Cyber Security ความปลอดภัยไซเบอร์ 5 ประเภท มีอะไรบ้าง?

cyber security

Cyber security หรือการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือการช่วยป้องกันระบบที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์  ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันดูเหมือนว่าอุปกรณ์ใกล้ตัวของเราเริ่มเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กรอบๆตัวเรามากขึ้น โดยสิ่งหนึ่งในนั้นเป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า IoT หรือ อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) ตั้งแต่นาฬิกา เครื่องช่างน้ำหนัก ลำโพง หรือแม้กระทั่งหลอดไฟก็ตาม มันเป็นสิ่งที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและถูกโจมตีได้ ถ้าหากไม่มีระบบ Cyber security ที่ป้องกันการเข้าถึงข้อมูล

ชีวิตของเราต้องพึ่งพา Cyber Security มากแค่ไหน?

สิ่งหนึ่งของอุปกรณ์ที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตหรือ IoT นั้นเข้ามาสร้างความสะดวกสบายให้เรามากมาย เช่น เก็บข้อมูลการนอน เก็บข้อมูลความดันโลหิต หรือเก็บข้อมูลการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จะเป็นอย่างไรถ้าหากอุปกรณ์เหล่านั้นถูกโจรกรรมไปเพื่อนำไปขายให้กับผู้ที่ไม่หวังดี ฉะนั้นเราจึงต้องพึ่งพาระบบในการมาป้องกัน ที่เรียกว่า Cybersecurity นั่นเอง

Cyber security 5 type of threat prevention

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กรของคุณ"

ประเภทของ Cybersecurity 

  • Critical infrastructure security

    เป็นความปลอดภัยระดับโครงสร้างพื้นฐานที่เรียกว่า Cyber physical systems (CPS) ที่สังคมสมัยใหม่ต้องพึ่งพา ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ระบบไฟจราจร ระบบข้อมูลคนไข้ในโรงพยาบาล รวมไปถึงระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องพึ่งพาระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยทำงาน ควบคุมการจ่ายไฟ ควบคุมการจ่ายน้ำ การควบคุมจราจรโดยวัดความหนาแน่นของรถบนถนน ซึ่งแต่ละวันแต่ละวินาทีถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางควบคุมสิ่งต่าง ถ้าหากให้มนุษย์มาควบคุมแบบ 1 จุดต่อ 1 คน นอกจากจะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่จำกัดแล้ว ความต่อเนื่องในการทำงาน รวมถึงความผิดพลาดที่เกิดจากความเป็นมนุษย์เองจะทำให้ไม่ได้รับความสะดวกสบายอย่างแน่นอน

    critical infrastructure security

    Cyber physical system level ระดับการควบคุมทางไซเบอร์

    โดยการควบคุมทางไซเบอร์นั้นถูกเรียงลำดับตามการทำงานที่พึ่งพาอุปกรณ์ไซเบอร์น้อยสุดจนไปถึงการควบคุมโดยสมบูรณ์

    Configuration level

    เป็นการทำทุกอย่างโดยมนุษย์ ทุกกระบวนการขั้นตอน

    Cognition level

    เป็นขั้นตอนการทำงานทุกอย่างโดยมนุษย์โดยมีวิธีการทำงาน แนวทางที่แน่นอน

    Cyber level

    มีการทำงานโดยมนุษย์โดยมีเครื่องจักร (ที่มีคอมพิวเตอร์) มาช่วยทำงานบางส่วน

    Data to Information level

    มีการใช้ข้อมูลที่เก็บมาได้จากหลายส่วนมาวิเคราะห์การทำงาน

    Smart connection level

    เป็นการทำงานโดยคอมพิวเตอร์โดยสมบูรณ์ โดยเพียงทำแค่การเสียบปลั๊กเท่านั้น


    ทำให้เบื้องหลังของโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเราจึงถูกควบคุมด้วยเซนเซอร์อุปกรณ์ต่างๆแล้วส่งข้อมูลไปให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลออกมา ทำให้ถ้าหากมีการถูกแทรกแซงระบบ ทำให้ระบบไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ ไม่ว่าจะถูกแฮกเข้ามา ไม่ว่าไฟฟ้าที่ใช้เกิดดับ ระบบที่มีเกิดล่มกระทันหัน ก็จะเป็นหายนะทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งในปีที่ผ่านมาเรามีเหตุการณ์ที่ระบบ Network ของหน่วยงานต่างๆถูกโจมตี และนำข้อมูลมาขายทางเว็บมืดมากมาย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเสมือนสิ่งที่แจ้งเตือนให้กับผู้ดูแลออกมาว่า ระบบที่มีมันยังต้องพัฒนามากขึ้นไปอีกนั่นเอง

