fbpx Skip to content

Network Protocol คือ การตัวกลางในการสื่อสารของอุปกรณ์

network protocol คือ

Network Protocol คือ ภาษาทางกลางในการสื่อสารที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยลำดับ วิธีการ และ กลไกการตรวจสอบความผิดพลาด โดยที่ผ่านชุดคำสั่งรูปแบบเดียวกัน กระบวนการเดียวกัน โดยทั่วไปในชีวิตประจำวันแล้วโพรโตคอลเองเป็นสิ่งที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันอยู่แล้วโดยถ้าหากจะมองว่าพื้นฐานของสิ่งนี้คืออะไร องค์ประกอบที่มันจำเป็นต้องมีคือมาตรฐาน ลำดับการทำงาน เวลา และวิธีการซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดของมัน เรามีโปรโตคอลที่ใช้กันในชีวิตประจำวันนั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเมื่อเราจะพูดคุยให้สุภาพมากขึ้น protocol ของการพูดคุยที่สุภาพอาจจะพูดลงท้ายด้วยหางเสียง เช่น ครับ ค่ะ ขอความกรุณา ยินดี หรือแม้กระทั่งการเขียนประโยคที่ภาษาจะประกอบด้วย ประธาน กริยา กรรม ซึ่งเมื่อรวมทั้งสามอย่างนี้แล้วในประโยคนั้นก็จะกลายเป็นโปรโตคอลของประโยคที่สมบูรณ์ ดังนั้นในชีวิตประจำวันนั้นเรามีการใช้รูปแบบที่มีมาตรฐานที่ใช้ร่วมกันอยู่มากมายในชีวิต

ทางลัดไปอ่าน

Network Protocol คือ มาตรฐาน กฏเกณฑ์ ที่ระบบคอมพิวเตอร์ใช้ร่วมกัน

Network Protocol คือ อะไร

โปรโตคอล โพรโตคอล ตามแต่ภาษาไทยจะเขียนเป็นทับศัพท์ มันเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ในทางคอมพิวเตอร์ระหว่างอุปกรณ์สองชิ้นให้เข้าใจกัน เพราะคอมพิวเตอร์นั้นมีอุปกรณ์ มีทั้งโปรแกรมในการทำงาน จำเป็นต้องมีตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ในชีวิตประจำวันของเรามันจะพบเจอการสื่อสารระหว่างกัน เช่น เราพูดคุยกับเพื่อนในภาษาไทย ภาษาจึงเป็นตัวกลางในการสื่อสาร ดังนั้นต่อให้สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ แต่ผู้สื่อสารอีกคนไม่สามารถฟังภาษาอังกฤษได้ มันก็ทำให้ภาษาอังกฤษที่เป็นโพรโตคอลนั้นล้มเหลวนั่นเอง 

จากที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าโพรโตคอลนั่นเป็นเหมือนภาษากลางที่สื่อสารระหว่างกัน โดยการสื่อสารเป็นการส่งข้อมูล (data) ถ้าหากยกตัวอย่างการสื่อสารระหว่างจอภาพ กับ ซีพียู ไม่สามารถสื่อสารกันได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องมีตัวกลางในการแปลงสิ่งที่คีย์บอร์ดสื่อสารผ่านสาย USB แล้วถูกแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ที่เป็นภาษาพื้นฐานที่รับรู้ร่วมกัน โดยการสื่อสารหลักๆของ Network protocol แบ่งเป็น 3 รูปแบบ

network protocol คือ กา่รเชื่อมโยงดิจิตอล เข้ากับมนุษย์
การสื่อสารผ่านโพรโตคอล นั้นจำเป็นต้องมีตัวกลางในการสื่อสาร โดยคอมพิวเตอร์เข้ามาทำหน้าที่เชื่อมต่อแทนมนุษย์

 

รูปแบบการสื่อสาร

การสื่อสารกันนั้นเกิดขึ้นระหว่างอุปกรณ์ อย่างน้อย 3 ชนิด โดยวิธีการสื่อสารนั้นแบ่งเป็น

