนั้นก็จะมีการถามตอบในเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวกับงาน ทัศนคติ และไหวพริบของเรา แต่มีทั้งคำถามที่ดี และสร้างกระอักกระอ่วนในชีวิตประจำวันของเรา ที่ขอดูพื้นที่ส่วนตัว การแสดงออกต่างๆที่เราไม่สะดวกใจจะตอบ มี 5 ข้อวิธีการจัดการคำตอบ และแก้เผ็ดแผนซ้อนแผนได้ยังไงกัน

ถามประสบการณ์การทำงานจากเด็กจบใหม่

  เป็นคำถามที่จึ้งของเด็กจบใหม่ไม่เคยผ่านงานมาก่อน ถึงในใจอยากจะตะโกนไปดังๆ “ถ้าพี่ไม่ให้หนูทำงานก่อน จะไปค้นประสบการณ์มาจากไหนวะะะ”แต่เดี๋ยวก่อน! มันไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้นหรอกนะ แต่มันอาจจะหมายถึงการเอาเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำแหน่งที่เราอยากจะหาประสบการณ์มาเล่าให้ผู้สัมภาษณ์ฟังต่างหาก โดยความหมายแฝงของมันคือ การใช้ไหวพริบแก้ปัญหา และการแสดงออกว่าบริษัทจะคุ้มค่าอย่างไรถ้าเอาเรามาเป็นจิ๊กซอว์ที่ขาดหายไปนี้

แนวทางการตอบ ในกรณีที่ไม่เคยทำงานนี้ หรือเป็นเด็กจบใหม่ เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ต่อสิ่งนั้น เช่น น้องมีประสบการณ์ด้านการตลาดออนไลน์บ้างหรือเปล่า ไม่ได้หมายความว่าเคยทำงานด้านนี้มาไหม แต่หมายถึงเราสนใจและเข้าไปทำอะไรกับสกิลนี้บ้างหรือยัง ถ้าสนใจการตลาดเคยทำอะไรเกี่ยวกับการตลาด มีเกรดวิชานี้เพราะอะไร ทำงานวิจัยแบบไหนมา เป็นเรื่องที่ต้องทำการบ้านก่อนออกไปสัมภาษณ์ในตำแหน่งนั้นๆเลยก็ว่าได้ 

ถ้าใช้การตอบแบบไม่ต้องอิงประสบการณ์ทำงานตรง ก็อาจจะเล่าถึงประสบการณ์การขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์มของตัวเอง ประสบการณ์การทำเพจ เขียนคอนเท้นท์ หรือการใช้ Infographic มาเล่าเรื่องจากภาพ ก็จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นแววการจ้าง ว่าจะช่วยพัฒนาองค์กรไปทางไหนได้ชัดเจนระดับ Full HD เลย

คุณมีแฟนหรือยัง

นี่อาจจะรวมถึงบางทีก็ถูกถามว่าแต่งงานมาหรือยัง ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์ไม่ได้เกรียนไปถึงขั้นถามเจาะไปถึงลูกเต้าเหล่ากอ ญาติโกโหติกา เรื่องส่วนตัวขนาดนั้น การถามด้วยประเด็นนี้ในตำแหน่งงานที่อาจจะละเอียดอ่อนกับการทำงานก็ได้ 

ดังนั้นถ้าหากตำแหน่งที่อาจจะอยู่ใกล้ครอบครัว เดินทางเป็นประจำ คำถามนี้อาจจะพาคัดกรองคนที่ไม่สะดวกออกไปก่อน แต่ถ้าหากเราอยากจะได้จริงๆ การโกหกสีขาว (พูดไม่จริงเพื่อให้คนอื่นสบายใจ) ก็อาจจะทำให้ได้งานมากขึ้น

แนวทางการตอบ ในกรณีนี้สามารถออกได้ทั้งสองประเด็น ทั้งมีแฟนแล้ว และไม่มี ขึ้นอยู่กับลักษณะและตำแหน่งของงาน ถ้าหากเป็นคอนเท้นท์ครีเอเตอร์สำหรับพ่อแม่มือใหม่ ผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำหรับเด็ก  คนที่มีครอบครัวจะได้ประโยชน์จากการสัมภาษณ์ ขณะที่ถ้าเป็นเซลล์ที่ต้องเดินทางห่างบ้าน พนักงานบนเรือ หรือ พีอาร์ที่ต้องเดินสาย การตอบว่า “โสด” จะทำให้มีโอกาสได้งานมากกว่า

