สัญญาณเน็ต มีวิวัฒนาการอย่างไร จากมือถือรุ่นกระติกน้ำ มาเป็น 5G ได้ยังไง

ใครจะไปรู้ว่าเมื่อวันที่ สัญญาณเน็ต มือถือมีให้ใช้สะดวกสบายกว่าจะมาถึงในวันนี้ เบื้องหลังการเดินทางของสัญญาณที่เรามองไม่เห็นในอากาศ มันมีวิวัฒนาการมาจากการส่งคลื่นวิทยุ แค่รับ โทร ออกจากเครื่องอุปกรณ์ขนาดกระเป๋าหิ้ว หนวดกุ้งยักษ์กันไปแล้ว มาดูกันดีว่ากว่าเน็ตมือถือเร็วแรง ราคาปีละไม่กี่พันบาท เราผ่านการเดินทางอะไรกันมาแล้วบ้าง โดยแบ่งเป็นเจนเนเรชั่น (G)

1G ยุคอนาลอคแค่รับและโทรออก

ในการพัฒนาโทรศัพท์ในรุ่นแรกเป็นการใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งเสียง ซึ่งการทำงานของมันนั้นเป็นเพียงคลื่นวิทยุที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัย

ใครดักฟังก็ได้และสัญญาณก็หลุดขาดหายง่าย ด้วยความเป็นอนาลอคของสัญญาณ ถ้าคิดไม่ออกขอให้จินตนาการถึงทีวีสมัยหนวดกุ้งที่มีภาพซ่าๆ ชัดๆ แค่ปรับตำแหน่งของสัญญาณ แต่ถ้าเป็นสัญญาณดิจิตอลจะมีแค่รับสัญญาณได้แบบชัดเจน หรือ รับไม่ได้เลย เช่นเดียวกับคลื่นมือถือที่ถูกพัฒนาต่อไปเป็นเวอร์ชั่นดิจิตอลเต็มตัวมากขึ้น สามารถส่งข้อมูลหากันด้วยความเร็ว 2.4 Kbps

2G รับสาย โทรออก ส่งข้อความหากันได้

ในยุคนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทั้งการปรับปรุงสัญญาณจากสัญญาณวิทยุ ให้เป็นคลื่นไมโครเวฟ

โดยมีการพัฒนาทั้งความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลโดยที่การส่งข้อมูลจากจุด A ไป B จะใช้การแปลงเสียงให้เป็นสัญญาณ 0 1 0 1 1 0 1 1 โดยที่จะมีการเข้าใจเพียงอุปกรณ์ที่กำลังส่งข้อความหากันเท่านั้น จึงสามารถแก้ปัญหาการถูกสอดแนมระหว่างทางกันได้ดี โดยนอกจากนี้การเข้ามาของ 2G ยังสามารถส่งข้อมูลให้กันด้วยความเร็วสูงสุด 64 Kbps ความเร็วระดับนี้สามารถส่งข้อความหากันระหว่างเครื่องมือถือสองเครื่องได้อย่างสะดวกสบาย ก่อนจะมีการพัฒนาระบบ 2.5G และ 2.75G ที่เป็นการปรับปรุงและพัฒนาความเร็วในการรับส่งให้สูงสุด 1 Mbps ถ้าใครทันจะคงจำการส่ง MMS หรือการส่งรูปภาพพร้อมข้อความหากัน ซึ่งเป็นการพัฒนาขึ้นอีกขั้นก่อนจะก้าวกระโดดด้วยเทคในโลยีรุ่นที่ 3

zero trust3G คือ สัญญาณเน็ต การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี

หลังจากที่มีการประมูลคลื่นใหม่ในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2555 เรามีโอกาสได้เห็น สัญญาณเน็ต มือถือที่เป็นคอมพิวเตอร์มากมายหลายรูปแบบยิ่งขึ้น

จากเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของคลื่นนี้ คือการสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ไปพร้อมกับการปรับปรุงสัญญาณเสียงที่บีบอัด ก่อนจะส่งไปยังปลายสายที่ปลายทาง โดยใน 3G รุ่นแรกนั่นทางสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศของสหประชาชาติกำหนดมาตรฐานความเร็วคงที่ของมันอยู่ที่ 2 Mbps โดยที่ถ้ามีความเร็วรับสูงที่มากกว่า 384 Kbps จนการพัฒนาต่อยอดมาเป็น 3.5G ที่รับส่งสัญญาณได้ทางทฤษฏีที่ 42 Mbps 

