PDPA คือ อะไร? ที่มา นิยาม และความจำเป็นของข้อมูลส่วนบุคคล

pdpa คือ อะไร

ปัจจุบันโลกของเรามีการรับส่งข้อมูลระหว่างกันในปริมาณมากมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วไป ข้อมูลลับสำคัญ รวมไปถึงข้อมูลลับทางธุรกิจ เมื่อปี 2021 มีการประเมินกันว่าข้อมูลที่ทั้งโลกมีการใช้งานบนโลกอินเตอร์เน็ตมีปริมาณอยู่ที่ 9,200,000 TB ต่อวัน หรือถ้าหากเอาฮาร์ดดิสก์ 3.5 ขนาด 1 TB ที่ใช้งานในคอมพิวเตอร์มาต่อกันจะเท่ากับระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ไปยังกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลยเซีย และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องจัดการกับข้อมูลมหาศาลด้วยการกำหนดว่าข้อมูลเหล่านั้นจะทำยังไงให้เป็นระเบียบ ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีกฏหมายที่ชื่อย่อว่า PDPA คือ กฏเกณฑ์ในการจัดระเบียบข้อมูลมหาศาลเหล่านี้

โลกของเราจัดการกับข้อมูลมหาศาลกันยังไง?

มีการคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2022 ข้อมูลที่อยู่บนโลกนี้จะมีประมาณ 94,000 ล้านเทระไบต์ นี่คือปริมาณข้อมูลที่เติบโตมากขึ้นทุกไปไม่มีวันลดลงได้ ทำให้หลายประเทศเริ่มจะจัดการกับระเบียบ ข้อกำหนดบังคับใช้ให้กับปริมาณข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลของ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ในเดือนธันวาคม 2022 มีประเทศที่มีกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปแล้วกว่า 71% ของประเทศบนโลกนี้  มีอีก 9% ที่กำลังร่างกฏหมาย 15% ยังไม่มีกฏหมายรองรับและ 5% ไม่มีข้อมูลเรื่องกฏหมายฉบับนี้ โดยที่ไม่ว่าตัวบทกฏหมายจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ตัวบทใจความสำคัญที่มีร่วมกัน คือการคุ้มครองข้อมูลที่แบ่งย่อยลงไป การจัดการกับข้อมูล สิทธิ์ที่เจ้าของข้อมูลจะสามารถจัดการได้ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทต่างๆตามมาซึ่งเป็นหัวใจหลักของตัวบทกฏหมายฉบับดังกล่าว

PDPA บนโลกนี้
ประเทศที่มีการตรากฏหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในปัจจุบัน

กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

จุดเริ่มต้นของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ก่อนอื่นต้องมาดูวิวัฒนาการทางกฏหมายก่อนที่กลายร่างมาเป็นกฏหมายข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย เริ่มต้นจากการหนังสื่อที่ถูกตีพิมพ์จาก APEC Privacy Framework ในปี 2005 โดยผู้นำชาติสมาชิกเอเปคได้ลงนามบรรดารัฐมนตรีได้ให้การรับรองกรอบความเป็นส่วนตัวของเอเปค โดยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว จากนั้น 8 ปีต่อมามีการออกแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่จัดทำโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ที่ส่วนใหญ่เป็นชาติสมาชิกจากประเทศที่พัฒนาแล้วจนกระทั่งการประกาศใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปในปี 2016 ที่เป็นแนวทางนำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้ในการนำไปอ้างอิงตัวบทกฏหมายรวมกระทั่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกของเราจะถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงเราไปตลอดการคือ คอมพิวเตอร์ ทำให้ข้อมูลของเราไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ต้องกรอกให้กับแพลตฟอร์มมีเดีย การให้ข้อมูลกับทางธนาคารหรือหน่วยงานราชการ ข้อมูลเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งในมหาสมุทรของข้อมูล ทำให้เกิดการเหตุประโยชน์ของการแย่งชิงข้อมูลเหล่านี้เพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม การค้า หรือการเสนอขายผลิตภัณฑ์บริการต่างๆ ทำให้ตัวเราเองนั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์มากมายโดยในหลายกรณีเป็นการไม่ยินยอมในการนำข้อมูลของเราไปใช้เลยก็ตาม จึงเป็นเหตุให้มีการกำหนดกฏเกณฑ์การใช้งานข้อมูลขึ้นมา

human right สิทธิมนุษยชน

ถ้าหากลองแยกคำออกมาของ PDPA คือ การประสมคำของ Personal (บุคคล) + Data (ข้อมูล) + Protection (การป้องกัน) + Act (พระราชบัญญัติ) ทำให้เราเข้าใจว่าตัวละครหลักของกฏหมายฉบับนี้คือการจัดการกับ “ข้อมูล” ของ “บุคคล” เป็นคำนิยาม จำกัดความที่เป็นขอบเขตของกฏหมาย

