Dark Web ภัยร้ายสำหรับองค์กร พร้อมวิธีรับมือความปลอดภัยเบื้องต้น

Dark Web ภัยร้ายสำหรับองค์กร พร้อมวิธีรับมือความปลอดภัยเบื้องต้น

Dark Web เป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตที่เต็มไปด้วยความลับและความยากลำบากในการค้นหา ที่ถูกเข้ารหัสและซ่อนอยู่ และเน้นความปลอดภัยของผู้ใช้โดยใช้ระบบ Tor

แต่หากมองในมุมขององค์กร Dark Web มีการใช้งานที่ไม่พึงประสงค์จนสามารถสร้างผลร้ายต่อองค์กร ข้อมูลสำคัญและความปลอดภัยหลากหลายอย่างในพื้นที่หวงห้ามขององค์กรอาจถูกทำสำเนาและปรากฏบน Dark Web และกลายเป็นเป้าหมายให้ผู้ไม่หวังดีโจมตีหรือมุ่งร้าย

บทความนี้จะสำรวจความเสี่ยง Dark Web ภัยร้ายสำหรับองค์กรและแสดงถึงวิธีที่องค์กรสามารถป้องกันความปลอดภัยในโลกของ Dark Web

ความเสี่ยงบน Dark Web ภัยร้ายสำหรับองค์กร

1. การบุกรุกและการรั่วไหลของข้อมูล

การบุกรุกและการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญเป็นหนึ่งในภัยร้ายที่มากที่สุดขององค์กร ใน Dark Web ข้อมูลสำคัญเช่นข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลส่วนบุคคล, หรือความลับธุรกิจอาจถูกคนอื่นขโมยและรั่วไหลไปยังหลายแหล่งที่นำข้อมูลนี้ไปใช้ในวัตถุประสงค์ที่ไม่ดี

2. การขายข้อมูลในตลาดมืด

บน Dark Web ข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นอาจถูกลักลอบขโมยมาขาย องค์กรจะต้องระวังเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลของตนเองเพื่อไม่ให้ข้อมูลนี้รั่วไหลออกไป เพราะอาจสร้างผลร้ายให้กับองค์กรไม่ว่าจะผิดกฎหมาย PDPA หรือลูกค้าหมดความไว้เนื้อเชื่อในองค์กรของคุณก็ตาม

3. การตรวจสอบความปลอดภัยของศูนย์เก็บข้อมูล (Data Center)

ศูนย์ข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรอาจเป็นเป้าหมายของผู้ไม่หวังดี ที่ต้องการปลดล็อคความปลอดภัยขององค์กร และนำข้อมูลไปเผยแพร่บน Dark Web โดยไม่สามารถติดตามตัวผู้กระทำผิด และผู้ไม่หวังดีได้

4. การปล่อยมัลแวร์และอุปกรณ์ควบคุมระบบองค์กร

มัลแวร์และอุปกรณ์ควบคุมอาจถูกนำมาใช้ในการบุกรุกหรือควบคุมระบบขององค์กร โดยการเผยแพร่อุปกรณ์ที่อาจทำให้คนอื่นควบคุมเซิร์ฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรได้ ซึ่งเป็นฝันร้ายของผู้ดูแลระบบขององค์กรอย่างยิ่งยวด

5. การค้าขายไม่พึงประสงค์เพื่อทำร้ายองค์กร

ข้อมูลที่มีมูลค่าในองค์กรอาจถูกตั้งขายใน Dark Web เช่น จ้างฝ่าฝืนความปลอดภัย บริการบุกรุกองค์กร x  หรือการเข้าถึงระบบภายในขององค์กร ซึ่งผู้ไม่หวังดีอาจจ้างเหล่านักเจาะระบบเพื่อมุ่งหวังร้ายในองค์กรใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งหวังว่าจะองค์กรของคุณจะไม่ตกเป็นเหยื่อ

6. การสอบสวนและการตรวจค้น 

การสอบสวนและการตรวจค้นความปลอดภัยบน Dark Web มีความยากลำบาก นอกจากจะทดสอบระะบบความปลอดภัยขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันผู้บุกรุกและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

การป้องกัน Darkweb ภัยร้ายสำหรับองค์กร เบื้องต้น

1. การใช้ระบบ Firewall

การใช้ระบบ Firewall ในองค์กรช่วยป้องกันการเข้าถึงไม่พึงประสงค์และความรุนแรงจาก Dark Web ได้

2. การเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล

การเข้ารหัสข้อมูลและใช้มาตรฐานความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญและความลับขององค์กร

3. การสอนพนักงาน

การสอนพนักงานเรื่องความปลอดภัยและป้องกันความเสี่ยงจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจถึงความเสี่ยงและการป้องกันในองค์กรได้

4. การตรวจสอบความปลอดภัยและการตอบสนอง

องค์กรควรตรวจสอบความปลอดภัยของตนอย่างสม่ำเสมอและมีการตอบสนองที่รวดเร็วเมื่อพบกับความเสี่ยงจาก Dark Web

5. การควบคุมการเข้าถึง

การควบคุมการเข้าถึงระบบขององค์กร เช่น การใช้ระบบยืนยันตัวตน การระบุสิทธิ์การเข้าถึง เป็นต้น จะช่วยลดความเสี่ยงจากการบุกรุกจาก Dark Web ได้ 

สรุป

Dark Web เป็นอีกโลกที่มีความซับซ้อนและเสี่ยงสูงสำหรับองค์กร  การรู้จักความเสี่ยงและการป้องกันความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญที่องค์กรควรมีในการรักษาข้อมูลและความลับของตนเองในโลกของ Dark Web การใช้เทคโนโลยีและมาตรฐานความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการบุกรุกและการรั่วไหลข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเชื่อมต่อของเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรกับเว็บไซต์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่อาจเป็นจุดบุกรุกหรือการโจมตี องค์กรควรรับมือกับ Dark Web ด้วยความระมัดระวังและความสำรวจในการเข้าถึงออนไลน์อยู่เสมอ เพื่อปกป้องความปลอดภัยจากภัยร้ายของ Dark Web

มอบส่วนลดราคาพิเศษสำหรับองค์กร จำนวนจำกัด

ป้องกันข้อมูลรั่วไหล

FWaaS ช่วยป้องกันการรั่วไหลข้อมูลจากภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นจาก Darkweb โดยระบบ Firewall จะตรวจสอบและบล็อกการถ่ายโอนข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาตไปยังพื้นที่ที่ไม่เชื่อถือ ที่อาจเป็นที่มาของข้อมูลที่รั่วไหลหรือถูกขโมย

