NAS : Network attached storage รูปแบบการจัดเก็บข้อมูล

NAS : network attached storage คืออะไร

ในชีวิตประจำเราเองนั้นใช้อินเตอร์เน็ตและแชร์รูปภาพ วีดีโอกันเป็นปกติ โดยการแชร์นั้นจะถูกเก็บไฟล์ไว้บนสักที่ใดที่หนึ่งบนโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บไว้บนเครื่องมือถือ ไว้บนคลาว(ที่เป็นสถานที่เก็บข้อมูลที่ใดที่หนึ่งบนโลกนี้) หรือ ที่เก็บข้อมูลที่เข้าได้จากทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ตเองในบ้านหรือบริษัทที่เรียกว่า NAS (นาส,แนส) เป็นการตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ ประหยัดไฟกว่า อึดทนกว่า เปิดไฟล์ได้จากทุกที่ในออฟฟิศ หรือ จากบ้าน เมื่อเทียบกับคลาวแล้วถ้าหากต้องการจัดเก็บพื้นที่คราวละมากๆ จะเสียค่าบริการที่สูงขึ้น จึงเกิดเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลส่วนกลางที่ราคาถูกลง เก็บข้อมูลได้มากๆไม่แปรผันตามปริมาณพื้นที่จัดเก็บ

Network attached storage : NAS อุปกรณ์เก็บไฟล์สำหรับบริษัทเล็ก

ก่อนอื่นการเก็บข้อมูลนั้นมีมากมายหลายแบบ ทั้งการเก็บใส่แฟลชไดร์ฟ เก็บใส่ CD หรือการเก็บบน ฮาร์ดดิสก์ก็ตาม ทุกคนก็เลือกตามความสะดวกในการพกพาถ้าหากลองสังเกตดูว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลเหล่านั้นออกแบบมาเพื่อให้ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการเชื่อมต่อเข้าเครื่องจำเป็นต้องมีช่องเสียบเข้าเครื่อง มีพื้นที่และความยากง่ายต่างๆ แต่ในปัจจุบันนี้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้มีเพียงเครื่องตั้งโต๊ะหรือโน๊ตบุ๊คพกพา แต่มันเริ่มไปสู่มือถือ แท๊บแลต ที่ต้องการความพกพาง่าย เล็ก สะดวก ทำให้เมื่อต้องการพื้นที่จัดเก็บเพิ่มเติมจากพื้นที่มีอยู่เดิมเป็นไปได้ยาก ทำให้ในบ้านและองค์กรที่มีขนาดเล็กต้องใช้ฟาร์มเก็บข้อมูลเล็กๆที่เรียกว่า NAS (แนส)

storage type
อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ แผ่นดิสก์ ซีดี แฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์

 

Cloud ที่ไม่แพงขึ้นตามพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน

ออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูลโดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายในโดยเฉพาะ เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆที่ออกแบบมาเพื่อเก็บไฟล์ปริมาณมากๆโดยเฉพาะ มีหน้าที่ในการเปิดตลอดเวลาและเชื่อมต่อกับ LAN ตลอดเวลา ทำให้ทุกคนที่เชื่อมต่อเครือข่ายในบ้าน หรือ ออฟฟิศสามารถใช้เป็นตัวกลางของบ้านในการโยนไฟล์ไปเก็บ หรือ เปิดใช้งานไฟล์โดยที่ไม่ต้องเปลืองที่จัดเก็บบนมือถือ หรือ อุปกรณ์นั้นๆ โดยประโยชน์ของการเอามาใช้งานได้มากมายหลากหลาย ทั้งการเป็นที่เก็บไฟล์ข้อมูลของกล้องวงจรปิด รวมไปถึงโยนภาพถ่ายมากมายเข้าไปเก็บไว้ในพื้นที่ดังกล่าว โดยไม่ต้องเปลืองพื้นที่มือถือ หรือ เมมโมรี่การ์ดของกล้องนั่นเองจะเป็นเหมือนฟาร์มจัดเก็บข้อมูลที่สามารถเพิ่มปริมาณพื้นที่จัดเก็บตามความต้องการและเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายภายในบ้าน (LAN) ทำให้เมื่อเชื่อมต่อภายในบ้านแล้วทุกคนที่เชื่อมต่อจะสามารถเข้าสู่ข้อมูลได้ 

เก็บไฟล์บนคอมพ์ก็ได้แล้วทำไมต้องทำแนส?