คุณเป็นตุ๊ด เกย์ ทอม (LGBTQ) หรือเปล่า

ในยุค 2020s ในประเทศไทยการแยกเพศ LQBTQ ในการทำงานก็เริ่มจะเป็นที่ถกเถียงว่าเหมาะสมหรือเปล่า เพราะปีที่ผ่านๆมา เพศ LQBTQ เองก็ได้เป็นพรีเซนเตอร์ชุดชั้นในผู้หญิงได้ ดังนั้นองค์กรที่ยังต้องการความมั่นใจว่าเป็นเพศทางเลือกหรือเปล่า อาจจะทำให้ภาพลักษณ์องค์กรดูอนุรักษ์นิยม แน่นอนว่าเราในฐานะผู้ถูกสัมภาษณ์ “มีสิทธิ์” ตัดองค์กรที่ไม่ตรงใจทิ้ง ในกรณีที่ไม่ได้ชอบวัฒนธรรมเหล่านี้แต่ต้องการเข้าไปทำงานไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เราต้องเอาปัจจัยอื่นมาประกอบการตอบคำถามด้วย

แนวทางการตอบ ถึงแม้ในใจอยากจะบอกพี่ว่า “เ-ือก” แต่เราก็ได้แต่นั่งยิ้ม ต้องกลับไปทบทวนตัวเองก่อนเบื้องต้นว่า “ฉันเป็นตัวตนของฉัน และฉันเป็นเพศอะไรก็ได้ที่อยากจะเป็น” ถ้าเรามีความคิดและไอเดียนี้แล้ว ก็ตอบไปอย่างภาคภูมิได้เลย การเลือกไม่ร่วมงานกับองค์กรที่ไม่ตรงกับทัศนคติทั้งสองฝ่าย ถอนตัวมาแต่แรกน่าจะดีกว่า แต่ถ้ายังอยากจะทำงานร่วมกัน แต่อยากโยนหินถามทาง การเลือกตอบแบบเพศทางกายภาพ (ชาย-หญิง) จะเป็นกลาง ในการตอบคำถามนี้

ที่นี่ทำงานแบบครอบครัวนะ รับได้ไหม?

สังคมไทยขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศด้วยบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางกว่า 2 ล้านรายดังนั้นหลายที่จะมีวัฒนธรรมแบบครอบครัว พี่น้อง ลูกหลาน ซึ่งความหมายหนึ่งคือการทำงานแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ผิดนิดหน่อยก็ยอมๆกันไปเหมือนคนในครอบครัว แต่อีกความหมายถึงคือการขับเคลื่อนองค์กรโดยการตัดสินใจจากผู้อาวุโสกว่า องค์กรแบบนี้เลยเป็นเหมือนด่านวัดใจว่า “ครอบครัว” นี้จะเลือกฟังแค่ พ่อแม่ หรือฟังความคิดเห็นจาก ลูก หรือ ลูกจ้าง บ้างหรือเปล่า

แนวทางการตอบ ปัญหาโลกแตกข้อนี้ขึ้นอยู่กับว่า “เรา” ในฐานะลูกจ้างมีทัศนคติต่อองค์กรแบบนี้ยังไง อย่างเช่นว่า ถ้าในภาพการทำงานของเราเองอยากจะแสดงผลงาน และทักษะการทำงานแบบบึ้มๆ การร่วมงานกับสตาร์ทอัพจะช่วยให้ได้แสดงฝีมือมากกว่า แต่ถ้าหากทัศนคติการทำงานแบบไม่ต้องรับแรงกดดันจากสิ่งรอบข้างมาก การรับฟังคำสั่ง หรือชอบลักษณะงานเหล่านี้ การร่วมงานกับองค์กรที่ทำงานแบบครอบครัว ก็จะตอบโจทย์การทำงานนี้

ขอส่องเฟส(โซเชี่ยลมีเดีย)หน่อยสิ

หลากหลายบริษัทเริ่มที่จะขอส่องโซเชี่ยลมีเดียของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหลายครั้งการสัมภาษณ์กำลังดำเนินไป การพูดคุยกันแบบลื่นคอมาตลอด แต่ในโซเชี่ยลมีเดียเราเป็นคนละเรื่องกับภาพลักษณ์ที่แสดงอยู่ ก็เกิดความกระอักกระอ่วนใจได้ทั้งสองฝ่าย แล้วเราจะแก้เผ็ดยังไงดี งานก็อยากได้ คนสัมภาษณ์(ตู)ก็หมั่นไส้

