PDPA คือ อะไร? ที่มา นิยาม และความจำเป็นของข้อมูลส่วนบุคคล

pdpa คือ อะไร

ปัจจุบันโลกของเรามีการรับส่งข้อมูลระหว่างกันในปริมาณมากมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วไป ข้อมูลลับสำคัญ รวมไปถึงข้อมูลลับทางธุรกิจ เมื่อปี 2021 มีการประเมินกันว่าข้อมูลที่ทั้งโลกมีการใช้งานบนโลกอินเตอร์เน็ตมีปริมาณอยู่ที่ 9,200,000 TB ต่อวัน หรือถ้าหากเอาฮาร์ดดิสก์ 3.5 ขนาด 1 TB ที่ใช้งานในคอมพิวเตอร์มาต่อกันจะเท่ากับระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ไปยังกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลยเซีย และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องจัดการกับข้อมูลมหาศาลด้วยการกำหนดว่าข้อมูลเหล่านั้นจะทำยังไงให้เป็นระเบียบ ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีกฏหมายที่ชื่อย่อว่า PDPA คือ กฏเกณฑ์ในการจัดระเบียบข้อมูลมหาศาลเหล่านี้

โลกของเราจัดการกับข้อมูลมหาศาลกันยังไง?

มีการคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2022 ข้อมูลที่อยู่บนโลกนี้จะมีประมาณ 94,000 ล้านเทระไบต์ นี่คือปริมาณข้อมูลที่เติบโตมากขึ้นทุกไปไม่มีวันลดลงได้ ทำให้หลายประเทศเริ่มจะจัดการกับระเบียบ ข้อกำหนดบังคับใช้ให้กับปริมาณข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลของ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ในเดือนธันวาคม 2022 มีประเทศที่มีกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปแล้วกว่า 71% ของประเทศบนโลกนี้  มีอีก 9% ที่กำลังร่างกฏหมาย 15% ยังไม่มีกฏหมายรองรับและ 5% ไม่มีข้อมูลเรื่องกฏหมายฉบับนี้ โดยที่ไม่ว่าตัวบทกฏหมายจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ตัวบทใจความสำคัญที่มีร่วมกัน คือการคุ้มครองข้อมูลที่แบ่งย่อยลงไป การจัดการกับข้อมูล สิทธิ์ที่เจ้าของข้อมูลจะสามารถจัดการได้ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทต่างๆตามมาซึ่งเป็นหัวใจหลักของตัวบทกฏหมายฉบับดังกล่าว

PDPA บนโลกนี้
ประเทศที่มีการตรากฏหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในปัจจุบัน

กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

จุดเริ่มต้นของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ก่อนอื่นต้องมาดูวิวัฒนาการทางกฏหมายก่อนที่กลายร่างมาเป็นกฏหมายข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย เริ่มต้นจากการหนังสื่อที่ถูกตีพิมพ์จาก APEC Privacy Framework ในปี 2005 โดยผู้นำชาติสมาชิกเอเปคได้ลงนามบรรดารัฐมนตรีได้ให้การรับรองกรอบความเป็นส่วนตัวของเอเปค โดยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว จากนั้น 8 ปีต่อมามีการออกแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่จัดทำโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ที่ส่วนใหญ่เป็นชาติสมาชิกจากประเทศที่พัฒนาแล้วจนกระทั่งการประกาศใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปในปี 2016 ที่เป็นแนวทางนำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้ในการนำไปอ้างอิงตัวบทกฏหมายรวมกระทั่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกของเราจะถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงเราไปตลอดการคือ คอมพิวเตอร์ ทำให้ข้อมูลของเราไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ต้องกรอกให้กับแพลตฟอร์มมีเดีย การให้ข้อมูลกับทางธนาคารหรือหน่วยงานราชการ ข้อมูลเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งในมหาสมุทรของข้อมูล ทำให้เกิดการเหตุประโยชน์ของการแย่งชิงข้อมูลเหล่านี้เพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม การค้า หรือการเสนอขายผลิตภัณฑ์บริการต่างๆ ทำให้ตัวเราเองนั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์มากมายโดยในหลายกรณีเป็นการไม่ยินยอมในการนำข้อมูลของเราไปใช้เลยก็ตาม จึงเป็นเหตุให้มีการกำหนดกฏเกณฑ์การใช้งานข้อมูลขึ้นมา

human right สิทธิมนุษยชน

ถ้าหากลองแยกคำออกมาของ PDPA คือ การประสมคำของ Personal (บุคคล) + Data (ข้อมูล) + Protection (การป้องกัน) + Act (พระราชบัญญัติ) ทำให้เราเข้าใจว่าตัวละครหลักของกฏหมายฉบับนี้คือการจัดการกับ “ข้อมูล” ของ “บุคคล” เป็นคำนิยาม จำกัดความที่เป็นขอบเขตของกฏหมาย

ข้อมูลส่วนบุคคล (Data privacy) คืออะไร

ข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สามารถระบุได้โดยตรงหรือโดยอ้อม โดยจากนิยามจะแบ่งเป็นข้อมูลสองประเภท ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล และ ข้อมูลส่วนบุคคลละเอียดอ่อน ซึ่งความแตกต่างด้านข้อมูลนั้นจะขึ้นอยู่กับผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลนั้น

ข้อมูลส่วนบุคคล

โดยคำนิยามของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วมันคือการที่เราสามารถระบุตัวตนคนนั้นได้ว่าเป็นใคร ไม่ว่าจะเป็นชื่อและนามสกุล , เพศ , ที่อยู่ที่ระบุตำแหน่งได้ , อีเมล์  เป็นต้น

ข้อมูลส่วนบุคคลละเอียดอ่อน

โดยคำจำกัดความของมันเป็นการระบุตัวตนที่มากขึ้น มีผลกระทบถ้าหากข้อมูลเหล่านั้นหลุดออกไปสู่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดผลเสียทางด้านสังคม การถูกกีดกันอันเนื่องมาจากสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ชาติพันธ์ุ , ความคิดเห็นทางการเมืองหรือจุดยืนทางการเมือง , เลขบัตรประจำตัวประชาชน , เลขประกันสังคม (ซึ่งในประเทศไทยจะใช้เลขบัตรประชาชนแทนใช้ในการทำธุรกรรม) , ประวัติการรักษาทางการแพทย์ , ข้อมูลชีวมิติ ใบหน้า ลายนิ้วมือ ม่านตา เสียง ที่สามารถระบุตัวตนได้อย่างชัดเจนว่าเป็นคนนั้นรวมไปถึงการนับถือศาสนาเองก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเช่นเดียวกัน

PDPA คือ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และคุ้มครองผู้เกี่ยวข้อง

ผู้เกี่ยวข้องกับกฏหมาย PDPA

เจ้าของข้อมูล

เป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง หรือ อาจจะเป็นผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ถูกเก็บข้อมูล

ผู้ดูแลข้อมูล

ผู้ที่เป็นกำกับดูแลข้อมูล โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัท เจ้าของธุรกิจ

ผู้ประมวลผลข้อมูล

เป็นบุคคลที่สามที่ถูกแต่งตั้งมาจัดการข้อมูลให้กับผู้ดูแลข้อมูล

ความปลอดภัยของข้อมูล

ข้อมูลในยุค Big Data ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องมี PDPA มาช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอที่จะปกป้องเจ้าของข้อมูลนั้น ๆ ไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และมีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลในกรณีที่ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล PDPA คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต้องทำการขออนุญาตลูกค้าเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลก่อนนำไปใช้เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการแก่ลูกค้า และต้องมีการปกป้องข้อมูลชองลูกค้าตามมาตรฐาน ประเด็นสำคัญของ PDPA คือ การเก็บ ใช้ เปิดเผย และถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอม ยกเว้นจะมีเหตุอื่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งความยินยอมนั้นต้องให้โดยอิสระ เฉพาะเจาะจง และชัดแจ้ง และเจ้าของข้อมูลสามารถถอนความยินยอมได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องแจ้งเหตุให้เจ้าของข้อมูลทราบภายใน 72 ชั่วโมง

privacy data ข้อมูลส่วนบุคคล
การจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคล ควรมีการรักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุม

ใช้ข้อมูลตามความจำเป็น

กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทุกคนในสังคม เราซึ่งมีสถานะเป็น ‘เจ้าของข้อมูล’ ที่ไปใช้บริการต่าง ๆ หัวใจหลักของกฎหมายบอกว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เมื่อให้ใครไปแล้ว เขาจะต้องเอาไปใช้ตามวัตถุประสงค์และความจำเป็น คือ นำไปใช้เท่าที่บอกว่าจะใช้ ไม่เอาไปใช้งานอื่นเกินเลย นอกจากนี้ เมื่อมีข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ก็ต้องเก็บรักษาและใช้มันอย่างปลอดภัย จะเผยแพร่ต่อให้คนอื่นไม่ได้ถ้าไม่ได้ถามเราก่อน และเราในฐานะเจ้าของข้อมูล สามารถบอกเลิกการครอบครองข้อมูลนั้นได้