ป้องกัน Brute Force Attack

FWaaS ช่วยป้องกันกาโจมตีจาก Darkweb โดยป้องกันคนที่พยายามเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้วิธีการลอบเข้ารหัสผ่านหรือพยายามทดลองรหัสผ่านอย่างเร็ว และมันป้องกันไม่ให้คนอื่นเข้าถึงเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต

ป้องกันการโจมตีแบบ DDoS

FWaaS ช่วยป้องกันการโจมตี DDoS ที่อาจเกิดจาก Darkweb หรือกลุ่มผู้ไม่หวังดี โดยการกระจายการโจมตีจากหลายแหล่งพร้อมกัน บริการ FaaS จะทำการตรวจจับและป้องกันการโจมตี DDoS โดยปรับความสามารถในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มากขึ้น

" สู้กับ Darkweb สู้ด้วย Firewall as a Service"

สนใจ รบกวนกรอกฟอร์ม

Zero trust network access(ZTNA) คืออะไร

zero trust network access : ZTNA

Zero trust network access  เป็นเครื่องมือความปลอดภัยที่เอามาทดแทนการทำงานผิดพลาดของการตัดสินใจมนุษย์ โดยการใช้ระบบดิจิตอล ในการมายืนยันตัวตน และกระบวนการทำงานที่ใช้การตรวจสอบความปลอดภัยหลายอย่างมาร่วมกันทำงาน ทำให้ตัวระบบเองมีความน่าเชื่อถือ อะไรเป็นสิ่งที่น่ากังวล ข้อดี ข้อเสีย สรุปมาในบทความนี้แล้ว

Zero trust network access (ZTNA)

โดยตัว concept นั้นเกิดจากการพัฒนาระบบความปลอดภัยเดิม ที่ระบบเก่านั้นการเข้าระบบจะเน้นใช้ความเป็นมนุษย์เป็นหลัก มีการให้มนุษย์ต้องกรอก อีเมล รหัสผ่าน แล้วสามารถเข้าไปดูระบบหลังบ้านได้อย่างอิสระ ซึ่งวิธีการที่ง่ายและไม่ซับซ้อนนี่เองถ้าหากมีรหัสผ่านของผู้ใช้หลุดออกไปเพียงไม่กี่แอคเค้าท์ ก็อาจจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกยกเค้าได้

การพัฒนาต่อยอดจากความปลอดภัยรูปแบบข้างต้น มีการต่อยอดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการกรอกรหัสหลายวิธีการ โดยการเข้ารหัสด้วยหลายขั้นตอน เช่น การเข้ารหัสด้วย OTP หรือเป็นการยืนยันการเข้าสู่ระบบด้วยแอพพลิเคชั่น ซึ่งอาจจะช่วยได้ หรือ ระบบเครือข่ายภายใน แต่อาจจะไม่ได้เชื่อมโยงกับการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอกบริษัท (เครือข่าย) การยืนยันตัวตนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวตัดสินใจจึงถูกเอามาใช้ 
zero trust is no trust for any incident

จุดเด่น

ระบบความปลอดภัย ซีโร่ทรัสต์ โดยระบบนี้เป็นแนวคิดด้านความมั่นคงแบบใหม่ ที่ถือว่าระบบเครือข่ายทั้งหมดไม่ควรไว้ใจซึ่งกันและกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะการติดต่อกับระบบเครือข่ายภายนอกเท่านั้น แม้แต่ระบบภายในทั้งหมดเองก็ด้วยเช่นกัน

การออกแบบระบบเครือข่าย โดยยึดข้อมูลเป็นศูนย์กลาง (Data-centric Network) และมีการวางมาตรการควบคุมโดยรอบข้อมูลนั้น เพื่อให้สามารถบังคับใช้นโยบายด้านความมั่นคงในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมด ทำให้สามารถตรวจจับและป้องกันแฮกเกอร์ที่เข้ามาในระบบเครือข่าย และป้องกันข้อมูลรั่วไหลสู่ภายนอกได้ดีกว่า ด้วยระบบที่ออกแบบมาเพื่อทำงานจากที่บ้าน พนักงานในบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลถึงแม้ไม่ได้อยู่ในบริษัทก็ตาม

zero trust network access diagram
ZTNA มีโครงสร้างภายในคือการพิสูจน์ความเป็นตัวตน จัดการนโยบายของข้อมูล และจัดการพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

การแก้ปัญหา

ระบบนี้เข้ามาจัดการระบบความปลอดภัยโดยแยกแยะ Ransomware ได้อย่างรวดเร็ว

  • ตรวจสอบอย่างชัดเจน

    กระบวนการดังกล่าวใช้การยืนยันความเป็นตัวตนเอง อาจจะใช้ลายนิ้วมือ การขอรหัส OTP หรือ Authentication application เข้ากุญแจดิจิตอล ต่างๆเหล่านี้เป็นการยืนยันว่าเป็นตัวเราจริงๆ

  • ให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลน้อยที่สุด

    แน่นอนว่าด้วยพื้นฐานความไม่เชื่อมั่นว่าระบบมีความปลอดภัยนี่เอง ทำให้ต้องมีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลได้เพียงเท่าที่จำเป็น มีเวลาเข้าถึงข้อมูลที่จำกัดเพื่อให้กลับมายืนยันตัวตนอีกครั้ง

  • ปลอมตัวเป็น Hacker เข้าระบบตัวเอง

    กระบวนการนี้ในหลายบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ มีการให้บุคคลภายนอกแข่งขันกันเพื่อแฮกระบบของตัวเองก็มี เพื่อพยายามตรวจจับหารูรั่วของระบบ ปัจจุบันนี้ในหลายบริษัทนั้นมีแนวทางป้องกันที่รัดกุม แต่การหลุดรั่วของข้อมูลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น เกิดจากการให้สิทธิ์ของ Thrid party ในการเข้ามาซัพพอร์ตระบบ แล้วถูกเจาะระบบมาจากผู้ร่วมพัฒนาซอฟแวร์ภายนอกนั่นเอง
    Phishing and threat

การโจมตีและอุปสรรค

การโจมตีแบบ ransomware สามารถเข้าสู่เครือข่ายได้หลายวิธี เช่น การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ การโจมตีแบบฟิชชิง หรือการโจมตีทาง social engineering รวมถึงการพยายามขโมยข้อมูลของผู้ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าสู่เครือข่าย เช่น Remote Desktop Protocol หรือ RDP ฯลฯ ด้าน  Trend Micro Research  เคยเขียนอธิบายไว้ว่า ผู้โจมตีจะเจาะเครือข่ายเพื่อค้นหาข้อมูลที่มีค่า และจะสร้างรังอยู่ในเครือข่ายนั้นนอกจากนี้ยังได้เสนอด้วยว่าองค์กรต่าง ๆ ควรนำซีโร่ทรัสต์มาใช้ภายใน เพื่อลดผลกระทบของมัลแวร์ประเภทนี้ ด้าน Brian Kime นักวิเคราะห์อาวุโสของ บริษัท Forrester กล่าวว่าระบบนี้ มีประสิทธิภาพมากพอที่จะป้องกันการเพิ่มขึ้นของ ransomware ได้