ถ้าจะอธิบายได้อย่างเห็นภาพคือ เสาสัญญาณ 1 ต้นจะปล่อย 3G ออกมาที่ความเร็ว 42 Mbps ฉะนั้นถ้าหากมีคนต่อสัญญาณที่หน้าตู้พร้อมกัน 10 คนก็จะเฉลี่ยความเร็วหารกัน ทำให้ในช่วงนั้นค่ายโทรศัพท์ต่างกันพัฒนาเสาสัญญาณ ติดตั้งให้ได้มากที่สุด เพื่อรองรับการรับส่งอินเตอร์เน็ตให้พอกับลูกค้าจนเป็นการต่อยอด ขยาย ทะลวงความเร็วรับส่งสัญญาณให้มากขึ้นทวีคูณด้วยเทคโนโลยีในยุคต่อไป

สัญญาณเน็ต

4G ทำให้คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในราคาที่เข้าถึงได้

ถ้าสามจีเป็นการสร้างระบบกระจายอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือได้แล้ว 4G จะเป็นตัวที่ทำให้อินเตอร์เน็ตมือถือเร็วขึ้นอย่างทวีคูณ

และสามารถไลฟ์วีดีโอละเอียดสูง เข้าถึงอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพราะ Bandwidth ที่เปรียบเสมือนถนนกว้างขึ้น 3 เท่าจาก 42 เป็น 150 Mbps ลดความล่าช้าของการรับส่งข้อมูล ทำให้ระหว่างวีดีโอคอลกันจะเหมือนกับคุยกันตรงหน้ามากขึ้น (Low latency) ถึงแม้ในตอนแรกจุดอ่อนของ 4G คือส่งได้เพียงอินเตอร์เน็ตเท่านั้น เมื่อมีโทรศัพท์เข้าเครื่องจะกลับไปรับคลื่น 3G และอินเตอร์เน็ตจะหลุดในระหว่างโทร แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบ VoLTE ให้สามารถใช้งานทั้งเน็ตทั้งโทรได้ในคราวเดียวกันเทคโนโลยีเบื้องหลังของมือถือ 4G นั้นมีมากมายแต่เราจะเลือกไฮไลต์ของเทคโนโลยีมาให้

  1. Multiple Input Multiple Output : MIMO

    เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความเร็วและความกว้างของการรับส่ง คือการทำให้เสาอากาศมือถือของเรามีตัวส่งคลื่นอย่างน้อย 2 ช่องสัญญาณ ส่งออกไปที่เสาโทรศัพท์ที่มีตัวรับอย่างน้อย 2 ตัวรับ

    เปรียบเทียบเป็นการส่งพัสดุไปต่างจังหวัด 10 ชิ้น โดย 2 กล่องส่งไปทางรถไฟ อีก 2 กล่องส่งไปทางรถบรรทุก โดยข้อดีของเทคโนโลยีนี้ช่วยในกรณีที่ส่งไปทางรถบรรทุกแล้วเกิดรถติด แทนที่ของจะไปถึงช้าหรือส่งไปไม่ถึงเลยถ้าเกิดระบบล่ม มันจะเลือกช่องทางอื่นให้ส่งได้เช่นกัน 

    สัญญาณเน็ต

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

2. Orthogonal Frequency Division Multiplexing : OFDM

เป็นอีกเทคโนโลยีที่ทำให้การรับส่งข้อมูลนั้นกว้างและไม่ชนกัน โดยในอดีตการส่งคลื่นจะแยกกันชัดเจน 1 คลื่น 1 ท่อสัญญาณทำให้มีความเร็วต่ำ

จากการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาเป็นการบีบอัดคลื่นหลายความถี่เข้าด้วยกัน โดยที่ทำให้จุด Peak ของแต่ละคลื่นไม่ชนกัน ทำให้การปล่อยสัญญาณครั้งเดียว สามารถทำความเร็วได้หลายเท่ากว่าเทคโนโลยีแบบเดิม