เขียนคำขออนุญาตที่ชัดเจนไม่กำกวม

การเอาข้อมูลไปใช้เท่าที่บอกว่าจะใช้ และทำข้อมูลให้ปลอดภัย จริง ๆ ก็เป็นเรื่องของเงื่อนไขที่องค์กรต่าง ๆ ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว เพียงแต่ถ้าหากบ้านเราประกาศใช้กฎหมาย ก็จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นเพราะมีมาตรฐานทางกฎหมายรองรับ ไม่ใช่แค่นโยบายที่อาจแตกต่างไปตามแต่ละหน่วยงานในทางปฏิบัติแล้วสิ่งที่องค์กรเล็ก หรือ ใหญ่จะต้องทำ คือ การทำ privacy policy และ การบันทึกกิจกรรมประมวลผล เพื่อบันทึกและบอกรายละเอียดว่า เราเก็บข้อมูลอะไร จะเอาไปทำอะไร เก็บมาเมื่อไร และจะเก็บนานเท่าไร โดยองค์กรที่ต้องทำตามกฎหมายของ PDPA มีลักษณะดังนี้

  • องค์กรที่มีการเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

    ในพรบ.นี้เรียกว่า Data Controller หรือ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

  • องค์กรที่เป็นหน่วยงานที่ผู้ควบคุมข้อมูลว่าจ้าง

    ให้ประมวลผลข้อมูลของลูกค้าหรือของบุคคลใด ๆ ตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล ในพรบ.นี้เรียกว่า Data Processor หรือ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

  • องค์กรที่อยู่นอกประเทศไทย

    แต่มีการเสนอขายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศไทย มีการโอนถ่ายข้อมูล หรือ เฝ้าติดตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

Pdpa prokit

ป้องกันและการจัดเก็บข้อมูล

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกจัดเก็บเอาไว้ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกเหนือจาก กฎหมาย PDPA ที่เตรียมจะออกสู่มาตรการการบังคับใช้นี้แล้ว เรายังต้องระวังเหล่าผู้ร้าย หรือ แฮกเกอร์ทั้งหลายที่มุ่งหวังจะโจมตีเราอีกด้วย ก็คงจะดีกว่ามาก หากเรามีมาตรการการป้องกันและปกป้องข้อมูลในระหว่างที่เราใช้งานหรือกำลังกรอกข้อมูลหรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ด้วยหลายองค์กรนั้นยังไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพราะมันอาจจะดูไกลตัว แต่จริงๆแล้วแค่มีเบอร์แปลกโทรมาขายประกันในทุกเดือน มันก็คือการแอบเอาข้อมูลของเรามาขายให้กับคนอื่นเช่นเดียวกัน เหล่านี้ถ้าหากมีการบังคับใช้จริงจะสามารถติดตามกลับไปหาคนที่ทำข้อมูลเราหลุดและฟ้องร้องดำเนินคดีได้นั่นเอง

ข้อกฏหมาย Pdpa คือ

PDPA Prokit ชุดเอกสารทำเองใน 30 วัน

รวมชุดเอกสารสำหรับทำ PDPA ให้สอดคล้องกับกฏหมายในบริษัท ลดเวลาเตรียมตัวจาก 6 เดือนเหลือ 30 วัน

  • ชุดเอกสาร 69 รายการ
  • ใบสัญญาอนุญาตการเก็บข้อมูล
  • ขั้นตอนการเตรียมการ
  • ที่ปรึกษาต่อเนื่อง 1 เดือน

ปรึกษาการทำ PDPA

กรอกฟอร์มเพื่อให้ทีมงานติดต่อกลับ

PDPA กฏหมายที่พนักงานมีสิทธิ์ฟ้องนายจ้าง ถ้าเก็บข้อมูลเกินกำหนด

ในช่วงที่กำลังมีการเตรียมพร้อมของการทำ PDPA สิ่งที่หลายบริษัทกำลังมีแผนตั้งรับอยู่ทุกแผนก ซึ่งมีสิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้คือส่วน เก็บข้อมูลพนักงาน ทั้งพนักงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน และที่ไม่ได้ทำงานกับบริษัทแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปเราต้องจัดการกับข้อมูลเก่ายังไง ปรับปรุงการเก็บข้อมูลตรงไหน สรุปมาให้แล้ว

PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกระบวนการที่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูล ชื่อ นามสกุล เพศ อายุ รายได้ เลขบัตรประชาชน ของใครก็ตาม จำเป็นต้องมีการขออนุญาตเก็บข้อมูลอย่างมีลายลักษณ์อักษร เหตุนี้เองทำให้เราต้องการสร้างแบบขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งหมดอย่างเช่น

  • เก็บข้อมูลลูกค้า
  • เก็บข้อมูลภาพกล้องวงจรปิดของพนักงาน
  • เก็บข้อมูลส่วนตัวของพนักงสย
  • เก็บข้อมูลคู่ค้าสัญญาของบริษัท และอื่นๆ

pdpaจากข้อมูลของหลายบริษัทที่มีการเตรียมระบบกับทาง Prospace กว่า 84% ของบริษัทที่เริ่มวางแผนจะทำ พรบ.ฉบับนี้ จึงเลือกเริ่มต้นจากการขออนุญาตพนักงาน (HR Privacy policy) ให้ถูกต้องตามกฏหมายก่อน ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ?

บริษัทเคารพสิทธิ์พนักงาน

ส่วนหนึ่งการทำตามกฏหมาย PDPA ที่ทุกบริษัทต้องทำ แต่ในส่วนของสิทธิ์พนักงานนั้นเป็นสิ่งที่บริษัทจะเลือกขออนุญาตพนักงานหลังจากที่เตรียมการในแผนกต่างๆพร้อมแล้วก็ได้ แต่การสำรวจจาก Prospace  กับผู้ใช้บริการกับเรานั้น ต่างให้เหตุผลการทำที่น่าสนใจ เพราะบริษัทส่วนมาก ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำนั้นเลือกจะเริ่มต้นจากการทำนโยบายขอสิทธิ์เก็บข้อมูลส่วนตัวพนักงาน เพราะถือว่าพนักงานคือส่วนสำคัญขององค์กร และทำให้ตัวบริษัทเองเกิดการรับรู้ว่าองค์กรให้ความสำคัญกับสิทธิพื้นฐานของพนักงานมาเป็นสิ่งสำคัญก่อน

pdpa

พนักงานตอบแทนบริษัท

การทำงานหนักเพื่อองค์กร พนักงานก็หวังจะได้รับการตอบแทนด้วยวิธีการต่างๆ

เช่นเดียวกันเมื่อบริษัทมองว่าพนักงานคือส่วนหนึ่งขององค์กรในทางทฤษฏีมันเป็นสิทธิ์ที่ต้องทำตามกฏหมาย แต่ในทางปฏิบัติจริง เมื่อพนักงานได้รับการดูแลที่ดี ทำให้เกิดความภูมิใจที่ทำงานในองค์กรของตัวเอง ในระยะยาวพนักงานจะตอบแทนด้วยการพัฒนางาน ทุ่มเทเพื่อองค์กร เพราะองค์กรเองเป็นฝ่ายมอบคุณค่าอันดีให้กับพวกเขาก่อน

pdpa

เริ่มจากพนักงานใหม่  

หลายบริษัทนั้นมีพนักงานที่ทำงานมากมาย ทำให้การเริ่มขออนุญาตเก็บข้อมูลพนักงานปัจจุบันอาจจะเป็นงานใหญ่ขององค์กร ในขณะที่ทุกคนต่างได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุด การเริ่มเปลี่ยนนโยบายการเก็บข้อมูล (Privacy policy) จากพนักงานใหม่ นอกจากจะสามารถเริ่มต้นส่งวัฒนธรรมองค์กรที่เคารพสิทธิ์ให้กับพนักงานใหม่ได้แล้ว จะสะดวกกับทีมฝ่ายบุคคล ที่จะสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น

พนักงานเก่าฟ้องร้อง

การลาออกจากบริษัทของพนักงานนั้นอาจจะเป็นประสบการณ์ที่ดีและไม่ดีแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่กับบริษัทถึงแม้พนักงานได้ออกจากองค์กรไปแล้วก็คือข้อมูล โดยถึงแม้ว่ากฏหมายฉบับนี้ไม่ได้มีข้อกำหนดในการเก็บข้อมูลตามกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับหลักก็ตาม แต่จะต้องมีการเก็บ Log ข้อมูลเดิม 90 วันตามกฏหมาย

ซึ่งเป็นกฏหมายที่ประกาศฉบับลูกที่ประกาศตามมา นอกจากจะต้องมีไว้สำหรับตรวจสอบข้อมูล Audit แล้วยังง่ายต่อการจัดการกับข้อมูลพนักงานเก่า ที่อาจจะมีการฟ้องร้องเรื่องการเก็บข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต จากการที่เอกสารยินยอมนั้นมีผลการบังคับใช้เฉพาะระยะเวลาที่ทำงานกับบริษัทนั่นเอง

PDPA Prokit

บริการเอกสารและวิธีการ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

ชุดเอกสาร 69 รายการที่จำเป็นสำหรับการทำระบบข้อมูลส่วนบุคคลพื้นฐานภายในบริษัท

ลดเวลาเตรียมระบบ

เก็บทุกประเด็นของการเดือนและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องกับพนักงาน สำหรับธุรกิจที่มีการรวบรวม เก็บข้อมูลพนักงาน ระหว่างการคัดเลือก สัญญาจ้าง โดยจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัวของพนักงาน

ปรับใช้งานได้หลากหลาย

นโยบายการรักษาผลประโยชน์ของพนักงานเป็นกฏเกณฑ์ที่สากลบนพื้นฐานของหลักกฏหมาย สามารถนำไปปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความละเอียดอ่อนในการดูแลพนักงานที่แตกต่างกันออกไปได้