การนำ Zero trust network access (ZTNA) มาปรับใช้ในองค์กร

ด้วยแนวทางของการทำระบบนั้นจะเน้นการออกแบบระบบที่ให้มีการตรวจสอบ 2FA หรือ การเข้ารหัสด้วยสองชั้น จากนั้นจะเป็นการวางผังของระบบ IT ใหม่ ซึ่งแต่เดิมก่อนเกิดการระบาดของโรค การวางผังข้อมูลของบริษัทอาจจะไม่ได้ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็น เนื่องจากระบบ Intranet หรือเครือข่ายภายในนั้น มีการป้องกันรัดกุมและตรวจสอบกลับได้อย่างเร็วนั่นเอง

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

วิศวกรดูแลระบบ wifi organizer ตลอดการทำงาน

Firewall as a Service

ระบบความปลอดภัยไอที พร้อมผู้เชี่ยวชาญดูแล พร้อมจัดการปัญหาด้านการใช้งาน ปรับปรุง Network ขององค์กร สอดคล้องตามหลัก PDPA พร้อมเก็บ Log ตามกฏมาย

  • ฟรีอุปกรณ์ Firewall BOX ที่ไซต์
  • ฟรีต่อ MA ตามสัญญา
  • ฟรีอัปเกรดอุปกรณ์ตกรุ่น

5 ฟีเจอร์หลักที่ Firewall as a Service ช่วยบริษัท SMEs ที่ไม่มีไอทีได้

5 ฟีเจอร์ firewall as a service

5 ฟีเจอร์ ทำระบบความปลอดภัยไอทีในบริษัท ที่ไม่มีไอที โดยทั่วไปเคยสงสัยไหมว่า อินเตอร์เน็ตบริษัท ที่เสียบเข้าเครื่องนั้นมีความผิดปกติหรือเปล่า อย่างเช่น การมีแจ้งเตือนแปลกๆจากบราวเซอร์ การมีหน้าต่างลอยขึ้นมาระหว่างใช้คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการได้รับเมลปลอมมาหลอกเป็นประจำ เน็ตหลุดไม่รู้สาเหตุ โดยทั่วไปปัญหาเหล่านี้นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการติดไวรัส การติดตั้งบางโปรแกรมที่พ่วงโปรแกรมอื่นเข้ามา หรือแม้กระทั่งการได้รับการมาเยือนจากผู้เยี่ยมชมที่ไม่ได้รับเชิญมาแฝงกายในระบบ โดยที่ระบบความปลอดภัยไม่สามารถตรวจพบเจอ การจำกัดความปลอดภัยทำได้ยากลำบาก ไม่มีผู้ที่พอจะแก้ไขได้ในออฟฟิศ นี่จะเป็น 5 สิ่งที่ทำให้ระบบไอทีบริษัทกลับมาถูกจัดระเบียบได้ ฉบับไม่มีไอทีประจำ ไม่มีคนที่รู้ดูแลระบบ

จัดระเบียบระบบไอทีบริษัทยังไง (สัญญาว่าจะเขียนให้คนไม่รู้ไอทีเข้าใจ)

อัปเดต Windows , MacOS ให้ใหม่ล่าสุด

สิ่งที่ง่ายและทำได้ทันทีในวินาทีแรกคือการกดอัปเดตระบบให้มีความปลอดภัยสูงสุด เพราะทุกการอัปเดตนอกจากมันเป็นการปรับปรุงเวอร์ชั่นของโปรแกรมแล้ว ยังปิดจุดบอด bug ที่ถูกเข้ามาทะลุทะลวงได้แล้ว (ในเครื่องของคนอื่นสักที่บนโลกนี้) เมื่อเวลาผ่านไปเจ้าของโปรแกรมต้องรีบแก้จุดดังกล่าวเพื่อไม่ให้ลูกค้าได้รับผลกระทบกับการใช้งาน ดังนั้นถ้าหากไม่ได้มีการอัประบบให้ทันสมัยใหม่ล่าสุดถอดด้ามตลอดเวลา มันก็จะทำให้เป็นเหยื่อได้นั่นเอง ในกรณีที่ใช้ Windows เก่าๆนั้นสิ่งที่ต้องแบกรับคือ Microsoft ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็ไม่ช่วยแก้ช่องโหว่อีกต่อไป หมายถึงหลังจากนั้นถ้ามีคนเจาะระบบสำเร็จแล้ว จะไม่มีการอุดรอยรั้วให้อีกต่อไป ถ้าหากสามารถอัปเกรด (ซึ่งตอนหลังอัปเกรดรุ่นฟรี) ก็ควรจะทำ หรือถ้ากรณีที่ไม่มั่นใจว่าจะทำให้ระบบที่ใช้งานอื่นๆมันใช้ร่วมกันได้หรือเปล่า เราขอแนะนำให้ลองพูดคุยกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ หรือ ทดลองเปลี่ยนบางเครื่อง เพื่อดูว่ามันไม่เจ๊งแน่นะวิ !?!
อัปเกรด ฟีเจอร์ ความปลอดภัยของระบบ OS

ตั้งรหัสผ่านใหม่ให้ปลอดภัยสูง

ตอนนี้หลายโปรแกรม หลายแอพพลิเคชั่นนั้นจะบังคับให้เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง การตั้งรหัสผ่านที่ผสมกันทั้งตัวเลขและอักษร รวมถึงการยืนยันตัวตนอีกชั้นด้วยรหัส OTP หรือ แสกนนิ้วที่เรียกว่า Two factor authentication โดยถ้าใช้งานในโปรแกรมหลักอยู่แล้วก็จะมีการบังคับให้เปิดระบบนี้เพื่อให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น ในกรณีที่เป็นโปรแกรมภายในที่ทำขึ้นมาใช้เอง ถ้าหากพิจารณาในการเพิ่มฟีเจอร์กรอกรหัสผ่านสองชั้นได้ ก็จะช่วยให้ปราการของบริษัทได้รับการดูแล

