โรงพยาบาล เป็นสถานที่ผู้ป่วยนั้นเข้าไปรวมกัน โดยที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูล บันทึกประวัติการรักษา ทำให้ในสถานพยาบาลเองจำเป็นต้องเก็บข้อมูลปริมาณมากและเป็นข้อมูลที่อ่อนไหวส่วนบุคคล ทำให้เป็นสถานที่หนึ่งที่แฮกเกอร์นั้นมุ่งเป้าในการโจมตีข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่
โรงพยาบาล และ หน่วยงานรัฐ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของหลายหน่วยงานในการเปลี่ยนการเก็บข้อมูลด้วยเอกสารกระดาษมาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้เองการเปลี่ยนผ่านด้านระบบจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากข้อมูลที่มากมายของแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐบาลที่ต้องมีการบริการประชาชน และข้อมูลมากมายมหาศาลเหล่านี้
แม้ว่าโดยทั่วไประบบโครงสร้างพื้นฐานของไอทีในแต่ละบริษัท หรือ หน่วยงาน จำเป็นต้องมีระบบการป้องกันด้านไอที มีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆก็ตาม ก็ยังมีการถูกโจมตีเข้าระบบอย่างหลากหลายวิธีการ โดยการทำงานของเหล่าแฮกเกอร์นั้นคือนักแคะค้น ที่พยายามค้นหาวิธีการต่างๆในการหาช่องโหว่ของข้อมูล โดยวิธีที่คลาสิกที่สุดที่เคยพบเจอกันได้บ่อยๆคือการ Login เข้าไปตรงๆในฐานข้อมูล หรือ ล่วงรู้รหัสผ่านในการเข้าถึงฐานข้อมูล แต่ปัจจุบันวิธีการนี้เป็นช่องทางที่เข้มงวดสูงสุดที่ทำให้แฮกเกอร์เจาะเข้าได้ยากที่สุด จึงมีการเปลี่ยนวิธีการเจาะระบบที่แตกต่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น
- เมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่มีข่าวมือแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขกว่า 16 ล้านคนโดยที่มีต้นเหตุมาจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์
- วันนี้ 8 กันยายน ทาง ผอ. สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ไปแจ้งความเรื่องถูกแฮกเกอร์เจาะระบบโดยขโมยข้อมูลคนไข้ Xray ฟอกไต จ่ายยา ของคนไข้กว่า 40,000 ราย
ถ้าเข้าใจกระบวนการสร้างไอทีขององค์กรอย่างโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์นับหลายร้อยหลายพัน และมีการเข้าถึงข้อมูลปริมาณมากมาย ความหลากหลายกับความปลอดภัยที่ไม่รัดกุมเหล่านี้เองจึงเป็นส่วนที่ทำให้เมื่อแฮกเกอร์พบช่องโหว่ที่เจาะข้อมูลเข้าไปได้แล้ว มีการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลทั้งหมดออกจากระบบได้อย่างง่ายดาย
ระบบ โรงพยาบาล ตกยุค?
ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 ในช่วงแรก ที่มีการสั่งปิดสถานที่ โรงพยาบาล หรือ ไซต์งานก่อสร้างต่างๆ ทำให้บริษัทน้อยใหญ่จำนวนมากเกิดการสูญเสียสภาพคล่องจากการทำธุรกิจ และปิดตัวไปทำให้คนตกงานจำนวนมาก เหตุนี้เองทำให้แรงงานในระบบประกันสังคมนั้นจำเป็นต้องมีการขอรับเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้างครั้งนั้น แต่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ระบบนั้นจ่ายเงินให้แรงงานที่ถูกเลิกจ้างอย่างล้าช้า อันเนื่องมาจากระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เก่าล้าหลังที่ชื่อว่าระบบ SAPIEN ที่ปัจจุบันอาจจะค้นหาชื่อระบบดังกล่าวไม่เจอแล้ว
ในระยะหลังที่มีการพัฒนาของอินเตอร์เน็ตที่แรงพอ ทำให้การลงทุนในระบบอุปกรณ์ไอทีนั้นมีความท้าทายมายิ่งขึ้น ความปลอดภัยทางไอที ช่องโหว่ของโปรแกรมนั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลด้วยวิศวกรที่พัฒนาระบบขึ้นมา โดยระบบความปลอดภัยทางไอทีนั้นมีระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านระบบใหม่นั้นมีระยะสั้นขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจาก 20 ปีและร่นระยะลงมาจนกระทั่งเป็นหลักน้อยกว่าปีหนึ่ง โดยเทคโนโลยีที่หลายองค์กร หรือ หน่วยงานรัฐใช้เองก็ตามอาจจะจำเป็นต้องมีการยกเครื่องใหม่ ทั้งความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล และลำดับความสำคัญในการรักษาข้อมูลที่พูดถึงกันในปัจจุบัน
- คุณเคยเจอเมล์เหมือนธนาคารส่งมาให้กดลิงค์เปลี่ยนแปลงบัญชี
- คุณเคยเห็น SMS บาคาร่า หวยออนไลน์
- คุณเคยรับ Call center ในการแจ้งพัสดุตกค้างจากต่างประเทศหรือยัง?
เบื้องหลังการได้มาซึ่งข้อมูลที่มิจฉาชีพได้มานั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุจนยากที่จะย้อนกลับไปหาต้นเหตุของปัญหาได้ แต่หนึ่งในที่มาของการได้มาซึ่งข้อมูล คือการเข้าถึงข้อมูลโดยทั้งการเจาะเข้าไปในฐานข้อมูลล้าหลังของผู้เก็บข้อมูล หรือ แม้กระทั่งการขายข้อมูลตรงๆเลยก็มีมาให้เห็นแล้ว
การจัดลำดับความปลอดภัยของข้อมูล
เครื่องมือด้านความปลอดภัยของข้อมูลในปัจจุบันมีหลากหลาย รวมถึงการเก็บข้อมูลและจัดการโครงสร้างระบบไอทีในองค์กรเองก็มีทั้งวางระบบเครื่อข่ายทั้งหมดของตัวเอง ทำไฮบริดระหว่างลงทุนผสมกับการใช้ Cloud computing และระบบ Multi cloud ทำให้การเข้าใจถึงโครงสร้างการเก็บข้อมูลของตัวเองก่อนจะทำให้สามารถแยกแยะ คัดกรอง ข้อมูลได้
การจำแนกข้อมูล
โดยชุดข้อมูลต่างๆที่นำมาจัดเรียงนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างมีแนวทาง แบบแผน เช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล อาจจะมีข้อจำกัดการเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่า การเก็บข้อมูลละเอียดอ่อน การให้สิทธิ์ของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจะสามารถเข้าถึงได้เฉพาะลูกค้าในสาขา ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับผู้จัดการสามารถเข้าถึงได้ในภูมิภาคที่ดูแล เป็นต้น
การติดตามข้อมูล
โดยเครื่องมือที่ติดตามกิจกรรมการทำงาน การเข้าใช้งาน จำเป็นต้องมีการติดตาม ทั้งเวลาที่มีการเข้าใช้งาน กิจกรรมที่ทำในระหว่างการเข้าใช้งาน รวมถึงกิจกรรมที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการมอนิเตอร์ด้วยอุปกรณ์ Firewall ร่วมกับทีมผู้ดูแลระบบความปลอดภัย
การประเมินความเสี่ยง
ในส่วนนี้จะเป็นการเข้าไปตรวจสอบโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง การอัปเดตโปรแกรม ฐานข้อมูลโปรแกรมให้ใหม่อยู่เสมอ กระบวนการเข้าไปตรวจสอบรหัสผ่านที่ใช้งาน ระดับความปลอดภัยของรหัสผ่าน รวมถึงการประเมินจุดที่มีความเสี่ยงสูงในการถูกโจมตีและทำการส่งข้อมูลกลับไปให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา
การดูแลความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน
สำหรับผู้ใช้งานภายในระบบเองก็อาจจะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งการถูกบังคับเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ การใช้ระบบการยืนยันตัวหลายชั้น หรือการจำเป็นต้องยืนยันตัวตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชนเลยก็ตาม ถึงแม้ตัวระบบเองอาจจะไม่ได้มีข้อห้ามดังกล่าว การจัดการกับรหัสผ่านของคุณเองด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ไม่หวังดียากที่จะคาดเดารหัสผ่านของคุณได้
ตั้งรหัสผ่านที่มีความซับซ้อน
หลายครั้งระบบถูกแฮกไม่ได้มากจากวิธีการซับซ้อน แต่มันเกิดจากการตั้งรหัสผ่านง่ายๆเช่น abcd ,1234, aaabbb ฉะนั้นการเปลี่ยนรหัสผ่านให้มีตัวอักษรเล็ก ใหญ่ สัญลักษณ์ต่างๆ และตัวเลขทำให้รหัสผ่านมีความปลอดภัยมากขึ้นได้ครับ เช่น AbX10ae.@ เป็นต้น
เปลี่ยนรหัสผ่านอยู่สม่ำเสมอ
นอกจากการตั้งรหัสผ่านที่ยากขึ้นแล้ว ก็อาจจะมีช่องโหว่ที่ถูกขโมยรหัสได้ เช่น ไปเผลอจดไว้ในคอมพิวเตอร์สาธารณะ แล้วมีคนเปิดและแอบเข้าไปใช้งาน ดังนั้นวิธีการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ เช่น เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 3 เดือนก็ทำให้มั่นใจเพิ่มขึ้นอีกระดับ
ป้องกันด้วย Two authentication
หลังจากที่มีการป้องกันด้วยรหัสผ่านแล้ว มันยังเป็นการป้องกันชั้นแรกเท่านั้น เพื่อความมั่นใจสูงสุด จึงมีการป้องกันชั้นสองที่เรียกว่า Two authentication วิธีการนี้อาจจะเป็นการส่ง SMS เข้ามือถือ เพื่อเข้าใช้งานระบบหรือใช้แอพพลิเคชั่น Authenticator ก็เป็นวิธีการที่ดีเช่นเดียวกัน
ไม่ต่ออินเตอร์เน็ตจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
เมื่อเราสามารถปกป้องรหัสผ่านจากวิธีการที่กล่าวมา หลายครั้งเองการถูกขโมยข้อมูลนั้น เกิดจากการต่ออินเตอร์เน็ตจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น คาเฟ่ หรือ free wifi ต่างๆแล้วมีคนไม่หวังดีดักข้อมูลที่เราเชื่อมต่อ ทั้งรหัสผ่าน การเข้าแอพ และกิจกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ได้
ความปลอดภัยไอทีสำหรับบริษัทที่เริ่มต้น
สำหรับบริษัท ห้างร้าน ที่เริ่มมีการจัดการระบบความปลอดภัยทางไอที การจัดระดับความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ที่ได้รับอนุญาต จำเป็นต้องมีกระบวนการที่เรียกว่า Achitechture day ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการจัดองค์ประกบของข้อมูลทั้งหมด
กระบวนการจัดโครงสร้างเครือข่าย
การเข้าไปตรวจสอบตำแหน่งที่จัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูลมีกระบวนการอย่างไร มีการเก็บในระบบ Server เดียวหรือมีการสำรองข้อมูล การแบ่งข้อมูลไปเก็บไว้บน Cloud บางส่วน เพื่อสอดคล้องกับความคล่องตัวของบริษัท เหล่านี้เป็นเสมือนปราการด่านแรกก่อนมีการเปลี่ยนผ่านข้อมูล
กระบวนการจัดเรียงข้อมูล
ถ้าหากระบบเดิมนั้นไม่มีการจัดโครงสร้างของข้อมูลเอาไว้ ทำให้เมื่อมีการเข้าถึงระบบจะสามารถเข้าถึงโดยตรวจสอบย้อนกลับไม่ได้ หรือ ผู้ที่ทำงานร่วมกันไม่สามารถค้นหาข้อมูลดังกล่าวได้ เหล่านี้อาจจะเกิดจากความไม่เป็นทางการของการจัดเก็บ จำเป็นต้องมีการจัดเรียงใหม่ ไม่ใช่เพียงเหตุผลของการจัดการระบบหลังบ้านเท่านั้น แต่การเข้าถึงข้อมูลต่างๆจะทำให้เราเองสามารถจำแนกได้ว่าข้อมูลส่วนไหนที่เป็นข้อมูลสำคัญ ข้อมูลไหนที่ให้เฉพาะบางคนเข้าถึงได้ ส่วนหนึ่งของวิธีการนี้จะช่วยให้กรณีที่มีการถูกแฮกข้อมูลเข้ามา จะสามารถจำกัดวงของความเสียหายได้
กระบวนการคัดกรองข้อมูล
กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในระบบนั้นเราไม่สามารถในการควบคุมได้โดยมนุษย์ตลอดเวลา เราจึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการมาช่วยจับกิจกรรมที่ไม่ชอบมาพากล กิจกรรมที่มีการดึงข้อมูลออกในปริมาณมากเกินความจำเป็น หรือ การถูกเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งที่มาที่น่าสงสัย โดยกระบวนการนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ Firewall พร้อมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแล และติดตั้งระบบหลังบ้านให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร จะช่วยเกิดประสิทธิผลสูงสุดกับความปลอดภัยในบริการ Firewall as a Service
Firewall as a Service
การจัดระเบียบความปลอดภัยเป็นการวางรากฐานความปลอดภัยขององค์กร การจัดการข้อมูลและตรวจสอบการทำงานอย่างเข้มงวดจำเป็นต้องมีระบบที่ดี พร้อมผู้เชี่ยวชาญมาซัพพอร์ตซึ่งบริการจะประกอบไปด้วย
- การให้คำปรึกษาในการปรับปรุงระบบความปลอดภัยข้อมูล
- แนวทางการจัดการข้อมูลที่มีการเข้าออกจากเครือข่าย
- การจัดการคอขวดของระบบความปลอดภัยให้มีการคัดกรองโดยไม่สะดุดการใช้งาน
- มีผู้เชี่ยวชาญคอยจัดการดูแลซอฟแวร์และจัดการ License โดยรวมอยู่ในบริการแล้ว
ปรึกษาการทำระบบความปลอดภัยข้อมูล
กรอกแบบฟอร์มเพื่อให้ทีมงานติดต่อกลับ