ปัจจุบันนับว่าเป็นช่วงที่ดุเดือดของ Ransomware attack ในธุรกิจน้อยใหญ่มากมาย แม้กระทั่งธุรกิจระดับประเทศก็ยังคงถูกเรียกค่าไถ่ จนยังไม่สามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้ในปัจจุบัน วันนี้เลยมาชวนดูกันว่าธุรกิจประเภทไหนที่ตกเป็นเป้าหมายมากที่สุดในครึ่งปีนี้กันโดยผลการวิจัยนี้อ้างอิงจากการวิเคราะห์ข่าวกรองภัยคุกคามของ Cognyte ซึ่งใช้สำหรับการตรวจสอบ Deep & Dark Web และการวิเคราะห์ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทั่วโลก
Ransomware attack
Ransomware attack คือ กระบวนการโจมตีของไวรัส หรือ สปายแวร์ที่แฝงในเครือข่าย บางครั้งอาจจะใช้เวลาไม่นาน หรืออาจจะมีการแฝงอยู่ภายในเครือข่ายอยู่เป็นปี หรือมากกว่านั้น ก่อนที่จะเริ่มมีการโจมตี โดยเป้าหมายของการโจมตีนั้นจะเน้นไปที่การแอบนำข้อมูลออกไปจากฐานข้อมูล (database) ออกไป แล้วทำการเข้ารหัส หรือขโมยออกไปเพื่อเรียกค่าไถ่ให้นำข้อมูลกลับมา โดยการเรียกค่าไถ่นั้นนอกจากจะทำให้เจ้าของข้อมูลนั้นมีปัญหาไม่สามารถทำงานได้แล้ว ยังเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องในกรณีที่เจ้าของข้อมูลเกิดผลกระทบจากข้อมูลที่สูญหายอีกด้วย และนี่คือ 5 อันดับกลุ่มธุรกิจที่ตกเป็นเป้าหมายของ Ransomware attack มีอะไรบ้าง?
ธุรกิจที่ถูกโจมตี
อันดับ 5
ธุรกิจเกี่ยวข้องกับกฏหมาย และทรัพยากรมนุษย์ (71 ครั้ง) นั้นเกือบจะเป็นสถิติร่วมกับธุรกิจกลุ่มโรงพยาบาลโดยความเปราะบางของธุรกิจทรัพยากรมนุษย์เป็นข้อมูลส่วนบุคคล เงินเดือน รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ และเช่นเดียวกัน ในกลุ่มโรงพยาบาลนั้นก็เป็นข้อมูลส่วนบุคคลละเอียดอ่อน เพียงไม่กี่ชนิดที่เกิดผลกระทบกับคนได้มหาศาล ทำให้การเรียกค่าไถ่ข้อมูลจากกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ดึงดูดให้มือมืดเข้ามามากมาย
อันดับ 4
ธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี (73 ครั้ง) ยิ่งมีความเกี่ยวข้องกับโค้ด และข้อมูลบนระบบมากเท่าไหร่ สิ่งที่ตามมาคือข้อบกพร่อง และช่องโหว่สำหรับการโจมตี โดยสิ่งที่ท้าทายสำหรับ Hacker นั้นเป็นการโจรกรรมข้อมูลทางด้านการเงิน และข้อมูลของผู้ใช้งาน โดยที่วิธีการที่จะเจาะเข้าระบบนั้นมีหลากหลายวิธี ทั้งการเจาะเข้าผ่านแอพ Third party การหาช่องโหว่ของทาง Login ทั้งการใช้ Authentication ที่เราเชื่อว่าเป็นช่องทางปลอดภัยที่สุดที่มีมา ก็ล้วนถูกโจมตีมาแล้วทั้งสิ้น
อันดับ 3
ธุรกิจกลุ่มขนส่ง (84 ครั้ง) ในปัจจุบันการขนส่งต่างๆมีการใช้ระบบ Network สำหรับติดตามการส่ง และสถานะการจัดส่งนั่นเอง เพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำกับการขนส่งสินค้าที่มีราคาสูง จึงดึงดูดให้ผู้ไม่หวังดีมุ่งเข้ามาเรียกค่าไถ่ข้อมูลและการทำงานมากขึ้น โดยหนึ่งในนั้นคือการถูกแฮกเกอร์สั่งปิดท่อส่งน้ำมัน เพื่อเรียกค่าไถ่ในสหรัฐฯ ทำให้ท่อส่งน้ำมันกว่าวันละ 2.5 ล้านบาเรล (397.5 ล้านลิตร) มีปัญหาด้านขนส่งนั่นเอง
รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"