ไฟล์อะไรลับ ละเอียดอ่อน ก็ใส่ ฟีเจอร์ ตั้งรหัสผ่านไว้

การเข้ารหัสไฟล์เฉพาะที่สำคัญสำหรับออฟฟิศในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว อาจจะสามารถทำได้ตามวิธีการนี้ Windows 10 ขึ้นไป / MacOS Ventura 13 แต่ในกรณีที่ใช้ไฟล์ร่วมกันทั้งบริษัท ไม่ว่าจะผ่านเครื่อง Server หรือ NAS โดยสามารถกำหนดได้ว่า โฟลเดอร์นี้ใครจะมองเห็นได้บ้าง ใครมีสิทธิ์เปิดไฟล์นี้ได้บ้าง รวมถึงการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอนก็จะช่วยให้ไฟล์นั้นถูกจัดระเบียบได้
ฟีเจอร์ ป้องกันข้อมูลสูญหาย ก่อนจะสายไป data prevention

Firewall ต้องเข้าแล้วล้ะ (ป้อมยามของไอที)

ถ้าการใช้เน็ตบ้านมาติด ก็จะมีอุปกรณ์พ่วงเข้ามาประเภท เร้าเตอร์ ต่อสายแลนเข้าเครื่องคอมพ์โดยตรงเลย แต่ในออฟฟิศที่มีความซับซ้อนกว่าคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่อง จำเป็นต้องมีเครื่องกรองข้อมูลให้คนที่ไม่ใช่ออกไป

  • กรองข้อมูล
  • บลอคเว็บ
  • บลอคโหลดไฟล์แปลก
  • ส่องคนใช้งานไม่พึงประสงค์

สำรองข้อมูล ไม่มีก็ต้องทำ

โดยทั่วไปแล้วทุกบริษัทมีการเก็บข้อมูลไว้ส่วนกลาง (ในกรณีที่มีอุปกรณ์ Server ของตัวเอง) ทำให้การเก็บข้อมูลเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการขาย ข้อมูลทางบัญชี ข้อมูลพนักงานต่างๆ ถึงแม้ว่ามีการกำหนดบทบาทของผู้ใช้งานให้ใครเข้าถึงข้อมูลส่วนไหน แต่ในกรณีที่มีการยกเค้าเครื่อง ขโมยข้อมูลไปทั้งฮาร์ดดิสก์ ติดไวรัสแรนซัมแวร์อย่างไรก็ตาม การเตรียมพื้นที่สำรองข้อมูลที่ปลอดภัยไว้อีกชุดในอีกสถานที่หนึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆๆ ถ้าหากไม่มีการทำ mirroring (ก้อบปี้ไฟล์ไว้อีกลูกฮาร์ดดิสก์) หรือ Backup ไว้บน Cloud ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

สอนคนในบริษัทให้เข้าใจพื้นฐานการถูกหลอกลวง

การเทรนให้กับพนักงานก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่อาจจะถูกหลอกลวง การดูชื่ออีเมลที่ถูกปลอมขึ้นมา การหลอกให้ทำอะไรบางอย่างจากผู้ที่เหมือนจะรู้จัก สิ่งเหล่านี้สามารถอบรมทีมงาน รวมถึงทดสอบความเข้าใจของพนักงานได้ สามารถหาคอร์สเพื่ออบรมทีมงานได้จากที่นี่
ฟีเจอร์ สามัญประจำออฟฟิศ 5 firewall features

5 ฟีเจอร์ ที่เป็นสกิลสามัญประจำบ้านของทุกบริษัท

  1. ตั้งกฏเหล็ก ( ฟีเจอร์ ที่เห็นผลได้เร็วสุด)

    การตั้งกฏเกณฑ์การใช้งานระบบก็เหมือนกับการตั้งกฏของพนักงานในบริษัทในการเข้างาน ลามาสายเท่าไหร่ เพียงแต่กฏเกณฑ์ดังกล่าวนั้นจะแตกต่างออกไปในส่วนของเน็ตเวิร์ค การใช้คอมพิวเตอร์บริษัท การใช้อินเตอร์เน็ตบริษัทเท่านั้น

    • กฏของพนักงาน

      การใช้งานอินเตอร์เน็ตในเคสของบริษัทที่ไม่ต้องการให้พนักงานเข้าไปเล่นโซเชี่ยลมีเดียในเวลางาน ก็อาจจะจำกัดการใช้งาน การไม่ให้เข้าบางเว็บไซต์ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายการทำงานของบริษัทเองเช่นเดียวกัน

    • กฏของทางเทคนิค

      เป็นขั้นตอนที่ใช้โปรแกรมในการตรวจสอบพฤติกรรมการผิดปกติการใช้งาน อย่างเช่น (เหตุการณ์สมมติ) พนักงานจำเป็นต้องใช้ Google chrome ทำงานเป็นปกติ แต่อยู่ๆมีโปรแกรมอ่านไฟล์ PDF แอบเชื่อมต่อกับเว็บบางเว็บโดยไม่ได้อนุญาตพร้อมกับส่งข้อมูลออกไปตลอดเวลา พฤติกรรมการใช้งานที่แปลกและไม่พึงประสงค์เหล่านี้จะถูกอุปกรณ์ Firewall ตรวจจับได้ถ้าหากมีการเซ็ตระบบให้เป็นไปตามระบบความปลอดภัยพื้นฐานได้
      data structure

  2. จำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล 

    การกำหนดบทบาทของผู้ดูแลข้อมูล ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลบางส่วนได้ โดยการแยกหน้าที่อย่างชัดเจนนี่เองจะทำให้ข้อมูลนั้นมีผู้รับผิดชอบ สามารถรู้ได้ว่าในกรณีที่ถูกโจรกรรมข้อมูล ติดไวรัส หรือติดตั้งโปรแกรมไม่พึงประสงค์เข้ามาในเครื่องนั้นเกิดจากอุปกรณ์ตัวใด ใช้เวลาในการจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

  3. กรองข้อมูลอินเตอร์เน็ต คัดคนไม่ใช่ออกไป

    คุณสมบัติหนึ่งของ Firewall (ถ้าติดตั้งและดูแลอย่างถูกต้อง) จะทำหน้าที่กรองข้อมูลและจัดการกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม โดยการทำงานนั้นจะตรวจสอบตั้งแต่การเชื่อมต่อเข้ามา ระยะเวลาที่เชื่อมต่อ ดูการใช้ข้อมูลของโปรแกรมที่อยู่ในเครื่อง การส่งข้อมูลของโปรแกรม ถ้าหากว่ามันมีอะไรไม่ชอบมาพากล กลไกการทำงานนั้นจะถูกแยกเข้าไปในระบบคัดกรองความปลอดภัยว่าพฤติกรรมนั้นจะอยู่ในระบบ เฝ้าระวัง ถูกปิดกั้น หรือ อันตราย เก็บเก็บ record ให้กับผู้ดูแลระบบจัดการต่อไป
    data filtering and screen some user out

