Warehouse ปัจจุบันนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการใช้เทคโนโลยีในการตรวจสตอคนั้นเป็นยาสามัญประจำบ้านเลยทีเดียว ทั้งการตรวจนับ การ Tracking ล็อตสินค้า ด้วยอุปกรณ์อย่าง Tablet ที่เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั่นเอง และหัวใจสำคัญของการทำงานนี้คือ ตัวรับสัญญาณ wifi ที่เสถียร และเข้าถึงในทุกมุมของโกดัง เพื่อให้มั่นใจว่าทุกการใช้งานไม่มีสะดุดจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ WiFi Analyzer ในการเข้ามาวิเคราะห์สัญญาณ จุดบอดอับของสถานที่เพื่อปรับปรุงจุดวางสัญญาณ เพิ่มอุปกรณ์ผ่านการใช้อุปกรณ์วิเคราะห์ข้อมูล
จุดอับสัญญาณ WiFi
โดยปกติแล้วระบบไวไฟนั้นเป็นการกระจายออกจาก ตัวรับสัญญาณ wifi เป็นวงกลมรอบๆตัวเครื่อง มันก็เลยทำให้บริเวณไม่เกิน 10-20 เมตรจากเครื่อง ก็ใช้งานได้ปกติ แแต่ปัญหาก็คือการวางสินค้าแต่ละครั้งเราคำนึงถึงหลักการวางของให้ง่ายต่อการนำเข้าออก และวางซ้อนกันในแนวตั้ง ทำให้หลายจุดที่มีอุปกรณ์ หรือของมาขวางนั้นเกิดจุดอับสัญญาณนั่นเอง
วิธีการแก้ปัญหาแบบคนทั่วไปคือการเพิ่ม Access Point ตรงจุดนั้นเพิ่มอีกตัวนึง ซึ่งบางทีในจุดอับดังกล่าวอาจจะเป็นบริเวณที่สามารถเดินสายอินเตอร์เน็ตเข้าไปได้ง่าย และจะไม่คุ้มทุนกับการลงทุนเพิ่มนั่นเอง ในกรณีนี้มันเป็นปัญหาที่แก้ได้ด้วยการนำอุปกรณ์ตรวจคลื่นอากาศที่จะสแกนช่อง และ traffic ของคลื่นสัญญาณ เพื่อนำมาวิเคราะห์ดูปัญหา ปรับ config หรือปรับตำแหน่งการวางใหม่ ก็เพียงพอแล้ว
ตัวรับสัญญาณ WiFi หลุดบ่อย ไม่เสถียร
โดยปกติไวไฟหลุดนั้นมีมากมายหลายสาเหตุ ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน
ปัจจัยภายนอก
การที่ไวไฟหลุดบ่อยนั้นถ้ากรณีที่ไวไฟมีสัญญาณอ่อนอยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นมา ไม่รวมทั้งมีคลื่นแทรก เช่น คลื่นเตาอบไมโครเวฟ คลื่นWiFiของเร้าเตอร์ที่ตั้งใกล้เคียงกัน ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้การเชื่อมต่อยากเหมือนคุยกับอีกคนท่ามกลางเพลงดังๆนั่นเอง
ปัจจัยภายใน
นอกจากนี้การเกิดปัญหาทางเทคนิคก็เป็นปัญหาที่ทำให้ผู้ใช้ถูกเอาออกจากระบบเช่นเดียวกัน ทั้ง IP address ที่ต่อใหม่ ชน กับ IP address ที่มีอยู๋ในระบบ ทำให้เร้าเตอร์ต้องเปลี่ยน IP ให้ชั่วขณะ ก็ทำให้ไวไฟที่เราใช้หลุดนั่นเอง ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างและการตั้งค่า เช่น เครื่องรับเน็ต (Router) ส่งสัญญาณไปให้ เครื่องกระจายสัญญาณ (Repeater) แต่ช่างอินเตอร์เน็ตดันตั้งค่าให้เครื่องรับเน็ตสุ่มออก IP address ให้ผู้ใช้งาน ขณะที่ Repeater ก็สุ่มออก IP address ให้ผู้ใช้งานเหมือนกัน ก็ทำให้มีโอกาสเกิดสุ่มออกมาเป็นเลขเดียวกัน ทำให้มีฝ่ายหนึ่งต่ออินเตอร์เน็ตไม่ได้นั่นเอง
ปัญหากับการไม่ใช้ WiFi Analyzer (วิเคราะห์จุดอับสัญญาณไวไฟ)
การติดตั้ง WiFi สำหรับการใช้ในอุตสาหกรรมนั้นสามารถทำได้ทั้งการใช้การติดตั้งเครื่องกระจายสัญญาณโดยมีการทำเหมือน router ที่เชื่อมสาย LAN ได้ เพียงแต่ความแตกต่างจะอยู่ที่ระยะของสัญญาณจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีความเข้มเพียงพอกับการใช้งานได้จริงหรือเปล่า สามารถเชื่อมต่อได้เพียงพอกับการใช้กับอุปกรณ์มากมายหรือเปล่า โดยปัญหาคลาสิกที่พบจอได้จะมีตัวอย่างดังนี้
หนึ่งชั้นใช้ไวไฟคนละชื่อ
กล่าวมาข้างต้นว่า ไวไฟนั้นมีข้อจำกัดการใช้งานอยู่มากมาย ความเร็วไวไฟก็จำกัดจำเขี่ย หนึ่งเร้าเตอร์ก็จำกัดว่าคนเข้ามาต่อได้กี่คน เลยทำให้หอพักเดียวกันมีไวไฟหลายจุดหลายชื่อให้เชื่อมต่ออย่างปวดหัว เช่นหนึ่งโกดังอาจจะมีตัวปล่อยสัญญาณ 6 ตัวก็แบ่งเป็น Wifi_Warehouse1 , Wifi_Warehouse2 ,Wifi_Warehouse3 ต่อๆกันไปซึ่งทำให้นอกจากคนทำงานก็จะปวดหัวตอนที่เดินไปอีกฝั่งแล้วไวไฟเดิมหลุด พอตัวกระจายสัญญาณไวไฟมีปัญหาก็จะไม่รู้ว่าตกลงปัญหามาจากตัวไหนกันแน่นั่นเอง