NAS ทำงานยังไง
การติดตั้ง ตำแหน่งที่อยู่บน Network คือการเชื่อมต่อกับ Router

คอมพิวเตอร์เองก็ทำหน้าที่เป็นที่เก็บไฟล์ได้เหมือนกัน เพียงแต่คอมพิวเตอร์ออกแบบมาเพื่อทำงานที่หลากหลายและการเก็บข้อมูลบนคอมพิวเตอร์นั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อปิดเครื่องคอมพ์ รวมถึงอุปกรณ์อย่าง Harddisk และหน่วยประมวลผลต่างๆนั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานได้ตลอดเวลาเหมือนกับอุปกรณ์ ทำให้การติดตั้งจำเป็นต้องใช้ตัวเก็บข้อมูลที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการเขียนไฟล์ ลบไฟล์ได้บ่อย และทนต่อความร้อนเนื่องจากต้องทำงานตลอดเวลาได้ แน่นอนว่าคอมพ์ทดแทน ระบบแนสได้ก็จริง แต่ไม่รองรับการเข้าถึงไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีโปรแกรมรองรับการใช้งานดังกล่าว

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

Cloud vs NAS

การเก็บไฟล์บนระบบนี่เองเป็นส่วนหนึ่งที่หลายบริษัทขนาดเล็กก็นำไปใช้เก็บฐานข้อมูลของตัวเอง ทดแทนการเช่าพื้นที่บนคลาว และทะลวงข้อจำกัดการวางไฟล์ไว้บน Server ที่มีข้อจำกัดในการเอาไปใช้ทำหน้าที่อื่น โดยที่ผู้ผลิตจะมีการให้การทำระบบเพื่อการเชื่อมต่อ ส่งข้อมูลผ่านเว็บเซอวิสโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายค่าเช่าในทุกเดือน โดยถ้าทางเทคนิคแล้วมีความแตกต่างกันตามลักษณะการใช้งานเช่นเดียวกัน

คลาว (Cloud)

เป็นชนิดของการเก็บข้อมูล โดยเน้นการรีโมทเข้าไปในพื้นที่ของผู้ให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต โดยลักษณะการเก็บค่าบริการนั้นจะแปรผันตามปริมาณพื้นที่ที่ต้องการใช้งานโดยผู้ให้บริการนั้นจะนำข้อมูลไปเก็บไว้บนเครื่องเซิฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ส่วนต่างๆของโลก มีการทำระบบความปลอดภัย มีการสำรองข้อมูลแบ็คอัพเพื่อกันการสูญหาให้กับลูกค้า โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องลงทุนซื้อฮาร์ดดิสก์เอง และ ยังมีการเข้าใช้งานข้อมูลได้ง่ายจากทุกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ทโฟน

แนส (NAS)

เป็นการเก็บข้อมูลโดยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผ่านอุปกรณ์เร้าเตอร์ โดยอุปกรณืดังกล่าวจะเป็นศูนย์กลางข้อมูลของผู้ที่เชื่อมต่อเร้าเตอร์ หรือ วงแลนเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีอินเตอร์เน็ตก็ยังคงใช้งานได้ แตกต่างกับระบบคลาวที่ต้องเข้าถึงข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ตเท่านั้น 

ความปลอดภัยของ NAS
การปลอดภัยของระบบ Network ที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมถึงเครื่อง Network attached storage เข้าไป