  4. ดูพฤติกรรมที่แปลกประหลาดกว่าคนในออฟฟิศ

    ถึงแม้ว่าแฮกเกอร์จะพยายามเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งานจริงอยู่แล้ว แต่ในสถานที่ ผู้คนในการทำงานจะมีพฤติกรรมที่คล้ายกันจนสามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่ได้รับอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง อย่างเช่นได้รับอีเมลจากเพื่อนร่วมงานในการออกเอกสารบางอย่าง ในบางออฟฟิศรูปแบบการส่งอีเมลนั้นอาจจะเป็นการสื่อสารภายในแบบไม่เป็นทางการ ไม่มีฟอร์มหัวท้ายของจดหมาย แต่เมื่อได้รับเมลฉบับหนึ่งจากเพื่อนร่วมงานมีการพูดคุยด้วยภาษาอย่างเป็นทางการ มีรูปแบบที่แปลกแตกต่างจากวัฒนธรรมองค์กรที่ใช้กันอยู่ ก็จะสามารถแยกได้ว่าอีเมลฉบับนี้แปลกปลอม ซึ่งสิ่งที่ต้องการตรวจสอบอีกครั้งอาจจะเป็นการสอบถามเพื่อนร่วมงานโดยตรง การตรวจสอบที่อยู่ของอีเมล ในกรณีที่เครื่องนั้นถูกแฮกอย่างสมบูรณ์แล้วเป็นไปได้ที่แฮกเกอร์อาจจะสามารถรับส่งอีเมลได้จากอีเมลของเหยื่อจริงๆ จนไม่สามารถแยกได้ ดังนั้น พฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างพนักงานที่ต้องเรียบรู้พฤติกรรมที่ไม่ปกติ รวมถึงอุปกรณ์กรองข้อมูลที่ทำหน้าที่คัดแยกไฟล์ ปิดกั้นการเปิดลิงค์ที่มาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจได้

  5. ใช้ข้อมูลเชิงลึก (ทางเทคนิค)

    เหนือสิ่งอื่นใดสิ่งที่คนไม่ได้เป็นไอทีอาจจะไม่สามารถทำส่วนนี้ได้ถ้าไมไ่ด้รับความช่วยเหลือจากผู้ที่รู้งานระบบ การใช้ข้อมูลเชิงเทคนิคเป็นการไปเปิดดู dushboard ของการทำงาน การดู traffic ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของคนในออฟฟิศ รวมถึงการตรวจดูว่าเครื่องไหนมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ถูกคัดกรองได้ของอุปกรณ์ Firewall มาแล้ว จากนั้นจะสามารถช่วยมอนิเตอร์ทีมงานในการจัดการกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในเวลาอันใกล้ โดยการจัดการระบบครบวงจรนั้นสามารถทำโดยการใช้ออแกไนซ์เซอร์ที่ดูแลระบบความปลอดภัยอยู่แล้วมาช่วยในการวางระบบ ดูแล และนำอุปกรณ์มาติดตั้งในออฟฟิศได้ผ่านบริการ Firewall as a Service ซึ่งสามารถศึกษาได้จากข้อมูลด้านล่างนี้

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล​

  • Firewall subscription model
  • พร้อมพนักงานบริหารจัดการระบบหลังบ้าน
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีที่ปรึกษาดูแลระบบตลอดอายุสัญญา

ปรึกษาการทำ Cyber Security

กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้

ธุรกิจ ไม่พังแน่นะวิ 5 เหตุผลที่ต้องรื้อ Firewall ก่อนบริษัทจะพังยับ

ธุรกิจ ต้องติด Firewall ในปี 2023

จากการเริ่มฟื้นตัวหลังจากวิกฤติการระบาดครั้งที่ผ่านมาหลาย ธุรกิจ เริ่มมีการปรับตัวใช้คอมพิวเตอร์ Internet of Thing เข้ามาช่วยให้การทำงานมีความง่าย ลดต้นทุน ประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น แต่การจะเติบโตแบบไม่มี ผู้รักษาความปลอดภัยอย่าง Firewall สุดท้ายแล้วก็จะต้องตามแก้ปัญหาที่มาจากการโจมตีทางไซเบอร์ นี่จะเป็น 5 เหตุผลที่ธุรกิจควรติด Firewall เพื่อให้ธุรกิจมีความปลอดภัยสูง ในปี 2023

ข้อมูลของ ธุรกิจ หาย เน็ตตัด เปิดเว็บไม่ได้

  • ไฟร์วอลล์ (Firewall) 

ทำหน้าที่เป็นป้อมปราการในการตรวจ คัดกรองข้อมูลเข้าออก สอดส่องกิจกรรมในออฟฟิศหรือ ห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมที่ผิดกฏของบริษัท ถ้าหากเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนเป็นทั้ง ผู้รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัท เป็นทั้งฝ่ายบุคคลที่ควบคุมพนักงานให้อยู่ตามกฏของบริษัท 

  • ปัญหาการใช้งานที่พบเจอบ่อย

    ถ้าหากมองย้อนกลับไปในหลายบริษัท การนำอุปกรณ์ Firewall เข้ามาใช้งานอาจจะเป็นเพียงการซื้อเครื่องมาเสียบปลั๊ก ตั้งค่าเป็น default (ค่าเริ่มต้น) ทั้งหมดแล้วเสียบเข้ากับ LAN (เครือข่ายภายใน) ก็คงจะจบหน้าที่ของผู้ขาย SI จากนั้นพนักงานในบริษัทที่ส่วนมากเป็นพนักงานไอทีซัพพอร์ตก็จะดูแลรักษาตามสิ่งที่ผู้ขาย SI แนะนำ ทำให้การใช้งานทุกอย่างเป็นไฟเขียวหมดเพราะไม่ได้ตั้งค่าอะไรเลย ทำให้บทบาทของไฟร์วอลล์ในฐานะกำแพงกันไฟเป็นเพียงศาลเจ้าเปล่าราคาแพงที่ไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากตั้งไว้ดูต่างหน้าว่าบริษัทฉันก็มี404 Not found

  • ปัญหาที่ปิดเปิดเครื่องก็ไม่หาย (รู้ยัง?)