ข้อมูลส่วนบุคคล (Data privacy) คืออะไร

ข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สามารถระบุได้โดยตรงหรือโดยอ้อม โดยจากนิยามจะแบ่งเป็นข้อมูลสองประเภท ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล และ ข้อมูลส่วนบุคคลละเอียดอ่อน ซึ่งความแตกต่างด้านข้อมูลนั้นจะขึ้นอยู่กับผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลนั้น

ข้อมูลส่วนบุคคล

โดยคำนิยามของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วมันคือการที่เราสามารถระบุตัวตนคนนั้นได้ว่าเป็นใคร ไม่ว่าจะเป็นชื่อและนามสกุล , เพศ , ที่อยู่ที่ระบุตำแหน่งได้ , อีเมล์  เป็นต้น

ข้อมูลส่วนบุคคลละเอียดอ่อน

โดยคำจำกัดความของมันเป็นการระบุตัวตนที่มากขึ้น มีผลกระทบถ้าหากข้อมูลเหล่านั้นหลุดออกไปสู่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดผลเสียทางด้านสังคม การถูกกีดกันอันเนื่องมาจากสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ชาติพันธ์ุ , ความคิดเห็นทางการเมืองหรือจุดยืนทางการเมือง , เลขบัตรประจำตัวประชาชน , เลขประกันสังคม (ซึ่งในประเทศไทยจะใช้เลขบัตรประชาชนแทนใช้ในการทำธุรกรรม) , ประวัติการรักษาทางการแพทย์ , ข้อมูลชีวมิติ ใบหน้า ลายนิ้วมือ ม่านตา เสียง ที่สามารถระบุตัวตนได้อย่างชัดเจนว่าเป็นคนนั้นรวมไปถึงการนับถือศาสนาเองก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเช่นเดียวกัน

PDPA คือ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และคุ้มครองผู้เกี่ยวข้อง

ผู้เกี่ยวข้องกับกฏหมาย PDPA

เจ้าของข้อมูล

เป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง หรือ อาจจะเป็นผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ถูกเก็บข้อมูล

ผู้ดูแลข้อมูล

ผู้ที่เป็นกำกับดูแลข้อมูล โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัท เจ้าของธุรกิจ

ผู้ประมวลผลข้อมูล

เป็นบุคคลที่สามที่ถูกแต่งตั้งมาจัดการข้อมูลให้กับผู้ดูแลข้อมูล

ความปลอดภัยของข้อมูล

ข้อมูลในยุค Big Data ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องมี PDPA มาช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอที่จะปกป้องเจ้าของข้อมูลนั้น ๆ ไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และมีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลในกรณีที่ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล PDPA คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต้องทำการขออนุญาตลูกค้าเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลก่อนนำไปใช้เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการแก่ลูกค้า และต้องมีการปกป้องข้อมูลชองลูกค้าตามมาตรฐาน ประเด็นสำคัญของ PDPA คือ การเก็บ ใช้ เปิดเผย และถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอม ยกเว้นจะมีเหตุอื่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งความยินยอมนั้นต้องให้โดยอิสระ เฉพาะเจาะจง และชัดแจ้ง และเจ้าของข้อมูลสามารถถอนความยินยอมได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องแจ้งเหตุให้เจ้าของข้อมูลทราบภายใน 72 ชั่วโมง

privacy data ข้อมูลส่วนบุคคล
การจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคล ควรมีการรักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุม

ใช้ข้อมูลตามความจำเป็น

กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทุกคนในสังคม เราซึ่งมีสถานะเป็น ‘เจ้าของข้อมูล’ ที่ไปใช้บริการต่าง ๆ หัวใจหลักของกฎหมายบอกว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เมื่อให้ใครไปแล้ว เขาจะต้องเอาไปใช้ตามวัตถุประสงค์และความจำเป็น คือ นำไปใช้เท่าที่บอกว่าจะใช้ ไม่เอาไปใช้งานอื่นเกินเลย นอกจากนี้ เมื่อมีข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ก็ต้องเก็บรักษาและใช้มันอย่างปลอดภัย จะเผยแพร่ต่อให้คนอื่นไม่ได้ถ้าไม่ได้ถามเราก่อน และเราในฐานะเจ้าของข้อมูล สามารถบอกเลิกการครอบครองข้อมูลนั้นได้

เขียนคำขออนุญาตที่ชัดเจนไม่กำกวม

การเอาข้อมูลไปใช้เท่าที่บอกว่าจะใช้ และทำข้อมูลให้ปลอดภัย จริง ๆ ก็เป็นเรื่องของเงื่อนไขที่องค์กรต่าง ๆ ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว เพียงแต่ถ้าหากบ้านเราประกาศใช้กฎหมาย ก็จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นเพราะมีมาตรฐานทางกฎหมายรองรับ ไม่ใช่แค่นโยบายที่อาจแตกต่างไปตามแต่ละหน่วยงานในทางปฏิบัติแล้วสิ่งที่องค์กรเล็ก หรือ ใหญ่จะต้องทำ คือ การทำ privacy policy และ การบันทึกกิจกรรมประมวลผล เพื่อบันทึกและบอกรายละเอียดว่า เราเก็บข้อมูลอะไร จะเอาไปทำอะไร เก็บมาเมื่อไร และจะเก็บนานเท่าไร โดยองค์กรที่ต้องทำตามกฎหมายของ PDPA มีลักษณะดังนี้

  • องค์กรที่มีการเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

    ในพรบ.นี้เรียกว่า Data Controller หรือ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

  • องค์กรที่เป็นหน่วยงานที่ผู้ควบคุมข้อมูลว่าจ้าง

    ให้ประมวลผลข้อมูลของลูกค้าหรือของบุคคลใด ๆ ตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล ในพรบ.นี้เรียกว่า Data Processor หรือ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

  • องค์กรที่อยู่นอกประเทศไทย

    แต่มีการเสนอขายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศไทย มีการโอนถ่ายข้อมูล หรือ เฝ้าติดตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

Pdpa prokit

ป้องกันและการจัดเก็บข้อมูล

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกจัดเก็บเอาไว้ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกเหนือจาก กฎหมาย PDPA ที่เตรียมจะออกสู่มาตรการการบังคับใช้นี้แล้ว เรายังต้องระวังเหล่าผู้ร้าย หรือ แฮกเกอร์ทั้งหลายที่มุ่งหวังจะโจมตีเราอีกด้วย ก็คงจะดีกว่ามาก หากเรามีมาตรการการป้องกันและปกป้องข้อมูลในระหว่างที่เราใช้งานหรือกำลังกรอกข้อมูลหรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ด้วยหลายองค์กรนั้นยังไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพราะมันอาจจะดูไกลตัว แต่จริงๆแล้วแค่มีเบอร์แปลกโทรมาขายประกันในทุกเดือน มันก็คือการแอบเอาข้อมูลของเรามาขายให้กับคนอื่นเช่นเดียวกัน เหล่านี้ถ้าหากมีการบังคับใช้จริงจะสามารถติดตามกลับไปหาคนที่ทำข้อมูลเราหลุดและฟ้องร้องดำเนินคดีได้นั่นเอง

ข้อกฏหมาย Pdpa คือ

PDPA Prokit ชุดเอกสารทำเองใน 30 วัน

รวมชุดเอกสารสำหรับทำ PDPA ให้สอดคล้องกับกฏหมายในบริษัท ลดเวลาเตรียมตัวจาก 6 เดือนเหลือ 30 วัน

  • ชุดเอกสาร 69 รายการ
  • ใบสัญญาอนุญาตการเก็บข้อมูล
  • ขั้นตอนการเตรียมการ
  • ที่ปรึกษาต่อเนื่อง 1 เดือน

