Cyber threat 5 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ธุรกิจต้องเผชิญหลังโรคระบาด

cyber threat

การระบาดครั้งใหญ่ของไวรัส ได้ทำให้บรรดาแฮกเกอร์ออกมาโจมตีมากขึ้นกว่าเดิม  เนื่องจากการ lockdown และมาตรการ social distancing ของทั่วโลก ทำให้หลายบริษัทต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานจากที่บ้าน แล้วเข้ามาทำงานผ่านออนไลน์ ที่เคยเป็นช่องทางที่หลายบริษัทอ่อนไหวต่อการ Cyber threat ถูกคุกคามทางไซเบอร์ เพราะมันมีช่องโหว่ของการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายมากยิ่งขึ้ย

Cyber threat อาชญากรรมไซเบอร์ที่คลุกกรุ่น

ตั้งแต่ปี 2020 เนื่องจากโคโรนาไวรัสทำให้การโจมตีทางไซเบอร์ได้เพิ่มปริมาณมากขึ้น

พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมไซเบอร์ โดยคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นถึง 400 เปอร์เซ็นต์ ทางด้าน Microsoft รายงานว่าในสหรัฐอเมริกา การโจมตีแบบ phishing และ social engineering พุ่งสูงขึ้นเป็น 30,000 ต่อวัน ส่วนนักวิจัยด้านภัยคุกคามกล่าวว่า ransomware attacks เพิ่มขึ้นถึง 800 เปอร์เซ็นต์

จะเห็นได้ว่า ทุกคนตกเป็นเป้าหมายของ cyberattacks แต่มีแนวโน้มว่าธุรกิจขนาดเล็กเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่พบบ่อยที่สุด โดยประมาณ 43% ของ cyberattacks มุ่งเป้าไปที่ธุรกิจขนาดเล็ก!

cyber treatCyber security คืออะไร?

Cyber security คือการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นการป้องกัน cyber threat ระบบคอมพิวเตอร์จากการโจรกรรม

หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ digital data ต่าง ๆ ตลอดจนการป้องกันไม่ให้ธุรกิจหยุดชะงัก ปัจจุบันความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ มักเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเราสามารถเข้าถึง network ได้ง่าย และยังหมายถึงการถูกคุกคามตั้งแต่คอมพิวเตอร์ที่มีการจัดเก็บข้อมูล ไปจนถึงการขโมยข้อมูลบริษัทและข้อมูลส่วนตัวของทุกคน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเจอข่าวว่าธนาคาร บริษัท คนขายของออนไลน์ และบริษัทอื่น ๆ ถูกละเมิดข้อมูลและข้อมูลของลูกค้าถูกขโมย

cyber treat

สิ่งที่วงการธุรกิจอาจต้องเผชิญหลังจากนี้อะไรบ้าง?

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มีการวิเคราะห์ออกมาว่ามีภัยคุกคามเพิ่มขึ้นถึง 6 อย่างที่น่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากที่สุด

1. Hacking the home

เนื่องจากผู้คนอาศัยอยู่บ้านและ working from home มากขึ้น จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจึงมีมากขึ้น พร้อม ๆ กับโลกและวิถีชีวิตของผู้คนที่เชื่อมต่อกันง่าย ทำให้แฮกเกอร์มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลของเหยื่อผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แอป และ web services ได้เพียงไม่กี่คลิก

ในขณะที่เราทำงานจากบ้านหรือท่องเว็บออนไลน์ Cyber criminals (อาชญากรไซเบอร์) พวกนี้ก็จะมองหาช่องโหว่เพื่อที่จะขโมยข้อมูลของเรา อีกทั้งคนที่ working from home ก็มักใช้อุปกรณ์ส่วนตัวในการทำงาน และ log in เข้าสู่ระบบในเว็บต่าง ๆ ผ่าน networks ภายในบ้าน โดยที่ไม่ได้รับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเต็มที่ 

ในช่วงปี 2020 ความกังวลด้านความไม่มั่นคงทางการเงินของชาวอเมริกันหลายล้านคนเพิ่มขึ้นสูงที่สุด เนื่องจากหลายคนตกงานหรือประสบปัญหาเรื่องชั่วโมงในการทำงาน หรือเงินเดือนที่ลดลง บางคนโชคร้ายซ้ำสองจากการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์ เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยน default settings หรือเปลี่ยนรหัสผ่าน ทำให้อาชญากรสามารถเข้าถึง network ของเหยื่อได้ง่าย 


บทความที่น่าสนใจ :

Ransomware คือ2. Beware of the ‘wares’

ในปี 2021 นักวิเคราะห์ด้าน Cyber Security เชื่อว่าภัยคุกคามที่ลงท้ายด้วย ‘wares’ ทั้งหมด เช่น ransomware, malware, spyware, scareware และ adware จะยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับทีมรักษาความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น scam email ที่หลอกลวงผู้คนว่าเว็บแคมของพวกเขาจะถูกบุกรุกและจะเอารูปภาพหลุด ๆ ไปเผยแพร่ ซึ่งใน scam email บอกด้วยว่าต้องการให้เหยื่อชำระเงินด้วย Bitcoin เพื่อแลกกับการทำลายภาพหลุดดังกล่าวทิ้ง 

