fbpx Skip to content

Cybercriminals อาชญากรรมทางไซเบอร์บนโลก Metaverse จะเป็นยังไงต่อไป

Cyber meta Main

เมื่อ 10 ปีที่แล้วเราคงพอจะจินตนาการภาพไม่ออกว่าวันนึงเราจะใช้มือถือเครื่องเดียว ไปเที่ยวได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องจับเงินกระดาษ และเงินเหรียญได้เลยแล้วถ้าบอกว่าอีก 10 ปีข้างหน้าเราจะมีบ้านท่ามกลางหุบเขาที่มีสูดโอโซนได้เต็มปอดในทุกวัน พร้อมกับนั่งประชุมงานกับเพื่อนร่วมงานที่ห่างออกไป 1 หมื่นกิโลเมตรแบบสัมผัสชีพจรกันได้

…คงยากจะจินตนาการ แต่กำลังจะเป็นไปได้ด้วยโลกเสมือน Metaverse 

Metaverse จะเชื่อมต่อโลกทั้งสองใบเข้าด้วยกัน

หลายคนที่เคยเล่นเกมส์ออนไลน์ เก็บ Level ซื้อขาย Item ซึ่งกันและกันหรือแม้แต่หลงรักตัวละครเสมือนในเกมส์ ที่มีเบื้องหลังเป็นคนควบคุมมันอยู่ จนหลายคู่เกิดการคบหาดูใจในชีวิตจริงก็มีมาให้เห็นไม่น้อย

จนกระทั่งการประกาศพัฒนาโลกเสมือนของเจ้าพ่อ Social Media ที่จะร่วมมือกับนักพัฒนาในการทำให้โลกจริงและโลกเสมือนเชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ ซึ่งต้องมีการระดมความคิด และนักวิจัยหลายแขนง ทั้งพัฒนาข้อจำกัดอินเตอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐาน ความเร็วของคอมพิวเตอร์ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ อุปกรณ์อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง Internet of Things : IoT 

ดูเหมือนว่าการพัฒนานี้ถ้าเปรียบอินเตอร์เน็ตเป็นพระเอกของเรื่อง ฉะนั้นอุปกรณ์ IoT ที่เป็นเครื่องมือที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต มันเสมือนนางเอกของการพัฒนาเทคโนโลยี่โลกเสมือนชิ้นนี้เลยทีเดียว ทั้งความสะดวกสบายของอุปกรณ์เหล่านี้นี่เอง เป็นที่มาของแฮกเกอร์ที่อยากจะเข้าไปตักตวงผลประโยชน์ โดยเฉพาะการเรียกค่าไถ่ระบบ หรือ Ransomware นั่นเอง

ดาบสองคมของ IoT

โดยหัวใจหลักของอุปกรณ์ Internet of Things นั้นคือ การเชื่อมต่อไร้สาย ซึ่งสะดวกและเปราะบางมากที่สุด ซึ่งวิธีการที่ Hacker ใช้เจาะเข้าระบบเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่ซับซ้อนเหมือนระบบ Firewall 

  • วิศวกรรมย้อนกลับ

อุปกรณ์ Iot เหล่านี้เบื้องหลังคือคอมพิวเตอร์ตัวจิ๋วที่มีการประมวลผลด้วยสมองที่เรียกว่า CPU ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานซื้อมาใช้แล้วจะมีการตั้งค่ารหัสผ่านเข้าไปในระดับโปรแกรม แต่ระดับฮาร์ดแวร์อย่าง CPU นั้นการจะมาตั้งรหัสผ่านต่างๆใหม่ คงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบมาปรับเปลี่ยนการตั้งค่า ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้อย่างแน่นอน ทำให้เมื่อแฮกเกอร์นั้นกลับไปเปิดดูคู่มือสถาปัตยกรรมของรุ่น CPU เหล่านี้จากอินเตอร์เน็ต จะพบรหัสผ่านเข้าระบบที่เป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงานได้อย่างง่ายดายนั่นเอง

  • Password เจ้าปัญหา

นอกจากระบบฮาร์ดแวร์แล้วสิ่งที่เป็นความน่ากังวลต่อมาคือผู้ใช้งานตั้งรหัสที่คาดเดาง่ายนั่นเอง ทั้งการตั้งชื่อและรหัสผ่านเดียวกันในทุก Application และ Platform หรือตั้งตามวันเดือนปีเกิดเหล่านี้ เป็นสิ่งที่แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายนั่นเอง

-ไม่ใช้ Username และ Password เดียวในทุกๆแพลตฟอร์ม
ในโลกออนไลน์นั้นทุก Application มีความเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลได้ทั้งหมด ฉะนั้นปัญหาต่อมาคือเมื่อถูกขโมยจากที่หนึ่ง อาจจะมีการสุ่ม Login จากช่องทางอื่นๆได้เช่นเดียวกัน กรณีดังกล่าวการตั้งรหัสผ่านที่ไม่เหมือนกัน หรือใช้ Two authentication ก็จะช่วยในกรณี่นี้ได้