ปรึกษาการทำ PDPA

กรอกฟอร์มเพื่อให้ทีมงานติดต่อกลับ

PDPA สรุป สิ่งที่ต้องรู้ของ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA สรุป

PDPA สรุป 5 หัวข้อสำคัญสำหรับการปรับตัว ในสถานการณ์ตอนนี้ เป็นช่วงที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพราะสถานการณ์การระบาดของ ไวรัส โควิด-19 ซึ่งทำให้เราต้องปรับวิถีชีวิตมาใช้บริการทางเทคโนโลยีมากขึ้นและหลากหลายมากขึ้นนั่นทำให้เห็นว่า การจัดการข้อมูลอย่างมีมาตรฐานเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าเดิม

ปฐมบท PDPA สรุป ที่ยังไม่เริ่มต้น

หลายท่านคงจะเคยได้ยิน หรือคุ้นๆ กับคำศัพท์ชื่อ PDPA ซึ่งย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โดยจะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เรามาดูกันว่า กฎหมายฉบับนี้มันเป็นอย่างไร และมีอะไรบ้าง และหน่วยงานภาคธุรกิจต้องทำอะไร ข้อมูลในยุค Big Data ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องมี PDPA มาช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอที่จะปกป้องเจ้าของข้อมูลนั้น ๆ ไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และมีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลในกรณีที่ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

อบรม PDPA

5 สิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมตัว

  • PDPA สรุป ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกมาชัดเจน

สิ่งจำเป็นสำหรับการเริ่มทำ  พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งแรกคือการจำแนกออกว่าใครในองค์กรมีส่วนได้ ส่วนเสียสำหรับการเพิ่ม PDPA เข้ามาในกระบวนการทำงานที่เพิ่มขึ้นมา ตัวอย่างเช่น

” พนักงาน(ลูกจ้าง) ต้องมอบข้อมูลแก่ บริษัท”
(1) ลูกจ้าง รับบทเป็น เจ้าของข้อมูล
(2) ฝ่ายบุคคล รับบทเป็น ผู้ประมวลผลข้อมูล
(3) บริษัท รับบทเป็น ผู้ควบคุมข้อมูล 

  • วางแผน PDPA สรุป การทำงานที่เฉพาะเจาะจงกับแต่ละแผนก

บทบาทการทำงานกับ PDPA ของแต่ละแผนกนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการวางแผนการ รวมถึงสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะทำให้ทำงานนั้นรัดกุม รวดเร็วยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง

(1) แผนกการตลาด ต้องดูแลการเก็บข้อมูลลูกค้าผ่านแบบฟอร์มออนไลน์
(2) แผนกลูกค้าสัมพันธ์ ต้องดูแลการเก็บข้อมูลลูกค้าผ่าน Call center
(3) แผนกเซลล์ ต้องดูแลการเก็บข้อมูลผ่านเอกสารสัญญา ตอนที่ไปพบลูกค้าfirewall คือ

  • ออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ แยกประเด็นให้ออก

สิ่งต่อมาที่ต้องเตรียมตัวไว้ คือรูปแบบการรับข้อมูลของบริษัท ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องแยกแยะ เตรียมการด้านโครงสร้างก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ เช่น การเก็บการขอเก็บข้อมูลออนไลน์ ต้องมีการเตรียมระบบฐานข้อมูลลูกค้า การเก็บ Dush board หรือ การเก็บข้อมูลลูกค้าผ่านเอกสาร ต้องมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร เก็บที่ไหน ใครดูแลและได้รับมอบหมาย เป็นต้น

  • การเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบกับใครบ้าง

หลังจากการค้นพบว่าหน้าที่ของคนทำงานในแต่ละแผนกอย่างเป็นระบบแล้ว การวัดผลกระทบการทำ PDPA นั้นต้องคำนึงถึงผลกระทบสำหรับบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) เจ้าของข้อมูล (2) ผู้ประมวลผล (3) ผู้ควบคุม เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงนั้น คนทั้งสามกลุ่มจะได้รับผลกระทบก่อนเสมอ
ต้วอย่าง ถ้าหากหลังการทำตามแผนทุกอย่างแล้ว มีการอัปเดตข้อกฏหมาย PDPA ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลออนไลน์ ผู้ที่ควบคุมข้อมูล ต้องมีการอัปเดต สัญญา ข้อตกลง เพิ่มเติมไปให้กับเจ้าของข้อมูล โดยผู้ประมวลผลจะทำหน้าที่เก็บ Record ที่อัปเดตใหม่ และแน่นอนที่สุดก็คือกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป จะต้องกระทบกับทุกคนในกระบวนการเหล่านี้เป็นอันดับแรกๆนั่นเอง