ตั้งชื่อไวไฟเดียวกันแต่สัญญาณทับกันหมด
หลายครั้งการแก้ปัญหา SSID ชื่อไวไฟเดียวกันหมดเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาทางออกที่เชื่อมต่อครั้งเดียวใช้ได้ทุกตำแหน่งได้แบบแมนนวล แต่พอการใช้จริงนั้นมีปัญหาการเชื่อมต่อด้วยวิธีการนี้มากมาย ตั้งแต่การเชื่อมต่อสัญญาณเดิมจากเครื่องเร้าเตอร์เดียวกันจนกระทั่งสัญญาณเหลือขีดเดียวจนแทบใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้ก็ไม่กระโดดไปใช้ SSID ที่มีสัญญาณแรงกว่า แน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วยอุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยีใหม่อย่างการ Bridge , Roaming หรือ อุปกรณ์ชนิดเดียวกันที่มีเทคโนโลยีโยนให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อไปใช้เร้าเตอร์ที่มีสัญญาณดีกว่านั่นเอง
แก้ไขสัญญาณ WiFi-Roaming ตามหลักวิศวกรรม
เทคโนโลยีดังกล่าวมีใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า มหาวิทยาลัย ฮอลล์ คอนเสิร์ต ไวไฟงานอีเว้นท์ที่ทำนั่นเอง โดยวิธีการเป็นการเชื่อมต่อครั้งเดียว แล้ววางเร้าเตอร์ที่กระจายสัญญาณตามจุดที่ถูกต้อง ทำให้ใช้งานได้ครอบคลุมทั้งอาณาบริเวณที่ต้องการ โดยการทำวิธีดังกล่าวนั้นถ้าหากทำด้วยตัวเองมีข้อแนะนำดังนี้
1) ติดตั้งให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
การวางอุปกรณ์ที่ต้องการทำ roaming ใกล้กันเกินไปจะทำให้คลื่นนั้นรบกวนกัน ทำให้พอเชื่อมต่อสัญญาณแล้วจะทำให้สัญญาณหลุดหรือความเร็วดรอปลงโดยถ้าหากจัดวางให้ตรวจสอบระยะคลื่นไวไฟของทั้งสองตัวว่ามีความทับซ้อนกันไม่เกิน 15-20% ของระยะกระจายคลื่นปกติ
2) ไม่ตั้งอุปกรณ์ใกล้กันเกินไป
การวางอุปกรณ์ที่ต้องการทำ roaming ใกล้กันเกินไปจะทำให้คลื่นนั้นรบกวนกัน ทำให้พอเชื่อมต่อสัญญาณแล้วจะทำให้สัญญาณหลุดหรือความเร็วดรอปลง
3) ไม่ตั้งอุปกรณ์มากเกินไป
การติดตั้งสัญญาณ WiFi นั้นไม่ควรตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่มากเกินไป เพราะนอกจากไม่มีประโยชน์ด้านการใช้งานแล้ว ยังทำให้คลื่นเกิดการแทรกซ้อนกันจนทำให้การเชื่อมต่อมีปัญหา
4) ไม่ปล่อยคลื่น WiFi หลายสัญญาณ
โดยปกติหนึ่งเครื่องเร้าเตอร์จะสามารถปล่อยสัญญาณได้หลายคลื่น (2.4GHz/5GHz) ทำให้พอทำการ roaming สัญญาณกันแล้วคลื่นจะเกิดการทับซ้อนกัน
![WiFi analyzer](https://prospace.services/assets/uploads/2022/10/wifi-roaming-หนึ่งเครื่องหลายคลื่น1.png)
![](https://prospace.services/assets/uploads/2022/10/wifi-roaming-หนึ่งเครื่องหลายคลื่น-2-1.png)
![](https://prospace.services/assets/uploads/2022/10/wifi-roaming-หนึ่งเครื่องหลายคลื่น-3-1.png)
5) เร้าเตอร์รุ่นเดียวกัน ซอฟแวร์เวอร์ชั่นเดียวกัน
ตามเทคโนโลยีในปัจจุบันการทำ WiFi roaming ส่วนมากเป็นการกระจายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์รุ่นเดียวกัน ซอฟแวร์เวอร์ชั่นเดียวกัน ทำให้ยังเป็นข้อจำกัดการใช้งานอยู่นั่นเอง
![ตัวรับสัญญาณ wifi](https://prospace.services/assets/uploads/2022/05/wifi-setup.png)
บริการตรวจสอบคุณภาพ WiFi
WiFi analyzer for Industrial network
คลังสินค้าหลายแห่งเริ่มเปลี่ยนแปลงระบบคลังสินค้าโดยใช้อุปกรณ์อย่าง Tablet ในการตัดคลังสินค้าแบบ Realtime ซึ่งลดความผิดพลาดจากการตรวจนับ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้สัญญาณ WiFi ภายในที่เสถียร และปลอดภัย เป็นที่มาของการเริ่มทำระบบ WiFi Stock management ให้ปลอดภัยสูง
- ปรับปรุง WiFi ภายในโรงงาน
- ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียด
- ตรวจเช็คสัญญาณที่ึทับซ้อนกัน
ปรึกษาการทำระบบ WiFi อย่างมีประสิทธิภาพ
ทีมงานจะติดต่อกลับไป