แนวทางการตอบ ถ้าหากการทำบัญชีตัวเลขหลายบริษัทมีสองเล่ม สามเล่มแล้วแต่จะโชว์ให้ใครดู การที่ผู้สมัครงานมีบัญชีที่สอง บัญชีที่สามก็คงทำได้เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนถาม 5555+ ฉะนั้นการโชว์บัญชีโซเชี่ยลมีเดีย ไลฟ์สไตล์ต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฏเกณฑ์อะไร ถ้าหากสร้างบัญชีซ้อนขึ้นมาอีกอัน แสดงชีวิตที่เราต้องการให้คนอื่นเห็นก็คงทำได้ แต่ถ้ารู้สึกไม่โอเคกับการขอดูนี้ ก็สามารถ “ปฏิเสธ” ได้เช่นกัน ถ้าหากว่าการ “ขอ” นี้เป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวเกินไป ปล.บัญชีโซเชี่ยลที่ใช้จริงไม่ควรเป็นชื่อนามสกุลจริง เพราะอาจจะถูกค้นหาได้ตั้งแต่การส่ง Resume เข้าไป หรือย้ายไปเล่นทวิต อาจจะช่วยก็ได้นะ ฮ่าๆ

สรุป

ถึงแม้ทุกวันนี้เริ่มมีคำถามท้าทายไหวพริบเรามากยิ่งขึ้น ทั้งการถามเชิงแก้ปัญหา ปัญหาการคุมอารมณ์ขณะสัมภาษณ์ หรือการแก้ปัญหาตอนที่ตอบคำถามไม่ได้ว่าจะทำยังไง สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนเป็นนัยน์แฝงของการให้คะแนนสัมภาษณ์เหมือนกัน หัวใจหลักของการสัมภาษณ์ คือการค้นหาทัศนคติ วัฒนธรรม ใกล้เคียงกัน จะช่วยให้ทำงานด้วยกันได้ไปยาวๆ

อย่าลืมว่าการยื่นเอกสารส่วนตัวของเราให้บริษัท องค์กรต้องมีใบอนุญาตยินยอมขอเก็บข้อมูลของเรา บอกว่าจะเอาไปทำอะไร เก็บไว้ที่ไหน ตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ที่จะบังคับใช้ 1 มิ.ย.65 เพื่อป้องกันบริษัทถูกฟ้องร้องและดูแลทีมงานของคุณให้สมศักดิ์ศรีพนักงานบริษัทของคุณ โดยกรอกแบบฟอร์มปรึกษาการเริ่มทำ PDPA ได้เลย

Contact us

สมัครงาน ยังไง ให้บริษัทจ่ายค่าปรับเป็นล้าน ทำได้จริง!!!

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สมัครงาน เป็นกระบวนการที่วัยทำงานเกือบทุกคนต้องเคยผ่านมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเอกสาร การเตรียมวุฒิการศึกษาต่างๆ ซึ่งหลังจากมีการประกาศใช้ PDPA ที่เป็นกฏหมายการเก็บข้อมูลลูกค้า อย่างนั้นเองรู้หรือเปล่าว่าแค่การสมัครงานก็อาจจะทำให้เราได้เงินล้านได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

ทำไมต้องใช้เอกสาร สมัครงาน

จะว่าไปเคยสงสัยหรือเปล่า ทำไมทุกครั้งที่เราต้องการ สมัครงาน ใหม่ถึงต้องมีการขอเอกสารเยอะแยะไปหมด

ทำไมเข้าไปทำงานแล้วพอจบวันก็รับเงินแบบนี้ได้หรอ??? … แน่นอนว่าได้ ถ้าหากต้องการอย่างนั้น ถ้าหลายคนเคยรับจ้างทำงานต่างๆ จ้างพิมพ์งาน จ้างตัดหญ้า จ้างขับมอไซค์ ฯลฯ ที่เป็นอาชีพที่ไม่มีรายได้ประจำ หรือ ฟรีแลนซ์ 

การที่ยืนยันตัวตน การขอเอกสารสิทธิ์ต่างๆก็ไม่จำเป็นแน่นอน แต่ถ้าพอเปลี่ยนจากพนักงานรายวัน มาเป็นการทำงานด้วยการรับเงินเดือน เข้ากรอบกฏหมายแรงงาน มีสิทธิ์เรียกร้องสิ่งต่างๆได้ด้วยหลักฐาน การสมัครงานด้วยเอกสารจะเข้ามาดูแลเราในวันที่นายจ้างอยู่ๆจะเลิกจ้าง ไม่จ่ายเงินเดือน หรือไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม ทางภาครัฐฯจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพื่อมาคุ้มครองเราได้ตามกรอบของกฏหมาย

สมัครงานสมัครงาน ใช้เอกสารอะไรบ้าง

โดยปกติการสมัครงานที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้สมัครในประเทศไทย จะมีดังนี้