  • อัปสกิลคนทำงานให้ทันกัน

ส่วนที่สำคัญที่สุด และต้องการพัฒนาทักษะ PDPA ให้ทันคือกลุ่มของคนที่ทำงานทั้ง 3 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง ถึงแม้ว่าตัวกระบวนการต่างๆของการทำ PDPA นั้นจะไม่ได้นาน และซับซ้อน แต่การสร้างการรับรู้ และเข้าใจกับพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าทุกกระบวนการข้างต้นที่กล่าวมา การฝึกอบรม หรือ คอร์สออนไลน์ จะช่วยมาตอบโจทย์การพัฒนาทักษะของพนักงานในเวลารวดเร็วนั่นเอง

กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทุกคนในสังคม เราซึ่งมีสถานะเป็น ‘เจ้าของข้อมูล’ ที่ไปใช้บริการต่าง ๆ หัวใจหลักของกฎหมายบอกว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เมื่อให้ใครไปแล้ว เขาจะต้องเอาไปใช้ตามวัตถุประสงค์และความจำเป็น คือ นำไปใช้เท่าที่บอกว่าจะใช้ ไม่เอาไปใช้งานอื่นเกินเลยPDPA คืออะไร

ทุกคนต้องมาร่วมมือกัน

ในทางปฏิบัติแล้วสิ่งที่องค์กรเล็ก หรือ ใหญ่จะต้องทำ PDPA สรุป คือ การทำ privacy policy และ การบันทึกกิจกรรมประมวลผล

เพื่อบันทึกและบอกรายละเอียดว่า เราเก็บข้อมูลอะไร จะเอาไปทำอะไร เก็บมาเมื่อไร และจะเก็บนานเท่าไร โดยองค์กรที่ต้องทำตามกฎหมายของ PDPA มีลักษณะดังนี้

  • องค์กรที่มีการเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

    ในพรบ.นี้เรียกว่า Data Controller หรือ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

  • องค์กรที่เป็นหน่วยงานที่ผู้ควบคุมข้อมูล

    ว่าจ้างให้ประมวลผลข้อมูลของลูกค้าหรือของบุคคลใด ๆ ตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล ในพรบ.นี้เรียกว่า Data Processor หรือ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

  • องค์กรที่อยู่นอกประเทศไทย แต่มีการเสนอขายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศไทย

    มีการโอนถ่ายข้อมูล หรือ เฝ้าติดตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

เลือก Solution nี่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

ลดเวลาทำงาน เพิ่มเวลาทำเงิน

PDPA Prokit

บริการเอกสาร PDPA ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ ในบริการเดียว!!

  • รวมเอกสารที่จำเป็นสำหรับ PDPA กว่า 69 รายการ
  • ลดเวลาการเตรียมระบบจาก 6 เดือนเหลือ 30 วัน
  • รับการอัปเดตกฏหมาย PDPA ต่อเนื่อง 12 เดือน
  • ปรึกษาการใช้เอกสารได้ต่อเนื่อง 30 วัน
FWaaS

บริการ Cyber Security สำหรับธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะ (FWaaS)

  • บริการออกแบบระบบ Network ให้ง่ายต่อการป้องกัน Ransomware
  •  พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ และอัปเกรดให้ทันทีที่มีระบบที่ปลอดภัยกว่า 
  • มีทีม Cyber Security ดูแล และให้คำปรึกษาตลอดอายุสัญญา
MaaS

บริการ อีเมลบริษัท ปลอดภัยสูง โดยทีม Cyber Security (MaaS)

  • บริการอีเมลโดย Private hosting เสถียรสูง ไม่หน่วง ไม่ช้า
  •  บริการโดยซอฟแวร์ Kerio technnology ที่ให้บริการในองค์กรชั้นนำในอเมริกา
  • มีทีม Cyber Security ดูแล และให้คำปรึกษาตลอดอายุสัญญา
JOTT