มีที่ปรึกษาการใช้งาน

สะดวกสบายด้านการใช้งานข้อมูลเพราะบริการของเรามีทีมงานด้านกฏหมายที่จะคอยตรวจสอบการปรับปรุงกฏหมายลูก ที่ออกมาสอดคล้องกับ พรบ. ฉบับหลัก ดังนั้นถ้าหากเลือกใช้บริการกับเราแล้ว จะได้รับการอัปเดตตัวกฏหมายให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ปรึกษาการทำระบบ

กรอกแบบฟอร์มให้ทีมงานติดต่อกลับ

Cookie consent บริการติดตั้งระบบสัญญาเว็บไซต์ จบได้ในราคา 2400 บาท

PDPA คืออะไร

ช่วงนี้หลายบริษัทเริ่มตื่นตัวกับการเตรียม PDPA ให้สอดคล้องกับทุกส่วนงานที่ทำ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีของการปรับการทำธุรกิจ และเก็บข้อมูลลูกค้าให้สอดคล้องกฏหมาย PDPA คือ ต้องมีการเตรียมพร้อมทั้งด้านบุคคล ด้านเทคนิคและกฏหมาย อาจจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน โดยเฉพาะการสร้างระบบ Cookie consent แบบตอบรับออนไลน์ 

การสร้างแบบ Cookie consent ต้องเตรียมตัวอย่างไร

โดยปกติของแบบตอบรับ ซึ่งเป็นรูปแบบสัญญา โดยประกอบไปด้วยข้อกำหนด บทคำนิยามทางกฏหมาย จากนั้นมี โดยจุดประสงค์มีความเฉพาะเจาะจง

ลงไปที่ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ประกอบไปด้วย “เจ้าของข้อมูล” , “ผู้ประมวลผลข้อมูล” และ “ผู้ควบคุมข้อมูล” ทั้งหมดนี้เมื่อมองย้อนกลับไปถึงตัวบริษัทเองที่มี “ลูกค้า” เป็นเจ้าของข้อมูล โดยที่มีพนักงานในบริษัทเป็น “ผู้ประมวลผลข้อมูล” และบริษัทเป็นเจ้าของข้อมูลที่ได้รับมา หรือ “ผู้ควบคุมข้อมูล” ด้วยเหตุนี้เองเมื่อบริษัทที่ต้องการข้อมูลของลูกค้า และตัวลูกค้าเองก็ผันตัวไปอยู่บนโลกออนไลน์เกือบจะเต็มรูปแบบแล้ว เป็นที่มาของการทำแบบตอบรับ PDPA ออนไลน์นี่เอง

การสร้างแบบตอบรับ PDPA ออนไลน์อย่างลืมสิ่งนี้

เช่นเดียวกับแบบฟอร์มออฟไลน์ที่กล่าวไปข้างต้น Cookie consent จะคล้ายกับรูปแบบปกติของการทำเอกสารสัญญาขอเก็บข้อมูลจากลูกค้า

เพียงแต่ว่าต้องเป็นรูปแบบออนไลน์นั่นเอง โดยถ้ามีทีมงานออกแบบที่ดีจะสามารถทำให้แบบฟอร์มรู้ว่าใคร อายุเท่าไหร่ เพศอะไร สนใจสิ่งไหนอยู่ จากการรับข้อมูลลูกค้า โดยอย่าลืมเช็คลิสต์ดังต่อไปนี้

Cyber security คือ

  • POP UP ที่โดดเด่น

การสร้างจุดที่ให้ลูกค้าตอบรับ PDPA ที่โดดเด่นจะช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงการยินยอมให้ข้อมูลได้อย่างดี เพราะทั้งหมดของการทำ PDPA ออนไลน์นั้น เป็นไปเพื่อพัฒนาเนื้อหาเว็บไซต์ และประสบการณ์ที่ดีที่สุดของลูกค้า

  • อธิบายให้ชัดเจนถึงจุดประสงค์

แน่นอนว่านอกจากมีความโดดเด่นของแบบตอบรับแล้ว การที่ย่อยข้อมูลให้กระชับ สั้น ได้ใจความเป็นเหมือนการหยิบยื่นข้อเสนอสุดพิเศษให้กับอีกฝ่าย ดังนั้นสั้น กระชับ จะทำให้ได้เปรียบ

  • มีการอัปเดตข้อมูลทางกฏหมายตลอดเวลา

นอกจาก พรบ.PDPA นั้นเป็นกฏหมายที่ออกแบบมาเพื่อครอบคลุมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล อย่างเริ่มมีกฏเกณฑ์แล้ว ยังคาบเกี่ยวกับการทำงานออนไลน์มากยิ่งขึ้น และลักษณะของโลกออนไลน์นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ทำให้กฏหมายตัวนี้ถ้าออกมาแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอด ดังนั้นการที่คอยอัปเดตแบบฟอร์มออนไลน์จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่บริษัทต้องเตรียมพร้อมรับอย่างทันที

ธุรกิจออฟไลน์ไม่ทำ PDPA ออนไลน์ได้ไหม ดูยุ่งยาก!

เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยที่หลายธุรกิจที่ขายของแบบออฟไลน์มาโดยตลอด ต้องเข้าไปดูแลส่วนที่เป็นออนไลน์โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรม

หรือการเพิ่มข้อมูลฟอร์มเข้าระบบหลังบ้านของเว็บไซต์ตัวเอง แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เราจะบอกว่า “ธุรกิจออฟไลน์ ไม่ทำ PDPA คือระเบิดเวลาเจ๊ง!” เมื่อก่อนเราคงไม่นึกไม่ฝันว่าวันหนึ่งเราจะรู้จากปากลูกค้าว่าชอบใช้ปูนยี่ห้อ A มากกว่า B เพราะ…. จากกลุ่มช่างบน Facebook ซึ่งแม้อุปกรณ์ก่อสร้างที่ดูไม่น่าทำการตลาดออนไลน์ได้ ก็ยังถูกดึงเข้ามาอย่างไม่ตั้งตัว ดังนั้น “การทำ PDPA ออนไลน์” 

ติดตั้งระบบเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์

ได้ถูกต้องตามกฏหมาย

PDPA คือ

เราเป็นโฮสต์ดูแลนโยบายของคุณ

เรามีทีมกฏหมายอัปเดตนโยบาย PDPA ให้กับคุณเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อกฏหมายตาม พรบ. รวมถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ทำให้มั่นใจได้ถึงความถูกต้อง และได้รับการอัปเดตตลอดจากกฏหมายล่าสุด

PDPA คือ

สอดคล้องกับธุรกิจของคุณ

สิ่งสำคัญของการทำ PDPA การปรับเปลี่ยนกฏเกณฑ์ได้สอดคล้องกับภาคธุรกิจที่คุณดูแล ฉะนั้นวางใจได้เลยว่านโยบายการทำ PDPA ของคุณจะสามารถปรับเปลี่ยนได้

PDPA คือ

ใช้งานได้ง่ายแม้ไม่มีไอที

เราเชื่อว่าหลายธุรกิจไม่ได้มีทีมเขียนโค้ดในการช่วยทำงานระบบหลังบ้าน เรามีทีมคอยช่วยเหลือวิธีการ แนะนำ หรือต้องการทีมช่วยเหลือคุณจนจบ ดังนั้นทำได้แม้ไม่มีไอทีแน่นอน

ปรึกษาการติดตั้ง Cookie consent บนเว็บไซต์

กรอกแบบฟอร์มเพื่อให้พนักงานติดต่อกลับ

PDPA สรุป สิ่งที่ต้องรู้ของ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA สรุป

PDPA สรุป 5 หัวข้อสำคัญสำหรับการปรับตัว ในสถานการณ์ตอนนี้ เป็นช่วงที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพราะสถานการณ์การระบาดของ ไวรัส โควิด-19 ซึ่งทำให้เราต้องปรับวิถีชีวิตมาใช้บริการทางเทคโนโลยีมากขึ้นและหลากหลายมากขึ้นนั่นทำให้เห็นว่า การจัดการข้อมูลอย่างมีมาตรฐานเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าเดิม

ปฐมบท PDPA สรุป ที่ยังไม่เริ่มต้น

หลายท่านคงจะเคยได้ยิน หรือคุ้นๆ กับคำศัพท์ชื่อ PDPA ซึ่งย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โดยจะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เรามาดูกันว่า กฎหมายฉบับนี้มันเป็นอย่างไร และมีอะไรบ้าง และหน่วยงานภาคธุรกิจต้องทำอะไร ข้อมูลในยุค Big Data ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องมี PDPA มาช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอที่จะปกป้องเจ้าของข้อมูลนั้น ๆ ไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และมีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลในกรณีที่ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

อบรม PDPA

5 สิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมตัว

  • PDPA สรุป ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกมาชัดเจน

สิ่งจำเป็นสำหรับการเริ่มทำ  พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งแรกคือการจำแนกออกว่าใครในองค์กรมีส่วนได้ ส่วนเสียสำหรับการเพิ่ม PDPA เข้ามาในกระบวนการทำงานที่เพิ่มขึ้นมา ตัวอย่างเช่น

” พนักงาน(ลูกจ้าง) ต้องมอบข้อมูลแก่ บริษัท”
(1) ลูกจ้าง รับบทเป็น เจ้าของข้อมูล
(2) ฝ่ายบุคคล รับบทเป็น ผู้ประมวลผลข้อมูล
(3) บริษัท รับบทเป็น ผู้ควบคุมข้อมูล 

