5 วิธี ตอบคำถามสัมภาษณ์งานแสบๆ ขอส่องเฟส แต่งงานยัง เป็นตุ๊ดไหม ตอบไงดี?

5คำถามตอนสัมภาษณ์งานแปลกๆ

โดยปกติการสัมภาษณ์เข้าทำงานที่ต่างๆนั้นก็จะมีการถามตอบในเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวกับงาน ทัศนคติ และไหวพริบของเรา แต่มีทั้งคำถามที่ดี และสร้างกระอักกระอ่วนในชีวิตประจำวันของเรา ที่ขอดูพื้นที่ส่วนตัว การแสดงออกต่างๆที่เราไม่สะดวกใจจะตอบ มี 5 ข้อวิธีการจัดการคำตอบ และแก้เผ็ดแผนซ้อนแผนได้ยังไงกัน

ถามประสบการณ์การทำงานจากเด็กจบใหม่

  เป็นคำถามที่จึ้งของเด็กจบใหม่ไม่เคยผ่านงานมาก่อน ถึงในใจอยากจะตะโกนไปดังๆ “ถ้าพี่ไม่ให้หนูทำงานก่อน จะไปค้นประสบการณ์มาจากไหนวะะะ”แต่เดี๋ยวก่อน! มันไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้นหรอกนะ แต่มันอาจจะหมายถึงการเอาเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำแหน่งที่เราอยากจะหาประสบการณ์มาเล่าให้ผู้สัมภาษณ์ฟังต่างหาก โดยความหมายแฝงของมันคือ การใช้ไหวพริบแก้ปัญหา และการแสดงออกว่าบริษัทจะคุ้มค่าอย่างไรถ้าเอาเรามาเป็นจิ๊กซอว์ที่ขาดหายไปนี้

แนวทางการตอบ ในกรณีที่ไม่เคยทำงานนี้ หรือเป็นเด็กจบใหม่ เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ต่อสิ่งนั้น เช่น น้องมีประสบการณ์ด้านการตลาดออนไลน์บ้างหรือเปล่า ไม่ได้หมายความว่าเคยทำงานด้านนี้มาไหม แต่หมายถึงเราสนใจและเข้าไปทำอะไรกับสกิลนี้บ้างหรือยัง ถ้าสนใจการตลาดเคยทำอะไรเกี่ยวกับการตลาด มีเกรดวิชานี้เพราะอะไร ทำงานวิจัยแบบไหนมา เป็นเรื่องที่ต้องทำการบ้านก่อนออกไปสัมภาษณ์ในตำแหน่งนั้นๆเลยก็ว่าได้ 

ถ้าใช้การตอบแบบไม่ต้องอิงประสบการณ์ทำงานตรง ก็อาจจะเล่าถึงประสบการณ์การขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์มของตัวเอง ประสบการณ์การทำเพจ เขียนคอนเท้นท์ หรือการใช้ Infographic มาเล่าเรื่องจากภาพ ก็จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นแววการจ้าง ว่าจะช่วยพัฒนาองค์กรไปทางไหนได้ชัดเจนระดับ Full HD เลย

คุณมีแฟนหรือยัง

นี่อาจจะรวมถึงบางทีก็ถูกถามว่าแต่งงานมาหรือยัง ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์ไม่ได้เกรียนไปถึงขั้นถามเจาะไปถึงลูกเต้าเหล่ากอ ญาติโกโหติกา เรื่องส่วนตัวขนาดนั้น การถามด้วยประเด็นนี้ในตำแหน่งงานที่อาจจะละเอียดอ่อนกับการทำงานก็ได้ 

ดังนั้นถ้าหากตำแหน่งที่อาจจะอยู่ใกล้ครอบครัว เดินทางเป็นประจำ คำถามนี้อาจจะพาคัดกรองคนที่ไม่สะดวกออกไปก่อน แต่ถ้าหากเราอยากจะได้จริงๆ การโกหกสีขาว (พูดไม่จริงเพื่อให้คนอื่นสบายใจ) ก็อาจจะทำให้ได้งานมากขึ้น

แนวทางการตอบ ในกรณีนี้สามารถออกได้ทั้งสองประเด็น ทั้งมีแฟนแล้ว และไม่มี ขึ้นอยู่กับลักษณะและตำแหน่งของงาน ถ้าหากเป็นคอนเท้นท์ครีเอเตอร์สำหรับพ่อแม่มือใหม่ ผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำหรับเด็ก  คนที่มีครอบครัวจะได้ประโยชน์จากการสัมภาษณ์ ขณะที่ถ้าเป็นเซลล์ที่ต้องเดินทางห่างบ้าน พนักงานบนเรือ หรือ พีอาร์ที่ต้องเดินสาย การตอบว่า “โสด” จะทำให้มีโอกาสได้งานมากกว่า

คุณเป็นตุ๊ด เกย์ ทอม (LGBTQ) หรือเปล่า

ในยุค 2020s ในประเทศไทยการแยกเพศ LQBTQ ในการทำงานก็เริ่มจะเป็นที่ถกเถียงว่าเหมาะสมหรือเปล่า เพราะปีที่ผ่านๆมา เพศ LQBTQ เองก็ได้เป็นพรีเซนเตอร์ชุดชั้นในผู้หญิงได้ ดังนั้นองค์กรที่ยังต้องการความมั่นใจว่าเป็นเพศทางเลือกหรือเปล่า อาจจะทำให้ภาพลักษณ์องค์กรดูอนุรักษ์นิยม แน่นอนว่าเราในฐานะผู้ถูกสัมภาษณ์ “มีสิทธิ์” ตัดองค์กรที่ไม่ตรงใจทิ้ง ในกรณีที่ไม่ได้ชอบวัฒนธรรมเหล่านี้แต่ต้องการเข้าไปทำงานไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เราต้องเอาปัจจัยอื่นมาประกอบการตอบคำถามด้วย

แนวทางการตอบ ถึงแม้ในใจอยากจะบอกพี่ว่า “เ-ือก” แต่เราก็ได้แต่นั่งยิ้ม ต้องกลับไปทบทวนตัวเองก่อนเบื้องต้นว่า “ฉันเป็นตัวตนของฉัน และฉันเป็นเพศอะไรก็ได้ที่อยากจะเป็น” ถ้าเรามีความคิดและไอเดียนี้แล้ว ก็ตอบไปอย่างภาคภูมิได้เลย การเลือกไม่ร่วมงานกับองค์กรที่ไม่ตรงกับทัศนคติทั้งสองฝ่าย ถอนตัวมาแต่แรกน่าจะดีกว่า แต่ถ้ายังอยากจะทำงานร่วมกัน แต่อยากโยนหินถามทาง การเลือกตอบแบบเพศทางกายภาพ (ชาย-หญิง) จะเป็นกลาง ในการตอบคำถามนี้

ที่นี่ทำงานแบบครอบครัวนะ รับได้ไหม?

สังคมไทยขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศด้วยบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางกว่า 2 ล้านรายดังนั้นหลายที่จะมีวัฒนธรรมแบบครอบครัว พี่น้อง ลูกหลาน ซึ่งความหมายหนึ่งคือการทำงานแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ผิดนิดหน่อยก็ยอมๆกันไปเหมือนคนในครอบครัว แต่อีกความหมายถึงคือการขับเคลื่อนองค์กรโดยการตัดสินใจจากผู้อาวุโสกว่า องค์กรแบบนี้เลยเป็นเหมือนด่านวัดใจว่า “ครอบครัว” นี้จะเลือกฟังแค่ พ่อแม่ หรือฟังความคิดเห็นจาก ลูก หรือ ลูกจ้าง บ้างหรือเปล่า

แนวทางการตอบ ปัญหาโลกแตกข้อนี้ขึ้นอยู่กับว่า “เรา” ในฐานะลูกจ้างมีทัศนคติต่อองค์กรแบบนี้ยังไง อย่างเช่นว่า ถ้าในภาพการทำงานของเราเองอยากจะแสดงผลงาน และทักษะการทำงานแบบบึ้มๆ การร่วมงานกับสตาร์ทอัพจะช่วยให้ได้แสดงฝีมือมากกว่า แต่ถ้าหากทัศนคติการทำงานแบบไม่ต้องรับแรงกดดันจากสิ่งรอบข้างมาก การรับฟังคำสั่ง หรือชอบลักษณะงานเหล่านี้ การร่วมงานกับองค์กรที่ทำงานแบบครอบครัว ก็จะตอบโจทย์การทำงานนี้

ขอส่องเฟส(โซเชี่ยลมีเดีย)หน่อยสิ

หลากหลายบริษัทเริ่มที่จะขอส่องโซเชี่ยลมีเดียของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหลายครั้งการสัมภาษณ์กำลังดำเนินไป การพูดคุยกันแบบลื่นคอมาตลอด แต่ในโซเชี่ยลมีเดียเราเป็นคนละเรื่องกับภาพลักษณ์ที่แสดงอยู่ ก็เกิดความกระอักกระอ่วนใจได้ทั้งสองฝ่าย แล้วเราจะแก้เผ็ดยังไงดี งานก็อยากได้ คนสัมภาษณ์(ตู)ก็หมั่นไส้

แนวทางการตอบ ถ้าหากการทำบัญชีตัวเลขหลายบริษัทมีสองเล่ม สามเล่มแล้วแต่จะโชว์ให้ใครดู การที่ผู้สมัครงานมีบัญชีที่สอง บัญชีที่สามก็คงทำได้เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนถาม 5555+ ฉะนั้นการโชว์บัญชีโซเชี่ยลมีเดีย ไลฟ์สไตล์ต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฏเกณฑ์อะไร ถ้าหากสร้างบัญชีซ้อนขึ้นมาอีกอัน แสดงชีวิตที่เราต้องการให้คนอื่นเห็นก็คงทำได้ แต่ถ้ารู้สึกไม่โอเคกับการขอดูนี้ ก็สามารถ “ปฏิเสธ” ได้เช่นกัน ถ้าหากว่าการ “ขอ” นี้เป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวเกินไป ปล.บัญชีโซเชี่ยลที่ใช้จริงไม่ควรเป็นชื่อนามสกุลจริง เพราะอาจจะถูกค้นหาได้ตั้งแต่การส่ง Resume เข้าไป หรือย้ายไปเล่นทวิต อาจจะช่วยก็ได้นะ ฮ่าๆ

สรุป

ถึงแม้ทุกวันนี้เริ่มมีคำถามท้าทายไหวพริบเรามากยิ่งขึ้น ทั้งการถามเชิงแก้ปัญหา ปัญหาการคุมอารมณ์ขณะสัมภาษณ์ หรือการแก้ปัญหาตอนที่ตอบคำถามไม่ได้ว่าจะทำยังไง สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนเป็นนัยน์แฝงของการให้คะแนนสัมภาษณ์เหมือนกัน หัวใจหลักของการสัมภาษณ์ คือการค้นหาทัศนคติ วัฒนธรรม ใกล้เคียงกัน จะช่วยให้ทำงานด้วยกันได้ไปยาวๆ

อย่าลืมว่าการยื่นเอกสารส่วนตัวของเราให้บริษัท องค์กรต้องมีใบอนุญาตยินยอมขอเก็บข้อมูลของเรา บอกว่าจะเอาไปทำอะไร เก็บไว้ที่ไหน ตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ที่จะบังคับใช้ 1 มิ.ย.65 เพื่อป้องกันบริษัทถูกฟ้องร้องและดูแลทีมงานของคุณให้สมศักดิ์ศรีพนักงานบริษัทของคุณ โดยกรอกแบบฟอร์มปรึกษาการเริ่มทำ PDPA ได้เลย

Contact us