  • Application security

    Application security เป็นหนึ่งในมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ควรต้องมีเพื่อใช้ปกป้องระบบ application securityจะใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เพื่อจัดการกับภัยคุกคามภายนอกที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน แอปพลิเคชันสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ ผ่านระบบเครือข่าย ทำให้การใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยในระหว่างการพัฒนาแอปเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุด

    types of application security

    ชนิดของ Application security มี 5 รูปแบบ

    Authentication

    การตรวจสอบความถูกต้องจะใช้กระบวนการเข้าผู้ใช้งาน และกรอกรหัสผ่านที่มีการลงทะเบียนไว้

    Authorization

    การอนุญาตเป็นกระบวนการตรวจสอบว่าผู้ที่กรอกเข้ามูลเข้ามานั้นมีความถูกต้องกับในระบบหรือเปล่า

    Encryption

    การเข้ารหัสเป็นขั้นตอนต่อไปในการปกปิดข้อมูลระหว่างทาง ทำให้ถ้าเกิดการส่งข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ กับผู้รับบริการถูกขโมยไปจะมั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นถูกปกปิดไว้ ไม่สามารถแกะออกได้

    Logging

    การบันทึกข้อมูลทำให้ระบบนั้นสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่ามีการเข้าสู่ระบบในช่วงเวลาใด ในตำแหน่งใดเพื่อดูความเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการเข้าสู่ระบบที่ไม่น่าปลอดภัย

    Testing

    การทดสอบความปลอดภัยเป็นกระบวนการตรวจสอบกิจกรรมทั้งหมดให้แน่ใจว่าทำงานได้ตามขั้นตอน

  • Network security

    เนื่องจาก Cyber security เกี่ยวข้องกับการถูกโจมตีจากผู้ใช้นอกเครือข่าย ดังนั้น Network security จึงเป็นการป้องกันการบุกรุกเข้ามาภายในเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตช่วยให้มีความปลอดภัย และเป็นการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานและยับยั้งบุคคลภายนอกที่อาจเข้ามาเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานปัจจุบันอุปกรณ์ที่เรียกว่า Firewall นั้นนอกจากทำการกรองข้อมูล กรองผู้ใช้ที่ปลอมเนียน จนระบบยากจะแยกออกแล้ว มีการพัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า Machine learning ที่เป็นการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งานที่แอบปลอมเนียนเข้าระบบ ให้ตัว Firewall นั้นแยกแยะผู้แอบเข้ามาใช้งานได้ดีขึ้นตัวอย่างการเรียนรู้ด้วย Machine learning เช่น การจดจำเวลาที่เข้าใช้งาน ความเร็วในการเข้าหน้าต่างๆ หรือแม้กระทั่งความเร็วในการกดคลิกคำสั่ง ก็ล้วนทำให้ระบบ Machine learning สามารถวิเคราะห์ออกมาว่าพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นอย่างไร และเป็นการเข้าใช้ด้วยตัวปลอมหรือเปล่า เป็นต้น

  • Cloud security & Cloud computing

    ระบบคลาวด์ หรือ Cloud security คือหนึ่งในความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นระบบที่ถูกใช้งานแพร่หลายมากขึ้นหลังจากการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบแพร่หลาย โดยระบบนี้ใช้โปรแกรมมาควบคุม ข้อมูลบน  Cloud resources นอกจากนี้ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่กำลังพัฒนาและใช้เครื่องมือ security ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระดับองค์กรสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้ดียิ่งขึ้นเมื่อการเติบโตของระบบ Cloud ทั้งระบบ Server และ Security ก็เกิดนวัตกรรมขึ้นมาเพิ่มที่ชื่อว่า Cloud computing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์โดยปกติแล้วการประมวลผลข้อมูลเป็นล้านๆรายชื่อออกมาด้วยคอมพิวเตอร์ปกตินั้น อาจจะใช้เวลา 3 ปี แต่การใช้ระบบดังกล่าวที่เป็นคอมพิวเตอร์เร็วสูงมาช่วยประมวลผล จะช่วยลดเวลาคิดคำนวลผลเหลือเพียง 3 วันก็เป็นได้เช่นกันอย่างไรก็ตามระบบ Cloud server และ Cloud computing เหล่านี้เราต้องทำการเชื่อมเข้าระบบด้วยอินเตอร์เน็ตนั่นเอง ซึ่งยังต้องมีข้อด้อยด้านความปลอดภัยที่ถูกโจมตีได้ง่ายอยู่นั่นเอง