บริการ เก็บแชท ไฟล์เอกสาร ในแอพพลิเคชั่น LINE สูงสุด 10 ปี

  • บริการบันทึกประวัติแชท บันทึกรูปภาพ บันทึกวีดีโอ ลงบน Cloud Server
  •  โดยช่วยยืดอายุไฟล์จาก 7 วันให้สูงสุด 10 ปี ตามความต้องการของลูกค้า
  • ระบบปลอดภัยสูง เพราะมีการเข้าดูไฟล์ด้วย QR Code ในบัญชีไลน์ส่วนตัว

ปรึกษาการทำระบบ PDPA

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

สมัครงาน ยังไง ให้บริษัทจ่ายค่าปรับเป็นล้าน ทำได้จริง!!!

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สมัครงาน เป็นกระบวนการที่วัยทำงานเกือบทุกคนต้องเคยผ่านมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเอกสาร การเตรียมวุฒิการศึกษาต่างๆ ซึ่งหลังจากมีการประกาศใช้ PDPA ที่เป็นกฏหมายการเก็บข้อมูลลูกค้า อย่างนั้นเองรู้หรือเปล่าว่าแค่การสมัครงานก็อาจจะทำให้เราได้เงินล้านได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

ทำไมต้องใช้เอกสาร สมัครงาน

จะว่าไปเคยสงสัยหรือเปล่า ทำไมทุกครั้งที่เราต้องการ สมัครงาน ใหม่ถึงต้องมีการขอเอกสารเยอะแยะไปหมด

ทำไมเข้าไปทำงานแล้วพอจบวันก็รับเงินแบบนี้ได้หรอ??? … แน่นอนว่าได้ ถ้าหากต้องการอย่างนั้น ถ้าหลายคนเคยรับจ้างทำงานต่างๆ จ้างพิมพ์งาน จ้างตัดหญ้า จ้างขับมอไซค์ ฯลฯ ที่เป็นอาชีพที่ไม่มีรายได้ประจำ หรือ ฟรีแลนซ์ 

การที่ยืนยันตัวตน การขอเอกสารสิทธิ์ต่างๆก็ไม่จำเป็นแน่นอน แต่ถ้าพอเปลี่ยนจากพนักงานรายวัน มาเป็นการทำงานด้วยการรับเงินเดือน เข้ากรอบกฏหมายแรงงาน มีสิทธิ์เรียกร้องสิ่งต่างๆได้ด้วยหลักฐาน การสมัครงานด้วยเอกสารจะเข้ามาดูแลเราในวันที่นายจ้างอยู่ๆจะเลิกจ้าง ไม่จ่ายเงินเดือน หรือไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม ทางภาครัฐฯจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพื่อมาคุ้มครองเราได้ตามกรอบของกฏหมาย

สมัครงานสมัครงาน ใช้เอกสารอะไรบ้าง

โดยปกติการสมัครงานที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้สมัครในประเทศไทย จะมีดังนี้

  1. เรซูเม่

    เป็นการเปิดโลกให้คนที่ไม่รู้จักเรา เข้าใจใน 1 หน้ากระดาษ ดังนั้นทักษะการนำเสนอตัวเองลงกระดาษจะช่วยให้ฝ่ายบุคคลนั้นคัดกรองครั้งแรกผ่านหน้ากระดาษแผ่นนี้ได้

  2. หลักฐานการศึกษา หรือ วุฒิการศึกษา

    สำหรับเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน การมีทรานสคริปสวยๆจากเกรดในวิชาเรียนจะช่วยให้คนเห็นตัวเลขเกรดในวิชานั้นๆได้ก่อน ฉะนั้นการตั้งใจเรียนไม่ได้หมายความว่าจะทำงานได้เก่ง แต่มันอาจจะเป็นแค่ไม่กี่ปัจจัยที่ทำให้คนที่เพิ่งเจอเรารู้ถึงความมุมานะในการเรียน 

  3. ทะเบียนบ้าน

    เอกสารเหล่านี้ปัจจุบันไม่ต้องถ่ายเอกสารจากตัวเล่มจริงประจำบ้านก็ได้ ในกรณีที่ไม่สะดวกเดินทางกลับบ้านไปถ่ายเอกสาร สามารถขอคัดสำเนาได้ที่สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งบางทีมีที่ตั้งสาขาในห้างสรรพสินค้า โดยการใช้บัตรประชาชนใบเดียวยื่นไปขอคัดสำเนาเท่านั้นเอง