  1. เรซูเม่

    เป็นการเปิดโลกให้คนที่ไม่รู้จักเรา เข้าใจใน 1 หน้ากระดาษ ดังนั้นทักษะการนำเสนอตัวเองลงกระดาษจะช่วยให้ฝ่ายบุคคลนั้นคัดกรองครั้งแรกผ่านหน้ากระดาษแผ่นนี้ได้

  2. หลักฐานการศึกษา หรือ วุฒิการศึกษา

    สำหรับเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน การมีทรานสคริปสวยๆจากเกรดในวิชาเรียนจะช่วยให้คนเห็นตัวเลขเกรดในวิชานั้นๆได้ก่อน ฉะนั้นการตั้งใจเรียนไม่ได้หมายความว่าจะทำงานได้เก่ง แต่มันอาจจะเป็นแค่ไม่กี่ปัจจัยที่ทำให้คนที่เพิ่งเจอเรารู้ถึงความมุมานะในการเรียน 

  3. ทะเบียนบ้าน

    เอกสารเหล่านี้ปัจจุบันไม่ต้องถ่ายเอกสารจากตัวเล่มจริงประจำบ้านก็ได้ ในกรณีที่ไม่สะดวกเดินทางกลับบ้านไปถ่ายเอกสาร สามารถขอคัดสำเนาได้ที่สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งบางทีมีที่ตั้งสาขาในห้างสรรพสินค้า โดยการใช้บัตรประชาชนใบเดียวยื่นไปขอคัดสำเนาเท่านั้นเอง

  4. บัตรประชาชน

    แผ่นการ์ดพลาสติกใบนี้เป็นเสมือนตัวแทนของเราเอง ฉะนั้นบัตรประชาชนใบนี้จะตามไปทุกที่ ที่ใช้การยืนยันตัวตน โดยให้คัดลอกสำเนาเพียงด้านหน้า “อย่า”คัดลอกด้านหลังไปด้วย เพราะปัจจุบันตัวเลขด้านหลังของบัตรประชาชนจะเป็นตัวยืนยันตัวเองว่าเราเป็นเจ้าของจริง ไม่ใช่ใครแอบขโมยมา ดังนั้น “ห้ามคัดลอกสำเนาด้านหลัง” 

  5. รูปถ่าย

    ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วทางแถบแสกดิเนเวียน จะไม่มีการใช้รูป 1 นิ้ว 2 นิ้วในการสมัครงาน แต่ถ้ามาตรฐานในประเทศของเราการมีรูปถ่ายยังคงจำเป็นสำหรับการเข้าทำงาน รวมทั้งการใช้รูปภาพไปติดหน้าบัตรพนักงาน และการเก็บเอกสารเข้าไปในฐานข้อมูลบริษัท

  6. ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ สด.9

    สำหรับผู้ชายเอกสารการผ่านการผ่านพันธะทางทหารจะเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทจะนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรกๆ เพราะถ้าหากต้องมีการเกณฑ์ทหาร เพราะถ้าถูกเกณฑ์ไปจะทำให้เราต้องลาออกจากการทำงานกลางคัน ในกรณีที่มีการเรียกฝึกกำลังพลของคนที่เรียน รด. บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ไปฝึกกำลังพลไม่เกิน 60 วัน

  7. ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมต่างๆ

    สำหรับคนที่เปลี่ยนงานมาหลายครั้งด้วยการอัปเกรดทักษะให้มากขึ้น ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น การมีใบรับรองการฝึกอบรมจากสถาบันต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่นายจ้างจะนำมาพิจารณาจ้าง และไม่ต้องเสียเวลามาลุ้นว่าพนักงานที่จะจ้างมาทำตำแหน่งนั้นได้ดีหรือเปล่า

  8. ใบประกอบวิชาชีพ

    ในกรณีที่ทำงานที่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ เช่น ตรวจสอบบัญชี ลงนามในการก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม หรือผู้ควบคุมอากาศยาน เหล่านี้จำเป็นต้องมีใบวิชาชีพที่กำหนดตามกฏหมายมาประกอบด้วย รวมถึงใบขับขี่ในกรณีที่ต้องใช้ยานพาหนะทำงาน

  9. พอร์ตผลงาน

    เกณฑ์การพิจารณาของกลุ่มคนทำงานด้านศิลป์ หรือ ในตำแหน่งที่ต้องมีผลงานมาพิจารณา การเก็บผลงานเด่นๆมานำเสนอให้กับว่าที่นายจ้าง จะทำให้ว่าที่บริษัทที่เราจะทำงานด้วย ได้เห็นผลงานการทำงานได้ง่าย รวมไปถึงเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่ง และค่าจ้างก็มีผลมาจากผลงานที่สะสมไว้ด้วย

