5 ทักษะการดูแลลูกค้าออนไลน์ของนักขายมืออาชีพ ช่วงการระบาดของโควิด19 ทำยังไง

บริษัทเอกชนเป้าหมายของทุกบริษัทคือการสร้างกำไรมาหล่อเลี้ยงบริษัท ซึ่งเกิดจากการขายสินค้าหรือบริการนำเสนอให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์และลูกค้าที่ดีจะมีผลต่อการสร้างยอดขาย และได้รับการตอบรับจากบริการใหม่ๆ ในยุคที่พบปะลูกค้าไม่ได้ เซลล์แมนจะดูแลลูกค้าออนไลน์ยังไงให้ดูแลลูกค้าให้ได้นานๆ สรุปมาให้แล้ว

ทักษะคุยกับลูกค้าผ่านแชท

เชื่อว่าเซลล์หลายคนนั้นคุ้นชินกับการเก็บรายละเอียดลูกค้าในการพบปะในชีวิตจริง แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนการรู้จักลูกค้าเป็นการแชทกันบนไลน์ การพูดคุยถูกจำกัดการสังเกตจากท่าทาง น้ำเสียง และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทำให้ทักษะการคุยแชทให้รู้รายละเอียดลูกค้านั้นจึงเป็นสกิลสำคัญของเซลล์ในต่อจากนี้ 

โดยรายละเอียดลูกค้าอาจจะเริ่มจากการหาวนหาประเด็นที่ลูกค้าสนใจ เช่น เม้าท์มอยเรื่องซีรีส์วาย ละครเมื่อคืน หรือบอลนัดชิง ซึ่งพอหลังจากการค้นหาประเด็นที่ตรงกันแล้ว จะทำให้แชทสนุกสนานกันทั้งสองฝ่าย

เป็นมนุษย์

เมื่อยุคที่ไม่สามารถเดินทางไปมาระหว่างกันได้ สิ่งที่เป็นปัญหาต่อมาเมื่อศูนย์บริการถูกปิด ลูกค้าจึงไปรวมกันที่คอลเซนเตอร์ ซึ่งถ้าหลายคนมีประสบการณ์ติดต่อผู้ให้บริการต่างๆในช่วงโควิด รอติดต่อก็นาน ระบบอัติโนมัติก็ไม่เข้าใจสิ่งที่เราต้องการคุย ทักแชทไปก็มีแต่ให้กด QA สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือเราโหยหาความเป็นมนุษย์มากขึ้น

เราต้องการมีมนุษยสัมพันธ์กับอีกฝ่าย ดังนั้นถ้าหากเซลล์แมนสามารถที่จะให้มากกว่า auto message อย่างที่หลายคนเคยประสบมา เช่น ปฏิบัติลูกค้าเหมือนพระเจ้า ยกยอปอปั้นลูกค้าเกินจริง ซึ่งเป็นสิ่งตรงข้ามกับพฤติกรรมมนุษย์ ก็ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคู่สนทนาเหมือน “หุ่นยนต์”  มากกว่า “คน” ดังนั้นการย้อนกลับไปสนทนาตามข้อ (1.) จะช่วยให้หาจุดร่วมกันระหว่าง “เซลล์” และ “ลูกค้า” แล้วความเป็นหุ่นยนต์จะกลายเป็นมนุษย์ได้

ฟัง

แน่นอนว่าความประทับใจของคู่สนทนาคือการนั่งฟังคู่สนทนา เล่าถึงเรื่องของตัวเอง เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของตัวเอง เพราะมนุษย์ชอบเล่าเรื่องตัวเอง สนใจเรื่องตัวเอง ทำให้พอเปลี่ยนเป็นโลกที่มีแต่แชทไลน์ การเล่าเรื่องชีวิตของคู่สนทนาอาจจะน้อยลงบ้าง ลองเปลี่ยนเป็นการโทรคุยสลับกับการคุยแชท จะช่วยให้ลูกค้าที่เป็นคู่สนทนาสะดวกใจเล่าเรื่องของตัวเองมากขึ้น แล้วนำมาเปิดเป็นประเด็นสนทนาในห้องแชทเพื่อสร้างความคุ้นเคยกันขึ้นมาอีก

ขอคำแนะนำ

หลังจากที่มีการฟังลูกค้าทั้งในเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัวแล้ว ขั้นกว่าของการฟังคือการขอแนวคิด ความคิดของลูกค้า ในการแนะนำปัญหาการใช้งานสินค้าและบริการด้วยใจจริง เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีกันแล้ว สิ่งที่จะได้กลับมาจะมากกว่าการให้ feedback ส่งๆ เช่น “ก็ดีนะคะ” “ส่งช้ามาก” ซึ่งการเข้าไปนั่งในใจลูกค้าแล้ว ฝ่ายลูกค้าเองยินดีให้คำแนะนำ จนอาจจะไปถึงเสนอแนะการแก้ไขด้วยใจจริงนั่นเอง

ทำการบ้าน

โรงแรมได้ระดับ 5 ดาว ไม่ได้มาจากสถานที่ที่ใหญ่ สวยงาม สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันเพียงเท่านั้น หากแต่ถ้าไม่ได้พนักงานที่บริการอย่างมืออาชีพ เชฟที่รังสรรค์อาหารได้อย่างมีศิลปะ พนักงานทำความสะอาดที่รักษามาตรฐานการทำงานไว้เป็นอย่างดี รวมถึงพนักงานบริการลูกค้าที่จดจำรายละเอียดได้ว่า ลูกค้ามาดาม A จะชอบจิบกาแฟอุ่นที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส 

ถ้าหากเซลล์จะสร้างความประทับใจในการแชทในไลน์ การเก็บไฟล์เอกสารต่างๆ เก็บ Quotation รวมถึงกลับไปทวนซ้ำรายละเอียดของลูกค้าเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง จะทำให้ความมืออาชีพนี้ไปสร้างความประทับใจให้กับลูกค้ามากขึ้น ถ้าหากจำได้ว่าบริษัทมาดาม A มียอดซื้อสินค้ากับ supplier ของเราในไตรมาสนี้เมื่อเทียวกับไตรมาสที่ผ่านมาสูงเป็นประวัติการณ์ จากข้อมูลที่เราเก็บไว้ในไลน์ แล้วไปแสดงความยินดีกับยอดขาย ก็เป็นรายละเอียดที่ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจมากขึ้นได้นั่นเอง

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Line ในยุค WFH อีกกี่ระรอกก็ยังคงเป็นเครื่องมือการทำงาน ติดต่อประสานงานลูกค้า สิ่งที่ทำให้มันสำคัญมากขึ้นคือการสะดวกในการส่งงานระหว่างกัน ส่งเอกสารไปมาในบริษัทอย่างง่ายดาย เพียงแต่การเก็บข้อมูลในแอพนั้นจำกัดไว้แค่ 7 วัน แต่ครั้นจะไปใช้ Facebook messenger ก็ไม่สะดวกใจให้ใครรู้จักอีกมุมมองของเรา จึงมีบริการ “จดที” ที่มาช่วยจดแชทไลน์ เก็บไฟล์งานและรูปภาพ ไม่ให้หมดอายุโดยใช้บริการฟรี 30 วัน โดยกรอกฟอร์มด้านล่างนี้เลย


References :
Source1
Source2
Source3
Source4
Source5

วิธีดึงประสิทธิภาพของ VPN มีความส่วนตัวขนาดไหน ควรปิดใช้งานตอนไหนดี มีคำตอบ

เมื่อพูดถึง personal privacy ในโลกออนไลน์ บริการ VPN ก็กำลังแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอันที่จริง VPN ได้กลายมาเป็นกระแสหลัก จนกระทั่งวันที่ 19 สิงหาคมได้ถูกตั้งว่าเป็นวัน VPN สากลอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ cybersecurity awareness ที่นำโดย NordVPN

นอกจากนี้ การทำให้ผู้คนเข้าใจถึงประโยชน์ของ VPN นั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ age of data mining, geo-blocking และ working from home อย่างไรก็ตาม การเปิดใช้งาน VPN อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะปกป้องข้อมูลของเราได้ 100% ดังนั้น เราจะมาดูวิธีใช้ประโยชน์จาก VPN และข้อผิดพลาดที่หลายคนทำ เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงได้ทันก่อนที่จะสายเกินไป

VPN ป้องกันความเป็นส่วนตัวได้มากน้อยแค่ไหน?

อย่างไรก็ตาม VPN ไม่ได้ช่วยเรื่องการป้องกันความเป็นส่วนตัวทางอินเทอร์เน็ต 100% แม้ว่า VPN จะสามารถซ่อน IP และหลีกเลี่ยงการโจมตีจากบุคคลที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ได้ แต่การที่เราใช้ชีวิตในโลกออนไลน์อย่างไรนั้นสำคัญกว่า นอกจากนี้ ผู้คนจำนวนมากก็ยังไม่รู้ว่าการใช้งาน VPN นั้นก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง Facebook ที่เรามักใช้ล็อกอินเพื่อเข้าสู่เว็บไซต์และแอปต่าง ๆ ซึ่งการทำเช่นนั้นเราจะระบุตัวตนของเราทันที ไม่ว่าเราจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายใดก็ตาม นอกจากนี้เว็บไซต์เกือบทุกเว็บต่างก็ใช้คุกกี้ ซึ่งเป็นการระบุตัวตนของเราและเชื่อมโยงเรากับกิจกรรมก่อนหน้านี้ 

การใช้คุกกี้และ incognito mode ช่วยอะไรได้ไหม?

อย่างไรก็ตาม คุกกี้ไม่ค่อยเป็นอันตราย เพราะมันแค่บันทึกรหัสผ่าน บันทึกสิ่งที่อยู่ในรถเข็น หรือเพื่อแสดงโฆษณาต่าง ๆ เท่านั้น แต่คุกกี้ไม่ได้ป้องกันความเป็นส่วนตัว และหากเราไม่คอยลบคุกกี้ออก ข้อมูลต่าง ๆ ของเราจะยังคงบันทึกไว้อยู่แม้ว่าเราจะเปิด VPN

การใช้ incognito mode และการตั้งค่าอีเมลในการลงชื่อเข้าใช้ในเว็บไซต์ นับว่าเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวได้ทันที และการใช้ VPN ร่วมด้วยจะยิ่งช่วยให้มีประสิทธิภาพในการปกป้องความเป็นส่วนตัวได้ดีขึ้นอีก 

ควรเปิด-ปิดใช้งาน VPN ตอนไหนดี?

อย่างไรก็ตาม ในการเปิดใช้งาน VPN ส่วนใหญ่เราจะเปิดใช้เมื่อเราจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น เช่น เวลาที่เราต้องใช้ Wi-Fi สาธารณะในการท่องเว็บ แล้วต้องการเข้าสู่ระบบธนาคารออนไลน์ เราก็อาจจะเปิด VPN เอาไว้เพื่อต้องป้อนข้อมูลของธนาคาร และเมื่อใช้งานเสร็จเราก็ปิด VPN ซึ่งเราก็คิดว่าปลอดภัยเพียงพอแล้ว

แต่หากเรากังวลเกี่ยวกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวเวลาที่ต้องใช้ Wi-Fi สาธารณะจริง ๆ เราควรเปิดใช้งาน VPN ก่อนที่จะเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ และควรปิดใช้งานทันทีเมื่อเราไม่ได้เชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะแล้ว นอกจากนี้ โซเชียลมีเดียนั้นเป็นช่องทางที่ง่ายในการเปิดเผยข้อมูลอย่างมาก ซึ่งหากเราโชคไม่ดีถูกโจมตี ผู้โจมตีก็จะได้รายละเอียดเกี่ยวกับธนาคารของเรารวมถึงข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม บางครั้งการเปิด VPN ก็ทำให้การทำงานไม่สะดวก ดังนั้นหากอยากปิด VPN ก็ควรใช้ฟีเจอร์  split tunneling ที่มีอยู่ใน VPN ซึ่งการทำด้วยวิธีนี้ เราจะสามารถอนุญาตให้เว็บไซต์หรือแอปบางตัวยังคงป้องกันข้อมูลส่วนตัวของเราได้อยู่

สรุป

ถึงแม้มีการพัฒนาความปลอดภัยทางไซเบอร์ การปิดบังตัวตนของผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือโครงสร้างของอินเตอร์เน็ตที่ใช้งานอย่าง Firewall โดยที่การเลือกอุปกรณ์ Firewall ได้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว การใช้ฟีเจอร์ที่เหมาะสมกับการทำงานก็จะทำให้มีประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยได้อย่างสูงสุดนั่นเอง


Reference : Source

ไวรัสคอมพิวเตอร์ เลียนแบบโควิด19 สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ได้ยังไง?

