SSL Certificate บนเว็บไซต์เป็นการยืนยันว่าเว็บไซต์ของเราไม่มีใครแอบขโมยข้อมูลระหว่างการส่งหากัน ถ้าหากใครเคยอ่านประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีการสู้รบกันระหว่างสัมพันธมิตร และ อักษะ โดยที่ในระหว่างการสู้รบทั้งสองฝ่ายต่างต้องการสอดแนมความคิดระหว่างกัน จึงทำให้มีการระดมกันทั้งมันสมองของนักคณิตศาสตร์ และ นักวิจัยในแขนงต่างๆ เพื่อทำให้การส่งข้อความระหว่างผู้บัญชาการและแนวหน้าการรบสามารถสื่อสารกันได้ โดยที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถเข้าใจความหมายของกันและกันได้ โดยมีทั้งการใช้โค้ด ใช้เลขคณิตศาสตร์ รวมถึงคีย์เวิร์ดมาแปลความหมาย โดยสิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ารหัสความปลอดภัยของข้อมูล ไม่ให้หลุดรั่วระหว่างทาง
ส่งจดหมายผ่านไปรษณีย์แล้วโดยเจาะดูข้อความ
แม้ว่าผ่านจากช่วงสงครามที่ต่อสู้กันระหว่างสองฝั่งไปแล้ว ถึงแม้มีการใส่โค้ดความปลอดภัยอย่างซับซ้อน
ถึงขั้นที่อีกฝั่งไม่สามารถแกะโค้ดกันได้ แต่เราไม่ได้นำความปลอดภัยขั้นสูงมาใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน ทำให้การส่งข้อความหากันเรายังจะฝากข้อความ เอกสาร พัสดุผ่านตัวกลาง ที่อาจจะเป็นไปรษณีย์หรือองค์การโทรศัพท์ จากนั้นตัวกลางเหล่านี้จะส่งข้อมูลให้ปลายทางอีกที โดยที่ถ้าหากตัวกลางจะแกะดูข้อมูล หรือ พัสดุถูกขโมยระหว่างทางก็ไ่ม่สามารถติดตามย้อนกลับได้ และแน่นอนว่าหลังจากนั้นเราเริ่มพัฒนาระบบความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งการติดตามพัสดุระหว่างทาง การล็อคพัสดุระหว่างส่ง หรือจำกัดคนเข้าถึงข้อมูล แต่นั่นก็ยังทำให้เกิดการสูญหายลดลง
การส่งพัสดุ หรือ จดหมายระหว่างกันนี่เองถ้าหากเกิดปัญหา พัสดุสูญ หรือ เสียหายระหว่างทาง เราสามารถที่จะติดตามหาผู้ที่รับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ที่เราเองต่างไม่รู้เลยว่าใครเป็นใคร ข้อมูลหายเกิดจากที่ไหน และจะตามตัวใครมารับผิดชอบ ผนวกกับคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สมองกลที่คำนวนเก่งคณิตศาสตร์ได้ทีละหลายล้านตัวเลข ทำให้เกิดการพัฒนาการส่งข้อความระหว่างกันโดยการใช้รหัสดิจิตอล ที่สุ่มขึ้นมาเป็นทั้งตัวเลขและตัวอักษร ส่งหาระหว่างคนที่มีชุดถอดรหัสเดียวกันได้ แล้วมันเป็นยังไง?
ส่งจดหมายผ่านไปรษณีย์แล้วมีแค่ตัวอักษรที่ไม่ได้ศัพท์
ย้อนกลับไปสมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่มีการส่งรหัสลับที่เข้ารหัสสาม สี่ ชั้นเพื่อป้องกันให้ศัตรูไม่สามารถล่วงรู้ถึงยุทธวิธีที่ต้องทำ
ในยุคนั้นเป็นการออกแบบอุปกรณ์สุ่มตัวอักษรที่ชื่อว่า “เครือง Engima” โดยอุปกรณ์นี้จะมีหน้าที่สุ่มตัวอักษรผ่านกระบวนการใช้วงอักษร 3 วงในการเปลี่ยนรหัสอักษร
โดยการสุ่มอักษรนี้จะมีการเปลี่ยนค่าตัวอักษร 6-8 ครั้ง โดยเริ่มจากการพิมพ์อักษร 1 ตัว จากนั้นการส่งไฟฟ้าไปผ่านวงรอบ 1 (เปลี่ยนอักษรหนึ่งครั้ง) 2 , 3 แล้วย้อนกลับแล้วเปลี่ยนรอบที่ 4 , 5 , 6 และยังมีฟีเจอร์ที่เปลี่ยนอักษรให้แปลงเป็นตัวอักษรอื่นอีกสองครั้ง ทำให้ความปลอดภัยในการแกะอักษรนั้นถูกเข้ารหัสทั้งหมด 8 ครั้ง ทำให้การเจาะข้อมูลระหว่างการส่งสารไปให้อีกฝั่งนั้นไม่มีใครแปลความหมายนั้นออกมาได้โดยที่เป็นต้นแบบของการเข้ารหัสดิจิตอลในเวลาต่อมา
เว็บไซต์และโลกออนไลน์มี SSL Certificate อยู่เบื้องหลัง
การทำงานของเว็บไซต์ที่มี SSL Certificate นั้นเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่าง เรา (ผู้ใช้งาน) และเว็บเซิพเวอร์ (ผู้ให้บริการ)
เช่น การพิมพ์รหัสบัตรเครดิตไปบนเว็บไซต์ คือการเชื่อมต่อระหว่างการพิมพ์เลขของเรา และการส่งข้อมูลย้อนกลับไปที่ฐานข้อมูลของเว็บธนาคาร เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่มีการถูกดักเก็บข้อมูลบัตรเครดิตของเราระหว่างที่ส่งออกไป เบื้องหลังความปลอดภัยนั้นได้รับการดูแลด้วยสิ่งที่เรียกว่า “การเข้ารหัสและถอดรหัสดิจิตอล” โดยพื้นฐานการเข้ารหัสดิจิตอลเหล่านี้จะมีพื้นฐานเดียวกันกับรหัสดิจิตอลที่ถูกปรับใช้ในการส่งข้อความหากัน การส่งอีเมลระหว่างกันนั่นเอง
ข้อมูลจะถูกขโมยเข้ารหัสอะไรก็ถูกขโมย
จริงอยู่ว่าการเข้ารหัสดิจิตอลนั้นซับซ้อนกว่าการเข้ารหัส Enginma ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง แต่การถูกคุกคาม โจรกรรมข้อมูลนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกปี
และก็ยังมีเหยื่อที่ถูกโจรกรรมข้อมูลมากยิ่งขึ้นถึงแม้ตัวระบบมีความซับซ้อนเท่าไหร่ก็ตาม เพราะความผิดพลาดของมนุษย์ เพราะความเป็นมนุษย์นี่เองทำให้ความปลอดภัยที่เข้ารหัสทางคณิตศาสตร์มาหลายชั้น ถูกพังลง โดยการเข้ามาของเหล่าแฮกเกอร์นั้นไม่ได้ทำการถอดรหัสที่ล็อคฐานข้อมูลไว้ (ซึ่งอาจจะใช้เวลาอย่างน้อย 30 ปี) แต่วิธีที่กลุ่มนี้แฮกเข้าถึงระบบได้ คือกระบวนการเดียวกับการหลอกให้โอนเงินเข้าบัญชี ของแก๊งค์คอลเซนเตอร์ที่เห็นในปัจจุบัน แล้วเราจะแก้ปัญหาความผิดพลาดเหล่านี้ได้ยังไงกัน?
กอบกู้ความผิดพลาดของมนุษย์ด้วยความฉลาดของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้เราพัฒนาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เพื่อป้องกันคอมพิวเตอร์ถูกแฮกด้วยตัวเอง แต่ป้องกันการถูกแฮกจากความผิดพลาดของมนุษย์เอง
ทั้งการ Phishing email หรือ การถูกโจมตีด้วย Ransomware โดยมากนั้นมีการดูแลระบบความปลอดภัยด้วยการสร้างระบบหารูรั่ว หรือ สิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกใช้กันคือการแข่งกันเพื่อแฮกระบบความปลอดภัยของตัวเอง เพื่อหารูรั่วของข้อมูล โดยเบื้องหลังการวางระบบที่ชื่อว่า Firewall box
โดยที่การทำงานของ Firewall เป็นกระบวนการที่กรองข้อมูลเข้าบริษัท โดยกรองการรับข้อมูล เช่น อีเมลที่อันตราย บลอคการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อันตราย รวมถึงการปิดกั้นคำบางคำ หรือ เว็บไซต์บางเว็บ คือสิ่งที่ Firewall นั้นเข้ามาเติมเต็ม โดยร่วมกับการจำกัดข้อมูลของมนุษย์ เช่น ตำแหน่ง GPS ร่วมกับการให้รหัสผ่าน การรับ OTP ร่วมกับการแสกนนิ้ว โดยประสานความปลอดภัยด้วยบริการของ Firewall as a Service
Firewall as a Service
สร้างความปลอดภัยที่มีการเข้ารหัส
- ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
- สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
- มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล
ปรึกษาการทำระบบ Cyber Security
ทีมงานจะติดต่อกลับไป