ในช่วงที่กำลังมีการเตรียมพร้อมของการทำ PDPA สิ่งที่หลายบริษัทกำลังมีแผนตั้งรับอยู่ทุกแผนก ซึ่งมีสิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้คือส่วน เก็บข้อมูลพนักงาน ทั้งพนักงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน และที่ไม่ได้ทำงานกับบริษัทแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปเราต้องจัดการกับข้อมูลเก่ายังไง ปรับปรุงการเก็บข้อมูลตรงไหน สรุปมาให้แล้ว
PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกระบวนการที่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูล ชื่อ นามสกุล เพศ อายุ รายได้ เลขบัตรประชาชน ของใครก็ตาม จำเป็นต้องมีการขออนุญาตเก็บข้อมูลอย่างมีลายลักษณ์อักษร เหตุนี้เองทำให้เราต้องการสร้างแบบขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งหมดอย่างเช่น
- เก็บข้อมูลลูกค้า
- เก็บข้อมูลภาพกล้องวงจรปิดของพนักงาน
- เก็บข้อมูลส่วนตัวของพนักงสย
- เก็บข้อมูลคู่ค้าสัญญาของบริษัท และอื่นๆ
จากข้อมูลของหลายบริษัทที่มีการเตรียมระบบกับทาง Prospace กว่า 84% ของบริษัทที่เริ่มวางแผนจะทำ พรบ.ฉบับนี้ จึงเลือกเริ่มต้นจากการขออนุญาตพนักงาน (HR Privacy policy) ให้ถูกต้องตามกฏหมายก่อน ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ?
บริษัทเคารพสิทธิ์พนักงาน
ส่วนหนึ่งการทำตามกฏหมาย PDPA ที่ทุกบริษัทต้องทำ แต่ในส่วนของสิทธิ์พนักงานนั้นเป็นสิ่งที่บริษัทจะเลือกขออนุญาตพนักงานหลังจากที่เตรียมการในแผนกต่างๆพร้อมแล้วก็ได้ แต่การสำรวจจาก Prospace กับผู้ใช้บริการกับเรานั้น ต่างให้เหตุผลการทำที่น่าสนใจ เพราะบริษัทส่วนมาก ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำนั้นเลือกจะเริ่มต้นจากการทำนโยบายขอสิทธิ์เก็บข้อมูลส่วนตัวพนักงาน เพราะถือว่าพนักงานคือส่วนสำคัญขององค์กร และทำให้ตัวบริษัทเองเกิดการรับรู้ว่าองค์กรให้ความสำคัญกับสิทธิพื้นฐานของพนักงานมาเป็นสิ่งสำคัญก่อน
พนักงานตอบแทนบริษัท
การทำงานหนักเพื่อองค์กร พนักงานก็หวังจะได้รับการตอบแทนด้วยวิธีการต่างๆ
เช่นเดียวกันเมื่อบริษัทมองว่าพนักงานคือส่วนหนึ่งขององค์กรในทางทฤษฏีมันเป็นสิทธิ์ที่ต้องทำตามกฏหมาย แต่ในทางปฏิบัติจริง เมื่อพนักงานได้รับการดูแลที่ดี ทำให้เกิดความภูมิใจที่ทำงานในองค์กรของตัวเอง ในระยะยาวพนักงานจะตอบแทนด้วยการพัฒนางาน ทุ่มเทเพื่อองค์กร เพราะองค์กรเองเป็นฝ่ายมอบคุณค่าอันดีให้กับพวกเขาก่อน
- สมัครงานยังไง ให้บริษัทจ่ายค่าปรับเป็นล้าน ทำได้จริง
- การสร้างสัญญาออนไลน์พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลทำยังไง เขียนโค้ดไม่เป็นก็ทำตามได้
- เลื่อนการประกาศใช้ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลออกไป คุ้มค่าไหมกับการเสียประโยชน์ของคนไทย
เริ่มจากพนักงานใหม่
หลายบริษัทนั้นมีพนักงานที่ทำงานมากมาย ทำให้การเริ่มขออนุญาตเก็บข้อมูลพนักงานปัจจุบันอาจจะเป็นงานใหญ่ขององค์กร ในขณะที่ทุกคนต่างได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุด การเริ่มเปลี่ยนนโยบายการเก็บข้อมูล (Privacy policy) จากพนักงานใหม่ นอกจากจะสามารถเริ่มต้นส่งวัฒนธรรมองค์กรที่เคารพสิทธิ์ให้กับพนักงานใหม่ได้แล้ว จะสะดวกกับทีมฝ่ายบุคคล ที่จะสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น
พนักงานเก่าฟ้องร้อง
การลาออกจากบริษัทของพนักงานนั้นอาจจะเป็นประสบการณ์ที่ดีและไม่ดีแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่กับบริษัทถึงแม้พนักงานได้ออกจากองค์กรไปแล้วก็คือข้อมูล โดยถึงแม้ว่ากฏหมายฉบับนี้ไม่ได้มีข้อกำหนดในการเก็บข้อมูลตามกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับหลักก็ตาม แต่จะต้องมีการเก็บ Log ข้อมูลเดิม 90 วันตามกฏหมาย
ซึ่งเป็นกฏหมายที่ประกาศฉบับลูกที่ประกาศตามมา นอกจากจะต้องมีไว้สำหรับตรวจสอบข้อมูล Audit แล้วยังง่ายต่อการจัดการกับข้อมูลพนักงานเก่า ที่อาจจะมีการฟ้องร้องเรื่องการเก็บข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต จากการที่เอกสารยินยอมนั้นมีผลการบังคับใช้เฉพาะระยะเวลาที่ทำงานกับบริษัทนั่นเอง
บริการเอกสารและวิธีการ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล
ชุดเอกสาร 69 รายการที่จำเป็นสำหรับการทำระบบข้อมูลส่วนบุคคลพื้นฐานภายในบริษัท
ลดเวลาเตรียมระบบ
เก็บทุกประเด็นของการเดือนและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องกับพนักงาน สำหรับธุรกิจที่มีการรวบรวม เก็บข้อมูลพนักงาน ระหว่างการคัดเลือก สัญญาจ้าง โดยจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัวของพนักงาน
ปรับใช้งานได้หลากหลาย
นโยบายการรักษาผลประโยชน์ของพนักงานเป็นกฏเกณฑ์ที่สากลบนพื้นฐานของหลักกฏหมาย สามารถนำไปปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความละเอียดอ่อนในการดูแลพนักงานที่แตกต่างกันออกไปได้
มีที่ปรึกษาการใช้งาน
สะดวกสบายด้านการใช้งานข้อมูลเพราะบริการของเรามีทีมงานด้านกฏหมายที่จะคอยตรวจสอบการปรับปรุงกฏหมายลูก ที่ออกมาสอดคล้องกับ พรบ. ฉบับหลัก ดังนั้นถ้าหากเลือกใช้บริการกับเราแล้ว จะได้รับการอัปเดตตัวกฏหมายให้ทันสมัยอยู่เสมอ
ปรึกษาการทำระบบ
กรอกแบบฟอร์มให้ทีมงานติดต่อกลับ