ในการเกิดไวรัสโควิด 19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เราจะเห็นการเกิดขึ้นของมันแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก แต่ความแสบของมันเมื่อไปอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของโลกแล้ว เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามีทั้งสายพันธุ์อังกฤษ อินเดีย ที่แยกออกมาจากสายพันธุ์แรกที่พบที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน จนล่าสุดเกิดเป็นการกระจายพันธุ์ครั้งใหม่ที่มาจากการร่วมมือกันของเชื้อโควิดกับคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องในแถบแอฟริกา แล้วถ้าลองเปรียบเทียบกันระหว่างไวรัสที่ติดในคน กับ คอมพิวเตอร์ มันมีจุดร่วมวิวัฒนาการที่เหมือนกันอย่างน่าสนใจ

ไวรัสโควิด

ถ้าร่วมรวมเหตุการกระจายไวรัสของทั่วโลกเป็นทามไลน์ มันจะมี 3 ไฮไลต์ที่น่าสนใจตลอดการระบาดจนมาถึงปัจจุบัน 

  • ระยะ 1

ช่วงที่ทุกคนแตกตื่นจากการเจอไวรัสและเกิดการเจ็บป่วย ช่วงนี้ถึงแม้ว่าไวรัสมีความรุนแรงในระดับที่อ่อนไหวกับผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว แต่ไม่ค่อยแสดงอาการของโรคในคนที่มีอายุน้อยนั่นเอง ช่วงนั้นทำให้เกิดภาวะคนไข้ล้นโรงพยาบาลจากการที่ผู้ป่วยที่แสดงอาการต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจ เกิดเป็นความโกลาหลรอบแรก แล้วก็เริ่มมีคนไข้ลดลงจากการระบาดจนกระทั่งการมาของสายพันธุ์ “เดลต้า”

  • ระยะ 2 

ในช่วงการระบาดรอบแรกนั้นมีสายพันธุ์ที่กระจายไปอยู่ตามภูมิภาคต่างๆแล้วเกิดเป็นสายพันธุ์ย่อยของเชื้อโควิด แต่มีสายพันธุ์นึงที่แสดงอาการรุนแรงที่ทำให้คนเสียชีวิตเป็นใบไม้ร่วงประมาณการณ์ในช่วงที่ระบาดรุนแรงในประเทศอินเดียมีสูงถึงกว่า  480,000 ราย หลังจากนั้นเกิดการเดินทางของไวรัสที่ถึงแม้จะปิดพรมแดนก็สามารถออกไปสู่นานาอารยประเทศได้อย่างรวดเร็ว

 

จนมีประมาณการณ์ว่าในเดือน ตุลาคม ไวรัสที่กระจายอยู่ทั่วโลก 2 ใน 3 คือสายพันธุ์เดลต้า ที่กระจายได้เร็ว มีอาการที่รุนแรง และเสียชีวิตเร็ว จนถึงจุดที่ความรุนแรงของไวรัสนั้นถูกลดความรุนแรงลงด้วยอาวุธที่เรียกว่า “วัคซีน” แต่แล้วการเข้ามาของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่หลบเลี่ยงการตรวจพันธุกรรม และวัคซีนได้ … ในนามของสายพันธุ์ “โอไมครอน”

 

  • ระยะ3 (ปัจจุบันที่ไม่รู้ว่ามีอีกกี่ระรอก)

การเข้ามาของโอไมครอนนั้นรวดเร็ว และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกายเราได้ ..อธิบายว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ร่างกายจะรับรู้ว่าเป็น เชื้อแบบนี้ มีตัวจับแบบนี้ แล้วภูมิคุ้มกันจะรีบดักจับ กำจัดออกจากร่างกายเราก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรงจากร่างกาย ..เพียงแต่ว่าร่างกายแยกแยะไม่ออกว่า โอไมครอน มันคือ โควิด19 จนเป็นประเด็นว่าคนทั่งโลกเกิดการตื่นตระหนกอีกครั้ง เพียงแต่ว่าการมาครั้งนี้มันแพร่กระจายรวดเร็วก็จริง แต่มันเป็นสายพันธุ์ที่ลดระดับความรุนแรงลงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ที่ผ่านมา ในหลายเคสก็ไม่แสดงอาการป่วยตั้งแต่แรก …แล้วมันเหมือนกับไวรัสคอมพิวเตอร์ยังไง?

 

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นแรกเริ่มเดิมทีมันคือโค้ดคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่เข้ามาทำลายระบบคอมพ์ของเราให้ใช้งานต่อไปไม่ได้ โดยมีพฤติกรรมที่คล้ายกับไวรัสจริงๆ มีทั้งการคัดลอกข้อมูล คัดลอกตัวเองไปติดต่อกับเครื่องอื่นๆ หรือแม้กระทั่งอยู่ในเครื่องแต่ไม่แสดงอาการ และสามารถหลบหลีกการตรวจจับจากโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเช่นกัน ถ้าจะให้แบ่งเป็น 3 ระยะให้สอดคล้องกับไวรัสโควิด

  • ระยะ1

การเกิดขึ้นของไวรัสคอมพ์นั่นแรกเริ่มเดิมทีเกิดจากแลคเชอร์ “ทฤษฏีและการจัดการออโต้มาต้าที่ซับซ้อน” ซึ่งออโต้มาต้า (Automata) มาจากภาษากรีกที่นิยามว่า “แสดงออกเอง , ตัดสินใจเอง , เคลื่อนไหวเอง” ซึ่งในการบรรยายครั้งนั้นมีการอธิบายว่าคอมพิวเตอร์สามารถทำซ้ำตัวเองได้อย่างไร เกิดเป็นไวรัสตัวแรกของโลก จากนั้นเริ่มมีการพัฒนาของไวรัสที่แตกต่างกันไป แต่ไม่แพร่หลายเพราะในยุคนั้นคอมพิวเตอร์ส่วนมากอยู่ในห้องปฏิบัติการ หรือตามองค์กรขนาดใหญ่

 

  • ระยะ2

ในช่วงที่มีการแพร่หลายของคอมพิวเตอร์บุคคล (Personal computer : PC) เกิดโปรแกรมที่มาตอบสนองการใช้งานผู้คนที่หลากหลาย และเป็นการเติบโตของไวรัสในโลกคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นเดียวกัน โดยที่ยุคนั้นมีการโจมตีหนักไปถึงการทำลายอุปกรณ์ (Hardware) ทั้งทำให้เกิดการทำงานขัดข้อง ตัวโปรแกรมที่มุ่งการทำลายเครื่องให้เสียหาย ซึ่งตอนหลังการพัฒนาด้านโปรแกรมระบบ (OS) ทั้งแบบ Shareware และ Opensource ต่างร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถจนไม่สามารถทำลายฮาร์ดแวร์ได้อย่างง่าย ทำให้ความรุนแรงของไวรัสคอมพิวเตอร์ลดลงมาเหลือระดับที่ทำลายโปรแกรมระบบให้เสียหายเปิดไม่ได้ แต่ไม่ได้ทำลายให้เสียหายทั้งอุปกรณ์ วินโดวพังก็ลงใหม่ โปรแกรมหายก็ลงใหม่ จนกระทั่ง….

 

  • ระยะที่3 (ปัจจุบัน)

ถึงแม้ปัจจุบันการโจมตีของไวรัสคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้หายไปไหน แต่วิวัฒนาการของมันก็คล้ายกับการระบาดของโรคหลายชนิดที่อยู่คู่กับมวลมนุษยชาติมายาวนานอย่างไข้หวัด ซึ่งไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นหลายครั้งแฝงอยู่ในเครื่องอยู่นานเป็นปี ไม่แสดงอาการ ไม่ทำให้เครื่องร้อนหรือมีปัญหาใดใด จนถึงจังหวะและเวลาที่ดีก็อาจจะเข้ามาขโมยข้อมูล หรือเอกสารบางอย่างในเครื่องเราได้อย่างรอยนวลได้อย่างง่าย เพราะวิวัฒนาการการเดินทางเข้าออกเครื่องเราได้อย่างอิสระเสรี ด้วยระบบอินเตอร์เน็ตนั้นเหมือนประตูต้อนรับผู้หวังดี และไม่หวังดีได้อย่างเสรีนั่นเอง

 

จากโรคระบาดกลายเป็นโรคประจำถิ่น

ในเมื่อเราไม่สามารถจับเชื้อไวรัสว่ามันอยู่ตรงไหน ต่อให้กันคนที่ติดเชื้อกับไม่ติดเชื้อออกจากกัน ทำสารพัดวิธีการให้มันหายไปจากมวลมนุษยชาติก็ทำให้เรารู้ว่าเอาชนะไม่ได้สักที ทำให้สุดท้ายเราเลือกที่จะป้องกัน ต่อต้าน และรักษาอย่างมีวิธีการต่างๆแทน ซึ่งแน่นอนว่ามันยังคงอยู่กับเรา แต่เราจะจำกัดให้มันอยู่ในวงเล็กลง ซึ่งไวรัสคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน 

 

ในอดีตการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์อาจจะมาจากการเสียบแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสมา การติดตั้งโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ ที่แอบแฝงไวรัสมาติดตั้งบนคอมพิวเตอร์โดยอนุญาตให้มันทำงานได้ในฐานะผู้ดูแลคอมพิวเตอร์ จนเกิดการแฝงเข้าไปในระบบจนไม่สามารถตรวจจับได้ แต่พอเวลาผ่านไปหลายโปรแกรมนั้นเลือกจะเปลี่ยนโมเดลการทำธุรกิจ จากการจ่ายแบบซื้อขาด ก็เริ่มมาเปลี่ยนเป็นการจ่ายรายเดือนเพื่อได้ฟีเจอร์ที่จำเป็นจากนักพัฒนา เพลงเถื่อนก็เริ่มมาเป็นเพลงฟรีถูกลิขสิทธิ์แลกกับการมีโฆษณา หรือจ่ายรายเดือนราคาที่เข้าถึงผู้คนมากขึ้น ทำให้การพัฒนาไวรัสตัวใหม่ๆก็เริ่มเปลี่ยนจากโปรแกรมเถื่อน ไปเป็นการโจมตีผ่านระบบเครือข่าย แทนการติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ และเหยื่อที่ถูกคุกคามเปลี่ยนเป้าหมายโจมตีเป็นธุรกิจที่เก็บข้อมูลมหาศาลมากขึ้นนั่นเอง

 

เน็ตเวิร์คเป็นดาบสองคม

ถ้าการประกาศปิดพรมแดนเป็นการกั้นไม่ให้คนใน และคนนอกออกมาพบปะเจอกัน แต่ในยุคปัจจุบันมันพิสูจน์แล้วว่ามันทำไม่ได้อีกต่อไป แต่ละประเทศต้องพึ่งพากันและกัน การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนการพบกันได้อย่างเสรี ซึ่งมีทั้งคนที่หวังดี และคนที่หวังดีประสงค์ร้าย

 

การโจมตีไวรัสทางอินเตอร์เน็ตก็เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น สอดคล้องกับจำนวนคนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตในอุปกรณ์ต่างๆ มันเย้ายวนทั้งข้อมูล และการเรียกค่าไถ่ข้อมูลที่เหมือนดั่งทองคำในโลกของข้อมูลข่าวสาร ทำให้ธุรกิจที่เริ่มเข้าสู่โลกเน็ตเวิร์กที่ขาดภูมิคุ้มกัน ถูกขโมยข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลลูกค้า ออกไปเรียกค่าไถ่ จากการที่ไม่มีระบบป้องกันที่ดี หรือ Firewall ที่เป็นป้อมปราการของบริษัท โดยที่ Firewall ที่ดีจะช่วยคัดกรองข้อมูลเข้าออก อินเตอร์เน็ต ดูแลการแอบเข้าใช้งานของบุคคลที่ถูกยืนยันว่าเป็นตัวปลอมได้ตลอดเวลา รวมถึงมีการออกแบบระบบให้เข้ากับรูปแบบธุรกิจที่ทำอยู่เพื่อไม่ให้เกิดคอขวดและใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างลงตัว

สรุป

แม้วันหนึ่งไวรัสโควิด 19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเหมือนที่เราไม่ได้ตื่นตระหนกกับไข้หวัดใหญ่ก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกและจะเนียนขึ้นไปอีกเรื่อยๆจากวิวัฒนาการที่มันต้องการมีชีวิตที่ยาวนานที่สุด เช่นเดียวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ที่จากจุดแรกที่ต้องการทำลายล้างทั้งอุปกรณ์ สุดท้ายก็สามารถลดความรุนแรงลงมาได้ก็จริง แต่มันก็พยายามจะปรับเปลี่ยนแปลงตัวเองให้อยู่เป็นส่วนหนึ่งในคอมพิวเตอร์ เพื่อที่วันหนึ่งจะสามารถเรียนรู้วิธีการโจมตีใหม่ๆผ่านระบบ Network ที่มี Firewall เป็นตัวกลาง ฉะนั้นการออกแบบ Firewall ที่ถูกต้องแต่แรกจะช่วยให้ลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาทั้งระบบการทำงาน ซึ่ง Prospace มีบริการออกแบบ Firewall ทั้งระบบผ่านบริการ Firewall as a Service ที่ออกแบบตั้งแต่วางโครงสร้าง ติดตั้งเครื่อง และดูแลตลอดอายุการใช้งาน สามารถขอรายละเอียดได้จากแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย


References :
Source1
Source2
Source3
Source4

เคราะห์กรรม ของคนไอที กับสิ่งที่ผู้บริหารไม่เคยรู้

เคราะห์กรรม ของคนในแผนกไอที ที่ผู้บริหารไม่เคยรู้
.
ถ้าคุณเป็นผู้บริหารองค์กร และออฟฟิศของคุณมี IT อยู่ 1-2 คนที่ทำทุกอย่างเกี่ยวกับงาน IT หัวข้อเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
.
.