  10. ใบตรวจร่างกาย

    หลายบริษัทจะมีการตรวจร่างกายเข้าทำงาน ตรวจสารเสพติด หรือเช็คประวัติอาชญากรรม โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิดบางบริษัทที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มก็อาจจะต้องตรวจ ATK ให้กับพนักงาน หรือต้องการเอกสารรับรองการตรวจหาโควิดก่อนที่จะเข้าทำงานด้วยนะ

อย่าส่งบทความนี้ไปให้นายจ้างรู้

เราจะพบว่าข้อมูลส่วนตัวของเราเกือบทั้งหมดในชีวิต ถ้าไม่รวมบัตรเครดิตและใบแจ้งหนี้ของเรา ก็ตกเป็นของบริษัทโดยเกือบชอบธรรม

ไม่รวมว่าวันหนึ่งอาจจะมีการตรวจสอบเจอว่าเราไปแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน หรือแอบเอาข้อมูลเราส่งไปให้บริษัทขายประกันโทรมาอีก..ทำยังไงดีละทีนี้ หึหึ

เลยเกิดเป็น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภค (PDPA) ขึ้นมาคุ้มครองในกรณีที่อยู่ๆบริษัทแอบเอาข้อมูลของเราไปสมัครทำอะไรที่เราไม่ต้องการ เอาไปลงชื่อเข้าร่วมแคมเปญที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เหล่านี้เรามีสิทธิ์จะฟ้องร้องค่าเสียหายจากการกระทำของบริษัท โดยการฟ้องร้องค่าเสียหายได้

โดยที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่บริษัทเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลอีเมลไปแอบตรวจเช็คบัญชีโซเชี่ยลมีเดีย หรือไปแอบสืบมาว่าเราเคยทำอะไรมาก่อนแล้วมาเป็นเหตุผลการเลิกจ้าง เหล่านี้ทำให้เราสามารถป้องกันตัวเองจากนายจ้างที่ทำอะไรไม่เข้าท่าจากกฏหมาย PDPA ด้วย

สมัครงานนายจ้างจะลืมป้องกันตัวเองตอนไหน?

จากการบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้ถ้าหากว่าเราในฐานะลูกจ้าง ก่อนที่จะให้เอกสารการสมัครงานต่างๆก็ตาม

สิ่งที่จำเป็น และต้องมีคือการมีเอกสารสัญญาฉบับหนึ่งในการบอกกล่าวเราว่าเอกสารที่ได้จากเราจะเอาไปต้มยำทำแกง อะไรบ้าง จะเอาไปเก็บไว้ยังไง เก็บที่ไหน เอาข้อมูลไปทำอะไร สิ่งไหนที่ทำได้ ทำไม่ได้ โดยแล้วแต่กฏเกณฑ์การทำงานของแต่ละองค์กร จากนั้นมีการลงชื่อว่าเรารับทราบแล้ว และได้เอกสารสำเนากลับมาเก็บไว้กลับเราเองอีกฉบับเพื่อกลับมาตรวจสอบว่าบริษัท ไม่ได้เล่นแง่อะไรกับเราเพิ่มเติม และตรวจสอบย้อนกลับในวันที่เราถูกคุกคามด้วยอะไรที่ไม่ได้ตกลงกันไว้

สรุป

ในฐานะลูกจ้างของเราการทำงานที่ตามตกลงเป็นเสมือนข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้ในวันแรกของการทำงาน นอกเหนือจากข้อตกลงถ้าหากมีการตกลงที่ชัดเจน

ก็เป็นเหมือนการยอมรับในกฏเกณฑ์เพิ่มขึ้นระหว่างการทำงาน ดังนั้นข้อมูลส่วนตัวของเราก็เป็นเหมือนหนึ่งในสิทธิ์ที่เราในฐานะลูกจ้าง ต้องปกป้องตัวเองเพื่อป้องกันตัวเองในวันที่ถูกคุกคามนั่นเอง อย่างไรก็ตามถ้าหากบริษัทของคุณยังไม่เตรียมพร้อมใบสัญญาการเก็บข้อมูลกับคุณ สามารถเริ่มต้นปรึกษาการทำ PDPA กับเรา เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย

เตรียมระบบ PDPA ให้เสร็จใน 30 วันได้ยังไง?