-ไม่จดรหัสผ่านไว้ใน Application 

อีกหนึ่งเคสที่เริ่มโด่งดังขึ้นในช่วงที่สกุลเงินดิจิตอลเป็นที่นิยมบนโลกนี้ คือการจดศัพท์ 12 คำสำหรับกู้รหัสผ่านบัญชี Digital wallet นั่นเอง โดยเหยื่อที่ถูกขโมยเงินออกจากบัญชีมีหลายคนที่เกิดจากการจดข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือนั่นเอง ฉะนั้นการจดใส่กระดาษแล้วเก็บไว้ในที่ปลอดภัยจะช่วยแก้ปัญหาการถูกขโมยได้

  • Bluetooth เจ้าปัญหา

บลูธูธเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของ IoT ด้วยการกินแบตเตอรี่ที่ต่ำ และกระจายอยู่ในวงกว้างได้ ความสะดวกสบายนี้ก็นำมาซึ่งปัญหาได้เช่นเดียวกัน เพราะผู้ที่อยู่ในระยะ 20-30 เมตรของอุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ได้ง่ายนั่นเอง โดยอุปกรณ์ชิ้นแรกๆที่ถูกพุ่งเป้าหมายในการโจมตีคืออุปกรณ์ลำโพงอัจฉริยะ ที่สามารถเป็นทั้งตัวรับเสียงไมคโครโฟน และตัวกระจายเสียงนั่นเอง เมื่อนำอุปกรณ์เหล่านี้มาไว้ในที่ส่วนตัว ก็อาจจะถูกดักฟังเสียงได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นการตรวจให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ไม่ได้มีการเปิดให้ค้นเจออยู่ตลอด จะช่วยป้องกันการถูกแฮกเกอร์เข้ามาได้นั่นเอง

ความเป็นส่วนตัวที่เปลี่ยนไป

สิ่งที่ปฏิเสธความสะดวกสบายของอุปกรณ์ IoT ที่เริ่มจะรู้ใจเราไปทุกเรื่อง เช่น อากาศร้อนก็ช่วยเปิดแอร์ ฟ้ามืดก็ช่วยเปิดไฟ นมในตู้เย็นหมดก็ช่วยสั่งจากร้านค้า หรือแม้กระทั่งตัวใจเต้นเร็วก็ช่วยเก็บข้อมูลไปให้แพทย์ประจำตัววินิจฉัยโลก เหล่านี้จะทำให้ความเป็นส่วนตัวของทุกคนเริ่มหมดไป ซึ่งเบื้องหลังของอุปกรณ์เหล่านี้คือผู้ให้บริการต่างๆนั่นเอง 

จะเป็นยังไงถ้าหากมีโปรโมชั่นข้าวผัดกะเพราไก่มาเสนอในแอพในวันที่ AI รู้ว่าเราไม่ทำอาหารเย็น จากการติดตามพฤติกรรมประจำวันของเรา หรือ โปรโมชั่นโปรแกรมตรวจเบาหวาน ในวันที่ระดับน้ำตาลในเลือดเราสูงกว่าค่าเฉลี่ยเป็นเวลานาน สิ่งเหล่านี้จะตามมาด้วยการเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งแลกมาด้วยอุปกรณ์ที่รู้ใจเราเก่งขึ้นนั่นเอง

สรุป

แม้ในวันนี้อินเตอร์เน็ตเป็นเสมือนอาหารที่ต้องได้รับมาในทุกวัน ซึ่งต่อไปอินเตอร์เน็ตและปัญญาประดิษฐ์อาจจะเปรียบเสมือนอากาศที่เราต้องหายใจเข้าออก ซึ่งอากาศนั้นมีทั้งอากาศดี และอากาศผสมมลพิษมากมาย เมื่อวันที่ Metaverse ค่อยๆคลานเข้ามาหาเรานั้น ก็เสมือนแฮกเกอร์ก็เริ่มขยับเข้าใกล้เรามากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงเป็นโจทย์ท้าทายทั้งวิศวกรรมด้านระบบ และด้านความปลอดภัยที่ต้องพัฒนาต่อๆไปไม่มีสิ้นสุด

ซึ่งถ้าหากว่าผู้อ่านต้องการจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโลก Metaverse และการพัฒนาด้านระบบ IoT กับทาง Prospace ก็สามารถแลกเปลี่ยน และฝากคำถามทางไอทีไว้กับเราได้ที่นี่ โดยที่ทางทีมงานและอาสาสมัครจะช่วยเข้ามาแลกเปลี่ยนตอบคำถามให้กับทุกท่านเลย

References :
Source1
Source2