ไอทีมีหลายแขนง ความรู้และฝึกฝนก็ต่างกัน ทำงานแทนกันไม่ได้

หมอมีเฉพาะทาง พยาบาลก็มีเฉพาะทาง งานช่างก็มีเฉพาะทาง เชฟก็แบ่งแยกความชำนาญตามอาหารเชื้อชาติแตกต่างกันไป  งานไอทีไม่ได้แตกต่างจากวิชาชีพอื่น ๆ ก็มีหลากหลายแขนง


การเหมารวมคนทำไอทีว่า เขาต้องทำงานไอทีได้หมดทุกด้าน ก็คือการไปเหมาเอาว่า หมอก็หมอเหมือน ๆ กัน ช่างทุกคนต้องซ่อม-สร้างทุกอย่างในตึกได้ เชฟทุกคนทำอาหารทุกชาติได้ ทำขนมได้ทุกแบบ เพราะมันก็คืออาหารเหมือน ๆ กัน….เป็นความคิดที่ไม่ถูก เราจึงไปเหมารวมไม่ได้ว่า คนไอทีก็ทำไอทีทั้งหมด 
.
คนทำไอทีในสาขา Infrastructure อาจทำ System เช่น Build และ Manage server farm และ Manage office client ได้บ้าง แต่ไม่ถนัด ผมเห็นหลายองค์กรส่งเจ้าหน้าที่ไอทีของตัวเอง ไปเข้าคอร์สอบรม Cybersecurity แล้วองค์กรก็หวังพึ่งไอทีคนนั้นให้กลับมาวางแผนให้องค์กรปลอดภัยจากการโจมตี ความคาดหวังแบบนี้ ไม่แตกต่างจากการส่งช่างไฟไปเรียนงานประปา ส่งเชฟญี่ปุ่นไปหัดตำปลาร้า ส่งจักษุแพทย์ไปเข้าคอร์สเรียนทันตกรรม องค์กรจะหวังพึ่งอะไรหรือผลงานคุณภาพไหน จากการอบรมแค่ไม่กี่ชั่วโมงเหรอครับ
.
ก็ไม่ใช่ว่า อาชีพนั้น ๆ จะทำงานในแขนงอื่นไม่ได้เลย ทำอ่ะ…ทำได้ แต่มันไม่ถนัดครับ ผลงานออกมาไม่ดี ถ้าอยากให้ได้ผลงานดี ก็ต้องใช้เวลาฝึกฝน มีต้นทุนในการพัฒนาตัวเองในสาขานั้น ๆ และต้องฝึกกันเป็นปี ๆ กว่าจะแตะก้าวแรกของระดับมืออาชีพที่รับประกันความสำเร็จได้ ในขณะที่งานประจำก็ยังต้องทำอยู่ทุกวันด้วย คำถามสำคัญคือ….นี่คือวิธีที่องค์กรจะได้ประโยชน์จากคนจริง ๆ หรือ
.
มีความถนัด และไม่ถนัด เพราะไม่ใช่วิชาเอกของตัวเอง ไม่ได้ทำทุกวัน มันมีทุกอาชีพ ไอทีก็คือหนึ่งในนั้น
.
ถ้าเข้าใจถูกต้อง องค์กรต้องจ้างคนสายตรงด้านนั้น ๆ มาทำงานให้องค์กร เช่น มาทำ Proposal เสนอเป็นโครงการก็ได้, จะทำกันแบบ Outsource หรือ Turnkey ก็ได้ แล้วให้มืออาชีพด้านนั้น ๆ ประสานงานกับคนไอทีของเราที่เขาถนัดอีกอย่าง เป็นเหมือนวิศวกรหลายสาขาที่ทำงานร่วมกัน แบบนี้คือทางออกที่ถูกต้อง ที่องค์กรจะได้ประโยชน์จากเงินที่จ่าย เพื่อให้ได้ผลงานระดับมืออาชีพ
.
จ่ายให้กับคนที่ถนัดถูกงาน แล้วเราจะได้งานที่ถูกต้อง 
encyption

ค่าตัวแพง ไม่ได้แปลว่า ทำได้หลายอย่าง

ผู้บริหาร-นายจ้าง และแม้แต่คนไอทีด้วยกันเอง มักจะคิดว่า “ก็น่าจะทำได้หลายอย่างไม่ใช่เหรอ จ้างไอทีตั้งแพงขนาดนั้น” หรือประโยคที่ว่า “ถ้าจะต้อง Outsource แล้วจะจ้างไอทีเอาไว้ทำห่านอะไร”


นักดนตรีที่ค่าตัวแพง แปลว่า เขาเล่นเครื่องดนตรีได้หลายประเภทเหรอครับ แถมยังต้องร้องเพลงเพราะอีกด้วย 
………ถามกลับกัน นักดนตรีค่าตัวแพง แต่เล่นเครื่องดนตรีได้ชิ้นเดียว แปลว่า ไม่คุ้มค่าจ้าง…เหรอ ?
.
หมอที่ค่าตัวแพง แปลว่า เขาทำศัลยกรรมสมอง-หัวใจ-ฟัน-กระดูก-ประสาท ใช่เหรอครับ
……..ถามกลับกัน โรงพยาบาลไหนจะคิดจ้างศัลยแพทย์คนเดียว และทำศัลยกรรมหลาย ๆ ส่วนมีมั้ย จะได้ไม่ต้องจ้างศัลยแพทย์หลายคน….ไม่น่ามีมั้ง ?

.

เชฟค่าตัวแพง แปลว่า เขาสามารถหันซ้ายนวดแป้งพาสต้า หันขวานวดแป้งโซบะได้ ตรงหน้ากำลังปั่นแป้งพิซซ่า จริงเหรอครับ
……..ถามกลับกัน เชฟระดับดาวมิชลิน แต่เป็นเชพภัตตาคารญี่ปุ่นเชื้อชาติเดียว แปลเมียเราชนะขาดลอย เพราะทำอาหารได้หลากหลายเชื้อชาติมากกว่า…..เหรอ ?
.
คนไอทีค่าตัวแพง ไม่ได้แปลว่า เขาต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์ได้ ทำ Wifi เป็น และต้องเก่ง Router/Firewall ส่วนอันอื่น ๆ ที่ยังไม่เคยทำ ก็แค่เข้าคอร์สเรียน 3 ชั่วโมงก็กลับมาเก่งแระ และถ้าจ้างคนที่แพงกว่านี้ น่าจะต้องทำ web ของบริษัทและวางระบบ Cybersecurity ได้ด้วย มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เหรอครับ
.
ค่าตัวแพง แปลว่า เขาร่ำเรียนฝึกฝนจนเก่งและเชี่ยวชาญ “ในแขนงนั้น ๆ” ค่าตัวจึงแพง ไม่แตกต่างจากวิชาชีพอื่น ๆ
.
ถ้าทุกวันนี้ องค์กรของเราพยายามหาไอทีที่ทำได้หลาย ๆ อย่าง โดยเอาค่าตัวเป็นเครื่องวัด ต้องเปลี่ยนความคิดนะครับ
IT security

System = One man show….แปลก ๆ นะครับ….ว่ามั้ย

แผนกไอทีมีเจ้าหน้าที่คนเดียว มีถมไปครับ และระบบที่ดูแลก็ทำงานได้ดีด้วย แต่…แผนกไอทีที่ทำงานคนเดียว “ดูแลทั้ง System และทุก System” อันเนี้ย…แปลก ๆ
.
ก็คือ…ทำ System คนเดียวก็ทำได้ครับ นึกภาพเหมือนวงออเคสตร้าที่มีนักดนตรีคนเดียวอ่ะครับ วิ่งหัวหมุน วิ่งไปวิ่งมา ดีดนู่น ตีนี่ เป่านั่น เคาะนี่ ฟังก็ได้เป็นเพลงอยู่ แต่ผุ ๆ พัง ๆ ไปตามประสา ตีโน้ตไม่ทันเวลาก็ออกจะบ่อย บางทีก็ตีเพี้ยน ๆ ฟังไม่เหมือนว่าจะเป็นเพลง แผนกไอทีที่ออฟฟิศ บรรเลงแบบนี้กันใช่หรือเปล่าครับ ทำไม Wifi มีปัญหาบ่อยจัง ทำไมเซิร์ฟเวอร์ล่มบ่อยจัง ทำไมข้อมูลหายถึงกู้ไม่ได้ ทำไมออฟฟิศอื่นไม่เห็นมีปัญหาเยอะเหมือนออฟฟิศเรา  ทำไม ทำไม ทำไม…
.
แผนกไอทีที่มีแค่คนเดียว ก็มีความถนัดที่จะดูแลได้เพียงส่วนหนึ่งของ System ของทั้งออฟฟิศ ซึ่งเขาพึงจะทำงานร่วมกับ Outsource และผู้เชี่ยวชาญแขนงอื่น ๆ รวมกันเป็นทีมที่ช่วยกันดูแลระบบของออฟฟิศ แบบนี้คือโครงสร้างการดูแลระบบที่ถูกต้อง คนเก่ง Infrastructure ก็มารับ Outsource ด้าน Infrastructure ออกไป Cybersecurity ก็หาคนเก่งด้านนั้นมารับงาน แยกชิ้นส่วนกันไป ทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยมีแผนกไอทีขององค์กรเป็นศูนย์รวมในการจัดการและประสานงาน ประสานกับผู้ใช้ ประสานกับผู้บริหาร
.
คนไข้หนึ่งคน ยังต้องมีพยาบาล มีแพทย์เจ้าของไข้ มีนักรังษีเทคนิค มีฝ่ายเทคนิคการแพทย์ เคสใหญ่ ๆ ยังถึงกับต้องตั้งคณะแพทย์มาทำงานร่วมกันจากหลายสาขา เพราะร่างกายก็ประกอบด้วยหลาย System เหมือนกัน จึงต้องใช้คนจากหลายแขนงมาดูแลแต่ละ System และทำงานร่วมกัน
.
ถ้าอยากให้ระบบ IT มีความเสถียรยั่งยืน ก็อย่าปล่อยให้ไอทีทำงานทั้ง System โดยลำพังครับ 

ส่งไอทีไปอบรม หรือแค่โหลดคู่มือมาอ่าน ก็ทำได้แล้ว..