โดยปกติการเตรียมระบบ และเอกสารของ PDPA เพื่อปรับใช้กับตำแหน่งต่างๆในบริษัท ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการปรึกษานักกฏหมาย และการเตรียมระบบเก็บข้อมูลสำหรับแต่ละแผนก ซึ่งอาจจะใช้เวลาเตรียมตัวนาน 3-6 เดือน ทำให้เราเห็นถึงความเหนื่อยล้าของการเตรียมการที่ไม่จำเป็น จึงเกิดเป็นบริการชุดเอกสาร PDPA ที่จำเป็นสำหรับแผนกต่างๆที่ต้องใช้ในการขออนุญาตจัดเก็บข้อมูล

ลดเวลาเตรียมระบบจาก 6 เดือน เป็น 30 วัน

ปรึกษาการทำระบบ PDPA สำหรับองค์กร

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

ไอทีจะถูกฟ้องร้องจากกฏหมาย PDPA ฉบับใหม่หรือเปล่า (วะ?)

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ออกมาคุ้มครองผู้บริโภค จากการนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้งานแบบไม่ได้อนุญาต จากหลากหลายผู้ให้บริการ ทั้งโซเชี่ยลมีเดีย ธนาคาร ประกันภัย หรือแม้กระทั่งกู้เงิน การพนันออนไลน์และอื่นๆ ข้อมูลนี้เป็นหน้าที่รับผิดชอบจากคนเบื้องหลังที่ดูแลข้อมูลคือ พนักงานไอที แล้วอย่างนี้คนทำงานบริษัทที่ดูแลข้อมูล ระบบงานแล้วมีข้อมูลหลุดหรือมีปัญหาถูกฟ้องร้องขึ้นมา ไอทีจะเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดที่มีความผิดหรือเปล่านะ

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA มีไว้เพื่ออะไร 

ถ้ายกเอานิยามจากราชกิจจานุเบกษามาพลอตลงให้อ่าน คำนิยามของกฏหมายฉบับนี้คือ “การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจาก การถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ” ฉะนั้นพอมาดูไอเดียของการมีฉบับนี้ดูเหมือนจะทำให้เจ้าของข้อมูล Win ที่มีขอบเขตการฟ้องร้องกรณีที่ถูกละเมิด เอาข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้ยินยอม

ตัวละครของ PDPA มีใครเป็นตัวละครคนสำคัญบ้าง?

1.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล – โดยที่ผู้ควบคุมข้อมูลบุคคลที่ดูข้อกำหนด แจ้งจุดประสงค์ของข้อมูลไปใช้งาน
2.เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล – เป็นคนที่ถูกนำข้อมูลไปใช้งาน ต้องเข้าใจข้อกำหนดการใช้งานทั้งหมดจากผู้ควบคุมข้อมูล
3.ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล – เป็นคนที่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในที่ปลอดภัย ป้องกันการสูญหาย โดยรับอำนาจมาจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลนั่นเอง

ไอทีเกี่ยวอะไรกับ PDPA บริษัท?

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตัวละครสำคัญของการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งกฏหมายฉบับนี้เหมือนเน้นไปทางเก็บข้อมูลทางอิเลกโทรนิคมากกว่ารูปแบบเดิม ผู้ที่ต้องอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลต่างๆ นอกจากตำแหน่งแอดมินแล้ว ผู้ที่เป็นโครงสร้างและเบื้่องหลังคือไอทีนั่นเอง ซึ่ง Part การจัดเก็บข้อมูลและความปลอดภัยทางข้อมูลต่างๆ จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท แต่สงสัยไหมว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น ข้อมูลหลุดออกไปไม่ว่าจะเป็นฝีมือคนใน หรือ แฮกเกอร์เจาะระบบออกไปแล้ว ไอทีที่เป็นเหมือนผู้อำนวยความสะดวกมีสิทธิ์ติดคุกหรือเปล่า

ไอทีติดคุกเรื่องจริงหรือจ้อจี้

1.โทษทางอาญา

จากพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดโทษไว้สองรูปแบบ คือโทษทางอาญาซึ่งกำหนดบทลงโทษให้กับ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งการทำงานของฝ่ายไอทีที่อยู่ภายใต้บริษัท ที่เป็นนิติบุคคล ถ้าหากสิ่งใดที่เกิดความผิดพลาดจากระบบการทำงาน หรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จะมีบทลงโทษกับนิติบุคคล หรือ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”

2.โทษทางปกครอง

ฐานะฝ่ายไอทีที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล จะมีบทลงโทษถ้าหากไม่ได้มีการทำตามผู้ควบคุม ในการเก็บข้อมูล หรือตรวจสอบข้อมูลในระบบอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงตรวจสอบการดำเนินงาน ประสานงานสำนักงานในกรณีที่มีปัญหาการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท 