สัญญาณเน็ต

5G คือการทำให้ส่งข้อมูลก้อนใหญ่ ในความดีเลย์น้อย

การต่อยอดจาก 4G เดิมคือการต้องการอินเตอร์เน็ตที่เร็วมหาศาล และดีเลย์ที่น้อยลงมากที่สุด

เพราะความต้องการแรกของการพัฒนาคือการใช้ 4G เดิมนั้นเริ่มไม่พอใช้งานจากการที่มีคนใช้มือถือจำนวนมาก ต้องติดตั้งตัวกระจายสัญญาณมากขึ้น รวมถ้าวีดีโอคอลจากไทยไปอเมริกา ปัญหาที่เจอคือบางทีปากกับเสียงไม่ตรงกัน ภาพกระตุกเป็นช่วงๆ การเข้ามาของ 5G ต้องการที่ทำให้ความช้าการรับส่งสัญญาณข้ามโลกนั้นลดลง หวังว่าการบังคับหุ่นยนต์ผ่าตัดจากศาสตราจารย์ที่อเมริกา ผ่าตัดคนไข้ผ่านอินเตอร์เน็ตที่กรุงเทพฯได้ ซึ่งจะทำให้คนไข้เข้าถึงหมอเก่งๆโดยไม่ต้องเดินทางข้ามโลกได้ แต่จริงๆแล้วทางปฏิบัติทำได้แบบนั้นจริงๆหรือเปล่า?

ความเร็วอินเตอร์เน็ตขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่นมือถือ

การปรับปรุงสัญญาณความเร็วในเทคโนโลยีนี้เกิดจากปัญหาการใช้งานคลื่นของเราในปัจจุบันที่ความถี่ 1-10 GHz นั้นเราใช้งานได้หนักหน่วงมหาศาลเกินพอที่จะแทรกสัญญาณใหม่เข้าไป ยกตัวอย่างคลื่น Wifi ที่ใช้กันปัจจุบันเราจับที่ 2.4 GHz และ 5 GHz ขณะที่ 4G ก็มีตั้งแต่ 850 MHz 900 MHz 1.8 GHz 2.1 GHz 2.4 GHz

สัญญาณทีวีดิจิตอลที่ 700 MHz คลื่นดาวเทียม 3.5 GHz และอื่นๆมากมายที่แย่งกันใช้งานในช่วงคลื่นความถี่ดังกล่าว เป็นที่มาของการย้ายคลื่นให้หลีกหนีจากความถี่ช่วงดังกล่าว

เว็บไซต์กฏของฟิสิกส์คือยิ่งคลื่นมีความถี่มากเท่าไหร่ จะมีความเข้มข้น (ส่งสัญญาณได้มากขึ้น ส่งข้อมูลได้ปริมาณมากขึ้น) แต่มันมีพลังการทะลุทะลวงที่ต่ำ ผ่านกำแพง ผ่านประตู ก็ทำให้ความเร็วดรอปลงมหาศาล แต่ก็เป็นที่มาของจุดแข็งการพัฒนาความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงขึ้นมากๆ โดยใช้ช่วงคลื่น 24-100 GHz ที่ยังไม่มีใครนำมาใช้งาน

แต่พอใช้งานจริงในประเทศไทย มีการใช้คลื่น 700 MHz , 2.6GHz และ 26 GHz เข้ามาใช้งาน กล่าวคือใช้ 5G ความเร็วต่ำสามารถกระจายได้ไกลสำหรับพื้นที่คนใช้น้อย ความเร็วปานกลางกระจายได้วงแคบกับพื้นที่ชุมชน และความเร็วสูงมากวงแคบมากใช้กับพื้นที่คนเยอะมากอย่างงานอีเว้น หรืออื่นๆ โดยมีการเพิ่มเทคโนโลยีตัวอย่าง ดังนี้

สัญญาณเน็ต

  1. Massive mimo

    ยิ่งคลื่นความถี่ต่ำ ตัวรับสัญญาณต้องใหญ่มากยิ่งขึ้น แต่พอเป็นคลื่นที่ความถี่สูงความทะลุทะลวงต่ำ ตัวรับส่งสัญญาณมีขนาดเล็ก และสามารถรวมกันเป็นตัวรับส่งสัญญาณปริมาณมหาศาล ซึ่งแก้ปัญหาในกรณีที่คลื่นความถี่สูงมากๆ แม้แต่ต้นไม้ หรือเงาตึกก็ทำให้สัญญาณขาดหายได้ ฉะนั้นทางแก้คือการกระจายเสาสัญญาณในรัศมี 10-100 เมตรเพื่อรักษาความสมดุลของสัญญาณนั่นเอง