  • วางแผน PDPA สรุป การทำงานที่เฉพาะเจาะจงกับแต่ละแผนก

บทบาทการทำงานกับ PDPA ของแต่ละแผนกนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการวางแผนการ รวมถึงสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะทำให้ทำงานนั้นรัดกุม รวดเร็วยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง

(1) แผนกการตลาด ต้องดูแลการเก็บข้อมูลลูกค้าผ่านแบบฟอร์มออนไลน์
(2) แผนกลูกค้าสัมพันธ์ ต้องดูแลการเก็บข้อมูลลูกค้าผ่าน Call center
(3) แผนกเซลล์ ต้องดูแลการเก็บข้อมูลผ่านเอกสารสัญญา ตอนที่ไปพบลูกค้าfirewall คือ

  • ออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ แยกประเด็นให้ออก

สิ่งต่อมาที่ต้องเตรียมตัวไว้ คือรูปแบบการรับข้อมูลของบริษัท ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องแยกแยะ เตรียมการด้านโครงสร้างก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ เช่น การเก็บการขอเก็บข้อมูลออนไลน์ ต้องมีการเตรียมระบบฐานข้อมูลลูกค้า การเก็บ Dush board หรือ การเก็บข้อมูลลูกค้าผ่านเอกสาร ต้องมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร เก็บที่ไหน ใครดูแลและได้รับมอบหมาย เป็นต้น

  • การเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบกับใครบ้าง

หลังจากการค้นพบว่าหน้าที่ของคนทำงานในแต่ละแผนกอย่างเป็นระบบแล้ว การวัดผลกระทบการทำ PDPA นั้นต้องคำนึงถึงผลกระทบสำหรับบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) เจ้าของข้อมูล (2) ผู้ประมวลผล (3) ผู้ควบคุม เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงนั้น คนทั้งสามกลุ่มจะได้รับผลกระทบก่อนเสมอ
ต้วอย่าง ถ้าหากหลังการทำตามแผนทุกอย่างแล้ว มีการอัปเดตข้อกฏหมาย PDPA ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลออนไลน์ ผู้ที่ควบคุมข้อมูล ต้องมีการอัปเดต สัญญา ข้อตกลง เพิ่มเติมไปให้กับเจ้าของข้อมูล โดยผู้ประมวลผลจะทำหน้าที่เก็บ Record ที่อัปเดตใหม่ และแน่นอนที่สุดก็คือกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป จะต้องกระทบกับทุกคนในกระบวนการเหล่านี้เป็นอันดับแรกๆนั่นเอง

  • อัปสกิลคนทำงานให้ทันกัน

ส่วนที่สำคัญที่สุด และต้องการพัฒนาทักษะ PDPA ให้ทันคือกลุ่มของคนที่ทำงานทั้ง 3 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง ถึงแม้ว่าตัวกระบวนการต่างๆของการทำ PDPA นั้นจะไม่ได้นาน และซับซ้อน แต่การสร้างการรับรู้ และเข้าใจกับพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าทุกกระบวนการข้างต้นที่กล่าวมา การฝึกอบรม หรือ คอร์สออนไลน์ จะช่วยมาตอบโจทย์การพัฒนาทักษะของพนักงานในเวลารวดเร็วนั่นเอง

กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทุกคนในสังคม เราซึ่งมีสถานะเป็น ‘เจ้าของข้อมูล’ ที่ไปใช้บริการต่าง ๆ หัวใจหลักของกฎหมายบอกว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เมื่อให้ใครไปแล้ว เขาจะต้องเอาไปใช้ตามวัตถุประสงค์และความจำเป็น คือ นำไปใช้เท่าที่บอกว่าจะใช้ ไม่เอาไปใช้งานอื่นเกินเลยPDPA คืออะไร

ทุกคนต้องมาร่วมมือกัน

ในทางปฏิบัติแล้วสิ่งที่องค์กรเล็ก หรือ ใหญ่จะต้องทำ PDPA สรุป คือ การทำ privacy policy และ การบันทึกกิจกรรมประมวลผล

เพื่อบันทึกและบอกรายละเอียดว่า เราเก็บข้อมูลอะไร จะเอาไปทำอะไร เก็บมาเมื่อไร และจะเก็บนานเท่าไร โดยองค์กรที่ต้องทำตามกฎหมายของ PDPA มีลักษณะดังนี้

  • องค์กรที่มีการเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

    ในพรบ.นี้เรียกว่า Data Controller หรือ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

  • องค์กรที่เป็นหน่วยงานที่ผู้ควบคุมข้อมูล

    ว่าจ้างให้ประมวลผลข้อมูลของลูกค้าหรือของบุคคลใด ๆ ตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล ในพรบ.นี้เรียกว่า Data Processor หรือ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

  • องค์กรที่อยู่นอกประเทศไทย แต่มีการเสนอขายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศไทย

    มีการโอนถ่ายข้อมูล หรือ เฝ้าติดตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

เลือก Solution nี่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

ลดเวลาทำงาน เพิ่มเวลาทำเงิน

PDPA Prokit

บริการเอกสาร PDPA ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ ในบริการเดียว!!

  • รวมเอกสารที่จำเป็นสำหรับ PDPA กว่า 69 รายการ
  • ลดเวลาการเตรียมระบบจาก 6 เดือนเหลือ 30 วัน
  • รับการอัปเดตกฏหมาย PDPA ต่อเนื่อง 12 เดือน
  • ปรึกษาการใช้เอกสารได้ต่อเนื่อง 30 วัน
FWaaS

บริการ Cyber Security สำหรับธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะ (FWaaS)

  • บริการออกแบบระบบ Network ให้ง่ายต่อการป้องกัน Ransomware
  •  พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ และอัปเกรดให้ทันทีที่มีระบบที่ปลอดภัยกว่า 
  • มีทีม Cyber Security ดูแล และให้คำปรึกษาตลอดอายุสัญญา
MaaS

บริการ อีเมลบริษัท ปลอดภัยสูง โดยทีม Cyber Security (MaaS)

  • บริการอีเมลโดย Private hosting เสถียรสูง ไม่หน่วง ไม่ช้า
  •  บริการโดยซอฟแวร์ Kerio technnology ที่ให้บริการในองค์กรชั้นนำในอเมริกา
  • มีทีม Cyber Security ดูแล และให้คำปรึกษาตลอดอายุสัญญา
JOTT

บริการ เก็บแชท ไฟล์เอกสาร ในแอพพลิเคชั่น LINE สูงสุด 10 ปี

  • บริการบันทึกประวัติแชท บันทึกรูปภาพ บันทึกวีดีโอ ลงบน Cloud Server
  •  โดยช่วยยืดอายุไฟล์จาก 7 วันให้สูงสุด 10 ปี ตามความต้องการของลูกค้า
  • ระบบปลอดภัยสูง เพราะมีการเข้าดูไฟล์ด้วย QR Code ในบัญชีไลน์ส่วนตัว

ปรึกษาการทำระบบ PDPA

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

5 สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้ PDPA คือ สิ่งที่ต้องปรับใช้สำหรับธุรกิจที่วางแผนทำ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

อบรม PDPA

เรียน PDPA เป็นสิ่งที่ลดเวลาการทำงานของ ธุรกิจ SMEs จนไปถึงบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการทำให้ถูกต้อง แล้ว PDPA คืออะไร 5 สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้ ต้องฟังทางนี้

Personal Data Protection Act : PDPA

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นกฏหมายที่ออกแบบมาสำหรับการเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ โดยที่มันจะรวบรวมทั้งเก็บข้อมูลของพนักงาน เก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อเป็นการเก็บหลักฐานการ “อนุญาต”ให้ข้อมูลของคนนั้น ไปใช้งาน “ป้องกัน” กรณีที่ถูกฟ้องร้องจากการใช้งาน

ข้อมูลส่วนบุคคล VS ข้อมูลส่วนบุคคลละเอียดอ่อน

ส่วนประกอบของข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนบุคคล 

  • ชื่อ นามสกุล 

  • อายุ 

  • เพศ 

  • เบอร์โทรศัพท์

ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว

  • โรคประจำตัว

  • ศาสนา

  • มุมมองทางการเมือง

  • ประวัติอาชญากรรม และอื่นๆ

 

PDPA คือ อะไร บังคับใช้

ออนไลน์ ออฟไลน์ ต่างกันยังไง?

  • PDPA ออนไลน์

คือการทำแบบฟอร์มสำหรับให้ลูกค้าตอบรับ ใบอนุญาตบนเว็บไซต์ อ่านเพิ่มเติม โดยที่ใจความสำคัญคือการนำข้อมูลลูกค้ามาประมวลผล และทำการตลาดเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า และการได้มาซึ่งพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของเรา

  • PDPA ออฟไลน์

คือการทำแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลด้วยกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน การเก็บข้อมูลสมาชิกลูกค้า โดยส่วนมากการทำเขียนนิยามทางสัญญาต่างๆนั้นจะเป็นภาษากฏหมาย โดยที่จะต้องครอบคลุมเงื่อนไข สิ่งที่ผู้ให้บริการต้องการ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนใดก็ตาม รวมถึงวิธีการที่เก็บข้อมูลตามระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด

เรียน PDPA

ทุกแผนกต้องเตรียมพร้อม

การปรับตัวครั้งนี้จะต้องสอดคล้องทั้งบริษัท โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องทางตรงกับลูกค้า

โดยที่การตลาดจะต้องดูแล Customer journey consent หรือ ตำแหน่งการจัดวางการขออนุญาตเก็บข้อมูล ทีมไอทีจะต้องดูแลบริเวณที่เก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ฝ่ายบุคคลต้องเตรียมเอกสารสำหรับให้พนักงานยินยอมเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเหล่านี้จะเป็นงานที่ไปด้วยกันทั้งทีม เพื่อจะเข้ามาสู่ยุคของ PDPA ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565

คอร์สเรียน PDPA เริ่มต้นอย่างไรดี

สิ่งที่สะดวกสบายในยุคนี้คือการ เรียน PDPA ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันมีให้เห็นและศึกษาแนวทางอย่างแพร่หลาย

แต่หลายองค์กรนั้นอยากแน่ใจว่ามีการอบรมพนักงานได้อย่างครบถ้วนหรือยัง จึงเกิดเป็นบริการ Learn PDPA ที่ออกแบบมาให้ตรงตามไลฟ์สไตล์ของพนักงาน และการรักษาระยะห่างอย่างลงตัว 

หลักสูตรพัฒนาทักษะ PDPA สำหรับพนักงาน

คอร์สเพื่อพัฒนาความเข้าใจระบบ PDPA และแนวทางปฏิบัติให้แก่พนักงานที่สนใจ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างง่าย

หลักสูตร PDPA สำหรับฝ่ายบุคคล

คอร์สเพื่อสนับสนุนการบริหารงานทรัพยากรบุคคล เพื่อสามารถจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานได้ถูกต้อง

เข้าใจ 7 หลักการของกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใจง่าย และเห็นประเด็นที่ต้องเริ่มเตรียมก่อน

เข้าใจความเสี่ยงบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนกฏหมาย และ ถาม – ตอบ เกี่ยวกับกฏหมายฉบับนี้

การเตรียมเพื่อวางแผนในองค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกรณีศึกษาได้เห็นภาพ

ออกแบบคอร์สเรียนด้วยทีมกฏหมาย เรียนจบแล้วมี Certificate

ปรึกษาคอร์สอบรม PDPA

กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้

สมัครงาน ยังไง ให้บริษัทจ่ายค่าปรับเป็นล้าน ทำได้จริง!!!

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สมัครงาน เป็นกระบวนการที่วัยทำงานเกือบทุกคนต้องเคยผ่านมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเอกสาร การเตรียมวุฒิการศึกษาต่างๆ ซึ่งหลังจากมีการประกาศใช้ PDPA ที่เป็นกฏหมายการเก็บข้อมูลลูกค้า อย่างนั้นเองรู้หรือเปล่าว่าแค่การสมัครงานก็อาจจะทำให้เราได้เงินล้านได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

ทำไมต้องใช้เอกสาร สมัครงาน

จะว่าไปเคยสงสัยหรือเปล่า ทำไมทุกครั้งที่เราต้องการ สมัครงาน ใหม่ถึงต้องมีการขอเอกสารเยอะแยะไปหมด

ทำไมเข้าไปทำงานแล้วพอจบวันก็รับเงินแบบนี้ได้หรอ??? … แน่นอนว่าได้ ถ้าหากต้องการอย่างนั้น ถ้าหลายคนเคยรับจ้างทำงานต่างๆ จ้างพิมพ์งาน จ้างตัดหญ้า จ้างขับมอไซค์ ฯลฯ ที่เป็นอาชีพที่ไม่มีรายได้ประจำ หรือ ฟรีแลนซ์ 

การที่ยืนยันตัวตน การขอเอกสารสิทธิ์ต่างๆก็ไม่จำเป็นแน่นอน แต่ถ้าพอเปลี่ยนจากพนักงานรายวัน มาเป็นการทำงานด้วยการรับเงินเดือน เข้ากรอบกฏหมายแรงงาน มีสิทธิ์เรียกร้องสิ่งต่างๆได้ด้วยหลักฐาน การสมัครงานด้วยเอกสารจะเข้ามาดูแลเราในวันที่นายจ้างอยู่ๆจะเลิกจ้าง ไม่จ่ายเงินเดือน หรือไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม ทางภาครัฐฯจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพื่อมาคุ้มครองเราได้ตามกรอบของกฏหมาย

สมัครงานสมัครงาน ใช้เอกสารอะไรบ้าง

โดยปกติการสมัครงานที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้สมัครในประเทศไทย จะมีดังนี้

  1. เรซูเม่

    เป็นการเปิดโลกให้คนที่ไม่รู้จักเรา เข้าใจใน 1 หน้ากระดาษ ดังนั้นทักษะการนำเสนอตัวเองลงกระดาษจะช่วยให้ฝ่ายบุคคลนั้นคัดกรองครั้งแรกผ่านหน้ากระดาษแผ่นนี้ได้

  2. หลักฐานการศึกษา หรือ วุฒิการศึกษา

    สำหรับเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน การมีทรานสคริปสวยๆจากเกรดในวิชาเรียนจะช่วยให้คนเห็นตัวเลขเกรดในวิชานั้นๆได้ก่อน ฉะนั้นการตั้งใจเรียนไม่ได้หมายความว่าจะทำงานได้เก่ง แต่มันอาจจะเป็นแค่ไม่กี่ปัจจัยที่ทำให้คนที่เพิ่งเจอเรารู้ถึงความมุมานะในการเรียน 

  3. ทะเบียนบ้าน

    เอกสารเหล่านี้ปัจจุบันไม่ต้องถ่ายเอกสารจากตัวเล่มจริงประจำบ้านก็ได้ ในกรณีที่ไม่สะดวกเดินทางกลับบ้านไปถ่ายเอกสาร สามารถขอคัดสำเนาได้ที่สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งบางทีมีที่ตั้งสาขาในห้างสรรพสินค้า โดยการใช้บัตรประชาชนใบเดียวยื่นไปขอคัดสำเนาเท่านั้นเอง

  4. บัตรประชาชน

    แผ่นการ์ดพลาสติกใบนี้เป็นเสมือนตัวแทนของเราเอง ฉะนั้นบัตรประชาชนใบนี้จะตามไปทุกที่ ที่ใช้การยืนยันตัวตน โดยให้คัดลอกสำเนาเพียงด้านหน้า “อย่า”คัดลอกด้านหลังไปด้วย เพราะปัจจุบันตัวเลขด้านหลังของบัตรประชาชนจะเป็นตัวยืนยันตัวเองว่าเราเป็นเจ้าของจริง ไม่ใช่ใครแอบขโมยมา ดังนั้น “ห้ามคัดลอกสำเนาด้านหลัง” 

  5. รูปถ่าย

    ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วทางแถบแสกดิเนเวียน จะไม่มีการใช้รูป 1 นิ้ว 2 นิ้วในการสมัครงาน แต่ถ้ามาตรฐานในประเทศของเราการมีรูปถ่ายยังคงจำเป็นสำหรับการเข้าทำงาน รวมทั้งการใช้รูปภาพไปติดหน้าบัตรพนักงาน และการเก็บเอกสารเข้าไปในฐานข้อมูลบริษัท

  6. ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ สด.9

    สำหรับผู้ชายเอกสารการผ่านการผ่านพันธะทางทหารจะเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทจะนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรกๆ เพราะถ้าหากต้องมีการเกณฑ์ทหาร เพราะถ้าถูกเกณฑ์ไปจะทำให้เราต้องลาออกจากการทำงานกลางคัน ในกรณีที่มีการเรียกฝึกกำลังพลของคนที่เรียน รด. บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ไปฝึกกำลังพลไม่เกิน 60 วัน

  7. ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมต่างๆ

    สำหรับคนที่เปลี่ยนงานมาหลายครั้งด้วยการอัปเกรดทักษะให้มากขึ้น ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น การมีใบรับรองการฝึกอบรมจากสถาบันต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่นายจ้างจะนำมาพิจารณาจ้าง และไม่ต้องเสียเวลามาลุ้นว่าพนักงานที่จะจ้างมาทำตำแหน่งนั้นได้ดีหรือเปล่า

  8. ใบประกอบวิชาชีพ

    ในกรณีที่ทำงานที่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ เช่น ตรวจสอบบัญชี ลงนามในการก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม หรือผู้ควบคุมอากาศยาน เหล่านี้จำเป็นต้องมีใบวิชาชีพที่กำหนดตามกฏหมายมาประกอบด้วย รวมถึงใบขับขี่ในกรณีที่ต้องใช้ยานพาหนะทำงาน

  9. พอร์ตผลงาน

    เกณฑ์การพิจารณาของกลุ่มคนทำงานด้านศิลป์ หรือ ในตำแหน่งที่ต้องมีผลงานมาพิจารณา การเก็บผลงานเด่นๆมานำเสนอให้กับว่าที่นายจ้าง จะทำให้ว่าที่บริษัทที่เราจะทำงานด้วย ได้เห็นผลงานการทำงานได้ง่าย รวมไปถึงเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่ง และค่าจ้างก็มีผลมาจากผลงานที่สะสมไว้ด้วย

  10. ใบตรวจร่างกาย

    หลายบริษัทจะมีการตรวจร่างกายเข้าทำงาน ตรวจสารเสพติด หรือเช็คประวัติอาชญากรรม โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิดบางบริษัทที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มก็อาจจะต้องตรวจ ATK ให้กับพนักงาน หรือต้องการเอกสารรับรองการตรวจหาโควิดก่อนที่จะเข้าทำงานด้วยนะ

อย่าส่งบทความนี้ไปให้นายจ้างรู้

เราจะพบว่าข้อมูลส่วนตัวของเราเกือบทั้งหมดในชีวิต ถ้าไม่รวมบัตรเครดิตและใบแจ้งหนี้ของเรา ก็ตกเป็นของบริษัทโดยเกือบชอบธรรม

ไม่รวมว่าวันหนึ่งอาจจะมีการตรวจสอบเจอว่าเราไปแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน หรือแอบเอาข้อมูลเราส่งไปให้บริษัทขายประกันโทรมาอีก..ทำยังไงดีละทีนี้ หึหึ

เลยเกิดเป็น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภค (PDPA) ขึ้นมาคุ้มครองในกรณีที่อยู่ๆบริษัทแอบเอาข้อมูลของเราไปสมัครทำอะไรที่เราไม่ต้องการ เอาไปลงชื่อเข้าร่วมแคมเปญที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เหล่านี้เรามีสิทธิ์จะฟ้องร้องค่าเสียหายจากการกระทำของบริษัท โดยการฟ้องร้องค่าเสียหายได้

โดยที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่บริษัทเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลอีเมลไปแอบตรวจเช็คบัญชีโซเชี่ยลมีเดีย หรือไปแอบสืบมาว่าเราเคยทำอะไรมาก่อนแล้วมาเป็นเหตุผลการเลิกจ้าง เหล่านี้ทำให้เราสามารถป้องกันตัวเองจากนายจ้างที่ทำอะไรไม่เข้าท่าจากกฏหมาย PDPA ด้วย

สมัครงานนายจ้างจะลืมป้องกันตัวเองตอนไหน?

จากการบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้ถ้าหากว่าเราในฐานะลูกจ้าง ก่อนที่จะให้เอกสารการสมัครงานต่างๆก็ตาม

สิ่งที่จำเป็น และต้องมีคือการมีเอกสารสัญญาฉบับหนึ่งในการบอกกล่าวเราว่าเอกสารที่ได้จากเราจะเอาไปต้มยำทำแกง อะไรบ้าง จะเอาไปเก็บไว้ยังไง เก็บที่ไหน เอาข้อมูลไปทำอะไร สิ่งไหนที่ทำได้ ทำไม่ได้ โดยแล้วแต่กฏเกณฑ์การทำงานของแต่ละองค์กร จากนั้นมีการลงชื่อว่าเรารับทราบแล้ว และได้เอกสารสำเนากลับมาเก็บไว้กลับเราเองอีกฉบับเพื่อกลับมาตรวจสอบว่าบริษัท ไม่ได้เล่นแง่อะไรกับเราเพิ่มเติม และตรวจสอบย้อนกลับในวันที่เราถูกคุกคามด้วยอะไรที่ไม่ได้ตกลงกันไว้

สรุป

ในฐานะลูกจ้างของเราการทำงานที่ตามตกลงเป็นเสมือนข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้ในวันแรกของการทำงาน นอกเหนือจากข้อตกลงถ้าหากมีการตกลงที่ชัดเจน

ก็เป็นเหมือนการยอมรับในกฏเกณฑ์เพิ่มขึ้นระหว่างการทำงาน ดังนั้นข้อมูลส่วนตัวของเราก็เป็นเหมือนหนึ่งในสิทธิ์ที่เราในฐานะลูกจ้าง ต้องปกป้องตัวเองเพื่อป้องกันตัวเองในวันที่ถูกคุกคามนั่นเอง อย่างไรก็ตามถ้าหากบริษัทของคุณยังไม่เตรียมพร้อมใบสัญญาการเก็บข้อมูลกับคุณ สามารถเริ่มต้นปรึกษาการทำ PDPA กับเรา เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย

เตรียมระบบ PDPA ให้เสร็จใน 30 วันได้ยังไง?

โดยปกติการเตรียมระบบ และเอกสารของ PDPA เพื่อปรับใช้กับตำแหน่งต่างๆในบริษัท ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการปรึกษานักกฏหมาย และการเตรียมระบบเก็บข้อมูลสำหรับแต่ละแผนก ซึ่งอาจจะใช้เวลาเตรียมตัวนาน 3-6 เดือน ทำให้เราเห็นถึงความเหนื่อยล้าของการเตรียมการที่ไม่จำเป็น จึงเกิดเป็นบริการชุดเอกสาร PDPA ที่จำเป็นสำหรับแผนกต่างๆที่ต้องใช้ในการขออนุญาตจัดเก็บข้อมูล

ลดเวลาเตรียมระบบจาก 6 เดือน เป็น 30 วัน

ปรึกษาการทำระบบ PDPA สำหรับองค์กร

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เลื่อนแล้วเลื่อนอีก คนไทยเสียประโยชน์มาก

ผ่านเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองเข้าสู่ปีเสือได้ไม่นาน ปีนี้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นปีของการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายเรื่อง ทั้งค่าครองชีพที่เปลี่ยนไป กำลังมีการเข็ญกฏเกณฑ์การเก็บภาษีเหรียญคริปโต และสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือกฏหมายที่มาดูแลข้อมูลของผู้ใช้โลกออนไลน์ หรือ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่

สิ่งหนึ่งที่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในปี 2565 อย่างแรกคือการจัดระเบียบความเป็นส่วนตัวของสากลโลก กล่าวคือในโลกอินเตอร์เน็ตนั้นมีการเก็บข้อมูลได้อย่างอิสระเสรีมานาน และเก็บได้ลึกเข้าถึงแก่น ถ้าเปรียบเทียบการเก็บข้อมูลลูกค้าของโชว์ห่วยอาแปะที่เอาของมาขาย มีอะไรใหม่ก็สุ่มๆมาขาย พอลูกค้าเดินเข้ามาซื้อก็รับเงิน ปิดการขาย ทำให้อาแปะไม่รู้ว่าลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนี้เพราะอะไร เลยสรุปไปว่าที่ปิดการขายได้นั้นเกิดจากเฮง หรือเลือกสุ่มซื้อของมาขายได้ถูก 

กลับมาที่โลกของออนไลน์นั้นมีการเก็บข้อมูลเริ่มต้นตั้งแต่เราเข้าหน้าค้นหา หน้าแรกจนกระทั่งติดตามต่อว่าเราเข้าเว็บขายของ กอไก่ จากนั้นเราไปหยิบสบู่เหลวจากร้านค้าออนไลน์นั้นใส่ตระกร้า โดยซื้อพร้อมกับเซรั่มที่กำลังจัดโปรโมชั่นอยู่ ไปถึงรู้ว่าใช้วิธีการจ่ายเงินแบบไหน จ่ายผ่าน E Wallet หรือ Credit card เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือโลกของข้อมูลที่สามารถติดตามเราได้ทุกย่างก้าว จนเกิดการเรียกร้องกับรัฐบาลในหลายๆประเทศให้เขียนกฏเกณฑ์ออกมาบ้างเถอะ ว่าขอบเขตการเก็บข้อมูลได้เบอร์ไหน ทำอะไรได้บ้าง เพื่อที่จะไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นการคุกคาม หรือ สอดแนม (เจือก) เรื่องของฉันมากเกินไป

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นโรคเลื่อน

กฏหมายฉบับนี้ถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งกำหนดเดิมของมันคือ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจเดิมที่เองจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2564 แต่ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและการระบาดของเชื้อไวรัสนี่เองทำให้รัฐบาลไทยนั้นยอมเลื่อนต่อออกไปอีกหนึ่งปีเป็นปีนี้ (ซึ่งเป็นไปได้ว่าคงไม่เลื่อนต่อไปแล้ว …มั้งนะ) 

โดยต้องยอมรับเลยว่าการเข้ามาของการระบาดครั้งนี้มันเป็นการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคใหม่เกือบจะเป็นทางการแล้ว เพราะเมื่อหลายความวิกฤติไหลมารวมกัน จะทำให้มนุษยชาติดิ้นรนหาทางออก ไปซื้อของไม่ได้เพราะหวาดกลัว ก็สั่งออนไลน์ ออกไปซื้อข้าวเที่ยงไม่ได้ก็สั่งเดลิเวอรี่ ไปทำงานไม่ได้เพราะคนในออฟฟิศติดเชื้อ ก็ต้องวีดีโอคอลกันแทน เราจะเห็นสิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนผู้อำนวยการครั้งนี้คือ “อินเตอร์เน็ต” และ “โลกออนไลน์” 

ซึ่งเราบอกไปตอนต้นแล้วว่าโลกออนไลน์นี้แหละ ที่สามารถรู้จักเราได้ทุกท้วงท่ากิริยา รู้ว่าเราชอบสั่งก๋วยเตี๋ยวต้มยำทุกวันจันทร์ อังคาร พุธ เวลา 11 โมง จากนั้นบ่าย 3 ก็เริ่มสั่งน้ำแตงโมปั่นมาส่งออฟฟิศ เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเก็บนิสัยของเรา ซึ่งเหล่านี้เองทำให้เป็นชนวนเหตุให้แน่ใจว่า ปีนี้ (2565) อาจจะไม่เลื่อนกฏหมายฉบับนี้ต่อไปแล้ว เพราะคนที่โดนผลกระทบจากการเก็บข้อมูลมันมีจำนวนมากเกินจะปล่อยผ่าน

รู้จัก พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน 30 วินาที

PDPA ( Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ฉบับนี้เกิดมาเพื่อไม่ให้เราที่เป็นคนใช้แอพต่างๆ ถูกเอาข้อมูลไปต้มยำทำแกงที่เราไม่ได้สั่ง ฉะนั้นการเก็บข้อมูลยังมีต่อไป แต่ต้องบอกเราก่อนว่าจะเอาไปทำอะไร แล้วต้องให้เราตอบตกลงหรือปฏิเสธตอนไหนก็ได้ตามแต่ใจเธอ..

ถ้าไม่เก็บข้อมูลก็เทกฏหมายนี้ทิ้งได้เลย..ไม่ผิด

ใช่แล้ว ถ้าหากเรามีเว็บไซต์ที่ต้องการแค่ให้ชาวบ้านเข้ามาเปิดดูข้อมูลเฉยๆแล้วออกไปแล้วไม่ต้องการเก็บข้อมูลอะไรของลูกค้าเลย รู้แค่มีการกดเข้ามากี่ครั้งก็พอ กฏหมายฉบับนี้ก็อาจจะไม่มีผลกับองค์กรและบริษัท เพียงแต่ทิศทางขององค์กรต่างๆเริ่มโฟกัสกับการหารายได้ทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้นกว่าการขายที่หน้าร้าน ฉะนั้นการที่อยากจะรู้ว่า เพศไหนมาดู คนอายุเท่าไหร่มาซื้อ เขาซื้อสินค้าไหนคู่กับอะไร ทำไมไม่กดจ่ายเงินซักที หรือเลื่อนอ่านถึงส่วนไหนของบทความ กดไลค์ ถูกใจ หรือโกรธ  สิ่งเหล่านี้คือเบื้องหลังของประโยชน์ถ้าหากเราปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามเกณฑ์ของกฏหมาย PDPA

บริษัทที่ขายของออนไลน์ต้องเตรียมอะไร

สิ่งที่บริษัทต้องเริ่มเตรียมตัวสำหรับทำการนี้คือการเตรียมเว็บไซต์เดิมที่มี สร้างหน้าต่าง POP UP ขอเก็บข้อมูลลูกค้า โดยที่ต้องบอกลูกค้าไปว่าการที่ขอเก็บข้อมูลนี้จะทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์อะไร แล้วจะเอาข้อมูลลูกค้าไปทำงานอะไร เก็บข้อมูลทางการตลาด เก็บข้อมูลการขาย เก็บข้อมูลในการพัฒนาบทความ อะไรก็ตามแต่ แล้วให้ลูกค้าเลือกเองว่าเขาจะอนุญาตไหม ถ้าไม่ได้ก็ต้องยอมรับในสิทธิของลูกค้า แล้วเราอาจจะเก็บข้อมูลไมไ่ด้ในบางคนที่ไม่อนุญาตนั่นเอง

สรุป

ไม่ว่าเราจะขายอะไรในยุคนี้ การค้นหาต้นเหตุของการซื้อ และพฤติกรรมของการซื้อ (Customer journey) จะนำทางให้ผู้ขายรู้ว่าควรปรับปรุงขั้นตอนไหนให้ปิดการขายได้ง่าย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ใช้คุ้กกี้ชิ้นเล็กๆ ในการเก็บข้อมูลออนไลน์ ฉะนั้นการเพิ่มเพียงนโยบายการเก็บข้อมูลเพียงเล็กน้อย จะช่วยให้ทำงานอย่างถูกกฏหมาย ไม่ต้องกลัวถูกฟ้องร้อง ก็อย่าลืมปรึกษาทีมกฏหมายในการสร้างนโยบายบนเว็บ ซึ่งทาง Prospace มีบริการสร้างคุ้กกี้เก็บข้อมูลอย่างถูกกฏหมาย และทีมที่ปรึกษามีใบอนุญาต สามารถปรึกษาข้อมูลเบื้องต้นกับเราได้โดยกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย


Reference : Source

Metaverse คืออะไร เปลี่ยนแปลงคนทำธุรกิจ และพนักงานไอทียังไง

metaverse คืออะไร2

หลังจากที่ได้ดูหนัง Sci Fi มาหลายเรื่องเกี่ยวกับโลกเสมือนแล้ว ล่าสุดมีการขับเคลื่อนของ Socialmedia ยักษ์ใหญ่ออกมาเกี่ยวกับโลกเสมือนนี้ เกิดอะไรขึ้นอีก 5 ปีต่อจากนี้ แล้วคนทำธุรกิจกับไอทีจะเปลี่ยนแปลงไปทางไหนบ้าง

Metaverse คืออะไร

ถ้าเคยดูภาพยนตร์ The matrix ที่ทำให้ทุกอย่างบนรอบตัวเป็นเหมือนโลกในจินตนาการ ก็กำลังจะกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดย Metaverse เป็นโลกที่ทำให้โลกจริง กับ โลกดิจิตอลรวมเข้ากัน โดยการเชื่อมผ่านแว่น VR และเทคโนโลยีต่างๆที่กำลังพัฒนานับต่อจากนี้

เมื่อลองกลับมาสังเกตก็พบว่าที่ผ่านมาเทคโนโลยีเรา ใกล้แยกเราออกจากโลกจริงและเสมือนไม่ได้ เช่น การใช้แอพแต่งหน้ามาแทนการลงเครื่องสำอาง เพียงไม่กี่ปุ่ม ไม่กี่ฟีลเตอร์  หรือ การที่คอมพิวเตอร์แยกตัวคนกับพื้นหลังของภาพ ออกจากกันได้ในโปรแกรมประชุมโดยผ่านเซนเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์ และการประมวลผลที่รวดเร็ว นั่นก็เป็นหนึ่งในหลายๆเทคโนโลยีที่ประสานให้เกิดโลกจริงและโลกเสมือนได้เร็วขึ้นนั้นเอง

Metaverse จะเปลี่ยนโลกธุรกิจยังไง?

ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่งเรามีคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าบ้านหนึ่งหลัง ใช้ไฟมหาศาล และมีราคาแพงจนยากจะจับจองมันได้ พอเวลาผ่านไปคอมพิวเตอร์เริ่มมีขนาดเล็กลง และเข้าถึงผู้คนได้มหาศาลหลายพันล้านคนทั่วโลก

จนปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า “สมาร์ทโฟน” ที่หลายคนเองเมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วคงไม่เชื่อว่าวันหนึ่งกระเป๋าเงินของเราเริ่มจำเป็นน้อยกว่าการถือมือถือสักเครื่องออกไปจ่ายตลาด

เมื่อลองนับไปจากนี้ 5-10 ปีเมื่อโลกเสมือนเริ่มเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น มีความเป็นไปได้ว่าเราเองจะสามารถคุยวีดีโอคอล โดยที่เราจับมือแล้วรู้สึกถึงความอุ่น จับชีพจรแล้วรับรู้ถึงการเต้นหัวใจ หรือเราจะสามารถพาใครสักคนที่เขาจากไปแล้ว กลับมาอยู่ในโลกเสมือนของเราได้นั่นเอง

สิ่งที่เกิดขึ้นจาก Metaverse ในด้านไอที

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่กำลังจะสร้างแรงสั่นสะเทือนอีกครั้ง โดยเมื่อการเข้ามาถึงของ Metaverse นั้นต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์ IoT มากมาย  การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เสถียร การดูแลความปลอดภัยทาง Cybersecurity ที่รัดกุมมากขึ้น จากการที่ผู้ใช้งานจะต้องฝากข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญกับโลกออนไลน์มากขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีจะสามารถเข้าไปโจรกรรมได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

สิ่งที่เกิดขึ้นจาก Metaverse ในด้านเจ้าของกิจการ

การเปลี่ยนแปลงจากผู้ทำธุรกิจในปัจจุบันนี้ ถ้าลองมองย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วเราเองก็ยังไม่เชื่อว่าวันหนึ่งการซื้อสินค้าออนไลน์จะเกิดขึ้นได้จริง โดยไม่ต้องเห็นเจ้าของร้านค้า ไม่ต้องเห็นสินค้าจริงๆ และมีตัวกลางในการประสานการซื้อไม่ให้ถูกโกง ถ้ามาถึงปัจจุบันในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสก็ทำให้เราเห็นแล้วว่าการซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเตอร์เน็ต รวมถึงจ่ายเงินผ่าน E wallet ที่ไม่จำเป็นต้องจับเงินสดจริงๆเลยสักบาท เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของโลกดิจิตอลนั่นเอง

โดยเมื่อการเข้ามาถึงของ Metaverse จะช่วยให้ร้านค้าต่างๆไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปสินค้าในหลายๆมุมอีกต่อไป เพียงแค่สร้างภาพสามมิติ ลูกค้าสามารถสัมผัสสินค้า สามารถเปลี่ยนสี เปลี่ยนไซล์ได้ตามใจชอบ รวมถึงการแสดงเส้นทางมาที่ร้าน บรรยากาศของร้านกด็สามารถทำได้เช่นกัน จนเป็นที่มาของการปรับตัวของเจ้าของธุรกิจ ให้มีความเป็นดิจิตอลมากยิ่งขึ้น รวมถึงการขายสินค้า Digital ที่ปัจจุบันเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ดังเช่นผลงาน NFT ในโลก Cryptocurrency นั่นเอง

สรุป

มีการประเมินไว้ว่าการเข้ามาของโลกเสมือนนี้จะเริ่มแพร่หลายมากขึ้นใน 5 ปีหลังจากนี้ การปรับตัวของคนทำงานด้านไอที คือการต้องรับรู้ และอัปเกรดข้อมูลความรู้อีกปริมาณมหาศาล ในขณะที่เจ้าของกิจการหลังจากนี้ก็มีเรื่องท้าทายมากมาย ทั้งระบบการจ่ายเงินด้วยสกุลเงินคริปโต การสร้างผลิตภัณฑ์ NFT การถือครองทรัพย์สิน และการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีให้เติบโตไปกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ทางทีมงาน Prospace เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา และต่อยอดผลิตภัณฑ์ไอทีในทุกวันเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่ามีปัญหาด้านไอทีที่มี ก็สามารถมาปรึกษากับทางเราได้ฟรี เรามีทีมงานที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆจะผลัดเปลี่ยนมาช่วยตอบทุกคนเลย

ทำไม Apple ถึงไม่ยอมให้มีการติดตาม Tracking ผู้ใช้งาน

Apple ต้องการจะปลด Application ที่พยายามขอ Tracking ผู้ใช้งานต่างๆ โดยการพยายามใช้กลโกง หลอกลวง หรือปิดกันฟีเจอร์บางอย่างถ้าไม่ยอมให้แอพใช้งาน GPS ติดตามทำไมถึงทำอย่างนั้น

สิทธิส่วนบุคคลกับการติดตามผู้ใช้

Apple แบรนด์อุปกรณ์ไอทีระดับโลก ประกาศแบนแอปพลิเคชั่นที่หาช่องโหว่ของ App Tracking Transparency และหลอกล่อผู้ใช้งานให้กดติดตาม โดยการนำออกจาก App Store หลังจากที่มีการอัพเดทระบบปฏิบัติการ IOS version 14.5 มาพร้อมฟีจเจอร์ App Tracking Transparency ที่ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะอนุญาตให้แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ติดตามการใช้งานบนเครื่อง IPhone IPad หรือไม่ 

แอปพลิเคชั่นจะสามารถทราบพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ ว่ามีความสนใจแอปพลิเคชั่นประเภทใด และเข้าเว็บไซต์ใดบ้าง ซึ่งมีหลายแอปพลิเคชั่นที่ต้องการได้รับสิทธิ์จากผู้ใช้และอนุญาตให้ติดตาม จนพยายามเสนอสิ่งจูงใจด้วยวิธีการต่าง ๆ มีการหลอกล่อให้กดปุ่ม หรือเสนอรางวัลให้ โดยทางทีมวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของ Apple ได้ทราบถึงปัญหานี้ จึงออกนโยบายว่า แอปพลิเคชั่นที่พยายามเสนอสิ่งจูงใจทางการเงินให้กับผู้ใช้เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ใช้เลือกอนุญาตให้ติดตามจะถูกแบนจาก App store โดยแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ จะต้องทำตามคำแนะนำ

วิธีป้องกันตัวเอง

  • อย่าเสนอสิ่งจูงใจเพื่อให้ผู้ใช้อนุญาตคำขอ โดยทางแอปพลิเคชั่นไม่สามารถเสนอค่าตอบแทนแก่ผู้ใช้สำหรับการอนุญาต และถ้าหากผู้ใช้กด “ไม่ให้แอปพลิเคชั่นติดตาม” ทางแอปพลิเคชั่นห้ามระงับฟังก์ชันหรือเนื้อหาหรือทำให้แอปพลิเคชั่นใช้งานไม่ได้
  • อย่าแสดงข้อความในรูปแบบเหมือนการทำงานของการแจ้งเตือนระบบ App Tracking Transparency โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างปุ่มที่ใช้คำว่า “อนุญาต” หรือคำที่คล้ายกัน เพราะจะทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิด
  • อย่าแสดงภาพหน้าต่างแจ้งเตือน หรือทำการแก้ไขดัดแปลง
  • อย่าวาดภาพที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ไปที่ปุ่ม “อนุญาต” ในการแจ้งเตือนของระบบ

ทำไมการถูกติดตามถึงอันตราย

การใช้งานบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แม้ระบบปฏิบัติการจะพยายามปิดช่องโหว่เรื่องความปลอดภัย มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น การติดตามจึงเป็นหนึ่งในเรื่องที่ละเอียดอ่อน และอันตรายสำหรับผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน โดยที่ในอดีตหลายแอพพลิเคชั่นเคยมีการแสดงตำแหน่ง GPS ของคนที่โพสต์ภาพในขณะนั้น แล้วเกิดสตอล์คเกอร์(Stalker) หรือโรคจิตที่แอบติดตามไปทำร้ายร่างกายนั่นเอง ทำเมื่อมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ จะเริ่มมีการควบคุมความปลอดภัยทางระบบมากขึ้น ทั้งการขออนุญาตเข้าใช้กล้อง ใช้พื้นที่ความจำ หรือกระทั่งขอเข้าถึงตำแหน่ง GPS เฉพาะตอนที่เข้าใช้งานแอพพลิเคชั่นด้วยเช่นกัน

สรุป

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ใช้งานมือถือที่เป็นปัจจัยที่5 ของมนุษย์ในยุคปัจจุบันคือการแข่งขันเพื่อการได้มาซึ่งข้อมูล ทั้งข้อมูลส่วนตัว รู้พิกัดการใช้งาน แอบมาเก็บข้อมูลได้ละเอียดมากขึ้น จึงเป็นที่มาของกฏหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เรียกว่า PDPA โดยที่ “ผู้ใช้งาน” ต้องอนุญาต “ผู้ให้บริการ” ต้องมีแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ชัดเจน รวมถึงมีวัตถุประสงค์นำข้อมูลไปใช้งานที่ชัดเจน เป็นที่มาของบริการจัดการด้าน PDPA แบบครบวงจรของ Prospace ที่ช่วยจัดการแบบฟอร์มการขออนุญาตใช้ข้อมูลแบบครบวงจร โดยที่สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากการกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย

อัปเดต! กฏหมาย PDPA คือกฏหมายอะไร เกี่ยวข้องกับใครบ้าง จะเริ่มใช้เมื่อไหร่กัน

เริ่มใกล้ถึงเวลาที่มีผลบังคับใช้แล้ว กับ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่วันนี้จะชวนมาตั้งประเด็นสงสัยว่า กฏหมายฉบับดังกล่าวนี้ใครที่ต้องเตรียมตัวรับข้อกฏหมาย และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง เรามีคำตอบให้ในบทความนี้

PDPA คืออะไร

Personal Data Protection Act : PDPA  พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นข้อกฏหมายที่มีใจความสำคัญในการรักษา “ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล” โดยยึดหลักความลับ ความถูกต้อง และพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคล

ซึ่งขอบเขตของกฏหมายฉบับนี้บังคับแก่การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วน บุคคลโดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล ส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร(อยู่ในประเทศไทย) รวมถึงผู้ที่อยู่ต่างประเทศแต่มีการซื้อขายบริการให้คนในประเทศ หรือติดตามพฤติกรรมการใช้งานของคนที่อยู่ในประเทศนั่นเอง

กล่าวได้ว่าธุรกิจที่เป็นต่างประเทศเช่น Social Media,  VDO streaming , เว็บขายของออนไลน์ที่ไม่ได้มีสาขาในไทย แต่ต้องการขายของหรือเก็บข้อมูลคนไทย ก็ต้องทำตามข้อกฏหมายดังกล่าวนั่นเอง 

กฏหมายนี้เกี่ยวข้องกับใครบ้าง

  1. เจ้าของข้อมูล
    ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน หรือ บุคคลที่ข้อมูลชี้ไปถึง

  2. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
    ได้แก่ หน่วยงานต่างๆ องค์กร สถาบัน โดนที่มีการแจ้งวัตถุประสงค์ วิธีการประมวลผล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล

  3. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
    ผู้ที่ทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่บุคคลนั้นไม่ใช้พนักงาน หรือส่วนหนึ่งของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” เช่น ผู้รับจ้าง Outsource เป็นต้น

  4. เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    คนที่ได้รับมอบหมายเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำหรือตรวจสอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามกฏหมาย

การออก พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีมาเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัว เพื่อในกรณีที่มีการนำข้อมูลส่วนตัว แม้บันทึกการเข้าเว็บไซต์ที่ตามสืบว่าเราอยากได้สินค้าชิ้นไหน แล้วตามไปโฆษณา สิ่งเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวเช่นกัน ในฐานะที่ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้อง “ขออนุญาต” และ “รับสิทธิ์ตามกฏหมาย” ก่อนที่จะดำเนินการนั่นเอง

สรุป

พรบ. ฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ฉะนั้นหลังจากนี้ผู้ให้บริการ หรือ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” จะต้องรับผิดชอบดูแลทั้งข้อกฏหมายที่ถูกต้อง และแบบฟอร์มการขออนุญาต โดยเฉพาะบนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่น ดังนั้นเพื่อความถูกต้องและถูกกฏหมาย อย่าลืมปรึกษาทีมกฏหมายเฉพาะทางเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม หรือ สามารถให้ทีมผู้เชี่ยวชาญทางกฏหมายเฉพาะของเราผ่านบริการ PDPA prokit ในการช่วยออกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ถูกต้อง โดยการติดต่อไว้ในแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย

Reference : Source