ถึงแม้ว่าทางกฏหมายมีบัญญัติไว้แล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติขั้นตอนการดำเนินการหลายอย่างยังคงมีความคลุมเครือ ระหว่างการทำงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้คุมข้อมูลส่วนบุคคลแต่เกิดปัญหา หรือ ปัญหาการถูกโจรกรรมข้อมูลแล้วข้อมูลสูญหาย ในกรณีดังกล่าวยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

อย่าเพิ่งตื่นตกใจ

ปัญหาของกฏหมายที่ออกมาใหม่นั้นคือไม่มีกรณีตัวอย่างการตัดสินคดี ฉะนั้นหลายกรณีนั้นก่อนจะเกิดเป็นคดีความจึงจะมีการไกล่เกลี่ย รวมถึงขั้นตอนการสืบหาความผิดนั้นยังคงไม่แน่นอน และผู้ที่เป็นพระเอกในการรับการถูกฟ้องร้องได้ก่อนก็คือตัวองค์กร หรือ ผู้ควบคุมข้อมูล เป็นด่านแรกก่อนเสมอ ทำให้ไอทีที่ทำงานตามนโยบายขององค์กร และการตัดสินใจเรื่องต่างๆก็เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารนั่นเอง สบายใจได้ว่าโอกาสที่คนทำงานต้องมาแบกรับความผิดมีน้อย

สรุป

ถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางกฏหมายในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องการความรัดกุมทางการทำงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางการออกกฏหมาย PDPA ฉบับนี้นั้นเน้นให้ผู้ใช้งานต้องยอมรับสิทธิ์ โดยที่รับทราบกฏและข้อบังคับอย่างถี่ถ้วนเพียงเท่านี้ บริษัทก็สบายใจได้ว่าความเสี่ยงที่บริษัทจะต้องปวดหัวกับการถูกฟ้องร้องคงมีไม่มาก โดย Prospace เรามีบริการทั้งเอกสาร PDPA ที่ถูกต้องตามหลักนิติกรรม หรือ ถ้าไม่มีผู้ติดตั้งบนเว็บไซต์ หรือไอทีที่ติดตั้งระบบ บริการของเรามีทีมที่ปรึกษาสามารถช่วยเหลือได้จนถึงอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดต่อเราโดยแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย

 


Reference : Source

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) อาจทำให้ฝ่ายบุคคลเสียค่าปรับ 5 ล้านบาท

PDPA อาจจะทำให้ HR เสียค่าปรับเป็นล้าน

ปัจจุบันนี่เราคงหลีกเลี่ยงการไม่ยอมให้ข้อมูลของเรากับคนอื่นๆไม่ได้ ทั้งการขอเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ การขอเก็บข้อมูลตอนเข้าสมัครงาน หรือแม้กระทั่งการซื้อของออนไลน์ ข้อมูลส่วนตัวแทบทั้งหมดของเรานั้นก็เริ่มกลายเป็นข้อมูลที่คนนั้นรู้ คนนี้เห็น จนบางครั้งเราไม่แน่ใจเลยว่าสิ่งที่เรามอบให้ไปมันจะถูกเอาไปต้มยำทำแกงอะไรบ้าง โดยเฉพาะข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลอาชญากรรม ข้อมูลที่เป็นส่วนตัวในตอนที่เราสมัครเข้าทำงาน โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565

PDPA คืออะไร (ภาษากฏหมาย)

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act : PDPA) ถ้ายกมาจากตัวเอกสารเขาบอกไว้ว่า “พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

โดยที่ มาตรา ๒๖ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าว ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไว้ด้วย

PDPA คืออะไร (ภาษาชาวบ้าน)

พระราชบัญญัติฉบับนี้ออกแบบมาให้ข้อมูลส่วนตัวของเราที่มี ก่อนจะเอาให้ใครไปต้องให้เขามาขออนุญาตให้เอาไปใช้ เช่น เมื่อก่อนเราถ่ายรูปคนอื่นที่ไม่รู้จัก แล้วปรากฏว่ารูปสวยดีแล้วเอาไปขายภาพต่อได้ แต่พอมีกฏหมายนี้บังคับใช้ ถ้าเราถ่ายภาพคนอื่นแล้วเอาไปขายโดยคนในรูปไม่อนุญาต ก็มีสิทธิ์โดนฟ้องร้องค่าเสียหายจากการที่นำรูปภาพเขาไปใช้นั่นเอง

PDPA คุ้มครอง 3 บุคคล

1. เจ้าของข้อมูล (ตัวเรา)

 ให้เรารู้และเข้าใจว่าถ้าอนุญาตให้เขาเอาข้อมูลไปใช้ เขาจะเอาไปส่ง SMS เข้าเบอร์เราได้ไหม ส่งไลน์มาสวัสดีวันจันทร์กับเราได้หรือเปล่า ถ้าทำไม่ได้แล้วเขาแอบส่งมาให้เรา เราก็ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