  2. Beamforming

    จากการกระจายสัญญาณของคลื่น 4G เดิมนั้นเป็นการรวมเสาส่งสัญญาณไว้ที่เสาต้นเดียว ทำให้มือถือจะเลือกรับสัญญาณจากคลื่นที่มีความเข้มสูงที่สุดแต่ปัญหาคือคลื่นจากเสาต้นเดียวกันเกิดการแทรกสอดซึ่งกันและกัน ทำให้ความเร็วในการรับส่งสัญญาณเหมือนคนที่ตะโกนคุยกันในร้านเหล้า ต้องใช้ทั้งพลังงานมากขึ้นแต่ประสิทธิภาพลดลง

    เทคโนโลยี Beamforming ใน 5G จะเปลี่ยนจากการกระจายสัญญาณไปรอบๆบริเวณของเสาสัญญาณ เป็นการยิงสัญญาณไปที่คนใช้งานเป็นจุดๆ ข้อดีคือทำให้คลื่นและความเข้มข้นไม่รบกวนกัน ทำให้ความเร็วสูง แต่ข้อเสียคืออุปกรณ์การเดินทางของคลื่น ผ่านสิ่งกีดขวางนั่นเอง
    สัญญาณเน็ต

การพัฒนาสัญญาณมือถือรุ่นต่อไป

จนมาถึงทุกวันนี้ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี 6G อยู่ แต่เทคโนโลยี 5G เองก็ยังไม่ได้รับการตอบรับที่แพร่หลาย

ด้วยข้อจำกัดทางโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ 5G เองไม่ได้เอามาผ่าตัดข้ามโลก หรือ ใช้กับรถยนต์ไร้คนขับในปัจจุบัน เพราะทั้งอุปกรณ์ทั้งสองฝั่ง เซิพเวอร์ของทั้งสองทางที่อาจจะอยู่ห่างไกลกัน หรืออีกฝั่งใช้ 3G อีกฝ่ายใช้ 5G ที่ความเร็วรับส่งก่อนเข้ามือถือนั่นไม่แรงเท่ากัน ก็ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างกันไม่เสถียรและดีเลย์น้อยจริงเหมือนอย่างที่ทุกฝ่ายคาดไว้ ฉะนั้นต้องรอการพัฒนาต่อยอดในอนาคตที่คงไม่นานอาจจะได้เห็นกัน โดยสิ่งที่ต้องมีการเติบโตต่อยอดไปด้วยกันคือระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

FWaaS advantage

บริการวางระบบ Network Security

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล

อินเตอร์เน็ต Fiber optic มีความเร็วสูงสุดเท่าไหร่

ถ้าเรามองย้อนกลับไปถึงการเติบโตของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เราจะเห็นยุคที่ต้องใช้สายโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อโมเด็มผ่านสายทองแดง การเชื่อมต่อแต่ละครั้งต้องใช้เวลาหลายนาที ก่อนที่เริ่มต้นใช้ได้จริงๆ จนไปเป็นการพัฒนาเป็นสายเคบิล และผ่าน Fiber optic แบบปัจจุบันมันมีอะไรบ้าง

สายทองแดงโบราณ Dial up

ในยุคแรกของการมีอินเตอร์เน็ตเรามีการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นเราต้องทำการต่อสายเข้าไปที่องค์การโทรศัพท์

เพื่อให้มีการตอบรับก่อน ทำให้ต้องเลือกระหว่างการใช้โทรศัพท์ กับ การใช้อินเตอร์เน็ตในยุคแรกนั้นความเร็วอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุด 56 Kbps หรือคิดง่ายๆว่าการดาวน์โหลดเพลง mp3 (3 MB) สักเพลงอาจจะใช้เวลาถึง 8 นาที ทำให้ในยุคนั้นการได้เพลงสักเพลงมานั้นยากลำบากเหมือนการจีบใครสักคนที่ต้องใช้เวลานานกว่าปัจจุบัน

สายทองแดงยุค DSL (Digital subscriber line)