องค์กรซื้อ Firewall ใหม่ ก็ส่งไอทีไปอบรมกับคนขายซักวันนึง กลับมาจะได้จัดการ Firewall นั้นได้ 


อ้าว…ก็อบรม Wifi กับคนขายมาแล้วไม่ใช่เหรอ ทำไม Wifi ที่ออฟฟิศยังติด ๆ หลุด ๆ อยู่อ่ะ ไอทีแก้ไม่ได้เหรอ
.
โหล…สวัสดีครับ…ผมไอทีนะครับ…ระบบ Video conference ที่คุณคนขาย เพิ่งมาติดตั้งให้เมื่อวานอ่ะครับ ช่วยส่งคู่มือมาด้วยนะครับ ผมจะได้ศึกษาและทำเป็นในเวลาอันรวดเร็ว อ้อ…แล้วขอสไลด์อบรมเมื่อวานด้วยนะครับ มีปัญหาผมจะได้แก้ได้เลย
.
ความเชื่อ + ความคาดหวังแบบนี้ มีให้เห็นอยู่ตลอดครับ และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ
.
ตกใจมั้ยครับ ส่งไอทีไปอบรมกับคนขายทุกครั้งที่ซื้ออุปกรณ์ใหม่ เพิ่งมารู้ความจริงวันนี้ว่า มันคือการ “อบลืม” คืนเดียวก็ลืมหมดแล้วครับ ถามแผนกไอทีในองค์กรของคุณดูดิ จริงหรือเปล่า
.
ไม่แตกต่างไปจากงานอื่น ๆ ครับ งานใหม่ที่เราไม่เคยทำ อุปกรณ์ที่เราไม่เคยเจอ ให้อบรมยังไง วันเดียวก็ลืมครับ โหลดคู่มือมา แปะไว้บน Desktop ตั้งหลายวันแล้ว ก็ไม่มีเวลาอ่าน หนาเป็นร้อย ๆ หน้า ใครจะไปอ่านหมด อ่านแล้วไม่ได้ฝึก ก็สู้คนที่เขาทำทุกวันไม่ได้ 
.
ไอ้ที่ทุกวันนี้ คนไอทีทำนู่นนี่กันได้ หลายอย่างเราใช้ Prakong mode ครับ คือทำยังไงก็ได้ อย่าให้มันล่ม คนขายเขาเซ็ตมาแล้ว มันทำงานได้ ไอทีจะพยายามไม่ไปแตะตรงนั้นครับ เดี๋ยวมันจะพัง !!!

ว่าง่าย ๆ ซื้ออุปกรณ์อะไรมา จะแพงแค่ไหน ก็ได้ใช้เท่าที่คนขายเขาเซ็ตเอาไว้ให้เท่านั้นแหละ

เคราะห์กรรม ของคนไอที

เคราะห์กรรม ของคนไอทีคือ การถูกยัดเยียดหน้าที่ ก็อบลืมกันมาแล้ว ได้ใบ “Certificate of Participant” มาใส่กรอบแปะข้างฝากันด้วย งั้นหน้าที่ของอุปกรณ์นี้หรือระบบนั้น ก็มอบให้รับผิดชอบไปเลยละกัน อบลืมกันมาตั้ง 1 วันเต็มแล้วนี่นา


คำพระเขาว่า Great certificate comes with Great responsibility ไปอบรมอะไรมา ก็เอาสิ่งนั้นไปทำ…สาธุ
.
โปรดเถิดครับ องค์กรที่ยังคงขยันส่งไอทีไปอบรมเรื่องใหม่ ๆ แล้วหวังว่ากลับมาเขาจะทำภาระกิจนั้น ๆ ให้องค์กรได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ตื่นจากฝันเถิดครับ ให้ตั้งเป้าว่า การอบรมนั้นเพื่อแค่ทำให้รู้จักเท่านั้น แต่การจะทำงานได้ จะต้องอาศัยการอ่านและฝึกฝนอีกมาก องค์กรรอไม่ได้หรอกครับ วิธีที่ถูกก็คือ ให้ไอทีทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแขนงนั้น ๆ หันหน้าหา Outsource ใช้คนให้ถูกงาน แล้วเราจะได้ผลผลิตอันเป็นที่น่าพอใจครับ

อ๊ะ อ๊ะ…ถ้าอ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายแล้ว 

ยังคิดว่าจ้างไอทีมาแล้ว ทำไมยังต้องจ้าง Outsource อีก 

ก็ถือว่าผมคุยไม่รู้เรื่องละกัน….ฮิ้ว


เขียนและบันทึกเรื่องราวโดยพี่วุฒิ

ปรึกษาปัญหา IT Outsource

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

เว็บไซต์ เก็บ Cookie รู้ได้ยังไงว่าเราชอบเพลงอะไร สิ่งที่ควรรู้ก่อน PDPA บังคับใช้

เว็บไซต์

ทำไมเราเข้า เว็บไซต์ ดูคลิปวีดีโอแล้วมันสุ่มเพลงที่เราไม่รู้จักมาให้ฟังแล้วมันโดนใจเรา สุ่มคลิปที่เราสนใจแล้วเราก็ดูจนจบทั้งวีดีโอ เข้าเว็บช้อบปิ้งที่ไม่ได้สมัครสมาชิกแต่จำได้ว่าเราเคยใส่สินค้าตัวไหนไว้ในตระกร้า วันนี้เราจะพามาสู่จักรวาลของข้อมูลชิ้นเล็กๆที่เรียกว่า “คุ้กกี้

คุ้กกี้ เว็บไซต์ รุ่นบุกเบิก (Magic cookie)

ถ้าเว็บหนึ่งประกอบด้วยหน้าหลัก และระบบหลังบ้าน คุ้กกี้ก็เป็นข้อมูลชิ้นเล็กๆที่พูดคุยกันระหว่าง “ผู้ใช้” และ “เจ้าของเว็บ” นั่นเอง

โดยที่หน้าที่หลักๆของมันในระยะแรกมันเป็นตัวกลางที่รับและส่งข้อมูลระหว่าง “ผู้ใช้” และ “เจ้าของเว็บ” ในการส่งข้อมูล เหมือนส่งจดหมายไปมาระหว่างกันแต่ก็เกิดปัญหาว่ายุคนั้นการรับส่งข้อมูลด้วยอินเตอร์เน็ตนั้นยากลำบาก ตัวเก็บข้อมูลนั้นมีราคาแพง รวมถึงหลายปัจจัยที่ทำให้มีการพัฒนาเป็นคุ้กกี้รุ่นต่อมา ที่เรียกว่า HTTP cookie ขอเรียกชื่อเล่นว่า คุ้กกี้รุ่นปัจจุบัน

คุ้กกี้ เว็บไซต์ รุ่นปัจจุบัน (HTTP cookie)

ในปี 1994  มีโปรแกรมเมอร์ชื่อ Lou Montulli ได้พัฒนาคุ้กกี้รุ่นใหม่ ทดแทนคุ้กกี้รุ่นบุกเบิกที่ใช้งานเพียงรับส่งข้อมูลระหว่าง “ผู้ใช้” และ “เจ้าของเว็บ”

สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาคือแทนที่จะรับส่งข้อมูลเหมือนจดหมายที่ทำให้เจ้าของเว็บแบกข้อมูลมหาศาล เปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อย่างเราๆแทน และทุกครั้งที่เราเข้าเว็บไซต์นั้น เจ้าของเว็บจะมาเปิดดูข้อมูลคุ้กกี้ที่ถูกจดบันทึกไว้ในเครื่องเรา แล้วจะจำได้ว่าเมื่อคราวก่อนเราทำอะไรกับเว็บไซต์นี้นั่นเอง

เว็บไซต์

คุ้กกี้เป็นเพื่อนรักที่สอดแนม

แน่นอนว่าการมีคุ้กกี้เข้ามาจะทำให้เราไม่ต้องเข้าบัญชี Facebook หรือ Youtube ใหม่ทุกครั้งที่เปิดเข้าหน้าเว็บ

เราฟังเพลงค้างไว้ที่นาที 3.01 แล้วคอมพ์ดับไปก็สามารถกลับมาเปิดได้ที่จุดเดิมที่ถูกปิดไปเมื่อกี้  สะดวกกับผู้ใช้อย่างเรา และเพื่อนรักคนนี้จะมีหน้าที่จดจำเช่นเดียวกัน 

ตัวอย่าง การสอดแนม เช่น คุณ  A ชอบฟังเพลงป๊อบเกาหลี ชอบดู Vlog ของไอดอลเกาหลี ระบบก็จะติดตามพฤติกรรมของเราไปเรื่อยๆว่า แล้วถ้าสุ่มส่งเพลงป๊อบเกาหลีของคนอื่นไปคุณ A จะฟังไหม จะฟังจนจบเพลงหรือกลับมาฟังซ้ำหรือเปล่า การติดตามพฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จุดประสงค์เพื่อทำให้เราเสพติดให้เราวนเวียนอยู่ในที่นั่นนานๆ ซึ่งเหมือนจะดีแต่มันเริ่มจะทำให้เรารู้สึกถูกคุกคามเมื่อมันทำหน้าที่มากเกินเพื่อนรักนั่นเอง

คุ้กกี้เพื่อนรักหักเหลี่ยม

ด้วยความที่เรารักและไว้ใจมันมากๆจนเกิดเป็นการติดตามเราไปในทุกลมหายใจ

แม้กระทั่งเราพูดคุยกับเพื่อนอยู่ดีๆก็มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องขึ้นมาเป็น Ads บนหน้าเว็บไซต์ หรือวันดีคืนดีก็มี SMS ให้ไปกู้เงิน (รู้ด้วยว่ากำลังร้อนเงินอยู่ ><” ) หลายเคสหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก ทำให้รัฐบาลของแต่ละรัฐ แต่ละประเทศนั้นต้องเริ่มดันกฏหมายไม่ให้คุ้กกี้เข้าไปทำอะไรที่ยุ่งวุ่นวายกับสิทธิส่วนบุคคลนั่นเอง โดยประเทศไทยเรามี พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะประกาศใช้ 1 มิ.ย. 2565 ที่มีชื่อเล่นว่า PDPA (Personal Data Protection Act)

จ่ายค่าปิดปาก ransomware

กฏหมายใหม่จะดัดนิสัยคุ้กกี้เพื่อนรักยังไง

จากเดิมทีเว็บไซต์จะเก็บข้อมูลคุ้กกี้ ที่เข้าใช้งานเว็บของเราสามารถทำได้โดยอิสระเสรี

จนกระทั่งการเข้ามาของกฏหมายฉบับดังกล่าว สิ่งที่เว็บไซต์ต้องทำคือการทำแบบฟอร์มขึ้นมาฉบับหนึ่ง ที่ใส่ข้อมูล คำจำกัดความ รวมถึงจุดประสงค์การขอเก็บข้อมูลไปใช้ทำอะไรกับเราบ้าง โดยที่หน้าที่ “ผู้ใช้” อย่างเราก็ต้องอ่านสิ่งที่เขาจะเอาข้อมูลของเราไป ก่อนจะกดอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้เอาไปใช้งานได้นั่นเอง โดยที่มันจะมีผลทางกฏหมายในกรณีที่เราถูกเอาข้อมูลไปขายต่อ หรือมี SMS ชวนไปยิงนกตกปลา กู้เงินจากกระทรวง 3000 บาท ฯลฯ นั่นเอง 

จัดระเบียบ Cookie ให้จัดการง่ายยิ่งขึ้น

การเข้าถึงคุ้กกี้เป็นเหมือนเพื่อนรู้ใจเราทั้งสองฝ่ายเลยทีเดียว ทั้งเจ้าของเว็บรู้ว่าลูกค้าชอบอะไร

ทั้งผู้ใช้อย่างเราก็ไม่ได้ต้องกลับมาเข้าสู่ระบบใหม่ทุกครั้ง อย่างดูคลิปที่เราชอบโดยไม่ต้องค้นหา อย่างนี้แล้วก็วินวินกันทั้งสองฝ่าย เพียงแต่เจ้าของเว็บอย่าลืมทำแบบฟอร์มขอเก็บข้อมูลเท่านั้นแหละ ถ้าลองเปิดเว็บหาวิธีทำไม่เจอ เราก็มีบริการแบบฟอร์มคุ้กกี้ ครบจบ แค่แปะวาง ถูกตามหลักกฏหมาย กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้แล้วเจ้าหน้าที่จะเข้าไปให้คำปรึกษาเลย

network system

ปรึกษาการทำระบบ Cookie consent

กรอกแบบฟอร์มให้ทีมงานติดต่อกลับไป

ถ้าแผนกไอที…อยากใช้เงินทำงานบ้าง จะได้มั้ย

ใครเป็นไอทีก็คงเข้าใจดีกับการทำงานกับทุกอย่างที่เสียบปลั๊กได้ในออฟฟิศ วันหนึ่งมีหน้าที่ทำงานหลากหลาย แล้วจะเป็นไปได้ไหมที่ไอที จะช่วยลดทำงานที่มีประโยชน์น้อยและใช้เวลามาก แล้วเอาเวลาไปโฟกัสกับงานที่มีคุณภาพมากและช่วยเหลือองค์กรได้ดีกว่า วันนี้ได้รับเกียรติจากพี่วุฒิมาเขียนเรื่องราวนี้ให้เราอ่านกัน…