    เนื่องจากตัวเครื่องไฟร์วอลล์เองนอกจากการเป็นกล่องเหล็กมีช่องเสียบสายต่างๆแล้วก็ไปเสียบปลั๊กใช้งานเครื่องได้ แต่ความจริงแล้วสิ่งที่ทำให้อุปกรณ์ตัวนี้ฉลาดเหมือนกับเทพมาจุติคือโปรแกรมของอุปกรณ์ โดยปัจจุบันนั้นแต่ละแบรนด์พื้นฐานของโปรแกรมของเครื่องไฟร์วอลล์นั้นมีฟีเจอร์ที่ใกล้เคียงกัน  ต่างกันเพียงวิธีการใช้งาน รูปแบบเท่านั้นเอง แต่ปัญหาของมันหลักๆจะมีสองเรื่องที่ต้องโฟกัส

    • การตั้งค่าผิดพลาด

      ปัญหาของการตั้งค่าไม่ถูกต้องอาจจะเกิดปัญหาดังนี้

      บล็อคบางเว็บที่ไม่ได้อันตราย

      ปัญหาพื้นฐานที่พบเจอได้บ่อยคือการเปิดหน้าเว็บไซต์ปกติไม่ได้ บ้างก็ถูกบล็อคเป็น 404 NOT FOUND ไปเลยก็มี ทำให้การใช้งานไม่สะดวกและเสียรายได้จากข้อผิดพลาดในส่วนนี้ได้error configuration ความผิดพลาดทาง ธุรกิจ

      อนุญาตเปิดเว็บที่อันตราย

      สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้แต่โอกาสอาจจะไม่มากคือการที่อุปกรณ์ไม่สามารถตรวจจับเว็บไซต์ ผู้ติดต่อ หรือ การเชื่อมต่อกับ IP Address ที่อันตราย อันเนื่องมาจากการไม่ได้เปิดฟีเจอร์ที่จำเป็น หรือ ไม่ได้ตั้งค่าตามคำแนะนำที่ถูกต้อง

      ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลได้ (ACLs) 

      ถ้าหากพูดถึงการจัดการเข้าถึงข้อมูลซึ่งเป็นพื้นฐานของการควบคุมจราจรทางข้อมูลในบริษัท มีไฟเขียว ไฟแดงในการอนุญาตบางคนเปิดข้อมูลได้ โดยหน้าที่หลักนี้ของไฟร์วอลล์เองถ้าหาก

    • โปรแกรมไม่ได้ต่ออายุ

      ในเครื่องไฟร์วอลล์นั้นมีโปรแกรมที่มาทำหน้าที่เป็นตัวกรองข้อมูล ดักจับจากฐานข้อมูลใหม่ที่มีการอัปเดตเข้ามา โดยที่ถ้าหากเปรียบเทียบแล้วอาจจะเหมือนกับผู้รักษาความปลอดภัยแล้ว ถ้าหาก รปภ. ไม่ได้พัฒนาทักษะการหาสิ่งแปลกปลอม ให้ออกกำลังกายเพื่อรักษาสมรรถนะ หรือ แม้กระทั่งหาอุปกรณ์ตรวจจับด้วย AI แล้ว สุดท้ายแล้วการรักษาความปลอดภัยอาจจะคงที่ในระยะหนึ่งแล้วประสิทธิภาพจะเริ่มลดลง อาจจะเพราะไม่ได้รักษาน้ำหนัก ไม่ได้ฝึกวิ่ง ไม่ได้ฝึกทักษะการแก้ไขวิกฤติเฉพาะหน้า จนสุดท้ายอาจจะนำมาซึ่งความปลอดภัยโดยรวมของบริษัทนั่นเอง ดังนั้น Firewall ที่ทำหน้าที่คล้ายกันนี้ถ้าหากไม่มีการอัปเดตวิธีการจับความผิดปกติ ไม่มีการใช้เทคโนโลยี หรือ การยืมระบบคลาวมาช่วยประมวลผล สุดท้ายแล้วในระยะหนึ่งจะเริ่มส่งผลกระทบกับบริษัทอยู่ดี
      การต่อรองทาง ธุรกิจ

5 เหตุผลที่ ธุรกิจ ต้องติดตั้ง Firewall อย่างถูกต้อง

จากการที่การทำระบบความปลอดภัยทางไอทีของบริษัทจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผ่าน audit(ตรวจสอบ) พื้นฐานของข้อมูล รวมถึงตามกฏเกณฑ์ของ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ยังช่วยธุรกิจในการทำให้บริษัททำงานคล่องตัวขึ้น สรุป 5 เหตุผลที่การติดตั้ง Firewall อย่างถูกต้อง ช่วยพัฒนาธุรกิจคุณได้

  • ลดต้นทุน

    จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการซื้ออุปกรณ์ Firewall มาติดตั้งโดยไม่ได้ตั้งค่า ไม่ได้เซ็ตอย่างถูกต้อง จะเกิดผลเสียกับระบบเน็ตเวิร์คของบริษัทในระยะยาว โดยปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอาจจะเป็นการที่ระบบไม่สามารถป้องกันการขโมยข้อมูลได้ การขโมยข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมด (Ransomware) การติดต่อกับลูกค้าไม่ได้เพราะเครื่องอาจจะตรวจจับว่าลูกค้าเป็นสแปม หรือแม้กระทั่งเปิดเว็บไซต์บางเว็บไม่ได้ซึ่งจะเสียทั้งต้นทุนทางเวลา เสียเงินค่าไถ่ข้อมูล และโอกาสทางธุรกิจอย่างประเมินไม่ได้

  • ลดพนักงานที่ต้องมาดูแลระบบ

    ถ้าหากมีการเตรียมระบบได้อย่างถูกต้อง มีการตั้งค่าและวางนโยบายบริหารจัดการข้อมูลได้ดีตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้บริษัทประหยัดคนในการมาทำงานบริหารข้อมูลใน Database พนักงานในการดูแล  log ข้อมูลทางไอที หรือไอทีซัพพอร์ตเพิ่มเติม ถ้าหากจัดการระบบหลังบ้าน ตั้งค่าไฟร์วอลล์อย่างถูกต้องแล้ว ทำให้บริษัทไม่จำเป็นต้องเพิ่มพนักงานเข้ามา และในระยะยาวเองนอกจากระบบหลังบ้านจะเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น ประหยัดต้นทุนด้านพนักงานในระยะยาวcash flow กระแสเงินสดของ ธุรกิจ

  • ลดงานปวดหัว

    เราจะขอยกตัวอย่างเดิมในการจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยมาประจำบริษัท งานรักษาความปลอดภัยนั้นมีความซับซ้อนทั้งในทักษะการสอดส่องความผิดปกติ การตรวจสอบพนักงาน ความคล่องตัวในการทำงานและความสามารถในการทำงานของพนักงานคนหนึ่ง ทำให้หลายบริษัทเองไม่สามารถไปโฟกัสในการเทรนพนักงาน กล่าวคือถ้าหลายบริษัทไม่ใช้บริการของOutsource ที่เป็นบริษัทจัดหา รปภ. ก็ต้องจ้างพนักงานมาเอง ส่งพนักงานไปเทรนสกิลการทำงานเองทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะสร้างความไม่สะดวกของบริษัทเองแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าการทำงานของพนักงานมีประสิทธิภาพเพียงพอไหม มีตัวชี้วัดไหนที่ทำให้แน่ใจว่าทำงานได้ถูกต้องตามระบบนั่นเอง ดังนั้นถ้าหากมีการเตรียมการณ์สำหรับการใช้งานไฟร์วอลล์ มีการติดตั้งค่าตามความต้องการ (ซึ่งควรจะเป็นพนักงานที่มีใบอนุญาตการทำงานจากแบรนด์นั้นๆ) จะแก้ปัญหาปวดหัวร้อยแปดที่บริษัทไม่สามารถเข้าไปโฟกัสได้นั่นเอง