  4. บัตรประชาชน

    แผ่นการ์ดพลาสติกใบนี้เป็นเสมือนตัวแทนของเราเอง ฉะนั้นบัตรประชาชนใบนี้จะตามไปทุกที่ ที่ใช้การยืนยันตัวตน โดยให้คัดลอกสำเนาเพียงด้านหน้า “อย่า”คัดลอกด้านหลังไปด้วย เพราะปัจจุบันตัวเลขด้านหลังของบัตรประชาชนจะเป็นตัวยืนยันตัวเองว่าเราเป็นเจ้าของจริง ไม่ใช่ใครแอบขโมยมา ดังนั้น “ห้ามคัดลอกสำเนาด้านหลัง” 

  5. รูปถ่าย

    ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วทางแถบแสกดิเนเวียน จะไม่มีการใช้รูป 1 นิ้ว 2 นิ้วในการสมัครงาน แต่ถ้ามาตรฐานในประเทศของเราการมีรูปถ่ายยังคงจำเป็นสำหรับการเข้าทำงาน รวมทั้งการใช้รูปภาพไปติดหน้าบัตรพนักงาน และการเก็บเอกสารเข้าไปในฐานข้อมูลบริษัท

  6. ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ สด.9

    สำหรับผู้ชายเอกสารการผ่านการผ่านพันธะทางทหารจะเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทจะนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรกๆ เพราะถ้าหากต้องมีการเกณฑ์ทหาร เพราะถ้าถูกเกณฑ์ไปจะทำให้เราต้องลาออกจากการทำงานกลางคัน ในกรณีที่มีการเรียกฝึกกำลังพลของคนที่เรียน รด. บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ไปฝึกกำลังพลไม่เกิน 60 วัน

  7. ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมต่างๆ

    สำหรับคนที่เปลี่ยนงานมาหลายครั้งด้วยการอัปเกรดทักษะให้มากขึ้น ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น การมีใบรับรองการฝึกอบรมจากสถาบันต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่นายจ้างจะนำมาพิจารณาจ้าง และไม่ต้องเสียเวลามาลุ้นว่าพนักงานที่จะจ้างมาทำตำแหน่งนั้นได้ดีหรือเปล่า

  8. ใบประกอบวิชาชีพ

    ในกรณีที่ทำงานที่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ เช่น ตรวจสอบบัญชี ลงนามในการก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม หรือผู้ควบคุมอากาศยาน เหล่านี้จำเป็นต้องมีใบวิชาชีพที่กำหนดตามกฏหมายมาประกอบด้วย รวมถึงใบขับขี่ในกรณีที่ต้องใช้ยานพาหนะทำงาน

  9. พอร์ตผลงาน

    เกณฑ์การพิจารณาของกลุ่มคนทำงานด้านศิลป์ หรือ ในตำแหน่งที่ต้องมีผลงานมาพิจารณา การเก็บผลงานเด่นๆมานำเสนอให้กับว่าที่นายจ้าง จะทำให้ว่าที่บริษัทที่เราจะทำงานด้วย ได้เห็นผลงานการทำงานได้ง่าย รวมไปถึงเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่ง และค่าจ้างก็มีผลมาจากผลงานที่สะสมไว้ด้วย

  10. ใบตรวจร่างกาย

    หลายบริษัทจะมีการตรวจร่างกายเข้าทำงาน ตรวจสารเสพติด หรือเช็คประวัติอาชญากรรม โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิดบางบริษัทที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มก็อาจจะต้องตรวจ ATK ให้กับพนักงาน หรือต้องการเอกสารรับรองการตรวจหาโควิดก่อนที่จะเข้าทำงานด้วยนะ

อย่าส่งบทความนี้ไปให้นายจ้างรู้

เราจะพบว่าข้อมูลส่วนตัวของเราเกือบทั้งหมดในชีวิต ถ้าไม่รวมบัตรเครดิตและใบแจ้งหนี้ของเรา ก็ตกเป็นของบริษัทโดยเกือบชอบธรรม