2.ผู้ควบคุมข้อมูล ( เจ้าของเว็บ เจ้าของบริษัท เจ้าของรูปภาพ)

ต้องบอกเจ้าของข้อมูลว่าจะเอาข้อมูลอะไรไปใช้ แล้วเรามีสิทธิ์ทำอะไรกับข้อมูลลูกค้า หรือ พนักงานของเราบ้าง โดยที่มีลายลักษณ์อักษรว่าเราขออนุญาตเขาถูกต้องแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เราถูกฟ้องตอนที่เราเอาข้อมูลไปใช้งาน

3.ผู้ประมวลผลข้อมูล (คนที่ทำงานตามคำสั่งเจ้าของเว็บ เจ้าของบริษัท)

คนที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูล เอาไปยิงแอด เอาไปส่งเมลแจ้งโปรโมชั่น หรือเอาข้อมูลไปเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อดูภาพรวมว่าลูกค้ากลุ่มไหนชอบซื้อสินค้า A มากกว่า B … คนที่ทำงานเหล่านี้ถ้าวันนึงมีคนฟ้องร้องจากการทำงานต่างๆ จะไม่โดนฟ้องเข้าเนื้อตัวเอง เพราะทำงานให้ในนามบริษัท ตัวองค์กรต้องรับผิดชอบความผิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพนักงานเหล่านี้นั่นเอง

ฝ่ายบุคคลจะเสี่ยงโดนฟ้องร้อง

ใน พรบ.ฉบับนี้มีการกำหนดไว้ว่าการเก็บข้อมูลนั้นต้องเก็บเท่าที่จำเป็น และต้องเก็บด้วยความปลอดภัย แล้วในฐานะบริษัทเองที่ต้องเก็บข้อมูลของพนักงานที่ละเอียดอ่อนในหลายเรื่อง เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลอาชญากรรม ข้อมูลทะเบียนบ้าน ทัศนคติการทำงาน ไว้กับบริษัทถึงแม้ว่าจะเก็บอย่างมิดชิดแล้วก็ตาม

  • เก็บดีแล้วแต่ไม่ถูกกฏหมาย (โทษทางปกครอง)

กฏหมายฉบับนี้บังคับให้ฝ่ายบุคคลต้องขออนุญาตเก็บข้อมูลพนักงาน ต้องจัดเตรียมพนักงานประมวลผลข้อมูล แจ้งจุดประสงค์การเก็บและนำข้อมูลไปใช้งานทุกครั้ง หลังจากมีการบังคับใช้แล้วถ้าหากมีการฟ้องร้องแล้วปรากฏว่าไม่มีการวางแผนดังกล่าวไว้ อาจจะมีโทษปรับสูงถึง 5,000,000 บาท

  • เก็บถูกกฏหมายแล้วแต่ไม่ปลอดภัย (โทษทางอาญา)

นอกจากการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามกฏหมาย ปัญหาต่อมาคือระบบเก็บไม่ดี ถูกขโมยข้อมูลไปขายต่อแล้วถูกฟ้องร้อง เกิดหลายครั้งในบริษัทที่ไม่มีระบบ Firewall ที่เหมาะสมกับองค์กร ปรึกษาทีมงานของเราในการเลือกใช้ Firewall จากที่นี่ ถ้าเกิดเหตุทำให้เกิดข้อมูลหลุดรั่วออกไป ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาทโดยที่นิติบุคคลต้องร่วมรับผิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย

สรุป

ถึงแม้ว่าตัวบทกฏหมายนั้นจะเป็นเรื่องที่ใหม่กับหลายองค์กรที่ยังไม่ได้เริ่มการเก็บข้อมูลตาม พรบ.ฉบับดังกล่าว แล้วยังไม่แน่ใจว่าบริษัทจะเริ่มต้นอย่างไรดี เบื้องต้นต้องเริ่มต้นจากการปรึกษาทีมกฏหมาย PDPA ที่ได้รับ Certificated จาก ISO27001 (Information Security) และ ISO27701 (Privacy Information) จะช่วยให้มั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัย และครอบคลุมกฏหมายฉบับนี้อย่างแน่นอน ซึ่งสอดคล้องกับบริการ PDPA ของเราโดยมีครบจบในที่เดียว โดยถ้าหากต้องการปรึกษา หรือไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี สามารถกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ แล้วทีมงานของเราจะเข้าไปช่วยเหลือเลย


References :

Source1
Source2
Source3

Contact us