ความปลอดภัย

การเก็บข้อมูลด้วยระบบแนสเป็นการเก็บข้อมูลระดับไฟล์ (File-level storage) โดยจะช่วยในการเก็บและแชร์ไฟล์ อย่างเช่น เอกสาร รูปภาพ และ วีดีโอ ผ่านทางระบบเครือข่าย (Network system) โดยที่อุปกรณ์แนสจะเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องมีคนเข้าถึงข้อมูลจำนวนมาก โดยมากใช้กันในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กโดยให้คนที่เชื่อมต่อ LAN หรือ WiFi ของสถานที่นั้นเข้าถึงข้อมูลได้ การเตรียมความปลอดภัยของระบบนั้นควรทำอย่างรัดกุม

  1. การตั้งรหัสผ่าน (Password protection)

    การเตรียมรหัสผ่านการเข้าไปใช้งานระบบนั้นจำเป็นต้องเป็นรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากสำหรับทุกคนที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล โดยพื้นฐานที่เราพอจะเอามาตั้งได้คือการผสมอักษรภาษาอังกฤษปนกันทั้งพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ การประสมตัวเลข และ อักษรพิเศษ โดยรวมกันอย่างน้อย 8 ตัวขึ้นไป รวมถึงการเข้าสู่ระบบหลายขั้นตอน (2 factor authentication) ก็จะช่วยให้มีความปลอดภัยสูงสุดที่ใช้ในปัจจุบัน

  2. ความปลอดภัยทางไอที (Network security)

    เนื่องจากตัวระบบของแนสต้องมีการเชื่อมต่อข้อมูลเข้าสู่้เครือข่ายภายใน ดังนั้นพื้นฐานของความปลอดภัยในบ้านหรือบริษัทต้องเตรียม ได้แก่ Firewall ที่ทำหน้าที่บล็อคข้อมูลที่เป็นอันตราย , การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ที่จะเป็นประโยชน์กรณีมีการดักดูข้อมูลด้วยการแฮกระบบเข้ามา ทำให้ผู้ที่ดักเอาข้อมูลนั้นจะเห็นเพียงโค้ดที่อ่านไม่ออก รวมถึงการใช้ความปลอดภัยรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสมกับระบบ

  3. การสำรองข้อมูล (Data backup)

    โดยพื้นฐานของการสำรองข้อมูลนั้นสิ่งหนึ่งที่เป็นความเสี่ยงหลักคือข้อมูลสูญหาย ไม่ว่าจะเป็นการถูกโจรกรรมข้อมูลไม่ว่าช่องทางไหน ฮาร์ดดิสก์พัง หรือ ไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม ทำให้การเก็บข้อมูลต้องมีการสำรองข้อมูลอีกชุดหนึ่ง โดยแนสในหลายรุ่นจะสามารถทำฮาร์ดดิสก์สองลูก โดยแบ่งเป็นลูกหลักที่ใช้งาน และอีกลูกเพื่อสำรองข้อมูลในกรณีที่อีกลูกเกิดความเสียหาย

  4. การเข้าถึงไฟล์ (File permission)

    กำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานให้ถูกต้อง โดยแต่ละข้อมูลนั้นควรจะถูกจำเพาะเจาะจงให้กับผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันข้อมูลหลุดรั่ว

  5. การอัปเดตความปลอดภัย (Security update)

    ตรวจสอบให้มั่นใจเสมอว่าอุปกรณ์ของแนส มีการอัปเดตข้อมูลอย่างเป็นปัจจุบัน รวมถึงระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ อุปกรณ์ไฟร์วอลล์ที่มีการนำมาติดตั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าฐานข้อมูลความปลอดภัยนั้นมีการอัปเดตเป็นปัจจุบัน มีการอุดรอยรั่วจากผู้ไม่ประสงค์ดีแล้ว

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

firewall

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล

  • Firewall subscription model
  • ไม่ต้องเพิ่มรายจ่ายพนักงานเพิ่มเติม
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีทีมงานดูแลระบบให้ตลอดอายุการใช้งาน