ไม่รวมว่าวันหนึ่งอาจจะมีการตรวจสอบเจอว่าเราไปแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน หรือแอบเอาข้อมูลเราส่งไปให้บริษัทขายประกันโทรมาอีก..ทำยังไงดีละทีนี้ หึหึ

เลยเกิดเป็น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภค (PDPA) ขึ้นมาคุ้มครองในกรณีที่อยู่ๆบริษัทแอบเอาข้อมูลของเราไปสมัครทำอะไรที่เราไม่ต้องการ เอาไปลงชื่อเข้าร่วมแคมเปญที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เหล่านี้เรามีสิทธิ์จะฟ้องร้องค่าเสียหายจากการกระทำของบริษัท โดยการฟ้องร้องค่าเสียหายได้

โดยที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่บริษัทเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลอีเมลไปแอบตรวจเช็คบัญชีโซเชี่ยลมีเดีย หรือไปแอบสืบมาว่าเราเคยทำอะไรมาก่อนแล้วมาเป็นเหตุผลการเลิกจ้าง เหล่านี้ทำให้เราสามารถป้องกันตัวเองจากนายจ้างที่ทำอะไรไม่เข้าท่าจากกฏหมาย PDPA ด้วย

สมัครงานนายจ้างจะลืมป้องกันตัวเองตอนไหน?

จากการบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้ถ้าหากว่าเราในฐานะลูกจ้าง ก่อนที่จะให้เอกสารการสมัครงานต่างๆก็ตาม

สิ่งที่จำเป็น และต้องมีคือการมีเอกสารสัญญาฉบับหนึ่งในการบอกกล่าวเราว่าเอกสารที่ได้จากเราจะเอาไปต้มยำทำแกง อะไรบ้าง จะเอาไปเก็บไว้ยังไง เก็บที่ไหน เอาข้อมูลไปทำอะไร สิ่งไหนที่ทำได้ ทำไม่ได้ โดยแล้วแต่กฏเกณฑ์การทำงานของแต่ละองค์กร จากนั้นมีการลงชื่อว่าเรารับทราบแล้ว และได้เอกสารสำเนากลับมาเก็บไว้กลับเราเองอีกฉบับเพื่อกลับมาตรวจสอบว่าบริษัท ไม่ได้เล่นแง่อะไรกับเราเพิ่มเติม และตรวจสอบย้อนกลับในวันที่เราถูกคุกคามด้วยอะไรที่ไม่ได้ตกลงกันไว้

สรุป

ในฐานะลูกจ้างของเราการทำงานที่ตามตกลงเป็นเสมือนข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้ในวันแรกของการทำงาน นอกเหนือจากข้อตกลงถ้าหากมีการตกลงที่ชัดเจน

ก็เป็นเหมือนการยอมรับในกฏเกณฑ์เพิ่มขึ้นระหว่างการทำงาน ดังนั้นข้อมูลส่วนตัวของเราก็เป็นเหมือนหนึ่งในสิทธิ์ที่เราในฐานะลูกจ้าง ต้องปกป้องตัวเองเพื่อป้องกันตัวเองในวันที่ถูกคุกคามนั่นเอง อย่างไรก็ตามถ้าหากบริษัทของคุณยังไม่เตรียมพร้อมใบสัญญาการเก็บข้อมูลกับคุณ สามารถเริ่มต้นปรึกษาการทำ PDPA กับเรา เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย

เตรียมระบบ PDPA ให้เสร็จใน 30 วันได้ยังไง?

โดยปกติการเตรียมระบบ และเอกสารของ PDPA เพื่อปรับใช้กับตำแหน่งต่างๆในบริษัท ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการปรึกษานักกฏหมาย และการเตรียมระบบเก็บข้อมูลสำหรับแต่ละแผนก ซึ่งอาจจะใช้เวลาเตรียมตัวนาน 3-6 เดือน ทำให้เราเห็นถึงความเหนื่อยล้าของการเตรียมการที่ไม่จำเป็น จึงเกิดเป็นบริการชุดเอกสาร PDPA ที่จำเป็นสำหรับแผนกต่างๆที่ต้องใช้ในการขออนุญาตจัดเก็บข้อมูล

ลดเวลาเตรียมระบบจาก 6 เดือน เป็น 30 วัน

ปรึกษาการทำระบบ PDPA สำหรับองค์กร

ทีมงานจะติดต่อกลับไป