  • Internet of things (IoT) security

    เป็นระบบทางกายภาพไซเบอร์ที่มีความหลากหลาย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าระบบเซ็นเซอร์, โทรทัศน์, อุปกรณ์กระจายสัญญาณ, เครื่องพิมพ์, และกล้องวงจรปิดการศึกษาโดย Bain พบว่า ความปลอดภัยเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของ IoT ซึ่งบริษัทต่าง ๆ จะซื้ออุปกรณ์ IoT เพิ่ม ถ้าหากพบว่าอุปกรณ์ IoT ที่ใช้อยู่มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยสนใจในเรื่องของมูลค่าและการเติบโตของ IoT อีกด้วย หากธุรกิจของคุณใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต มันก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการป้องกันความเสี่ยงก่อนที่ผลิตภัณฑ์นั้นจะถูกจัดส่งหรือใช้งาน และจงจำไว้ว่าทุกอุปกรณ์ทางไอทีนั้นมีความเสี่ยงแทบทุกเครื่อง

วางระบบใหม่

ปัจจุบันนี้เมื่อมีการเติบโตทางการใช้งานอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และการใช้งานที่เชื่อมต่อด้วยอินเตอร์เน็ต โดยมีทั้งข้อมูลสำคัญ และข้อมูลละเอียดอ่อนมากมายที่เป็นที่หมายของแฮกเกอร์มากขึ้น ทำให้ระบบ Cyber Security ต้องมีการดูแลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เองการให้ทีมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาคอยดูแลให้ตลอดจึงช่วยให้ระบบงานมีความเสถียร และ ลดเวลาการแก้ปัญหาที่ยาวนาน ผ่านบริการ Firewall as a Service

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล​

  • Firewall subscription model
  • พร้อมพนักงานบริหารจัดการระบบหลังบ้าน
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีที่ปรึกษาดูแลระบบตลอดอายุสัญญา

ปรึกษาการทำ Cyber Security

กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้

Cyber Security Mesh รูปแบบ ความปลอดภัยไอที ที่ใช้ทำงานจากที่บ้าน

cyber security mesh รูปแบบ

แน่นอนว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นมีมานานหลายสิบปีแล้ว โดยที่ภาพจำเดิมของเราการรักษาความปลอดภัยนั้นต้องผูกติดกับศูนย์กลาง เช่น ทำงานบริษัท ใช้อินเตอร์เน็ตบริษัท เปิดข้อมูลข้างใน แต่ในยุคปัจจุบัน แม้กระทั่งบริษัทระดับโลกหลายองค์กรชั้นนำ อนุญาตให้พนักงานทำงานจากริมชายหาด ชายทะเล หรือในที่ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต โดยผ่านระบบความปลอดภัยแบบใหม่ที่ชื่อ Cyber security mesh รูปแบบ มีการทำงานแบบไหน สร้างความปลอดภัยยังไง มาติดตามกันดูเลย

ประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นมาของ Network Security

ตั้งแต่มีการสร้างไวรัสคอมพิวเตอร์ขึ้นมาในห้องทดลองขึ้นมา โดยสามารถออกคำสั่ง ทำสิ่งต่างๆตามที่ต้องการอยู่ภายในระบบเครือข่าย ถึงแม้ในการสร้างโค้ดคำสั่งนั้นขึ้นมาในตอนนั้น ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อทำสิ่งที่อันตรายแต่อย่างใด แต่นั่นคือจุดเริ่มต้นของวิทยาการของแฮกเกอร์ ที่เห็นเส้นทางในการเติบโตของตัวเอง พร้อมๆกับบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่เติบโตมากยิ่งขึ้นจนถึงปัจจุบัน 