  • รักษากระแสเงินสดของ ธุรกิจ

    ปัจจุบันธุรกิจเริ่มกลับมาติดสปีดเติบโตหลังจากการซบเซามาสักพัก ความกังวลหนึ่งของผู้ประกอบการคือการจัดการกับต้นทุนคงที่ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าเสื่อมสภาพ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในแต่ละเดือน ทำให้นอกจากการเพิ่มพนักงานหนึ่งคนเข้ามานั้นจึงต้องพิจารณาว่าถ้าหากเข้ามาดูแลระบบความปลอดภัยไอทีแล้ว จะช่วยเหลืองานด้านอื่นได้อย่างไรบ้าง หรือ จะเลือกพัฒนาทักษะพนักงานเดิมทดแทนการจ้างคนเพิ่ม ดังนั้นการรักษาสภาพคล่องของบริษัทในการดูแลระบบความปลอดภัยจึงขึ้นอยู่กับความละเอียดอ่อนของข้อมูลที่ดูแล ลักษณะการเก็บข้อมูลของบริษัทว่ามีการใช้ Server ของตัวเองหรือทำไฮบริดข้อมูลทั้งการเก็บไว้บนเซิพเวอร์และคลาว
    network diagram

  • ลดการทำงานผิดพลาด

    การมีระบบความปลอดภัยไอทีที่ถูกต้องแล้ว สิ่งต่อมาที่บริษัทต้องโฟกัสคือพนักงานที่เข้ามาดูแลระบบ ซึ่งแน่นอนว่าโดยมากอาจจะเป็นผู้ขายอุปกรณ์จะทำหน้าที่เข้ามาตรวจสอบให้ตามรอบใช้งาน ส่งใบเสนอราคาต่ออายุมาให้ซึ่งนอกจากนั้นก็ไม่ได้รับความใส่ใจเมื่อเกิดปัญหา ทำให้เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นมาจะทำให้ไม่มีพนักงานมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือ ปล่อยปัญหานั้นให้ผ่านไปจนกว่าจะเกิดผลกระทบจนกระทั้งไม่สามารถทำงานต่อไปได้จึงค่อยแก้ไขปัญหา ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ดังนั้นถ้าหากต้องการให้แน่ใจว่ามีคนมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเบื้องต้นได้ อาจจะพิจารณาส่งพนักงานไปเทรน (ซึ่งการรับรู้ขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ของแต่ละคน) หรือ เลือกจ้างพนักงานเพิ่ม ซึ่งก็เป็นต้นทุนส่วนเพิ่มของบริษัท แต่ถึงอย่างไรถ้าหากวันหนึ่งเกิดความผิดพลาดจากการทำงานอย่าลืมคิดต้นทุนการเสียโอกาสต่อชั่วโมงของบริษัท เมื่อเทียบกับการมีคนคอยจัดการปัญหาเหล่านี้ให้ได้ก่อนเกิดเหตุ

firewall

ปรึกษาการทำ Cyber security

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล​

  • Firewall subscription model
  • พร้อมพนักงานบริหารจัดการระบบหลังบ้าน
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีที่ปรึกษาดูแลระบบตลอดอายุสัญญา

ปรึกษาการทำ Cyber security

กรอกแบบฟอร์มข้างล่างนี้

VPN คืออะไร ทำไมเราถึงมุดไปดูซีรีส์นอก เว็บที่ถูกแบนได้

vpn คือ

หลายครั้งซีรีส์หลายเรื่องที่สนุกๆ อาจจะหาดูไม่ได้ในประเทศ หรือต้องไปดู steaming ในประเทศนั้น บางเว็บไซต์สำหรับผู้ใหญ่ก็ถูกแบนจากอินเตอร์เน็ตในประเทศ ทำให้ต้องพยายามหาวิธีการที่มุดประตูออกไปผ่านเครื่องมือ VPN คือ สิ่งที่เราได้ยินมานานแสนนาน มันคืออะไร ทำงานรูปแบบไหน สรุปมาให้อ่านกันแล้ว

VPN คือ อะไร

VPN คือ Virtual Private Network หรือ การใช้อวตาร์ตัวเองเข้าไปในที่หนึ่ง โดยที่ปกติการทำงานในบริษัทนั้นจะใช้เครือข่ายภายในหรือ LAN (Local Area network)

โดยที่หนึ่งเครือข่ายถ้าหากสมมติว่าเป็นประเทศหนึ่ง ต้องมีคอมพิวเตอร์ภายใน ระบบเก็บข้อมูล และ ระบบป้องกันความปลอดภัย ของตัวเอง ทำให้คนภายนอกจะเข้าออกจากประเทศของเราต้องผ่านจุดคัดกรอง และจำกัดสิทธิ์การใช้งานต่างๆ ดังนั้นถ้าหากต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศ ต้องเดินทางเข้ามาเอง แต่มีหลายคนที่ไม่สะดวกเดินทางเข้ามาทำกิจกรรมต่างๆ หรือบินเข้ามา เลยเกิดเป็นระบบ VPN ที่ทำหน้าที่เป็นสถานทูตสำหรับคนที่ไม่สะดวกบินกลับมานั่นเอง

วิธีการทำงาน

การทำงานของระบบนี้เป็นการสร้างร่างอวตาร์ โดยผ่านอุโมงค์ต่อตรงเข้ากับบริษัทตามแบบภาพ

vpn คือ

โดยที่การส่งข้อมูลจาก VPN ผ่านไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ของเรา

vpn คือ

การส่งข้อมูลจาก A ไปยัง B ต้องผ่าน VPN โดยที่เป็นการส่งข้อมูลที่เข้ารหัสดิจิตอลให้ VPN แล้วผู้ให้บริการ VPN จะส่งต่อไปให้ B นั่นเอง

vpn คือ

หลังจากที่ข้อมูลถูกส่งให้ VPN ปลายทางจะถูกถอดรหัส โดยที่ปลายทางจะรู้เพียงว่าข้อมูลถูกส่งมาจาก VPN เท่านั้นเอง


บทความที่เกี่ยวข้อง :
Tor browser เล่นอินเตอร์เน็ตโดยไม่ให้ใครจับได้ ทำงานอย่างไร
Encryption การเข้ารหัสดิจิตอล ปกป้องความเป็นส่วนตัว ทำยังไง


