หมูตายเป็นฟาร์ม ไม่มีวัคซีน ไม่มีข่าว ตายเรียบมาเป็นปี คล้ายการโจมตีจาก Ransomware

หมูตาย กับ Ransomware

หลังจากหลังปีใหม่เป็นต้นมาไม่กี่วัน เราก็ออกมาเผชิญปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยเฉพาะโปรตีนจานหลักของหลายคน “เนื้อหมู” เบื้องหลังที่เกษตรกรคนเลี้ยงหมูต้องเผชิญมานาน กับการที่หน่วยงานรัฐเพิ่งมาตรวจสอบเจอการระบาดของโรคอหิวาต์หมู โดยเชื้อนี้น่ากลัวยังไง แตกต่างจากการโจมตีของไวรัสไซเบอร์หรือเปล่า มาติดตามกันในตอนนี้กันเลย

แค่สัมผัสก็ตาย

นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ หรือ ซีรีส์บนเว็บแต่อย่างใด แต่โรคอหิวาต์แอฟริกา เป็นการประกาศศักดาของสงครามไวรัส และเศรษฐกิจของมนุษย์ครั้งใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การกระจายตัวของเชื้อไวรัสชนิดนี้ในหมู จะเริ่มทำให้หมูเกิดท้องเสีย อ้วก นอนซม เป็นไข้ไม่สบาย แล้วก็ตายในไม่กี่วันต่อมา เหมือนกับอหิวาต์ในคนครั้งที่มีการระบาดในอดีต โดยที่ความน่ากลัวของมันคือเชื้อเองสามารถติดกันได้เฉพาะจากหมูกับหมู ไม่ติดเข้ามาสู่คนก็จริง แต่เชื้อโรคตัวร้ายนอกจาการที่หมูมีเชื้อ มาสัมผัสกับหมูไม่มีเชื้อแล้ว มันก็สามารถติดผ่านเสื้อผ้าของคนจากคอก ไปอีกคอกหนึ่งได้อีกด้วย โดยไม่ต่างจากการแพร่เชื้อของโควิด 19 ที่กำลังระบาดในคนในตอนนี้ แต่การกระจายของเชื้อไวรัสในคอกที่รวดเร็ว และรุนแรง เพราะมันต่างกับมนุษย์ตรงที่ในคอกเลี้ยงสัตว์นั้น มีการอาศัยอยู่ในที่เดียวกัน มีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิดตลอด จึงทำให้การติดกันทำได้ง่าย และรวดเร็ว

 

แค่อาหารคนก็ติด

เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากยิ่งขึ้น เมื่อหมูที่ตายจากการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว มันยังคงอยู่และมีชีวิตอยู่ในซากศพนั้นได้อีกหลายเดือน ถึงแม้ว่าการรับประทานเนื้อหมูที่ติดโรคนั้นไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์ก็ตาม แต่ความพัฒนาอีกขั้นของไวรัสคือถึงแม้จะปรุงหมูสุกแล้ว เชื้อโรคก็ยังไม่ตาย ถ้าหากนำเศษอาหารที่มีเชื้ออยู่ซึ่งอาจจะแค่การนำเศษอาหารที่มีเศษหมูติดเชื้ออยู่ในนั้น ก็จะทำให้มีการระบาดของเชื้อไวรัสได้นั่นเอง

 

แอบมองเธออยู่นะจ้ะ

ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคระบาดในปัจจุบันนี้ ถ้าหากพบว่ามีหมูซักตัวในคอกติดเชื้อ ต้องทำการฝังกลบหมูทักคอกให้หายไป แล้วต้องปล่อยให้คอกว่างเปล่าว่างเว้นจากการเลี้ยงอีกหลายเดือน ซึ่งถ้าหากมองไปถึงการกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ก็มีพฤติกรรมที่คล้ายกับไวรัสอหิวาต์หมูเช่นเดียวกัน เพราะนอกจากมันสามารถอยู่เงียบในคอมพิวเตอร์ของเราได้นานเป็นปี แสกนไวรัสซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็สามารถหลีกเลี่ยงจากการถูกตรวจพบ ที่สำคัญวัคซีนป้องกันก็ไม่มีอีกด้วย

 

โจรขโมยข้อมูล (Ransomware) VS ไวรัสอหิวาต์หมู (AFS)

วิวัฒนาการของเชื้อไวรัสนั้นนอกจากการที่ทำให้เผ่าพันธุ์ตัวเองอยู่ไปได้ยาวนานที่สุด ทำให้หลายครั้งการปรับตัวให้อยู่รอดได้นานที่สุด อาจจะทำให้โรคอ่อนแอลงแต่อยู่ในเหยื่อได้นาน หรือสามารถแอบอยู่สักที่ได้นานจนกระทั่งมีพื้นที่ให้แสดงตัวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมันมีความสอดคล้องกันระหว่าง..

  1. โจรขโมยข้อมูล (Ransomware)

    ที่แรกเริ่มเดิมทีนั้นมีความรุนแรง ทำเครื่อง (Host) พัง ทำให้ระบบถูกทำลาย ซึ่งถ้าเกิดอุปกรณ์พังเสียหายแล้ว ตัวไวรัสหรือโจรเองก็จะสูญพันธ์ไปพร้อมกับอุปกรณ์ เลยมีการพัฒนาตัวเองให้มีความเฟรนลี่จนได้รับความไว้ใจ แล้วมาแผลงฤทธิ์ในวันที่พร้อมขึ้นมา ซึ่งจนหลายครั้งเองผู้ใช้งานไม่สามารถสืบย้อนกลับไปได้เลยว่ามันติดมาจากไหน ไฟล์มาจากใคร เพราะมันเนียนมาก เนียนมาตลอด

  2. ไวรัสอหิวาต์หมู (African Swine Fever)

    การระบาดของโรคนี้ในเอเชียนั้นมีการระบาดครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อสิงหาคม 2018 จากนั้นมีการพบในฟิลิปปินส์ใน 1 ปีต่อมา จากนั้นก็ลามมาที่ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซียน ซึ่งตอนนั้นทางการไทยประกาศว่าไม่มีการค้นพบเชื้อดังกล่าวในประเทศ …


    บทความที่เกี่ยวข้อง
    ไวรัสคอมพิวเตอร์ VS ไวัรสโอมิครอน มีวิวัฒนาการร่วมกัน


    พฤติกรรมของเชื้อนั้นถ้าลองมาแกะ วิเคราะห์ดูนั้นปศุสัตว์ของมนุษย์นั้นเป็นการที่เอาสัตว์มาอยู่รวมกัน หายใจรดกัน เสียดสีกัน ซึ่งเป็นที่มาของการติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่ายอยู่แล้ว จึงมีการใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) เพื่อไม่ให้มีการระบาดของเชื้อ ซึ่งส่วนหนึ่งทำให้สัตว์นั้นเกิดการดื้อเชื้อโรคใหม่ๆที่มีการอุบัติขึ้น ด้วยเหตุนี้เองถ้าเชื้อใหม่ที่สามารถทำให้หมูติดเชื้อได้ จึงเป็นไปได้ว่ามันเกิดจากเชื้อไวรัสนั้นพัฒนาก้าวข้ามขีดจำกัดของยาฆ่าเชื้อเหล่านั้นมาได้ แล้วมาเป็นความรุนแรงอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งเราก็ได้แต่หวังว่าจะมีการพัฒนาวัคซีน และยารักษามาปกป้องสารอาหารของมนุษย์ในเร็ววัน

สรุป

ปัญหาของการโจมตีของไวรัสคอมพิวเตอร์ก็พยายามที่ต้องการก้าวข้ามด่านป้องกันที่มี เพื่อขโมยหรือโจมตีเพื่อได้เงิน ได้ข้อมูล หรือ สิ่งที่แฮกเกอร์ต้องการ ทางทีมอาสาสมัคร Prospace ที่อยู่ในวงการนี้มา 20 กว่าปีแล้วก็ยอมรับว่า เราเองก็ยังคงต้องต่อสู้กับการระบาดไวรัส Ransomware ที่แข่งขันกับทีมพัฒนาความปลอดภัยตลอดไป ถ้าหากมีคำถามด้านไอทีและ Cyber Security สามารถทิ้งคำถามไว้ที่ฟอร์มด้านล่างนี้เลย


References :
Source1
Source2
Source3
Source4
Source5

Contact us