fbpx Skip to content

อินเตอร์เน็ต Fiber optic มีความเร็วสูงสุดเท่าไหร่

Main-optic-phmnu15oy1j9y1s621i4cirfh18nvvyx743xmw6i9c

ถ้าเรามองย้อนกลับไปถึงการเติบโตของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เราจะเห็นยุคที่ต้องใช้สายโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อโมเด็มผ่านสายทองแดง การเชื่อมต่อแต่ละครั้งต้องใช้เวลาหลายนาที ก่อนที่เริ่มต้นใช้ได้จริงๆ จนไปเป็นการพัฒนาเป็นสายเคบิล และผ่าน Fiber optic แบบปัจจุบันมันมีอะไรบ้าง

สายทองแดงโบราณ Dial up

ในยุคแรกของการมีอินเตอร์เน็ตเรามีการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นเราต้องทำการต่อสายเข้าไปที่องค์การโทรศัพท์

เพื่อให้มีการตอบรับก่อน ทำให้ต้องเลือกระหว่างการใช้โทรศัพท์ กับ การใช้อินเตอร์เน็ตในยุคแรกนั้นความเร็วอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุด 56 Kbps หรือคิดง่ายๆว่าการดาวน์โหลดเพลง mp3 (3 MB) สักเพลงอาจจะใช้เวลาถึง 8 นาที ทำให้ในยุคนั้นการได้เพลงสักเพลงมานั้นยากลำบากเหมือนการจีบใครสักคนที่ต้องใช้เวลานานกว่าปัจจุบัน

สายทองแดงยุค DSL (Digital subscriber line)

การพัฒนาในช่วงต่อมาก็ยังคงมีการใช้ตัวกลางเป็นสายทองแดง (เหมือนยุคแรก)

แต่มีการพัฒนาเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีที่แบ่งการเชื่อมต่อด้วยระบบอานาลอค กับ ดิจิตอลออกจากกัน ทำให้พอเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเราไม่จำเป็นต้องเลือกว่าจะต้องตัดการเชื่อมต่อโทรศัพท์บ้านออกจากกันหรือเปล่านั่นเอง โดยยุคนี้จะเป็นช่วงการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างแพร่หลายมากขึ้น และโทรศัพท์บ้านก็ถูกลดบทบาทการใช้งานลงเช่นเดียวกัน 

  • อินเตอร์เน็ตแบบ ADSL

ข้อสังเกตของอินเตอร์เน็ตตามบ้านในยุคเทคโนโลยีนี้ ผู้ให้บริการจะออกโปรโมชั่นเน็ตความเร็ว 10 Mbps / 1 Mbps

ซึ่งสังเกตว่าค่าดาวน์โหลดนั้นมีมากกว่าอัพโหลดได้อย่างเห็นได้ชัด เป็นการแบ่งสัญญาณให้โทรศัพท์สายนั่นเอง ซึ่งในยุคนั้นตามบ้านเราเน้นการเปิดเว็บไซต์ เปิดฟังเพลงและคลิปวีดีโอ ที่เป็นการดาวน์โหลดข้อมูลทั้งสิ้นนั่นเองจึงทำให้กลุ่มที่ต้องการโยนไฟล์ขึ้นระบบมากๆต้องใช้บริการสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะที่เรียกว่า SDSL

  • อินเตอร์เน็ตแบบ SDSL

สำหรับในอดีตนั้นการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลหาคนอื่นในปริมาณมากๆ

เช่น การใช้วีดีโอคอลระหว่างประเทศ การส่งไฟล์เข้า Server ต่างๆนั้นทำโดยการเลือกใช้เทคโนโลยีที่แบ่งสัญญาณในปริมาณเท่ากัน เช่น ความเร็วดาวน์โหลด 10 Mbps ความเร็วอัพโหลด 10 Mbps ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการที่ต้องแบ่ง Banwidth หรือท่อสัญญาณแยกให้เฉพาะนั่นเอง

fiber optic

ฉะนั้นภาพรวมของอินเตอร์เน็ตยุค DSL นั้นเป็นการที่ผู้ให้บริการเชื่อมอินเตอร์เน็ตผ่าน สายโทรศัพท์บนเสาไฟฟ้า จากนั้นก็จั๊มเข้าตู้โทรศัพท์หรือชุมสายโทรศัพท์ แล้วค่อยโยงสายทองแดงเข้าตามบ้านแล้วแยกสายโทรศัพท์กับอินเตอร์เน็ตออกจากกันผ่านโมเด็มนั่นเอง

รับเทคนิคความรู้ดีๆ เรื่อง "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

สายไฟเบอร์ Fiber optic

เทคโนโลยีที่เราใช้ในปัจจุบันเป็นการส่งข้อมูลผ่านตัวกลางที่เป็น Fiber optic ทำให้มาทำลายข้อจำกัดเดิมของการเดินทางอินเตอร์เน็ต