อันดับ 2
ธุรกิจกลุ่มการเงิน (136 ครั้ง) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการโจมตีมาหลายร้อยปีมาแล้ว ตั้งแต่การโจรกรรมการเงิน ปล้นเงินทั้งจากธนาคารเอง และผู้ใช้งานธนาคารเองก็ล้วนตกเป็นเป้าหมายการขโมยนั่นเอง ในยุคก่อนที่จะมีการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในการรับส่งเงินดังเช่นปัจจุบัน ช่องโหว่ของธนาคารที่ต้องต่อสู้กันมาเป็นร้อยปีคือบัตรเครดิตนั่นเอง วิวัฒนาการของบัตรเครดิตนั้นเริ่มต้นจากการโทรไปหา Call center เพื่อแจ้งวงเงินที่จะใช้บัตร แล้วมีการพัฒนาเข้ามาสู่ระบบรูดบัตรที่ใช้แถบแม่เหล็ก และการใช้ชิบในการเก็บข้อมูลดังเช่นปัจจุบัน ทำให้บัตรเครดิตที่เป็นเครื่องมือการใช้เงินที่ง่ายดาย มันเป็นดาบสองคมให้เกิดการโจมตีเข้ามาได้นั่นเอง โดยในปีที่ผ่านมาในกลุ่มการเงินนี้ถูกโจมตีไปเป็นอันดับสอง แต่ก็ยังห่างจากอันดับหนึ่งมากเลยทีเดียว
อันดับ 1
ธุรกิจกลุ่มโรงงานผลิต (311 ครั้ง) น่าแปลกใจที่กลุ่มที่ถูกโจมตีมากขึ้นดันเป็นกลุ่มธุรกิจที่เหนือความคาดหมายของคนส่วนใหญ่ เพราะดูแล้วการผลิตนั้นดูไม่น่าจะเป็นความต้องการของกลุ่มแฮกเกอร์สักเท่าไหร่ แต่เพราะความไม่คิดว่าตัวเองจะถูกโจมตีนั่นเอง จึงมีการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอนั่นเอง จริงอยู่ว่าแฮกเกอร์ไม่ได้จงใจที่จะเลือกการโจมตีภาคผลิตโดยตรง เพียงแต่กระบวนการแฮกเกอร์หลายครั้งจะใช้วิธีการสุ่มตกปลา โดยการทำให้คนที่ทำงานเผลอกดเข้าไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการให้กรอกข้อมูล การส่งอีเมล ซึ่งหลายธุรกิจนั้นลืมตระหนักไปว่า นอกจากการผลิตสินค้าได้ดี ต้นทุนที่ถูกและปลอดภัย จนเริ่มนำเข้าเครื่องจักรระบบคอมพิวเตอร์ที่ลดกำลังคนลง จะเป็นดาบสองคมในวันที่ถูกโจมตีทางระบบ และเกิดความเสียหายมากมายตามมานั่นเอง
วิธีการโจมตีของแฮกเกอร์
Botnets
เครื่อง server ติดไวรัส ทำให้เมื่อมีเครื่องในเครือข่ายมีการเข้ามาใช้ข้อมูลที่ฐานข้อมูลมีการคัดลอกข้อมูลไปใช้ ทำให้เครื่องในเครือข่ายถูกแฝงข้อมูลที่มีไวรัส การแก้ปัญหาหลายครั้งเองมีการแก้ที่ปลายเหตุคือการจัดการกับไวรัสที่เครื่องลูกข่ายที่ติดไวรัส การติดตั้งโปรแกรม Antivirus ต่างๆ ซึ่งสุดท้ายเองกว่าจะรู้ว่าปัญหาเกิดจากตัวเครื่องแม่ข่ายเองก็เสียเวลา หรือ ข้อมูลสูญหาย
Rootkits
การอนุญาตให้โปรแกรมเถื่อนมีสิทธิ์ทำทุกอย่างในเครื่อง โดยถ้าได้ลองสังเกตดูการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ถูกลิขสิทธิ์ที่มีการลงโปรแกรมที่ทำให้โปรแกรมใช้งานได้เสมือนถูกกฏหมายทุกอย่าง ดังนั้นกระบวนการที่โปรแกรมเถื่อนทำงานนั้นอาจจะมีการเลี่ยงการถูกตรวจสอบลิขสิทธิ์จากอินเตอร์เน็ต โดยแลกกับการเข้าใช้สิทธิ์คอมพิวเตอร์เสมือนเจ้าของเครื่อง เมื่อถึงเวลาการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ผู้ไม่หวังดี Hacker ก็สามารถดึงข้อมูลสำคัญไปใช้ได้เลย
Malware