ถ้าแผนกไอที…อยากใช้เงินทำงานบ้าง จะได้มั้ย

“ใช้เงินทำงาน” เป็นคำฉลาด ๆ ที่เราจะได้ยินเวลาใครมาชวนลงทุน ก็คือเราเอาเงินไปลงทุนกับอะไรซักอย่าง กองทุน หุ้น ซื้อคอนโดปล่อยเช่า ฯลฯแล้วก็ให้สิ่งนั้นสร้างผลกำไรออกมา ดีกว่าปล่อยเงินให้มันนั่งอยู่เฉย ๆ ในธนาคาร ใครก็อยากจะให้เงินทำงาน ดีที่สุดคือ เงินทำงานจนเราได้พัก พักยาวแบบไม่ต้องกลับไปเหน็ดเหนื่อยทำงานหนักอีก 

งานแผนกไอทีเยอะมาก

หันมาดูแผนกไอทีนะครับ งานแผนกไอทีเยอะมาก เราถูกล้อมด้วยอุปกรณ์ของระบบ แถมซอฟต์แวร์เยอะแยะ และยังมีผู้ใช้ทั้งองค์กรที่เราต้อง support ยังไม่รวมเอกสารที่มาตรฐานนั่นนี่สั่งให้เราทำเป็นระยะ ๆ งานเยอะแบบนี้ แผนกไอทีสนใจจะใช้เงินทำงานให้เรามั้ยครับ !!! เช่น เราต้องมาจดว่า เครื่องไหนซื้อเมื่อไหร่, สเปคเป็นอย่างไร, ติดตั้งซอฟต์แวร์อะไรบ้าง แล้วก็ต้องจดกันยาวไปถึง Printer ทุกตัว แถมยังมีอุปกรณ์ Network อีกหลายตัวให้จดบันทึก จดเพื่อทำเอกสารของระบบ งานแบบนี้ เอาเงินมาทำงานแทนได้นะครับ 

  • ซื้อ Asset management software ที่ช่วยสแกนระบบและทำรายการให้เรา
  • ใช้ Network infra ที่ Vendor เขามี Central Management solution

ใช่แล้วครับ ของพวกนี้ ราคาสูงขึ้น เราต้องจ่ายเพิ่ม แต่งานเราก็ลดลงนะครับ ไม่ต้องจดอีกแล้ว ระบบคอยจดให้ ก็นี่ไงครับ ลงเงินเพิ่ม เราทำงานน้อยลง ก็คือให้เงินทำงานแทนเราไง

Central management ช่วยไอทีทำงาน

องค์กรมี AP หลายสิบตัว ถ้าแผนกไอทีเลือกซื้อ AP ที่มี Central management แบบง่าย ๆ เป็นแค่หน้าจอที่ทำให้เราเห็นว่า AP อยู่หรือตายเท่านั้น เห็น AP เป็นแค่ตัวแปลงสาย LAN เป็น Wifi แบบนี้ต้องลองใช้ Enterprise AP solution ที่มี Cloud management service ที่แสดงทุกอย่างให้เห็น แสดง Log ให้ดูอย่างละเอียด แถมยังมี Analytic ช่วยแนะนำจุดที่เกิดปัญหาโดยที่ไอทีเราไม่ต้องไปนั่งคุ้ย Log มาวิเคราะห์เอง แน่นอนครับ…แพงกว่า AP รุ่นบ้าน ๆ 3-5 เท่า แต่การจัดการ Wifi ก็ง่ายขึ้นมหาศาล นี่ก็การเอาเงินมาทำให้งานของเราง่ายขึ้นเหมือนกัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยในแผนก

พูดถึงเรื่องงมปัญหา ก็เกิดขึ้นได้บ่อยในแผนกไอทีครับ เพราะเราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง พอระบบที่เราไม่เชี่ยวชาญมันมีปัญหา ก็ต้องมาค่อย ๆ งมว่า ปัญหามันอยู่ไหน เราจ้างคนที่เก่งในเรื่องนั้น ๆ มาเป็น Outsource ช่วยเราแก้ปัญหาของระบบนั้น ๆ ดีมั้ยครับ ทำ Service contract ให้รู้แล้วรู้รอดไป มีปัญหาอะไรก็ให้เขา Remote เข้ามาแก้ ดีกว่าเรามางมเอง เสียเวลาด้่วย คนเขารอใช้ทั้งองค์กร แรงกดดันหนักกว่าโดนเมียด่าตั้งแยะ ใช้เงินจ้างคนเก่ง ไม่ต้องมานั่งรับความกดดันเอง ใช้เงินทำงานแทน แบบนี้ดีกว่ามั้ยครับ คนไอทีก็จะเริ่มหมั่นไส้ผมแระ นึกในใจ “พูดอ่ะพูดได้ แต่เป็นพนักงาน จะไปเอาเงินจากไหนมาทำงานแทน” อาจเป็นเพราะคำว่า ทุนนิยม ไม่ได้อยู่ในตำราไอทีมั้งครับ เราก็เลยไม่ได้มีเทคนิคในการเอาทุนมาทำงานให้เรา

ในกิจการที่เราทำงานอยู่ เขาเริ่มกิจการ ก็เริ่มด้วยทุน ทำอะไร ๆ ก็ใช้ทุน จุดประสงค์….เป้า….จุดสุดยอด….จิตวิญญาณ เอางี้เลย จิตวิญญาณของทุนนิยมก็คือ การใช้ทุนเพื่อสร้างกำไรครับ กำไรวนกลับมาเป็นทุน เพื่อขยาย ขยายการผลิต ขยายพื้นที่ หรือเพื่อลด ลดเวลา ลดการใช้คน ลดข้อผิดพลาด พวกนี้ใช้ทุนทั้งนั้น

แผนกไอที เรากำลังขับเคลื่อนแผนก สอดคล้องกับความเป็นทุนนิยมหรือเปล่าครับ คนไอทีเรากำลังพยายามทำงานแทนซอฟต์แวร์หรือ Cloud service หรือเปล่า ไอทีเราพยายามจะเรียนรู้ทุกอย่างเพื่อจะประหยัดทุนไม่ต้องจ้างคนนอกหรือเปล่า เรารู้หรือเปล่าว่า องค์กรหายใจเข้าออก ก็คือ ทุนกับกำไร คนไอทีเราไม่ใช้ทุนสร้างกำไร แล้วจะเอาหยาดเหงื่อกับเลือดเนื้อเข้าแลกเหรอครับ 

ต้องกล้าลงทุน

ทุน ก็คือเงินที่เราเอามาทำงานให้เรา แผนกไอทีต้องกล้าใช้ทุน ไม่งั้นงานแผนกจะล้น และคนที่จะมาแบกภาระอันเกิดจากการไม่ใช้ทุน ก็คือคนในแผนกไอทีนี่เอง…. เห็นราคาในใบเสนอราคา อย่าท้อ และ อย่าถอยครับ อย่าคิดว่าแพง ให้คิดว่า ทุนของธุรกิจที่เราจะหยิบมาลงนั้น “จะสร้างผลกำไรกลับคืนไปสู่องค์กรได้อย่างไร”
.
.
อย่าสร้างแผนกไอทีด้วย หยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ และ แรงงาน 
ให้สร้างด้วยทุนที่ก่อให้เกิดกำไร

สรุป

ผมอยากให้แผนกไอที เป็นแผนกที่ว่างพอจะมาคิดอะไรใหม่ ๆ ที่สนับสนุนการเติบโตขององค์กร เป็นแผนกที่ทำงานเชิงรุก เราเป็นสาขาอาชีพที่โชคดีสุด ๆ เพราะเรามีเครื่องมือช่วยเยอะมาก เราต้องรู้จักหยิบมาใช้ ลดความเกรงใจทุนและนึกถึงวิธีใช้ทุนทำงานแทน ต้องยอมให้ทุนมาทำแทนเราได้แล้ว คนไอที ต้องหาเวลาไปเริ่มงานใหม่ ๆ ที่ให้ประโยชน์กับองค์กรมากขึ้น อย่ามัวแต่ทำงานแทนทุน สรุปง่าย ๆ แบบนี้ครับ


เขียนและบันทึกเรื่องราวโดยพี่วุฒิ

ประชาธิปไตยในเหรียญคริปโตมีจริง หรือเป็นแค่เกมส์ของทุนนิยม

เมื่อ 3 มกราคม 2009 มีการเกิดระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ใช้รูปแบบการใช้ข้อมูลแบบกล่อง แล้วบันทึกทุกความเคลื่อนไหวของเหรียญคริปโตให้ทุกๆคนที่เข้ามาใช้งาน โดยผู้คิดค้นที่มีนามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ 

ซึ่งทำให้ทุกความปลอดภัยไม่กระจุกตัวอยู่ที่ระบบธนาคาร แต่กระจายความปลอดภัยไปอยู่กับทุกคนที่เรียกว่า ระบบ Blockchain ของเหรียญคริปโต (Cryptocurrency) 

เงินรูปแบบเดิมเป็นยังไง

เดิมที่เงินในความหมายเดิมของเรานั้น คือมูลค่าที่เอามาใช้แลกเปลี่ยนในประเทศ โดยที่รัฐบาลนั้นจะรับรองว่าสิ่งนี้ หรือ กระดาษนี้มีมูลค่าจริงใช้แลกเปลี่ยนได้จริง โดยที่มีผู้ดูแลมูลค่าของมัน ผ่านธนาคารแห่งชาติในประเทศนั้น ซึ่งประเทศไทยคือธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงค์ชาติที่เรารู้จักกัน

โดยที่มูลค่าของเงินในแต่ละประเทศนั้นจะมาจากการพิมพ์เงินที่มีทองคำค้ำประกัน เพื่อยืนยันว่าเงินมีมูลค่าจริง และ การอ้างอิงทองคำก่อนพิมพ์แบงค์ออกมานั่นจะช่วยรักษามูลค่าของเงินอีกทางหนึ่งเช่นเดียวกัน ถึงแม้ปัจจุบันมีบางประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริการที่ไม่ได้พิมพ์เงินอ้างอิงกับมาตรฐานทองคำแล้วก็ตาม (แต่รัฐบาลกลางทำให้มันมีมูลค่าจริงด้วยการบังคับให้เป็นสกุลเงินโลกในการซื้อน้ำมัน แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ) แต่หลายประเทศก็ยังใช้รูปแบบมาตรฐานทองคำอยู่นั่นเองเป็นที่มาของการรักษามูลค่า และรักษาความปลอดภัยของเงินนั่นเอง

เงินแต่ละประเทศรักษาความปลอดภัยยังไง

ระบบการรักษาความปลอดภัยทางการเงินที่ในอดีตนั้นคือการที่ให้ธนาคารเป็นศูนย์กลางทั้งหมด ถ้าหากเราเราโอนเงินจากบัญชี A ไป บัญชี B แล้วเกิดระหว่างทางเงินจากบัญชี A โอนออกไปแล้ว แต่ไม่เข้าบัญชี B ความเสี่ยงทั้งหมดก็จะอยู่กับธนาคารนั่นเอง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเงินจากสกุล C ไปเป็นเงินสกุล D ได้หรือเปล่าก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ และยังมีค่าธรรมเนียมมากมายที่เป็นข้อจำกัดของการเคลื่อนเงินในรูปแบบเดิม ซึ่งทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งอยากจะเปลี่ยนโลกทางการเงินให้ออกไปเป็นอิสระ ไม่ต้องผ่านตัวกลาง เป็นที่มาของเงินคริปโตเคอเรนซี่ หรือ เรียกสั้นๆว่า คริปโต

เงินคริปโตเข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไร

การเข้ามาของเหรียญคริปโตนั้นเข้ามาเปลี่ยนกฏเกณฑ์ของการเงินที่มีอยู่เดิมให้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งระบบความปลอดภัยของการเงินเดิม ที่ต้องใช้ธนาคารมาเป็นตัวกลางรักษาระบบ ก็เปลี่ยนเป็นทุกคนคือความปลอดภัยผ่านระบบ Blockchain (ซึ่งเราจะเล่าต่อไปว่ามันคืออะไร) และกฏระเบียบข้อกฏหมายต่างๆของโลกการเงิน ปริมาณเงิน มูลค่าของเงิน ทั้งหมดถูกเปลี่ยนด้วยกฏที่ยอมรับร่วมกันภายใต้โค้ดของคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมา

Blockchain เบื้องหลังความปลอดภัยของคริปโต

จากที่กล่าวข้างต้นไปว่าการเงินรูปแบบเดิมนั้นมีการรวมศูนย์ที่ธนาคาร และรัฐบาล ฉะนั้นเมื่อแฮกเกอร์สามารถเจาะเข้าสู่ระบบการเงินของประเทศได้ แล้วไปแก้ตัวเลขในบัญชีธนาคารได้ ก็เท่ากับว่ามีการโจรกรรมการเงินได้เช่นเดียวกัน แต่ระบบ Blockchain นั้นแตกต่างกันออกไป ตรงที่ความปลอดภัยนั้นจะมาเป็นรูปแบบกล่อง (Block) ซึ่ง 1 คนมี 1 กล่อง ทำให้เมื่อ A โอนเงินไปให้ B แล้ว B โอนไปให้ C ต่อไป D E F G H ฯลฯ  ทุกคนที่ถือเหรียญจะมีการบันทึกของเหรียญไว้ได้ทั้งหมด

ในกรณีที่ A แจ้งว่าเหรียญหายไป 10 เหรียญเฉยๆ แต่เมื่อไปดูกล่องของคนส่วนมากในระบบ ไม่ได้เห็นว่าเหรียญของ A มี 10 เหรียญตั้งแต่แรกแล้ว ก็จะรู้ว่าสิ่งที่ A พูดมาไม่เป็นความจริง จากความปลอดภัยที่เรียกว่า กล่อง (Block) เชื่อมต่อกันเป็นโซ่ (Chain) บันทึกทุกการเคลื่อนไหวของเงินคริปโต

ประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า

จะเห็นว่าด้วยลักษณะของมันที่เป็น Blockchain ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน โดยที่แต่ละเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจะมีกฏเกณฑ์ของเหรียญ ฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไปการจะเปลี่ยนกฏเกณฑ์ต่างๆได้ ต้องได้ความยินยอมจากคนที่ถือเหรียญที่มีปริมาณเกินครึ่งหนึ่งของระบบ ซึ่งตรงตามหลักการของประชาธิปไตยทุกอย่าง จนกระทั่ง..

หลังจากที่การกำเนิดของคริปโตนั่นเบ่งบานขึ้น ก็เกิดผู้ให้บริการตัวกลางขึ้นมาช่วยเหลือ และเข้ามาเพิ่มมูลค่าของเหรียญ ซึ่งการจัดตั้งองค์กรขึ้นมารับเงินสกุลเงินแต่ละประเทศนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าหากไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐบาลในการเคลื่อนย้ายเงิน เกิดเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงินกับเหรียญคริปโต ทำให้ในอนาคตเราอาจจะพอคาดเดาได้ว่าสุดท้ายมันก็อาจจะเป็นสินทรัพย์ดิจิตอล ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลได้เช่นเดียวกัน

นายทุนควบคุมตลาด

ในช่วงปีที่ผ่านมามีการเข้ามาซื้อเหรียญบิทคอย ปริมาณมากๆจากนิรนามเกิดเป็นศัพท์ใหม่ที่เรียกว่า Bitcoin Whale ที่แตกต่างไปจากการเงินรูปแบบเดิมคือ การซื้อสกุลเงินปริมาณมากๆ นั้นเกิดจากการซื้อขายทางธุรกิจ เช่น การซื้อปลาทูน่ากระป๋องปริมาณมากของสหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศได้รับเงินดอลล่ามาปริมาณมากจากการซื้อขายปลากระป๋อง แต่ในโลกของคริปโตนั้นการซื้อปริมาณมากไม่สามารถรู้ได้ว่าใครซื้อไป (มีแค่เจ้าของเงิน กับตัวกลางเท่านั้นที่รู้) เป็นที่มาว่าทุกการขึ้นลงของมูลค่าของคริปโต เราจะไม่สามารถเดาได้แน่ชัดว่าเกิดจากนายทุนคนไหนขายออกไป หรือ ซื้อเข้ามาไว้สะสมนั่นเอง

เงินตรา เงินคริปโต มีอะไรที่เชื่อมโยงกัน

เหนือสิ่งอื่นใดเงินคริปโตเมื่อเทียบกับเงินตราของแต่ละประเทศนั้นถือว่ายังใหม่มากสำหรับโลกการเงินเช่นเดียวกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เรายังคงรู้ได้อย่างแน่นอนคือเบื้องหลังการเงินนั้นมีมนุษย์ควบคุมอยู่ และประวัติศาสตร์ของมนุษย์เราก็จะกลับไปผิดซ้ำที่จุดเดิมเช่นเดียวกัน กล่าวคือเงินตราเองก็มีฟองสบู่ เงินคริปโตก็มีฟองสบู่ เงินตรามีถูกและแพงตามวงรอบของเศรษฐกิจ เงินคริปโตก็มีวงรอบของมันเช่นเดียวกันเพียงต่างกันที่จังหวะและเวลาให้เราได้ศึกษากันต่อไป…

สรุป

เบื้องหลังของระบบเหรียญคริปโตคือ Blockchain ที่เป็นโค้ดคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบอยู่เบื้องหลัง กระจายอำนาจการรักษาข้อมูลที่เป็นจุดแข็ง ฉะนั้นเบื้องหลังของความปลอดภัยของข้อมูล คือการมีบลอค (ผู้ใช้) มีปริมาณมากพอที่จะทำให้มีการตรวจสอบกันและกัน ฉะนั้นระบบ Network บริษัทที่ดีถ้าได้รับการออกแบบโดยผู้ที่เข้าใจระบบ Cybersecurity ก็จะช่วยให้มีความปลอดภัยอย่างครอบคลุม โดยผู้เชี่ยวชาญของ Prospace มีประสบการณ์ด้านการดูแล Firewall as a Service ที่เป็นหัวใจหลักของออฟฟิศในปัจจุบัน 

โดยระบบความปลอดภัยนั้นไม่ได้เกิดจากการนำผู้รักษาความปลอดภัยมาประจำจุดแล้วจบทุกปัญหา แต่การมีความปลอดภัยทางระบบเกิดจากการออกแบบการเดินทางของข้อมูลให้เหมาะสมกับระดับความปลอดภัย แล้วการรักษาความปลอดภัยประจำจุดจะมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างที่องค์กรต้องการ ซึ่งสามารถปรึกษาด้านระบบความปลอดภัยในองค์กรกับเรา เพียงกรอกข้อมูลด้านล่างนี้ แล้วเจ้าหน้าที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือท่านเลย

References :
Source1
Source2
Source3
Source4

เด็กติดเกม VS ติดการพนันแฝง เด็กผิด เกมส์ผิด หรือแค่หาคนโทษกันแน่

ผู้ผลิตเกมออนไลน์เดี๋ยวนี้ เขาไม่ได้หาเงินจากการที่ลูกค้าจะต้องเสียเงินซื้อเกมของเขามาเล่นนะครับ กลับกัน เขาอยากจะเปิดให้เล่นฟรี ยิ่งคนเล่นเยอะ เขายิ่งมี “โอกาสทำเงิน” ได้มากขึ้น เกมออนไลน์ทำเงินยังไง ผู้ใหญ่บางคนอาจจะบอกว่า “ง่ายจะตาย ก็ล่อเด็กให้เติมเงินซื้อไอเท็มไง” 

เด็กหรือผู้ใหญ่ก็เป็นเหมือนกัน

เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกครับ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว ระหว่างนี้ ผมอยากให้สังเกตลูกหลานให้ดีนะครับ ถ้าเขามีนิสัยเป็นคนเสียดายเงิน เก็บออม หรือจะออกไปในทางขี้เหนียว แต่สามารถหมดเงินกับเกมได้อย่างตรงกันข้าม เด็กคนนั้นมีโอกาสติดการพนันที่แฝงอยู่ในเกมครับ

เกมออนไลน์บางเกม มีวิธีหาเงินแบบตื้น ๆ คือมีเกมที่เปิดให้เล่นฟรีได้ (F2P – Free to Play player) แล้วเขาจะกันอีกส่วน ที่ใครอยากจะเข้าไปเล่น ก็ต้องจ่าย (P2P – Pay to Play player) เกมแบบนี้ก็ยังมีหลงเหลืออยู่ แต่มักเป็นเกมที่ต้นทุนการพัฒนาสูง ทำเงินได้ไม่มาก เมื่อเทียบกับวิธีการทำเงินที่ผมจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้

แพ้ แพ้ แพ้….จ่ายดีกว่า จะได้ไม่แพ้อีก

วิธีหาเงินของเกมออนไลน์ที่เก่งขึ้นมาอีกหน่อย เขาจะตั้งเป้าหมายให้ผู้เล่นไขว่คว้าครับ อาจจะต่อสู้เพื่อเอาขนะ Bot ในเกม หรือเอาชนะผู้เล่นอื่น ลุยกันเดี่ยว ๆ หรือลุยกันระหว่างทีม มีหมดทุกแบบ และแน่นอนว่า ทุกเกมมี Player level ที่มาพร้อมกับการอัพเกรด ว่าง่าย ๆ Level สูงก็ชนะ Level ต่ำกว่าก็แพ้ไป ถ้าอยากจะเข้าไปถึงด่านลึก ๆ ในเกมก็จำเป็นจะต้องอัพเกรดให้ Level สูงขึ้นเรียกว่า ชีวิตในเกมจะเดินหน้า ก็ต้องอัพเกรด Level ถ้าไม่อัพเกรด ก็คือชีวิตที่อยู่กับความพ่ายแพ้

ความรู้สึกพ่ายแพ้สร้างแรงผลักดัน

ความรู้สึกพ่ายแพ้มันมีแรงผลักดันสูงครับ ไม่มีใครอยากแพ้ ทีนี้ถ้าแพ้บ่อย ๆ คนก็เลิกเล่นเกม ถูกมั้ยครับ เกมเขาก็เลยมีทางให้เราอัพเกรดได้ครับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการเล่นเพื่อแลกสะสมอะไรซักอย่าง (เหรียญ, เพชร, พลัง, ฯลฯ ผมเรียกว่า แต้ม ละกัน) แล้วเราก็เอาแต้มไปแลกกับออพชั่นที่จะใช้อัพเกรดตัวเรา (ต่อไปนี้ จะเรียกว่า ไอเท็ม)เราจะเล่นฟรี ๆ สะสมแต้มไปเรื่อย ๆ แล้วก็อัพเกรดไปอย่างช้า ๆ ก็ได้ครับ ไอเท็มสำหรับ Level ต่ำ ๆ มักจะได้มาง่าย ๆ ด้วยแต้มไม่มากนัก ล่อผู้เล่นให้เล่นต่อ เห็นโอกาสของการอัพเกรดสูง ๆ ขึ้นไป แต่ใน Level ที่สูงขึ้น แต้มที่ใช้แลกไอเท็มจะสูงขึ้นแบบ Exponential ผู้เล่นที่ไม่อยากแพ้ให้กับคนที่ Level เหนือกว่า แทนที่จะเล่นสะสมแต้มช้า ๆ ไปเรื่อย ๆ สามารถเลือกที่จะจ่ายได้

ใครๆก็อยากได้สิทธิพิเศษ

แทนที่เกมออนไลน์จะให้ผู้เล่นจ่ายเพื่อแลกแต้มเอาทื่อ ๆ เขามีหลักคิดที่ซับซ้อนกว่านั้น Trading มีคุณค่าทางจิตใจน้อยกว่า Privilege ครับ ดังนั้น แทนที่จะจ่ายเพื่อซื้อแต้ม เขาก็ให้ผู้เล่น “จ่ายเพื่ออัพเกรดโอกาสในการทำแต้มได้เร็ว” เมื่อไหร่ที่ผู้เล่นเข้าสู่โลกของเกม ผู้เล่นจะรู้สึกถึงสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่าผู้เล่นที่เล่นฟรี 

เล่นแล้วมันถูกใจ ใครล่ะจะไม่เล่นต่อ จริงมั้ยครับแถมด้วยความพึงพอใจเมื่อได้อัพเกรด และได้ชนะ มันเติมเต็มความรู้สึกของผู้เล่นได้เป็นอย่างดี เป็นการกลายร่างจาก F2P (Free-to-Play player) มาเป็น P2W (Pay-to-Win player) ไปได้อย่างเนียน ๆ