  • Simplex การสื่อสารฝั่งเดียว

    การสื่อสารชนิดนี้เป็นการที่สื่อสารไปฝั่งเดียวโดยไม่ต้องตอบกลับ เป็นสิ่งที่ถูกใช้งานในช่วงแรกๆของการสื่อสาร โดยเป็นการสื่อสารไปยังฝั่งเดียวและอีกฝั่งของผู้รับสารไม่มีการตอบรับได้  ยกตัวอย่างการถ่ายทอดสดโทรทัศน์ การกระจายภาพเสียงไปยังเครื่องทีวีอ ซึ่งผู้ดูทีวีเองไม่สามารถตอบสนองกับสิ่งที่ถ่ายทอดได้

  • Half duplex การสื่อสารทีละฝั่ง

    การสื่อสารรูปแบบนี้เป็นการที่สามารถสื่อสารทั้งสองฝั่งได้ แต่สื่อสารทีละฝั่ง เป็นยุคต่อมาของการสื่อสารซึ่งเป็นการสลับฝั่งการรับสาร และตอบกลับ ไม่สามารถตอบรับไปกลับได้อย่างทันที ในการส่งสารแบบสลับนี้นิยมใช้กับการสื่อสารที่จำกัด Bandwidth จำกัดอย่างในการส่งคลื่นวิทยุนั่นเอง

  • Duplex การสื่อสารสองทาง

    การสื่อสารชนิดนี้เป็นการสื่อสารตอบโต้ได้ระหว่างกันที่มีให้เห็นได้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การถามตอบกับคนข้าง ในทางคอมพิวเตอร์การใช้งานประเภทนี้จะเห็นได้จากการคุยโทรศัพท์ การแชทกัน หรือ การดูไลฟ์ในโซเชี่ยลมีเดียที่ผู้ขมสามารถแสดงความคิดเห็นได้แบบเรียลทาม โดยเบื้องหลังการทำงานแบบนี้จำเป็นต้องมีการส่งสัญญาณที่เร็วและแรงพอ มีช่องสัญญาณการรับส่งที่มากเพียงพอที่จะสามารถทำให้ข้อมูลสองชนิดทำงานส่งไปกลับระหว่างกันได้

    รูปแบบการสื่อสารผ่าน Network protocol
    วิธีการสื่อสารกันของมนุษย์เองที่เข้ามาคุมคอมพิวเตอร์นั้นมีทั้งการส่งทางเดียว รับ หรือ สามารถมีการตอบสนองต่อการส่งข้อมูลนั้นได้

หลักการทำงาน

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าโพรโตคอลเป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิดที่อาจจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้ โดยใช้ภาษาสากลรูปแบบเดียวกัน มีกฏเกณฑ์ร่วมกัน โดยองค์ประกอบของการทำงานของระบบนี้จะแบ่งเป็นลำดับขั้นที่ชื่อว่า OSI model หรือ The Open System Interconnection ซึ่งเป็นการอธิบายสิ่งที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นสามารถคุยไปมาระหว่างกัน โดยการจัดลำดับชั้นของการสื่อสารนั้นจะถูกแบ่งเป็น 7 ชั้นตามลำดับความซับซ้อนของการใช้งาน

  • ขั้นที่ 1 Physical layer

    ขั้นนี้เป็นส่วนที่ทำในส่วนของการรับส่งข้อมูลดิบ โดยเป็นระดับที่สามารถเห็นและจับต้องได้ตัวอย่างของการสื่อสารในระดับนี้ เช่น สายไฟ สายเคเบิลที่เชื่อมต่อ เป็นต้น

  • ขั้นที่ 2 Data layer

    ขั้นนี้เป็นกระบวนการส่งข้อมูลดิบคล้ายกับในชั้นแรก สิ่งที่แตกต่างเพิ่มเติมจากการชั้นแรกคือส่งข้อมูลที่ไม่ผิดพลาดตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตผ่านสาย LAN โดยการส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้า

  • ขั้นที่ 3 Network layer

    ขั้นนี้เป็นการส่งข้อมูลระหว่าง Router และคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จะถูกกำหนดด้วย Address Resolution Protocol หรือ ARP เป็นตัวกลางในการกำหนดเลขที่ Internet protocol address ที่ทำหน้าที่กำหนดตัวตนของคนใช้อินเตอร์เน็ตให้ระบุตัวตนไม่ซ้ำกัน
    osi layers network protocol คือ การจัดการข้อมูลตามลำดับความสำคัญ

  • ขั้นที่ 4 Transport layer

    ขั้นนี้เป็นลำดับของการรับส่งข้อมูลโดยเฉพาะ ถ้าหากเป็นการรับส่งระหว่าง Switch hub และ คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จะเรียกว่า Transmission Control Protocol หรือ TCP

  • ขั้นที่ 5 Session layer

    ขั้นนี้เป็นการจัดการข้อมูลการสื่อสาร โดยหน้าที่หลักเป็นการจัดการส่งข้อมูลออกไปทั้งไปและกลับ โดยจะตรวจสอบว่าถูกส่งหรือยัง ถ้าหากขาดการเชื่อมต่อจะมีระยะเวลาที่เชื่อมต่อใหม่

  • ขั้นที่ 6 Presentation layer

    ขั้นนี้เป็นขั้นที่ทำงานอยู่ระหว่างการแปลข้อมูลเพื่อให้โปรแกรมทำงาน การเข้ารหัสข้อมูล การบีบอัดข้อมูล โดยขั้นตอนนี้ไม่มีความซับซ้อน เพราะทำงานแค่ระดับไวยากรณ์ ถ้าหากคำสั่งถูกต้องก็ทำงานได้

  • ขั้นที่ 7 Application layer

    ขั้นนี้เป็นลำดับที่ซับซ้อนที่สุด โดยเป็นการสั่งการในภาษาขั้นสูงที่เราใช้กัน เช่น การเข้าถึงไฟล์ การค้นหาบนเว็บไซต์ จะใช้โพรโตคอล HTTP โดยผ่านโปรแกรม Safari , Firefox , Edge และอื่นๆ นอกจากนี้จะมีการดึงข้อมูลในส่วน Presentation เข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วย

    osi model
    การเชื่อมต่อของข้อมูลผ่าน network protocol นั้นมีโมเดลการสื่อสารด้วย OSI model
  •  

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

 ส่วนประกอบที่ต้องมีในทุกโพรโตคอล

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าการเกิด Network protocol นั้นมีเพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ด้วยกันเองทั้งต้องการความสมบูรณ์ของการสื่อสาร รวมถึงการควบคุมการไหลของข้อมูล โดยการจะมีการสื่อสารกันผ่านองค์ประกอบด้วย

  • Message encoding (การถอดรหัสข้อมูล)

    การเข้ารหัสของข้อมูล เป็นกระบวนการแปลงข้อมูลให้สามารถส่งออกไปได้โดยแปลงจากข้อความ เสียง หรือ ชุดข้อมูลแปลงเป็นชุดตัวเลขฐานสองแล้วส่งออกไปหรือที่เรียกว่าสัญญาณดิจิตอล (เลขสองตัว 010110 รวมขึ้นเป็นองค์ประกอบ) รวมถึงเทคนิคการเข้ารหัสที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะการใช้งาน อย่างเช่นการบีบอัดข้อมูล การแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด การปรับปรุงการแสดงผลเนื้อหามีเดีย เป็นต้น

  • Message formatting and encapsulation (การจัดรูปแบบและห่อหุ้มข้อมูล)

    การจัดการรูปแบบการรับส่งข้อมูล รวมถึงวิธีการจัดระเบียบข้อมูลในการส่งจากต้นทางไปปลายทางโดยวิธีการเฉพาะ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ซึ่งโดยพื้นฐานของการส่งข้อมูลนี้จะมีส่วนหัวส่วนท้าย หรือการระบุผู้รับผู้ส่ง รูปแบบความปลอดภัยในการจัดส่งข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าสารที่ส่งไปถึงปลายทางนั้นมีความถูกต้อง และไม่ถูกดัดแปลงเปลี่ยนแปลงระหว่างทางencoding message

  • Message size (ขนาดของข้อมูล)

    การจัดการขนาดของข้อมูล ถ้าหากเรามีหนังสือหนึ่งเล่ม แต่เรามีเวลา 5 นาทีในการอธิบาย เราจะต้องแบ่งเนื้อหาเฉพาะส่วนสำคัญในการสื่อสารข้อมูล คอมพิวเตอร์ก็ทำเช่นเดียวกัน ในการบีบอัดข้อมูลเป็นส่วนๆ ส่งไประหว่างเครือข่าย สิ่งที่คอมพิวเตอร์นั้นทำแตกต่างจากมนุษย์คือสามารถจัดการความเร็วในการจัดส่งได้ตามข้อจำกัดของเครือข่าย และรักษาจราจรของข้อมูล(data traffic) ไม่ให้ติดขัด ซึ่งในบางกรณีโพรโตคอลบางตัวอาจจะมีการจำกัดความสามารถสูงสุดของข้อมูลเพื่อรักษาการทำงานส่วนอื่นๆไม่ให้มีปัญหา

  • Message timing (เวลาในการส่งข้อมูล)

    การจัดการระยะเวลาในการส่งข้อมูลเป็นการนับระยะเวลาที่ข้อความจากผู้ส่งไปถึงผู้รับที่ปลายทาง อัตราการส่งข้อความ และเวลาโดยรวมตั้งแต่เริ่มส่งจนไปถึงปลายทางนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ที่ส่งจดหมายจากตู้ไปรษณีย์ไปถึงไปรษณีย์ส่งจดหมายถึงบ้านที่ปลายทาง นับระยะเวลาเป็นจำนวน 3 วัน 4 ชั่วโมง 11 นาที แต่การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายนั้นอาจจะเหลือเพียงระยะเวลาเพียง 0.011 วินาที ซึ่งถ้าในการใช้งานเพียงคนเดียวอาจจะไม่ได้ช้าแต่อย่างใด แต่ถ้าหากมีการส่งพร้อมกันมากๆ ด้วยระยะเวลาในการทำรายการ 0.011 วินาทีพร้อมกัน 100,000,000 ล้านข้อความก็อาจจะทำให้จราจรทางข้อมูลติดขัด แล้วระยะเวลาในการจัดส่งอาจจะเพิ่มขึ้นได้นั่นเอง

    network communication failure
    หลายครั้งการส่งข้อมูลระหว่างกันนั้นมีข้อผิดพลาด เรามักจะเห็นการแจ้งเตือนจากระบบด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

     

  • Message delivery option (วิธีการส่งข้อมูล)

    การจัดการรูปแบบการส่งข้อมูลระหว่างกันนั้นมีอยู่ 5 รูปแบบ

    • Unicast (การส่งข้อมูลหาคนเดียว)

      วิธีการนี้เป็นการส่งจากเครื่องส่ง ไปหาผู้รับเพียงเครื่องเดียว เป็นวิธีการที่ถูกใช้มากที่สุด พบเห็นได้บ่อยสุดในชีวิตประจำวัน อย่างการส่งแชทหาเพื่อนอีกคน การส่งอีเมลที่ระบุปลายทาง การส่งไฟล์ให้เพื่อน

    • Multicast (การส่งข้อมูลหาหลายคน)

      วิธีการนี้เป็นการส่งด้วนคนเดียวไปหาผู้รับหลายคนในเวลาเดียวกัน เป็นวิธีการที่มีประโยชน์ ลดเวลาการทำงานลงได้มาก เราจะเริ่มเห็นได้มากในการไลฟ์สด (live steaming) การดูถ่ายทอดสดจากอินเตอร์เน็ตทีวี

    • Guranteed (การส่งข้อมูลแบบรับประกัน)

      การส่งข้อมูลชนิดนี้เป็นการส่งแบบรับประกันว่าการส่งข้อมูลนั้นถึงผู้รับโดยต้องการการรับประกัน ไม่ซ้ำ และถูกต้องที่สุด โดยกระบวนการเหล่านี้จะตรวจสอบแน่ใจว่าข้อมูลนั้นถึงผู้รับปลายทางแล้ว ถ้าหากยังไม่ถึง หรือเกิดข้อผิดพลาดประการใดก็ตาม ระบบจะมีการส่งข้อมูลเดิมซ้ำอีกครั้ง โดยวิธีการดังกล่าวนี้เราจะมีทั้งกระบวนการตรวจสอบข้อผิดพลาก กลไกการตรวจสอบข้อมูล และความถูกต้องของข้อมูล ตัวอย่างที่เราสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวันได้แก่การประชุม VDO conference การควบคุมรีโมทเข้ามาในคอมพิวเตอร์ เนื่องจากวิธีการดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องการความถูกต้องและประสิทธิ์ภาพสูงเป็นสำคัญ

      data transport
      การส่งข้อมูลจากต้นทางสู่ผู้รับนั้นมีขั้นตอนขึ้นอยู่กับรูปแบบการส่งข้อมูล ปริมาณข้อมูล และความกังวลด้านความปลอดภัย
    • Best effort (การส่งข้อมูลแบบไม่รับประกันการส่ง)

      วิธีการนี้จะสามารถส่งจากต้นทางไปถึงปลายทางได้ แต่ไม่ได้มีการรับประกันการส่ง รวมถึงอาจจะไม่มีระยะเวลาที่กำหนดในการส่ง โดยการส่งนี้นำมาใช้กับการส่งไฟล์หากัน ถ่ายโอนไฟล์ โดยการส่งนั้นจะขึ้นอยู่กับจราจรของข้อมูล (bandwidth) และปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยๆคือการโอนข้อมูล ดาวน์โหลดไฟล์หากัน ในการส่งไฟล์หากันนั้นจะส่งช้าเร็วขึ้นอยู่กับทั้งความเร็วอินเตอร์เน็ตของเราและคนที่รับข้อมูล ความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างตัวกลาง (ในที่นี้เป็นเซิฟเวอร์) ซึ่งจากตัวอย่างนี้เองข้อมูลที่ถูกส่งอาจจะมีความไม่ครบถ้วนหรือตกหล่นบ้าง แต่อย่างน้อยข้อมูลส่วนหนึ่งจะส่งมาถึงปลายทางแล้ว

    • Reliable (การส่งที่เชื่อถือได้)

      การส่งรูปแบบนี้เป็นการส่งที่ครอบคลุมที่สุด มีการรับประกันการส่งจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างสำเร็จ ไม่มีการซ้ำกัน มีระเบียบและขั้นตอน ซึ่งระบบเองจะตรวจสอบระยะเวลาที่ส่งไปปลายทาง มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ถ้าหากไม่เป็นไปตามนั้นก็จะมีการจัดส่งซ้ำหรือแจ้งให้ผู้ส่งข้อมูลรับทราบถึงปัญหาของการจัดส่งข้อมูล โดยการจัดส่งด้วยวิธีนี้จะใช้งานในงานที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำสูง อย่างการควบคุมเครื่องจักร ควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ การโอนเงินผ่านแอพพลิเคชั่น

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

firewall

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล​​

  • Firewall subscription model
  • ดูแลระบบโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาต
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีทีมงานดูแลระบบให้ตลอดอายุการใช้งาน

ปรึกษาการทำระบบ Cyber Security

กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้