ติดตั้งโปรแกรมที่มีไวรัสแฝง ทำให้เครื่องที่ส่งไฟล์ไปหาติดไวรัสต่อกันไปหลายปีที่ผ่านมาเมื่อระบบปฏิบัติการไม่ได้พัฒนาเทียบเท่าปัจจุบันนี้ เมื่อเราติดตั้งฮาร์ดแวร์ใหม่เข้าไป เช่น ปริ้นเตอร์ กล้องเว็บแคม หรือ ลำโพง ผู้ใช้จำเป็นต้องลงโปรแกรมที่มาทำให้เครื่องรู้จักเครื่องมือที่เสียบเข้าคอมพิวเตอร์นั่นเอง จึงเป็นที่มาของเว็บที่แจกโปรแกรมฟรีมากมาย และเว็บเหล่านั้นพยายามจะทำให้เราเข้าใจผิดกับปุ่มกด Download หลากหลายวิธี ซึ่งถ้าหากติดตั้งไปแล้ว มันจะเป็นโปรแกรมที่ทำให้เราติดไวรัสโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นการติดมัลแวร์ชนิดนี้อาจจะมีการทำงานที่แตกต่างกันไป ทั้งแสดงโฆษณา ทั้งการเข้าถึงข้อมูล
วิธีการป้องกัน
สำหรับองค์กร
สิ่งที่เป็นหัวใจของข้อมูลมากที่สุดในองค์กรคือระบบ Server บริษัท ซึ่งเป็นแม่ข่ายที่เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าระบบ Network นั่นเอง ฉะนั้นปัจจัยหลักของการป้องกันระบบได้ดีคือการดูแล ระบบ Firewall ให้อัปเดตได้ตลอดเวลา จากสถิติเหยื่อที่ถูกเรียกค่าไถ่ข้อมูลนั้น เกิดจากการที่ระบบไม่ได้รับการอัปเดต จึงเกิดช่องโหว่ที่ทำให้ไวรัสถูกแอบมาติดตั้งบนเครื่องแม่ข่ายนั่นเอง
สำหรับส่วนบุคคล
หลังจากที่มีการดูแลอย่างดีจากเครื่องแม่ข่ายที่ดีแล้ว สิ่งที่ทำให้เกิดช่องโหว่ขึ้นมาได้ คือความผิดพลาดจากคนทำงานนั่นเอง คือการไม่ได้ตรวจสอบซ้ำกับข้อมูลที่เข้ามา หรือมีการติดตั้งโปรแกรมเถื่อน ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ถูกโจมตีเข้ามาได้ง่ายขึ้นนั่นเอง มีสถิติที่หลังจากที่บริษัทถูกขโมยข้อมูลจนสูญหายแล้ว มีการทำอย่างไร ในปัจจุบันบริษัทที่มีการทำระบบเครือข่ายของตัวเอง วาง Server และ Network infrastructure ด้วยตัวเองสิ่งที่ทำกันโดยมากคือการสำรองข้อมูลไว้ในกรณีที่มีการกู้ข้อมูลย้อนกลับมาโดยคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของเหยื่อที่ถูกโจมตี (ร้อยละ 57) รองลงมาหลายบริษัทก็เลือกจะยอมจ่ายค่าไถ่เพื่อเรียกข้อมูลย้อนกลับมา (ร้อยละ 32) ทำให้เราเห็นได้ว่าข้อมูลเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญสูง แล้วแน่ใจได้อย่างไรว่ามันปลอดภัย?
ความปลอดภัยของเครือข่ายปลอดภัยแค่ไหน
ทุกธุรกิจที่ใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งมือถือสมาร์ทโฟน ล้วนสามารถตกเป็นเหยื่อของการโจมตีข้อมูลและไวรัสได้ตลอดเวลา โดยสิ่งที่ทำให้หลายองค์กรละเลยนั้นคือการใช้ระบบมานาน แล้วใช้มันต่อไปตราบใดที่มันใช้ได้ก็จะใช้มันต่อไป โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการเข้ามาของ Ransomware แฝงในระบบ เพียงเพราะไม่มีการอัปเดตระบบความปลอดภัย การจัดการกับข้อมูลต่างๆ ผ่านบริการ Firewall as a Service
สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"
Firewall as a Service
Firewall subscription base โดยจัดการ Configuration หลังบ้านให้ทั้งหมด โดยมีทีม IT support ตลอดอายุสัญญา
- ฟรี อุปกรณ์ Firewall BOX
- ฟรี ต่อ MA ตลอดอายุ
- ฟรี อัปเกรดอุปกรณ์เมื่อตกรุ่น
ปรึกษาการทำ Network Security
ทีมงานจะติดต่อกลับไป