fbpx Skip to content

Network storage แบบไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ ช่วยให้ข้อมูลเสถียร เหมาะกับงบประมาณ

network storage

การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกบริษัท โดยระบบการเก็บข้อมูลที่เลือกใช้มีความหลากหลายแตกต่างออกไป โดยผ่าน Network storage ทั้งระบบภายในเก็บข้อมูลผ่าน Database server หรือเก็บใส่ cloud ที่เรียกว่า Storage area network แล้วรูปแบบไหนเหมาะกับบริษัท รูปไหนเหมาะกับใช้งานในบ้านบ้าง มาดูรูปแบบการใช้งานกันเลย

การเก็บข้อมูลในบริษัทมีแบบไหนบ้าง

การใช้งานข้อมูลของบริษัทนั้นมีรูปแบบการจัดเก็บหลักๆอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ 1) การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล DAS  2) การเก็บข้อมูลไว้ในเครือข่ายของบริษัท NAS  3) การเก็บข้อมูลไว้ในศูนย์เก็บข้อมูล SAN ซึ่งทั้งสามวิธีนี้มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละองค์กร

  • การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล Direct attached storage : DAS

การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นการสร้างพื้นที่จัดเก็บบนไฟล์ Server ภายใน โดยการเข้าถึงไฟล์นั้นจำเป็นต้องเข้าผ่าน LAN แล้วเปิดไฟล์มาที่เครื่อง Server วิธีการนี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก มีข้อมูลไม่มากและการเข้าถึงข้อมูลอยู่เฉพาะภายในบริษัท ถ้าปิดเครื่อง Server ทุกอย่างจะหยุดนิ่งทันที

  • การเก็บข้อมูลไว้ในเครือข่ายของบริษัท Network attached storage :  NAS  

การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการดังกล่าวจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์เก็บข้อมูลโดยตรงเข้ากับระบบเครือข่ายโดยไม่ผ่านเครื่อง Server ดังนั้นความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลคือสามารถเข้าถึงไฟล์ได้ผ่านอินเตอร์เน็ตภายนอก โดยบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ไม่ได้มีความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูลมาก จะเลือกใช้วิธีการนี้เนื่องจากประหยัดในการบำรุงรักษา แต่เก็บข้อมูลได้ในปริมาณที่จำกัด

  • การเก็บข้อมูลไว้ในศูนย์เก็บข้อมูล Storage area network : SAN 

การเก็บข้อมูลด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างฟาร์มเก็บข้อมูลหรือเรียกอีกอย่างว่า cloud ส่วนหญ่จะตั้งอยู่ในสถานที่ที่มีความพร้อมด้านการส่งข้อมูลผ่าน Fiber โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีดังกล่าวนั้นเหมาะสำหรับบริษัทที่มีข้อมูลเก็บปริมาณมาก และไม่ต้องการจะมาดูแลระบบตลอดเวลา ทำให้บริษัทเริ่มเก็บข้อมูลผ่านระบบคลาว แทนที่จะใช้ระบบเก็บข้อมูลแบบเดิมที่ผ่านมา เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการได้หลากหลาย เช่น การจ่ายค่าเช่าเท่าที่ใช้จริง และความสามารถในการใช้ข้อมูลในส่วนต่างๆนั่นเองทำให้การเก็บข้อมูลส่วนใหญ่ขององค์กรจึงเป็นการเลือกระบบ NAS หรือ SAN แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร?

zero trustระบบไหนถึงเหมาะสมกับการใช้งานในเครือข่าย

โดยปกติแล้วการเลือกจัดเก็บข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลที่ต้องการ ความซับซ้อนของการจัดเก็บข้อมูล และความเสี่ยงที่ต้องยอมรับต่างๆในการเลือกใช้งาน

ชนิดของการเก็บข้อมูล (source)

NAS

SAN

วิธีเก็บข้อมูล

เก็บข้อมูลเป็นไฟล์

เก็บข้อมูลเป็น Box

ปริมาณข้อมูล

ปริมาณที่จำกัด

เก็บได้ไม่จำกัด

ความเร็วในการส่งข้อมูล

ขึ้นอยู่กับแพกเกจอินเตอร์เน็ต

ความเร็วสูง

ความเสี่ยงของข้อมูล

ต้องดูแลเอง

มีบริการดูแล

ต้นทุนการดำเนินงาน

ถูกและดูแลเอง

ต้นทุนสูง

เหมาะสมกับ

ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง

ธุรกิจขนาดใหญ่และศูนย์ข้อมูล

ความปลอดภัยข้อมูลแบบไหนที่เหมาะสม

แน่นนอนว่าการเก็บข้อมูลในระบบนั้นไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง หรือ เก็บข้อมูลบนคลาว สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อมาคือระบบที่ใช้รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในมีความเสถียรและปลอดภัยจริงๆหรือเปล่า ถ้าหากลองดูโครงสร้างของ Network storage แล้ว เราจะพบว่าต่อให้ข้อมูลได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย แต่ระบบเครือข่ายในองค์กรมีไวรัส หรือ มัลแวร์แฝงอยู่ ก็จะทำให้ตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรมข้อมูลที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน

network storage

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเก็บข้อมูลในรูปแบบใดก็ตาม ต้องมีการออกแบบความปลอดภัยของข้อมูลไม่ต่างกัน กล่าวคือการวางระบบความปลอดภัยของ Network นั้นต้องมีการเตรียมมาให้สอดคล้องกับการทำงานบริษัท เช่น ถ้าระบบทำงานจากภายนอกออฟฟิศบ่อยๆ การออกแบบ firewall ก็จะเป็นแนวทางการให้เข้าถึงข้อมูลน้อยที่สุดแต่ยืนหยุ่นให้เข้าได้จากทุกที่ แล้วระบบฐานข้อมูลจึงต้องเลือกระบบคลาวแทนการวางฐานข้อมูลไว้ในบริษัท เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะสอดคล้องกับการทำงาน การเลือกใช้ระบบฐานข้อมูล และการรักษาความลับของบริษัท ซึ่งบริการ Firewall as a Service จะช่วยเข้ามาจัดการระบบ Network ให้กับบริษัทที่มีความต้องการความปลอดภัยทางไซเบอร์แต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ

FWaaS advantage

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค Zero trust

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล

ปรึกษาการทำระบบ Cyber Security

ทีมงานจะติดต่อกลับไป