ทั้งความก้าวหน้าทางวิทยาการทางคอมพิวเตอร์นี้เอง มาพร้อมกับแฮกเกอร์ที่แสวงหาประโยชน์ ทำให้ต่อมาเริ่มมีเหยื่อจากการแฮกระบบเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอาชญากรทางคอมพิวเตอร์จูงใจผู้แสวงหารายได้จากการหาช่องโหว่นี้จนกระทั่งการเติบโตของยุคอินเตอร์เน็ตเริ่มเพิ่มมากขึ้น จากที่แต่เดิมการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเพียงการช่วยให้ระบบคำนวน ใช้งานภายในครัวเรือนไม่ได้ติดต่อกับภายนอก หรือ การติดต่อกันภายนอกนั้นยังมีข้อจำกัดมากเกินไป ทำให้การมุ่งเป้าโจมตีคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้มีความรวดเร็ว และหลากหลายดังเช่นยุคนี้

ความปลอดภัยของ Network ในออฟฟิศ

ถ้าหลายคนได้ทำงานออฟฟิศที่อยู่ในสถานที่ มีโต้ะ มีระบบภายในมาตลอดชีวิต ก็คงเข้าใจดีถึงภาพของความปลอดภัย กล่าวคือ เราจะจินตนาการบริษัทเป็นเหมือนปราสาทสักหลัง ที่ทางเข้ามีผู้รักษาความปลอดภัย บนฐานกำแพงมีทหารคอยสอดส่องว่าใครเข้ามา หรือกำลังเดินทางเข้ามาบ้าง โดยทุกอย่างรวมศูนย์กลางอยู่ด้วยระบบเดียวที่เรียกว่า “Firewall” จากนั้นค่อยมีการกำหนดบทบาทของแต่ละคนว่า “ผู้บริหาร” เข้าถึงข้อมูล A B C D “ผู้จัดการ” เข้าถึงข้อมูล A B C “ผู้ดำเนินงาน” อาจจจะเข้าถึงแค่ข้อมูล “A” เพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าทุกวันนี้ระบบความปลอดภัยดังกล่าวยังคงปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่บังคับให้ผู้คนที่ทำงานในบริษัท “ห้าม” มารวมตัวกันในสถานที่เดียวกันทางกฏหมาย จะทำยังไงถ้าหากข้อมูลสำคัญทั้งหมด อาจจะถูกเข้าถึงได้จากทุกที่ที่พนักงานเชื่อมต่ออินเตอร์ได้จากภายนอกบริษัท จึงเริ่มมีการพัฒนาต่อยอดมาเป็นการเข้าถึงด้วยระบบ “VPN”

  • การรีโมทผ่าน VPN

    การต่อยอดการเข้าถึงระบบด้วย VPN เป็นเสมือนการจำลองระบบที่เข้าจากที่ไหนก็ได้บนโลกนี้ที่มีอินเตอร์เน็ต ว่ากำลังอยู่ในวงเครือข่ายภายในบริษัท (กำแพงปราสาท) แล้วใช้ระบบความปลอดภัยที่อยู่ในปราสาทมาตรวจสอบว่าใครจริง ใครปลอมแปลงออกมา ซึ่งวิธีการนี้เป็นเสมือนการท้าทายระบบที่มีอยู่เดิม ว่ายังแข็งแกร่งทนทานอยู่หรือเปล่า แต่ถ้าหากมีคนเจาะเข้าระบบได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรู้ Username หรือได้อุปกรณ์ของคนๆนั้นมา ก็เป็นเรื่องไม่ยากเลยถ้าหากแฮกเกอร์จะเข้าถึงข้อมูลภายในได้ จึงมีการพัฒนาความปลอดภัยไปอีกขั้นที่เรียกว่า “ความปลอดภัยด้วย Cyber security mesh”
    cyber security mesh รูปแบบ

 ความปลอดภัยด้วย Cyber security mesh รูปแบบ ไฮบริด

ถ้าเปรียบเทียบระบบ Network รูปแบบเดิมที่อยู่ในบริษัท การทำงานด้วยระบบนี้ก็จะมีความคล้ายกัน เพียงแต่ความปลอดภัยจะมีการเลือกใช้งานแตกต่างกันไปตามความต้องการ โดยที่ละจุดและอุปกรณ์จะมีการเชื่อมระบบความปลอดภัยจากฐานข้อมูลเดียวกันไว้  โดยจุดแข็งของความปลอดภัยระบบดังกล่าว จะแบ่งไปตามความเหมาะสม เช่น การใช้ระบบคลาวรักษาความปลอดภัย หรือ ตรวจสอบพฤติกรรมการทำงานด้าน Cyber security ด้วยแอพพลิเคชั่น เป็นต้น ด้วยเพราะความจำเป็นในการทำงานของเรามีความหลากหลาย รวมถึงเราไม่สามารถเข้าสู่ออฟฟิศที่เป็นศูนย์กลางทางข้อมูล ความลับต่างๆ ที่โดยปกตินั้นก่อนจะเข้าถึงข้อมูลต้องมีการยืนยันตัวตนในระดับชั้นต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการจัดการความปลอดภัย ดังนี้

  • Network security

    ส่วนใหญ่การคุกคามทางไซเบอร์ไม่ว่าจะเป็นการฝังไวรัสเข้าสู่อุปกรณ์ การติดตั้งชุดคำสั่ง หรือการเจาะเข้าสู่ระบบนั้น แฮกเกอร์เองไม่สามารถที่จะเดินเข้ามาเพื่อเจาะเข้าสู่ระบบได้เอง ช่องทางเดียวที่ง่ายและไม่มีตัวตนที่ทำกันคือการเข้ามาทางเครือข่ายเน็ตเวิร์ก โดยการรักษาความปลอดภัยนั้นจะเป็นไปตามเคสที่เจอ โดยส่วนใหญ่การเข้ามาของแฮกเกอร์นั้นมุ่งเป้าไปที่การขโมยข้อมูล การลบข้อมูล การแอบแฝงเข้ามาเอาข้อมูลออกไป ทำให้วิธีการรับมือของ ระบบความปลอดภัยทางไอทีจะสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำระบบป้องกันข้อมูลสูญหาย (DLP : Data loss protection) การสร้างความปลอดภัยในการเข้าสู่ข้อมูล (IAM : Identify access management) ซึ่งจะทำหน้าที่ผสมผสานเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการกรอกรหัสผ่าน การยืนยันตัวตน และกฏเกณฑ์การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ 

  • Cloud security

    การมีคอมพิวเตอร์ที่แรงๆสักเครื่องมาช่วยเราประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว เก็บข้อมูลโดยที่เราไม่ต้องแบกใส่กระเป๋าไปไหน เป็นจริงได้เมื่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของเรานั้นรวดเร็วเพียงพอดังเช่นยุคปัจจุบัน ทำให้เราไม่ต้องมี CPU ที่แรงๆในคอมทุกเครื่องเพื่อที่จะมีความสามารถในการคัดกรองข้อมูล แต่เราใช้ซุบเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่บนคลาวในการคัดกรองข้อมูลเป็นล้านๆคำสั่งให้เราได้ในเวลาเดียวกัน โดยหลักของการใช้ cloud computing นั้นจะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ของเราตลอดเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต โดยที่ช่วยรักษาความปลอดภัยโดยไม่ทำให้เครื่องหน่วง อืด ช้า ได้
    cyber security mesh รูปแบบ

  • Endpoint security

    การรักษาความปลอดภัยแบบ Endpoint เป็นกระบวนการรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ที่อยู่ปลายทางของระบบ กล่าวคือโดยปกติระบบความปลอดภัยนั้นจะถูกควบคุมด้วยศูนย์กลางอย่างเครื่อง Firewall แล้วจากนั้นทุกอย่างที่อยู่ในเครือข่ายจะถูกคัดกรองด้วย Firewall ก่อนจะถึงเครื่องที่เชื่อมต่อในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค เทอร์มินอล ปริ้นเตอร์และอื่นๆ แต่วิธีการนี้จะเป็นตัวแสกนข้อมูล ตรวจจับพฤติกรรมการใช้งานให้กับผู้ที่เชื่อมต่อที่ทำตัวเหมือนกับโปรแกรม antivirus เพียงแต่ endpoint นั้นสามารถทำงานร่วมกับ Firewall ใช้ฐานข้อมูลและนโยบายการทำงานเดียวกัน