กล่าวคือระบบ Dial up มีข้อจำกัดคือเลือกใช้โทรศัพท์บ้านหรือใช้อินเตอร์เน็ต ระบบ DSL คือข้อจำกัดของชุมสายโทรศัพท์ ถ้าเต็มก็ติดตั้งไม่ได้ ท่อนำสัญญาณมีการรับส่งข้อมูลได้จำกัด และต้องหารความเร็วได้พอๆกัน พอเป็นยุคการเดินผ่านท่อใยแก้วนำแสงก็จะหมดทุกข้อจำกัดที่ผ่านมา เพราะแสงนั้นเดินทางที่สุญญากาศทีประมาณ 300 ล้านเมตรต่อวินาที หรือยังไม่มีอะไรที่วิ่งเร็วกว่าแสงที่มนุษย์ค้นพบได้ในขณะนี้ 

  • ยุคแรกของการใช้สายไฟเบอร์ตามบ้าน

หลายคนในวงการไอทีจะเคยได้ยินไฟเบอร์แท้ ไฟเบอร์ไม่แท้ มันเป็นศัพท์ที่เรียกกันในวงการ Networkกล่าวคือผู้ให้บริการนั้นเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของตัวเอง มาถึงโนด (คล้ายชุมสายโทรศัพท์สมัยก่อน) แล้วจากนั้นจะใช้สายเคเบิลต่อเข้าบ้านเราอีกที ซึ่งวิธีการนี้จะยังมีข้อจำกัดด้านความเร็ว เพราะสุดท้ายสายที่เดินเข้าบ้านเรายังเป็นสายทองแดงที่ยังส่งความเร็วได้จำกัด แต่ช่วงนั้นเรื่องเทคโนโลยีและต้นทุนการเดินสายยังค่อนข้างสูง ผู้ให้บริการหลายเจ้าจึงเลือกใช้วิธีการนี้

  • ยุคปัจจุบันที่เราใช้

ปัจจุบันที่อินเตอร์เน็ตตามบ้านเรานั้นใช้ความเร็วที่ 1 Gbps เป็นเรื่องปกติเพราะผู้ให้บริการสามารถใช้สายใยแก้วนำแสงนั้นส่งตรงไปถึงบ้านของผู้รับบริการได้เลย โดยที่การทำงานของใยแก้วนำแสงนั้นใช้หลักการหักเหของแสง โดยแสงนั้นเมื่อตกกระทบไปในอุปกรณ์สะท้อนแสงนั้นจะมีการสะท้อนไปกระทบวัตถุอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อดีของการส่งข้อมูลด้วยใยแก้วนำแสง เพราะแสงนั้นสามารถส่งข้อมูลได้ความเร็วมหาศาล

zero trustปัจจุบัน Fiber optic ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่

จะเห็นได้ว่าเมื่อแสงนั้นเดินทางจากดวงอาทิตย์มาถึงโลกผ่านตัวกลางสุญญากาศนั้นจะทำความเร็วที่ 300 ล้านกิโลเมตรต่อวินาที

แต่มีการทดสอบว่าเมื่อแสงนั้นเดินทางผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศ น้ำ หรือใยแก้วนำแสงนั้นความเร็วของมันถูกลดลงกว่า 31% หรือประมาณ 206,856,796 เมตรต่อวินาที จากนั้นมีการทดลองส่งข้อมูลในปี 2017 ผ่านสายใยแก้วนำแสงท่อเดียวได้ที่ความเร็ว 10,160 ล้านเมกกะบิทต่อวินาที (หรือประมาณ 10 ล้านเท่าของอินเตอร์เน็ตบ้านที่เราใช้กันที่ 1000 เมกกะบิทต่อวินาที) ซึ่งถ้าส่งข้อมูลด้วยใยแก้วนำแสง แบบ Multimode หรือใช้แสงมากกว่า 1 สีนำส่งข้อมูลจะเร็วกว่านี้ แต่ทั้งนี้ปัจจุบันโลกของเรายังไม่สามารถรู้ว่าความเร็วสูงที่สุดของการส่งข้อมูลด้วยสายใยแก้วนำแสงคือความเร็วเท่าใดนั่นเอง

สรุป

ปัจจุบันนั้นการส่งข้อมูลจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริการที่ไกลออกไป 10,000 กิโลเมตรนั้น เมื่อเราวีดีโอคอลกับเพื่อนอีกข้ามโลกเราจะเห็นว่าจะมีการเหลื่อมเวลาหรือมีการดีเลย์ของวีดีโออยู่

ที่เป็นข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่ทำให้เราไม่สามารถผ่าตัดข้ามโลก หรือเข้าสู่โลกเสมือน Metaverse ได้อย่างไร้รอยต่อนั่นเอง อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีอย่างเราๆนั้นนอกจากมีการใช้งานและส่งข้อคิดเห็นไปให้ผู้ใช้บริการทราบ ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่จะทำให้ผู้พัฒนานั้นมีการต่อยอดให้ในอนาคตการส่งข้อมูลข้ามโลกมีความดีเลย์ที่น้อยลง และจะสามารถเข้าสู่โลกเสมือนได้อย่างแท้จริง


References :
Source1 / Source2 / Source3 / Source4 / Source5 / Source6 / Source7

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"