การพัฒนาในช่วงต่อมาก็ยังคงมีการใช้ตัวกลางเป็นสายทองแดง (เหมือนยุคแรก)

แต่มีการพัฒนาเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีที่แบ่งการเชื่อมต่อด้วยระบบอานาลอค กับ ดิจิตอลออกจากกัน ทำให้พอเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเราไม่จำเป็นต้องเลือกว่าจะต้องตัดการเชื่อมต่อโทรศัพท์บ้านออกจากกันหรือเปล่านั่นเอง โดยยุคนี้จะเป็นช่วงการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างแพร่หลายมากขึ้น และโทรศัพท์บ้านก็ถูกลดบทบาทการใช้งานลงเช่นเดียวกัน 

  • อินเตอร์เน็ตแบบ ADSL

ข้อสังเกตของอินเตอร์เน็ตตามบ้านในยุคเทคโนโลยีนี้ ผู้ให้บริการจะออกโปรโมชั่นเน็ตความเร็ว 10 Mbps / 1 Mbps

ซึ่งสังเกตว่าค่าดาวน์โหลดนั้นมีมากกว่าอัพโหลดได้อย่างเห็นได้ชัด เป็นการแบ่งสัญญาณให้โทรศัพท์สายนั่นเอง ซึ่งในยุคนั้นตามบ้านเราเน้นการเปิดเว็บไซต์ เปิดฟังเพลงและคลิปวีดีโอ ที่เป็นการดาวน์โหลดข้อมูลทั้งสิ้นนั่นเองจึงทำให้กลุ่มที่ต้องการโยนไฟล์ขึ้นระบบมากๆต้องใช้บริการสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะที่เรียกว่า SDSL

  • อินเตอร์เน็ตแบบ SDSL

สำหรับในอดีตนั้นการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลหาคนอื่นในปริมาณมากๆ

เช่น การใช้วีดีโอคอลระหว่างประเทศ การส่งไฟล์เข้า Server ต่างๆนั้นทำโดยการเลือกใช้เทคโนโลยีที่แบ่งสัญญาณในปริมาณเท่ากัน เช่น ความเร็วดาวน์โหลด 10 Mbps ความเร็วอัพโหลด 10 Mbps ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการที่ต้องแบ่ง Banwidth หรือท่อสัญญาณแยกให้เฉพาะนั่นเอง

fiber optic

ฉะนั้นภาพรวมของอินเตอร์เน็ตยุค DSL นั้นเป็นการที่ผู้ให้บริการเชื่อมอินเตอร์เน็ตผ่าน สายโทรศัพท์บนเสาไฟฟ้า จากนั้นก็จั๊มเข้าตู้โทรศัพท์หรือชุมสายโทรศัพท์ แล้วค่อยโยงสายทองแดงเข้าตามบ้านแล้วแยกสายโทรศัพท์กับอินเตอร์เน็ตออกจากกันผ่านโมเด็มนั่นเอง

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

สายไฟเบอร์ Fiber optic

เทคโนโลยีที่เราใช้ในปัจจุบันเป็นการส่งข้อมูลผ่านตัวกลางที่เป็น Fiber optic ทำให้มาทำลายข้อจำกัดเดิมของการเดินทางอินเตอร์เน็ต

กล่าวคือระบบ Dial up มีข้อจำกัดคือเลือกใช้โทรศัพท์บ้านหรือใช้อินเตอร์เน็ต ระบบ DSL คือข้อจำกัดของชุมสายโทรศัพท์ ถ้าเต็มก็ติดตั้งไม่ได้ ท่อนำสัญญาณมีการรับส่งข้อมูลได้จำกัด และต้องหารความเร็วได้พอๆกัน พอเป็นยุคการเดินผ่านท่อใยแก้วนำแสงก็จะหมดทุกข้อจำกัดที่ผ่านมา เพราะแสงนั้นเดินทางที่สุญญากาศทีประมาณ 300 ล้านเมตรต่อวินาที หรือยังไม่มีอะไรที่วิ่งเร็วกว่าแสงที่มนุษย์ค้นพบได้ในขณะนี้ 

  • ยุคแรกของการใช้สายไฟเบอร์ตามบ้าน

หลายคนในวงการไอทีจะเคยได้ยินไฟเบอร์แท้ ไฟเบอร์ไม่แท้ มันเป็นศัพท์ที่เรียกกันในวงการ Networkกล่าวคือผู้ให้บริการนั้นเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของตัวเอง มาถึงโนด (คล้ายชุมสายโทรศัพท์สมัยก่อน) แล้วจากนั้นจะใช้สายเคเบิลต่อเข้าบ้านเราอีกที ซึ่งวิธีการนี้จะยังมีข้อจำกัดด้านความเร็ว เพราะสุดท้ายสายที่เดินเข้าบ้านเรายังเป็นสายทองแดงที่ยังส่งความเร็วได้จำกัด แต่ช่วงนั้นเรื่องเทคโนโลยีและต้นทุนการเดินสายยังค่อนข้างสูง ผู้ให้บริการหลายเจ้าจึงเลือกใช้วิธีการนี้

  • ยุคปัจจุบันที่เราใช้

ปัจจุบันที่อินเตอร์เน็ตตามบ้านเรานั้นใช้ความเร็วที่ 1 Gbps เป็นเรื่องปกติเพราะผู้ให้บริการสามารถใช้สายใยแก้วนำแสงนั้นส่งตรงไปถึงบ้านของผู้รับบริการได้เลย โดยที่การทำงานของใยแก้วนำแสงนั้นใช้หลักการหักเหของแสง โดยแสงนั้นเมื่อตกกระทบไปในอุปกรณ์สะท้อนแสงนั้นจะมีการสะท้อนไปกระทบวัตถุอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อดีของการส่งข้อมูลด้วยใยแก้วนำแสง เพราะแสงนั้นสามารถส่งข้อมูลได้ความเร็วมหาศาล

zero trustปัจจุบัน Fiber optic ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่

จะเห็นได้ว่าเมื่อแสงนั้นเดินทางจากดวงอาทิตย์มาถึงโลกผ่านตัวกลางสุญญากาศนั้นจะทำความเร็วที่ 300 ล้านกิโลเมตรต่อวินาที

แต่มีการทดสอบว่าเมื่อแสงนั้นเดินทางผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศ น้ำ หรือใยแก้วนำแสงนั้นความเร็วของมันถูกลดลงกว่า 31% หรือประมาณ 206,856,796 เมตรต่อวินาที จากนั้นมีการทดลองส่งข้อมูลในปี 2017 ผ่านสายใยแก้วนำแสงท่อเดียวได้ที่ความเร็ว 10,160 ล้านเมกกะบิทต่อวินาที (หรือประมาณ 10 ล้านเท่าของอินเตอร์เน็ตบ้านที่เราใช้กันที่ 1000 เมกกะบิทต่อวินาที) ซึ่งถ้าส่งข้อมูลด้วยใยแก้วนำแสง แบบ Multimode หรือใช้แสงมากกว่า 1 สีนำส่งข้อมูลจะเร็วกว่านี้ แต่ทั้งนี้ปัจจุบันโลกของเรายังไม่สามารถรู้ว่าความเร็วสูงที่สุดของการส่งข้อมูลด้วยสายใยแก้วนำแสงคือความเร็วเท่าใดนั่นเอง

สรุป

ปัจจุบันนั้นการส่งข้อมูลจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริการที่ไกลออกไป 10,000 กิโลเมตรนั้น เมื่อเราวีดีโอคอลกับเพื่อนอีกข้ามโลกเราจะเห็นว่าจะมีการเหลื่อมเวลาหรือมีการดีเลย์ของวีดีโออยู่

ที่เป็นข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่ทำให้เราไม่สามารถผ่าตัดข้ามโลก หรือเข้าสู่โลกเสมือน Metaverse ได้อย่างไร้รอยต่อนั่นเอง อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีอย่างเราๆนั้นนอกจากมีการใช้งานและส่งข้อคิดเห็นไปให้ผู้ใช้บริการทราบ ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่จะทำให้ผู้พัฒนานั้นมีการต่อยอดให้ในอนาคตการส่งข้อมูลข้ามโลกมีความดีเลย์ที่น้อยลง และจะสามารถเข้าสู่โลกเสมือนได้อย่างแท้จริง


References :
Source1 / Source2 / Source3 / Source4 / Source5 / Source6 / Source7

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"