ความคิดที่ถูกแบ่งชนชั้น

อ่านไปก็ลองถามลูกหลานไปนะครับ ในเกมที่เขาเล่น เป็นอย่างที่ผมเขียนหรือเปล่า และเกมออนไลน์สร้างอารมณ์แบบไหนใส่หัวลูกหลานของเราอยู่ ความรู้สึกของการแบ่งแยกชนชั้น ลูกหลานเราอยู่ชนชั้นไหน ชั้นสูงที่ดูแคลนชนชั้นล่าง หรือเขาเป็นชั้นล่างที่รู้สึกถึงความด้อยคุณค่าเมื่อเทียบกับชั้นสูง ลูกหลานของเราพร้อมกับภาวะอารมณ์เหล่านี้แล้วหรือยัง จังหวะนี้ ถ้าเราไม่สอน ลูกหลานเราอาจเป็นคนชอบบูลลี่หรือเหยียดคนอื่น หรืออาจรู้สึกถูกซ้ำเติม ถูกเหยียดแม้แต่ในเกมหรือเปล่า เราต้องตามลูกหลานเราให้ทันนะครับ

ไม่อยากเป็นไก่ให้ทีมแบก

พวกเราต้องช่วยกันทำให้ทีมชนะ เกมออนไลน์ยังใช้ Social emotion เข้ามาเป็นตัวเร่งปฏิกริยาการซื้อได้อีก โดยจัดให้ผู้เล่นรวมทีมกัน และใช้ความสามารถของผู้เล่นแต่ละคนเพื่อเอาชนะอีกฝ่าย พออยู่ในทีม ผู้เล่นก็จะเริ่มประเมินตัวเองว่า ฉันเป็นตัวถ่วงทีมหรือเปล่า ทีมแพ้เพราะฉันอ่อนแอหรือเปล่า บางคนอยากจะทำเพื่อทีม จาก F2P player ก็กลายร่างเป็น P2W เร่งอัพเกรดตัวเองให้ทันเพื่อนร่วมทีม และนำทีมสู่ชัยชนะในที่สุด ไม่ว่าจะอย่างไร ผู้ผลิตเกมได้เงินเยอะขึ้นจากการจับผู้เล่นมารวมเป็นทีม

ลูกหลานของเราจะเข้าใจมั้ยว่า สังคมมีคนหลากหลาย ไม่จำเป็นจะต้องดีเด่นไปในทางเดียวกัน แต่ละคนมีคุณค่าในแต่ละวาระ การด้อยค่าตัวเองนำไปสู่โรคซึมเศร้าและเรื่องน่าสลดใจในที่สุด เรื่องแบบนี้เราต้องสอนลูกหลานให้ทัน อย่าให้เขารู้สึกด้อยค่าอันมาจากเกม

ไม่ได้จ่ายเงินสด แต่จ่ายเหรียญแลกของเสียดายน้อยกว่า

ผู้ใหญ่อย่างเราที่คิดว่า ดาบ=250 บาท, โล่ห์=300 บาท, เสื้อเกราะ=350 บาท, ขวดเติมชีวิต=100 บาท เด็กก็คงซื้อบัตรมาเติมเกมกันแบบนี้ ถ้าเราคิดได้แค่นี้ ถือว่าคิดไม่ทันผู้ผลิตเกมครับ เพราะเกมใช้หลักจิตวิทยาเดียวกับคาสิโน ที่เราต้องเอาเงินไปแลกชิพก่อน ซึ่งการที่เราเดิมพันด้วยชิพ หรือเสียชิพไปเพราะเสียพนัน ความเสียดายมันน้อยกว่าเสียเงินสด เกมจึงเปลี่ยนเงินที่เราเติมลงในเกม ให้กลายเป็น Symbol อื่น ๆ ที่ผมเรียกว่า แต้ม นั่นแหละครับ ในเกมมันอาจจะเป็นเพชร, ทอง, เงิน, เหรียญ, เปลือกหอย, อะไรก็ได้ แล้วเวลาใช้ ก็เป็นการใช้แต้ม ไม่ได้ใช้เงิน ความรู้สึกเสียดายก็น้อยลง การใช้จ่ายก็มากขึ้น

ใช้แต้มลุ้นรางวัลใหญ่

นึกตามนะครับ ถ้าเกมออนไลน์เขาให้ผู้เล่นเอาแต้มมาแลกไอเท็ม มันก็จะเป็นแค่ Marketplace ไปเท่านั้นเอง น่าเบื่อมากเลยครับ การดึงดูดให้เกิดความเร้าใจในการซื้อ ก็ต้องเอาการเสี่ยงโชคเข้ามาใช้ครับ การใช้แต้มแลกไอเท็มก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ในเกมจะมีอีกส่วนหนึ่ง ที่เกมจะวาง “สิ่งที่มองไม่เห็น” ให้ผู้เล่นได้เปิด ได้ลุ้นสิ่งที่จะได้รับ อาจเป็นไอเท็มธรรมดา หรืออาจเป็นไอเท็มสุดยอด จะเอาแต้มไปซื้อไอเท็ม หรือจะเอาแต้มมาซื้อโอกาสในการเปิดสิ่งที่มองไม่เห็น เผื่อว่าจะได้ไอเท็มที่ต้องการและนี่คือหลักของการพนันดี ๆ นี่เอง

ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การเสียเงินมากมาย แล้วไม่ได้รางวัลใหญ่ แต่ประเด็นคือ เด็กที่เล่นเกมนั้น ได้สัมผัสกับกลการพนันโดยที่เขาไม่รู้ตัว เด็กได้รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ในการเล่นพนัน ความรู้สึกว่าเกือบชนะ อีกนิดเดียวก็จะได้แล้ว, ความรู้สึกว่า ลงแต้มอีกที แล้วเปิดลุ้นอีกที ทีนี้จะได้รางวัลใหญ่แล้ว, ความรู้สึกดีใจ (ที่เจ้ามือเตรียมไว้ให้) เมื่อผู้เล่นชนะพนัน ซึ่งทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เล่นต่อ

เกมเมอร์จะชนะระบบยังไง

มนุษย์กับการพนันน่าจะอยู่คู่กันมานับตั้งแต่ไหนแล้วก็ไม่รู้ สมองของเราหลั่งโดพามีน ทำให้เรารู้สึกดีตอนมือขึ้น สมองเราก็หลั่งโดพามีนตอนเรากินอาหารที่ชอบ หรือมีเพศสัมพันธ์ที่มีความสุข รวมถึงตอนเสพโคเคน แล้วเกมออนไลน์ก็ป้อนประสบการณ์นั้นให้ลูกหลานของเราอยู่ เรารู้กันหรือเปล่า…

….ทำยังไงดี

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

คนทำเกมเขาอุตส่าห์ยกคาสิโนมาไว้กลางบ้านเราแล้ว เราก็ถือโอกาสนี้สอนลูกหลานของเราเลยดิครับ สอนให้เขารู้จักควบคุมการลงแต้ม รู้จักถอยเมื่อเสีย รู้จักพอเมื่อได้ และรู้ว่าไม่มีทางชนะเจ้ามือ และรู้ธาตุแท้ของการพนัน ฝึกเขาจนเขาสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ให้อยู่เหนือแรงดึงดูดจากการพนันในเกม กลายเป็๋นคนที่บริหารทรัพยากร (แต้ม) ได้ และเล่นเกมอย่างคนที่รู้จักวางแผน และชนะด้วยสมองแทนการเอาแต้มเข้าแลก

การลุ้นในเกมกับผลที่ได้ ไม่ใช่การสุ่ม แต่มันคือ Customer experience ที่ผู้ผลิตเกมวางเอาไว้เป็นอย่างดีโดยอาศัย Big Data และเรานั่นเองที่เป็น Data ให้เขาเอาไป Manipulate ถือโอกาสสอนเรื่องของ AI กับ Big data ไปพร้อมกันเลย 

สรุป

ลูกหลานเล่นเกม ผลมันจะออกมาดีหรือร้าย อยู่ที่ผู้ปกครองครับ การห้ามเล่นไม่ใช่ทางออก เราใช้เกมที่ว่ามอมเมานั้น เอามาสอนลูกหลานได้ เพียงแต่เราต้องตั้งใจศึกษาวิธีคิดของผู้ผลิตเกม อ่านเขาให้ออก รู้ให้ทัน ผมแนะนำในบทความนี้อย่างมากมาย เอาไปวิเคราะห์เกมที่ลูกหลานท่านเล่นดูครับ และหวังว่า ลูกหลานของท่านจะเล่นเกมได้ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อการพนันแฝงจากในเกมนะครับ


เขียนและบันทึกเรื่องราวโดยพี่วุฒิ 

ปัญหาการตลาดออนไลน์ เก็บข้อมูลไม่ได้ ยิงแอดไม่ตรงกลุ่ม เกิดจากอะไร

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรายังวนเวียนอยู่กับโลกของการตลาดรูปแบบที่ต้องการสถานที่ ผู้คน และการทำโปรโมชั่นให้คนเข้ามาใช้บริการ แล้วค่อยมีการเดินไปอย่างช้าๆในการซื้อขายผ่านโลกออนไลน์ จนกระทั่งเกิดสึนามิลูกใหญ่ที่ทำให้เราเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตอย่างเร่งด่วนจาก “Coronavirus”

 

การตลาดยุคก่อน

การตลาดแบบเดิมนั้นมีตำราการขายที่เป็นรูปแบบคงที่ การตั้งร้านค้าต้องเลือกตามโลเคชั่นต้นซอย หรือห้างสรรพสินค้าชื่อดัง สินค้าต้องมีราคาที่แข่งขันกับคู่แข่งได้โดยที่มีต้นทุนเป็นค่าเช่าร้าน ค่าเช่าพนักงานมาดูแล และต้องทำการส่งเสริมการตลาดรูปแบบเดิม มีทั้งการแจกใบปลิว ขึ้นป้ายโฆษณาบิลบอร์ด ลงปกนิตยสาร จนการเดินทางเข้ามาของโลกอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกอย่างถาวร ทั้งสถานที่ที่ดีไม่ใช่ตำแหน่งติดถนนใหญ่ แต่เป็นตำแหน่งที่ลูกค้าใช้ชีวิตออนไลน์อยู่ในนั้น ทำให้ร้านค้าที่อยู่ท้ายซอย กลางซอย ก็มีลูกค้ามากมายถ้าหากเข้าใจความเป็นออนไลน์ ตำราการตลาดในยุคเดิมก็เริ่มเปลี่ยนไปอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเดินทางครั้งใหม่ของการตลาดดิจิตอลนั่นเอง

 

การตลาดยุคดิจิตอล

การเปลี่ยนแปลงจากโลกอินเตอร์เน็ตที่ทำให้พฤติกรรมผู้คนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากการดูทีวีที่ต้องรอดูรายการต่างๆตามเวลาออกอากาศ เปลี่ยนเป็นการเปิดดูคอนเท้นท์ที่ต้องการตามเวลาที่อยากดู ไม่ต้องรอข่าวหนังสือพิมพ์ตอนเช้าเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อวาน แต่สามารถเสพสื่อได้อย่างทันทีทันใด ตามความคิดเห็นของคนต่อข่าวนั้นได้อย่างทันทีทำให้ “คุณค่า” และ “มูลค่า” ในโลกอินเตอร์เน็ตไม่ได้อยู่บน “ทำเลบนที่ดินกลางเมือง” แต่เป็นที่ไหนก็ได้ที่  “ผู้ใช้งาน” เข้าไปใช้ชีวิตจริงอยู่บนนั้น เกิดเป็นการแข่งขันการรู้ใจ “ผู้ใช้งาน” ผ่านหลักฐานการใช้งานของเขา เป็นที่มาของการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน การถูกนำข้อมูลไปขายให้คนอื่น หรือการได้รับ SMS ชวนเล่นการพนันอย่างที่หลายคนเคยพบเจอ แล้วเราจะแก้ปัญหายังไง?