ในปี 2020 Ransomware ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าถึง 20 พันล้านเหรียญทั่วโลก จะกลายเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้นในปี 2021 โดยหน่วยงานด้าน cybersecurity มีการคาดการณ์ว่าในปี 2021 ธุรกิจจะตกเป็นเหยื่อของการโจมตีแบบ ransomware ทุก ๆ 11 วินาที ซึ่งลดลงจากปี 2019 ที่มีการโจมตีทุก ๆ 14 วินาที

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กรของคุณ"

3. Cloud-based threats

Cloud computing (การประมวลผลแบบคลาวด์) ได้เร่งพัฒนาขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2020 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด หลายบริษัทเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงและใช้ประโยชน์จาก tools online ที่ตัวเองมีอยู่ เมื่อปี 2020 เราได้เห็นว่าธุรกิจต่าง ๆ จะยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบคลาวด์ และคาดว่าจะดำเนินการเช่นนี้ไปอีกในปี 2021 และปีต่อ ๆ ไป

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายและภัยคุกคามด้านความปลอดภัยมากมาย เช่น ช่องโหว่ของ Cloud app, การลบข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์, การกำหนดค่าที่ผิดพลาดใน cloud storage ซึ่งปัญหาใน cloud services ที่พบเจอเหล่านี้ ทำให้ยิ่งไปเพิ่มความเสี่ยงด้าน cybersecurity ยิ่งขึ้นไปอีก

4. QR code abuse

Scammers (นักต้มตุ๋น) และ cyber criminals ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง QR codes เพื่อหาโอกาสในการเข้าถึง personal data ของเหยื่อจากการสแกนเพียงครั้งเดียว ในช่วงการระบาดของโควิดธุรกิจจำนวนมาก เช่น เจ้าของร้านอาหาร มักจะสร้าง QR codes เพื่อให้ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดแอปหรือเมนูของพวกเขาได้ และ scammers ก็ใช้กลวิธีที่คล้ายกันเพื่อดึงดูดเหยื่อให้ดาวน์โหลดแอปที่เป็นอันตราย และขโมยข้อมูลของเหยื่อไป เมื่อแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของลูกค้าธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งได้แบบนี้ พวกเขาก็สามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อ launch phishing scams ภายใต้ชื่อบริษัทของเหยื่อได้เช่นกัน

dark web , surface web , deep web อันตรายไหม5. ฟิชชิง (Phishing)

เนื่องจากมีคนใช้อินเทอร์เน็ตเยอะขึ้น ทำให้ฟิชชิงเป็นหนึ่งใน cyberattacks ที่พบบ่อยที่สุด phishing scams ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก วิศวกรรมสังคม (social engineering) คือเทคนิคการ Hacking ของ Hacker ซึ่งอาศัยช่องโหว่จากพฤติกรรมของผู้ใช้) ในการโจมตีอีเมลและ cloud services แบบเดิม ๆ นอกจากนี้ฟิชชิงสามารถครอบครองบัญชี หรือ Account Takeover (ATO), สามารถประนีประนอมอีเมลธุรกิจ หรือ Business Email Compromise (BEC), สามารถทำให้เกิดแรนซัมแวร์, สามารถขโมยข้อมูล และละเมิดความปลอดภัยอื่น ๆ ได้ อีเมลฟิชชิงส่วนใหญ่จะปลอมเป็นข้อความจากบุคคลที่เชื่อถือได้ เช่น manager, เพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ เพื่อหลอกให้พนักงานในบริษัทเป้าหมายเปิดใช้งานมัลแวร์ หรือให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต วัตถุประสงค์ของพวกนี้คือเพื่อให้เหยื่อคลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่เป็นอันตราย หรือให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ ควรใช้ประโยชน์จาก email phishing protection software และการ training พนักงานเพื่อลดความเสี่ยงจากการโจมตีเหล่านี้

ปรับเปลี่ยนความปลอดภัยด้วยการตั้งระบบที่ถูกต้อง

ในโลกที่อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง การใส่ความปลอดภัยจากปราการด่านแรกที่ทุกออฟฟิศต้องมีคือ ระบบป้องกันการเข้าออกเครือข่ายของบริษัทซึ่งมีการติดตั้งมาตั้งแต่การมีคอมพิวเตอร์ในบริษัท รวมถึงหลายองค์กรไม่ได้มีการปรับปรุงระบบให้มีฐานข้อมูลเป็นปัจจุบันก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะเติมเต็มช่องว่างนี้ผ่านบริการ Firewall as a Service

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

FWaaS advantage

บริการออกแบบเครือข่าย Network security (Firewall as a Service)