สมัครงาน ยังไง ให้บริษัทจ่ายค่าปรับเป็นล้าน ทำได้จริง!!!

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สมัครงาน เป็นกระบวนการที่วัยทำงานเกือบทุกคนต้องเคยผ่านมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเอกสาร การเตรียมวุฒิการศึกษาต่างๆ ซึ่งหลังจากมีการประกาศใช้ PDPA ที่เป็นกฏหมายการเก็บข้อมูลลูกค้า อย่างนั้นเองรู้หรือเปล่าว่าแค่การสมัครงานก็อาจจะทำให้เราได้เงินล้านได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

ทำไมต้องใช้เอกสาร สมัครงาน

จะว่าไปเคยสงสัยหรือเปล่า ทำไมทุกครั้งที่เราต้องการ สมัครงาน ใหม่ถึงต้องมีการขอเอกสารเยอะแยะไปหมด

ทำไมเข้าไปทำงานแล้วพอจบวันก็รับเงินแบบนี้ได้หรอ??? … แน่นอนว่าได้ ถ้าหากต้องการอย่างนั้น ถ้าหลายคนเคยรับจ้างทำงานต่างๆ จ้างพิมพ์งาน จ้างตัดหญ้า จ้างขับมอไซค์ ฯลฯ ที่เป็นอาชีพที่ไม่มีรายได้ประจำ หรือ ฟรีแลนซ์ 

การที่ยืนยันตัวตน การขอเอกสารสิทธิ์ต่างๆก็ไม่จำเป็นแน่นอน แต่ถ้าพอเปลี่ยนจากพนักงานรายวัน มาเป็นการทำงานด้วยการรับเงินเดือน เข้ากรอบกฏหมายแรงงาน มีสิทธิ์เรียกร้องสิ่งต่างๆได้ด้วยหลักฐาน การสมัครงานด้วยเอกสารจะเข้ามาดูแลเราในวันที่นายจ้างอยู่ๆจะเลิกจ้าง ไม่จ่ายเงินเดือน หรือไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม ทางภาครัฐฯจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพื่อมาคุ้มครองเราได้ตามกรอบของกฏหมาย

สมัครงานสมัครงาน ใช้เอกสารอะไรบ้าง

โดยปกติการสมัครงานที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้สมัครในประเทศไทย จะมีดังนี้

  1. เรซูเม่

    เป็นการเปิดโลกให้คนที่ไม่รู้จักเรา เข้าใจใน 1 หน้ากระดาษ ดังนั้นทักษะการนำเสนอตัวเองลงกระดาษจะช่วยให้ฝ่ายบุคคลนั้นคัดกรองครั้งแรกผ่านหน้ากระดาษแผ่นนี้ได้

  2. หลักฐานการศึกษา หรือ วุฒิการศึกษา

    สำหรับเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน การมีทรานสคริปสวยๆจากเกรดในวิชาเรียนจะช่วยให้คนเห็นตัวเลขเกรดในวิชานั้นๆได้ก่อน ฉะนั้นการตั้งใจเรียนไม่ได้หมายความว่าจะทำงานได้เก่ง แต่มันอาจจะเป็นแค่ไม่กี่ปัจจัยที่ทำให้คนที่เพิ่งเจอเรารู้ถึงความมุมานะในการเรียน 

  3. ทะเบียนบ้าน

    เอกสารเหล่านี้ปัจจุบันไม่ต้องถ่ายเอกสารจากตัวเล่มจริงประจำบ้านก็ได้ ในกรณีที่ไม่สะดวกเดินทางกลับบ้านไปถ่ายเอกสาร สามารถขอคัดสำเนาได้ที่สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งบางทีมีที่ตั้งสาขาในห้างสรรพสินค้า โดยการใช้บัตรประชาชนใบเดียวยื่นไปขอคัดสำเนาเท่านั้นเอง

  4. บัตรประชาชน

    แผ่นการ์ดพลาสติกใบนี้เป็นเสมือนตัวแทนของเราเอง ฉะนั้นบัตรประชาชนใบนี้จะตามไปทุกที่ ที่ใช้การยืนยันตัวตน โดยให้คัดลอกสำเนาเพียงด้านหน้า “อย่า”คัดลอกด้านหลังไปด้วย เพราะปัจจุบันตัวเลขด้านหลังของบัตรประชาชนจะเป็นตัวยืนยันตัวเองว่าเราเป็นเจ้าของจริง ไม่ใช่ใครแอบขโมยมา ดังนั้น “ห้ามคัดลอกสำเนาด้านหลัง” 

  5. รูปถ่าย

    ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วทางแถบแสกดิเนเวียน จะไม่มีการใช้รูป 1 นิ้ว 2 นิ้วในการสมัครงาน แต่ถ้ามาตรฐานในประเทศของเราการมีรูปถ่ายยังคงจำเป็นสำหรับการเข้าทำงาน รวมทั้งการใช้รูปภาพไปติดหน้าบัตรพนักงาน และการเก็บเอกสารเข้าไปในฐานข้อมูลบริษัท

  6. ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ สด.9

    สำหรับผู้ชายเอกสารการผ่านการผ่านพันธะทางทหารจะเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทจะนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรกๆ เพราะถ้าหากต้องมีการเกณฑ์ทหาร เพราะถ้าถูกเกณฑ์ไปจะทำให้เราต้องลาออกจากการทำงานกลางคัน ในกรณีที่มีการเรียกฝึกกำลังพลของคนที่เรียน รด. บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ไปฝึกกำลังพลไม่เกิน 60 วัน

  7. ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมต่างๆ

    สำหรับคนที่เปลี่ยนงานมาหลายครั้งด้วยการอัปเกรดทักษะให้มากขึ้น ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น การมีใบรับรองการฝึกอบรมจากสถาบันต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่นายจ้างจะนำมาพิจารณาจ้าง และไม่ต้องเสียเวลามาลุ้นว่าพนักงานที่จะจ้างมาทำตำแหน่งนั้นได้ดีหรือเปล่า

  8. ใบประกอบวิชาชีพ

    ในกรณีที่ทำงานที่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ เช่น ตรวจสอบบัญชี ลงนามในการก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม หรือผู้ควบคุมอากาศยาน เหล่านี้จำเป็นต้องมีใบวิชาชีพที่กำหนดตามกฏหมายมาประกอบด้วย รวมถึงใบขับขี่ในกรณีที่ต้องใช้ยานพาหนะทำงาน

  9. พอร์ตผลงาน

    เกณฑ์การพิจารณาของกลุ่มคนทำงานด้านศิลป์ หรือ ในตำแหน่งที่ต้องมีผลงานมาพิจารณา การเก็บผลงานเด่นๆมานำเสนอให้กับว่าที่นายจ้าง จะทำให้ว่าที่บริษัทที่เราจะทำงานด้วย ได้เห็นผลงานการทำงานได้ง่าย รวมไปถึงเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่ง และค่าจ้างก็มีผลมาจากผลงานที่สะสมไว้ด้วย

  10. ใบตรวจร่างกาย

    หลายบริษัทจะมีการตรวจร่างกายเข้าทำงาน ตรวจสารเสพติด หรือเช็คประวัติอาชญากรรม โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิดบางบริษัทที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มก็อาจจะต้องตรวจ ATK ให้กับพนักงาน หรือต้องการเอกสารรับรองการตรวจหาโควิดก่อนที่จะเข้าทำงานด้วยนะ

อย่าส่งบทความนี้ไปให้นายจ้างรู้

เราจะพบว่าข้อมูลส่วนตัวของเราเกือบทั้งหมดในชีวิต ถ้าไม่รวมบัตรเครดิตและใบแจ้งหนี้ของเรา ก็ตกเป็นของบริษัทโดยเกือบชอบธรรม

ไม่รวมว่าวันหนึ่งอาจจะมีการตรวจสอบเจอว่าเราไปแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน หรือแอบเอาข้อมูลเราส่งไปให้บริษัทขายประกันโทรมาอีก..ทำยังไงดีละทีนี้ หึหึ

เลยเกิดเป็น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภค (PDPA) ขึ้นมาคุ้มครองในกรณีที่อยู่ๆบริษัทแอบเอาข้อมูลของเราไปสมัครทำอะไรที่เราไม่ต้องการ เอาไปลงชื่อเข้าร่วมแคมเปญที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เหล่านี้เรามีสิทธิ์จะฟ้องร้องค่าเสียหายจากการกระทำของบริษัท โดยการฟ้องร้องค่าเสียหายได้

โดยที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่บริษัทเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลอีเมลไปแอบตรวจเช็คบัญชีโซเชี่ยลมีเดีย หรือไปแอบสืบมาว่าเราเคยทำอะไรมาก่อนแล้วมาเป็นเหตุผลการเลิกจ้าง เหล่านี้ทำให้เราสามารถป้องกันตัวเองจากนายจ้างที่ทำอะไรไม่เข้าท่าจากกฏหมาย PDPA ด้วย

สมัครงานนายจ้างจะลืมป้องกันตัวเองตอนไหน?

จากการบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้ถ้าหากว่าเราในฐานะลูกจ้าง ก่อนที่จะให้เอกสารการสมัครงานต่างๆก็ตาม

สิ่งที่จำเป็น และต้องมีคือการมีเอกสารสัญญาฉบับหนึ่งในการบอกกล่าวเราว่าเอกสารที่ได้จากเราจะเอาไปต้มยำทำแกง อะไรบ้าง จะเอาไปเก็บไว้ยังไง เก็บที่ไหน เอาข้อมูลไปทำอะไร สิ่งไหนที่ทำได้ ทำไม่ได้ โดยแล้วแต่กฏเกณฑ์การทำงานของแต่ละองค์กร จากนั้นมีการลงชื่อว่าเรารับทราบแล้ว และได้เอกสารสำเนากลับมาเก็บไว้กลับเราเองอีกฉบับเพื่อกลับมาตรวจสอบว่าบริษัท ไม่ได้เล่นแง่อะไรกับเราเพิ่มเติม และตรวจสอบย้อนกลับในวันที่เราถูกคุกคามด้วยอะไรที่ไม่ได้ตกลงกันไว้

สรุป

ในฐานะลูกจ้างของเราการทำงานที่ตามตกลงเป็นเสมือนข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้ในวันแรกของการทำงาน นอกเหนือจากข้อตกลงถ้าหากมีการตกลงที่ชัดเจน

ก็เป็นเหมือนการยอมรับในกฏเกณฑ์เพิ่มขึ้นระหว่างการทำงาน ดังนั้นข้อมูลส่วนตัวของเราก็เป็นเหมือนหนึ่งในสิทธิ์ที่เราในฐานะลูกจ้าง ต้องปกป้องตัวเองเพื่อป้องกันตัวเองในวันที่ถูกคุกคามนั่นเอง อย่างไรก็ตามถ้าหากบริษัทของคุณยังไม่เตรียมพร้อมใบสัญญาการเก็บข้อมูลกับคุณ สามารถเริ่มต้นปรึกษาการทำ PDPA กับเรา เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย

เตรียมระบบ PDPA ให้เสร็จใน 30 วันได้ยังไง?

โดยปกติการเตรียมระบบ และเอกสารของ PDPA เพื่อปรับใช้กับตำแหน่งต่างๆในบริษัท ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการปรึกษานักกฏหมาย และการเตรียมระบบเก็บข้อมูลสำหรับแต่ละแผนก ซึ่งอาจจะใช้เวลาเตรียมตัวนาน 3-6 เดือน ทำให้เราเห็นถึงความเหนื่อยล้าของการเตรียมการที่ไม่จำเป็น จึงเกิดเป็นบริการชุดเอกสาร PDPA ที่จำเป็นสำหรับแผนกต่างๆที่ต้องใช้ในการขออนุญาตจัดเก็บข้อมูล

ลดเวลาเตรียมระบบจาก 6 เดือน เป็น 30 วัน

ปรึกษาการทำระบบ PDPA สำหรับองค์กร

ทีมงานจะติดต่อกลับไป