 

แอบเก็บข้อมูลแล้วเอาขายต่อ

ถ้าให้เปรียบเทียบในชีวิตจริง ถ้าหากเราเดินทางออกจากบ้านมีกล้องวงจรปิดร้านค้าข้างบ้านจับการเดินผ่าน จากนั้นมีกล้องวงจรปิดร้านปากซอยดูว่าเราเดินทางขึ้นรถเมล์สายไหน จากนั้นบนรถเมล์มีกล้องวงจรปิดรู้ว่าเราเล่นเกมส์บนโทรศัพท์ หรือควักโน๊ตบุคขึ้นมาทำงาน แล้วมีคนนั่งดูกล้องวงจรปิดเหล่านั้น แล้วจดพฤติกรรมของเราว่าแต่ละวันเป็นยังไง แล้ววันหนึ่งปรากฏว่าวันหนึ่งมีโฆษณาบนรถเมล์ขายบริการ 4G สำหรับคนทำงานทุกที่ และเกิดการซื้อขายในเวลาต่อมา 

 

แต่ในโลกออนไลน์มีการเก็บที่ง่าย และแนบเนียนกว่านั้น ผ่านการเก็บข้อมูลผ่านเว็บไซต์ที่เรียกว่า “Cookie” ที่เป็นตัวจับพฤติกรรมการใช้งานในชีวิตออนไลน์ทุกอย่างบนโลกเราไว้ เก็บข้อมูล ชื่อ เบอร์โทร อีเมล หรือแม้กระทั่งว่าเราพิมพ์หาอะไรบนเว็บ ชอบซื้ออะไรบนเว็บขายของออนไลน์ พูดคุยอะไรกับเพื่อนแล้วปรากฏว่ามีโฆษณาเข้ามาขายบนหน้าแอพพลิเคชั่นที่เราใช้งาน เกิดเป็นความระแวงว่าเราถูกสอดแนมการใช้ชีวิตตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของกฏหมายควบคุมความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้ย

 

กฏหมายเข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไร

ก่อนการเข้ามาของกฏหมาย PDPA ดังกล่าวนี้ การเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์นั้นเป็นไปได้อย่างง่ายและไร้รอยต่อ หมายถึงเข้าเว็บไซต์เดียว ขออนุญาตครั้งเดียวทำให้มีการเก็บข้อมูลเว็บไซต์อื่นๆที่เราเข้าไปใช้งาน แล้วเข้าไปรู้พฤติกรรมของเราในหลายเว็บหลักที่เราเข้าไปใช้งาน ทำให้การเข้ามาของกฏหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีการขีดเส้นของการอนุญาตเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน มีลายลักษณ์อักษรว่าเราอนุญาตให้เก็บ บอกจุดประสงค์ว่าข้อมูลที่เก็บไปจะไปใช้ทำการตลาดหรืออะไร ทำให้เรารู้ว่าขอบเขตและข้อมูลที่เราให้นั้นถูกละเมิดสิทธิ์หรือเปล่านั่นเอง

 

การตลาดออนไลน์ที่แพงมากขึ้น

หลังจากที่หลายประเทศนั้นออกกกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น ทำให้การเก็บข้อมูลการตลาด และสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลนั้นไม่ง่ายเหมือนที่เคยเป็นมา รวมทั้งการเข้าใจผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการลดเนื้อหาขยะ และโฆษณาที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อพื้นที่การโฆษณาจำกัดมากขึ้น กฏเกณฑ์มากยิ่งขึ้น ทำให้การแย่งพื้นที่แสดงสินค้ามีราคาสูงยิ่งขึ้น แต่โฆษณาไม่โดนกลุ่มเป้าหมายอย่างที่เคยทำมา เพราะปัญหาการไม่เชื่อมต่อข้อมูลของเว็บและแอพพลิเคชั่นต่างๆนั่นเอง

 

สรุป

การเข้ามาควบคุมทางกฏหมายนั้นอาจจะทำให้การเก็บข้อมูลนั้นมีระเบียบระเบียบในหลักการและกฏหมายมากขึ้นนั่นเอง ฉะนั้นการตลาดดิจิตอลต่อไปนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดต่อไป จึงเป็นเหตุให้ต้องทำตามกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อลดปัญหาที่จะมาจากการฟ้องร้องความเสียหาย และการเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ซึ่งบริการของ PDPA Prokit ที่ช่วยให้มีการเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อการตลาดอย่างถูกต้องตามกฏหมาย มีทั้งเป็นรูปแบบโค้ดนำไปติดตั้งบนเว็บไซต์ คอร์สอบรมสำหรับพนักงาน และบริการให้คำปรึกษาการทำระบบ สามารถปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้

เราควรจ่ายค่าปิดปากให้ Ransomware หรือจ้างทนายเก่งๆดี?

จ่ายค่าปิดปาก ransomware

PDPA ปีหน้าจะมาแล้ว ควรจ่ายค่าปิดปากให้แฮกเกอร์ไม่ให้เอาข้อมูลที่ขโมยออกไปขายดีหรือเปล่า ซึ่งหลายธุรกิจโดน Ransomware ยอมจ่ายค่ากู้ข้อมูลบ้างไม่จ่ายบ้าง ซึ่งกู้ข้อมูลด้วยตัวเองสำเร็จแทบไม่มี ปัจจุบันองค์กรไหนที่โดนแฮกเอาข้อมูลออกไปก็กลายเป็นตัวอย่างให้กับธุรกิจที่ยังไม่โดน ให้ได้ตื่นตัวกับการสำรองข้อมูล ซึ่งเป็นปัญหาปลายเหตุเท่านั้น 

Ransomware ไม่ใช่แค่จ่ายค่าไถ่ แต่เป็นต้นทุนทางธุรกิจ

จนทุกวันนี้ Ransomware เป็นแค่ภัยไม่ร้าย แค่ทำให้เสียเวลากู้คืนระบบจากฐานข้อมูลแบคอัพเท่านั้น แฮกเกอร์ก็เลยต้องเล่นมุขใหม่ไม่ใช่แค่เข้าไปใส่ Password ไม่ให้เข้าถึงไฟล์เท่านั้น แต่แฮกเกอร์เอาข้อมูลออก ออกจากฐานข้อมูลเพื่อไม่ให้กู้คืนระบบจากการแบคอัพ ซึ่งทำทั้งสองทางนั่นเอง

เรียกค่าไถ่ไม่ได้ เอาไปขายตลาดมืดก็แล้วกัน

แฮกเกอร์จะเอาข้อมูลไปขาย ถ้าธุรกิจไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ อย่างน้อยได้ข้อมูลไปขายในตลาดมืด ก็ยังได้เงินมาบ้าง อยู่ที่ว่าขโมยข้อมูลอะไรไป สำคัญมากแค่ไหน ซึ่งคนที่ซื้อก็คือโจรด้วยกัน ที่เอาข้อมูลของเราไปใช้ก่ออาชญากรรมอีกที

เรียกค่าไถ่ไม่ได้ ก็ทำลายความน่าเชื่อถือแล้วกัน

เมื่อไม่นานมา นี้ บริษัทค้าปลีกและโรงแรมชื่อดังอย่างบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด ถูก Desorden Group (กลุ่มแฮกเกอร์) เข้าไปขโมยข้อมูลจากระบบผ่านทาง Web access (หลังบ้านของเว็บ) ทำให้แฮกเกอร์ได้ข้อมูลลูกค้าไปหลายล้านรายจากลูกค้าร้านอาหารและโรงแรมหรูในเครือทั่วโลก จากข้อมูลกว่า 400GB จากเซิร์ฟเวอร์ 5 เครื่อง 

ที่น่าสนใจคือมีการตกลงกับทางแฮกเกอร์ในวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมาว่าจะยอมจ่ายค่าไถ่เป็นเงิน 900,000USD แต่พอถึงกำหนด ไม่ได้มีการจ่ายค่าไถ่ โจรโมโห ก็เลยล้างแค้น ลงมือขโมยข้อมูล แล้วเอามาให้สัมภาษณ์ประจานกันซะเลย โดยยังตัดข้อมูลที่ขโมยไปได้ส่วนหนึ่ง มาแปะเป็นตัวอย่าง ประกาศขายข้อมูลชุดเต็มอีก ใครที่อยากเห็นด้วยตาตัวเองว่า คนร้ายได้ข้อมูลอะไรไปบ้าง ไม่ได้ยากที่จะค้นคำว่า Desorden CRG data download โหลดข้อมูลตัวอย่างมาดูกันเองได้ครับ

ขโมยข้อมูล แต่ไม่ได้ขโมยเลขบัตรเครดิต

แม้คนร้ายจะประจานอย่างไร ก็อย่างที่เราได้เห็นจากหน้าข่าวแล้ว วิธีที่ธุรกิจออกมาแก้ต่างคือ “โจรขโมยข้อมูลส่วนตัวออกไป ไม่ใช่ข้อมูลบัตรเครดิต” อาศัยความไม่รู้ของคนทั่วไปว่า คนร้ายเอาข้อมูลของเราไปทำอะไรได้บ้าง พรางเรื่องร้ายแรงให้จาง ๆ ลงไปได้อย่างแยบยล

PDPA จะทำให้ข้อมูลหลุดเป็นโทษปรับมหาศาล

ปีนี้ภาคธุรกิจที่ถูกขโมยข้อมูลอาจจะเพียงแค่ออกประกาศคลายความกังวลกันไป แต่ปีหน้าการบังคับใช้ พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล PDPA จะทำให้เรื่องแบบนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นไปอีก ต่อไปนี้เป็นการย่อ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 69 ก (27 พฤษภาคม 2562) เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย โปรดอ้างกับ พรบ.ฉบับจริงเพื่อความเข้าใจครบถ้วน

  • มาตรา 37 และ 40 บอกว่า ต้องเก็บข้อมูลให้ปลอดภัย ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่คณะกรรมการ PDPA กำหนด และถ้าโดนขโมยข้อมูล ก็ต้องแจ้งกับ PDPA ใน 3 วัน และแจ้งเจ้าของข้อมูลด้วย
  • มาตรา 72 และ 76 บอกว่า ผู้เชี่ยวชาญของ PDPA สามารถเข้าตรวจระบบที่เกิดข้อมูลรั่วไหลได้ด้วย
  • มาตรา 77 ถ้ามีผู้เสียหายจากการถูกขโมยข้อมูล พรบ.กำหนดให้มีการชดใช้ค่าเสียหายด้วย เท่าไหร่ก็ว่ากันไปตามจริง
  • มาตรา 83 กำหนดโทษของการที่ระบบไม่ปลอดภัยตามมาตรา 37 ปรับไม่เกิน 3 ล้าน
  • มาตรา 86 กำหนดโทษสำหรับมาตรา 40 อีกไม่เกิน 3 ล้านบาท

เมื่อมีการบังคับใช้ PDPA จะเป็นยังไง

ในกรณีที่มี Ransomware เข้าไปขโมยข้อมูลของเราแล้วเรียกค่าไถ่ด้วยการปลดรหัส แต่เรามี Backup ข้อมูลใน Server ตัวอื่นๆจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าไถ่เรียกข้อมูลกลับมา แต่ต่อจากนั้นแฮกเกอร์เอาข้อมูลออกไปขายหรือแจกสู่สาธารณะ ต่อไปนี้ถ้ามีการบังคับใช้ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลอาจจะต้องมีการชดใช้สินไหมให้กับเหยื่อ และโทษของระบบที่ไม่ปลอดภัยสูงสุดรวมกันถึง 6 ล้านบาท

จุดน่าสังเกตุของข้อกฏหมายนี้

ในมาตรา 77 มีตอนท้ายว่า ถ้าเป็นเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ต้องชดใช้ให้ผู้เสียหายและยังมีมาตรา 90 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญมีอำนาจสั่งลงโทษปรับทางปกครองตามที่กำหนดไว้ ในส่วนนี้ ท้ังนี้ ในกรณีที่เห็นสมควรคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจะสั่งให้แก้ไขหรือตักเตือนก่อนก็ได้

สำหรับประเทศไทยแล้ว เมื่อกฎหมายเปิดช่องให้มีการใช้ดุลยพินิจได้ เราก็พอจะทราบว่า ผลจะออกมาเป็นอย่างไร โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีสาขาอำนาจในหลายทาง กลับมาที่คำถามตามหัวเรื่อง ถ้าโดนขโมยข้อมูลไปประจาน ธุรกิจจะจ่ายโจรค่าปิดปาก หรือจะจ่ายค่าสินไหมชดใช้ตามกฎหมาย หรือจะจ่ายใคร ก็ลองไปคิดกันดูนะครับ

สรุป

อย่างไรก็ตามการเตรียมระบบ PDPA หรือทำฟอร์มขออนุญาตต่างๆ จึงเป็นเสมือนการลดความเสี่ยงจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ แม้วันนี้ยังไม่โดนอะไร ก็จ่ายค่าทำระบบให้ปลอดภัย ให้เหมาะสมกับความเสี่ยง ด้วยบริการ PDPA ครบวงจร จากทาง Prospace จะช่วยให้คุณจบทุกปัญหาของ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉะนั้นให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลให้มากขึ้น ไม่ต้องรอให้กฎหมายมาบีบบังคับ จะเป็นผลดีต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจ บทเรียนจากหลายธุรกิจมีเยอะพอแล้ว…เราอย่าเป็นรายต่อไปเลยครับ 


References :
Source1
Source2

Contact us