  • Application security

    การใช้ความปลอดภัยประเภทนี้เป็นการรักษาความปลอดภัยของแอพพลิเคชั่นโดยเฉพาะ โดยปัจจุบันการใช้แอพพลิเคชั่นนั้นสามารถใช้ร่วมกันกับทุกอุปกรณ์ เช่น การเข้าสู่ระบบบัญชี ที่แต่เดิมสามารถเข้าถึงได้เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ปัจจุบันเริ่มพัฒนาให้ใช้งานได้บนอุปกรณ์ที่หลากหลายระบบ หลากหลายขนาดจอ เหตุนี้เองความปลอดภัยในการเข้าแอพพลิเคชั่นควรได้รับการดูแลด้วยระบบเดียวกัน โดยพื้นฐานการรักษาความปลอดภัยจะเป็นการใช้งานอย่างผสมผสานไม่มีตายตัว อย่างเช่น การเข้ารหัสข้อมูล ร่วมกับการขออนุญาตสิทธิ์ในการใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ จัดเก็บข้อมูล กล้อง หรืออัดเสียง เหล่านี้เองเป็นไปเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับแอพพลิเคชั่นที่ต้องการความปลอดภัยเป็นพิเศษ
    พนักงานไอที

ความปลอดภัยที่เหมาะสมต้องเป็นยังไง?

ปัจจุบันเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนค่อนข้างจะรัดกุม จากทั้งอุปกรณ์สามารถใช้ลายนิ้วมือ ใช้ OTP มือถือของเจ้าของที่มีเวลา 5 นาทียืนยันตัว หรือ ใช้ระบบนาฬิกาสุ่มรหัส Authentication 30 วินาทีสามารถทำการป้องกันเข้าถึงสองชั้น หรือเข้ารหัสสามชั้น ได้ตามแต่นโยบายของบริษัท

  • ระดับการเข้าถึงข้อมูล

    การใช้ระบบ Cyber security mesh นั้นนอกจากจะเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นสถานี (node) ทำให้แต่ละอุปกรณ์ในสถานที่นั้นๆมีการตรวจสอบระหว่างกันเอง ผ่านระบบความปลอดภัยเดียวกันเมื่อเกิดเหตุมีการเจาะเข้ารหัสจากสถานี A ได้แล้วพอข้อมูลถูกส่งไป B C D ที่ไม่ได้ถูกเจาะเข้าระบบ จะยืนยันตัวตนได้ว่าสิ่งที่สถานี A ส่งออกมานั้นเป็นของปลอม

  • การตรวจสอบข้อมูลระหว่างกัน

    สิ่งที่ทำให้ระบบนี้มีความแข็งแกร่งคือการกระจายการตรวจสอบระหว่างกัน ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบเดิมที่รวมไว้ที่อุปกรณ์และคนไม่กี่คน ยกตัวอย่างการตรวจสอบระหว่างกัน การ Login เข้าระบบด้วย IP Address ของประเทศไทย แต่ Location GPS ของอุปกรณ์อยู่อินเดีย ก็จะทำให้ระบบความปลอดภัยวิเคราะห์ออกมาว่ามันไม่สัมพันธ์กันนั่นเอง ยกตัวอย่างการนำมาใช้งานของระบบแอพพลิเคชั่นที่เราใช้คือ “เป๋าตัง” ถ้าหากเราจะโอนจ่ายค่าสินค้า แต่ถ้าโลเคชั่นของอุปกรณ์สองเครื่องห่างกันเกิน X เมตร ระบบตรวจสอบจะปฏิเสธการทำรายการ ถึงแม้ว่าจะมีความปลอดภัยใหม่ที่หลากหลายออกมาให้บริษัทที่ต้องการทำงานจากทุกที่ได้เลือกใช้งานแล้ว แต่ระบบไฟร์วอลล์เดิมก็ยังคงเป็นส่วนหลักของการรักษาข้อมูลจากส่วนกลางกระจายออกมา ทำให้เมื่อมีการพัฒนาต่อยอดจะผสมเอาการประมวลผลบนคลาว ร่วมกับการตรวจสอบตัวตน ตำแหน่ง สถานที่ตั้ง ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับนักพัฒนา และแบรนด์ต่างๆใช้กัน โดยสามารถปรึกษาทีมเทคนิคก่อนเลือกใช้งานเพื่อหาลักษณะการใช้งานที่ต้องการนั่นเอง

บริการ Firewall พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล

  • Firewall แบบ subscription model
  • ไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์เอง
  • ไม่ต้องจ้างทีมผู้เชี่ยวชาญ
  • มีทีมผู้เชี่ยวชาญดูแลตลอดอายุการใช้งาน

สนใจบริการของเรา

กรอกแบบฟอร์มเพื่อให้เราติดต่อกลับ