 

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

มุดเข้าออกคืออะไร

เปลี่ยนภาพถ้าหาก LAN เป็นเสมือนประเทศหนึ่ง บางเว็บไซต์อนุญาตให้ดูได้เฉพาะในประเทศ ถ้าหากเข้ามาจากต่างประเทศอาจจะเข้ามาดูไม่ได้ แม้กระทั่งในออฟฟิศที่มีเว็บไซต์ภายในบริษัท ถ้าหากเป็นผู้ใช้ภายนอกบริษัทขอเปิดเข้ามาก็ไม่สามารถแสดงผล หรือดึงข้อมูลในหน้า dushboard ได้เช่นเดียวกัน 

มุด vpn
การต่อ VPN สามารถเข้ามาโดย VPN Server ที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้น โดยที่หน่วยงานจะไม่สามารถรู้ได้ว่าเปิดดูอะไร เป็นนิยามของคำว่า “มุด”

การมุดเข้าเป็นการที่ VPN มี Server ในประเทศนั้น เช่น VPN ตั้ง Server ในประเทศจีน ทำให้พอเราส่งข้อมูลจาก A ที่อยู่ในประเทศไทย ส่งผ่านไปหา VPN ที่อยู่ในประเทศจีน หน่วยงานในประเทศจีนจะตรวจจับได้แค่คนที่จะเปิดเว็บ B ที่เราต้องการดู เป็นคนในประเทศนั่นเอง สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการมุดดูข้อมูลบางอย่างที่ให้ดูได้เฉพาะคนในประเทศนั่นเอง

มีการใช้งานรูปแบบไหนบ้าง

การใช้งานระบบ VPN นั้นได้รับการประยุกต์ไปใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะช่วงการระบาดของไวรัสครั้งที่ผ่านมาโดยหลักๆที่เราแบ่งได้เป็นดังนี้

กลุ่มเล่นเกมส์เซิฟนอก

โดยเดิมทีคนที่น่าจะนำระบบ VPN มาใช้ก่อนใครอาจจะเป็นกลุ่มนี้ก็ได้ เพราะว่าบางเกมส์ออนไลน์ใหม่ๆ อาจจะเปิดให้ทดลองใช้เฉพาะคนในประเทศผู้ผลิต หรือ ยังไม่ได้นำเข้ามาเล่นในประเทศไทย ประโยชน์จึงมีทั้งได้เล่นก่อนใคร หรือ ลดการหน่วง (ping) ที่จะเกิดขึ้นกรณีที่เล่นในประเทศที่ไกลๆ เช่น เล่นเกมส์จากประเทศไทย แต่เซิพเวอร์เกมส์ตั้งอยู่ที่แอฟริกาใต้ ทำให้ผู้ให้บริการเน็ตของเราต้องส่งต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน A B C D ซึ่งทำให้อินเตอร์เน็ตช้า คนที่ใช้ VPN ที่ผู้ให้บริการมีเซิฟเวอร์ตั้งอยู่แอฟริกาใต้ อาจจะส่งแค่จาก A ไป VPN และถึงปลายทางเลย ซึ่งทำให้ลดปัญหาเน็ตหน่วงในการเล่นเกมส์ได้นั่นเอง 

กลุ่มมุดดูอะไรที่ห้ามดูในประเทศ หรือ บางประเทศ

หลายประเทศนั้นมีการควบคุมเนื้อหาข่าว ละคร หรือ ข้อมูลสำหรับใช้ภายในประเทศ รวมถึงเว็บสำหรับผู้ใหญ่ ก็อาจจะมีการแบนจากทั้งในประเทศ ทำให้การใช้ VPN นั้นจะช่วยให้ผู้ให้บริการ (Internet Service Provider : ISP) ถูกบล็อคการเข้าถึงเว็บที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาล การเข้ามาของ VPN จะเป็นการฝาก ISP ส่งไปที่ VPN (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนบุคคลในประเทศ) และส่งออกไปให้ VPN (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนบุคคลในประเทศปลายทาง) โดยที่รัฐบาลไม่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ เพราะถูกเข้ารหัสดิจิตอลนั่นเอง 

กลุ่มคนทำงานในช่วงโควิด 19

ข้อจำกัดของการทำงานในช่วงการระบาดของไวรัส โดยปกติเป็นการทำงานภายในออฟฟิศ ซึ่งการทำงานด้วยระบบ VPN เป็นการจำลองอุโมงค์ในการส่งข้อมูลตรงเข้าระบบภายในบริษัท โดยจะช่วยให้เราจำลองเสมือนการนั่งทำงานในบริษัท ดึงข้อมูล และเอกสารต่างๆใน Database server ในบริษัทนั่นเอง แต่การทำงานผ่าน VPN นั้นมีความอันตรายกว่าการใช้งานในรูปแบบอื่นๆ ตรงที่ถ้าหากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมเข้าผ่าน VPN มีการแฝงของไวรัส Ransomware ก็จะทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมดของบริษัท ทำให้การใช้ VPN ภายในบริษัท อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าการวางระบบความปลอดภัยด้วยการใช้ระบบความปลอดภัยภายในบริษัท Zero trust architecture ผ่านบริการ Firewall as a Service ซึ่งจะมาเติมเต็มความปลอดภัยโดยการใช้ระบบ กับ ระบบมาทำความปลอดภัยแทนการตัดสินใจของมนุษย์

ความปลอดภัย VPN และ Zero trust แตกต่างกันอย่างไร?

การใช้งาน VPN

เป็นการจำลองอุโมงของการรับส่งข้อมูลผ่าน VPN Server แล้วจากนั้นสามารถเชื่อมต่อตรงเข้ากับ Internal Server ได้ โดยสามารถทำกิจกรรมได้เสมือนนั่งอยู่ในบริษัท ทำให้เกิดความเสี่ยงถ้าหากผู้เชื่อมต่อ VPN เป็นเครื่องที่ถูกฝัง Ransomware ไว้

การใช้ Zero trust architecture

เป็นการติดตั้งระบบบน Firewall โดยที่สามารถเชื่อมต่อเข้าบริษัทได้โดยตรง ซึ่งจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนหลายรูปแบบ (MFA) โดยกิจกรรมทั้งหมดต้องสอดคล้องกัน เช่น รับ OTP SMS จากประเทศไทย สอดคล้องกับ ตำแหน่ง GPS ในประเทศไทย และถึงแม้สามารถเข้าระบบได้แล้ว จะมีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลบางอย่าง ให้ไม่สามารถเข้าจากภายนอกบริษัทได้ ซึ่งฟีเจอร์เหล่านี้มีในบริการที่ชื่อว่า Firewall as a Service

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

FWaaS advantage

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค Zero trust

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล