5 ฟีเจอร์หลักที่ Firewall as a Service ช่วยบริษัท SMEs ที่ไม่มีไอทีได้

5 ฟีเจอร์ firewall as a service

5 ฟีเจอร์ ทำระบบความปลอดภัยไอทีในบริษัท ที่ไม่มีไอที โดยทั่วไปเคยสงสัยไหมว่า อินเตอร์เน็ตบริษัท ที่เสียบเข้าเครื่องนั้นมีความผิดปกติหรือเปล่า อย่างเช่น การมีแจ้งเตือนแปลกๆจากบราวเซอร์ การมีหน้าต่างลอยขึ้นมาระหว่างใช้คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการได้รับเมลปลอมมาหลอกเป็นประจำ เน็ตหลุดไม่รู้สาเหตุ โดยทั่วไปปัญหาเหล่านี้นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการติดไวรัส การติดตั้งบางโปรแกรมที่พ่วงโปรแกรมอื่นเข้ามา หรือแม้กระทั่งการได้รับการมาเยือนจากผู้เยี่ยมชมที่ไม่ได้รับเชิญมาแฝงกายในระบบ โดยที่ระบบความปลอดภัยไม่สามารถตรวจพบเจอ การจำกัดความปลอดภัยทำได้ยากลำบาก ไม่มีผู้ที่พอจะแก้ไขได้ในออฟฟิศ นี่จะเป็น 5 สิ่งที่ทำให้ระบบไอทีบริษัทกลับมาถูกจัดระเบียบได้ ฉบับไม่มีไอทีประจำ ไม่มีคนที่รู้ดูแลระบบ

จัดระเบียบระบบไอทีบริษัทยังไง (สัญญาว่าจะเขียนให้คนไม่รู้ไอทีเข้าใจ)

อัปเดต Windows , MacOS ให้ใหม่ล่าสุด

สิ่งที่ง่ายและทำได้ทันทีในวินาทีแรกคือการกดอัปเดตระบบให้มีความปลอดภัยสูงสุด เพราะทุกการอัปเดตนอกจากมันเป็นการปรับปรุงเวอร์ชั่นของโปรแกรมแล้ว ยังปิดจุดบอด bug ที่ถูกเข้ามาทะลุทะลวงได้แล้ว (ในเครื่องของคนอื่นสักที่บนโลกนี้) เมื่อเวลาผ่านไปเจ้าของโปรแกรมต้องรีบแก้จุดดังกล่าวเพื่อไม่ให้ลูกค้าได้รับผลกระทบกับการใช้งาน ดังนั้นถ้าหากไม่ได้มีการอัประบบให้ทันสมัยใหม่ล่าสุดถอดด้ามตลอดเวลา มันก็จะทำให้เป็นเหยื่อได้นั่นเอง ในกรณีที่ใช้ Windows เก่าๆนั้นสิ่งที่ต้องแบกรับคือ Microsoft ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็ไม่ช่วยแก้ช่องโหว่อีกต่อไป หมายถึงหลังจากนั้นถ้ามีคนเจาะระบบสำเร็จแล้ว จะไม่มีการอุดรอยรั้วให้อีกต่อไป ถ้าหากสามารถอัปเกรด (ซึ่งตอนหลังอัปเกรดรุ่นฟรี) ก็ควรจะทำ หรือถ้ากรณีที่ไม่มั่นใจว่าจะทำให้ระบบที่ใช้งานอื่นๆมันใช้ร่วมกันได้หรือเปล่า เราขอแนะนำให้ลองพูดคุยกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ หรือ ทดลองเปลี่ยนบางเครื่อง เพื่อดูว่ามันไม่เจ๊งแน่นะวิ !?!
อัปเกรด ฟีเจอร์ ความปลอดภัยของระบบ OS

ตั้งรหัสผ่านใหม่ให้ปลอดภัยสูง

ตอนนี้หลายโปรแกรม หลายแอพพลิเคชั่นนั้นจะบังคับให้เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง การตั้งรหัสผ่านที่ผสมกันทั้งตัวเลขและอักษร รวมถึงการยืนยันตัวตนอีกชั้นด้วยรหัส OTP หรือ แสกนนิ้วที่เรียกว่า Two factor authentication โดยถ้าใช้งานในโปรแกรมหลักอยู่แล้วก็จะมีการบังคับให้เปิดระบบนี้เพื่อให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น ในกรณีที่เป็นโปรแกรมภายในที่ทำขึ้นมาใช้เอง ถ้าหากพิจารณาในการเพิ่มฟีเจอร์กรอกรหัสผ่านสองชั้นได้ ก็จะช่วยให้ปราการของบริษัทได้รับการดูแล

ไฟล์อะไรลับ ละเอียดอ่อน ก็ใส่ ฟีเจอร์ ตั้งรหัสผ่านไว้

การเข้ารหัสไฟล์เฉพาะที่สำคัญสำหรับออฟฟิศในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว อาจจะสามารถทำได้ตามวิธีการนี้ Windows 10 ขึ้นไป / MacOS Ventura 13 แต่ในกรณีที่ใช้ไฟล์ร่วมกันทั้งบริษัท ไม่ว่าจะผ่านเครื่อง Server หรือ NAS โดยสามารถกำหนดได้ว่า โฟลเดอร์นี้ใครจะมองเห็นได้บ้าง ใครมีสิทธิ์เปิดไฟล์นี้ได้บ้าง รวมถึงการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอนก็จะช่วยให้ไฟล์นั้นถูกจัดระเบียบได้
ฟีเจอร์ ป้องกันข้อมูลสูญหาย ก่อนจะสายไป data prevention

Firewall ต้องเข้าแล้วล้ะ (ป้อมยามของไอที)

ถ้าการใช้เน็ตบ้านมาติด ก็จะมีอุปกรณ์พ่วงเข้ามาประเภท เร้าเตอร์ ต่อสายแลนเข้าเครื่องคอมพ์โดยตรงเลย แต่ในออฟฟิศที่มีความซับซ้อนกว่าคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่อง จำเป็นต้องมีเครื่องกรองข้อมูลให้คนที่ไม่ใช่ออกไป

  • กรองข้อมูล
  • บลอคเว็บ
  • บลอคโหลดไฟล์แปลก
  • ส่องคนใช้งานไม่พึงประสงค์

สำรองข้อมูล ไม่มีก็ต้องทำ

โดยทั่วไปแล้วทุกบริษัทมีการเก็บข้อมูลไว้ส่วนกลาง (ในกรณีที่มีอุปกรณ์ Server ของตัวเอง) ทำให้การเก็บข้อมูลเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการขาย ข้อมูลทางบัญชี ข้อมูลพนักงานต่างๆ ถึงแม้ว่ามีการกำหนดบทบาทของผู้ใช้งานให้ใครเข้าถึงข้อมูลส่วนไหน แต่ในกรณีที่มีการยกเค้าเครื่อง ขโมยข้อมูลไปทั้งฮาร์ดดิสก์ ติดไวรัสแรนซัมแวร์อย่างไรก็ตาม การเตรียมพื้นที่สำรองข้อมูลที่ปลอดภัยไว้อีกชุดในอีกสถานที่หนึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆๆ ถ้าหากไม่มีการทำ mirroring (ก้อบปี้ไฟล์ไว้อีกลูกฮาร์ดดิสก์) หรือ Backup ไว้บน Cloud ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

สอนคนในบริษัทให้เข้าใจพื้นฐานการถูกหลอกลวง

การเทรนให้กับพนักงานก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่อาจจะถูกหลอกลวง การดูชื่ออีเมลที่ถูกปลอมขึ้นมา การหลอกให้ทำอะไรบางอย่างจากผู้ที่เหมือนจะรู้จัก สิ่งเหล่านี้สามารถอบรมทีมงาน รวมถึงทดสอบความเข้าใจของพนักงานได้ สามารถหาคอร์สเพื่ออบรมทีมงานได้จากที่นี่
ฟีเจอร์ สามัญประจำออฟฟิศ 5 firewall features

5 ฟีเจอร์ ที่เป็นสกิลสามัญประจำบ้านของทุกบริษัท

  1. ตั้งกฏเหล็ก ( ฟีเจอร์ ที่เห็นผลได้เร็วสุด)

    การตั้งกฏเกณฑ์การใช้งานระบบก็เหมือนกับการตั้งกฏของพนักงานในบริษัทในการเข้างาน ลามาสายเท่าไหร่ เพียงแต่กฏเกณฑ์ดังกล่าวนั้นจะแตกต่างออกไปในส่วนของเน็ตเวิร์ค การใช้คอมพิวเตอร์บริษัท การใช้อินเตอร์เน็ตบริษัทเท่านั้น

    • กฏของพนักงาน

      การใช้งานอินเตอร์เน็ตในเคสของบริษัทที่ไม่ต้องการให้พนักงานเข้าไปเล่นโซเชี่ยลมีเดียในเวลางาน ก็อาจจะจำกัดการใช้งาน การไม่ให้เข้าบางเว็บไซต์ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายการทำงานของบริษัทเองเช่นเดียวกัน

    • กฏของทางเทคนิค

      เป็นขั้นตอนที่ใช้โปรแกรมในการตรวจสอบพฤติกรรมการผิดปกติการใช้งาน อย่างเช่น (เหตุการณ์สมมติ) พนักงานจำเป็นต้องใช้ Google chrome ทำงานเป็นปกติ แต่อยู่ๆมีโปรแกรมอ่านไฟล์ PDF แอบเชื่อมต่อกับเว็บบางเว็บโดยไม่ได้อนุญาตพร้อมกับส่งข้อมูลออกไปตลอดเวลา พฤติกรรมการใช้งานที่แปลกและไม่พึงประสงค์เหล่านี้จะถูกอุปกรณ์ Firewall ตรวจจับได้ถ้าหากมีการเซ็ตระบบให้เป็นไปตามระบบความปลอดภัยพื้นฐานได้
      data structure

  2. จำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล 

    การกำหนดบทบาทของผู้ดูแลข้อมูล ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลบางส่วนได้ โดยการแยกหน้าที่อย่างชัดเจนนี่เองจะทำให้ข้อมูลนั้นมีผู้รับผิดชอบ สามารถรู้ได้ว่าในกรณีที่ถูกโจรกรรมข้อมูล ติดไวรัส หรือติดตั้งโปรแกรมไม่พึงประสงค์เข้ามาในเครื่องนั้นเกิดจากอุปกรณ์ตัวใด ใช้เวลาในการจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

  3. กรองข้อมูลอินเตอร์เน็ต คัดคนไม่ใช่ออกไป

    คุณสมบัติหนึ่งของ Firewall (ถ้าติดตั้งและดูแลอย่างถูกต้อง) จะทำหน้าที่กรองข้อมูลและจัดการกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม โดยการทำงานนั้นจะตรวจสอบตั้งแต่การเชื่อมต่อเข้ามา ระยะเวลาที่เชื่อมต่อ ดูการใช้ข้อมูลของโปรแกรมที่อยู่ในเครื่อง การส่งข้อมูลของโปรแกรม ถ้าหากว่ามันมีอะไรไม่ชอบมาพากล กลไกการทำงานนั้นจะถูกแยกเข้าไปในระบบคัดกรองความปลอดภัยว่าพฤติกรรมนั้นจะอยู่ในระบบ เฝ้าระวัง ถูกปิดกั้น หรือ อันตราย เก็บเก็บ record ให้กับผู้ดูแลระบบจัดการต่อไป
    data filtering and screen some user out

  4. ดูพฤติกรรมที่แปลกประหลาดกว่าคนในออฟฟิศ

    ถึงแม้ว่าแฮกเกอร์จะพยายามเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งานจริงอยู่แล้ว แต่ในสถานที่ ผู้คนในการทำงานจะมีพฤติกรรมที่คล้ายกันจนสามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่ได้รับอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง อย่างเช่นได้รับอีเมลจากเพื่อนร่วมงานในการออกเอกสารบางอย่าง ในบางออฟฟิศรูปแบบการส่งอีเมลนั้นอาจจะเป็นการสื่อสารภายในแบบไม่เป็นทางการ ไม่มีฟอร์มหัวท้ายของจดหมาย แต่เมื่อได้รับเมลฉบับหนึ่งจากเพื่อนร่วมงานมีการพูดคุยด้วยภาษาอย่างเป็นทางการ มีรูปแบบที่แปลกแตกต่างจากวัฒนธรรมองค์กรที่ใช้กันอยู่ ก็จะสามารถแยกได้ว่าอีเมลฉบับนี้แปลกปลอม ซึ่งสิ่งที่ต้องการตรวจสอบอีกครั้งอาจจะเป็นการสอบถามเพื่อนร่วมงานโดยตรง การตรวจสอบที่อยู่ของอีเมล ในกรณีที่เครื่องนั้นถูกแฮกอย่างสมบูรณ์แล้วเป็นไปได้ที่แฮกเกอร์อาจจะสามารถรับส่งอีเมลได้จากอีเมลของเหยื่อจริงๆ จนไม่สามารถแยกได้ ดังนั้น พฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างพนักงานที่ต้องเรียบรู้พฤติกรรมที่ไม่ปกติ รวมถึงอุปกรณ์กรองข้อมูลที่ทำหน้าที่คัดแยกไฟล์ ปิดกั้นการเปิดลิงค์ที่มาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจได้

  5. ใช้ข้อมูลเชิงลึก (ทางเทคนิค)

    เหนือสิ่งอื่นใดสิ่งที่คนไม่ได้เป็นไอทีอาจจะไม่สามารถทำส่วนนี้ได้ถ้าไมไ่ด้รับความช่วยเหลือจากผู้ที่รู้งานระบบ การใช้ข้อมูลเชิงเทคนิคเป็นการไปเปิดดู dushboard ของการทำงาน การดู traffic ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของคนในออฟฟิศ รวมถึงการตรวจดูว่าเครื่องไหนมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ถูกคัดกรองได้ของอุปกรณ์ Firewall มาแล้ว จากนั้นจะสามารถช่วยมอนิเตอร์ทีมงานในการจัดการกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในเวลาอันใกล้ โดยการจัดการระบบครบวงจรนั้นสามารถทำโดยการใช้ออแกไนซ์เซอร์ที่ดูแลระบบความปลอดภัยอยู่แล้วมาช่วยในการวางระบบ ดูแล และนำอุปกรณ์มาติดตั้งในออฟฟิศได้ผ่านบริการ Firewall as a Service ซึ่งสามารถศึกษาได้จากข้อมูลด้านล่างนี้

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค พร้อมกับทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล​

  • Firewall subscription model
  • พร้อมพนักงานบริหารจัดการระบบหลังบ้าน
  • มีการตั้งค่า configuration ตามนโยบายบริษัท
  • มีที่ปรึกษาดูแลระบบตลอดอายุสัญญา

ปรึกษาการทำ Cyber Security

กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้

IT Security คือ อะไร 7 ขั้นตอนสร้างรากฐาน Network บริษัทให้มั่นคง

IT Security คือ

IT Security คือ พื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยของ Network ในทุกบริษัท ทำให้ส่วนประกอบของการทำนั้นนอกจากต้องมีแผนการทำงานที่แน่นอน มีกลยุทธ์การรับมือกับการทำงานด้วยทฤษฏีชีสแผ่น หรือตามแต่เทคนิคของ Cyber security

IT Security คือ พื้นฐานของความปลอดภัยทาง Network

มีการศึกษาที่น่าสนใจจาก The National Security Agency หรือสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) และ NetCraftsmen ได้ระบุฟังก์ชันพื้นฐาน 7 อย่างเพื่อเป็นรากฐานของระบบที่ดี ฟังก์ชันเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันเหตุการณ์ทางไซเบอร์ถึง 93% อีกทั้งยังทำให้เกิดรากฐานที่มั่นคงเพื่อสร้าง security system ที่ครอบคลุมและปลอดภัยจาก 7 ขั้นตอนดังนี้

Foundation of it security

INFO Graphic source : Source

  • Multifactor authentication
    แทนที่จะใช้ basic password บริษัทควรใช้ multifactor authentication หรือการพิสูจน์ตัวตนแบบหลายปัจจัย เช่น การพิสูจน์ตัวตนแบบสองปัจจัย หรือ two-factor authentication (2FA) ที่หากเราลงชื่อเข้าใช้ในบัญชีใด ๆ มันจะส่งรหัสผ่านไปที่มือถือของคุณ เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนอีกที ความท้าทายในการส่งข้อความกลายเป็น mechanism ยอดนิยมสำหรับ 2FA เพราะอาจถูกโจมตีโดยผู้ที่ไม่หวังดี โดยการเข้ายึดบัญชีโทรศัพท์ หรือหมายเลขโทรศัพท์

  • การควบคุมแบบ Role-based access
    การที่พนักงานที่มีหน้าที่หรือบทบาทนั้น ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการทำงานนั้นได้เพียงอย่างเดียว พนักงานที่มีบทบาทหรืออยู่ฝ่ายอื่นจะเข้ามาใช้ข้อมูลหรือทรัพยากรอีกแผนกไม่ได้ ตัวอย่างเช่นพนักงาน HR จะเข้าถึงข้อมูลของฝ่ายบัญชีไม่ได้ และด้วยการจำกัดแบบ role-based access นี้ จะช่วยสามารถป้องกันบริษัทจากการถูกขโมยข้อมูลได้“นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดจะต้องมีการควบคุมความปลอดภัยในการเข้าถึงตาม role-based access เนื่องจากการป้องกันทางไอทีมีความสำคัญมากขึ้น”

สมัครรับข่าวสาร "ความปลอดภัยไอทีในองค์กร"

  • แอปพลิเคชัน Allowlist
    Networks เคยเป็นระบบเปิด และจะกรองแค่การปฏิเสธการเชื่อมต่อบางอย่างเพียงอย่างเดียว ส่วน Allowlisting คือการแปลงกระบวนการนั้น เพื่ออนุญาตเฉพาะการเชื่อมต่อและ data flows ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของแอปพลิเคชันเท่านั้น การเชื่อมต่ออื่น ๆ ทั้งหมดจะถูกปิดกั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อลดโอกาสในการละเมิดความปลอดภัย (Security Breach) ที่จะแพร่กระจายไปทั่วทั้งองค์กร ทีมงานไอทีควรกำหนดค่า filtering systems เพื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น บันทึกความล้มเหลวในการพยายามสร้างการเชื่อมต่อ โดยการแจ้งเตือนเหล่านี้จะนำไปยัง accounts หรือ systems ที่ถูกบุกรุกได้ 

  • Patching และวิธีแก้ปัญหา
    ทีมไอทีต้องสามารถ patching และ installing ปัญหาที่เกี่ยวกับช่องโหว่ ตามที่ระบุไว้ในการนำเสนอของ NSA การโจมตีแบบ zero-day แทบจะไม่เกิดขึ้น และการละเมิดทาง cybersecurity ส่วนใหญ่เกิดจากระบบที่ไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นจึงต้องมีการอัปเดต applications, server OSes และโครงสร้างพื้นฐานของ network เป็นประจำ นอกจากนี้ทีมไอทีจะต้องมีกระบวนการและบุคคลในการติดตามการอัปเดต และระบบ configuration management เพื่ออำนวยความสะดวกในการอัปเดต

  • Network segmentation
    เป้าหมายของ network segmentation หรือการแบ่งส่วนเครือข่าย คือเพื่อป้องกันไม่ให้มัลแวร์อัตโนมัติแพร่กระจายไปในส่วนของฟังก์ชันธุรกิจ ตัวอย่างของการแบ่งย่อย network ออกเป็นส่วน ๆ เช่น facilities infrastructure networks เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่แผนกอื่น ๆ จะเข้าถึงฟังก์ชันทางธุรกิจ ดังนั้นทีมไอทีควรใช้แอปพลิเคชัน Allowlist สำหรับการเข้าถึงระหว่าง business segments

  • System backups
    การบุกรุกที่พบบ่อยที่สุดคือแรนซัมแวร์ ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจเสียหายได้ ดังนั้นการสำรองข้อมูลระบบหรือ system backups สามารถกำจัดความเสี่ยงจากการโจมตีได้มาก ซึ่งทีมไอทีจะต้องออกแบบ backup systems อย่างรอบคอบเพื่อให้ปลอดภัย เนื่องจากผู้โจมตีมักจะตรวจสอบ IT systems หลายสัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มทำการเข้ารหัสข้อมูลขององค์กร ภัยธรรมชาติอาจก่อกวนธุรกิจได้เช่นเดียวกับการโจมตีของแรนซัมแวร์ ดังนั้นควรจัดเก็บข้อมูลสำรองไว้ในที่ที่ปลอดภัย หรือที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ลองค้นคว้าดูว่าธุรกิจต่าง ๆ รับมือและฟื้นตัวจากภัยธรรมชาติได้อย่างไรบ้าง

  • การศึกษาด้าน IT security คือ การ  Educate พนักงาน
    ขั้นตอนสุดท้ายของการรักษาความปลอดภัยคือการ educate พนักงาน ลองใช้ anti-phishing campaigns เพื่อฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับประเภทของอีเมลที่เอื้อต่อการบุกรุกหรือการฉ้อโกง การโจมตีทั่วไปคือการล่อลวงพนักงานให้คลิกเรื่องตลก รูปภาพ หรือวิดีโอที่ติดมัลแวร์ในอีเมล แล้วชักจูงให้พนักงานทำการโอนเงินให้ 

ระบบป้องกัน Ransomware ที่ดี

จัดระเบียบระบบ Network องค์กรเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจาก Ransomware โดยเฉพาะ โดยเริ่มจากการออกแบบระบบ วางอุปกรณ์ และดูแลให้คำปรึกษาตลอดอายุสัญญา 

โรงพยาบาล จัดเก็บข้อมูลคนไข้ ถูกแฮกข้อมูล สาเหตุ และ วิธีแก้ไข

โรงพยาบาล

โรงพยาบาล เป็นสถานที่ผู้ป่วยนั้นเข้าไปรวมกัน โดยที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูล บันทึกประวัติการรักษา ทำให้ในสถานพยาบาลเองจำเป็นต้องเก็บข้อมูลปริมาณมากและเป็นข้อมูลที่อ่อนไหวส่วนบุคคล ทำให้เป็นสถานที่หนึ่งที่แฮกเกอร์นั้นมุ่งเป้าในการโจมตีข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่

โรงพยาบาล และ หน่วยงานรัฐ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของหลายหน่วยงานในการเปลี่ยนการเก็บข้อมูลด้วยเอกสารกระดาษมาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้เองการเปลี่ยนผ่านด้านระบบจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากข้อมูลที่มากมายของแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐบาลที่ต้องมีการบริการประชาชน และข้อมูลมากมายมหาศาลเหล่านี้ 

แม้ว่าโดยทั่วไประบบโครงสร้างพื้นฐานของไอทีในแต่ละบริษัท หรือ หน่วยงาน จำเป็นต้องมีระบบการป้องกันด้านไอที มีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆก็ตาม ก็ยังมีการถูกโจมตีเข้าระบบอย่างหลากหลายวิธีการ โดยการทำงานของเหล่าแฮกเกอร์นั้นคือนักแคะค้น ที่พยายามค้นหาวิธีการต่างๆในการหาช่องโหว่ของข้อมูล โดยวิธีที่คลาสิกที่สุดที่เคยพบเจอกันได้บ่อยๆคือการ Login เข้าไปตรงๆในฐานข้อมูล หรือ ล่วงรู้รหัสผ่านในการเข้าถึงฐานข้อมูล แต่ปัจจุบันวิธีการนี้เป็นช่องทางที่เข้มงวดสูงสุดที่ทำให้แฮกเกอร์เจาะเข้าได้ยากที่สุด จึงมีการเปลี่ยนวิธีการเจาะระบบที่แตกต่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น

  • เมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่มีข่าวมือแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขกว่า 16 ล้านคนโดยที่มีต้นเหตุมาจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ 
  • วันนี้ 8 กันยายน ทาง ผอ. สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ไปแจ้งความเรื่องถูกแฮกเกอร์เจาะระบบโดยขโมยข้อมูลคนไข้ Xray ฟอกไต จ่ายยา ของคนไข้กว่า 40,000 ราย

ถ้าเข้าใจกระบวนการสร้างไอทีขององค์กรอย่างโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์นับหลายร้อยหลายพัน และมีการเข้าถึงข้อมูลปริมาณมากมาย ความหลากหลายกับความปลอดภัยที่ไม่รัดกุมเหล่านี้เองจึงเป็นส่วนที่ทำให้เมื่อแฮกเกอร์พบช่องโหว่ที่เจาะข้อมูลเข้าไปได้แล้ว มีการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลทั้งหมดออกจากระบบได้อย่างง่ายดาย 

โรงพยาบาล ข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลของคนไข้ ยังมีโรงพยาบาลบางแห่งจัดเก็บด้วยเอกสาร

ระบบ โรงพยาบาล ตกยุค?

ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 ในช่วงแรก ที่มีการสั่งปิดสถานที่ โรงพยาบาล หรือ ไซต์งานก่อสร้างต่างๆ ทำให้บริษัทน้อยใหญ่จำนวนมากเกิดการสูญเสียสภาพคล่องจากการทำธุรกิจ และปิดตัวไปทำให้คนตกงานจำนวนมาก เหตุนี้เองทำให้แรงงานในระบบประกันสังคมนั้นจำเป็นต้องมีการขอรับเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้างครั้งนั้น แต่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ระบบนั้นจ่ายเงินให้แรงงานที่ถูกเลิกจ้างอย่างล้าช้า อันเนื่องมาจากระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เก่าล้าหลังที่ชื่อว่าระบบ SAPIEN ที่ปัจจุบันอาจจะค้นหาชื่อระบบดังกล่าวไม่เจอแล้ว 

ในระยะหลังที่มีการพัฒนาของอินเตอร์เน็ตที่แรงพอ ทำให้การลงทุนในระบบอุปกรณ์ไอทีนั้นมีความท้าทายมายิ่งขึ้น ความปลอดภัยทางไอที ช่องโหว่ของโปรแกรมนั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลด้วยวิศวกรที่พัฒนาระบบขึ้นมา โดยระบบความปลอดภัยทางไอทีนั้นมีระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านระบบใหม่นั้นมีระยะสั้นขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจาก 20 ปีและร่นระยะลงมาจนกระทั่งเป็นหลักน้อยกว่าปีหนึ่ง โดยเทคโนโลยีที่หลายองค์กร หรือ หน่วยงานรัฐใช้เองก็ตามอาจจะจำเป็นต้องมีการยกเครื่องใหม่ ทั้งความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล และลำดับความสำคัญในการรักษาข้อมูลที่พูดถึงกันในปัจจุบัน 

  • คุณเคยเจอเมล์เหมือนธนาคารส่งมาให้กดลิงค์เปลี่ยนแปลงบัญชี
  • คุณเคยเห็น SMS บาคาร่า หวยออนไลน์
  • คุณเคยรับ Call center ในการแจ้งพัสดุตกค้างจากต่างประเทศหรือยัง?

เบื้องหลังการได้มาซึ่งข้อมูลที่มิจฉาชีพได้มานั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุจนยากที่จะย้อนกลับไปหาต้นเหตุของปัญหาได้ แต่หนึ่งในที่มาของการได้มาซึ่งข้อมูล คือการเข้าถึงข้อมูลโดยทั้งการเจาะเข้าไปในฐานข้อมูลล้าหลังของผู้เก็บข้อมูล หรือ แม้กระทั่งการขายข้อมูลตรงๆเลยก็มีมาให้เห็นแล้ว 

โรงพยาบาลการจัดลำดับความปลอดภัยของข้อมูล

เครื่องมือด้านความปลอดภัยของข้อมูลในปัจจุบันมีหลากหลาย รวมถึงการเก็บข้อมูลและจัดการโครงสร้างระบบไอทีในองค์กรเองก็มีทั้งวางระบบเครื่อข่ายทั้งหมดของตัวเอง ทำไฮบริดระหว่างลงทุนผสมกับการใช้ Cloud computing และระบบ Multi cloud ทำให้การเข้าใจถึงโครงสร้างการเก็บข้อมูลของตัวเองก่อนจะทำให้สามารถแยกแยะ คัดกรอง ข้อมูลได้

  • การจำแนกข้อมูล

    โดยชุดข้อมูลต่างๆที่นำมาจัดเรียงนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างมีแนวทาง แบบแผน เช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล อาจจะมีข้อจำกัดการเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่า การเก็บข้อมูลละเอียดอ่อน การให้สิทธิ์ของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจะสามารถเข้าถึงได้เฉพาะลูกค้าในสาขา ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับผู้จัดการสามารถเข้าถึงได้ในภูมิภาคที่ดูแล เป็นต้น 

  • การติดตามข้อมูล

    โดยเครื่องมือที่ติดตามกิจกรรมการทำงาน การเข้าใช้งาน จำเป็นต้องมีการติดตาม ทั้งเวลาที่มีการเข้าใช้งาน กิจกรรมที่ทำในระหว่างการเข้าใช้งาน รวมถึงกิจกรรมที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการมอนิเตอร์ด้วยอุปกรณ์ Firewall ร่วมกับทีมผู้ดูแลระบบความปลอดภัย

  • การประเมินความเสี่ยง

    ในส่วนนี้จะเป็นการเข้าไปตรวจสอบโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง การอัปเดตโปรแกรม ฐานข้อมูลโปรแกรมให้ใหม่อยู่เสมอ กระบวนการเข้าไปตรวจสอบรหัสผ่านที่ใช้งาน ระดับความปลอดภัยของรหัสผ่าน รวมถึงการประเมินจุดที่มีความเสี่ยงสูงในการถูกโจมตีและทำการส่งข้อมูลกลับไปให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา

โรงพยาบาล โจรกรรม
การแก้ไขปัญหาการแฮกข้อมูล จำเป็นต้องเริ่มจากระบบที่มีระเบียบ ลำดับชั้นของความปลอดภัย

การดูแลความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน

สำหรับผู้ใช้งานภายในระบบเองก็อาจจะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งการถูกบังคับเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ การใช้ระบบการยืนยันตัวหลายชั้น หรือการจำเป็นต้องยืนยันตัวตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชนเลยก็ตาม ถึงแม้ตัวระบบเองอาจจะไม่ได้มีข้อห้ามดังกล่าว การจัดการกับรหัสผ่านของคุณเองด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ไม่หวังดียากที่จะคาดเดารหัสผ่านของคุณได้

  • ตั้งรหัสผ่านที่มีความซับซ้อน

    หลายครั้งระบบถูกแฮกไม่ได้มากจากวิธีการซับซ้อน แต่มันเกิดจากการตั้งรหัสผ่านง่ายๆเช่น abcd  ,1234, aaabbb ฉะนั้นการเปลี่ยนรหัสผ่านให้มีตัวอักษรเล็ก ใหญ่ สัญลักษณ์ต่างๆ และตัวเลขทำให้รหัสผ่านมีความปลอดภัยมากขึ้นได้ครับ เช่น AbX10ae.@ เป็นต้น

  • เปลี่ยนรหัสผ่านอยู่สม่ำเสมอ

    นอกจากการตั้งรหัสผ่านที่ยากขึ้นแล้ว ก็อาจจะมีช่องโหว่ที่ถูกขโมยรหัสได้ เช่น ไปเผลอจดไว้ในคอมพิวเตอร์สาธารณะ  แล้วมีคนเปิดและแอบเข้าไปใช้งาน ดังนั้นวิธีการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ เช่น เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 3 เดือนก็ทำให้มั่นใจเพิ่มขึ้นอีกระดับ

  • ป้องกันด้วย Two authentication

    หลังจากที่มีการป้องกันด้วยรหัสผ่านแล้ว มันยังเป็นการป้องกันชั้นแรกเท่านั้น เพื่อความมั่นใจสูงสุด จึงมีการป้องกันชั้นสองที่เรียกว่า Two authentication วิธีการนี้อาจจะเป็นการส่ง SMS เข้ามือถือ เพื่อเข้าใช้งานระบบหรือใช้แอพพลิเคชั่น Authenticator ก็เป็นวิธีการที่ดีเช่นเดียวกัน

  • ไม่ต่ออินเตอร์เน็ตจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

    เมื่อเราสามารถปกป้องรหัสผ่านจากวิธีการที่กล่าวมา หลายครั้งเองการถูกขโมยข้อมูลนั้น เกิดจากการต่ออินเตอร์เน็ตจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น คาเฟ่ หรือ free wifi ต่างๆแล้วมีคนไม่หวังดีดักข้อมูลที่เราเชื่อมต่อ ทั้งรหัสผ่าน การเข้าแอพ และกิจกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ได้

it support คือความปลอดภัยไอทีสำหรับบริษัทที่เริ่มต้น

สำหรับบริษัท ห้างร้าน ที่เริ่มมีการจัดการระบบความปลอดภัยทางไอที การจัดระดับความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ที่ได้รับอนุญาต จำเป็นต้องมีกระบวนการที่เรียกว่า Achitechture day ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการจัดองค์ประกบของข้อมูลทั้งหมด

  • กระบวนการจัดโครงสร้างเครือข่าย

    การเข้าไปตรวจสอบตำแหน่งที่จัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูลมีกระบวนการอย่างไร มีการเก็บในระบบ Server เดียวหรือมีการสำรองข้อมูล การแบ่งข้อมูลไปเก็บไว้บน Cloud บางส่วน เพื่อสอดคล้องกับความคล่องตัวของบริษัท เหล่านี้เป็นเสมือนปราการด่านแรกก่อนมีการเปลี่ยนผ่านข้อมูล

  • กระบวนการจัดเรียงข้อมูล

    ถ้าหากระบบเดิมนั้นไม่มีการจัดโครงสร้างของข้อมูลเอาไว้ ทำให้เมื่อมีการเข้าถึงระบบจะสามารถเข้าถึงโดยตรวจสอบย้อนกลับไม่ได้ หรือ ผู้ที่ทำงานร่วมกันไม่สามารถค้นหาข้อมูลดังกล่าวได้ เหล่านี้อาจจะเกิดจากความไม่เป็นทางการของการจัดเก็บ จำเป็นต้องมีการจัดเรียงใหม่ ไม่ใช่เพียงเหตุผลของการจัดการระบบหลังบ้านเท่านั้น แต่การเข้าถึงข้อมูลต่างๆจะทำให้เราเองสามารถจำแนกได้ว่าข้อมูลส่วนไหนที่เป็นข้อมูลสำคัญ ข้อมูลไหนที่ให้เฉพาะบางคนเข้าถึงได้ ส่วนหนึ่งของวิธีการนี้จะช่วยให้กรณีที่มีการถูกแฮกข้อมูลเข้ามา จะสามารถจำกัดวงของความเสียหายได้

  • กระบวนการคัดกรองข้อมูล

    กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในระบบนั้นเราไม่สามารถในการควบคุมได้โดยมนุษย์ตลอดเวลา เราจึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการมาช่วยจับกิจกรรมที่ไม่ชอบมาพากล กิจกรรมที่มีการดึงข้อมูลออกในปริมาณมากเกินความจำเป็น หรือ การถูกเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งที่มาที่น่าสงสัย โดยกระบวนการนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ Firewall พร้อมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแล และติดตั้งระบบหลังบ้านให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร จะช่วยเกิดประสิทธิผลสูงสุดกับความปลอดภัยในบริการ Firewall as a Service

Firewall as a Service

การจัดระเบียบความปลอดภัยเป็นการวางรากฐานความปลอดภัยขององค์กร การจัดการข้อมูลและตรวจสอบการทำงานอย่างเข้มงวดจำเป็นต้องมีระบบที่ดี พร้อมผู้เชี่ยวชาญมาซัพพอร์ตซึ่งบริการจะประกอบไปด้วย

  • การให้คำปรึกษาในการปรับปรุงระบบความปลอดภัยข้อมูล
  • แนวทางการจัดการข้อมูลที่มีการเข้าออกจากเครือข่าย
  • การจัดการคอขวดของระบบความปลอดภัยให้มีการคัดกรองโดยไม่สะดุดการใช้งาน
  • มีผู้เชี่ยวชาญคอยจัดการดูแลซอฟแวร์และจัดการ License โดยรวมอยู่ในบริการแล้ว

ปรึกษาการทำระบบความปลอดภัยข้อมูล

กรอกแบบฟอร์มเพื่อให้ทีมงานติดต่อกลับ

IT Handyman ทีมไรเดอร์ฉุกเฉินของไอที ฝนตก รถติด ลืม config ก็บิดไปช่วย

Digital signature

การทำงานไอที หลายครั้งเองจะมีปัญหาจุกจิกที่ลืมทำ เช่น ลืมตั้งค่า Plug ins เปิดการตั้งค่าบางอย่าง ทำให้หลังเลิกงานต้องฝ่ารถติด น้ำท่วม พายเรือย้อนกลับมาออฟฟิศ เพื่อมากดสักปุ่ม ตั้งค่าบางอย่างให้เสร็จสิ้นไป จึงเกิดเป็นตัวช่วยชาวไอที Handyman ผู้เข้ามาทำธุระตามสั่งให้คนทำงานให้จบไป

ผู้ชายลืมเรื่องเล็กๆน้อยๆ

จากสถิติพนักงานไอที โปรแกรมเมอร์ต่างๆมีสัดส่วนผู้ชายถึงกว่า 70% ทำให้ผู้ชายที่มีลักษณะการคิดแบบองค์รวม

ไม่เชี่ยวชาญด้านการทำงานละเอียด ปราณีต เหตุนี้เองทำให้นอกจากผู้ชายจะชอบลืมวันครบรอบสำคัญต่างๆแล้ว ในการทำงานจริงหลายครั้งมักจะลืมใส่ Syntax เล็กๆน้อยๆ แล้วทำให้โค้ดไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้หลายครั้งผู้ที่มาทดสอบระบบเองก็จะเป็นผู้หญิงที่จะเข้ามาตรวจดูโค้ด หรือ แม้กระทั่งอาชีพที่ต้องละเอียดในงานอย่างบัญชี หรือ พยาบาล สัดส่วนในอาชีพก็จะเป็นเพศหญิงที่มีความละเอียดในงานกว่านั่นเอง

งานไอทีงานละเอียดที่ต้องดูแล

ถึงแม้ว่าการทำงานใน IT นั้นมีแยกทั้งงานโครงสร้าง งานอุปกรณ์ งานระบบ งานซ่อมบำรุง สิ่งเหล่านี้เองนับวันจะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

และต้องเรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา ทำให้หลายครั้งทีมงานเองก็จะมีการตกหล่นการตั้งค่า ไปบ้าง การตรวจสอบกลับซึ่งกันและกันจะช่วยให้งานนั้นไม่ผิดพลาดและย้อนกลับมาแก้ยาก โดยการใช้ Swiss cheese model ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ดีในระยะยาว

IT Handyman Rider ฉุกเฉินของไอที

หลายครั้งการทำงานนั้นมีการเตรียมการณ์มาดีเท่าไหร่ก็ตาม ก็ต้องการทีมที่ช่วยเหลืองานแบบไม่คาดฝัน หรือต้องการมีลูกมือช่วยบางงานเฉพาะกิจ

ทำให้เป็นบริการ Rider ที่เข้ามาซัพพอร์ตงานของไอที ซึ่งจะช่วยวิ่งเข้าไปหน้างานแทน สามารถตั้งค่าในไซต์ที่ต้องการ โดยทีมงานของเราเป็นทีมงานที่ทำงานด้านไอทีระบบ และไอทีฮอาร์ดแวร์ พร้อมรับงานตามเวลาตามที่ตกลงสามารถขอนามบัตรจากเราได้

บริการนักแก้ปัญหาฉุกเฉินเพื่อคนไอที

เลือกทักษะที่ต้องการได้

การเข้ามาของทีมซัพพอร์ต IT เป็นการนำผู้ต้องการหาคนที่เข้าใจระบบที่ต้องการ มาพบกับผู้รับงานที่ต้องการหารายได้เสริมมาพบกัน

มีอิสระในการรับและจ้างงาน

โดยผู้ให้บริการ และ ผู้รับบริการสามารถตกลงเวลาทำงาน ค่าบริการและสถานที่ได้ตามต้องการ ผ่านตัวกลาง ซึ่งการันตีได้ว่าผู้ต้องการพนักงานจะได้งานโดยไม่ถูกทิ้งงานระหว่างทาง การการันตีการคืนเงิน 100% ถ้าถูกทิ้งงาน

สามารถจ่ายในนามบริษัทได้

ในกรณีที่ต้องการจ้างงานสามารถนำจ่ายได้ในนามบริษัท ออกใบกำกับภาษีได้ 100% 

ขอข้อมูลบริการ IT Handy man ที่นี่

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

Network diagram งานศิลปะที่แสดงความเชี่ยวชาญขององค์กร

Network diagram เป็นองค์ประกอบการสร้างระบบความปลอดภัยขององค์กร ใช้ประโยชน์ในการย้อนกลับไปตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ การสร้างรหัสป้องกันการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการวาง Zero trust achitechture ที่เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับสูงในปัจจุบัน

เราใช้ Network ทำงานกันอย่างแยกกันไม่ออก

หลายองค์กรที่ไม่ได้ทำด้านระบบ IT สิ่งที่ทำให้หลายบริษัทนั้นปล่อยให้ Network diagram ขององค์กรนั้นเติบโตตามธรรมชาติ

เช่น ขยายองค์กรก็ซื้ออุปกรณ์ Switch เดินสาย Lan กับระบบ Firewall ที่มีมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท เพียงแค่ขอให้อินเตอร์เน็ตใช้ได้ปกติ เก็บข้อมูลเข้าระบบ Server ได้อย่างเป็นธรรมดา ซึ่งในตามปกติการขยาย Network องค์กรตามธรรมชาตินั้นก็มีความเสี่ยงประมาณหนึ่ง จนกระทั่งการต้องทำงานจากที่บ้าน การเข้ามาของระบบ VPN และการที่ให้พนักงานใช้อินเตอร์เน็ตมาสู่ intranet ภายใน เกิดเป็นการแอบย่องเข้ามาของคนที่เหมือนพนักงาน แทรกซึมเข้ามาในระบบโดยไมได้รับเชิญ

traditional network diagram

อย่าปล่อยให้ Network เติบโตไปตามอิสระ

การเปลี่ยนแปลงทำงานที่ให้พนักงานเข้าสู่ Network ของบริษัทอย่างอิสระ เป็นความจำเป็นในการ social distancing

ที่ผ่านมาการทำระบบโครงข่ายเน็ตเวิร์คเดิมเริ่มมีความท้าทายความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ในวงการ IT เองเริ่มจะมีเทรนด์การเปลี่ยนอุปกรณ์ วางระบบ Network ใหม่ รวมไปถึงอุดช่องโหว่ที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุปกรณ์ที่เก่าและไม่มีการเข้ารหัสความปลอดภัยที่ทันสมัย

Network diagram เพื่อการป้องกัน Ransomware โดยการไว้ใจให้น้อยที่สุด

การออกแบบ Network diagram เป็นกระบวนการที่ไอทีในบริษัท ต้องมีการเติมความรู้ใหม่เข้าไปตลอดเวลา

เนื่องจากการสร้างโครงสร้างเน็ตเวิร์ครูปแบบนี้ จะช่วยทำให้บริษัทประหยัดเงินจากค่าความเสี่ยงทั้งข้อมูล และถูกขโมยข้อมูลไปเรียกค่าไถ่ออกมา จากระบบกระจายความปลอดภัยที่ใช้การไว้ใจให้น้อยที่สุด หรือสถาปัตยกรรมที่ชื่อ Zero trust architecture (ดังภาพ)

ระบบ Zero trust เป็นการกระจายความปลอดภัยและเชื่อใจน้อยที่สุด

การจัดรูปแบบระบบความปลอดภัยใหม่  จะมีการเน้นฟีเจอร์ของระบบให้ครอบคลุมทั้ง 6 หน้าที่ด้วยกัน ได้แก่

  1. Firewall เป็นระบบฐานข้อมูลที่อัปเดตความปลอดภัยใหม่

  2. Crypto เป็นระบบ Blockchain ที่ใช้ Block ข้อมูลมาเชื่อมต่อกัน ทำให้การแอบใส่ข้อมูลระหว่างกันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก

  3. Intrusion prevention system ระบบป้องกันการบุกรุกจากผู้ใช้งานไม่พึงประสงค์

  4. Activity monitoring เป็นกระบวนการที่สามารถเห็นการใช้งานของผู้ใช้งานภายในระบบ

  5. Content filtering ระบบคัดกรองไม่ให้เข้าถึงบางเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้ลูกข่ายเข้าไป

  6. Access control ระบบจัดการเครือข่ายภายใน

นอกจากนี้ระบบนี้นอกจากจะเป็นระบบที่ไว้ใจน้อยที่สุด แต่ทำให้ระบบความปลอดภัยมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วยการตรวจสอบหลากหลายขั้นตอน MFA แต่มอบข้อมูลให้กับคนที่เข้าถึงน้อยที่สุด เช่น การเข้าฐานข้อมูลจากนอกออฟฟิศสามารถเข้าได้เพียง A B C แต่ถ้าหากเข้าจากภายในสามารถเข้าถึงได้เต็มระบบเพียงแต่ต้องตรวจสอบว่า GPS อยู่ตำแหน่งออฟฟิศไหม ใช้อินเตอร์เน็ตภายในหรือยัง ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจสอบที่ซับซ้อนและมีเวลาจำกัดนั่นเอง

วางระบบ Zero trust ทดแทนการใช้ Network เดิมๆได้ยังไง

ปัจจุบันมีบริการวางระบบ Network security ให้เห็นมากยิ่งขึ้น โดยกระบวนการที่จะช่วยเริ่มต้นโครงข่ายเน็ตเวิร์คภายในองค์กรที่ดี คือการเริ่มต้นไล่เรียงระบบใหม่ตั้งแต่การเดินสาย ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ รวมถึงการนำฟีเจอร์ต่างๆของระบบมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดการถูกโจรกรรมข้อมูล Ransomware และการรับไวรัสเข้ามาในคอมพิวเตอร์ของบริษัท ผ่านบริการที่เรียกว่า Firewall as a Service

FWaaS advantage

Firewall as a Service

ช่วยออกแบบความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค Zero trust

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล

ปรึกษาการทำระบบ Cyber Security

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

Firewall network ระบบไฟร์วอลล์ ระบบความปลอดภัย Network ด้วย FWaaS

firewall network

หลายบริษัทคงเคยมีปัญหาอินเตอร์เน็ตล่มต้องรอไอที เจออีเมล์ที่คล้ายคนในแผนกส่งไฟล์แปลกมาหาคนในออฟฟิศ แล้วมีคนเผลอกดเข้าไป ซึ่งปัญหาต่างๆไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่โดยมากมาจากอุปกรณ์ที่เป็น รปภ.ไอที ของบริษัท ที่ชื่อว่า “Firewall network” ทั้งเก่าและไม่อัพเดท

Firewall network เดิมๆมีปัญหาอะไร?

โดยปกติแล้วเครื่อง firewall network ที่ใช้กันในบริษัทนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมาการซื้อมาวางไว้ในบริษัท

เหมือนซื้อคอมพิวเตอร์มาสักเครื่อง แล้วใช้ Windows เดิมๆ และไม่ได้รับการอัพเดทความปลอดภัยมานาน และไม่ได้รับการเหลียวแล และเริ่มเกิดความผิดพลาดต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ตมีปัญหา ไวรัสเข้ามาจากการต่อเน็ต หรือมีอีเมล์แปลกเข้ามาใน Inbox ของพนักงาน จะทำอย่างไรที่จะมั่นใจว่าไฟร์วอลล์ ที่เสมือนเป็น รปภ. ไซเบอร์ของบริษัทที่เราจ้างมานั้น สามารถทำงานได้กระฉับกระเฉง ไหวพริบดี อยู่ในกฏระเบียบตลอดเวลา ซึ่งหลายครั้งเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย สำหรับหลายกิจการที่ต้องดูแลสินค้าคงคลัง ยอดขาย และการวางแผนธุรกิจให้ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

firewall networkไฟร์วอลล์ถูกดูแลอย่างถูกต้องหรือเปล่า?

ระบบ Firewall ที่มีอยู่มันเพียงพอสำหรับ Work from home หรือเปล่า

ปัจจุบันนี้มีความต้องการที่หลากหลายในการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะเครื่องมือที่เรียกว่า Zero trust architecture ที่เป็นระบบการกระจายความปลอดภัยของการทำงานนอกสถานที่ นอกบริษัท ทดแทนการทำงานระบบ VPN ที่ต้องมีการเชื่อมต่อเข้ามาดูข้อมูลบริษัท ที่มีความเสถียรน้อยกว่านั่นเอง

โดยฟีเจอร์ที่มาในอุปกรณ์ไฟร์วอลล์รุ่นใหม่นั้นจำเป็นต้องมีการดูแลระบบด้วยทีม Cyber security ที่มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากความละเอียดอ่อนของระบบ และความเสี่ยงที่ทำให้ถูกโจมตีจากความไม่รัดกุมมีมากขึ้นไปอีก เพียงแต่หลายองค์กรนั้นไม่มีทีมผู้เชี่ยวชาญทางไซเบอร์มาดูแลประจำจะเริ่มต้นอย่างไรดี?

ระบบความปลอดภัยทางไอทีที่ไม่ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมาประจำ

หลายบริษัทมีปัญหาไม่สามารถหาพนักงานไอทีเฉพาะด้านมาทำงาน

ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมาประจำ แต่มีความปลอดภัยด้านระบบสูงสุด คือระบบที่มี IT security ให้บริการแบบ Subscription ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในอเมริกาที่เรียกว่าระบบ Firewall as a Service มาช่วยทำให้ระบบมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลและให้คำปรึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

firewall network

จุดที่น่าสนใจของ Firewall as a Service

  • มีพนักงานมาดูแลระบบองค์กรของคุณ ตลอดการใช้งาน

  • อัพเดทระบบงานตลอดเวลา ไม่ต้องรอช่างมา Service on site 

  • อุปกรณ์รุ่นใหม่และอัพเกรดให้ตลอดเวลาที่ใช้บริการ

  • ปรับสเกลเพิ่ม ลด ระบบไฟร์วอลล์ได้อย่างลื่นไหล

  • ยกเลิกบริการได้ทุกเมื่อที่คุณต้องการ 

บทสรุปความเจ็บปวดของไฟร์วอลล์เก่าๆ

การวางโครงสร้างระบบไฟร์วอลล์นั้น ถ้าหากมันครอบคลุมน้อยไปก็จะทำให้เราไม่แน่ใจว่าจะมีการดูแลที่ครอบคลุมหรือเปล่า

การมีโครงสร้างที่ใหญ่เกินไป นอกจากจะทำให้มีการดูแลมากขึ้นแล้ว ก็จะต้องการพนักงานผู้เชี่ยวชาญมาดูแล ซึ่งในปัจจุบันแรงงานด้านผู้ดูแลความปลอดภัยนั้นขาดแคลนอย่างมาก บริการ Firewall พร้อมผู้เชี่ยวชาญดูแล จะช่วยพัฒนาธุรกิจของคุณให้ก้าวกระโดดจากความปลอดภัยที่ปรับขนาดได้ตามความต้องการ

FWaaS advantage

บริการ Firewall พร้อมผู้เชี่ยวชาญดูแล FWaaS

  • ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network องค์กรให้เสถียร ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (Customer centric)
  • สร้าง Network โดยเรียงระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับต่ำ ระดับปานปลาง ระดับสูง และระดับสูงพิเศษ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
  • มีทีม Cyber Security ประสบการณ์ 20 ปี+ เข้ามาดูแลระบบ โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเฉพาะทางมาดูแล
  • เครื่องเสีย มีปัญหา เปลี่ยนใหม่ให้ทันที

ปรึกษาการทำระบบ Cyber Security

ทีมงานจะติดต่อกลับไป

Firewall 5 วิธีเลือกซื้อไฟร์วอลล์ อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก ให้เหมาะสมกับธุรกิจ SMEs

firewall

Firewall เป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกหน่วยงานต้องมี ทั้งธุรกิจ SME กิจการเล็กใหญ่ หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ส่วนตัว เพราะปัจจุบันทุกองค์กรล้วนทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกันทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร งานตัดสต็อคสินค้า หรืองานดูยอดขายประจำวัน ที่สามารถเปิดดูยอดไม่ว่าจะอยู่ไกลอีกซีกโลก ที่มีอินเตอร์เน็ตใช้ก็ทำได้ ดังนั้นวันนี้ Prospace จะมาแนะนำการเลือกไฟร์วอลล์ให้เหมาะกับธุรกิจของแต่ละคนกันดีกว่า

Firewall คืออะไร

Firewall คือเครื่องมือกรองสิ่งแปลกปลอมทาง Network 

โดยปกติแล้วการใช้เครือข่ายในบริษัทนั้นจะมีอุปรณ์ที่ทำหน้าที่จัดระเบียบข้อมูล กรองข้อมูลเข้าออกบริษัท เพื่อรักษาความปลอดภัย รวมถึงปิดกั้นห้ามให้ในองค์กรเปิดเว็บไซต์อันตรายได้ สิ่งนั้นคืออุปกรณ์ที่เรียกว่าไฟร์วอลล์ โดยสเปคของเครื่องนี้ก็เหมือนกับการจัดสเปคคอมพิวเตอร์สักเครื่องหนึ่ง ถ้าหากเอามาใช้เปิดเน็ต ดูคลิปยูทูปบ้างเป็นครั้งคราวก็ไม่จำเป็นต้องใช้สเปคเร็วแรงอะไรมาก แต่ถ้าหากต้องการทำกราฟฟิก ออกแบบ งานสามมิติ หรือเล่นเกมส์ภาพสวยๆโดยเฉพาะ ก็จะมีการ customize เน้นการ์ดจอบ้าง เน้น Ram เยอะๆ หรือฮาร์ดดิสก์มากๆ ตามความต้องการ

Firewall hardware

ซึ่งอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ก็เป็นเหมือนกัน โดยสามารถเลือกตามฟีเจอร์ได้ว่าต้องการเน้นปริมาณการกรองข้อมูลมากน้อย เน้นการเก็บข้อมูลบนระบบ หรือเน้นการทำงานบน Cloud สิ่งเหล่านี้จะสามารถรู้ได้โดยการได้รับการประเมินความต้องการจากผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล เพื่อมาวางแผนออกแบบการวางระบบ Network ได้อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรนั่นเอง

เลือกให้เหมาะกับธุรกิจ

แต่ละธุรกิจจะมีสิ่งที่ละเอียดอ่อนต่างกันไป เช่น  โรงพยาบาล จะเน้นการเก็บข้อมูลความลับ ฉะนั้นรูปแบบการวางจะเน้นให้หมอเปิดดูข้อมูลคนไข้ในการดูแลได้ แต่ไม่อนุญาตให้ดูข้อมูลคนไข้คนอื่นได้ ในขณะที่บริษัทขายอุปกรณ์ก่อสร้าง อาจจะเน้นให้ฝ่ายขายเข้าถึงข้อมูลลูกค้าในบริษัท ในขณะที่ฝ่ายจัดซื้อไม่สามารถเข้าได้ ซึ่งเหล่านี้จำเป็นต้องออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของตัวเอง

ออกแบบระบบให้เหมาะสม

การจัดโครงสร้างไฟร์วอลล์ก็เป็นหัวใจสำคัญเช่นเดียวกัน ขออธิบายก่อนว่าไฟร์วอลล์ถ้าเปรียบอินเตอร์เน็ตเสมือนทางไหลของน้ำ อุปกรณ์ไฟร์วอลล์ก็จะเป็นเขื่อนที่กั้นไม่ให้น้ำป่าไฟลบ่าท่วมเมือง แต่ยังคงให้มวลน้ำไปหล่อเลี้ยงประชากรในเมืองได้ ฉะนั้นตำแหน่งการวางไฟร์วอลล์ที่เหมาะสมก็จะเหมือน “เขื่อน”ที่มีน้ำไปปหล่อเลี้ยงชาวเมือง แต่ไม่ทำให้เมืองจมบาดาล ฉะนั้นถ้าไปติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งท้ายเมือง ปลายน้ำ การติดตั้งไฟร์วอลล์ จะไม่มีประโยชน์ในการป้องกันอะไรเลย เลยเป็นที่มาว่าก่อนอื่นการออกแบบโครงสร้างอินเตอร์เน็ตขององค์กรตั้งแต่แรก จะช่วยให้ป้องกันอันตราย และอินเตอร์เน็ตไม่ช้าอีกด้วย

จุดอ่อน จุดแข็ง ของระบบที่บริษัทใช้?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นของการวางระบบให้เหมาะสมแล้ว การเข้าใจระบบทำงานของบริษัท จะช่วยให้สามารถปิดช่องว่างที่ทำให้ระบบโดนโจรกรรมได้ เช่น ถ้าบริษัทต้องติดต่อกับลูกค้าผ่านอีเมลเป็นประจำ ฉะนั้นวิธีการดูแลช่องทางนี้คือการหมั่นตรวจสอบลักษณะอีเมลก่อนเปิดเข้าไปอ่าน 

 

firewall

เล็กใหญ่ จำเป็นขนาดไหน?

เป็นคำถามที่ฮอตฮิตของคนที่จะซื้ออุปกรณ์ป้องกันการคุกคามสักเครื่องมากเลยทีเดียว ขนาดของระบบนอกจากจะช่วยให้อินเตอร์เน็ตที่เราใช้งานในบริษัทไม่ช้าแล้ว มันช่วยให้กรองทุกอย่างได้ทันท้วงที สมมติว่าเครื่องไฟร์วอลล์ XXX สามารถกรองข้อมูลได้เร็ว 100 Mbps แต่ปริมาณคนใช้มี 100 คนพร้อมกัน ทำให้แทนที่ถนนจะทำให้รถ 100 คันวิ่งด้วยความเร็วสูง แต่ดันมีด่านตรวจมากั้นทาง จึงเกิดรถติดหนึบนั่นเอง 

ต่อมานอกจากความเร็วในการกรองข้อมูลนั้นจำเป็นแล้ว ความเร็วในการตรวจข้อมูลต่างๆก็เป็นปัจจัยในการเลือกซื้อเช่นเดียวกัน สมมติว่าระบบตรวจข้อมูลได้ 100 ไฟล์ต่อวินาที แต่มีการดาวโหลดมา 200 ไฟล์ต่อวินาที ทำให้เกิดปัญหาอินเตอร์เน็ตช้า และบางครั้งจะทำให้ล่มได้เลยทีเดียว 

ผู้เข้าใจปัญหาระบบของรุ่นนั้นๆ 

สุดยอดความคลาสิกของปัญหาการใช้งานเลยทีเดียว สำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟร์วอลล์ นั้นถ้ามองให้เป็นรถสักรุ่นหนึ่ง เช่น รถ Toyota camry กับ Toyota corolla ที่สามารถขับได้เหมือนกัน เติมน้ำมันเหมือนกัน แต่ปัญหาการใช้รถ และระบบไฟนั้นแตกต่างกันออกไป จึงต้องใช้ช่างที่เชี่ยวชาญในรุ่นนั้นๆมาแก้ปัญหาให้ ระบบไฟร์วอลล์ก็เช่นเดียวกัน ในตลาดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ฉะนั้นเมื่อเลือกสเปคที่ต้องการนำมาใช้ได้แล้ว การเข้าไปส่องปัญหาประจำรุ่น มีแก้ไขปัญหา และช่างผู้ชำนาญการมาดูแลให้ จะช่วยให้ระยะยาวการลงทุนในไฟร์วอลล์ตัวนั้นจะช่วยให้ธุรกิจนั้นเดินต่อไปไม่สะดุดได้เลยทีเดียว

FWaaS เข้ามาดูแล Firewall อย่างเชี่ยวชาญ

ประวัติการแชท line ย้อนหลัง

ช่วยออกแบบโครงสร้าง Network security ให้สอดคล้องกับการทำงานแบบ Work from home โดยใช้ความต้องการขององค์กรเป็นสำคัญ แบ่งระดับข้อมูล ความปลอดภัย โดยใช้ระบบเข้าข้อมูลหลายชั้นอย่างสมบูรณ์

Firewall as a Service

ออกแบบระบบที่เสถียรเพียงพอสำหรับปริมาณเครื่องลูกข่าย ทำให้ไม่มีปัญหาคอขวด ไม่มีปัญหาอินเตอร์เน็ตหน่วง และติดตามกลับทันทีในกรณีที่มีการพยายามโจมตีระบบเครือข่าย

Firewall as a Service

ระบบมีการ monitor โดย Cyber security ทำให้เสมือนการได้รับการดูแลโดยเชี่ยวชาญตลอดเวลา และแก้เคสหน้างานได้ทันทีผ่านระบบออนไลน์ ไม่ต้องจ้างทีม IT เชี่ยวชาญมาประจำ

ปรึกษาปัญหา Firewall กับเรา

ฝากคำถามไว้ที่นี่

วิธีเก็บข้อมูลไลน์ไม่ให้หาย เป็นปี ด้วยวิธีการใน 3 นาที ได้ผล 100%

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

จากวิธีกู้แชทไลน์ Line สำรองข้อมูล สำหรับคนขี้ลืม ได้ผล 100% ที่ใช้การแบคอัพผ่าน Google drive ที่ต้องมากดสำรองข้อมูลด้วยตัวเอง วันนี้จึงขอนำเสนอวิธีการแบบใหม่ ที่เก็บไฟล์ได้เป็นปีด้วยวิธีการไหน มาติดตามดูกัน

คนไม่เชี่ยวชาญไอทีมีสิทธิ์ไหม

หลายคนอาจจะได้ทดลองการเก็บข้อมูลมาหลากหลายรูปแบบแล้ว ทั้งการแคบรูป เซฟไฟล์ หรือสั่งให้คนส่งไฟล์กลับมาให้ซ้ำๆ มันเป็นการที่ไม่ช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวและไม่ทำงานเหมือนมืออาชีพ โดยอาชีพที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นประจำ คือ กลุ่มเซลล์ที่ต้องติดต่อลูกค้าเป็นประจำ ต้องส่งเอกสาร ใบ PO ลูกค้า ซึ่งจะง่ายกว่าที่จะดูแลลูกค้าคนสำคัญด้วยการเก็บรายละเอียด เก็บเอกสารต่างๆบนคลาวที่ไม่ต้องบันทึกเก็บไว้ในเครื่อง และเปิดดูได้จากทุกเครื่อง

วิธีการเดิมมันไม่ช่วยคนทำงาน

ปัจจุบันแอพพลิเคชั่นไลน์ มีระบบช่วยการสำรองข้อมูลของเราได้จากการเก็บไว้บน Google drive โดยที่ต้องกดสำรองข้อมูล และเตรียมพื้นที่สำหรับบน Google drive ให้เพียงพอทุกครั้งก่อนเริ่มกดสำรองข้อมูล โดยข้อจำกัดของวิธีการนี้คือสามารถสำรองข้อมูลเพียง “ข้อความ” ที่เคยคุยกันเท่านั้น ไม่สามารถสำรองไฟล์ 

พิมพ์คำเดียว..เปลี่ยนโลกได้ทั้งใบได้ยังไง

เมื่อวันที่หุ่นยนต์เก่งขึ้น เราก็ใช้งานหุ่นยนต์ที่ชื่อ “จดที” มาช่วยเก็บข้อมูลแชทและเอกสารของไลน์ด้วยวิธีการที่คนไม่รู้ไอทีก็ทำได้ดังนี้

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

วิธีการทดลองเข้าไปใช้งานมีดังนี้

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

หลังจากที่ทีมงานเชิญเข้ากลุ่มแล้วให้เป็นแอพพลิเคชั่นไลน์ขึ้นมา

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

เข้าไปหน้าแชทที่ถูกสร้างใหม่

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

เมื่อเข้ามาแล้วมีหน้าแนะนำการใช้งานเบื้องต้น

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

ก่อนเริ่มใช้ครั้งแรกให้พิมพ์ว่า “จดที” เพื่อให้เริ่มมีการจดบันทึก

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

สามารถทดลองส่งไฟล์ ส่งงาน ส่งเอกสารได้ตามใจชอบ

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

สามารถเข้ามาดูข้อมูลจดบันทึกบนเว็บ Jott.ai แล้วจากนั้นเข้าที่ปุ่ม “เริ่มให้ JotT ช่วยจดวันนี้”

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

จากนั้นเข้าสู่ระบบไลน์ โดยที่เพียงยืนยันการเข้าระบบ

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

เข้ามาแล้วจะเห็นหน้าสนทนาที่ผูกไว้กับบัญชีไลน์ดังกล่าว

กู้แชทไลน์ด้วยจดที

สามารถเข้ามาดูห้องแชท ดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆที่เคยส่งให้กันได้ตามต้องการ

สรุป

ถึงแม้ว่าการสำรองข้อมูลบนไลน์นั้นจะช่วยในการจดบันทึกในกรณีที่เราเปลี่ยนเครื่องใหม่ แต่เอกสาร รูปภาพ และข้อมูลที่เคยส่งให้กันนั้นก็จะถูกจดบันทึกเพียงแค่ 7 วันดังที่เคยส่งให้กันมา เราเชื่อว่าความสำคัญของการทำงานอย่างเชี่ยวชาญ คือการสามารถบันทึกช่วงเวลา และเอกสารสำคัญของลูกค้าที่คุณดูแลไม่ให้หายไปไหน ถึงแม้จะเข้าด้วยคอมพิวเตอร์หรือมือถือก็ตาม จดทีขอเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจอย่างเชี่ยวชาญนะฮับ ถ้าพี่ๆสนใจทดลองใช้งานสามารถพิมพ์กรอกข้อมูลด้านล่างนี้แล้วทางทีมงานจะเข้าไปให้ทดลองใช้กันเลย

Metaverse คืออะไร เปลี่ยนแปลงคนทำธุรกิจ และพนักงานไอทียังไง

metaverse คืออะไร2

หลังจากที่ได้ดูหนัง Sci Fi มาหลายเรื่องเกี่ยวกับโลกเสมือนแล้ว ล่าสุดมีการขับเคลื่อนของ Socialmedia ยักษ์ใหญ่ออกมาเกี่ยวกับโลกเสมือนนี้ เกิดอะไรขึ้นอีก 5 ปีต่อจากนี้ แล้วคนทำธุรกิจกับไอทีจะเปลี่ยนแปลงไปทางไหนบ้าง

Metaverse คืออะไร

ถ้าเคยดูภาพยนตร์ The matrix ที่ทำให้ทุกอย่างบนรอบตัวเป็นเหมือนโลกในจินตนาการ ก็กำลังจะกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดย Metaverse เป็นโลกที่ทำให้โลกจริง กับ โลกดิจิตอลรวมเข้ากัน โดยการเชื่อมผ่านแว่น VR และเทคโนโลยีต่างๆที่กำลังพัฒนานับต่อจากนี้

เมื่อลองกลับมาสังเกตก็พบว่าที่ผ่านมาเทคโนโลยีเรา ใกล้แยกเราออกจากโลกจริงและเสมือนไม่ได้ เช่น การใช้แอพแต่งหน้ามาแทนการลงเครื่องสำอาง เพียงไม่กี่ปุ่ม ไม่กี่ฟีลเตอร์  หรือ การที่คอมพิวเตอร์แยกตัวคนกับพื้นหลังของภาพ ออกจากกันได้ในโปรแกรมประชุมโดยผ่านเซนเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์ และการประมวลผลที่รวดเร็ว นั่นก็เป็นหนึ่งในหลายๆเทคโนโลยีที่ประสานให้เกิดโลกจริงและโลกเสมือนได้เร็วขึ้นนั้นเอง

Metaverse จะเปลี่ยนโลกธุรกิจยังไง?

ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่งเรามีคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าบ้านหนึ่งหลัง ใช้ไฟมหาศาล และมีราคาแพงจนยากจะจับจองมันได้ พอเวลาผ่านไปคอมพิวเตอร์เริ่มมีขนาดเล็กลง และเข้าถึงผู้คนได้มหาศาลหลายพันล้านคนทั่วโลก

จนปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า “สมาร์ทโฟน” ที่หลายคนเองเมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วคงไม่เชื่อว่าวันหนึ่งกระเป๋าเงินของเราเริ่มจำเป็นน้อยกว่าการถือมือถือสักเครื่องออกไปจ่ายตลาด

เมื่อลองนับไปจากนี้ 5-10 ปีเมื่อโลกเสมือนเริ่มเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น มีความเป็นไปได้ว่าเราเองจะสามารถคุยวีดีโอคอล โดยที่เราจับมือแล้วรู้สึกถึงความอุ่น จับชีพจรแล้วรับรู้ถึงการเต้นหัวใจ หรือเราจะสามารถพาใครสักคนที่เขาจากไปแล้ว กลับมาอยู่ในโลกเสมือนของเราได้นั่นเอง

สิ่งที่เกิดขึ้นจาก Metaverse ในด้านไอที

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่กำลังจะสร้างแรงสั่นสะเทือนอีกครั้ง โดยเมื่อการเข้ามาถึงของ Metaverse นั้นต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์ IoT มากมาย  การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เสถียร การดูแลความปลอดภัยทาง Cybersecurity ที่รัดกุมมากขึ้น จากการที่ผู้ใช้งานจะต้องฝากข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญกับโลกออนไลน์มากขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีจะสามารถเข้าไปโจรกรรมได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

สิ่งที่เกิดขึ้นจาก Metaverse ในด้านเจ้าของกิจการ

การเปลี่ยนแปลงจากผู้ทำธุรกิจในปัจจุบันนี้ ถ้าลองมองย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วเราเองก็ยังไม่เชื่อว่าวันหนึ่งการซื้อสินค้าออนไลน์จะเกิดขึ้นได้จริง โดยไม่ต้องเห็นเจ้าของร้านค้า ไม่ต้องเห็นสินค้าจริงๆ และมีตัวกลางในการประสานการซื้อไม่ให้ถูกโกง ถ้ามาถึงปัจจุบันในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสก็ทำให้เราเห็นแล้วว่าการซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเตอร์เน็ต รวมถึงจ่ายเงินผ่าน E wallet ที่ไม่จำเป็นต้องจับเงินสดจริงๆเลยสักบาท เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของโลกดิจิตอลนั่นเอง

โดยเมื่อการเข้ามาถึงของ Metaverse จะช่วยให้ร้านค้าต่างๆไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปสินค้าในหลายๆมุมอีกต่อไป เพียงแค่สร้างภาพสามมิติ ลูกค้าสามารถสัมผัสสินค้า สามารถเปลี่ยนสี เปลี่ยนไซล์ได้ตามใจชอบ รวมถึงการแสดงเส้นทางมาที่ร้าน บรรยากาศของร้านกด็สามารถทำได้เช่นกัน จนเป็นที่มาของการปรับตัวของเจ้าของธุรกิจ ให้มีความเป็นดิจิตอลมากยิ่งขึ้น รวมถึงการขายสินค้า Digital ที่ปัจจุบันเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ดังเช่นผลงาน NFT ในโลก Cryptocurrency นั่นเอง

สรุป

มีการประเมินไว้ว่าการเข้ามาของโลกเสมือนนี้จะเริ่มแพร่หลายมากขึ้นใน 5 ปีหลังจากนี้ การปรับตัวของคนทำงานด้านไอที คือการต้องรับรู้ และอัปเกรดข้อมูลความรู้อีกปริมาณมหาศาล ในขณะที่เจ้าของกิจการหลังจากนี้ก็มีเรื่องท้าทายมากมาย ทั้งระบบการจ่ายเงินด้วยสกุลเงินคริปโต การสร้างผลิตภัณฑ์ NFT การถือครองทรัพย์สิน และการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีให้เติบโตไปกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ทางทีมงาน Prospace เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา และต่อยอดผลิตภัณฑ์ไอทีในทุกวันเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่ามีปัญหาด้านไอทีที่มี ก็สามารถมาปรึกษากับทางเราได้ฟรี เรามีทีมงานที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆจะผลัดเปลี่ยนมาช่วยตอบทุกคนเลย

ทำไม Apple ถึงไม่ยอมให้มีการติดตาม Tracking ผู้ใช้งาน

Apple ต้องการจะปลด Application ที่พยายามขอ Tracking ผู้ใช้งานต่างๆ โดยการพยายามใช้กลโกง หลอกลวง หรือปิดกันฟีเจอร์บางอย่างถ้าไม่ยอมให้แอพใช้งาน GPS ติดตามทำไมถึงทำอย่างนั้น

สิทธิส่วนบุคคลกับการติดตามผู้ใช้

Apple แบรนด์อุปกรณ์ไอทีระดับโลก ประกาศแบนแอปพลิเคชั่นที่หาช่องโหว่ของ App Tracking Transparency และหลอกล่อผู้ใช้งานให้กดติดตาม โดยการนำออกจาก App Store หลังจากที่มีการอัพเดทระบบปฏิบัติการ IOS version 14.5 มาพร้อมฟีจเจอร์ App Tracking Transparency ที่ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะอนุญาตให้แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ติดตามการใช้งานบนเครื่อง IPhone IPad หรือไม่ 

แอปพลิเคชั่นจะสามารถทราบพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ ว่ามีความสนใจแอปพลิเคชั่นประเภทใด และเข้าเว็บไซต์ใดบ้าง ซึ่งมีหลายแอปพลิเคชั่นที่ต้องการได้รับสิทธิ์จากผู้ใช้และอนุญาตให้ติดตาม จนพยายามเสนอสิ่งจูงใจด้วยวิธีการต่าง ๆ มีการหลอกล่อให้กดปุ่ม หรือเสนอรางวัลให้ โดยทางทีมวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของ Apple ได้ทราบถึงปัญหานี้ จึงออกนโยบายว่า แอปพลิเคชั่นที่พยายามเสนอสิ่งจูงใจทางการเงินให้กับผู้ใช้เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ใช้เลือกอนุญาตให้ติดตามจะถูกแบนจาก App store โดยแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ จะต้องทำตามคำแนะนำ

วิธีป้องกันตัวเอง

  • อย่าเสนอสิ่งจูงใจเพื่อให้ผู้ใช้อนุญาตคำขอ โดยทางแอปพลิเคชั่นไม่สามารถเสนอค่าตอบแทนแก่ผู้ใช้สำหรับการอนุญาต และถ้าหากผู้ใช้กด “ไม่ให้แอปพลิเคชั่นติดตาม” ทางแอปพลิเคชั่นห้ามระงับฟังก์ชันหรือเนื้อหาหรือทำให้แอปพลิเคชั่นใช้งานไม่ได้
  • อย่าแสดงข้อความในรูปแบบเหมือนการทำงานของการแจ้งเตือนระบบ App Tracking Transparency โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างปุ่มที่ใช้คำว่า “อนุญาต” หรือคำที่คล้ายกัน เพราะจะทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิด
  • อย่าแสดงภาพหน้าต่างแจ้งเตือน หรือทำการแก้ไขดัดแปลง
  • อย่าวาดภาพที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ไปที่ปุ่ม “อนุญาต” ในการแจ้งเตือนของระบบ

ทำไมการถูกติดตามถึงอันตราย

การใช้งานบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แม้ระบบปฏิบัติการจะพยายามปิดช่องโหว่เรื่องความปลอดภัย มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น การติดตามจึงเป็นหนึ่งในเรื่องที่ละเอียดอ่อน และอันตรายสำหรับผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน โดยที่ในอดีตหลายแอพพลิเคชั่นเคยมีการแสดงตำแหน่ง GPS ของคนที่โพสต์ภาพในขณะนั้น แล้วเกิดสตอล์คเกอร์(Stalker) หรือโรคจิตที่แอบติดตามไปทำร้ายร่างกายนั่นเอง ทำเมื่อมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ จะเริ่มมีการควบคุมความปลอดภัยทางระบบมากขึ้น ทั้งการขออนุญาตเข้าใช้กล้อง ใช้พื้นที่ความจำ หรือกระทั่งขอเข้าถึงตำแหน่ง GPS เฉพาะตอนที่เข้าใช้งานแอพพลิเคชั่นด้วยเช่นกัน

สรุป

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ใช้งานมือถือที่เป็นปัจจัยที่5 ของมนุษย์ในยุคปัจจุบันคือการแข่งขันเพื่อการได้มาซึ่งข้อมูล ทั้งข้อมูลส่วนตัว รู้พิกัดการใช้งาน แอบมาเก็บข้อมูลได้ละเอียดมากขึ้น จึงเป็นที่มาของกฏหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เรียกว่า PDPA โดยที่ “ผู้ใช้งาน” ต้องอนุญาต “ผู้ให้บริการ” ต้องมีแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ชัดเจน รวมถึงมีวัตถุประสงค์นำข้อมูลไปใช้งานที่ชัดเจน เป็นที่มาของบริการจัดการด้าน PDPA แบบครบวงจรของ Prospace ที่ช่วยจัดการแบบฟอร์มการขออนุญาตใช้ข้อมูลแบบครบวงจร โดยที่สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากการกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย